แบงก์ชาติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Sep 2018 10:05:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชมรมแบงก์วาง 6 แนวทาง แก้ปัญหาระบบล่ม เผยเหตุฟรีค่าธรรมเนียม คนแห่ใช้เพิ่ม https://positioningmag.com/1186346 Wed, 05 Sep 2018 09:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1186346 จากปัญหาระบบโอนเงินของธนาคารล่มเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา จนปั่นป่วนไปทั่วเมือง หลังปริมาณการใช้เพิ่ม จากนโยบายฟรีค่าธรรมเนียม ชมรมธนาคารจึงต้องวาง 6 แนวทางเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว

สมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนสเทคโนโลยี กรุ๊ป (Kasikorn Business-Technology Group- KBTG) ในฐานะประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Banking Information Technology Club) สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันการใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และเอทีเอ็มของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ได้รับความนิยมสูง ทำให้ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การหยุดให้บริการใดบริการหนึ่งหรือของธนาคารหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อระบบได้ ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบจากเหตุขัดข้อง ชมรมฯ และบริษัทกลางที่ดูแลการเชื่อมต่อระบบระหว่างธนาคาร (ITMX) จึงได้ร่วมกำหนดแนวทางการให้บริการด้านดิจิทัล 6 เรื่อง คือ 

1. เพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบ ขจัดปัญหาคอขวด แก้ไขการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมของระบบ เพื่อให้ระบบโมบายล์สามารถรองรับปริมาณการใช้บริการได้อย่างน้อย 2 เท่าของช่วงเวลาที่มีปริมาณธุรกรรมสูงสุด (peak)

2. จัดการระบบภายในของแต่ละธนาคาร ให้เพิ่มมาตรการควบคุมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบ (Change Management) และมีการจัดการที่รัดกุมมากขึ้น

3. เพิ่มความสามารถของ ITMX เป็นอย่างน้อย 2 เท่าของระบบปัจจุบัน เพื่อรองรับธุรกรรมข้ามธนาคารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากการใช้นโยบายฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมข้ามธนาคาร

4. ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างธนาคารและ ITMX ในการกำหนดเงื่อนไขและแนวทางที่ชัดเจนในการตัดธนาคารที่ระบบขัดข้องออกจากระบบกลางชั่วคราว เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามจนส่งผลกระทบต่อโครงข่ายบริษัทกลางและธนาคารอื่น และสามารถเชื่อมต่อกลับทันทีเมื่อมีการจัดการระบบให้สามารถบริการได้ตามปกติแล้ว

5. สร้างความสามารถในการติดตามการทำงานของระบบในภาพรวม โดยให้มีการพัฒนา Dash board กลาง เพื่อแสดงสถานะระบบของแต่ละธนาคาร ให้ธนาคารสมาชิกทราบเพื่อความรวดเร็วในการเตรียมการและแก้ไขปัญหา

6.ทบทวนการออกแบบระบบโมบายล์แบงกิ้ง และการแสดงข้อความสถานะของธุรกรรมให้ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้โดยไม่สับสน

สมคิด กล่าวว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยพัฒนาไปมากและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดปัญหาถึงแม้ว่าจะยังมีอยู่ แต่ด้วยมาตรการที่เข้มข้นขึ้นจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาซ้ำ หรือเมื่อเกิดเหตุขัดข้องขึ้นจะช่วยจัดการให้กลับมาให้บริการได้เร็วที่สุด

สำหรับมาตรการในการป้องกันเหตุระบบขัดข้อง จำเป็นต้องดูภาพรวมทั้งระบบ จะดูเฉพาะบางจุดไม่ได้ จึงจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการได้ 

แจงระบบล่ม

สำหรับเหตุการณ์ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (31 .และ 1 .ย. 61) ส่งลกระทบต่อลูกค้าธนาคาร เกิดจากผู้ปฏิบัติงานใช้คำสั่งจัดการในการบริหารเครือข่ายไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้อุปกรณ์เครือข่ายหลัก (Core switch) ของธนาคารไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่เวลา 6.30 . ทางบริษัท ITMX ซึ่งเป็นบริษัทเชื่อมโยงเครือข่ายกลาง (switching) ระหว่างธนาคารได้ตัดระบบของธนาคารกสิกรไทยออกจากระบบกลางเมื่อเวลา 6.31 . ซึ่งธนาคารได้เร่งแก้ไขระบบภายในด้านเครือข่ายและผลกระทบทั้งหมดเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 11.00 . และเปิดให้บริการเป็นปกติได้ตั้งแต่ 11.05 เป็นต้นไป

ส่วนกรณีเหตุการณ์วันที่ 1 กันยายนนั้น ระบบของธนาคารกสิกรไทยไม่ได้ขัดข้อง โดยยังทำงานได้ปกติ แต่มีรายการโอนเงินต่างธนาคารที่ใส่เลขบัญชีไม่ถูกต้องเข้ามาจำนวนมาก ทาง ITMX เห็นผิดสังเกต จึงได้ตัดธนาคารออกจากระบบกลางเมื่อเวลา 10.15 .

ธนาคารกสิกรไทยได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทางสำรองที่ PCC แทนทันที บริการโอนเงินจึงกลับมาปกติ และลูกค้าบางธนาคารที่เชื่อมกับ PCC สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทยได้ แต่ลูกค้าบางธนาคารที่โอนผ่าน ITMX ไม่สามารถโอนมายังธนาคารกสิกรไทยได้ จนเวลา 16.11 . ITMX จึงเชื่อมต่อระบบให้ทุกธนาคารสามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทยได้

ที่ผ่านมาปริมาณธุรกรรมเพิ่มสูงมาตลอดโดยเฉพาะ Mobile Banking (K PLUS) ที่มีธุรกรรมสูงอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยเฉพาะในวันที่ 31 สิงหาคมมีปริมาณธุรกรรมการเงินถึง 5.36 ล้านรายการ และตลอดเดือนสิงหาคมมีปริมาณธุรกรรมการเงินถึง 122 ล้านรายการ หากรวมรายการสอบถามด้วย ทั้งเดือนสิงหาคมจะมีปริมาณทั้งสิ้น 635 ล้านรายการ โดยในวันที่ 31 สิงหาคม ในช่วงที่มีปริมาณสูงสุดรองรับได้ 4,000 รายการต่อวินาที (รวมสอบถามยอด)

จากการทดสอบระบบ K PLUS สามารถรองรับได้ 6,000 รายการต่อวินาที ซึ่งธนาคารจะพัฒนาให้รองรับได้ถึง 10,000 รายการต่อวินาทีในเดือนตุลาคม และเพิ่มเป็น 50,000 รายการต่อวินาทีภายในสิ้นปี 2562 เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ของธนาคารในอนาคต

นายสมคิด กล่าวตอนท้ายต่อว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติงานให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น และได้ปรับโครงสร้างการจัดการบางส่วนเพื่อให้มีการควบคุมที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงระบบเครือข่ายภายในให้มีความแข็งแรงเพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาในอนาคตต่อไป.

]]>
1186346
แบงก์ชาติจี้แบงก์ยกระดับบริการ หลังโมบายแบงกิ้งล่ม https://positioningmag.com/1185790 Fri, 31 Aug 2018 10:49:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185790 จากกรณีที่ระบบธนาคารบนมือถือ หรือโมบายแบงกิ้งของธนาคารชั้นนำต่างๆ ประสบปัญหาขัดข้อง ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (31 .) ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ โดยเฉพาะการโอนเงินต่างธนาคาร และการโอนเงินพร้อมเพย์

ส่งผลทำให้ประชาชนที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินในช่วงสิ้นเดือนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก จนเมื่อเวลาประมาณ 13.15 .ได้รับแจ้งว่าแอปพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว

สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงถึงสาเหตุว่าเกิดจากปริมาณธุรกรรมเกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงเช้าและได้ส่งผลกระทบ ให้ลูกค้าไม่สามารถใช้ช่องทางการทำธุรกรรมในบางช่องทาง และทำให้มีลูกค้ารายที่โอนเงินและมีการตัดบัญชีไปแล้ว แต่ปลายทางได้รับเงินช้ากว่าปกติหรือยังไม่ได้รับเงิน

โดยเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ธนาคารส่วนใหญ่ทยอยแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวแล้ว และระบบสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว

สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและปลายทางไม่ได้รับเงินธนาคารจะปรับปรุงบัญชีให้ภายในวันที่ 1 กันยายน 2561 

ทางด้านแบงก์ชาติ ระบุว่า สาเหตุธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีปริมาณธุรกรรมข้ามธนาคารจำนวนมากเกิดปัญหาระบบขัดข้องทำให้เกิดรายการค้างรอจำนวนมาก ส่งผลกระทบไปยังธนาคารหลายแห่งให้เกิดการสะดุด หรือล่าช้าในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะบริการ mobile banking

รณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ติดตามแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง

โดยธนาคารดังกล่าวออกจากระบบกลาง เพื่อลดผลกระทบที่มีกับธนาคารอื่นให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ตกลงกันไว้ ธปท.ได้กำชับธนาคารให้มีการดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทุกราย เช่น กรณีรายการโอนเงินไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้รับเงินทันที

นอกจากนี้ ธปท.ได้สั่งการธนาคารที่มีปัญหาให้มีแผนการยกระดับศักยภาพความสามารถในการให้บริการ เพื่อรองรับธุรกรรมที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ขณะนี้ระบบส่วนใหญ่ของธนาคารได้ทยอยเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว.

]]>
1185790
“แบงก์ชาติ” ยันไม่ได้ให้ “ร้านสะดวกซื้อดัง” ทำธนาคาร  https://positioningmag.com/1157411 Mon, 19 Feb 2018 03:54:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157411 ธนาคารแห่งประเทศไทย แจงการแต่งตั้ง “ตัวแทนธนาคาร” ไม่ใช่ให้ทำธุรกิจธนาคาร แต่ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกร้านค้าเป็นตัวแทน และมีขอบเขตการให้บริการจำกัด เตรียมชี้แจงวันนี้ ด้านปลัดคลังหนุน “ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง” เป็นตัวแทนธนาคาร ชี้ปกติให้จ่ายค่าน้ำไฟได้อยู่แล้ว หนุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

จากกรณีที่ในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข่าวจากเว็บไซต์ประเภทคลิกเบท (Clickbait) ระบุว่า ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง ได้รับการอนุมัติให้รับฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน 24 ชั่วโมง เหมือนธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างถึงกรณีที่ น.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในเร็วๆ นี้ จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การเป็นตัวแทนธนาคาร (Banking Agent) หลังจากนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยลงนามแล้วนั้น

นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การเปิดให้มีตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตัวแทนธนาคารจะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือก โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่านตัวแทนธนาคาร 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อในวันนี้ (19 ก.พ.) เวลา 14.00 น. ที่ห้องแถลงข่าว อาคาร 2 ชั้น 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับการจัดตั้งตัวแทนธนาคาร เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รับฝากถอนเงิน เพราะปัจจุบันประชาชน ถอน โอนเงินฝากทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้บริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนธนาคาร ต้องมีคุณสมบัติในหลายด้าน ทั้งจำนวนเงินทุนตั้งสำรองดำเนินธุรกิจ จำนวนสาขา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ หากเอกชนรายใดไม่พร้อมจะดำเนินการไม่ได้ เนื่องจากเป็นบริการทางการเงิน อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายอี-เพย์เมนต์ อำนวยความสะดวกบริการทางการเงินให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ขณะที่แบงก์รัฐ หรือธนาคารอื่นต้องปรับตัวรองรับบริการในยุคไทยแลนด์ 4.0

ส่วนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่แห่งหนึ่ง จะเข้ามาขอเป็นตัวแทนธนาคารนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ถือว่าเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเปิดให้บริการชำระสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารที่ดี และยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าของประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุมัติให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นตัวแทนรับฝากเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทิสโก้ และ ธนาคารยูโอบี และให้บริการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถรับถอนเงินจากบัญชีธนาคารได้.

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/onlinesection/detail/9610000016801

]]>
1157411
แบงก์ชาติ แบน “คริปโตเคอเรนซี” ห้ามสถาบันการเงินทำธุรกรรม https://positioningmag.com/1156602 Mon, 12 Feb 2018 12:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156602 แบงก์ชาติออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงิน ห้ามทำธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี คุมเข้มการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายในคริปโตเคอเรนซีเพื่อผลประโยชน์ของสถาบันการเงินเองหรือผลประโยชน์ของลูกค้า ห้ามให้บริการรับแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีผ่านช่องทางให้บริการของสถาบันการเงิน ห้ามให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อคริปโตเคอเรนซี

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ออกหนังสือเวียนไปยังสถาบันการเงินทุกแห่งโดย ธปท.ฝนส.(23)ว. 276/2561 เรื่อง ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) เนื่องจากปัจจุบันวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำธุรกรรมทางการเงินและพัฒนารูปแบบการให้บริการทางการเงินในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงการกำเนิดคริปโตเคอเรนซี เช่น Bitcoin หรือ Ether โดยคริปโตเคอเรนซีบางประเภทไม่สามารถระบุผู้ออกได้อย่างชัดเจน ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันตามมูลค่าหรือไม่มีสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมดังกล่าวสามารถทำรายการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยที่ผ่านมาราคาของคริปโตเคอเรนซีมีความผันผวนสูง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็งกำไร ผู้ทำธุรกรรมจึงมีความเสี่ยงจากการขาดทุนสูง รวมทั้งไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในระยะเวลาอันรวดเร็วได้

ในประเทศไทยคริปโตเคอเรนซียังไม่มีคุณสมบัติเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานใดเป็นการเฉพาะ ผู้ทำธุรกรรมอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินในกรณีถูกหลอกลวงหรือเกิดปัญหาในการทำธุรกรรม นอกจากนี้ การใช้คริปโตเคอเรนซีอาจถูกใช้เป็นช่องทางในการกระทำผิดกฎหมายได้ เช่น การฟอกเงิน หรือการสนับสนุนการก่อการร้าย ประกอบกับการทำธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทำผ่านระบบเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยของระบบเป็นสำคัญ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล็งเห็นถึงประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริปโตเคอเรนซีที่ไม่สามารถระบุผู้ออกได้อย่างชัดเจน หรือไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันตามมูลค่าหรือไม่มีสินทรัพย์อ้างอิง ธปท. จึงขอความร่วมมือสถาบันการเงินทุกแห่ง ไม่ให้ทำธุรกรรมหรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. การเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายในคริปโตเคอเรนซีเพื่อผลประโยชน์ของสถาบันการเงินเองหรือผลประโยชน์ของลูกค้า
  2. การให้บริการรับแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีผ่านช่องทางให้บริการของสถาบันการเงิน
  3. การสร้างแพลตฟอร์ม (platform) เพื่อเป็นสื่อกลางให้ลูกค้าเข้าไปทำธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีระหว่างกัน
  4. การให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อคริปโตเคอเรนซี
  5. การสนับสนุนหรือให้คำปรึกษากับลูกค้าเกี่ยวกับการลงทุนหรือการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซี

นอกจากนี้ ธปท. ขอให้สถาบันการเงินทุกแห่งเพิ่มความระมัดระวังการให้บริการด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเปิดบัญชี หรือการใช้บัญชีที่อาจนำไปสู่การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี โดยขอให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติในเรื่องการรู้จักตัวตนของลูกค้า (Know Your Customer : KYC) และดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence : CDD) อย่างเคร่งครัด ตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ทางการอาจกำหนดเพิ่มเติมต่อไป รวมทั้งร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้การทำธุรกรรมดังกล่าวถูกใช้เป็นช่องทางในการกระทำผิดกฎหมาย

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/stockmarket/detail/9610000014506

]]>
1156602