เอเชียนเกมส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 27 Jun 2021 11:28:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะอินไซต์การรับชม ‘กีฬา’ และ ‘อีสปอร์ต’ ที่แบรนด์ต้องรู้ก่อนจะลงเงินโฆษณา https://positioningmag.com/1338835 Thu, 24 Jun 2021 11:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338835 หากพูดถึงเรื่อง กีฬา และ กีฬาอีสปอร์ต เชื่อว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่คนไทยหลายคนให้ความสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่มาคู่กันก็คือ สปอนเซอร์ แต่หลายแบรนด์อาจจะยังไม่แน่ใจว่าในส่วนของรายการกีฬานั้นมีผู้ชมมากน้อยแค่ไหน เป็นใคร และจะได้อะไรกลับมา ดังนั้น นีลเส็น ประเทศไทย จึงได้ออกมาเปิดเผยถึงอินไซต์ว่าภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง

ประชากรไทย 43 ล้านคนชมกีฬา

จากผลสำรวจในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชมชาวไทย 84% หรือกว่า 43 ล้านคน กลับมารับชมกีฬา และมากกว่า 20 ล้านคน รับชมกีฬาในสนามแข่ง โดยคนไทย 19 ล้านคน เล่นกีฬา

แพลตฟอร์มในการรับชมกีฬา 5 อันดับ ได้แก่

  • ฟรีทีวี (74%)
  • โซเชียลมีเดีย (69%)
  • สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (46%)
  • OTT แพลตฟอร์ม (44%)
  • เพย์ทีวี (37%)

คนดูโหยหารายการกีฬา

แม้ว่าช่วงการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ไม่สามารถจัดแข่งขันกกีฬาได้ ซึ่งส่งผลกระทบให้ไม่มีรายการกีฬาถ่ายทอดสด จากยอดการรับชมเดือนละ 40-45 ล้านคนกลายเป็นศูนย์ในช่วงเดือนเมษายน 2020 แต่พอช่วงที่มีการผ่อนปรน มีการจัดแข่งขันกีฬาสดคนก็กลับมาชมกีฬาเหมือนเดิม อย่างที่ผ่านมา รายการ วอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สามารถทำเรตติ้งได้ 5.3%

ส่งผลให้โฆษณาสามารถเข้าถึงคนดูได้มากขึ้น อาทิ มิตซูบิชิ สามารถเข้าถึงคนดูได้ 3.9 ล้านคน จากการแข่งขัน AFC U23 Championship Thailand 2020, Coca-Cola เข้าถึงคนดู 1.8 ล้านคนจากรายการ Thai Fight, Leo Soda เข้าถึงคน 1.1 ล้านคน จากรายการ Toyota Thai League และ Nescafe เข้าถึคนดู 5 ล้านคน จากรายการวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลยูโร 2020 มียอดผู้ชมสะสม 8.1 ล้านคนในช่วง 12 วันที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายการกีฬาที่สำคัญยังสามารถดึงดูดคนได้อยู่

คนดูกีฬามักมีรายได้สูงกว่า

ผู้ชมกีฬาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ สูง เมื่อเทียบกับผู้ชมทั่วไป โดยประเภทรายการกีฬาที่คนไทยสนใจมากสุดคือ

  • ฟุตบอล (61%) ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากกว่าคนไทยทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
  • วอลเลย์บอล (53%) มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด กำลังซื้อระดับปานกลาง
  • แบตมินตัน (42%) ผู้ชมส่วนใหญ่รายได้ปานกลางถึงสูง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
  • มวยไทย (41%) จับกลุ่มรายได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด

 

โซเชียลช่องทางหลักติดตามข่าว

โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางอันดับ 1 (80%) ตามด้วยทีวี (78%) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง (75%) Social Messaging (63%) และ เว็บไซต์ต่าง ๆ (60%) ทั้งนี้ ช่องทางการติดตามโซเชียล 5 อันดับ ดังนี้

  • Facebook 93%
  • YouTube 92%
  • Instagram 66%
  • Twitter 61%
  • TikTok 55%

สำหรับรายการแข่งขันที่คนไทยให้ความสนใจ ได้แก่ FIFA Would Cup 61%, Asian Game 55%, Sea Game 54% และ Asian Volleyball Cup 53%

ส่วนการแข่งขันที่จัดเป็นฤดูการที่คนไทยสนใจ ได้แก่ Premier League 55%, UEFA Champions League 49%, UEFA Europa League 44% และ Toyota Thai League 43%

ในส่วนของกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดแข่งในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้พบว่า คนไทยให้ความสนใจเพียง 43% แม้ว่าจะรู้จักเกือบ 100% อย่างไรก็ตาม หากวัดตามจำนวนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 60,000 บาทพบว่าพวกเขาให้ความสนใจ 53% สูงกว่าค่าเฉลี่ย

สปอนเซอร์มีภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับแฟนกีฬา

  • 65% ของผู้ชมเห็นด้วยว่าแบรนด์ผู้สนับสนุนกีฬาได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้น
  • 63% รู้สึกจดจำชื่อแบรนด์ได้
  • 60% รู้สึกว่าแบรนด์มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 55% จะเลือกใช้แบรนด์สปอนเซอร์มากกว่าแบรนด์คู่แข่ง

ที่น่าสนใจคือ สำหรับแฟนกีฬาจะให้ความสำคัญกับสปอนเซอร์มากกว่าผู้ชมทั่วไป โดยจะมีความภักดีต่อแบรนด์มากกว่า รักแบรนด์มากกว่า

แฟนอีสปอร์ตเป็นวัยรุ่นรายได้สูง

จากการสำรวจแฟนกีฬาอีสปอร์ตในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า 65% เป็นเพศชาย เป็นกลุ่มนักศึกษาหรือ Fist Jobber อายุเฉลี่ยประมาณ 27 ปี มีรายได้สูงกว่าเฉลี่ยคนกรุงที่ 45,000 บาท โดยเฉลี่ยมักจะใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการ เล่นเกม และใช้เวลา 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ยในการ รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ดย  79% ดูเพราะชื่นชอบ 74% ดูเป็นงานอดิเรก และ 61% ดูเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นเกม

 

โทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับใช้เล่นเกมและรับชมการแข่งขันมากถึง 88% ส่วนการเล่นเกมบน พีซี คิดเป็น 54% และมีเพียง 45% ที่ใช้เกม คอนโซล ส่วนแพลตฟอร์มที่ชาวอีสปอร์ตไทยใช้รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ได้แก่

  • YouTube 77%
  • Twitch 48%
  • Facebook 16%
  • mixer 12%
  • Garena 11%

ทั้งนี้ 71% ของแฟนอีสปอร์ตมองว่าสปอนเซอร์ช่วยทำให้ประสบการณ์ดีขึ้น 69% รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มคอมมูนิตี้อีสปอร์ต และ 55% รู้สึกว่าแบรนด์ที่ได้รับการแนะนำจากนักกีฬาหรือสตรีมเมอร์ให้ความรู้สึกว่ามีความจริงใจ

สรุป คนดูกีฬามีอำนาจการซื้อสูงกว่า โดยทีวียังคงเป็นช่องทางหลักในการรับชม แต่โซเชียลมีความสำคัญในการติดตามข่าวสาร ส่วนแบรนด์สปอนเซอร์จะได้รับผลบวกจากการสนับสนุนแน่นอน และแม้การแข่งขันกีฬาจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ผู้ชมกีฬาไม่เคยหายไปไหน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอาจยังไม่ฟื้นจากพิษ COVID-19 แต่หากไม่ลงโฆษณาอาจทำให้แบรนด์ไม่ได้สื่อสาร ทำให้ถูกลืมและถูกคู่แข่งแทรกขึ้นมาได้ ดังนั้น ต้องวางแผนอย่างรัดกุมและเฉียบขาดมากขึ้น

]]>
1338835
เปิดเรตติ้งทีวีดิจิทัล ส.ค. 61 เอเชียนเกมส์ ดันเวิร์คพอยท์แซงโมโน ขึ้นอันดับ 3 ช่องข่าวร่วงยกแผง นาวได้แม็กซ์มวยไทย ติดท็อป 10 https://positioningmag.com/1186041 Mon, 03 Sep 2018 23:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1186041 ไม่เสียแรงที่ทุ่มทุนซื้อลิขสิทธิ์กีฬาเอเชียนเกมส์และลงทุนร่วม 100 ล้านบาท ช่องเวิร์คพอยท์ดันเรตติ้งขึ้นสู่อันดับ 3 ในเดือนสิงหาคม เป็นครั้งแรกของปีนี้ได้สำเร็จ

ช่วงการถ่ายทอดสดกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่เริ่มทางการตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม – 2 กันยายน ที่ผ่านมานั้น แม้ว่าในแง่รายได้จากโฆษณาจากการยกผังถ่ายทอดสด และการขายลิขสิทธิ์อาจจะไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนัก แต่อย่างน้อยเวิร์คพอยท์ก็แจ้งเกิดกับมหกรรมกีฬาใหญ่รายการแรก

การก้าวเข้ามาซื้อลิขสิทธิ์รายการกีฬาของเวิร์คพอยท์ เพื่อขยายฐานผู้ชมฐานใหม่ที่เป็นกลุ่มผู้ชายและชื่นชอบกีฬาให้มากขึ้น จากเดิมที่เป็นกลุ่มของผู้ชมรายการวาไรตี้ ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่า เป็นการเติมเต็มฐานผู้ชมให้มีกว้างขึ้น รองรับคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งในช่วงถ่ายทอดสดเอเชียนเกมส์ เวิร์คพอยท์ได้อาศัยช่วงพักการแข่งขันโหมโปรโมตรายการของช่องอย่างเต็มที่ โดยคาดหวังว่าจะช่วยสร้างการอยากติดตามรายการของช่องเพิ่มขึ้นหลังจากจบเอเชียนเกมส์

จากตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสิงหาคม การยกผังรายการปกติตลอดช่วงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ แถมเป็นช่องหลักที่ถ่ายทอดสดแมตช์สำคัญที่นักกีฬาไทยทำการแข่งขัน ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องเวิร์คพอยท์จากที่แช่อยู่ที่อันดับ 4 มาตั้งแต่ต้นปีนี้ ได้ขยับมาเป็นอันดับ 3 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 1.001 

อีกทั้งยังเป็นช่วงจังหวะของการส่งต่อเข้าสู่การถ่ายทอดวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก เป็นรายการต่อไปที่เวิร์คพอยท์ได้ลิขสิทธิ์มา ที่จะเริ่มทำการแข่งขันในสิ้นเดือนกันยายนนี้พอดิบพอดี เมื่อในช่วงเอเชียนเกมส์ กีฬาวอลเลย์บอลหญิงเป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดการแข่งขัน จากผลการแข่งขันที่นักกีฬาไทยทำผลงานได้ดีอีกด้วย

โดยการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลกจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 20 ตุลาคมนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยในครั้งนี้ มีทีมระดับโลกถึง 24 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน ทีมไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกับสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, เกาหลีใต้, อาเซอร์ไบจาน, ตรินิแดดแอนด์โตเบโก

ต้องลุ้นกันต่อไปว่า หลังช่วงเอเชียนเกมส์แล้วรายการวาไรตี้ที่มีอยู่จะช่วยสร้างเรตติ้งเฉลี่ยของช่องให้คงอยู่ในอันดับนี้ต่อไปหรือไม่

ช่องนาว เข้าท็อปเท็นครั้งแรก

ช่องนาว 26 ของกลุ่มเนชั่น ที่เคยวางตัวไว้เป็นช่องสารคดี ได้เปลี่ยนแปลงผังรายการมาพักใหญ่ด้วยการเสริมผังรายการถ่ายทอดสดมวยไทย จากเวที แม็กซ์มวยไทย ที่เดิมเคยอยู่ช่อง 8 เข้ามาออกอากาศทุกวันในข่องนาว ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องดีขึ้น จากอันดับ 12 เรตติ้งเฉลี่ย 0.203 ในเดือนกรกฎาคม มาอยู่ที่อันดับ 10 เรตติ้งเฉลี่ย 0.206  

ส่วนช่องที่โดดเด่นด้านกีฬาอย่างพีพีทีวี ที่ได้การถ่ายทอดเอเชียนเกมส์เข้ามาเสริมรายการฟุตบอลต่างประเทศของช่อง ก็มีเรตติ้งขยับขึ้นมา จากอันดับ 15 เรตติ้ง 0.178 ในเดือนกรกฎาคม ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 11 เรตติ้ง 0.180

ช่องข่าวร่วง 

ช่องไทยรัฐทีวี, อมรินทร์ทีวี และช่อง 9 เป็นกลุ่มช่องที่เรตติ้งเดือนสิงหาคมลดลงจากเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีกระแสข่าวค้นหาทีมหมูป่า ทำให้บรรดาช่องข่าวเรตติ้งสูงขึ้นกันทั้งหมด

โดยช่องไทยรัฐทีวี ลงจากอันดับ 5 เรตติ้งเฉลี่ย 0.720 มาอยู่ที่อันดับ 7 เรตติ้ง 0.424 ในขณะที่ช่องอมรินทร์ทีวีตกมาอันดับ 9 เรตติ้งเฉลี่ย 0.260 ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ที่ได้อันดับ 8 เรตติ้งเฉลี่ย 0.399 ทั้งนี้รายการหลักของช่องยังคงเป็นรายการข่าว “ทุบโต๊ะข่าว” เพียงรายการเดียว

ส่วนช่อง 9 ตกจากอันดับ 10 ในเดือนกรกฎาคม ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.247 มาอยู่ที่อันดับ 12 เรตติ้งเฉลี่ยเหลือเพียง 0.170.

]]>
1186041
เปิดเบื้องลึก เอเชียนเกมส์ 2018 ไม่ปัง แพ็กเกจทำข่าวสุดแพง https://positioningmag.com/1185823 Sat, 01 Sep 2018 03:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185823 มหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่ประเทศอินโดนีเซีย กำลังจะปิดฉากลงในวันที่ 2 กันยายนนี้แล้ว ท่ามกลางความเงียบเหงา มาดูสาเหตุสำคัญที่ทำให้ข่าวกีฬาเอเชียนเกมส์ปีนี้ดร็อปลง

ออกอากาศเพียง 2 ช่อง 

ในยุคทีวีเดิมที่ยังอยู่ในระบบแอนะล็อก การซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดกีฬาเอเชียนเกมส์จะเป็นเป็นภารกิจของทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โดยทีวีพูลที่มีสมาชิกหลักคือ ช่อง 3, 5,7 ,9 และ 11 เวียนถ่ายทอดสดวันละช่องตามลำดับ

เมื่อเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัล ที่มีช่องทีวีถึง 25 ช่อง ประกอบกับลิขสิทธิ์ของเอเชียนเกมส์ตกอยู่ในเอเจนซี่ เดนท์สุ ซึ่งเสนอขายทีวีพูล แต่เมื่อทีวีพูลยังไม่ตอบรับเดนท์สุจึงไปสนอขายให้กับทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ จนกระทั่งมาสรุปที่เวิร์คพอยท์ ซึ่งกลุ่มเดนท์สุเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของเวิร์คพอยท์อยู่แล้วการเจรจาจึงไม่ยาก

การซื้อลิขสิทธิ์เอเชียนเกมส์ครั้งนี้ เพราะเวิร์คพอยท์ต้องการขยายฐานผู้ชมของช่องเพิ่มขึ้นจากกลุ่มผู้ดูกีฬา

แม้ไม่มีรายงานเป็นทางการว่าค่าลิขสิทธิ์ที่เวิร์คพอยท์ซื้อในครั้งนี้เท่าไร แต่มีรายงานว่ามูลค่าอยู่ที่ประมาณ 70-100 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าจัดการประสานงานและการถ่ายทอดทั้งหมด

เดิมทีเวิร์คพอยท์ตั้งใจว่าจะถ่ายทอดสดรายการนี้แต่เพียงผู้เดียว แต่ก็ติดปัญหากฎ Must Have ของ กสทช.ที่ระบุให้กีฬาเอเชียนเกมส์เป็นหนึ่งใน 7 ประเภทกีฬาที่จะต้องออกอากาศทางฟรีทีวี โดยมีเงื่อนไขว่า แมตช์ที่คนไทยแข่งขันจะต้องมีการเผยแพร่อย่างทั่วถึง ทำให้เวิร์คพอยท์ต้องวิ่งหาทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ มาร่วมถ่ายทอดสดด้วยตามคำแนะนำของ กสทช.

หลังจากการเจรจากับหลายช่อง เวิร์คพอยท์ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะร่วมมือกับ NBT ของกรมประชาสัมพันธ์ แต่เกิด accident ในนาทีสุดท้าย เมื่อ กสทช.ไม่อนุมัติให้ NBT มีโฆษณาได้

พีพีทีวีจึงส้มหล่น เข้ามาเสียบแทน ด้วยราคาพิเศษประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับการ Sub licence ในครั้งนี้

เมื่อมีเพียง 2 ช่องที่ได้สิทธิถ่ายทอดสด แม้ว่าเวิร์คพอยท์จะอยู่ในกลุ่มช่องแถวหน้าอันดับ 3-4 ส่วนพีพีทีวีอยู่ในระหว่างอันดับ 10-12 แต่ด้วยฐานผู้ชมที่ยังไม่ได้แมสทั่วประเทศ การโหมประชาสัมพันธ์มหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ทำได้แค่เพียงที่ช่องเวิร์คพอยท์เพียงช่องเดียวเท่านั้น เทียบกับในอดีตในนามทีวีพูล การโหมโปรโมตพร้อมๆ ทั้งทุกช่องใหญ่ และทำกันล่วงหน้าก่อนมหากรรมกีฬาแข่งขันประมาณ 1 เดือน ทำให้เกิดกระแสความตื่นเต้น รับรู้ในประชาชนในวงกว้างได้มากกว่า

ราคาแพ็กเกจทำข่าวสูงลิ่ว

ในอดีต เมื่อลิขสิทธิ์เป็นของทีวีพูล ช่องทีวีทั้ง 5 ช่องสมาชิก สามารถส่งทีมไปทำข่าวได้ตามปกติ โดยเฉพาะกีฬาที่มีนักกีฬาไทยไปร่วมทำการแข่งขัน แต่เนื่องจากในครั้งนี้ลิขสิทธิ์ครั้งนี้ตกอยู่ในมือของเอกชน คือ เวิร์คพ้อยท์ ซึ่งได้คิดค่าลิขสิทธิ์จากช่องทีวีต่างๆ ที่ต้องการไปทำข่าวที่สนามแข่งขันมาออกอากาศในช่องตัวเอง

มีทั้งหมด 3 แพ็กเกจ ราคาตั้งแต่ 5 ล้านบาท, 3 ล้านบาท, 2 ล้านบาท และถูกสุด 2 แสนบาทต่อวัน

 

ด้วยราคาค่าลิขสิทธิ์ที่สูงลิบเช่นนี้ ทำให้บรรดาช่องทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่ส่งทีมข่าวไปรายงานข่าว และไม่ซื้อภาพข่าว บางช่องใช้วิธีรายงานแห้ง หรือไม่รายงานเลย

ในขณะที่ช่องใหญ่ๆ อย่างช่อง 7 ก็หันไปใช้ภาพนิ่ง หรือผลงานในอดีตของนักกีฬาที่ได้เหรียญรางวัลแทน และส่งทีมข่าวไปเจาะในแคมป์นักกีฬาไทย บางช่องใช้ภาพข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศมารายงานแทน ส่วนช่อง 3 ส่งนักข่าวไปทำข่าว และซื้อภาพข่าวลิขสิทธิ์จากเวิร์คพอยท์บ้าง

นอกนั้นมีเพียงไม่กี่ช่องที่ซื้อภาพข่าวบ้าง แต่มีการต่อรองราคากันอย่างเต็มที่ แถมบางช่องที่ส่งทีมข่าวไปทำข่าว เลี่ยงไม่จ่ายค่า AD Card โดยการไปขอ AD Card จากการกีฬาแห่งประเทศไทยแทน

ทำให้ความเข้มข้นความตื่นเต้นของการรายงานข่าวในครั้งนี้ลดดีกรีความเร้าใจในหมู่ผู้ชมลงไป

ฟุตบอลไทย ตกรอบแรก คอนเทนต์ไฮไลต์ลดลง

ความนิยมของการถ่ายทอดสดรายการกีฬามีความสัมพันธ์กับผลงานของนักกีฬาไทยที่ลงแข่งด้วย เมื่อฟุตบอลชายไทย กีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดของไทย และเป็นความหวังของคนไทย ต้องตกรอบแรกเร็วกว่าความคาดหมาย ความสนใจของผู้ชมรายการถ่ายทอดสดจึงยิ่งลดน้อยลงไป

ยิ่งถ้าไปเทียบกับกีฬาเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เกาหลีใต้ แมตช์ที่ทีมฟุตบอลชายไทยลงแข่งขันกับรอบรองชนะเลิศกับเกาหลีใต้ และแพ้ไป 0-2 ประตู ถ่ายทอดสดทางช่อง 3 เป็นแมตช์ที่เรียกเรตติ้งได้สูงสุดของเอเชียนเกมส์ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยได้เรตติ้งสูงถึง 7.883

เมื่อไม่มีฟุตบอล แถมฟุตบอลหญิงก็ตกรอบสองตามไป ยังดีที่กีฬาวอลเลย์บอล กีฬายอดฮิตของคนไทย โดยแมตช์ที่ทีมหญิงไทยโค่นทีมญี่ปุ่น คู่รักคู่แค้นได้ แข่งวันที่ 23 สิงหาคม

และเป็นแมตช์ที่ได้เรตติ้งสูงสุด ตั้งแต่มีการถ่ายทอดเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ โดยได้เรตติ้งอยู่ที่ 5.347 (สำหรับผลเรตติ้งที่ออกมาตั้งแต่เปิดการแข่งขันจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม)

อีกทั้งผลการแข่งขันล่าสุดในวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย สามารถเอาชนะทีมเกาหลีใต้ เข้าชิงเหรียญทองเอเชียนเกมส์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จึงคาดได้ว่า

แมตช์ถายทอดสดทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยในรอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ น่าจะทำเรตติ้งได้สูงที่สุด

นอกจากวอลเลย์บอล ก็มีแบดมินตัน และมวยสากลสมัครเล่น ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แต่เมื่อนักแบดมินไทยไทยทั้งชายและหญิง ตกรอบไปหมดแล้วก่อนหน้านี้ แถมนักมวยไทยมีเหลือเข้าชิงเหรียญทองเพียงคนเดียว ในประเภทนักมวยหญิงเท่านั้น จึงเหลือมวยอีกรายการหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมควบคู่ไปกับวอลเลย์บอล

แม้เอเชียนเกมส์ไม่เปรี้ยง แต่การมีแค่ 2 ช่องที่ถ่ายทอด ทำให้เวิร์คพอยท์กลับมายืนในตำแหน่งอันดับ 3 เหนือช่องโมโนอีกครั้ง และทำเรตติ้งเข้าใกล้ช่อง 3 ที่อยู่ในช่วงวิกฤตละครหลังข่าวความนิยมลด เรตติ้งตกต่ำ มีเพียงอังกอร์ละครบู๊ แนวระเบิดภูเขา เผากระท่อม แถมมีฉากปิ้งไก่ในตำนาน ที่ผู้ชมรอดู เพียงเรื่องเดียวที่ช่วยกู้หน้าช่อง 3 เอาไว้ได้ในขณะนี้

ยิ่งเข้าโค้งสุดท้ายของการถ่ายทอดสดเอเชียนเกมส์ น่าจะผลักดันให้เวิร์คพอยท์ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ได้หรือใกล้เคียง ส่วนพีพีทีวีก็ได้รับอานิสงส์เช่นดียวกัน แม้จะได้ถ่ายทอดในแมตช์ไม่ใหญ่มาก แต่ก็มีพลังพอให้พีพีทีวีทะยานขึ้นมาติดท็อปเท็นได้สำเร็จมาแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว

จับตา ซีเกมส์ 2019 ใครจะได้สิทธิ์ถ่ายทอดสด ถ้าเทียบกันระหว่างเอเชียนเกมส์และซีเกมส์แล้ว กีฬาซีเกมส์จะได้รับความนิยม และความสนใจในหมู่ผู้ชมและคนไทยทั่วประเทศได้มากกว่า เพราะสภาพร่างกายนักกีฬาใกล้กัน แถมไทยยังเป็นเจ้าเหรียญทอง พี่ใหญ่ของภูมิภาคนี้ เรตติ้งผลตอบรับโฆษณาก็มีมากกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งมหกรรมกีฬาที่หลายช่องทีวีดิจิทัลกำลังให้ความสนใจอย่างมาก กับกีฬาซีเกมส์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์

อย่างไรก็ตาม ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์อยู่ในมือของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. โดยทีวีพูลเป็นผู้ถ่ายทอดสดตลอด แต่ในครั้งหน้านี้หลายช่องต่างจับจ้องตาเป็นมัน

โดยเฉพาะช่องที่มีเงินทุนหนา ซึ่งเชื่อว่า กกท.ก็ต้องพิจารณาผลตอบรับจากการเปลี่ยนมือสิทธิ์ของกีฬาเอเชียนเกมส์ปีนี้ด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องความนิยม การโปรโมต และการมีส่วนร่วมของผู้ชมในเกมการแข่งขัน

แต่สุดท้ายจะลงเอยที่ช่องไหน หรือกลุ่มไหน น่าติดตามอย่างยิ่ง.

]]>
1185823
เวิร์คพอยท์ ได้เอเชียนเกมส์ กู้เรตติ้งขึ้นอันดับ 3 หายใจรดต้นคอช่อง 3 แล้ว https://positioningmag.com/1185197 Mon, 27 Aug 2018 23:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185197 แม้ว่าถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ จะไม่ได้มีกระแสแรงมากในกลุ่มผู้ชม เนื่องจากถ่ายทอดสดเพียง 2 ช่องทีวีดิจิทัล ทางเวิร์คพอยท์ และพีพีทีวี แต่ก็สร้างเรตติ้งเฉลี่ยช่องเวิร์คพอยท์ทะยานขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ได้อีกครั้ง หลังจากที่เรตติ้งเฉลี่ยตกลงมาอยู่ในอันดับ 4 มาตลอดทั้งปีนี้

เวิร์คพอยท์ ยอมยกผังรายการทั้งวัน เพื่อถ่ายทอดสดในแมตช์ที่นักกีฬาทีมชาติไทยลงแข่งขันแทบทุกรายการ เรตติ้งของช่วงเวลาถ่ายทอดสดในเวลากลางวัน ทำเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ในระดับ 1 กว่า ตลอดวัน สูงกว่ารายการปกติที่ออกอากาศในช่วงกลางวัน ที่มีทั้งรายการวาไรตี้รีรัน ซีรีส์ และรายการข่าว ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องขึ้นจากอันดับ 4 ตามช่องโมโน แซงมาอยู่ที่อันดับ 3 เรตติ้งเฉลี่ยของช่อง เพิ่มขึ้นถึง 0.468 จาก 0.821 มาอยู่ที่ 1.289

อย่างไรก็ตาม การที่ฟุตบอลกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ต้องตกรอบไปก่อน ทำให้ประเภทกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดกลายเป็นวอลเลย์บอล โดยแมตช์ที่ได้เรตติ้งสูงสุด เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง ไทยชนะญี่ปุ่น 3-0 เซต ได้เรตติ้งไป 5.347 

ที่สำคัญ เอเชียนเกมส์ ทำให้เรตติ้งช่องเวิร์คพอยท์เขยิบเข้าใกล้ช่อง 3 ที่อยู่อันดับ 2 ชนิดสูสีที่สุดเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาช่อง 3 เกิดวิกฤตกับละครหลังข่าว 2 ทุ่ม ช่วงวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี เรตติ้งตกลงอย่างน่าใจหาย เรตติ้งเฉลี่ยต่ำกว่า 2 ทั้งเรื่อง “ดวงใจในไฟหนาว” และ “นางบาป” แต่ยังโชคดีที่ได้ละครบู๊ล้างผลาญชุดใหม่ “อังกอร์” เสริมทัพในช่วงวันหยุด เข้ามาช่วยชีวิต เรตติ้งเปิดตัวถึง 3.850 ขึ้นมาถึง 5.170 ชนะละครโรแมนติกดราม่า “เจ้าสาวจำยอม” ช่อง 7 ในการออกอากาศเพียงแค่ตอนที่ 3 เท่านั้น

แต่ช่อง 3 ยังได้ชุดละครรีรันทั้งช่วงเช้า “จำเลยรัก” ช่วงเวลาละครดังข้ามเวลา และละครรีรันบ่าย “บ่วงหงส์” ได้เรตติ้งเฉลี่ยเกิน 2 ทั้ง 2 เรื่อง เข้ามาช่วยทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1.313 รอดจากการโดนเวิร์คพอยท์แซงได้อย่างหวุดหวิด

อย่างไรก็ตาม เรตติ้งของเวิร์คพอยท์และช่อง 3 ห่างกันเพียง 0.024 เท่านั้น แต่กีฬาเอเชียนเกมส์กำลังเข้าสู่อาทิตย์ที่ 2 ที่เป็นช่วงอาทิตย์สุดท้ายของการแข่งขันแล้ว น่าจับตาว่าเรตติ้งของเวิร์คพอยท์จะแซงหน้าช่อง 3 ได้หรือไม่

กีฬาเอเชียนเกมส์ยังช่วยให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องพีพีทีวี ที่เข้ามาเสียบซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก NBT อย่างกะทันหัน ขึ้นมาติดอยู่ในอันดับ 10 ได้สำเร็จ แต่แมตช์ที่พีพีทีวีถ่ายทอดมักจะเป็นแมตช์ที่ไม่ใช่นักกีฬาไทยแข่งขัน เรตติ้งของการถ่ายทอดจึงไม่ได้สูงมาก แต่ก็ช่วยทำให้ช่องพีพีทีวีมีเรตติ้งเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น โดยได้เรตติ้งสูงสุด 1.193 สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันกรีฑา ในวันอาทิตย์ที่ 26 ส.ค.

สำหรับช่อง 7 แชมป์เรตติ้ง มีละครพื้นบ้านช่วงเช้า “สังข์ทอง” เป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่อง เรตติ้งขึ้นไปอยู่ที่ 7.275 และ 7.440 ในวันเสาร์ที่ 25 ส.ค. และอาทิตย์ที่ 26 ส.ค. เป็นรายการที่ทำเรตติ้งสูงสุดประจำสัปดาห์นี้

สัปดาห์นี้เป็นช่วงตอนจบของละครแซ่บกระแสแรงในตอนนี้ “เมีย 2018” ช่องวัน เหลืออีก 2 ตอน ในวันที่ 27-28 ส.ค.นี้แล้ว เรตติ้งของสัปดาห์ก่อนหน้าทำไว้สูงถึง 5.873 สำหรับกลุ่มอายุ 4+ และ 6.182 สำหรับ 15+ กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่องวัน มาดูกันว่า 2 ตอนที่เหลือ เรตติ้งจะพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ไว้ที่เท่าไร.

]]>
1185197
ลุ้น!! เอเชียนเกมส์ช่วยกระตุ้นเม็ดเงินโฆษณา 4 เดือนสุดท้ายปีนี้โต 3% https://positioningmag.com/1183412 Tue, 14 Aug 2018 23:00:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183412 เอ็มไอมั่นใจโตเม็ดเงินโฆษณาปี 61 เป็นไปตามคาด 3% หลัง 7 เดือน ติดลบ 3.1% โดยสื่อออนไลน์สื่อนอกบ้านยังแรงต่อเนื่อง ขณะที่สื่อทีวียังทรงๆ แต่ปรากฏสัญญาณให้เห็น ใช้สื่อออนไลน์เพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์โฆษณาสินค้าได้ทั้งหมด คนไทยยังติดดูทีวี แนะกระจายโฆษณาสื่อผสม

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้จ่ายเงินโฆษณาในช่วงมกราคมกรกฎาคม 2561 มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 50,361 ล้านบาท ลดลง 3.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีการใช้จ่ายเงิน 51,966 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้จ่ายเงินผ่านสื่อหลักพบว่า สื่อทีวีดิจิทัลมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น 43% ขณะที่สื่อทีวีแอนะล็อกมีการใช้จ่าย 1.58 หมื่นล้านบาท ลดลง 18% ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของธุรกิจ ขณะที่วิทยุ สื่ออินสโตร์ โรงภาพยนตร์ สื่อกลางแจ้ง ยังคงมีการเติบโตในทิศทางที่ดีแต่ก็ยังติดลบไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

เอ็มไอ ยังระบุว่าอุตสาหกรรมโฆษณาของปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 3% หรือ 89,007 ล้านบาทใกล้เคียงกับที่คาดการณ์เดิมอยู่ที่ประมาณ 3-4% เพราะมีปัจจัยบวกความคึกคักในช่วงปลายปีบวกกับละครที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ และเอเชียนเกมส์ก็เป็นตัวแปรสำคัญอีกอันนั่นเอง

““ยิ่งใกล้หมดปีตัวเลขก็ชัดเจนขึ้น ผมคาดหวังว่ามันจะขึ้นมาได้ เพราะถ้าเปรียบเทียบช่วงเดียวกันกับของแต่ละปี ซึ่งปีที่ผ่านมาที่ไม่มีเอเชียนเกมส์ ขึ้นมาสัก 15% แต่ถ้าเทียบกับเอเชียนเกมส์ปีที่แล้ว วอลลุ่มน่าจะต่ำกว่าเอเชียนเกมส์คราวที่แล้ว เพราะว่ามาจาก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกก็คือเรื่องของช่องที่ถ่ายทอดสดด้วย ไม่ใช่เป็นรูปแบบของทุกช่องแล้ว ปีนี้ช่อง เวิร์คพอยท์” กับช่อง PPTV เป็นคนถ่ายทอดสดมันไปกระจุกอยู่ที่ ช่องนี้ รูปแบบมันจะเหมือนกับช่วงบอลโลก ถึงแม้ว่ามันเป็นกีฬาหลักของปีนี้นอกเหนือจากบอลโลก อย่างไรก็ตาม สินค้าที่จะเข้ามาจองพื้นที่โฆษณาคงเป็นพวก เครื่องดื่ม รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

แม้ว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อในปีนี้จะมีตัวเลขติดลบ โดยสื่อที่ฮอตฮิตยังคงเป็นออนไลน์ ขณะที่ทีวีทั้งระบบยังถูกมองไม่ค่อยดีนัก แต่ทีวีไม่ว่าจะเป็นแอนะล็อก ทีวีดิจิทัล ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ยังคงเป็นสื่อที่มีผู้ใช้งบโฆษณาสูงสุด

เม็ดเงินโฆษณาทีวีเมื่อถึงสิ้นปี น่าจะอยู่ 50,717 ล้านบาท โตขึ้นนิดหน่อยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ 48,766 ล้านบาท เนื่องจากมีเหตุการณ์พิเศษที่จะต้องออฟไลน์ ประกอบกับปีนี้มันมีอีเวนต์ใหญ่ 2 อีเวนต์ คือตัวบอลโลก และ เอเชียนเกมส์ ประกอบกับออเจ้าบุพเพสันนิวาสต่างๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้ปีนี้มีตัวเลขค่อนข้างสูงกว่า 2 ปีที่แล้ว แต่ถ้าเปรียบเทียบย้อนกลับไป 2 ปี ถือว่ายังอยู่ในขาลง

ภวัต แยกแยะสัดส่วนของดิจิทัลทีวีให้ฟังว่า ถ้าเป็น tier1 คือ ช่อง 3 ช่อง 7 จะอยู่ 45-50% หรือประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วก็ tier2 ที่ประกอบไปด้วยหลายๆ ช่อง เช่น เวิร์คพอยท์”, One, Mono, GMM25 อาจจะอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 45-50% แล้วแต่กลุ่มเป้าหมาย บางกลุ่มเป้าหมาย ก็จะมีไทยรัฐ ช่อง 8 โผล่ขึ้นมา บางกลุ่มเป้าหมาย ก็จะมีช่อง 8 มันจะขึ้นลงแล้วแต่กลุ่มเป้าหมายของแต่ละสินค้า องค์รวมโดยประมาณนี้ อันนี้อยู่ที่ 45% ฉะนั้นเอง บวกตลาด อยู่ที่ 90-95% และที่เหลือไปอยู่ไหน ที่เหลือ tier 3 บ้างเล็กน้อย ประมาณแค่ 5%

ภวัต ยังให้มุมการใช้งบสื่อสารทางการตลาดและโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่เติบโตต่อเนื่องทุกปีไว้อย่างน่าสนใจว่า งบสื่อสารที่ทุ่มให้กับแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ อาจจะไม่ได้นำมาซึ่งประสิทธิภาพและผลลัพธ์มากนัก เพราะไม่อาจการันตีว่าการสื่อสารได้ไปถึงยังกลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ โดยเฉพาะสินค้า High Involvement Purchase เช่น รถยนต์ คอนโด และโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยยังเคยชินกับการดูทีวี ซึ่งเห็นภาพและสื่อสาร ช่วยในการตัดสินใจซื้อได้มากกว่าสื่อออนไลน์.

]]>
1183412