เพลง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 May 2024 08:07:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ Sony เผยทิศทางบริษัทเน้นธุรกิจความบันเทิงเป็นหลัก ไม่เน้นธุรกิจผลิตสินค้าประเภทอุปกรณ์แบบเดิมๆ อีกต่อไป https://positioningmag.com/1475333 Tue, 28 May 2024 07:47:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475333 CEO ของ ‘โซนี่’ ได้ประกาศถึงทิศทางของบริษัทหลังจากนี้โดยจะเน้นไปยังธุรกิจด้านความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น เพลง ภาพยนตร์ อนิเมะ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันธุรกิจข้างต้นสร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 60% ของรายได้รวมบริษัทในปีล่าสุด

ในอดีตเราอาจเคยได้ยินชื่อสินค้าของ Sony หลากหลายชนิด อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเน้นความบันเทิงมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันผู้บริหารสูงสุดของบริษัทญี่ปุ่นรายนี้ก็ได้ยืนยันทิศทางของบริษัทว่าจะยังเดินหน้าในเรื่องของความบันเทิงต่อ

Kenichiro Yoshida ซึ่งเป็น CEO ของ Sony ได้ประกาศถึงทิศทางบริษัทในอนาคตว่าจะเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง อนิเมะ หรือแม้แต่ทรัพย์สินทางปัญญหาที่เกี่ยวข้อง มากกว่าที่จะเน้นไปยังการผลิตอุปกรณ์แบบเดิมๆ

CEO ของ Sony กล่าวว่า บริษัทกำลังกำลังช่วยเหลือพนักงานในการสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า “Kando” ซึ่งมาจากคำศัพท์ญี่ปุ่นที่แปลว่าประสบการณ์ที่น่าประทับใจ มากกว่าการผลิตสินค้าหรืออุปกรณ์แบบเดิมๆ เช่น เครื่องเล่นเพลง Walkman หรือแม้แต่โทรทัศน์

เขายังมองว่าการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์กับความบันเทิงไม่ได้เกิดขึ้นต่อไปแล้ว แต่มองว่าเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง หรือแม้แต่ อนิเมะ และบริษัทจะสนับสนุนในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน

นอกจากนี้เขาเองยังกล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะส่งออกอนิเมะญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเขากล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเช่นกัน

ในส่วนสินค้าที่บริษัทจะโฟกัสไปยังการผลิตนั้นมีเพียงเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวนั้น Sony เป็นผู้นำในตลาด และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหลายรายได้ใช้ชิ้นส่วนของบริษัทอยู่ และมองว่าการโฟกัสไปยังชิ้นส่วนดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท เนื่องจากเซ็นเซอร์รับภาพเป็นอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับความบันเทิง

ปัจจุบัน Sony มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเกมมากถึง 30% ธุรกิจเพลงราวๆ 12% ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงเช่น ภาพยนตร์ 21% ซึ่งจะเห็นว่าสัดส่วนใน 3 ธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับความบันเทิงสร้างรายได้ให้กับยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นรายนี้มากกว่า 60% ด้วยซ้ำ

Sony ได้พบกับอุปสรรคทางธุรกิจหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันในอดีตบริษัทเคยถูกมองว่าลงทุนในสิ่งที่อาจไม่สร้างผลกำไร ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในค่ายหนัง ค่ายเพลง หรือแม้แต่ธุรกิจเกม ซึ่งปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นทำให้บริษัทอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้

CEO ของ Sony ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เพื่อให้บริษัทเติบโตและสร้างมูลค่าในระยะยาว เรายังต้องพัฒนาความหลากหลายของธุรกิจและบุคลากรของเราต่อไป”

ที่มา – Sony, ABC, Kyodo News

]]>
1475333
ผู้ใช้งาน TikTok เฮ บริษัทปิดดีลลิขสิทธิ์เพลงค่าย Universal Music ได้แล้ว หลังยืดเยื้อมาเป็นเวลานานหลายเดือน https://positioningmag.com/1471922 Thu, 02 May 2024 13:49:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471922 หลังจากที่ผู้ใช้งาน TikTok ต้องหงุดหงิดมาเป็นเวลาหลายเดือน ล่าสุดแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอสั้นสามารถปิดดีลกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ Universal Music ได้แล้ว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเพลงของศิลปินค่ายเพลงดังได้อีกครั้ง

Universal Music ประกาศว่าบริษัทให้สิทธิ์ TikTok ในการนำลิขสิทธิ์เพลงต่างๆ ที่ค่ายตัวเองมีอยู่ให้กับแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอสั้นใช้งานได้อีกครั้ง หลังจากการเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายใช้เวลายาวนานหลายเดือน และภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวยังมีข้อตกลงในหลายด้านเพิ่มเติมจากในอดีตด้วย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามหลังมาจาก Universal Music ใหญ่ได้เริ่มทยอยไม่ให้สิทธิ์การใช้เพลงของศิลปินในค่ายบนแพลตฟอร์มของ TikTok ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา ซึ่งสัญญาระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายนั้นหมดอายุเมื่อวันที่ 31 มกราคม

แถลงการณ์ของทั้ง 2 บริษัทนั้น TikTok ยังได้จ่ายค่าตอบแทนที่ดีขึ้นให้กับนักแต่งเพลงและศิลปินของ Universal Music ภายใต้ข้อตกลงล่าสุด หลังจากที่ค่ายเพลงใหญ่เคยกล่าวว่าแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นรายนี้ได้ให้ค่าตอบแทนแก่ศิลปินหรือแม้แต่นักแต่งเพลงเพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น

นอกจากนี้ในข้อตกลงดังกล่าวทั้ง TikTok และ Universal Music จะทำงานร่วมกันเพื่อทำให้แน่ใจว่าการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมเพลงจะปกป้องศิลปินหรือแม้แต่ผู้แต่งเพลง ไปจนถึงการลบเพลงที่สร้างจาก AI ที่ละเมิดลิขสิทธิ์บนแพลตฟอร์มด้วย

ในช่วงที่ผ่านมาผู้ใช้งานของ TikTok ยังมีการนำ AI มาแต่งเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ศิลปินของ Universal Music ทำให้มีการเจรจาเรื่องดังกล่าวของทั้ง 2 ฝ่ายจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ

Shou Chew ซึ่งเป็น CEO ของ TikTok กล่าวว่า ดนตรีเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศของ TikTok และเขาดีใจที่ได้ร่วมเดินทางกับ Universal Music อีกครั้ง เขายังกล่าวเสริมว่าบริษัทนั้นมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนคุณค่า การค้นพบ หรือแม้แต่การโปรโมตให้กับศิลปินและนักแต่งเพลงของ Universal Music

ปัจจุบันศิลปินค่าย Universal Music ที่มีชื่อเสียง ยกตัวอย่างเช่น Drake ศิลปินเพลงฮิปฮอป หรือแม้แต่ศิลปินเพลงป๊อปอย่าง Olivia Rodrigo และ Sabrina Carpenter หรือแม้แต่ Taylor Swift

ข้อมูลของ Midia ชี้ว่าในปี 2022 นั้น Universal Music มีรายได้จากการคิดค่าสิทธิ์การใช้เพลงบนแพลตฟอร์ม TikTok คิดเป็น 1% ของรายได้รวมทั้งหมด หรือคิดเป็นเงินแค่ 110 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ตรงข้ามกับ YouTube ที่จ่ายเงินให้กับค่ายเพลงต่างๆ รวมกันมากถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไป ประเด็นดังกล่าวถือว่าเป็นสาเหตุทำให้การเจรจาตัวเงินระหว่างค่ายเพลงยักษ์ใหญ่กับ TikTok ถึงใช้เวลายาวนานหลายเดือน ก่อนที่จะปิดดีลดังกล่าวลงได้

ที่มา – Universal Music, The Verge, Reuters

]]>
1471922
ตลาด ‘เพลง’ ทั่วโลกโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ‘จีน’ จ่อแซง ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นเบอร์ 2 ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1435239 Sun, 25 Jun 2023 02:14:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435239 ยอดขาย เพลง ทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งยอดขายแบบ Digital และแบบ Physical เช่น แผ่นเสียง ทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ โดย จีน กำลังเป็นตลาดมาแรงจ่อแซงผู้นำที่อยู่มานาน จาก อันดับ 5 กำลังจะกลายเป็นอันดับ 2 ภายในไม่ถึง 10 ปี

ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดย Omdia เปิดเผยว่า ยอดขายเพลงโดยรวมในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Digital และ Physical เติบโตขึ้น 7.8% เป็น 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 3.81 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องไปจนถึง ปี 2027 โดยมีมูลค่าสูงถึง 4.98 หมื่นล้านดอลลาร์

การเติบโตส่วนใหญ่ในปีนี้และปีต่อ ๆ ไปมาจาก การสมัครสมาชิกและการสตรีมมิ่ง โดยเม็ดเงินจากการสมัครสมาชิกบริการมิวสิคสตรีมมิ่งปีนี้เติบโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ และในปี 2027 การใช้จ่ายจะสูงถึง 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์

“การเติบโตของมิวสิค สตรีมมิ่งนั้นชัดเจน ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นยินดีที่จะสมัครใช้งาน Spotify และ Apple Music และเม็ดเงินของมิวสิคสตรีมมิ่งจะยังคงเติบโตต่อไปในอีก 5 ปี” ไซมอน ไดสัน นักวิเคราะห์หลักอาวุโสของ Omdia กล่าว

ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็น อันดับ 1 ที่มีตลาดเพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วย ญี่ปุ่น แต่ที่น่าสนใจคือ ในปีที่ผ่านมา จีน ได้แซงหน้า ฝรั่งเศส ขึ้นเป็นประเทศที่มีตลาดเพลงใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก โดย Omdia คาดการณ์ว่า ประเทศจีนที่มีประชากรมากที่สุดในโลกจะแซงอันดับ 4 อย่าง เยอรมัน และอันดับ 3 อย่าง สหราชอาณาจักร ได้ภายในปี 2025

โดยในปี 2026 จีนตลาดเพลงของจีนจะมีมูลค่าอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์ มีส่วนแบ่งในตลาดโลก 6.7% และจะ แซงญี่ปุ่นได้ภายในปี 2030

]]>
1435239
เปิดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ ‘Grammy x RS’ แม้เป็นคู่แข่งแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรู https://positioningmag.com/1425197 Tue, 28 Mar 2023 11:23:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425197 ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่วงการเพลงต้องจดจำ เพราะในที่สุดแฟนเพลงก็จะได้เห็นคอนเสิร์ตร่วมกันครั้งแรกในรอบ 40 ปี ของ 2 ค่ายใหญ่อย่าง แกรมมี่ (Grammy) และ อาร์เอส (RS) จุดเริ่มต้น เบื้องลึก เบื้องหลัง และการร่วมมือจากนี้จะเป็นอย่างไร Positioning จะมาอธิบายให้ได้อ่านกัน

จีบกันไปกันมากว่า 5 ปี

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า สำหรับการร่วมมือของแกรมมี่และอาร์เอสมีการคุยกันมานานแล้วแต่หลาย ๆ อย่างยังไม่ลงตัว จนกระทั่งจังหวะเวลาได้ ทั้ง 2 ค่ายจึงจัดตั้งกิจการร่วมการค้า (JOINT VENTURE) อะครอสเดอะยูนิเวิร์ส เพื่อจัดงานคอนเสิร์ตร่วมกัน โดยทุกอย่างแบ่งครึ่งเท่า ๆ กันทั้งการลงทุนและผลกำไร ขณะที่แต่ละค่ายก็จะทำในสิ่งที่ถนัด เช่น แกรมมี่ดูเรื่องการขายบัตร, งานโปรดักชั่น, งานครีเอทีฟ ส่วนอาร์เอสมองในภาพรวม ดูเรื่องงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

“ไม่มีใครจีบใครก่อน แต่จีบกันไปกันมาในช่วง 5 ปีมานี้ แต่เพราะจังหวะยังไม่เหมาะสม จนกระทั่งช่วงที่สถานการณ์โควิดคลี่คลาย และอาร์เอสก็ประกาศกลับมาทำเพลงอีกครั้ง การพูดคุยก็เลยลงตัว ซึ่งหัวใจสำคัญของดีลนี้ เรามองว่ามันคือ ความเท่าเทียมและความไว้ใจ”

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

ทำปีเดียวไม่ได้ เพราะศิลปินเยอะ

เบื้องต้น คอนเสิร์ตที่จะจัดจะเป็น ซีรีส์คอนเสิร์ต (SERIES CONCERT) ของศิลปินยุค 90 และ 2000 เบื้องต้นจะจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 รอบ และจะจัดต่อเนื่องยาว 3 ปี ซึ่งสาเหตุที่ต้องจัดคอนเสิร์ตเป็นซีรีส์เพราะจำนวนศิลปินที่มีมากกว่าร้อยชีวิต ครอบคลุมทุกแนว ดังนั้น แต่ละคอนเสิร์ตก็จะมีธีมและศิลปินที่แตกต่างกันไป โดยจะประกาศปีต่อปี ซึ่งในปี 2023 นี้จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม กันยายน และตุลาคม ตามลำดับ

การเลือกศิลปินเรายึดจากช่วงปี 90 ถึง 2000 เพราะถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด และเรามองว่าเพลงเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีอายุไขแม้จะมีกระเเสใหม่ ๆ เข้ามา และจากพฤติกรรมทั่วโลกพบว่าคนฟังเพลงใหม่ ๆ 15% อีก 85% เป็นการฟังเพลงเก่า”

วางเป้า 3 ปีทำรายได้ 660 ล้านบาท

เบื้องต้น การลงทุนทำคอนเสิร์ตแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท คาดว่าจะทำรายได้ 220 ล้านบาท ทำกำไรประมาณ 50% โดยคาดว่าคอนเสิร์ตแต่ละครั้งจะสามารถจุดผู้ชมได้ 10,000 คน หรือประมาณ 60,000 คน/ปี ราคาบัตรอยู่ที่ 2,000-6,000 บาท

นอกจากนี้ ทุกคอนเสิร์ตยังเปิดรับสปอร์นเซอร์ ปัจจุบันมีประมาณ 10 แบรนด์ที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ซึ่งยังคงเปิดรับอยู่แต่ไม่ได้อยากจะเปิดรับมากเกินไป เพื่อให้ทุกแบรนด์สามารถเป็นที่จดจำได้

“เรามองการขายบัตรเป็นรายได้หลักส่วนสปอนเซอร์เป็นรายได้เสริม ซึ่งเราอยากทำคอนเสิร์ตไปยาว ๆ ไม่อยากให้มันจบ ดังนั้น จำนวนสปอนเซอร์ก็รับตามความเหมาะสม แต่ยอมรับราคาสปอนเซอร์อาจแพงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่แบรนด์รับได้ ส่วนราคาบัตรยังอยู่ในระดับปกติภาวิต เสริม

ไม่ปิดกั้นโอกาสอื่น

วิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 2 ค่ายใหญ่อย่างแกรมมี่และอาร์เอสสามารถสร้างเม็ดเงินให้อุตสาหกรรมเพลงไทยได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท ดังนั้น เชื่อว่าการจัดคอนเสิร์ตร่วมกันในครั้งนี้นอกจากจะสร้างความสุขให้ผู้ชม จะยังช่วยให้อุตสาหกรรมเพลงไทยสามารถเติบโตได้ เพราะการมีคอนเสิร์ตที่ทำรายได้ปีละ 200 ล้านบาทก็เท่ากับตลาดโต 20%

นอกจากนี้ยังระบุว่า คอนเสิร์ตเป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะเชื่อว่ายังมีโอกาสอื่น ๆ ให้ได้ทำอีก อย่างไรก็ตาม ทั้งสองค่ายอาจต้องมาคุยเรื่องทิศทางต่อไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าฟีดแบ็กของผู้ชมจะเป็นอย่างไร เห็นโอกาสอะไร แต่ต้องมาประเมินอีกที

“อาร์เอสมองว่า การทำธุรกิจสมัยนี้เราสามารถมีพาร์ตเนอร์ได้ในหลาย ๆ รูปแบบ การร่วมกับแกรมมี่ก็เป็นอีกพาร์ตเนอร์ชิปหนึ่งที่ทำให้เรามองเห็นโอกาส ซึ่งทั้งเราทั้งแกรมมี่ต่างก็ไม่ปิดกั้นโอกาส เรามองหาโอกาสที่จะมาต่อ ยอดซึ่งกันและกัน”

(ซ้าย) วิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

เป็นคู่แข่งไม่ใช่ศัตรู

ภาวิต ย้ำว่า อุตสาหกรรมเพลงไทยเองยังคงเติบโตได้อย่างมหาศาลเพียงแต่มันหมดยุคเทป, ซีดีมาสู่ยุคดิจิทัล หารายได้จากสตรีมมิ่ง Artist Management และคอนเสิร์ต ขณะที่ตลาดเพลงทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย 9-12% ดังนั้น การเติบโตยังทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่ภาพการแข่งขันก็เปลี่ยนไป ต้องแข่งขันกับเพลงทั่วโลก ค่ายเพลงใหม่ก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อย ๆ แต่ค่ายก็ร่วมมือกับทุกค่าย เพราะสุดท้ายผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้เวลากับใคร ดังนั้น การแข่งขันในปัจจุบันมันไม่ใช่ว่าใครดีกว่าใคร แต่มันคือการแย่งเวลาผู้บริโภคมากที่สุด

“เราอยากสร้างประวัติศาสตร์ นี่เป็นสิ่งที่ทั้งแกรมมี่และอาร์เอสอยากทำให้เกิดขึ้น เพราะโอกาสแบบนี้บางทีร้อยปีอาจไม่เกิดขึ้น การที่เราเป็นคู่แข่งกันไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกัน เราอยากทำให้เห็นว่ามันร่วมมือกันได้ ตอนนี้การแข่งขันในปัจจุบันมันไม่ใช่ว่าค่ายไหนดีกว่ากัน แต่มันคือใครแย่งเวลาผู้บริโภคมากที่สุดคนนั้นชนะ”

]]>
1425197
เปิดเส้นทาง 11 ปี “นาดาวบางกอก” จากกำไร 26,000 บาท สู่โปรดักชั่นมือทองของ GDH https://positioningmag.com/1301319 Thu, 15 Oct 2020 17:15:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301319 เเม้ชื่อของ “ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์” จะเป็นผู้กำกับชื่อดังที่เริ่มต้นได้สวยงาม จากหนังดังในตำนานอย่าง “แฟนฉัน” มาตั้งเเต่ปี 2546 เเต่เส้นทางการพลิกบทบาทสู่ผู้บริหาร ปลุกปั้น “นาดาวบางกอก” มากว่า 11 ปีนั้น ไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นัก

จากผู้กำกับร่วมในเเฟนฉัน ลงสนามเป็นผู้กำกับเดี่ยวในภาพยนตร์เด็กหอ ตามมาด้วย 5 แพร่ง, ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น และวัยรุ่นพันล้าน โกยความสำเร็จไปด้วยดี เเต่จากนั้นเขาตัดสินใจออกจาก Safe Zone ด้วยการมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการของ “นาดาวบางกอก” ซึ่ง ณ เวลานั้นยังเป็นเพียงแค่บริษัทดูแลศิลปินในสังกัดของ GTH

ย้อนความหลัง : วันที่ “นาดาว” เกือบต้อง “ปิดบริษัท” 

ช่วง 3-4 ปีเเรกของนาดาว ลุ่มๆ ดอนๆ มาก ตอนนั้นจับทางไม่ได้ว่าการพัฒนาศิลปินเเล้วมาทำรายได้อย่างไร จนกระทั่งถึงตอนถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ซึ่งตอนนั้นเกือบจะปิดกิจการบริษัทไปเเล้ว เพราะปีนั้นทำกำไรเเค่ 26,000 บาท

ย้งเล่าย้อนไปในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาของนาดาว ว่า ซีรีส์ “ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น” ซีซัน 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท ช่วย “กู้วิกฤต” ให้เขาไม่ต้องทำธุรกิจ “เจ๊ง” 

ช่วงเริ่มเเรก นาดาวบางกอก มีทีมงานเพียงแค่ 7-8 คนเท่านั้น โดยระหว่างการถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ ซีซัน 1 นั้นถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ “คนทั้งออฟฟิศ” มาทำงานเดียว จนทำให้ไม่มีเวลาไปรับงานอื่น ไม่มีรายได้เข้ามา จึงทำให้ผลประกอบการของนาดาวในปีนั้นมีกำไรเพียงแค่ 26,000 บาท (เป็นตัวเลขที่พนักงานรุ่นเก่าจำได้ขึ้นใจ)

ตอนนั้นรู้สึกท้อ คิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่เราทำไม่เป็นจริงๆ เเหละ…ทำใจเเล้ว ตอนฮอร์โมนส์ฯ ออกฉาย เราหา
สปอนเซอร์ได้เเค่เจ้าเดียว พอฉาย 2 ตอนเเรก กระเเสเริ่มมีบ้างประปราย ก็คิดว่าเราก็จะ “จบสวยเหมือนกันนะ (หัวเราะ) พอฉายไปจนจบซีซัน กระเเสตอบรับดีเกินคาด ผู้ชมเเละสปอนเซอร์ถามหาเยอะ ตอนนั้นเเหละผมถึงมีความคิดว่าต้องไปต่อ ซึ่งซีซัน 2 ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บริษัทมีทุกวันนี้

จากซีรีส์ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น นาดาวบางกอก ขยับฝ่ายโปรดักชั่นไปต่อยอดทำออริจินัลคอนเทนต์ ให้กับ LINE TV เเละทำซีรีส์ที่เจาะตลาดคนทุกวัยอย่าง “เลือดข้นคนจาง” ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

ซีรีส์ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น ซีซัน 1

รายได้ของ “นาดาว” มาจากอะไรบ้าง 

ปัจจุบันงานหลักๆ ของนาดาวบางกอก มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ ฝ่ายดูแลพัฒนาศิลปินนักแสดง ฝ่ายโปรดักชั่นผลิตซีรีส์คอนเทนต์ และค่ายเพลง Nadao Music

ด้วยความที่ธุรกิจของนาดาวขึ้นอยู่กับคนอื่นเยอะทั้งลูกค้าเเละสปอนเซอร์ พรีเซ็นเตอร์เเละอีเวนต์ต่างๆ จึงทำให้คาดการณ์รายได้ยากว่าในเเต่ละปีบริษัทจะโตเท่าไหร่ โดยรายได้ในปี 2019 อยู่ที่ราว 270 ล้านบาท

เเบ่งรายได้ของนาดาวง่ายๆ เป็น 2 ส่วน ได้เเก่ ดูแลศิลปินและนักแสดง ราว 60% ส่วนอีก 40% มาจากการทำซีรีส์และคอนเทนต์ต่าง ๆ

ที่น่าสนใจคือกำไรที่ได้นั้นกลับสวนทางกัน โดยฝ่ายโปรดักชั่น เเม้จะมีรายได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เเต่ทำกำไรเมื่อหักค่าใช้จ่ายเเล้วได้ประมาณ 20-30% ขณะที่ส่วนดูเเลศิลปิน รายได้ส่วนใหญ่ที่ได้จากค่าตัว มักจะถูกแบ่งให้กับศิลปินในสัดส่วนที่มากกว่า เเละเมื่อหักลบอะไรต่าง ๆ แล้ว จึงเหลือเป็นกำไรกลับมายังบริษัทเพียงแค่ประมาณ 8-15% ต่องานเท่านั้น

ช่วงที่จัดอีเวนต์ไม่ได้ หายไปเลยกว่า 2 เดือนที่ล็อกดาวน์นั้น กระทบงานส่วนดูเเลศิลปินโดยตรง เพราะรายได้ศิลปินทั้งหมดมาจากงานอีเวนต์ราว 20% พรีเซ็นเตอร์ 70% เเละออนไลน์ 10%”

ยัง เล่าลึกลงไปถึงการลงทุนในโปรดักชั่นว่า ซีรีส์ส่วนใหญ่ของนาดาว มีต้นทุนต่อตอนราว 2.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงกว่าละครในช่วง Prime-Time ของทีวีช่องใหญ่ทั่วไป ที่มักจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4-1.5 ล้านบาท

การจะให้ลดต้นทุนโปรดักชั่นเพื่อเพิ่มกำไร ไม่ใช่ทางของนาดาว มันเป็นเรื่องของการรักษาคุณภาพ รายละเอียดของงาน เพราะคนทำงานก็มาจากคนทำหนัง พอลงมาทำสเกลเล็กกว่าอย่างซีรีส์ ค่าตัวของทีมงานก็ยังเหมือนเดิม มีซีนเยอะขึ้นก็มีค่าตัดต่อเพิ่มอีก เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในเเต่ละปี จึงได้ชมซีรีส์จากนาดาวเพียง 1-2 เรื่อง

โดยตอนนี้รายได้ของนาดาวบางกอก มาจากในประเทศ 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นรายได้ที่มาจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่มาจากจีนที่ซื้อซีรีส์ไปฉาย)

ความท้าทายของธุรกิจ “ดูเเลศิลปิน” 

ตอนนี้นาดาวบางกอก มีศิลปินอยู่ในสังกัด 36 คน การทำงานกับ “คนรุ่นใหม่” ที่มีความคิดความอ่านเเตกต่างกันตามเจเนอเรชันนั้น “ไม่ใช่งานง่ายๆ”

ทรงยศ บอกว่า นโยบายของนาดาวยังคงเหมือนเดิม คือ การพัฒนาคนขึ้นมาให้เป็นนักเเสดงเเละศิลปินที่ดีพอให้คนข้างนอกมาจ้าง อยากทำงานกับพวกเขา ไม่ใช่วนเล่นหนังให้กับ GDH หรือนาดาว

ถ้าเห็นน้องคนไหนไปทำงานข้างนอกเยอะๆ ไม่ได้ทำนาดาวเลย นั่นคือนักเเสดงที่เราภูมิใจนะ เราพยายามส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาตัวรอด ทำงานกับผู้จัดข้างนอกได้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ถือว่าภูมิใจในสิ่งที่เราทำมา เเละน้องๆ ก็ได้ออกไปทำในสิ่งที่อยากทำด้วย

“เเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เเผนการตลาดเเละสื่อสารองค์กรของนาดาวบางกอก เสริมว่า สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการที่ศิลปินอยู่กับเราตั้งเเต่เด็กจนโต ทำให้เห็นความเปลี่ยนเเปลง พอเป็นวัยรุ่นก็ต้องใช้เหตุผลคุยกัน มุมหนึ่งก็คุยกันง่ายขึ้น เเต่อีกมุมเขาก็เริ่มมีทัศนคติ มีเเนวคิดของตนเอง

อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้ศิลปินยังอยู่กับนาดาว” ?

ย้งตอบว่าผมไม่เคยถามน้องๆ นะ เเต่เดาว่า คงเป็นการที่เราอยู่เเบบพี่น้อง การทำสัญญากับนาดาวไม่มีการผูกมัด ถ้าศิลปินรู้สึกว่าวันหนึ่งไม่อยากทำเเล้ว อยากยกเลิกสัญญา ก็ทำ เมื่อไหร่ก็ได้ เเต่ต้องมาคุยกันก่อน มีเหตุผลที่เข้าใจได้เเละไม่มีอะไรค้างคา ทำงานเเบบรับผิดชอบต่อกัน เรื่องการบริหารคนก็มีปัญหาหยุมหยิมไปหมด เเต่ต้องคุยกันให้เข้าใจ ให้รู้สึกสบายใจ

ย้ง ทรงยศเเละเเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา สองผู้บริหารของนาดาวบางกอก

ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา เฟ้นหาเด็กมา “ปั้นเป็นดารา” อย่างไร มองจากอะไร ?

ผมว่ามันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เวลาเเคสติ้งนักเเสดงมาเล่นหนังก็เจาะจงไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องรสนิยมส่วนตัว เเต่เด็กที่ทำให้เราสนใจได้ ต้องมีคาเเร็กเตอร์บุคลิกเฉพาะตัวของเขา เช่น เดินมาเเล้วพูดอะไรบางอย่าง เเล้วเราจำเด็กคนนี้ได้ ไม่ใช่เเค่เรื่องหน้าตาเท่านั้น เเต่ชวนมอง มองได้ไม่เบื่อ

นาดาวบางกอก มีการเสริมทักษะให้ศิลปินต่างๆ เริ่มจากการให้เรียนการเเสดงก่อนจากนั้นค่อยๆ ให้เข้าสู่โปรเจกต์ที่ไม่ยากเกินตัว เวลาส่งศิลปินไปเเคสติ้งงาน ก็อยากรู้ฟีดเเบ็กจากลูกค้าว่าทำไมเลือกศิลปินเรา เเละทำไมไม่เลือก เพื่อนำมาปรับปรุงเเละพัฒนาต่อไป

ความเป็นเด็กนาดาว ทำให้มีภาษีกว่าที่อื่นไหม ?

ถ้าเป็นช่วงหลังๆ ก็อาจจะมีบ้าง มีข้อได้เปรียบว่ารุ่นพี่สร้างภาพจำที่ดีว่าสังกัดนี้ตั้งใจ รับผิดชอบเเละมีทักษะการ
เเสดงที่โอเคระดับหนึ่ง เเต่สุดท้ายเเล้วก็ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลว่าตัวเขาเองทำได้ดีเเค่ไหน

Nadao Music กับความฝัน T-POP ระดับเอเชีย

ย้งเล่าว่า การทำค่ายเพลงของนาดาว เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจทำเป็นธุรกิจ เเต่เกิดจากการที่มีกลุ่มศิลปินที่มีความสามารถด้านการร้องเพลง โดยสมัยก่อนจะให้ไปเซ็นสัญญากับที่อื่น เเต่พอมาคิดดูเเล้ว คงถึงเวลาเเล้วที่นาดาวจะต้องจะทำเองเพื่อซัพพอร์ตความสามารถของศิลปิน

เมื่อพอคิดจะมียูนิตนี้ อย่างไรก็ต้องทำให้เป็นธุรกิจให้ได้ ด้วยความบังเอิญที่ตอนนั้นซีรีส์รักสุดใจนายฉุกเฉิน เเล้วทำเพลงประกอบ “รักติดไซเรนเกิดกระเเสฮอตฮิตขึ้นมา จึงเป็นการปูทางให้บริษัทได้เรียนรู้การทำตลาดจากเพลงจริงจัง โดยตอนนี้มีเบลสุพล นักร้องชื่อดัง มานั่งแท่นเป็นหัวเรือใหญ่

ล่าสุดมีศิลปินในสังกัด 6 คน คือ เจเลอร์ กฤษณภูมิ , ไอซ์ พาริส , กัปตัน ชลธร , บิวกิ้น พุฒิพงศ์ , แพรวา ณิชาภัทร เเละนาน่า ศวรรยา โดยมีเเผนจะเพิ่มศิลปินในอนาคต เเต่ขอโฟกัสที่มีอยู่ตอนนี้ให้ดีก่อน

ถ้าถามว่านาดาว บางกอกมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ต้องขอบคุณซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ถ้าถามว่าเกิด Nadao Music ได้ยังไง ก็ต้องขอบคุณเพลงรักติดไซเรน

ความคืบหน้าของ Nadao Music นั้น ย้งบอกว่า เพิ่งเปิดตัวเป็นปีเเรก…ต้องสู้กันอีกยาวยังยากลำบากเเละผลประกอบการก็ยังน่าเป็นห่วง เเต่ไปต่อเเน่นอน

ผู้บริหารนาดาว มองว่า เเม้ธุรกิจค่ายเพลงจะอยู่ในช่วงขาลง เเต่วงการนี้ยังมี “ลู่ทาง” ที่จะไปต่อได้ เช่น การขยายฐานตลาดเเฟนเพลงออกไปยังต่างประเทศแทน เริ่มจากประเทศในอาเซียน ที่ตอนนี้นาดาวมีฐานแฟนอยู่ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และจีน อยู่แล้ว ถ้าเราอยากทำเพลงดี ลงทุนสูง ตลาดในบ้านเรา อาจจะไม่พอ

โดยตั้งเป้าจะเจาะตลาดเอเชียเป็นหลัก ซึ่งประเทศที่ฝันอยากจะไปให้ถึงก็คือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น  เพราะทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมด้านบันเทิงที่แข็งเเกร่งมาก

ถ้าถามว่าเป้าหมายอยากทำ T-POP ให้โด่งดังในระดับเอเชียไหม คำตอบคืออยากมาก เเต่จะสำเร็จไหมก็ต้องดูกันยาวๆ”

ซีรีส์วาย ต้อง “หลากหลาย” ถ้าอยากไปต่อ

นาดาวเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เจ้าเเรกๆ ที่ลงสนามมาทำ “ซีรีส์วาย” จนตอนนี้กลายเป็นกระเเสฮิตติดลมบนไปเเล้ว

“เรากำลังทำความเข้าใจเเละเรียนรู้ตลาดซีรีส์วายอยู่ตลอด เเต่ไม่ได้มองว่าพอตลาดมันฮิตเเล้วค่อยลงไปทำ เเต่เราทำเพราะทีมงานเราอยากทำ มาเสนอโปรเจกต์ที่เห็นว่าเหมาะสมกับช่วงเวลาเเละพอจะขายได้ เช่น แปลรักฉันด้วยใจเธอ ก็เป็นการต่อยอดการเเสดงของ #พีพีบิวกิ้น จากบทหมอเต่าทิวเขาในละครรักฉุดใจนายฉุกเฉิน”

ผู้บริหารนาดาว มองว่า ตลาดซีรีส์วาย ถือว่าเติบโตเร็วเเละใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เเม้ทุกวันนี้จะเป็นเฉพาะกลุ่ม เเต่เป็นกลุ่มที่กว้างมาก ทำให้เราเห็นว่าโลกทุกวันนี้ สิ่งที่เป็น Niche Market จะกลายเป็นตลาดเเมส ไม่มีอะไรที่เเมสจริงๆ เเล้ว ซีรีส์วายก็จะเป็น Niche ที่เเมสไปอีกเเบบหนึ่ง

ผมว่าซีรีส์วาย ถ้าอยากจะไปต่อ เราต้องทำคอนเทนต์ให้หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เเละมีมาตรฐานชัดเจน

ซีรีส์วายเรื่องใหม่ของนาดาวบางกอก -แปลรักฉันด้วยใจเธอ

ศิลปินคอนเทนต์กับวิกฤต COVID-19

ทรงยศ กล่าวถึงการปรับตัวของนาดาวบางกอก ในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ฟังว่า ตอนเเรกก็ตั้งตัวไม่ทัน ต้องเเก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเเทบทุกอย่าง เพราะตอนนั้นถึงเวลาเปิดกล้องถ่ายทำละครแปลรักฉันด้วยใจเธอเเต่จากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ออกไปถ่ายทำไม่ได้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์เเบบวีคต่อวีค

ส่วนมากต้องเจรจากับลูกค้า เพราะการเลื่อนถ่ายทำคือการเลื่อนฉาย เเต่จะเลื่อนไปได้ถึงไหน ตอนนั้นยังไม่รู้ เเต่หลังเราชนฝาได้เพียงสิ้นปี จะข้ามปีไม่ได้ ทั้งปัญหางบประมาณเเละคิวนักเเสดง จากใบเสนอราคาที่เคยเข้าบริษัทเดือนละ 30 ใบ ตอนนั้นเข้าเเค่ 6 ใบ” 

ส่วนธุรกิจดูเเลศิลปินนั้น ต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะงานอีเวนต์ต่างๆ ที่บริษัทรับไว้ถูกยกเลิกเพราะสุ่มเสี่ยงเกินไป เหล่าสปอนเซอร์ที่เป็นคอนซูมเมอร์โปรดักส์ได้รับผลกระทบหมด เพราะขายของไม่ได้ จึงมีผลต่อการตัดสินใจในงบที่จะมาเป็นผู้สนับสนุนซีรีส์สักเรื่องมีทั้งเจ้าที่ยกเลิกเเละระงับโปรเจกต์ไปก่อน

ช่วง COVID-19 ดูเหมือนนาดาวจะเงียบๆ ไม่มีงาน เเต่งานหลักของเราคือการเเก้ปัญหาความวุ่นวายหลังบ้าน เช่น ลูกค้าที่ซื้อพรีเซ็นเตอร์ศิลปินเรา ถ่ายโฆษณาไม่ได้ ออกอีเวนต์ไม่ได้ น้องเราจะช่วยอะไรกลับได้บ้าง ทำอะไรทดเเทนได้บ้าง

เเบรนด์ต่างๆ ก็ปรับตัวเร็ว อย่างการเปลี่ยนให้ศิลปินไลฟ์เองจากที่บ้าน โพสต์รูปกักตัวอยู่บ้านในอินสตาเเกรมเเละทวิตเตอร์ รวมไปถึงให้ศิลปินช่วยไลฟ์ในเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กระตุ้นขายของ ซึ่งต่อไปการจัดอีเวนต์หรือโปรโมตสินค้า ก็คงต้องเป็นรูปแบบผสมออฟไลน์ออนไลน์

ศิลปินก็ต้องปรับตัว ทำคอนเทนต์กึ่งๆ โฆษณาจากที่บ้านเอง เเต่งหน้าเองเพราะไม่มีกองถ่ายไปดูเเล พวกเขาต้องถ่ายเอง ลองผิดลองถูก มีการทำคอนเทนต์กักตัวเดอะซีรีส์ ทุกอย่างโปรโมตผ่านออนไลน์ ทำให้ได้เข้าใจการใช้เเพลตฟอร์มโซเชียลมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายใหม่ของศิลปินในยุค New Normal”

หลังคลายล็อกดาวน์ ทีมงานสามารถกลับมาทำงานโปรดักชั่นได้เต็มรูปแบบเเล้ว เดินหน้ากองละครต่อเนื่องได้ตั้งเเต่ช่วงเดือนสิงหาคม ตอนนี้ก็ถือว่ากลับเข้าสู่โหมดปกติศิลปินเริ่มมีงานอีเวนต์เเละลูกค้าหลายๆ เจ้าก็พร้อมเตรียมลุยงานปีหน้าเเล้ว

ใจเราก็อยากโตทุกปี ไม่เคยมีเป้าตัวเลขชัดเจน ขอเเค่ไม่ต่ำกว่าเดิม ปีที่เเล้วเราจบที่ 270 ล้านบาท เเต่เมื่อเจอโรคระบาด ปีนี้ก็คงไม่โตเเน่นอน ต้องลุ้นกันว่าจะไปได้ถึงจุดไหนมากกว่า คาดว่าสินปีนาดาวคงทำรายได้ไม่เกินที่ 230 ล้าน

ผู้กำกับสู่ผู้บริหาร : มุมมองที่เปลี่ยนไป

จริงๆ ผมก็อยากกลับไปเป็นผู้กำกับนะ เเต่ก็ได้เรียนรู้จากการเป็นผู้บริหารเยอะมาก เรานิ่งขึ้น ได้ใช้สกิลหลายๆ อย่างไปจัดการงานในเชิงสร้างสรรค์

ไม่ได้ชอบงานบริหาร ไม่ได้อินขนาดนั้น เเต่ถามว่าสนุกไหม ก็สนุกมาก ตลอด 11 ปีที่ผ่านมามีช่วงเครียด มีปัญหารุมเร้า เเต่เพราะได้ทำงานที่เราชอบ กับคนที่เราอยากทำงานด้วย จึงกลายเป็นความท้าทายเวลาต้องลงไปเเก้ปัญหา ด้วยความที่เราเป็นผู้กำกับก็ทำให้เห็นภาพรวม ก็เลยช่วยให้ทำงานบริหารได้

เเม้กลุ่มผู้ชมของนาดาวส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นมัธยมมหาลัยเเต่เวลาทำงานคอนเทนต์จะต้องมองให้ครบทุกเจเนอเรชัน ผลักดันให้ไปถึงทุกกลุ่ม อย่างเช่น ตอนทำละครเลือดข้นคนจางเเรกๆ จะดันศิลปิน 9by9 เเต่เราก็ต้องเล่าเรื่องให้คนเข้าถึงเยอะที่สุดเเต่ก่อนเราทำหนังทำซีรีส์มา เเม่เราไม่เคยได้ดูเลย เราก็เลยอยากทำเลือดข้นฯ ให้เเม่ดูบ้าง

โดยได้มีการทำความเข้าใจกับผู้ชมในทุกช่องทาง เช่นการอ่านคอมเมนต์ใน “ทวิตเตอร์” ซึ่งเขามองว่าเป็นฟีดเเบ็กที่สดเเละจริง เพราะคนดูเเล้วรู้สึกอย่างไรก็ทวีตออกมาเลย

“ผมสนใจคำติมากกว่าคำชมด้วยซ้ำ เพราะเราจะได้รู้ทิศทางว่าควรพัฒนางานเราต่อไปยังไง” 

ในวันที่ “ย้ง-ทรงยศ” ขยับจากผู้กำกับมาเป็นผู้บริหาร เเละนาดาวประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เริ่มภารกิจ
“ส่งไม้ต่อ” ให้กับผู้กำกับรุ่นใหม่อย่าง พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ผู้กำกับละคร ฉลาดเกมส์โกง เเละ บอสนฤเบศ กูโน ผู้กำกับ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน, Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ เเละแปลรักฉันด้วยใจเธอ

“การปั้นคนทำงานยังเป็นความท้าทายของเราอยู่ ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมาถึงวันที่นาดาวมีพนักงาน 50 คน จากจุดเริ่มต้น 7-8 คน ตอนนี้มองว่าการที่เราจะไปต่อได้ไกลๆ ยังไงก็ต้องสร้างคนทำงาน จะสร้างเเค่ศิลปินไม่ได้ นาดาวจะพยายามเดินไปในเส้นทางที่ทำงานในปริมาณที่เราทำได้ดี อยู่มือเเละควบคุมภาพได้ต่อไป

 

 

]]>
1301319
ก้าวทันดิจิทัล! Radiohead เปิด “ห้องสมุดออนไลน์” คลังสะสมผลงานเพลง-อีพีหาฟังยาก https://positioningmag.com/1261467 Tue, 21 Jan 2020 17:40:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261467 ก้าวทันยุคดิจิทัลจริงๆ เมื่อวงดังระดับตำนานจากเกาะอังกฤษ “Radiohead” เปิดตัว “ห้องสมุดสาธารณะทางออนไลน์” ให้เเฟนเพลงเข้าถึงคลังข้อมูล อัลบั้ม มิวสิควิดีโอ ไลฟ์การแสดง บริการสตรีมมิ่ง รวมไปถึงปล่อยเพลงหายาก เเถมช่วงเเรกสมาชิกในวงยังจะผลัดกันมาทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์เองด้วย…

ยิ่งเก่ายิ่งหาฟังยาก…Radiohead Public Library จะมาเพื่อเเก้ไขปัญหานี้เพราะทางเว็บไซต์จะมีคลังข้อมูลเเบบถาวร รวมทุกอัลบั้ม ทุกมิวสิควิดีโอ การแสดงสด ทั้งคอนเสิร์ตเเละทีวี งานศิลปะ จดหมายข่าว แทร็ก B-Sides
เเละให้เเฟนคลับได้สั่งสินค้าเกี่ยวกับวงเเบบพิเศษทางออนไลน์ด้วย

โดยยังได้อัปโหลดเพลงที่ไม่สามารถใช้งานได้ก่อนหน้านี้ในบริการสตรีมมิ่ง รวมถึงการปล่อยเพลงหายากอย่าง ‘Drill’ อีพีเดบิวต์ในปี 1992, เพลง ‘I Want None of This’ จากอัลบั้มรวมฮิตเพื่อการกุศล ‘Help!: A Day in the Life’ ในปี 2005 และ ‘TKOL RMX 8’ รีมิกซ์อีพีในปี 2011

ห้องสมุดออนไลน์ของ Radiohead ยังเปิดให้ผู้เข้าชมสามารถทำบัตรสมาชิกห้องสมุด Radiohead ของตัวเอง
เเละดาวน์โหลดเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้ (ไม่ได้ขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ด้วย)

พิเศษยิ่งไปอีก เมื่อสมาชิกวงทุกคน ทั้ง Colin เเละ Jonny Greenwood, Ed O’Brien, Philip Selway
เเละ Thom Yorke จะผลัดกันมาทำหน้าที่ “บรรณารักษ์” ของห้องสมุดออนไลน์ คนละ 1 วัน จนถึงวันที่ 24 มกราคมนี้ เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่คัดสรรผ่านโซเชียลมีเดียของวง โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา Colin ก็ได้มาลงรายการเพลงที่ตัวเองรวบรวมไว้ พร้อมด้วยความเห็น รูปภาพ และบัตรห้องสมุดของเขาด้วย

เเฟน ๆ ไปเยี่ยมชมห้องสมุดสาธารณะออนไลน์ของวง Radiohead กันเลยที่นี่ https://radiohead.com/library/

ที่มา : theverge

]]>
1261467
Facebook จับมือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ให้ใช้เพลง ประกอบวิดีโอ โพสต์แชร์ในเฟซบุ๊ก-ไอจีได้แล้ว https://positioningmag.com/1220065 Fri, 15 Mar 2019 05:52:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220065 ตามปกติแล้วการจะใช้เสียงเพลงประกอบในการทำคลิปวิดีโอ จะต้องขออนุญาต หรือซื้อลิขสิทธิ์เจ้าของค่ายเพลง

แต่ล่าสุด Facebook ได้ประกาศความร่วมมือกับค่ายเพลงรายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอสอย่างเป็นทางการ ในการให้แฟนเพลงชาวไทยสามารถใช้เพลงไทยที่ได้รับอนุญาต ประกอบในวิดีโอและโพสต์ที่แชร์บน Facebook และ Instagram

ทั้งคู่เชื่อว่า จะทำให้รู้สึกมีความหมายและมีความเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น ยังทำให้คนเข้าถึงดนตรีหลากหลายแนวเพลงจากศิลปินไทยได้มากขึ้น มากกว่าหลายหมื่นเพลง ไม่ว่าจะเป็น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ไปจนถึง บอดี้สแลม ลาบานูน โปเตโต้ และต่าย อรทัย รวมถึงศิลปินเพลงลูกทุ่งชื่อดังอย่าง เบิ้ล ปทุมราช อาร์สยาม ใบเตย อาร์สยาม กระแต อาร์สยาม จ๊ะ อาร์สยาม ธัญญ่า อาร์สยาม และศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย

เอริกา เอิง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจด้านดนตรีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Facebook กล่าวว่า นอกจากร่วมงานกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอสแล้ว ยังมีพันธมิตรกว่าอีก 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาประเภทดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม (users-generated content) มากยิ่งขึ้น

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ต้องการเปลี่ยนแปลงดนตรีเป็นรูปแบบเนื้อหาที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับแฟนๆ และยังสามารถสร้างบทสนทนาทางสังคมได้อีกด้วย ซึ่ง Facebook ได้ให้บริการเครื่องมือและฟีเจอร์ที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ช่วยสนับสนุนทั้งดนตรี คอนเสิร์ต และศิลปิน แกรมมี่เองมีศิลปินหลากหลายที่มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป

“ดังนั้น เราจึงได้สร้างชุมชนแฟนคลับของเรา ที่ทำให้เราสามารถพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกลุ่มและสามารถรักษาความสัมพันธ์กับแฟนๆ ได้”

พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยคลังเพลงของเราซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ฟังเพลงชาวไทย ที่มีมานานกว่า 30 ปี เรามั่นใจว่าความเคลื่อนไหวของ Facebook ในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความตื่นเต้นที่มากยิ่งขึ้นสู่วงการดนตรีในประเทศไทย”.

]]>
1220065
“บอย โกสิยพงษ์” ในวันที่พายุดิจิทัลซัดกระหน่ำ เพลงไม่ตาย แต่ต้องกลายพันธุ์ “แฟนคลับ” แอสเสทที่แท้ทรูของธุรกิจบันเทิงวันนี้ https://positioningmag.com/1158534 Fri, 23 Feb 2018 07:16:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158534 ในโลกดิจิทัล เพลงเป็นหมวดแรกในธุรกิจบันเทิงที่โดน “Disrupt” ก่อนใคร อีกทั้งแอปพลิเคชั่นให้ฟังเพลงฟรีก็มีมากมายทั่วโลก ทำให้ เพลง” ซึ่งเคยเป็นสินค้าหลักของธุรกิจ ถูกแปลงสภาพเป็น “ฟรี” คอนเทนต์ที่ถูกแชร์ให้เสพเป็นของสาธารณะที่ไม่มีราคา รายได้ของธุรกิจเพลงหายวับไปกับตา ค่ายเพลงบางค่ายถึงกับต้องหันไปขายเครื่องสำอาง หรือพึ่งรายได้จากการขายสินค้าทางทีวี แทนการขายเพลงที่แทบไม่เหลือมูลค่าเพิ่มใด  แล้ว 

บอย โกสิยพงษ์ เจ้าพ่อเพลงรัก ผู้ให้กำเนิดค่ายเบเกอรี่ มิวสิค ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของค่ายเลิฟอีส (Love is) ในภายหลัง ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรมเพลงของไทย ที่ต้องเจอดิสรัปต์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ถึงขั้นต้องหลบอยู่นิ่ง ๆ ในวันที่ฝนพรำ และพายุดิจิทัลก็ทำให้เขาต้องเห็นถึงความแตกต่างของโลกที่เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ

บอย คนเดียวกันนี้ ได้ถูกรับเชิญมาอยู่บนเวทีสัมมนา Digital Intelligent Nation 2018 ของเอไอเอส ค่ายมือถือ เพื่อบอกเล่าถึงการปรับตัวครั้งสำคัญบนเส้นทางใหม่ในโลกดิจิทัล

จากเจ้าของค่ายเพลงที่เคยทำรายได้หลักจากเพลง ปั้นนักร้องมากี่คน ออกอัลบั้มขายซีดีแต่ละทีลงทุนโปรโมตเท่าไร อย่างต่ำที่สุดก็จะต้องขายซีดีได้เป็นแสนก๊อบปี้ขึ้นไป แต่ยุคนี้ไม่มีภาพแบบนั้นอีกแล้ว

ตอนแนปสเตอร์ (Napster) มา ผมคุยกับน้องชายว่า ซวยแน่ๆ แต่เรายังไม่รู้ว่ากระแสเอ็มพี 3 (mp3) จะเกิดอะไรขึ้น ช่วงนั้นตลาดเพลงยังไม่หาย แต่เหมือนเห็นฟ้าครึ้มแล้วรู้ว่าฝนมาแน่

พายุดิจิทัลก็ซัดอุตสาหกรรมเพลงหนักมาก เพราะตั้งแต่เริ่มมีไฟล์เพลงดิจิทัลยอดขายซีดีจากแสนจากล้านก๊อบปี้ รายได้จากการขายเพลงลดเหลือแค่เปอร์เซ็นต์เดียว

สถานการณ์ธุรกิจไม่น่าไว้ใจ แม้บริษัทจะยังมีรายได้ที่ทดแทนการขายซีดีอยู่บ้างแบบบางมากๆ และรายได้จากการทำโชว์ การจัดคอนเสิร์ตในตอนนั้น กลยุทธ์เดิมของบริษัทคิดแค่ใช้กิจกรรมเหล่านี้เป็นการตอบแทนให้ความสุขแฟนๆ มากกว่าจะเป็นรูปแบบของการทำกำไรทางธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งต่างจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อดิจิทัลทำให้ธุรกิจเพลงต้องเปลี่ยนตัวเองแบบ 360 องศา

เมื่อเพลงเป็นมีเดีย กำไรไม่ได้มาจากเพลง

บอยเลือกใช้กลยุทธ์ในวันที่ฝนพรำ เปลี่ยนการทำตลาดเพลง จากบีทูซี เพราะเห็นแน่ๆ ว่าผู้บริโภคไม่จ่ายเงินซื้อซีดีอีกต่อไปแล้ว ไปมองหาคนที่จะยอมจ่ายเงินแทน โดยเปลี่ยนมาทำธุรกิจเพลงแบบ บีทูบี เพราะเรื่องเพลงคนหาฟังได้อยู่แล้ว

ในเมื่อ

บริษัทไม่ได้กำไรจากเพลง และเพลงกลายเป็นมีเดียแทน

จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการขยายฐานแฟนคลับ สร้างศิลปินกลุ่มใหม่ เปลี่ยนรูปแบบการขายโดยให้ธุรกิจเป็นคนจ่าย

เพราะของฟรีคนรับส่วนใหญ่ก็ชอบ แต่จะทำอย่างไรให้มีคุณค่าและแฟนคลับยังอยากได้ซีดีที่จับต้องได้ไปเก็บไว้ ซึ่งต้องยอมรับล่ะว่า ศิลปินในสังกัดของบอย มีความสามารถ เอ็นเตอร์เทนคนได้ แต่มากกว่าครึ่งก็ไม่ใช่แนวที่แฟน ๆ อยากถ่ายรูปคู่จับมือด้วย เพราะฉะนั้นจะมาขายบัตรจับมือพ่วงซีดี หรือบัตรงานมีทแอนด์กรี๊ดก็ไม่ใช่แนว แถมศิลปินหลายคนก็ขึ้นแท่นระดับแถวหน้าไปแล้วด้วยผลงานและวัย

ช่วงนั้นผมเซ็นลายเซ็นบนซีดีที่ขายผ่านบีทูบี (ที่จะแจก) 400,000 แผ่น ตั้งใจจะแจกเป็นล้าน เพื่อให้เข้าถึงแฟนเพลงให้ได้เป็นล้านคน ทำแบบนี้ต่อเนื่องอยู่ 3-4 ปี บีทูบีทำให้ตั้งสติได้ว่า จะเอาไงดีต่อจากนี้ เพราะภาพชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่า พาราไดม์เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ จะคิดแบบเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแล้วจริง ๆ

การขายลายเซ็นบนแผ่นซีดี ก็เลยเป็นเทคนิคการขายที่ทำให้บอยยังทำยอดขายซีดีให้กับธุรกิจเพลงของเขาได้ แม้ซีดีเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ถูกเปิดฟังก็ตาม

ส่วนจุดที่คิดว่าต้องเปลี่ยนเพื่อพาอุตสาหกรรมเพลงให้รอด บอยยังได้แรงหนุนจากคำของพ่อที่เคยสอนไว้ว่า

ต้นไม้เวลาถูกริด ถูกตัดจนโกร๋น อีกสักพักจะเบ่งบาน มีใบใหม่ มีดอก ถ้ายิ่งขึ้นทะลุจากปูนก็ยิ่งอยู่ได้นาน ผมคิดว่า ชีวิตธุรกิจก็เช่นกัน เราก็ต้องทำแบบนั้น เราต้องอยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

เจ้าพ่อเพลงรัก เห็น “Insight” อะไรจากโลกอินเทอร์เน็ต

วิธีการหาทางออกของบอยเริ่มจากที่เขาสังเกตเห็นว่า คนเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเยอะมาก แล้วใช้บนมือถือ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ขับรถอยู่ก็ยังหยิบมาเล่น จึงคิดว่า จะต้องทำอย่างไรให้สามารถเปลี่ยนช่วงเวลานั้นของคนใช้อินเทอร์เน็ตให้มีมูลค่า แล้วเอามูลค่านั้นมาจ่ายให้อุตสาหกรรมดนตรี หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ อยู่รอด

การคิดจะเปลี่ยนความสิ้นเปลืองมาเป็นรายได้ให้อุตสาหกรรมดนตรี จากที่เคยจับเข่าคุยกับน้องชายเรื่องลางร้ายของอุตสาหกรรมดนตรี ก็ถึงเวลาจับเข่าคุยเพื่อหาทางออก ซึ่งกลายเป็นที่มาของแอปพลิเคชั่นแฟนสเตอร์ (FanSter) 

FanSter แอปฯ ที่คิดขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมติ่ง

ที่สุดของติ่งหรือแฟนคลับระดับสาวก คือการได้รับรู้ว่าไอดอลที่ชื่นชอบรู้ถึงความชื่นชมคลั่งไคล้ที่เหล่าติ่งทั้งหลายมีต่อพวกเขา และได้รับแฟนเซอร์วิสกลับมาในรูปแบบต่าง ๆ

การเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายไหน ให้กลายเป็นการแสดงออก หรืออะไรที่จับต้องได้ไม่เพียงมีคุณค่าทางจิตใจ แต่สามารถทำให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ” ได้ด้วยเช่นกัน

7-8 ชม.ที่คนใช้ชีวิตอยู่บนมือถือ แน่นอนว่าส่วนใหญ่คือการใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ดังนั้น ถ้าคิดจะมีแอปฯ ที่ดึงทุกคนมาไว้ที่เดียว แอปฯ FanSter ก็เลยต้องรวมทุกคอนเทนต์ที่กระจายในโซเชียลแพลตฟอร์มของศิลปิน หรือไอดอลทุกคนมารวมไว้ที่เดียว เพื่อดึงดูดแฟนคลับด้วยการอำนวยความสะดวกให้ติดตามศิลปินที่ชอบจากทุกโซเชียลแอปพลิเคชั่นได้ในแฟนสเตอร์ 

ถ้าเราทำให้ แทนที่คนจะใช้ทุกโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม มาใช้บนแฟนสเตอร์ที่เดียว เราก็จะใช้เวลาที่เขาใช้ มาสร้างรายได้ให้เรา ผ่านการโฆษณา หรือกิจกรรมต่าง

วิธีการของ FanSter คือ เมื่อเปิดแอปฯ แล้ว ก็จะพบขั้นตอนดังต่อไปนี้

• ระบบจะถามว่า อยากติดตามใครบ้าง โดยจะมีรายชื่อไอดอลโชว์ขึ้นมาในรูปวงกลมเรียงกันไป ให้กดเลือกว่าอยากจะติดตามใคร

• เมื่อกดติดตามแล้ว ระบบจะแสดงให้เห็นด้วยการเปลี่ยนกรอบรูปวงกลมเป็นกรอบรูปหัวใจ ปัจจุบันมีแค่ศิลปินนักร้องจากหลาย ๆ ค่ายเล็กที่บอยรวบรวมมาแบบไม่จำกัดค่าย ในอนาคตจะไม่จำกัดศิลปิน จะมีดารา นักเขียน นักมวย คนที่มีแฟนคลับ เช่น ชมรมรถยี่ห้อต่าง ๆ ของเล่น เข้ามาอยู่ในนี้หมด

• คนที่กดติดตามจะสามารถดูทุกฟีดของศิลปินคนนั้นได้จากทั้งที่ลงในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูป ทวิตเตอร์

• ฟีดที่จะได้เห็น ไม่จำกัดแค่ของศิลปิน หรือที่เป็นออฟฟิศเชียลฟีดเท่านั้น ส่วนที่แฟนฟีด หรือฟีดของกลุ่มแฟนคลับของไอดอลก็โชว์ให้เห็นได้ด้วย

• มีระบบเอ็นเกจเมนต์เหมือนในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ให้กดแสดงความรู้สึกและแชร์ต่อไปในเฟซบุ๊กได้

• มีระบบกระตุ้นเพื่อสร้างเอ็นเกจเมนต์ด้วยการให้คะแนนสะสมไว้ในระบบคะแนนยิ่งมากเลเวลยิ่งเพิ่ม

• คะแนนที่ได้จะเป็นเหมือนบัตรใช้ผ่านเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับศิลปินในกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น

• โดยรวมในแอปฯ จะแบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนของผู้ใช้ฟีดของศิลปิน เอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ มิชชั่น และของรางวัล

คะแนนนสะสม เลเวลที่ได้ จะแสดงให้เห็นว่า เวลาที่เขาใช้บนมือถือเริ่มมีคุณค่า ระบบจะบอกเลยว่า ใครใช้เวลากับใครเท่าไรในช่วงอาทิตย์หนึ่ง และเวลาสะสมทั้งหมด ศิลปินก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้ เพราะเข้าไปดูได้ว่าคนไหนเลเวลเท่าไร เข้าไปดูถึงหลังบ้านของแฟนได้เลยว่า คนที่ติดตามเขาตอนนี้ อกหัก อินเลิฟ หรืออะไร เพื่อถ้าอยากเซอร์วิสแฟนจะได้รู้ว่าควรทำอะไร ระบบหลังบ้านเป็นแฟนคลับแมเนจเมนต์เพื่อมอบให้คู่ค้าทุกคน

ส่วนคะแนนสะสมหรือเหรียญที่ได้จากการติดตาม แฟนคลับสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่ค้าของแฟนสเตอร์ หรือจะเอามาใช้งานและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในระบบก็ได้ เช่น อันล็อกเอ็กซ์คลูซีฟคอนเท็นต์ หรือแลกกับกิจกรรมพิเศษกับศิลปินที่ชอบ ฯลฯ

เหรียญหรือคะแนนที่ให้ ผู้ใช้จะได้ทั้งจากในระบบหรือจากพันธมิตรธุรกิจ เช่น สมัครบริการเอไอเอสแพ็กเกจที่ทำโปรโมชั่นแจกเหรียญร่วมกับแอปฯ สมัครใช้งานธนาคาร ฯลฯ ส่วนการใช้คะแนน เราจะมีของรางวัลที่ซูเปอร์อินไซต์ เช่น ให้พี่นภพรชำนิ ขับรถเอาดอกไม้ไปให้ที่ทำงาน ขับรถพาไปกินข้าว ถ้าคะแนนไม่ถึงเพื่อแลกของรางวัล ก็จะมีระบบให้ใช้คะแนนบางส่วนเพื่อแลกกับสิทธิในการจับรางวัล

นี่คือการนำระบบพริวิเลจกับโปรโมชั่นแบบชิงโชคเสี่ยงดวง มารวมกันอย่างแยบยลชัด

FanSter Now & Next

ตอนนี้แอปฯ สเตอร์มีคนดาวน์โหลดใช้งานแล้วกว่า 10,000 ราย มีเรตติ้งในระดับ 4.3 จากผู้ใช้ 187 คนที่เข้ามารีวิว (23 กุมภาพันธ์ 2561)

บอยให้ตัวเลขว่า 60% ของคนที่โหลด ใช้งานทุกวัน มีประเภทติดตามแบบฮาร์ดคอร์ 30% คนกลุ่มนี้มาจากประเทศจีน ซึ่งเชื่อว่าหากมีการเปิดใช้งานระบบ VPN ก็ยิ่งมีจำนวนมากขึ้นมหาศาล

แฟนคลับจากจีนที่ใช้ FanSter เป็นกลุ่มที่ได้จากการติดตามวง SB Five ในสังกัด ที่หนึ่งในสมาชิกวงคือ Bass หรือที่คนจีนเรียกว่า พั้งพั้ง (แปลว่าอ้วน) เคยมีซีรีส์ที่เข้าไปฉายในจีนและทำให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบของแฟนๆ ชาวจีน

การบุกตลาดของวงนี้ในจีน เป็นการทำงานของเลิฟอีสกับสตาร์อันเตอร์ ซึ่งบริษัททำเพลงให้วงนี้หลังจากที่เป็นที่รู้จักในจีนผ่านละครแล้ว

ปรากฏการณ์ของวง SB Five ในจีน เป็นอีกเรื่องที่ทำให้บอยเห็นบทบาทศิลปินที่เปลี่ยนไปว่า เวลาศิลปินจัดงานมีทแอนด์กรี๊ดจากเดิมก็เพื่อให้ศิลปินมาเจอกับแฟนคลับ ร้องเพลงให้ฟัง ยุคนี้แทนที่ศิลปินจะเป็นฝ่ายร้องเพลงแต่แฟนคลับกลับเป็นคนยอมจ่ายค่าบัตรแพง ๆ มาร้องเพลงให้ศิลปินฟัง

ถ้าเป็นคอนเสิร์ต นักร้องต้องมาร้องให้คนดูฟัง แต่ SB Five จัดมีทแอนด์กรี๊ดที่จีน คนเสียงตังค์ 5,000 หยวน (ประมาณ 25,000) บาท มาร้องเพลงให้นักร้องฟัง แล้วบัตรขายหมดใน 15 นาที

การเห็นและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้บอยเข้าใจว่า แม้โลกของบันเทิงถูกดิสรัปต์ก็จริง แต่ก็เป็นการดิสรัปต์เพื่อให้รู้จักเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนตัวเอง ถ้ายืนยันทำแบบเดิมก็เดินต่อไม่ได้

อีกเรื่องที่เราต้องทำคู่กันไปสำหรับยุคนี้ คือ แบรนดิ้ง เพื่อจะใช้แบรนดิ้งของศิลปินออกไปสู่ต่างประเทศได้” 

FanSter จะโตยั่งยืน ต้องสร้างอีโคซิสเต็มแห่งความสุขให้ครบ

บอย กล่าวถึงธุรกิจแฟนสเตอร์ต่อจากนี้ไว้ว่า

ผมเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้ใช้ได้ทั้งโลก เพราะทั้งโลกต้องมีแฟน เป็นระบบแฟนคลับ ซึ่งในเวอร์ชั่น 2.0 จะเป็นเวอร์ชั่นที่พลิกเกม เพราะเราจะให้ยูสเซอร์เจนเนอเรตคอนเทนต์ได้เอง โดยไม่ต้องดูดเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูปแล้ว เพื่อแก้เกมที่เฟซบุ๊กเปลี่ยนอัลกอลิธึ่มใหม่ ถ้าเราสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมากันเอง เราก็ดูแลกันเองได้

ในวันที่ฟ้าสว่าง วิสัยทัศน์ในอนาคตของแฟนสเตอร์ก็ชัดเจน   

ที่สำคัญเขาเชื่อว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้สามารถตอบสนองทั้งอีโคซิสเต็ม โดยเฉพาะตอบสนองความสุขของผู้ใช้ หรือกลุ่มแฟนคลับ ไม่ให้ใช้เวลาไปแบบเสียเปล่าซึ่งเป็นความเหนือกว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่น ที่ใช้งานมากเท่าไรก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไร

แต่แฟนสเตอร์ ยิ่งใช้เยอะยิ่งได้เหรียญมาแลกความสุขของผู้ใช้ ขณะที่ลูกค้าที่เป็นสปอนเซอร์ก็คำนวณได้ว่า สิ่งที่จ่ายไปซัคเซสเท่าไร

ถึงตรงนี้บทเรียนสำหรับธุรกิจอื่น ๆ ที่ยังหาทางออกไม่เจอจากการถูกดิสรัปต์ หาศึกษาจากกรณีของ FanSter ซึ่งพบทางออกของอุตสาหกรรมดนตรี และอาจจะพ่วงอุตสาหกรรมบันเทิงอื่น ๆ ให้ไปต่อได้ด้วย กับการฝ่าฟันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดที่ผ่านมาของบอยก็คงจบลงด้วยประโยคของบอยที่สรุปไว้ว่า

ก็ต้องอดทนเหมือนเวลาที่ฝนพรำ อย่างไรฝนก็ต้องหยุด ไม่มีทางที่ฝนจะตกไปเรื่อย ๆ รู้ความจริงเช่นนี้แล้ว ก็อย่าไปยอมแพ้มัน

]]>
1158534