เนชั่นทีวี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Jun 2019 08:17:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รายการข่าวแรง! กลุ่มท็อปเท็น “ไทยรัฐทีวี-อมรินทร์-เนชั่น”โกยเรตติ้งเพิ่ม https://positioningmag.com/1232987 Wed, 05 Jun 2019 02:39:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232987 หลังการเลือกตั้งเดือน มี.และยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้ผู้ชมเกาะติดรายการข่าวทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ เพื่ออัพเดตสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองในการจับขั้วตั้งรัฐบาล ส่งผลให้เรตติ้งรายการข่าวของช่องท็อปเท็นขยับขึ้น

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รายงานข้อมูล “นีลเส็น” ในการวัดค่าความนิยม (เรตติ้ง) ช่องทีวีดิจิทัลเดือน พ.ค.2562 สูงสุด 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ช่อง 3SD ช่อง 8 และเนชั่นทีวี

ในเดือน พ.ค.นี้ ช่องรายการที่มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ ช่อง 7 ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี และเนชั่นทีวี

ช่อง 7 มีเรตติ้งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 000.7 รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือน พ.ค. คือ ละครเย็น “ขิงก็รา ข่าก็แรง” มีเรตติ้งสูงสุด 7.853 (ออกอากาศวันที่ 30 พ.ค. 2562) ส่วนละครค่ำ “เพลงรักเพลงปืน” ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน โดยมีเรตติ้งสูงสุด 7.785 (ออกอากาศวันที่ 8 พ.ค. 2562)

ไทยรัฐทีวี เรตติ้งสูงสุดยังเป็นรายการข่าว เช่น ไทยรัฐนิวส์โชว์ และการถ่ายทอดสดการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่สร้างเรตติ้งได้ดีเสมอต้นเสมอปลาย ส่งผลให้เรตติ้งเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.001

อมรินทร์ทีวี เป็นช่องที่มีเรตติ้งเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้น 0.023 โดยขยับจาก 0.288 ในเดือน เม.ย.2562 เป็น 0.311 ในเดือน พ.ค. 2562 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเรตติ้งดังกล่าวส่งผลให้การจัดลำดับของช่องในกลุ่ม Top 10 ขยับจากอันดับ 8 ขึ้นสู่อันดับ 7 รายการที่ช่วยสร้างกระแสความนิยมให้แก่ช่องคือ ทุบโต๊ะข่าว

เนชั่นทีวี มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้น 0.032 ส่งผลให้ช่องสามารถเข้าสู่การจัดอันดับในกลุ่ม Top 10 ได้อีกครั้ง โดยรายการที่ได้รับความนิยมยังคงเป็นรายการ “เนชั่น ทันข่าว” และ “ข่าวข้น คนเนชั่น”

กสทช.ออกหลักเกณฑ์หนุนเงินทำทีวีเรตติ้ง

สำหรับความคืบหน้าการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำเรตติ้งทีวี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2562 กสทช.ได้ออก ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินในการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล

ตามประกาศฯ กำหนด ให้มี “องค์กรกลาง” ซึ่งหมายถึง องค์กรที่เป็นการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล โดยองค์กรกลาง มีสิทธิขอรับการจัดสรรเงินสนับสนุนจาก สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการสำรวจความนิยมช่องรายการทีวี (ทีวีเรตติ้ง) ของช่องรายการทีวี หรือเนื้อหารายการทีวี การจัดทำฐานข้อมูล การให้บริการฐานข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล

สำหรับ “องค์กรกลาง” ที่มีสิทธิขอรับการจัดสรรเงินสนับสนุนจากสำนักงาน กสทช. เพื่อสำรวจเรตติ้ง จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (24 พ.ค. 2562)
  2. มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องรายการทีวี เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล หรือส่งเสริมการพัฒนากิจการทีวีดิจิทัล
  3. กรรมการ ผู้ดำเนินกิจการขององค์กรกลางจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จะต้องเป็นผู้แทนจากผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
  4. สมาชิกองค์กรกลางที่เป็นผู้แทนจากผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล จะต้องมีสมาชิกทีวีดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่มีอยู่ปัจจุบัน ไม่รวมทีวีดิจิทัลที่แจ้งคืนใบอนุญาต กับ กสทช.

โดยองค์กรกลางที่จะขอรับเงินสนับสนุนตามประกาศฯ ให้แจ้งเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน กสทช. ภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่มีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นฯ 700 MHz (วันที่ 19 มิ.ย.2562)

การจัดสรรเงินจะต้องสอดคล้องกับข้อเสนอในการดำเนินการสำรวจเรตติ้ง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยองค์กรการจะต้องป้องกันการ “ผูกขาด” ส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  1. สำนักงาน กสทช. จะต้องได้รับหรือมีสิทธิใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเรตติ้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการแข่งขันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. องค์กรกลางที่ได้รับการจัดสรรเงิน จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวี
  3. องค์กรกลางที่ได้รับการจัดสรรเงินจะต้องสนับสนุนข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนากิจการวิทยุ ทีวี และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม
  4. ทีวีดิจิทัล สาธารณะ มีสิทธิ์เข้าร่วมระบบสำรวจเรตติ้ง
]]>
1232987
แบรนด์ทำอย่างไร ในกระแสการเมืองร้อน กับ #ถอนโฆษณาเนชั่น https://positioningmag.com/1221086 Thu, 21 Mar 2019 12:10:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221086 เป็นกระแสฮอตโซเชียลมา 3 วันต่อเนื่อง กับกรณี “เนชั่นทีวี” เผยแพร่คลิปตัดต่อเสียง “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และอดีตนายกรัฐมนตรี “ทักษิณ ชินวัตร” เมื่อคืนวันอังคาร 19 มีนาคม จนเกิด #เนชั่นโป๊ะแตก สนั่นโลกออนไลน์

ตามด้วยเหตุการณ์โทรศัพท์สัมภาษณ์สด “ธนาธร” ของเนชั่นทีวี ช่วงเที่ยงวันพุธ 20 มีนาคม ที่พูดถึงมาตรฐานการทำหน้าที่ของสื่อในการนำเสนอคลิปเสียงตัดต่อ และการตอบโต้ของผู้บริหารเนชั่นทีวี ที่เห็นว่าคำพูดของ “ธนาธร” สร้างความเสียหายให้เนชั่นทีวี

สถานการณ์ที่เคลียร์ไม่จบดังกล่าว ชาวออนไลน์ที่ไม่พอใจต่อการรายงานข่าวของเนชั่นทีวีกลุ่มหนึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็น #ถอนโฆษณาเนชั่น ซึ่งได้รับความนิยมในทวิตเตอร์และขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในประเทศไทย ช่วงเช้าถึงช่วงเที่ยงวันนี้ (21 มีนาคม) เนื้อหาของแฮชแท็ก เป็นการกดดันสินค้าและแบรนด์ต่างๆ ที่เป็นสปอนเซอร์รายการช่องเนชั่นทีวี

ในมุม “แบรนด์” ที่ถูกโยงเข้ากับกระแสการเมืองร้อนในช่วงโค้งสุดท้ายนี้กับ #ถอนโฆษณาเนชั่น แหล่งข่าวจากเอเยนซี่บอกว่า กระแสโลกออนไลน์ที่กดดันสินค้าและแบรนด์ให้ถอนโฆษณาเนชั่นนั้น ด้วยหลักเกณฑ์การซื้อโฆษณาแล้ว ปกติเป็นการวางแผนและซื้อโฆษณา “ล่วงหน้า” อย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งบางรายจะยาวกว่านั้น

ดังนั้นโฆษณาที่เห็นหน้าจอทีวีวันนี้ คือ ถูกซื้อและวางแผนล่วงหน้าไปแล้ว การถอนโฆษณาจึงต้องบอกว่า “ลำบาก” ต่อเมื่อจบแคมเปญแล้ว หากมีกระแสที่ส่งผลต่อแบรนด์โดยตรงก็อาจมีการ “ทบทวน” การลงโฆษณาใหม่ เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่ายังมีทีวีดิจิทัล อีกหลายช่องเป็นตัวเลือกในการลงโฆษณา

แต่หากมีการถอนโฆษณากันจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์ คือ ชาวออนไลน์ในฝั่งที่กดดันให้ถอนโฆษณาก็จะพึงพอใจ แต่ก็จะสร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นกับฝ่ายที่สนับสนุนเนชั่นทีวีได้เช่นกัน อีกทั้งยังกระทบกับคอนเนกชั่นระยะยาวของสื่อ

หากดูกระแสออนไลน์วันนี้กับ #ถอนโฆษณาเนชั่น ก็ต้องบอกว่าเป็นแฮชแท็กที่ยังไม่เชื่อมโยงกับแบรนด์โดยตรง ในสถานการณ์เช่นนี้ เชื่อว่า “สินค้าและแบรนด์” จะไม่ออกมาแอคชั่นอะไรมากนัก คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสถานีทีวีกับคู่กรณีเคลียร์กันเอง.

]]>
1221086
ผ่าสงครามข่าวทีวีดิจิทัล เช้า เที่ยง เย็น ค่ำ สู้กันไม่ถอย https://positioningmag.com/1152144 Fri, 29 Dec 2017 08:58:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152144 รายการข่าวของแต่ละช่องทีวีดิจิทัลโดยส่วนใหญ่ จะอยู่ในผังออนแอร์ช่วงเช้ากลางวันเย็นค่ำ แต่บางช่องจะเพิ่มช่วงดึก และเที่ยงคืน และก่อนเช้าด้วย จากข้อมูลเรตติ้งที่สำรวจ 4 ช่วงหลัก นั้น ช่วงเช้า กลางวัน และค่ำ ถือว่าเป็นพื้นที่ของช่อง 7 และ 3

**ช่วงข่าวเช้าช่อง 7 แชมป์ ช่อง 3 ยังต้องลุ้น

อย่างช่วงเช้าที่เป็นที่รู้กันว่ามีการแข่งขันกันรุนแรง แชมป์ตลอดกาลยังคงเป็นช่อง 7 ที่ปูพรมได้เรตติ้งไปตั้งแต่ 05.00-10.00 .ด้วยการแบ่งรายการเป็น 3 ช่วง ตั้งแต่เช้าข่าว 7 สี เช้านี้ที่หมอชิต และสนามข่าว 7 สี โดยเฉพาะสองรายการที่เรตติ้งเช้าทะลุ 1.5 ได้บ่อยครั้ง 

ส่วนอันดับ 2 เรื่องเล่าเช้านี้ โฉมใหม่ ที่มี ไก่ ภาษิต มาเป็นหลัก และมีช่วง ชูวิทย์มีเรื่องเล่าเสริม และช่วงสอนภาษาอังกฤษสั้น อีก  แต่ช่อง 3 ก็ต้องลุ้นทุกวันว่าจะทะลุ 1 มาได้หรือไม่ โดยมีช่อง 8 เบียดมาติด ตามที่เคยสำรวจก่อนหน้านี้เรตติ้งวันที่ 1-19 ..2560 (ยกเว้นเสาร์ อาทิตย์

รายการข่าวที่ต้องจับตามอง คือตีข่าวเช้า หลังปรับโฉมของช่อง 3SD  ที่มีทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ เป็นพิธีกรชูโรงตั้งแต่ 20 ..ที่ผ่านมา และรายการข่าวของจีเอ็มเอ็ม 25 ที่เรตติ้งหลุดต่ำกว่าอันดับที่ 20 มานาน ก็ถึงเวลารุก โดยรับ ต๊ะ พิภู” จากช่อง 3 มาอ่านในช่วงต้นปีหน้า

**ช่วงข่าวเที่ยงหืดเรตติ้งไม่เกิน 1 

สมรภูมิข่าวเที่ยง หรือข่าวช่วงกลางวัน เลือกสำรวจช่วงเวลา 10.00 -14.00 .พบว่ามีหลากหลายรายการทั้งรายการอ่านข่าวทั่วไป คุยข่าว ฮาร์ดทอล์คทั้งแบบสด และรีรัน รูปแบบไม่ต่างกันมากนัก รวมถึงมีการนำเสนอข่าวเชิงเศรษฐกิจธุรกิจมาก่อนรายการข่าวหลัก  ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้หวังเรตติ้ง แต่ทำเงินได้ในลักษณะการผสมผสานการโฆษณาระหว่างรายการข่าว 

เวลารายการข่าวเที่ยง หลายช่องเลือกขยับเวลาออนแอร์ก่อนเที่ยง เพื่อชิงคนดู บางช่องเริ่มเลยตั้งแต่ 10 โมง อย่างไทยพีบีเอส แต่ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ 11.00-11.30 . เช่น ห้องข่าวภาคเที่ยงช่อง 7 แชมป์อันดับ 1 เริ่มตั้งแต่ประมาณ 11.20 พอๆ กับช่อง 3 เที่ยงวันทันเหตุการณ์ท่ีเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณ 5 นาที หรือแม้แต่ พีพีทีวี ก็เริ่มก่อนช่อง 3 ประมาณ 5 นาที ยังมีช่องเนชั่น สปริงนิวส์ ที่เลือกเริ่มในช่วงก่อน 11.30 

รูปแบบ มาเร็ว มาก่อน อัพเดท มาไวไปไว กระชับได้ใจความ พิธีกรข่าว หรือผู้ประกาศดูมีพลัง กระตือรือร้น ยิ่งทำให้หลายช่องได้เรตติ้ง แต่สำหรับช่วงเที่ยงที่คนดูมีภารกิจหลากหลาย แม้แต่แชมป์อย่างช่อง 7 ก็ยังดันเรตติ้งได้ไม่ถึง 1 หรือแม้แต่ช่อง 3 เที่ยงวันทันเหตุการณ์ที่ปรับทั้งเวลาเร็วขึ้น ให้เวลาออนแอร์สั้นลงเหลือประมาณ 1 ชั่วโมง จากเดิมยิงยาวเกือบ 2 ชั่วโมง เรตติ้งก็ยิ่งแผ่ว ก็ยิ่งต้องจบเร็วขึ้น

***เรื่องเด่นเย็นนี้ พาช่อง 3 สัมผัสที่ 1

ช่วงเรตติ้งข่าวเย็น ยังคงเป็นการสู้กันของช่องใหญ่ เวลานี้ ในช่วง 1-21 ..ที่ผ่านมา ถือว่าช่อง 3 ได้สัมผัสอันดับ 1 จากเรื่องเด่นเย็นนี้ แต่เหนือเจาะประเด็นข่าวของช่อง 7 ไม่มาก 

ตามมาด้วยรายการข่าวของเวิร์คพอยท์ และช่อง 8 แต่ที่เด่นขึ้นมาคือ เรื่องพลบค่ำ” ของคู่ซี้กำภูรัชนีย์ จากช่อง 9 ที่มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น ทั้งจากรายการวิทยุและรายการข่าวหลัก เรตติ้งพุ่งมาติดอยู่ในอันดับ 5 เหนือช่องวัน และไทยรัฐทีวี 

ใน 12 อันดับแรกคือสนามของการแข่งขันระหว่างช่องทีวีดิจิทัลประเภทวาไรตี้และเอชดีทั้งหมด

รวมถึง รายการ คนชนข่าว ของ โมนัย เย็นบุตร อดีตคนเนชั่นทีวี ที่ย้ายมาอยู่ค่ายทรูโฟร์ยู ก็สามารถสร้างเรตติ้งได้พอสมควรอยู่ในอันดับ 12 

ส่วนกลุ่ม 13-22 เป็นผลงานของช่องทีวีดิจิทัลประเภทข่าวแทบทั้งหมด ตั้งแต่รายการ ข่าวชนข่าว จากช่องนิวทีวี ที่มี เจ๊ปอง-อัญชะลี ไพรีรัก เป็นตัวชูโรง มีเรตติ้งเหนือกลุ่มช่องประเภทข่าวทั้งหมดโดยอยู่ในอันดับ 13  ตามจี้มาด้วย เก็บตกจากเนชั่น ของเนชั่นทีวี และรายการข่าว GMM นิวส์ เย็นนี้ ของ GMM25 ที่เป็นช่องวาไรตี้ช่องเดียว ที่มาติดอยู่ในอันดับที่ 15

สูตรสำเร็จของข่าวช่วงเย็น หลายช่องเน้นให้มีการเล่าข่าวแบบขยายความให้ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวใหญ่ มากขึ้น 

***ข่าวค่ำช่องใหญ่ขอบันเทิง เปิดเวทีข่าวช่องเบอร์รอง 

ช่วงรายการข่าวค่ำที่ไม่ใช่แค่เล่าข่าว เพราะหลายเรื่องเกิดขึ้นตั้งแต่เช้า เหตุการณ์จบแล้วตั้งแต่บ่าย เย็น ตอนเย็นถ้าไม่ใช่เพราะลีลา การเล่าเร้าใจ ก็ต้องมีรูปแบบนำเสนอที่สร้างสรรค์ เพื่อขยายความข่าวที่เกิดขึ้นโอกาสทำเรตติ้งก็ไม่ยาก

และยิ่งช่วงเวลาหลัง 18.00 .ที่ช่องใหญ่เจาะกลุ่มแมส เรื่องเสนอข่าวบันเทิง ละคร วาไรตี้แล้ว ทำให้เป็นโอกาสของช่องรอง ลงไปใน 10 อันดับแรก จึงเป็นพื้นที่ของช่องวัน ไทยรัฐ อมรินทร์ พีพีทีวี นิวทีวี

การขยายความข่าวด้วยการทอล์คช่วงหลัง 6โมงเย็น จึงเข้มข้นมากันเต็ม อย่างรายการ ถามตรงตรง ของจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ อดีตลูกหม้อเนชั่น ช่องไทยรัฐ ได้เรตติ้งอยู่ในอันดับ 4 ชนะ ”ต่างคนต่างคิด” ดำเนินรายการโดยพุทธ อภิวรรณ ช่องอมรินทร์ ที่ได้อันดับ 6 

ใน 10 อันดับนี้ ยังมีอีกสองรายการของไทยรัฐ คือรายการไทยรัฐนิวส์โชว์  อยู่อันดับ 3 และ  ข่าวใส่ไข่  อันดับ 8 ที่ได้ดาราอย่าง มดดำ,กรรชัยม้า อรนภาเหมี่ยว ปวันรันต์ และ รถเมล์ คะนึงนิจ มาเล่าข่าวสไตล์ก็อสซิปข่าวบันเทิง

รายการข่าวอีกรายการ ที่อยู่ในท็อปเทน คือ เข้มข่าวค่ำ ของพีพีทีวี ทีมีตัวหลักอย่าง ”เสถียร วิริยะพรรณพงศา อดีตลูกหม้อเนชั่นอีกคน ได้เรตติ้งอันดับ 9 และ 12 ที่เสถียรจัดรายการฮาร์ดทอล์ค เป็นเรื่องเป็นข่าว” 

ขณะที่ เจ๊ปอง อัญชรีย์ ไพรีรักษ์ ก็ดันให้รายการนิวหมายข่าวของช่องนิวทีวี มาอยู่ในอันดับ 10 ได้ 

สำหรับวอยซ์ทีวีที่เป็นสถานีทีวีดิจิทัลรายล่าสุดที่ประกาศลดพนักงานลง 127 คน มีรายการข่าวที่เรตติ้งสูงสุดในช่วงค่ำคือ รายการ โอเวอร์วิว ที่จัดรายการโดยพิธีกรสายฮาร์ดคอร์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อยู่ในอันดับ 18 ในขณะที่รายการ ใบตองแห้ง ออนแอร์ ของ อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง อยู่ในอันดับ 20.

]]>
1152144