เรตติ้งทีวีดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Oct 2019 06:50:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยุติ 2 ช่องทีวีดิจิทัล! “ช่อง 3” เดินหน้าชิงบัลลังก์รายการข่าว ปรับผังเฟสแรกประกาศยึดเรตติ้งเบอร์ 1 ยกแผงทั้งสถานี https://positioningmag.com/1248094 Mon, 30 Sep 2019 12:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248094 หลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ถึงคิวยุติออกอากาศ จากการคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ประกาศพร้อมกลับมาโฟกัสคอนเทนต์ช่อง 3” ประเดิมปรับผังรายการข่าวใหม่ กับเป้าหมายเรตติ้งเบอร์ 1” ทั้งสถานี  

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังยุติออกอากาศทีวีดิจิทัล 2 ช่อง จะกลับมามุ่งบริหารรายการบนช่อง 3 หรือ ช่อง 33 เพียงช่องเดียวให้แข็งแกร่ง โดยเฟสแรกได้ปรับโฉม “รายการข่าว” ทุกรายการ เดือนต.ค.นี้เริ่มที่ 3 รายการ คือ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ และ ข่าว 3 มิติ และจะปรับโฉมครบทุกรายการข่าวที่มีจำนวน 11 รายการในไตรมาส 4 ปีนี้

อริยะ พนมยงค์

นอกจากนี้มีอีก 2 รายการกลุ่มข่าวจากช่อง 28 คือ โหนกระแส และ ข่าวนอกลู่ ย้ายมาออกอากาศที่ช่อง 3 ส่วนรายการประเภทอื่นๆ กลุ่มวาไรตี้และละคร จะปรับผังช่วงต้นปี 2563

ปัจจุบันเรตติ้งรายการข่าวช่อง 3 “ส่วนใหญ่” เป็นที่หนึ่งเกือบทุกรายการ อาทิ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ เป็นต้น เป้าหมายหลังจากปรับโฉมรายการข่าวใหม่ในปีนี้ คือการผลักดันให้ช่อง 3 เป็นผู้นำเรตติ้งรายการข่าวทั้งสถานีในทุกช่วงเวลา โดยเฉลี่ยเรตติ้งจะต้องอยู่ระดับ 1.5 – 2

“น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ไตรมาส กับเป้าหมายการขึ้นมาครองเรตติ้งข่าวเบอร์ 1 ทั้งสถานี ทั้งการนำเสนอบนจอทีวีและบนออนไลน์ ปัจจุบันเพจข่าวช่อง 3 ทุกรายการ บน Facebook มีผู้ติดตามกว่า 14 ล้านคนแล้ว”

ชูจุดขายทัพผู้ประกาศ 50 คน

การปรับโฉมรายการข่าวใหม่ วาง Positioning ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชม “ช่อง 3” ด้วยแนวคิด “ข่าวจริง ทันเหตุการณ์ พึ่งพาได้” ซึ่งก็มาจากการเป็น “สื่อหลัก” ที่ต้องทำหน้าที่นำเสนอข่าวจริงที่มีความน่าเชื่อถือ มีทีมงานลงพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์สำคัญ และเป็นสื่อที่พึ่งพาได้

กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์ข่าว โฟกัสข่าว 3 ประเภทที่อยู่ในความสนใจของฐานผู้ชม “ช่อง 3” คือ ข่าวสังคม อาชญากรรม และข่าวบันเทิง ซึ่งมีฐานผู้ชมมากที่สุด

“จุดแข็งของข่าวช่อง 3 คือการมีผู้ประกาศที่เป็นที่รู้จักถึง 50 คน นอกจากเป็นผู้ประกาศข่าว จะทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมและผู้ชมเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือดร้อน”

ดันรายได้ข่าวสัดส่วน 10%

ที่ผ่านมา ช่อง 3 ถือเป็นผู้ครองบัลลังก์รายการข่าว รายได้จากรายการข่าวเคยขึ้นไปสูงสุดที่สัดส่วน 10% ของรายได้ ปัจจุบันลดลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว จากคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายการปรับโฉมรายการข่าวครั้งนี้ ก็เพื่อผลักดันรายได้จากรายการข่าวให้กลับไปมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% เหมือนเดิม เป้าหมายแรกต้องทำเรตติ้งให้ขยับขึ้นก่อน จากนั้นจึงเป็นโอกาสของการปรับขึ้นราคาโฆษณา

ปัจจุบันรายได้หลักของช่อง 3 มาจากรายการละคร 80% ที่เหลือเป็นวาไรตี้ และข่าว นอกจากผลักดันรายการข่าวให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว จะหาโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ ให้มีสัดส่วน 10% ของรายได้ในอนาคต

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลหลังจาก 7 ช่องคืนใบอนุญาต ยุติออกอากาศ มองว่าการแข่งขันยังคงเหมือนเดิม โดยอยู่ที่ 10 อันดับเรตติ้งแรก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาทีวี.

]]>
1248094
ท็อปเท็นเรตติ้ง ส.ค. ละครช่องวัน-วาไรตี้เวิร์คพอยท์ “แรง” ฉุดแชมป์เบอร์หนึ่ง “ช่อง 7” แผ่ว https://positioningmag.com/1244965 Tue, 03 Sep 2019 04:59:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244965 สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงาน กสทช. รายงานข้อมูลค่าความนิยม (เรตติ้ง) ผู้ชมทีวีดิจิทัล เดือน ส.ค. นี้ ช่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ช่อง 3SD ช่อง 8 และพีพีทีวี

เรตติ้งเดือน ส.ค. 2562 ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรก ยังเป็นกลุ่มช่องรายการเหมือนเดือนก่อนหน้า โดยช่องรายการที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้นสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มช่องละคร ภาพยนตร์ และวาไรตี้ ได้แก่ ช่อง 3HD โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี และช่อง One โดย ช่อง 3HD มีละครรีรัน-กรงกรรม และละครหลังข่าว “แก้วกลางดง” ที่ช่วยดันเรตติ้ง ส่วนโมโน 29 ยังคงได้หนังดังต่างประเทศช่วยเพิ่มเรตติ้งให้ต่อเนื่อง ส่วนเวิร์คพอยท์ทีวี มีทั้งรายการวาไรตี้เก่าและใหม่ เช่น นักร้องซ่อนแอบ ไมค์ทองคำปี 8 และ 10Fight10 เพิ่มเรตติ้งในเดือน ส.ค. ด้าน ช่อง One มีละครเย็น “เสียงเอื้อนสะเทือนดาว” และละครหลังข่าวฮอตติดกระแส อย่าง “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” ทำเรตติ้งได้ดีและช่วยเพิ่มเรตติ้งช่อง One

ภาพจากเฟซบุ๊ก Workpoint Entertainment

กลุ่มช่องกีฬา ได้แก่ พีพีทีวีและช่อง 8 โดย ช่อง 8 มีรายการมวย “8 มวยไทยซุปเปอร์แชมป์” และ พีพีทีวี มีรายการฟุตบอลต่างประเทศ เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกและบุนเดสลีก้า

กลุ่มช่องข่าว ได้แก่ ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี และช่อง 3SD โดยรายการทุบโต๊ะข่าว ที่ออกอากาศต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ของช่องอมรินทร์ทีวี สร้างฐานความนิยมจากผู้ชมได้ต่อเนื่อง ส่วนช่อง 3SD ก็มีรายการข่าวค่ำ “ข่าวนอกลู่” ที่ทำเรตติ้งได้ดีตลอดทั้งเดือน นอกจากนี้ ช่อง 3SD ยังมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยโลกไทยไฟท์ คำชะโนด ที่ทำเรตติ้งได้ดีเช่นกัน ส่วน ไทยรัฐทีวี นอกจากจะมีรายการข่าว “ไทยรัฐ นิวส์โชว์” ที่มีเรตติ้งดีสม่ำเสมอแล้ว ยังได้รายการถ่ายทอดสด การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เอสเอ็มเอ็ม ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่ช่วยเรียกกระแสความนิยมเพิ่มขึ้น

สำหรับ ช่อง 7HD เป็นช่องรายการเดียวในกลุ่มท็อปเท็น ที่เรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนไม่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (ก.ค.) ซึ่งเป็นผลมาจากละครเย็นและละครหลังข่าวภาคค่ำทำเรตติ้งได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ในเดือน ส.ค. 2562 ข้อมูลเรตติ้งได้มาจากการสำรวจความนิยมของช่องทีวีดิจิทัล 21 ช่อง จากจำนวนช่องรายการทั้งหมด 25 ช่องรายการ โดยไม่มีการสำรวจความนิยมของช่อง Spring 26 ช่อง Bright TV ช่องVoice TV และช่อง Spring news.

]]>
1244965
ลาจออีกช่อง เที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้! 5 ปี “วอยซ์ทีวี” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท เรตติ้งรั้งท้าย มุ่งหน้าออนไลน์-ทีวีดาวเทียม https://positioningmag.com/1244675 Sat, 31 Aug 2019 05:45:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244675 “วอยซ์ทีวี” เป็น 1 ใน 7 ช่องทีวีดิจิทัลที่ขอคืนใบอนุญาตและมีกำหนด “ลาจอ” หลังเที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้ ย้อนดู 5 ปี ทีวีของตระกูล “ชินวัตร” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท จากนี้ไปกลับสู่แพลตฟอร์ม “ทีวีดาวเทียม” และสื่อออนไลน์

จากข้อมูลของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ซึ่งจัดทำหนังสือ 5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล : บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง

สรุปข้อมูล “วอยซ์ทีวี” ว่าเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกผ่านโครงข่ายดาวเทียมไทยคม ตั้งแต่ปี 2552 จากนั้นประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าว มาด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท เริ่มออกอากาช่องวอยซ์ทีวี หมายเลข 21 ในปี 2557 เนื้อหารายการหลักของช่องมีความชัดเจน เน้นข่าวการเมืองและรายการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การเมือง

ด้านรายได้ ปี 2557 อยู่ที่ 72 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 108 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 106 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 62 ล้านบาท และปี 2561 รายได้ 36 ล้านบาท รวม 5 ปี (2557 – 2561) ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท

ส่วนอันดับความนิยม (เรตติ้ง) ปี 2557 วอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับ 28 ท้ายสุดของตาราง เช่นเดียวกับปี 2558 มาในปี 2561 ช่วงสถานการณ์การเมืองเริ่มเข้มข้น จากการเตรียมเลือกตั้งในปี 2562 ทำให้เรตติ้งช่องวอยซ์ เริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นเช่นกัน โดยเรตติ้งเดือน ธ.ค. 2561 ขยับมาอยู่ที่อันดับ 18 แต่เรตติ้งเฉลี่ยปี 2561 อยู่อันดับ 20

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 เปิดโอกาสให้ “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาตและได้รับเงินชดเชย เนื่องจากใช้ใบอนุญาตไม่ครบอายุสัญญา 15 ปี โดย วอยซ์ทีวี ได้รับเงินชดเชย 378 ล้านบาท

ทิศทางของ วอยซ์ทีวี หลังคืนช่องทีวีดิจิทัล ยังคงทำช่องทีวีต่อไป โดยจะออกอากาศทีวีดาวเทียม และช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มทั้ง เว็บไซต์ voicetv รวมทั้งโซเชียล มีเดีย เฟซบุ๊ก ยูทูบ ไลน์ อินสตาแกรมและทวิตเตอร์.

]]>
1244675
เรตติ้งเปลี่ยน! “ช่อง 3 SD” ลาจอ อันดับท็อปเท็นว่าง “4 ช่อง” เข็นคอนเทนต์ใหม่ลงผังหวังเสียบแทน https://positioningmag.com/1241984 Mon, 12 Aug 2019 01:25:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241984 เดือน .นี้ทีวีดิจิทัลจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากการคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ที่จะเริ่มทยอยลาจอตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 15 .นี้ เป็นต้นไป โดย 2 ช่องสุดท้ายคือ 3 Family และ 3 SD ยุติออกอากาศสิ้นเดือน .นี้

ในกลุ่ม 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต ช่องที่มีเรตติ้งสูงสุด คือ ช่อง 3 SD หากย้อนสถิติ 5 ปี พบว่าขยับขึ้นมาต่อเนื่องและอยู่ในกลุ่มท็อปเท็นปัจจุบัน โดย ปี 2557 เรตติ้ง 0.017 อันดับ 17, ปี 2558 เรตติ้ง 0.083 อันดับ 13, ปี 2559 เรตติ้ง 0.234 อันดับ 7, ปี 2560 เรตติ้ง 0.279 อันดับ 7, ปี 2561 เรตติ้ง 0.309 อันดับ 9 และ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.288 อันดับ 9

4 ช่อง” เบียดชิงขึ้นท็อปเท็นเรตติ้ง  

ดังนั้นหลังจาก ช่อง 3 SD ที่ครองเรตติ้งติดท็อปเทนมาตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน การเตรียมคืนใบอนุญาต “ลาจอ” ในคืนวันที่ 30 ก.ย. เวลาเที่ยงคืน นั่นหมายถึงตำแหน่งที่ “ว่างลง” ของเรตติ้งในกลุ่ม 10 อันดับแรก ทำให้อันดับรองลงไปจะขยับขึ้นมาแทน

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลที่มีเรตติ้งอันดับ 10 – 13 มีตัวเลขใกล้เคียงกันมากและมีโอกาสสลับตำแหน่ง แบบเดือนต่อเดือน หลังจาก ช่อง 3 SD ยุติออกอากาศ เรตติ้งอันดับ 9 และ 10 จะขยับขึ้น โดยมี 4 ช่อง ลุ้นไต่อันดับขึ้น คือ พีพีทีวี, เนชั่นทีวี, MCOT HD และ GMM25 ที่จะเบียดชิงตำแหน่งกันแบบหายใจรดต้นคอ

การขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็นเรตติ้งได้ หมายถึงโอกาสที่จะได้เม็ดเงินโฆษณาจากมีเดีย เอเยนซีและสินค้าที่จัดสรรเม็ดเงินให้กับกลุ่มนี้เป็นอันดับแรก ปัจจุบัน ช่อง 7 และช่อง 3 ยังเป็น 2 ช่องผู้นำเรตติ้งที่เอเยนซีเลือกลงโฆษณาสูงสุด สัดส่วน 50% ของงบโฆษณาทีวี ส่วนงบโฆษณาทีวีอีก 40% จะกระจายไปที่ “ทีวีดิจิทัล” เรตติ้งอันดับที่ 3 – 7 และอีก 10% อาจจะอยู่ที่อันดับที่เหลือแต่ไม่เกินอันดับ 10

ช่วงครึ่งปีหลังจึงเห็นการเปลี่ยนแปลง “ผังรายการ” ของกลุ่มท็อปเท็น ในการนำคอนเทนต์ใหม่ลงจอ หวังขยับเรตติ้งจากจุดเปลี่ยนคืนใบอนุญาตของ 7 ช่อง ซึ่งรวมกันแล้วครองส่วนแบ่งการตลาดผู้ชมราว 8% มีรายได้โฆษณารวมกัน 120 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 1,440 ล้านบาทต่อปี ทั้งผู้ชมและเม็ดเงินก้อนนี้ ก็จะไหลไปยังช่องทีวีดิจิทัลอื่นๆ แทน

สถาพร พานิชรักษาพงศ์

GMM25 เข็นคอนเทนต์ใหม่ไต่ท็อปเท็น

สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ช่อง GMM25 วางแผนขยายฐานผู้ชมเพิ่มขึ้นทุกแพลตฟอร์ม โดยเดือน ส.ค. นี้ รายการ “ลูกทุ่งสู้ฟัด” ที่นำเสนอทุกวันอาทิตย์ 18.20 – 20.00 น. ทางหน้าจอทีวี ได้ต่อยอดไปสู่ On Ground โดยจะจัดบิ๊กอีเวนต์ “คอนเสิร์ตลูกทุ่งสู้ฟัด” ศิลปินจากแกรมมี่โกลด์ และผู้เข้าแข่งขันจากรายการ

หลังเริ่มออนแอร์รายการลูกทุ่งวิ่งสู้ฟัด ตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา พบว่าเรตติ้งขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีฐานคนดูกลุ่มใหม่ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมไปถึงประเทศลาว เดือน มิ.ย. – ก.ค. ช่วงไพร์มไทม์หัวค่ำเพิ่มขึ้น 82.51% จากเดือน เม.ย. – พ.ค.

ส่วนไพร์มไทม์ 20.10 น. มี “ละครค่ำ” เรื่องใหม่ “ปลาร้าทรงเครื่อง” คอมเมดี้และดราม่า ทุกวันพุธ – พฤหัส เริ่มตอนแรก 15 ส.ค. และเรื่อง “แรงเทียน” ละครดราม่า ทุกจันทร์ – อังคาร เริ่มวันที่ 2 ก.ย.

พร้อมคอนเทนต์รายการกีฬาครั้งแรกของช่อง GMM 25 ช่วงวีคเอนด์กับรายการใหม่ “มวยดี วิถีไทย” ถ่ายทอดสดจากสนามมวยบลูอารีน่า จ. สมุทรปราการ ทุกวันอาทิตย์ 12.00 – 14.00 น. เริ่ม 11 ส.ค. เจาะผู้ชมกลุ่มผู้ชายเพิ่มขึ้น จากเดิมฐานผู้ชมเป็นกลุ่มผู้หญิง 60%

“ปีนี้ GMM 25 เสริมคอนเทนต์เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ตลาดแมสอีสานและเอาใจกลุ่มเป้าหมายเดิมในทุกแพลตฟอร์ม และดึงคอนเทนต์กีฬามวยมาออกอากาศครั้งแรก ต้องการเพิ่มฐานผู้ชมครึ่งปีหลังและเป้าหมายติดอันดับท็อปเท็นเรตติ้งทีวีดิจิทัลให้ได้ จากเดือน ก.ค. เรตติ้งอยู่ที่อันดับ 14”

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์

“พีพีทีวี” ย้ำเวิลด์คลาสยิงสดพรีเมียร์ลีกยาว 3 ปี

“พีพีทีวี” เป็นช่องที่ไล่บี้ช่องอื่นๆ เพื่อขึ้นมายืนในตำแหน่งเรตติ้งท็อปเท็นได้ในปีนี้ เดือนก.ค. 2562 ครองอันดับ 10 เรตติ้ง 0.159 ถือเป็นตำแหน่งที่ขยับขึ้นมาต่อเนื่อง หากดูย้อนหลังไป 5 ปี เริ่มต้นในปี 2557 เรตติ้ง 0.015 อันดับ 19, ปี 2558 เรตติ้ง 0.073 อันดับ 14, ปี 2559 เรตติ้ง 0.114 อันดับ 13, ปี 2560 เรตติ้ง 0.149 อันดับ 13 และปี 2561 เรตติ้ง 0.164 อันดับ 12

กลยุทธ์ของช่องพีพีทีวี คือ ทุ่มไม่อั้นกับคอนเทนต์ระดับเวิล์ดคลาส แต่ละปีใช้งบราว 1,000 ล้านบาท คอนเทนต์ ไฮไลต์ คือ กีฬาระดับโลกโดยเฉพาะฟุตบอลลีกดัง โดยเปิดตัว เป็น “ฟรีทีวี” ที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก มาตั้งแต่ฤดูกาล 2015/16 และล่าสุดกับ 3 ฤดูกาลใหม่ ปี 2019/20 ถึง 2021/22 ภายใต้การบริหารลิขสิทธิ์ของ “ทรูวิชั่นส์”

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 กล่าวว่าได้ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกต่อเนื่องอีก 3 ฤดูกาลๆ ละ 30 แมตช์ เพื่อให้พีพีทีวีเป็นช่องฟรีทีวียอดนิยมของคอกีฬาตลอดระยะเวลาต่อเนื่อง หลังจากถ่ายทอดสดรายการนี้ 4 ปี และมีแฟนประจำที่ติดตามชม

ช่วง 5 เดือนหลังจากนี้ นอกจากฟุตบอลพรีเมียร์ลีกแล้ว “พีพีทีวี” ยังถ่ายทอดสดฟุตบอลบุนเดสลีกา รวมทั้งกีฬาอื่นๆ อีกหลากหลายรายการ เช่น ฟุตบอลโคปา อเมริกา (Copa America 2019) จากบราซิล ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019 จากประเทศฝรั่งเศส ฟุตบอล ICC 2019 การแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบโมโตจีพี และศึกมวยชิงแชมป์โลกระหว่าง “ปาเกียว กับ เธอร์แมน”

ทีมผู้ประกาศข่าว พีพีทีวี

ตั้งแต่ครึ่งปีหลังยังได้ขยายเวลาข่าวเช้า จากเดิม 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็น 3 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้ผู้ชมเกาะติดสถานการณ์ข่าวเช้ายาวต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลา 05.30 ถึงเวลา 09.00 น. ประกอบด้วย “โชว์ข่าวเช้านี้” และ “โชว์ข่าว 36” รวมทั้ง “เที่ยงทันข่าว” เวลา 11.00 – 12.30 น. “เป็นเรื่อง เป็นข่าว” เวลา 17.00 – 17.30 น. และ “เข้มข่าวค่ำ” เวลา 17.30 – 20.00 น.

เป้าหมายของ พีพีทีวี จะต้องมีรายได้เติบโตจากปีก่อน 100% หรือราว 1,000 ล้านบาท รวมทั้งทำเรตติ้งติดท็อป 5 ให้ได้ในอนาคต

“อสมท” เปิดผังใหม่ปลาย ส.ค. นี้  

MCOT 30 ของ อสมท เป็นช่องฟรีทีวีเดิมที่ต้องลุ้นเป็นหนึ่งในกลุ่มท็อปเท็นในยุคทีวีดิจิทัล หลังจากผู้ผลิตรายการที่เคยอยู่กับช่อง ทยอยย้ายรายการออกไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่แต่ ยุคเริ่ม ปี 2557 เรตติ้ง ช่อง MCOT 30 ยังทำได้ดี อยู่ที่ 0.468 อันดับ 3 มาปี 2558 เรตติ้ง 0.226 อันดับ 6 หลังจากนั้นเริ่มลดลงไปอยู่ท้ายตารางกลุ่มท็อปเทน ปี 2559 เรตติ้ง 0.180 อันดับ 9, ปี 2560 เรตติ้ง 0.265 อันดับ 9, ปี 2561 เรตติ้ง 0.189 อันดับ 10 ล่าสุด ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.159 อันดับ 12

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปลายเดือนส.ค. นี้ จะมีการปรับผังใหม่ โดยช่วงเช้า เน้นข่าวเศรษฐกิจทั่วไป ตลาดหุ้น และเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับปากท้องประชาชน ช่วงบ่าย เศรษฐกิจชาวบ้าน และกลุ่มสาระบันเทิง ส่วนช่วงเย็น รายการกีฬา ซีรีส์ต่างประเทศ และฮาร์ดทอล์ก เชื่อว่าปีนี้ยังคงทำเรตติ้งเกาะกลุ่มท็อปเท็นได้เหมือนปีก่อน

เนชั่น” ลุ้นโกยผู้ชมช่องสปริง 26 หลังลาจอ

ปี 2562 “เนชั่นทีวี” เป็นช่องข่าวที่สามารถไต่อันดับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเทนได้หลายครั้ง ล่าสุด ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.183 อยู่อันดับ 11 สถานการณ์นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ทำให้รายการข่าวของเนชั่นทีวี ทำเรตติ้งขยับขึ้นต่อเนื่อง

หากย้อนไปดูเรตติ้ง 5 ปีก่อน เห็นได้ว่าอันดับจะอยู่ท้ายตาราง ปี 2557 เรตติ้ง 0.045 อันดับ 11, ปี 2558 เรตติ้ง 0.051 อันดับ 20, ปี 2559 เรตติ้ง 0.077 อันดับ 17, ปี 2560 เรตติ้ง 0.072 อันดับ 17, ปี 2561 เรตติ้ง 0.121 อันดับ 15

หลังจากช่อง สปริง 26 เตรียมยุติออกอาอากาศในเวลาเที่ยงคืนวันที่ 15 ส.ค. นี้ ผู้ชมช่องสปริง 26 มีโอกาสที่จะไหลไปช่องเนชั่นทีวีและปีนี้มีลุ้นติดอันดับท็อปเท็นเช่นกัน

]]>
1241984
“พีพีทีวี” เบียด “เนชั่นทีวี” ติดอันดับท็อปเท็นเรตติ้งทีวีดิจิทัลเดือน ก.ค. 62 https://positioningmag.com/1241231 Fri, 02 Aug 2019 09:15:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241231 เรตติ้งทีวีดิจิทัล เดือน .. 2562 กลุ่มท็อปเท็นอันดับเริ่มนิ่ง เปลี่ยนแค่อันดับ 10 “พีพีทีวีกลับขึ้นมาครองตำแหน่งอีกครั้ง จากการถ่ายทอดสดกีฬาดัง    

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. สรุปข้อมูลเรตติ้งทีวีดิจิทัล เดือน ก.ค. 2562 จากการสำรวจเรตติ้งของ “นีลเส็น” พบว่า ช่องรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7HD ช่อง 3HD ช่องโมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ช่อง 3SD ช่อง 8 และพีพีทีวี ตามลำดับ

ในเดือน ก.ค. 2562 ช่องรายการส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรกยังเป็นกลุ่มช่องรายการเหมือนเดือนก่อนหน้า โดยช่องรายการที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มช่องละคร ภาพยนตร์ และวาไรตี้ ได้แก่ ช่องโมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี และช่อง One โดยช่องโมโน 29 ยังคงได้หนังดังต่างประเทศช่วยเพิ่มเรตติ้งอย่างต่อเนื่อง ส่วนเวิร์คพอยท์ทีวี ได้ทั้งรายการวาไรตี้เก่าและใหม่ เช่น I can see your voice, ไมค์ทองคำปี 8 และ 10 Fight 10 มาช่วยเพิ่มเรตติ้ง ส่วนละครเย็น “ไลลาธิดายักษ์” ของช่อง One กลายเป็นรายการที่ทำเรตติ้งได้ดีและเพิ่มเรตติ้งให้ช่อง

กลุ่มช่องข่าว ได้แก่ อมรินทร์ทีวี และช่อง 3SD โดยรายการทุบโต๊ะข่าว ที่ออกอากาศต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ของอมรินทร์ทีวี สร้างฐานความนิยมจากผู้ชมได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนช่อง 3SD ก็มีรายการข่าวค่ำ “ข่าวนอกลู่” ที่ทำเรตติ้งได้ดีตลอดทั้งเดือน

กลุ่มช่องกีฬา ได้แก่ พีพีทีวี ที่นำกีฬามาเป็นคอนเทนต์หลักของช่อง โดยรายการมวยและรายการฟุตบอลได้รับความนิยมจากแฟนกีฬา เช่น รายการถ่ายทอดสด เวิลด์คลาส แชมเปี้ยนชิพ บ็อกซิ่ง และรายการถ่ายทอดสด ฟุตบอลอินเตอร์เนชั่นแนล แชมเปี้ยนชิพ

กลุ่มท็อปเท็น เรตติ้ง เดือน ก.ค. นี้ มีการเปลี่ยนแปลง เพียงอันดับเดียว คือ “พีพีทีวี” เบียด “เนชั่นทีวี” ขึ้นมาครองตำแหน่งอันดับ 10 แทน

ในเดือน ก.ค. 2562 ข้อมูลเรตติ้งได้มาจากการสำรวจทีวีดิจิทัล 23 ช่องรายการ จากทั้งหมด 25 ช่องรายการ โดยไม่มีการสำรวจความนิยมของ สปริงนิวส์ 19 และ วอยซ์ทีวี ซึ่งเป็น 2 ช่องที่ขอคืนใบอนุญาตกับ กสทช. โดย สปริงนิวส์ 19 จะยุติออกอากาศวันที่ 16 ส.ค. นี้ 0.01 น. และ วอยซ์ทีวี ยุติออกอากาศวันที่ 16 ก.ย. เวลา 0.01 น.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1241231
จับตาศึกจัดทำเรตติ้งทีวี “สมาคมทีวีดิจิทัล” องค์กรกลางรับเงิน กสทช. 431 ล้าน วางเงื่อนไขเคาะเลือกรายใหม่ https://positioningmag.com/1240456 Thu, 25 Jul 2019 13:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240456 อีกมาตรการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44  คือแนวทางสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งทีวี โดย กสทช. เตรียมจัดสรรเงินงบประมาณ 431 ล้านบาท ให้กับองค์กรกลางที่มีทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกเป็นผู้ตัดสินใจเลือกนำเงินไปว่าจ้างบริษัทจัดทำเรตติ้งทีวีใหม่ โดยทุกขั้นตอนจะสรุปในเดือน ..นี้

วันนี้ (25 ก.ค.) สำนักงาน กสทช. เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสื่อและใช้ข้อมูลเรตติ้งทีวี ทั้งทีวิดีจิทัล สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย ผู้จัดทำเรตติ้งในประเทศไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ซื้อสื่อโฆษณา มีเดีย เอเยนซี ผู้ผลิตคอนเทนต์ มาหารือแนวทางการจัดทำเรตติ้งทีวี

พร้อมทั้งให้ผู้เสนอตัวจัดทำระบบเรตติ้ง 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ PSI ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม, เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดทำเรตติ้งทีวีปัจจุบัน และสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA มานำเสนอระบบจัดทำเรตติ้ง ให้คณะกรรมการเยียวยาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ ศึกษาระบบจัดทำเรตติ้งของแต่ละราย

“สมาคมทีวีดิจิทัล”คนเคาะเลือกผู้จัดทำเรตติ้ง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 กำหนดให้ กสทช.เป็นผู้จัดเงินสนับสนุนทีวีดิจิทัลจัดทำระบบเรตติ้ง ซึ่ง กสทช. กำหนดเบื้องต้นไว้ 431 ล้านบาท โดยอาจน้อยกว่านี้ได้ แต่จะไม่มากไปกว่านี้

ขั้นตอนการ “จ่ายเงิน” สนับสนุน 431 ล้านบาท กสทช.จะจ่ายผ่าน “องค์กรกลาง” ที่ทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกและจัดตั้งมา 5 ปีขึ้นไป ปัจจุบันองค์กรกลางที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย หลังจากองค์กรกลางเลือกบริษัทที่จะว่าจ้างจัดทำเรตติ้งแล้ว กสทช.จะจ่ายเงินสนับสนุน คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือน ต.ค.นี้ โดย กสทช. ยังมีหน้าที่กำกับดูแลการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนต่อไป

สุภาพ คลี่ขจาย

สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากนี้ สมาคมจะกลับไปหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนด “เงื่อนไข” การคัดเลือกบริษัทจัดทำเรตติ้ง เบื้องต้น เงื่อนไขที่วางไว้ คือ ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รวมทั้งต้องฟังเสียงจาก “มีเดีย เอเยนซี” ซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูลและผู้วางแผนใช้เม็ดเงินโฆษณาให้กับเจ้าของสินค้าต่างๆ ด้วย

“การตัดสินใจเลือกผู้จัดทำเรตติ้งที่จะได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. จะใช้มติเอกฉันท์ของสมาชิก”

“พีเอสไอ” โชว์จุดขายวัดเรตติ้งเรียลไทม์

สำหรับการการนำเสนอระบบเรตติ้งของทั้ง 3 ราย ให้วิธีจับฉลากเลือกลำดับการนำเสนอโดย “พีเอสไอ” เป็นรายแรก ตามด้วย นีลเส็น และ MRDA

สมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ PSI กล่าวว่า พีเอสไอ เป็นเจ้าของโครงข่ายแพลตฟอร์มดาวเทียม เริ่มทำระบบเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมตั้งแต่ปี 2554 ช่วงแรกติดตั้งซิมมือถือในกล่องทีวีดาวเทียม จำนวน 2,000 ครัวเรือน ที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์

ในยุคทีวีดิจิทัล ปี 2560 พีเอสไอได้อัพเกรดระบบวัดเรตติ้งทีวีดาวเทียมใหม่ ด้วยกล่อง S3 Hybrid ระบบวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียม ที่มีซอฟต์แวร์วัดจำนวนผู้ชมทั้งหน้าจอทีวีคู่กับการรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ทั้ง ไอพีทีวี ยูทูบ รายงานผลผ่านแอปพลิเคชั่น PSI Rating บนมือถือและแท็บเล็ต ที่สามารถรายงานผลได้แบบ “เรียลไทม์” ปัจจุบันมีฐานข้อมูลวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมจำนวน 1.35 แสนกล่อง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

สินธุ์ เภตรารัตน์

“นีลเส็น” ให้ทีวีดิทัลใช้ฟรี  5 ปี

สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจมีเดีย นีลเส็น ประเทศไทย เวียดนาม และเมียนมา กล่าวว่า นีลเส็น มีธุรกิจอยู่ทั่วโลกใน 106 ประเทศ มี 56 ประเทศที่นีลเส็นเป็นผู้จัดทำเรตติ้ง รวมทั้งประเทศไทยที่จัดทำระบบเรตติ้งมา 30 ปี ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณาทีวีมูลค่า 70,382 ล้านบาทในปี 2561 มีสัดส่วนมาจากบริษัทต่างชาติแบรนด์ระดับโกลบอล 54% ธุรกิจท้องถิ่น 46% ซึ่งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แบรนด์ จะใช้ข้อมูลเรตติ้งที่เป็นสากล ในการลงทุนใช้งบโฆษณา

ที่ผ่านมานีลเส็นได้พัฒนาระบบวัดเรตติ้งใหม่มาอย่างต่อเนื่องทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์ม รวมทั้งการวัดเรตติ้งเนื้อหาโฆษณา ซึ่งเป็นการปรับระบบไปตามพฤติกรรมการรับชมชองผู้ชม

หาก กสทช. และสมาคมทีวีดิจิทัล นำเสนอสนับสนุนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ มาว่าจ้าง “นีลเส็น” เงื่อนไขที่จะนำเสนอคือให้ทีวีดิจิทัลใช้ข้อมูลเรตติ้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 5 ปี  

วรรณี รัตนพล

MRDA ผนึก 5 พันธมิตรชิงจัดทำเรตติ้ง

วรรณี รัตนพล นายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่าสมาคมได้ร่วมขับเคลื่อนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสื่อทีวีในประเทศไทย ร่วมกับทีวีดิจิทัลและมีเดียเอเยนซี ที่ใช้ข้อมูลเรตติ้งมาตั้งแต่ปี 2557 เนื่องจาก “ไม่แฮปปี้” กับระบบเรตติ้งทีวีเดิม

สำหรับการจัดทำเรตติ้งของ MRDA มีพันธมิตร 5 รายระดับโลก คือ กันตาร์, อินเทจ กรุ๊ป, Mediametrie ทำเรื่อง มิเตอร์เทคโนโลยี, Markdata ดูแลซอฟต์แวร์รายงานผล และ CESP องค์กรตรวจสอบ

โดยจะติดตั้งอุปกรณ์วัดเรตติ้งเครื่องรับชมทีวี 4,500 ชุด จำนวน 3,000 ครัวเรือน และอุปกรณ์วัดเรตติ้งบนอุปกรณ์รับชมที่เป็นสมาร์ทดีไวซ์ ในกลุ่มตัวอย่าง 3,000 คน เพื่อรายงานข้อมูลเรตติ้งทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบคู่ขนาน โดยจะใช้เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 12-15 เดือน และเริ่มรายงานข้อมูลเรตติ้งได้ในเดือน ม.ค. 2564

MRDA เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ข้อมูลเรตติ้งที่จัดทำจะแบ่งปันให้องค์กรสาธารณะอื่นๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษานำไปใช้ประโยชน์”

ประวิทย์ มาลีนนท์

อดีตบิ๊กช่อง 3 ชงของบเพิ่ม

หลังจากผู้จัดทำเรตติ้งทั้ง 3 รายได้นำเสนอระบบการจัดทำเรตติ้งแล้ว มีความเห็นจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทีวี โดย ประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตกรรมการผู้จัดการ ช่อง 3  บอกว่า ปัจจุบันรายได้โฆษณาทีวีลดลงเหลือ 1 ใน 3 โดยกระจายไปยังสื่อใหม่ และผู้ประกอบการทีวีในปัจจุบันมีรายได้ลดลง จึงมองว่าทีวีดิจิทัลไม่ควรต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อเรตติ้งเหมือนที่ผ่านมา และขอเสนอให้ กสทช.พิจารณางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม จากที่เตรียมมอบให้ 431 ล้านบาท

ระยะเวลาใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 10 ปี และจำนวนช่องที่เหลืออยู่ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจัดทำเรตติ้งราว 1,200 ล้านบาท หรือปีละ 120 ล้านบาท จึงเสนอให้ กสทช.สนับสนุนเพิ่มเติมอีก 800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งจนจบอายุใบอนุญาต

พัฒนพงค์ หนูพันธ์

ขณะที่ พัฒนพงค์ หนูพันธ์ ผู้บริหาร ช่อง 7 กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช.พิจารณาสนับสนุนงบจัดทำเรตติ้งให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และอุตสาหกรรมควรพิจารณาเลือกบริษัทที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว.

]]>
1240456
เปิดตัวเลขแพลตฟอร์มออนไลน์ทีวีดิจิทัล มิ.ย. จำนวนผู้ชม “ไทยรัฐทีวี” สูงสุด “เวิร์คพอยท์” แชมป์ยอดวิว https://positioningmag.com/1239770 Sun, 21 Jul 2019 03:53:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239770 พฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ทีวี ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลมีตัวเลขขยับขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากรายการการวัดเรตติ้ง คอนเทนต์ ออนไลน์ของ “นีลเส็น” ร่วมกับ 3 ช่อง “ทีวีดิจิทัล” เดือนมิถุนายน จำนวนผู้ชมเพิ่มขึ้น 5 – 6% จากเดือนก่อน

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงาน กสทช. รายงานข้อมูลการวัดค่าความนิยม (Rating) ระบบออนไลน์ รายการที่นำมาออกอากาศบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งแบบสด (Live Streaming) และแบบดูย้อนหลัง ผ่านทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชั่น บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และคอนเน็คเต็ด ดีไวซ์ (Connected Devices) เช่น Apple TV หรือ Android Box เดือนมิถุนายน 2562 ของทีวีดิจิทัล 3 ช่อง ซึ่งร่วมจัดทำระบบเรตติ้งออนไลน์กับนีลเส็น ได้แก่ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ทีวี และช่องไทยรัฐทีวี สรุปผลดังนี้

ช่อง 7 มียอดรับชมเป็นจำนวนคน แบบไม่นับซ้ำ (Unique Audience หรือ UA) บนแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 17.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6% ผู้ชมส่วนใหญ่อายุ 21 – 34 ปี ยอดรับชมแบบนับซ้ำหรือยอดวิวรวม 288 ล้านครั้ง แบ่งเป็นยอดวิวเพศหญิง 200 ล้านครั้ง และเพศชาย 88 ล้านครั้ง

รายการยอดนิยมสูงสุด ละครเย็น “ขิงก็รา ข่าก็แรง” และละครไพรม์ไทม์หลังข่าวค่ำ เช่น ผู้บ่าวอินดี้ ยาหยีอินเตอร์

ไทยรัฐทีวี มียอดรับชมรายการแบบไม่นับซ้ำบนแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 30.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5% ส่วนใหญ่ช่วงอายุ 21 – 39 ปี มียอดวิวประมาณ 608 ล้านครั้ง แบ่งเป็นยอดวิวของเพศหญิง 285 ล้านครั้ง และชาย 323 ล้านครั้ง

รายการที่ได้รับความนิยมทางออนไลน์ อยู่ในกลุ่มข่าวทั่วไป ตามด้วยข่าวบันเทิง กีฬา ไลฟ์สไตล์

เวิร์คพอยท์ทีวี มียอดรับชมแบบไม่นับซ้ำบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 27.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5% ส่วนใหญ่อายุ 25 – 29 ปี มียอดวิวรวม 938 ล้านครั้ง แบ่งเป็นเพศหญิง 423 ล้านครั้ง และชาย 515 ล้านครั้ง

รายการที่ได้รับความนิยมดูย้อนหลังมากที่สุดในเดือนมิถุนายน คือ The Mask Singer ตามด้วย I Can See Your Voice ไมค์ทองคำ หมอลำฝังเพชร ตลก 6 ฉาก

โฆษณาทีวีดิจิทัล มิ.ย. เกือบ 6 พันล้าน

สำหรับมูลค่าการโฆษณาทีวีดิจิทัลเดือนมิถุนายน 2562 มียอดรวม 5,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 197 ล้านบาท

มูลค่าการโฆษณาแบ่งตามประเภทช่องรายการ พบว่าช่องสาธารณะมีมูลค่า 300 ล้านบาท ช่องข่าวสารและสาระ 203 ล้านบาท ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว 44 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ SD 1,590 ล้านบาท และวาไรตี้ HD 3,790 ล้านบาท

]]>
1239770
เรตติ้งทีวีดิจิทัล ไตรมาสแรก “รายการข่าว” เบียดโค้งสุดท้าย https://positioningmag.com/1223703 Fri, 05 Apr 2019 07:05:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223703 จบไตรมาสแรกของปี 2562 กันไปแล้ว มาดูผลงานเรตติ้ง “ทีวีดิจิทัล” กันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจากต้นปีต่างแข่งเสริมทัพคอนเทนต์ใหม่ รายการไฮไลต์ ละคร ข่าว วาไรตี้ กีฬา อย่างคึกคัก โดยเฉพาะ “ข่าว” แข่งโกยเรตติ้งช่วงเลือกตั้ง-การเมืองร้อนแรง

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รายงานข้อมูล “เรตติ้ง” ทีวีดิจิทัล 10 อันดับแรก เดือนมีนาคม 2562 คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี ช่อง 3SD ช่อง 8 อมรินทร์ทีวี และเนชั่นทีวี ตามลำดับ

ข่าวโกยเรตติ้ง มี.ค.

เดือนมีนาคมนี้ 10 อันดับแรกเรตติ้งสูงสุด “ส่วนใหญ่” ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยช่องที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

ช่องละครหลังข่าว ที่ช่วยเพิ่มเรตติ้ง ได้แก่ ช่อง 7 ช่อง 3 และช่อง One โดย ช่อง 7 มีละครหลังข่าวเรตติ้งสูงหลายเรื่อง เช่น “นางร้าย” “พัชรมนตรา” และ “บ่วงสไบ” ส่วนช่อง 3 มีละครเรื่อง “กรงกรรม” และ “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” ที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง นอกจากนี้ ละคร “ทะเลริษยา” และ “สาวน้อย 100 ล้านวิว” ของช่อง One ก็มีเรตติ้งสูงขึ้นเช่นกัน

ช่องรายการข่าว ที่ช่วยเพิ่มเรตติ้ง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี ช่อง 3SD อมรินทร์ทีวี และเนชั่นทีวี เดือนมีนาคม 2562 เป็นช่วงเวลาที่การเมืองร้อนระอุ เนื่องจากใกล้เวลาเลือกตั้ง รายการไทยรัฐนิวส์โชว์ของไทยรัฐทีวีได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีเรตติ้งสูงถึง 3.065

เช่นเดียวกับช่องเนชั่นทีวี ที่กลายเป็นช่อง “ม้ามืด” ไต่อันดับเรตติ้งจาก 14 เข้าสู่ท็อป 10 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก รายการที่ได้รับความนิยม คือ เนชั่นทันข่าว, ข่าวข้น คนเนชั่น รวมไปถึงการเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งในรายการเนชั่น อีเลคชั่น ในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งมีเรตติ้งเฉลี่ย 1.237

นอกจากนี้ รายการข่าวนอกลู่ของช่อง 3SD และทุบโต๊ะข่าวของอมรินทร์ทีวี ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

ท็อป 10 เรตติ้ง ก.พ.

มาย้อนดูเรตติ้ง ทีวีดิจิทัลเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ในกลุ่ม 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี ช่อง 8 ช่อง 3SD อมรินทร์ทีวี และพีพีทีวี ตามลำดับ

ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ช่องที่มีเรตติ้งสูงสุด 10 อันดับแรก มีเพียง 3 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง 3 (3HD) ช่อง One และพีพีทีวี ที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น

ช่อง 3 มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น 0.220 จากเดือนก่อนหน้า มาจากความแรงของละครดังหลังข่าว “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” ที่มีเรตติ้งสูงสุด 6.730 ออกอากาศวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

ช่อง One เรตติ้งกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 0.004 ขยับจากอันดับ 6 ขึ้นสู่อันดับ 5 ทิ้งห่างคู่แข่งไทยรัฐทีวีอีกครั้ง รายการที่ได้รับความนิยม คือ ละครเย็น “ขุนปราบดาบข้ามพบ” และละครค่ำ “ทะเลริษยา” และ “หน้ากากแก้ว”

พีพีทีวี เรตติ้งเพิ่มจาก 0.196 เป็น 0.233 หรือสูงขึ้น 0.037 ส่งผลให้เรตติ้งเฉลี่ยขยับจากอันดับ 11 ขึ้นสู่อันดับ 10 ได้สำเร็จ รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ระหว่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ซึ่งมีเรตติ้งสูง 4.100 นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลรายการอื่นๆ ด้วย เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลเอฟเอฟ รุ่นอายุไม่เกิน 22 ปี แอลจีคัพ การถ่ายทอดสดฟุตบอลลาลีก้าสเปน และการถ่ายทอดสดฟุตบอลบุนเดสลีกา เป็นต้น

เรตติ้ง ม.ค.2562

สำหรับตัวเลขเรตติ้งตั้งแต่เริ่มต้นปี เดือนมกราคม 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ไทยรัฐทีวี ช่อง One ช่อง 8 ช่อง 3SD อมรินทร์ทีวี และช่อง NOW (Spring 26) ตามลำดับ

เดือนมกราคม 2562 ทีวีดิจิทัล 10 อันดับแรกยังเป็นกลุ่มเดิม โดยมีเพียง 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 7 และไทยรัฐทีวี ที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น

ช่อง 7 มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น 0.066 ส่งผลให้นำห่างช่อง 3 ที่มีเรตติ้งลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยละครเย็นเรื่อง “พ่อตาปิ่นโต” ตอนหลานข้าใครอย่าแตะ มีเรตติ้งเฉลี่ย 6.433 ส่วนละครค่ำหลังข่าวก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เรื่องจ้าวสมิง มีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่อง 6.333 รวมทั้งเรื่องสารวัตรใหญ่ที่เรตติ้งสูงต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การถ่ายทอดสดฟุตบอลเอเอฟซี เอเชี่ยนคัพ 2019 และเอฟเอฟ ซูซุกิคัพ ก็ได้รับความนิยมจากฐานคนดูทั่วประเทศ

ไทยรัฐทีวี มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น 0.088 จึงขยับจากอันดับ 7 ขึ้นสู่อันดับ 5 ทิ้งห่างช่อง One และช่อง 8 ได้อีกครั้ง รายการที่ได้รับความนิยม คือ “ไทยรัฐนิวส์โชว์” โดยเฉพาะช่วงที่มีการถ่ายทอดสดพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อคูณ ในวันที่ 29 มกราคม 2561 มีเรตติ้งสูงถึง 3.091

]]>
1223703
เปิด 10 เรตติ้งทีวีดิจิทัล ธ.ค. 61 พลังดูดได้ผล พีพีทีวีทำสถิติ “นิวไฮ” ของช่อง https://positioningmag.com/1206183 Thu, 03 Jan 2019 01:27:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206183 “พีพีทีวี” คว้าเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปี 0.202 ของช่องเมื่อเทียบกับเรตติ้งของช่องทั้งปี ในอันดับเรตติ้งทีวีดิจิทัล ประจำเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

หลังจากพีพีทีวีประกาศ “ดูด” หลายรายการดังจากทั้งช่อง 3 และช่อง 7 โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รายการบรรดาที่ดึงมาออนแอร์ไปแล้วมาช่วยดันเรตติ้งเฉลี่ยช่อง ทั้ง The Voice Thailand และการถ่ายทอดสด Miss Universe 2018

ปกติเรตติ้งเฉลี่ยช่องพีพีทีวีอยู่ในระดับ 0.15 – 0.18 ในแต่ละเดือนของปี 2561 โดยมีรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ เป็นรายการหลักที่ทำเรตติ้งสูงสุดของช่อง บางแมตช์ได้เรตติ้งสูงถึง 2 เมื่อมี The Voice ออนแอร์มาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ได้เรตติ้งเฉลี่ยตอนเปิดตัวอยู่ที่ 0.575 แต่ในเดือนธันวาคม มีเรตติ้งดีขึ้นเรื่อยๆ จนตอนล่าสุดวันที่ 24 ธันวาคม อยู่ที่ 0.860 ส่วน The Face Men ซีซัน 2 ทำเรตติ้งเฉลี่ยทั้งซีซันอยู่ที่ 0.222

ในขณะเดียวกัน การที่พีพีทีวีได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2018 รอบตัดสิน ทำเรตติ้งได้ไป 0.732 และยังมีการถ่ายทอดอีก 3 รายการ ตั้งแต่ การประกวดรอบ Thai Night ได้เรตติ้งเฉลี่ย 0.201, รอบชุดประจำชาติ เรตติ้ง 0.325 และรอบ Preliminary ในชุดว่ายน้ำและชุดราตรี เรตติ้งสูงถึง 0.787

ทั้งหมดนี้ รวมกับการถ่ายทอดสดฟุตบอล ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยช่องพีพีทีวีทำสถิติสูงถึง 0.202 สูงที่สุดของช่องในปีนี้

ช่อง 7 ละครหลังข่าวดันเรตติ้ง

ละครจ้าวสมิง

สำหรับช่อง 7 มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน เพราะได้ละครหลังข่าวเรื่องใหม่ “จ้าวสมิง” มาช่วยได้ทันเวลา หลังจากเกิดวิกฤตละครหลังข่าวของช่อง 7 เรตติ้งตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา มาในเดือนธันวาคมนี้ ช่อง 7 จึงยืนหนึ่งด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 1.876

อีกทั้งช่อง 7 ยืนหยัดจัดละครใหม่ลงผังในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในขณะที่ช่องคู่แข่งละครช่องอื่นๆ พากันงัดแผนลดต้นทุน ลงละครรีรันกันรัวๆ จึงทำให้เรตติ้งละครช่อง 7 มาแรงนำละครทุกช่อง โดยเฉพาะจากละครเย็น

โมโน เป็นอีกช่องที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ด้วยการวางแผนจัดหนังบู๊เดือดลงผังสู้กับละคร และรายการในช่องอื่นๆ ทำให้เรตติ้งเพิ่มจาก 0.858 มาอยู่ที่ 0.899

ส่วนเวิร์คพอยท์ นอกเหนือจากรายการประกวดร้องเพลง ตระกูล “ไมค์” ที่ทำเรตติ้งให้ช่องอย่างสม่ำเสมอแล้ว รายการ I Can See Your Voice และ The Mask Line Thai ยังมีเรตติ้งดีขึ้น ที่มีผลจากคู่แข่งอ่อนแรงด้วยละครรีรัน โดยในวันที่ 26 ธันวาคม I Can See Your Voice เป็นรายการที่เรตติ้งสูงสุดของช่วงหลังข่าว 2 ทุ่มด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 3.949 และ The Mask Line Thai ทำเรตติ้งสูงสุดของช่วงหลังข่าวในวันที่ 27 ธันวาคม 3.540 สูงกว่าละครใหม่ช่อง 7 และละครรีรันจากหลายช่อง ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยช่องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับในกลุ่มช่องท็อปเท็น ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยช่องลดลงคือ ช่อง 3, ช่องวัน, ช่อง 8 และ ช่อง 3SD ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องที่วางผังในช่วงท้ายปีเป็นละครรีรันทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการลดลงเพียงเล็กน้อย เช่น ช่อง 3 เรตติ้งลดลงจาก 1.127 มาอยู่ที่ 1.108 ส่วนช่องวันลดลงจาก 0.549 มาอยู่ที่ 0.536.

]]>
1206183
เจาะ 10 อันดับเรตติ้งทีวี พ.ย. 61 วิทยุไม่ตาย แต่ไม่โต คว้างบ 437 ล้านบาท  https://positioningmag.com/1202804 Thu, 13 Dec 2018 08:47:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1202804 สำนักงาน กสทช. รายงานสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล เดือน พ.ย. 2561 พบว่า ช่องรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด (เรตติ้ง) 10 อันดับแรก 

  • อันดับ 1 ช่อง 7HD เรตติ้ง 1.720
  • อันดับ 2 ช่อง 3HD เรตติ้ง 1.127
  • อันดับ 3 ข่อง MONO29 เรตติ้ง 0.858
  • อันดับ 4 ช่อง Workpoint TV เรตติ้ง 0.770
  • อันดับ 5 ช่อง ONE HD เรตติ้ง 0.549
  • อันดับ 6 ช่อง 8 เรตติ้ง 0.494
  • อันดับ 7 ช่อง ไทยรัฐ ทีวี เรตติ้ง 0.398
  • อันดับ 8 ช่อง 3SD เรตติ้ง 0.361
  • อันดับ 9 ช่อง Amarin TV HD เรตติ้ง 0.286
  • อันดับ 10 ช่อง NOW เรตติ้ง 0.214

สำหรับเดือน พ.ย. 2561 นี้ เรตติ้ง 10 อันดับแรกยังเป็นกลุ่มช่องรายการเหมือนเดือนก่อนหน้า มีเพียง 3 ช่องรายการ ช่อง 8 ช่อง 3SD และช่อง NOW ที่มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้น โดยเกิดจาก

• ละครพื้นบ้าน “สาปกระสือ” เป็นละครเย็นที่ช่วยดันเรตติ้งของช่อง 8 ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือน 2.663 และเรตติ้งเฉลี่ยทั้งรายการ 2.136 นอกจากนี้ ละครเย็น “ซิ่นลายหงส์” ที่ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง “สาปกระสือ” ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชม โดยมีเรตติ้งที่ออกอากาศในเดือน พ.ย. 2561 เฉลี่ย 1.875

• สำหรับช่อง 3SD รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันมวยไทยโลก ไทยไฟท์ สระบุรี ได้เรตติ้ง 2.412 และเป็นคอนเทนต์หลักที่ดันเรตติ้งเฉลี่ยของช่องให้สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รายการ “ข่าวนอกลู่” และละครรีรัน “สองหัวใจนี้…เพื่อเธอ” ก็เป็นอีกสองรายการที่มีฐานผู้ชมแข็งแกร่ง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือน 1.824 และ 1.890 ตามลำดับ

• ส่วนช่อง NOW รายการ แม็กซ์ มวยไทย และรายการเดอะแชมป์เปี้ยน มวยไทยตัดเชือก ยังคงเป็นคอนเทนต์หลักที่ช่วยให้ช่องได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลให้มีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนอยู่ในการจัดอันดับ TOP 10 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ย. 2561 รายการ แม็กซ์ มวยไทย มีเรตติ้งเฉลี่ย 1.678 และรายการเดอะแชมป์เปี้ยน มวยไทยตัดเชือก มีเรตติ้งเฉลี่ย 1.551

ทีวีฟันงบโฆษณา 5,809 ล้านบาท

สำหรับมูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ พบว่า มูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เดือน พ.ย. 2561 มียอดรวมประมาณ 5,809 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 แต่เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของเดือน พ.ย. 2561 กับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว พบว่า สูงกว่ามูลค่าการโฆษณาของปี 2560 อยู่ 417 ล้านบาท โดยมูลค่าการโฆษณาของเดือน พ.ย. 2560 ยอดประมาณ 5,392 ล้านบาท

คนไทยฟังวิทยุในบ้านเกินครึ่ง

ส่วนสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของประเทศไทยประจำเดือน พ.ย. 2561 พบว่า จากข้อมูลจำนวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็ม. จำนวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า เดือน พ.ย. 2561 มีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุประมาณ 10,569,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า (ตุลาคม 2561) ประมาณ 37,000 คน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.3

ทั้งนี้ จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุเดือน พ.ย. 2561 พบว่า หากแยกตามสถานที่ผู้คนส่วนใหญ่

  • นิยมรับฟังวิทยุที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 52.16
  • ฟังวิทยุในรถ ร้อยละ 36.17
  • ฟังในที่ทำงาน ร้อยละ 11.07 และอื่นๆ ร้อยละ 0.60

หากแยกการรับฟังวิทยุตามประเภทอุปกรณ์ พบว่า รับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุคิดเป็นร้อยละ 73.12 ตามมาด้วยการรับฟังผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ร้อยละ 25.83 และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ร้อยละ 1.05

ในส่วนของมูลค่าโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็ม.ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 36 สถานี (88.0 MHz-91.5 MHz, 93.0 MHz-103.5 MHz และ 104.5 MHz-107.0 MHz พบว่า ในเดือน พ.ย. 2561 มีมูลค่าโฆษณารวมประมาณ 437,452,000 บาท ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 1.84 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงของเดือน พ.ย. 2561 กับปีก่อนหน้า พบว่า มีมูลค่าลดลงประมาณ 1.75 ล้านบาท.

]]>
1202804