เสิร์ช – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Feb 2022 08:04:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุป 5 เทรนด์การค้นหาบน ‘Google’ ตลอดปี 2021 ที่สะท้อนว่า ‘โควิด’ ไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมอีกต่อไป https://positioningmag.com/1374325 Thu, 17 Feb 2022 07:25:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374325 ‘Google ประเทศไทย’ ได้ออกมาสรุปถึงเทรนด์การค้นหาของผู้บริโภคตลอดทั้งปี ที่สะท้อนให้เห็นว่า ‘โรคระบาด’ ไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคอีกต่อไป รวมถึงใช้เพื่อสร้างโอกาสและช่วยต่อยอดทางธุรกิจสำหรับแบรนด์และกลุ่มธุรกิจหลัก รวมไปถึงนักโฆษณาและนักการตลาดเพื่อใช้วางกลยุทธ์ให้ตรงตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

ดิจิทัลกลายเป็นกระแสหลัก

จากการระบาดของ COVID-19 ในปี 2020 ผู้คนต้องปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่ ๆ โดยเฉพาะการใช้งานดิจิทัล มาปี 2021 ผู้คนเริ่มปรับตัวให้อยู่กับการระบาดได้ และแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างถาวร เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทำให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยโรคระบาด แต่กำลังเปลี่ยนไปเป็นพฤติกรรมใหม่ โดยเฉพาะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจมากขึ้น โดยพบว่า

  • 90% ของผู้บริโภคไทยจะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการตัดสินใจซื้อของพวกเขา
  • ผู้บริโภค 75% เลือกซื้อจากแบรนด์ที่เพิ่งค้นพบมากกว่าแบรนด์ที่คุ้นเคย
  • คำว่า ยี่ห้อไหนดี ถูกค้นหาเพิ่มขึ้น 30%
  • การค้นหาแคมเปญเลขคู่อื่น ๆ อย่าง 6.6 7.7 8.8 เพิ่มขึ้นถึง 110% แสดงว่าไม่ได้รอแค่ 11.11 อีกต่อไป
  • ส่วนลดลูกค้าใหม่ ถูกค้นหาเพิ่มขึ้น 50%
  • คำว่า จัดส่งฟรี เพิ่มขึ้น 60%
  • ไม่ใช่แค่ซื้อ แต่เริ่มหันมาค้าขายออนไลน์มากขึ้น โดย 44% ค้นหาว่า ขายอะไรออนไลน์

“หากดูจากเทรนด์แล้ว ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ใหม่ ๆ เพราะผู้บริโภคเริ่มจะเปิดใจให้กับแบรนด์ที่ค้นพบใหม่ ไม่จำเป็นต้องซื้อแต่แบรนด์ที่คุ้นเคย” ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย กล่าว

ทบทวนวิถีชีวิตที่ผ่านมา

จากการระบาด ทำให้ผู้คนต่างหันมาทบทวนวิถีชีวิตและคุณค่าของตัวเองกันใหม่ เริ่มหันกลับไปมองวิถีชีวิตในอดีต และเริ่มมองหา ความสะดวกสบายและความเรียบง่าย ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันมากขึ้น และยังทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจกับสิ่งที่สำคัญกับพวกเขามากที่สุด

อย่างการทำงาน ผู้คนเริ่มไม่ตกแต่งสถานที่ทำงาน แต่หันมาเลือกสถานที่ทำงานแทน และไม่จำกัดแค่ต้องเป็นที่บ้าน (Work From Home) แต่เริ่มหาสถานที่ใหม่ ๆ โดยพบว่า

  • การค้นหา work from hotel (การทำงานจากโรงแรม) เพิ่มขึ้นถึง 1,600%
  • การค้นหาเรื่อง Cryptocurrency เพิ่มขึ้น 263% สะท้อนถึงความสนใจในการลงทุนรูปแบบใหม่
  • นอกจากนี้การค้นหา Vitamin D เพิ่มขึ้น 87% แสดงให้เห็นว่าคนใส่ใจในการดูแลตัวเองมากขึ้น

“เราเคยคิดว่าคนจะยังค้นหาพวกอุปกรณ์สำหรับทำงาน อย่างเมาส์ คีย์บอร์ด แต่ในปี 2021 กลับไม่เห็นเทรนด์นั้นอีกแล้วคนอาจจะซื้อหรือเปลี่ยนไปหมด กลายเป็นว่าคนหาที่ทำงานใหม่ สอดคล้องกับที่เห็นว่าโรงแรมจำนวนมากเริ่มทำโปรโมชันให้มา Work From Hotel”

ห่างไกล ไม่ห่างกัน ด้วยเทคโนโลยี

การเว้นระยะห่างยังคงมีอยู่ ดังนั้น การติดต่อหรือแสดงความรู้สึกผ่านช่องทางออนไลน์จึงยังเป็นช่องทางที่สำคัญ โดยพบว่า

  • การค้นหา คำอวยพรวันครบรอบ สูงขึ้นถึง 210%
  • การค้นหา ส่งของขวัญ เพิ่มขึ้น 69%
  • การค้นหา เล่มเกมออนไลน์กับแฟน เพิ่มขึ้น 250%
  • การค้นหา สั่งให้เพื่อน เพิ่มขึ้น 100%
  • การค้นหา คอนเสิร์ตออนไลน์ เพิ่มขึ้น 58%

ใส่ใจกับการค้นหาความจริง

ในปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคจะเพิ่มความระมัดระวังและความรอบคอบในการตัดสินใจมากขึ้น หลังจากมีข่าวเรื่องมิจฉาชีพ ซึ่งคำค้นหาบน Google Search ก็ได้สะท้อนภาพดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง ป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ และปกป้องความเป็นส่วนตัว

  • โดยการค้นหาเกี่ยวกับ ข่าวปลอม เพิ่มขึ้นถึง 200%
  • การค้นหา ข้อมูลส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 143% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
  • คำว่า เชื่อถือได้ไหม มีตัวเลขเพิ่มขึ้นถึง 72%

ความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนมากขึ้น

สุดท้ายคือในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ช่องว่างทางสังคมใหญ่ขึ้น ผู้คนจึงหันเข้าออนไลน์เพื่อเอาชนะความท้าทายที่เผชิญ โดยมีการค้นหาเกี่ยวกับ

  • คนค้นหา เน็ตฟรี เพิ่มขึ้นถึง 35%
  • การค้นหาเกี่ยวกับ 5G เพิ่มขึ้น 235%
  • การค้นหา สินเชื่อเงินด่วน เพิ่มขึ้น 59%
  • การค้นหา หางานใกล้ฉัน เพิ่มขึ้น 125%

นอกจากนี้ 5 ใน 10 คำค้นหาจากหมวดหมู่ วิธี (How to) อย่างวิธียืนยันตัวตน เราชนะ วิธีใช้คนละครึ่ง วิธีลงทะเบียนเรารักกัน วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต และวิธีสมัครสินเชื่อเสริมพลังฐานราก เพื่อเข้าถึงโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ สะท้อนให้เห็นว่ายังมีความต้องการการสนับสนุนทางการเงินเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

]]>
1374325
โฆษณาดิจิทัลปีนี้ 2 หมื่นล้าน “เฟซบุ๊ก-ยูทูบ-เสิร์ช” กวาดงบ 55% https://positioningmag.com/1221938 Wed, 27 Mar 2019 12:45:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221938 ยังคงเป็นสื่อที่รักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012 สำหรับโฆษณา “สื่อดิจิทัล” ปี 2018 มีมูลค่า 17,000 ล้านบาท เติบโต 36% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 28% เรียกว่าทุกอุตสาหกรรมต่างให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เข้าถึงผู้บริโภคสัดส่วนกว่า 80% แนวโน้มปี 2019 ประเมินโฆษณาดิจิทัลยังไปต่อด้วยมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท

อาภาภัทร บุญรอด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กันตาร์ อินไซท์ ประเทศไทย กล่าวว่าสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ร่วมกับ กันตาร์ ประเทศไทย บริษัทวิจัยสำรวจมูลค่าเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2012

สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล ปี 2019 คาดการณ์มูลค่าอยู่ที่ 19,629 ล้านบาท หรือเกือบ 20,000 ล้านบาท เติบโต 16% การขยายตัวมาจากจำนวนสมาชิกดิจิทัล เอเยนซี ร่วมรายงานเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น ปีนี้รวม 40 ราย อีกทั้งมีหลายธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและมี “ผู้เล่นใหม่” เข้ามาในตลาด ใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น ที่โดดเด่น คือ อีคอมเมิร์ซ, เอนเตอร์เทนเมนต์, ระบบขนส่ง

“ยานยนต์” ครองแชมป์

ราชศักดิ์ อัศวศุภชัย กรรมการ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าว่า ปี 2019  กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ใช้สื่อดิจิทัลสูงสุด 5 ลำดับแรก ยังคงเป็นกลุ่มเดิม ได้แก่ ยานยนต์ มูลค่า 2,783 ล้านบาท, การสื่อสาร 2,115 ล้านบาท, สกินแคร์ 1,753 ล้านบาท, ธนาคาร 1,396 ล้านบาท และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1,239 ล้านบาท

ปีนี้คาดการณ์ค้าปลีกเติบสูงสุดที่ 47% คิดเป็นเม็ดเงิน 1,029 ล้านบาท จากการแข่งขันของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การใช้กลยุทธ์ออมนิ แชนแนล ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์  ตามด้วยธนาคาร คาดเติบโต 29% มูลค่า 1,396 ล้านบาท จากการแข่งขันบริการรูปแบบเดิมทั้งการฝากเงิน กู้เงิน และเซอร์วิสใหม่ๆ ผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์ม ส่วน สกินแคร์  เติบโต 21% เป็นกลุ่มที่ใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี พบว่าปีนี้แบรนด์ลักชัวรี่ที่ปกติใช้สื่อแมกกาซีน หันมาใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน

“เฟซบุ๊ก-ยูทูบ-เสิร์ช” กวาดเรียบ 55%

สำหรับดิจิทัล แพลตฟอร์มระดับโลก ที่คาดการณ์ครองเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลสูงสุดในปี 2019 คือ ฟซบุ๊ก มูลค่า 5,558 ล้านบาท สัดส่วน 28% ตามด้วย ยูทูบ มูลค่า 3,364 ล้านบาท สัดส่วน 17%, เสิร์ช มูลค่า 2,010 ล้านบาท สัดส่วน 10% รวม 3 แพลตฟอร์มระดับโลกดังกล่าวรวมครองส่วนแบ่งงบโฆษณาดิจิทัล 55% หรือกว่าครึ่งของตลาด เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มหลักที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้สื่อสารกับผู้บริโภคตามจุดสัมผัส (Touch points) ต่างๆ บนวิถีของผู้บริโภค (Customer Journey)

ส่วนงานด้านครีเอทีฟ ปีนี้คาดมีมูลค่า 1,829 ล้านบาท กลับมาเติบโตอีกครั้ง จากกลยุทธ์การสร้างสรรค์คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ ที่ต้องนำเสนอเนื้อหาต่างจากสื่อทีวี ที่สำคัญคอนเทนต์ต้องหยุดผู้บริโภคให้ได้ภายใน 3 วินาที ทำให้ปีนี้จะมีการผลิตงานครีเอทีฟสำหรับสื่อออนไลน์ด้วยจำนวนมากขึ้น เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่เหมาะสมตามความสนใจได้แบบรายบุคคล

ขณะที่ ไลน์ เป็นแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ที่เติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมา มีมูลค่า 1,194 ล้านบาท คาดปีนี้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1,425 ล้านบาท เนื่องจากมีเซอร์วิสที่หลากหลายในการใช้งานแบบ B2B และ B2C

ปี 61 โตเกินเป้า

พัชรี เพิ่มวงษ์อัศวะ กรรมการ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า เม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล ปี 2018 งบโฆษณาสื่อดิจิทัลมีมูลค่า 17,000 ล้านบาท เติบโต 36% สูงกว่าที่คาดการณ์เติบโต 28% โดย 5 อุตสาหกรรมที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด คือ ยานยนต์ มูลค่า 2,361 ล้านบาท, การสื่อสาร 1,925 ล้านบาท, สกินแคร์ 1,454 ล้านบาท, เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮล์ 1,148 ล้านบาท และธนาคาร 1,080 ล้านบาท

พัชรี เพิ่มวงษ์อัศวะ

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล “เติบโต” สูงสุด ปี 2018 คือ อสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 114% ตามด้วยค้าปลีก 701 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 111% ปัจจัยหลักที่ทั้ง 2 อุตสาหกรรมใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น มาจากสื่อดิจิทัล ตอบโจทย์การเข้าถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและมีความสนใจซื้อสินค้า พร้อมเสนอเงื่อนไขและแคมเปญได้แบบรายบุคคล

ขณะที่ ศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ให้มุมมองว่า การเติบโตของการโฆษณาสื่อดิจิทัลปีที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมาจากการที่ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มากขึ้น

ปัจจุบันนักการตลาดเห็นโอกาสในการเรียนรู้ความต้องการและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านข้อมูลจากช่องทางดิจิทัลต่างๆ ได้มากขึ้น และนำเอาความรู้นั้นมาใช้ในการปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขาย ทำให้สื่อดิจิทัลให้ผลตอบแทนคุ้มค่าสำหรับนักการตลาด ทั้งด้านสร้างการรับรู้แบรนด์ ความผูกพันในตราสินค้า และยอดขาย ทำให้โฆษณาสื่อดิจิทัลยังมีแนวโน้มเติบโตต่อในปี 2019.

]]>
1221938
Google เผยพฤติกรรมซื้อรถของคนไทย ปี 2018 เสิร์ช-วิดีโอ ขาดไม่ได้ เคาะซื้อจาก 2 เดือนเหลือแค่ 2 สัปดาห์ https://positioningmag.com/1204568 Fri, 21 Dec 2018 12:25:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1204568 โลกสื่อดิจิทัลและการใช้มือถือส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อรถยนต์ของคนไทยเปลี่ยนแปลง” ไป  เสิร์ชออนไลน์ วิดีโอ คือแหล่งข้อมูลหลักใช้ประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่เวลาในการตัดสินใจซื้อเหลือแค่ 2 สัปดาห์ จากเดิมต้องใช้เวลาถึง 2-3 เดือน

เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ของคนไทยในปัจจุบัน “Gearshift 2018 : Purchase Journey of Thai New Car Buyers” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS เพื่อสะท้อนถึงกระบวนการที่ซับซ้อนผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ ซึ่งเป็น online survey ของผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ ทั้งชายและหญิง จำนวน 503 ราย ที่มีการซื้อรถยนต์ในช่วง 6-12 เดือนที่ผ่านมา

ภูมิภัส ฉัตรแก้ว ผู้จัดการกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ Google ประเทศไทย ระบุว่า

ผลวิจัย ปี 2018 สะท้อนให้เห็นถึงการเปลียนแปลงในหลายๆ ด้าน จากผลวิจัย (ปี 2017 ) คนไทยมีแบรนด์ในใจเพียงแค่ 3 แบรนด์ แต่มาปีนี้ 2018 พบว่าคนไทยมีแบรนด์ในใจถึง 4.7 แบรนด์ 

เนื่องจากแบรนด์รถยนต์มีสินค้าออกมามากมายทั้งรถรุ่นใหม่ เซกเมนต์ทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น สองพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เปิดใจรับแบรนด์ใหม่ๆ ยิ่งถ้าแบรนด์ไหนเข้าถึงลูกค้าในเวลาที่ถูกต้องจะเปิดใจรับได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคถึง 90% จะเลือกซื้อจาก 5 แบรนด์หลัก หรือที่เป็น Top of mind ถ้าแบรนด์ไหนไม่ติดโผ การขายจะยิ่งยาก ดังนั้นแบรนด์ควร engage หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของลูกค้าจะมีโอกาสมากขึ้น

โดยเฉพาะ 60% ของกลุ่มผู้บริโภคซื้อซ้ำ มักจะไม่เลือกแบรนด์เดิม ต้องการทดลองแบรนด์ใหม่ๆ ดังนั้นนักการตลาดต้องพยายามทำแคมเปญการตลาดในการดึงคนกลุ่มนี้ให้มาเป็นลูกค้า ขณะเดียวกันก็ต้องทำแคมเปญ CRM เพื่อรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ เพราะหากลูกค้าเปลี่ยนใจ” ไปใช้แบรนด์อื่นแล้ว ความยากและ ต้นทุน” ที่ใช้ดึงกลับมาจะแพงกว่ามาก

ดังนั้นแบรนด์ต้องให้ความสำคัญในทุกๆ Touch Point  ที่ผู้บริโภคจะมีโอกาสัมผัสกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งมีทั้งหมด 22 Touch Point เช่นตัวแทนจำหน่ายศูนย์บริการ

เมื่อดูจาก Touch Point ในส่วนของออนไลน์แล้ว พบว่า อันดับแรก ใช้การเสิร์ช 99%  อันดับ 2 ดูออนไลน์ วิดีโอ 96% อันดับ 3 หาข้อมูลจากแบรนด์ เว็บไซต์ 88% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (2017) ถึง 46% ดังนั้นนอกจากแบรนด์จะต้องโฟกัสเรื่องการตลาดออนไลน์แล้วยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเว็บไซต์ข้อมูล และการเข้าถึงต้องทำได้ง่ายและรวดเร็ว

อีกส่วนที่น่าสนใจคือเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายที่เคยอยู่อันดับท้ายๆ ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 6 เพิ่มขึ้นถึง 36% เมื่อเทียบกับปี 2018

ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 77% เป็นผู้ทีซื้อรถคันแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อรถยนต์มาก่อน โดยคนกลุ่มนี้จะใช้ออนไลน์ วิดีโอ” ในการหาข้อมูลเป็นหลักถึง 97%

อันดับแรก 81% เป็น วิดีโอ ที่ทำโดยผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งทำแบบมืออาชีพ อันดับ 2 วิดีโอ ทำโดยมืออาชีพ บุคคลที่ 3 สัดส่วน 59% อันดับ 3 วิดีโอ ทำโดยคนทั่วไป 26%

คนที่ซื้อรถยนต์ เขาจะมองหาข้อมูลจากแบรนด์ก่อน จากนั้นจึงไปที่ทัชพอยท์อื่นๆ เพราะมีข้อมูลบางอย่างที่เขาต้องการศึกษาเพิ่มเติม

ออนไลน์วิดีโอมีความสำคัญมากเพียงแค่ออแกนิกคอนเทนต์อาจไม่พอ ต้องทำโฆษณาทางยูทิวบ์เพิ่ม ซึ่ง 3 ไฮไลต์ที่สำคัญโดยเนื้อหาที่ต้องเล่าผ่านโฆษณาบนยูทิวบ์จะต้องเน้นฟีเจอร์ของรถยนต์เกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของลูกค้า ส่วนการออฟเฟอร์เรื่องของโปรโมชั่นเป็นอันดับรองลงมา

โดยหลังจากดูออนไลน์วิดีโอเกือบ 100% จะไปที่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อหาข้อมูลดูแบบไหนชอบที่สุด ซึ่งถือว่าใกล้ตัดสินใจซื้อแล้ว

สรุปได้ว่าทัชพอยท์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อนอกจากเสิร์ชก็คือออนไลน์วิดีโอ และแบรนด์ เว็บไซต์ ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์มีความสำคัญ ทั้งข้อมูล ความเร็ว

สำหรับจำนวนเฉลี่ยคนไทยไปดีลเลอร์และทดสอบรถ (Test drive) ในปี 2018 พบว่าไปดีลเลอร์ไม่เกิน 2.6 ครั้ง และทดสอบรถ 1.7 ครั้ง โดย 44% ตัดสินใจซื้อทันทีหลังจากเทสไดรฟ์ครั้งเดียว

ลูกค้ายุคนี้ทำการบ้านหาข้อมูลมาออย่างดีแล้ว ดังนั้นถ้าเขาตัดสินใจจะไปตัวแทนจำหน่าย และตัดสินใจซื้อเลย ดังนั้นออฟไลน์ทัชพอยท์ อย่าง ดีลเลอร์ที่ต้องมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ก็มีความสำคัญไม่แพ้ออนไลน์

สำหรับระยะเวลาเฉลี่ยในการตัดสินใจซื้อจากเมื่อก่อนต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน มาในปี 2018 ใช้เวลาเหลือ 2 เดือน และมีถึง 15% ที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก็ตัดสินใจซื้อแล้ว

ดังนั้นนักการตลาดจะต้อง engage กับลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำ เล่าเรื่องแบรนด์ เล่าเรื่องสินค้าถึงแม้ว่าการซื้อรถยนต์ยังไม่ใช่ท็อปออฟมายด์ของเขาก็ตาม แต่ก็ต้องสร้างการรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นโดยทัชพอยท์ต่างๆ แบรนด์เว็บไซต์ต้องมีข้อมูลครบ โหลดสปีดเร็วเพราะมีจำนวนน้อยที่ทดสอบรถครั้งเดียวก็ตัดสินใจซื้อเลย

เพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้น สุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การทำตลาดยุคนี้ มีทั้งเหมือนเดิม และต้องเปลี่ยนแปลง มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภค มีข้อมูล” ในมือให้การตัดสินใจในการซื้อรถเปลี่ยนไปจากอดีตต้องไปที่โชว์รูม แต่เวลานี้ทำได้ตลอดไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลาและสถานที่

โดยพฤติกรรมผู้บริโภคเลือกแบรนด์ที่ชื่นชอบใส่ตะกร้าไว้ก่อน จากนั้นจะเลือกไม่เกิน 3 แบรนด์สุดท้ายในการตัดสินใจ ซึ่งการสื่อสารเรื่องของแคมเปญจะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจมาก

นิสสันได้ร่วมมือกับ Google ในการทำแคมเปญซิตี้คาร์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าออนไลน์ได้ดีขึ้น และจากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวการเลือกซื้อรถยนต์ของคนไทยทำให้ทราบว่าผู้ซื้อรถยนต์ใช้สื่อดิจิทัลในทุกขั้นตอนของการศึกษาหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อรถคันใหม่

เริ่มด้วยการสื่อสารผ่าน KOL หรือคนดังในโลกออนไลน์ ซึ่งการร่วมกับ Google ทำให้มีข้อมูลรู้ได้ว่าผู้บริโภคสนใจอะไร ต้องการเนื้อหาแบบไหน แคมเปญอะไรสามารถสื่อสารได้ตรงกับความต้องการได้ ซึ่งในอดีตทำเรื่องเหล่านี้ไม่ได้

โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงสุด ตัดสินใจเร็วสุดคือมิลเลนเนียล ซึ่งจะคุ้นเคยกับการใช้มือถือ และเสิร์ชหาข้อมูลล ส่งผลให้การสินใจเกิดขึ้นรวดเร็ว และผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้น

เมื่อดูถึงแต่ละช่วงชีวิตจะพบว่า เรื่องของไฟแนนเชียลและการเปลี่ยนงานจะมีการซื้อและเปลี่ยนรถมากกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต 

แต่งงาน ยังรอได้ แต่เปลี่ยนงาน ทำให้เขาได้เงินมากขึ้น หรือการได้โบนัสปลายปี จึงเป็นที่มาว่า ทำไมงานมอเตอร์โชว์ถึงจัดช่วงปลายปี ซึ่งการเสิร์ชหาข้อมูลทำให้เรารู้ได้ว่า ช่วงชีวิตของเขาเป็นอย่างไร เราจะนำเสนอรถแบบไหนให้เขา

ยิ่งทุกวันนี้การแข่งขันของรถอีโค่คาร์ สูงมาก ถ้าเสนอของแถม เช่น ประกันภัย เข้าศูนย์ ไม่ถึง 40,000 บาท จะขายยากมาก

ดังนั้นการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ แบบถูกที่ในเวลาที่ถูกต้องจึงสำคัญมาก

ผลจากการทำแคมเปญดังกล่าวส่งผลให้แบรนด์นิสสันซิตี้คาร์ดีขึ้น 22% โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคสำคัญ ทั้งจำนวนเกิดมากกว่า และเป็นคนตัดสินใจ และหารายได้ การรับรู้แบรนด์เพิ่มขึ้น 13% และที่สำคัญ แบรนด์ได้รับการพิจารณาเพิ่มขึ้นถึง 19% และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 32% ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดนิสสันเพิ่มขึ้นอีก 9%

ทั้งนี้ นิสสันได้ใช้งบดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง” เพิ่มขึ้นทุกปี จาก 10-15% ในปี 2016 เพิ่มเป็น 40% ในปี 2018.

]]>
1204568