แบงก์ปิดสาขา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Oct 2017 06:51:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 21 เดือนแบงก์ปิด 220 สาขา 6 เดือน ลดพนักงานรวม 1,351 คน https://positioningmag.com/1144018 Fri, 20 Oct 2017 11:20:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144018 ธนาคารหลายแห่งทยอยแจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2560 ออกมาแล้ว ต่างยิ้มกันได้ถ้วนหน้า เพราะกำไรพุ่งไม่หยุดทั้งแบงก์เล็กแบงก์ใหญ่ แต่อีกมุมหนึ่งหลายธนาคารก็ทยอยปิดสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่ามีการลดพนักงานไปโดยปริยาย

มีข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่าโมบายล์และอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมแล้วมีผู้ลงทะเบียนใช้บริการประมาณ 35 ล้านบัญชี ขณะเดียวกันล่าสุดหลายธนาคารก็ทยอยปิดสาขา โดยในรอบ 21 เดือนที่ผ่านมาปิดรวม 220 สาขา ธนาคารธนชาตแชมป์ปิดมากที่สุด ขณะที่ภาพรวม 6 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนพนักงานแบงก์ทั้งระบบลดลง 1,351 คน 

ความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจธนาคาร ที่มีเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเป็นแรงผลักดัน ทำให้ทุกธนาคารต้องปรับตัว เพราะมีตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ใช้บริการธนาคารผ่านเทคโนโลยี อย่างอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งกับโมบายล์แบงก์กิ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมกันกว่า 35 ล้านบัญชี จากจำนวนลูกค้าเงินฝากของธนาคารทั้งระบบประมาณ 90 ล้านบัญชีเมื่อปลายปี 2559 ซึ่งหมายถึงลูกค้า 1 ใน 3 ใช้ออนไลน์แบงกิ้งแล้ว

นับเป็นจุดที่ธุรกิจธนาคารรอคอยมานาน เพราะหมายถึงต้นทุนการเปิดสาขาลดลง หรือสามารถชะลอเปิดสาขาใหม่ หรือถึงขั้นยุบสาขาเดิมที่มีคนน้อยลงได้ หรือหากจะเปิดสาขาก็รุกเปิดในห้างค้าปลีกมากกว่า และที่สำคัญคือการปรับตัวเพื่อดึงลูกค้าคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจ่ายโอนช้อปทุกที่ทุกเวลาผ่านเทคโนโลยี 

เว็บไซต์ ธปท. ยังได้เผยแพร่ข้อมูลจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างชาติที่อยู่ในไทย สิ้นสุดเดือน ก.. 2560 พบว่าจากจำนวนรวมกว่า 20 ธนาคาร มีจำนวนสาขาทั้งระบบลดลง แม้จะมีบางธนาคารทั้งขนาดกลางและใหญ่เปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดปิดโดยรวมมากกว่า ทำให้ยอดสาขาสุทธิเหลือลดลง 

เดือน ส.. 2560 กว่า 20 ธนาคาร มีจำนวนสาขารวม 6,860 สาขา มาเดือน ก.. 2560 เหลือ 6,841 สาขา ลดลง 19 สาขา ถ้าเทียบกับเดือน ก.. 2559 ที่มีสาขารวม 7,033 สาขา เท่ากับลดลง 192 สาขา และถ้านับตั้งแต่เดือน ม.. 2560 ซึ่งมีสาขารวม 7,004 สาขา หรือ 10 เดือนแรกของปี 2560 ธนาคารปิดสาขาแล้วรวม 163 สาขา

ถ้าย้อนเปรียบเทียบกับเดือน ธ.. 2558 หรือช่วง 21 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารทั้งระบบมีสาขารวม 7,061 สาขา ปิดสาขาไปแล้วรวม 220 สาขา โดยบางธนาคารปิดสาขาจำนวนมาก ทำให้ยอดสาขาสุทธิลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 6,841 สาขา

ธนาคารที่มีการปิดสาขามากที่สุด 5 อันดับแรก คือธนาคารธนชาต ปิดไปแล้ว 84 สาขา รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ปิด 78 สาขา กสิกรไทย ปิด 74 สาขา ไทยพาณิชย์ ปิด 38 สาขา และซีไอเอ็มบีไทย ปิด 35 สาขา

กลุ่มธนาคารที่ลดจำนวนสาขาลงให้เหตุผลว่า เพราะพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้ระบบโมบายล์แบงกิ้ง หรืออินเทอร์เน็ตแบงกิ้งมากขึ้น

สำหรับธนาคารที่เปิดสาขาเพิ่ม เพราะยังรุกเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ นอกจากต้องรักษาฐานลูกค้าเดิม ยังต้องการจับกลุ่มธุรกิจรายย่อยมากขึ้น ทำให้มียอดสาขาสุทธิของธนาคารนั้น เพิ่มขึ้น คือ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย เพิ่ม 57 สาขา ธนาคารกรุงเทพ มีสาขาเพิ่ม 24 สาขา ธนาคารกรุงศรี เพิ่ม 24 สาขา L&H Bank เพิ่ม 7 สาขา และ ธนาคารเกียรตินาคิน เพิ่ม 2 สาขา 

ทางด้านจำนวนพนักงานธนาคารทั้งระบบทั้งของไทยและต่างชาติ  สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 แม้จะมีมากกว่าปี 2558 จำนวน 2,269 แต่หากเทียบกับสิ้นปี 2559 ซึ่งมีพนักงาน 154,490 คน ผ่านไปเพียงประมาณ 6 เดือน สิ้นไตรมาส 2 ปี 2560 มีพนักงานเหลือ 153,139 คน หรือลดลง 1,351 คน

]]>
1144018
แบงก์เจอฤทธิ์ดิจิตอล ปิดสาขาเพิ่ม กรุงเทพฯ ปิดมากสุด https://positioningmag.com/1108557 Fri, 18 Nov 2016 05:20:31 +0000 http://positioningmag.com/?p=1108557 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศข้อมูลจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 19 แห่ง และสาขาธนาคารต่างชาติ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ทยอยปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง และจำนวนสาขาลดลงในทุกพื้นที่

โดยธนาคารพาณิชย์ในระบบมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 7,017 แห่งล่าสุด เดือน ต.ค. 59 ลดลงจากสิ้นปีก่อน 42 แห่ง โดยเป็นการลดลงในพื้นที่กรุงเทพฯ มากที่สุด 27 แห่ง ตามมาด้วยภาคกลาง 8 แห่ง ภาคใต้ 3 แห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ พื้นที่ละ 2 แห่ง

หากพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า ไทยพาณิชย์ มีการปิดตัวของสาขามากที่สุด 38 แห่ง ซึ่งเป็นการลดลงทั้งพื้นที่ภาคกลาง 15 แห่ง กรุงเทพฯ 9 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง และภาคใต้ อีก 3 แห่ง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำนวนสาขาปิดตัว 31 แห่ง ซึ่งเป็นการลดลงทุกพื้นที่ กรุงเทพฯ มากที่สุด 16 แห่ง ภาคกลาง 9 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง รวมถึงภาคเหนือ และภาคใต้ อย่างละ 1 แห่ง ธนาคารธนชาต ปิดสาขา 16 แห่ง เป็นการลดลงในเขตกรุงเทพฯ 10 แห่ง ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคใต้ 2 และภาคกลาง 1 แห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีจำนวนสาขาเท่าเดิม คือ 51 แห่ง

เช่นเดียวกับธนาคารกสิกรไทย จำนวนสาขาลดลง 5 แห่ง โดยเป็นการลดลงในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ 4 แห่ง 3 แห่ง และ 2 แห่ง ตามลำดับ ในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงพื้นที่ละ 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีธนาคารยูโอบี มีจำนวนสาขาลดลง 2 แห่ง เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีบางธนาคารที่มีการเปิดสาขาเพิ่มขึ้น โดยธนาคารกรุงเทพ เปิดมากที่สุด 16 แห่ง เป็นกาเปิดเพิ่มขึ้นทั้งกรุงเทพฯ 7 แห่ง ภาคกลาง 6 แห่ง และในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ อย่างละ 1 แห่ง รองลงมาเป็นกรุงศรีอยุธยา 15 แห่ง ภาคกลางเปิดมากที่สุด 6 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง กรุงเทพฯ และภาคเหนือ อย่างละ 2 แห่ง ส่วนภาคใต้ 1 แห่ง ไทยเครดิต เพื่อรายย่อยมีสาขาเพิ่มขึ้น 12 แห่ง เป็นกรุงเทพฯ 7 แห่ง และภาคกลาง 5 แห่ง ส่วนทหารไทย เกียรตินาคิน ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) และสาขาธนาคารต่างชาติ มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นอย่างละ 1 แห่ง

Digital Disruption

ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้ธนาคารพาณิชย์ยังคงปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง และหันไปเน้นช่องทางบริการดิจิตอลมากขึ้น แต่บริการทางการเงินยังไม่แตกต่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในปี 60 ที่จะมีบริการพร้อมเพย์ เริ่มใช้บริการ และเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) สมัยใหม่มากขึ้น ทำให้การเห็นธนาคารพาณิชย์จะปิดสาขาเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปชัดขึ้น

ก่อนหน้านี้ วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ในปี 59 ถือเป็นปีแรกที่ ธปท.ได้รับคำขออนุญาตปิดสาขามากกว่าคำขอเปิดสาขาจากธนาคารพาณิชย์ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเงินที่พยายามลดต้นทุนให้บริการ และเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนนี้ ธปท.เองก็มีเงื่อนไขว่า ถ้าจะปิดสาขาก็ต้องชี้แจงแนวทางการดูแลลูกค้าอย่างไรด้วย เพื่อไม่ให้กระทบผู้ใช้บริการ

ที่มา : http://m.manager.co.th/StockMarket/detail/9590000115261

]]>
1108557