แบงก์ไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Jan 2019 06:16:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 8 ความท้าทาย “แบงก์ไทย” ปี 62 ในยุคที่ต้องแข่งกับฟินเทค-อีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1206487 Fri, 04 Jan 2019 06:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206487 ตลอดทั้งปี 2561 ที่ผ่านมา สถานการณ์ธุรกิจ “ธนาคารพาณิชย์” มีหลายประเด็นให้ติดตาม เพราะแม้จะมีความท้าทายสำคัญจากผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมที่หดตัวลง หลังการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งคาดว่าทั้งระบบจะหายไปมากกว่า 9,000 ล้านบาท

แต่ธนาคารพาณิชย์ก็มีภาพด้านบวกเข้ามาช่วยชดเชย จากการเติบโตของสินเชื่อที่มีโอกาสจะจบปี 2561 ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 6.0% โดยมีแรงหนุนสำคัญจากการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อรายย่อยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี

สำหรับปี 2562 นั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินทิศทางของธนาคารพาณิชย์มีหลายโจทย์สำคัญที่รออยู่ ซึ่งท้าทายความสามารถในการทำกำไร และ Positioning ได้สรุปออกมาเป็น “8 ทิศทางแบงก์ไทยปี 2562” ดังต่อไปนี้

1. สินเชื่อธนาคารพาณิชย์

อาจเติบโตในกรอบชะลอลงจากปีก่อน ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในภาพรวม คาดว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศในปี 2562 อาจเติบโตประมาณ 5.0% ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัว 6.0% ในปี 2561

2. สินเชื่อธุรกิจคาดว่าจะเติบโตได้ดีที่สุด

คาดเติบโตราว 4.5% โดยได้รับอานิสงส์หลักจากทิศทางการลงทุน ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย

3. สินเชื่อรายย่อยอาจชะลอลงมาที่ 6.0%

เนื่องจากสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันกว่า 70% ของพอร์ตน่าจะเผชิญปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดการเติบโต โดยการเร่งตัวของกิจกรรมในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่เกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป

4. คุณภาพสินเชื่อต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอน และจังหวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศอาจทยอยขยับขึ้น จึงจะเห็นธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องดูแลปัญหาคุณภาพสินเชื่อในเชิงรุก ทั้งในกระบวนการติดตามดูแลลูกค้า การปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการแก้ไขเมื่อลูกหนี้เผชิญปัญหาและไม่มีศักยภาพในการหารายได้มาชำระคืนหนี้ คาดสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม หรือ NPL Ratio อาจขยับขึ้นไปที่ 2.98% ในช่วงปลายปี 2562 จากระดับ 2.91% ณ สิ้นปี 2561

5. อาจเริ่มเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบงก์บางส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

อาทิ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านและกู้รถที่มีระยะค่อนข้างยาว ขณะที่ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป ทั้งขาเงินฝากและเงินกู้ อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างปี

6. จะเห็นโมเดลการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ทั้งในส่วนของการนำข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ามาวิเคราะห์และนำเสนอเงื่อนไขพิเศษ เพื่อกระตุ้นยอดการเบิกใช้สินเชื่อ และการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

7. เมื่อรายได้จากค่าธรรมเนียมหายไป

ทำให้ธนาคารต้องผลักดันรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนอื่นๆ มาชดเชย ทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต รายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าขายประกันและกองทุนรวม และค่าธรรมเนียมจากการให้บริการที่ปรึกษา รวมไปถึงการมุ่งไปที่สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (ไม่มีหลักประกัน) ซึ่งแม้จะไม่ได้รับผลดีจากการขึ้นของดอกเบี้ย แต่ก็เป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง

8. การเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมรับมือกับโจทย์ จากสภาวะการแข่งขันในตลาดให้บริการทางการเงินที่อาจจะเข้มข้นขึ้นจากผู้เล่นอื่นๆ อาทิ ผู้ประกอบการในกลุ่ม FinTech กลุ่ม TechFin และกลุ่ม e-commerce ที่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีมาตอบโจทย์ความต้องการบริการทางการเงินของผู้บริโภคด้วยความได้เปรียบด้านต้นทุนที่อาจจะต่ำกว่าและมีความคล่องตัวมากกว่า

ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น สถานการณ์จริงๆ ในปี 2562 จะเป็นอย่างไรคงต้องตามต่อไป ว่าแต่ละธนาคารวางแผนไว้อย่างไรบ้าง แต่เท่าที่ดูปีที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่า ร้อนแรงอยู่ไม่ไม่น้อย โดยเฉพาะการบุกให้บริการสินเชื่อผ่านออนไลน์ เชื่อว่าปีนี้ก็คงไม่น้อยหน้ากันอย่างแน่นอน.

]]>
1206487
ปลดล็อก ฟรีค่าธรรมเนียม ศึกครั้งใหม่ในสงครามดิจิทัล https://positioningmag.com/1164161 Sun, 01 Apr 2018 07:13:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164161 ต้องถือว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของแบงก์ไทย ที่พร้อมใจกันประกาศกลยุทธ์ “ฟรีค่าธรรมเนียม” การโอนเงิน จ่ายบิล เติมเงิน เมื่อทำธุรกรรมเหล่านี้ผ่านช่องทาง “ดิจิทัล” ของธนาคาร

ธนาคารทุกรายให้เหตุผลคล้ายกันว่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล สนับสนุนการลดใช้เงินสด แม้จะกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมบ้าง

เริ่มจากแบงก์ใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ จากนั้นแบงก์ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ธนาคารเกียรตินาคิน ก็ต้องให้บริการฟรี ส่วนธนาคารกสิกรไทย จากที่เคยให้ฟรีถึงสิ้นปี ก็ต้องเปลี่ยนนโยบาย ให้ฟรีไม่มีกำหนด หลังจากที่แบงก์คู่แข่งออกมาประกาศฟรีถาวร

ล่าสุดผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องประชุมด่วนตัดสินใจยกเลิกค่าธรรมเนียม ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อรักษาลูกค้าไว้ และยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้กระทบธนาคารพอสมควร

การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารรอบนี้ ทำเอาราคาหุ้นของธนาคารก็ตกลงทั้งแผง เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้ของแบงก์ ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียม 1.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของรายได้ทั้งหมด แต่ถ้าดูเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัล ยังมีสัดส่วนไม่ถึง 10%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารจะสูญเสียรายได้มากถึง 9,000 ล้านบาทต่อปี หรือเติบโต 2-3% จากยอดรวมรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมดในปีที่แล้ว (2560) 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโต 7.1%

ส่วน บล. ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินจากใช้บริการ Mobile Banking ที่มีอยู่เฉลี่ยประมาณ 80% กระจุกตัวในธนาคารขนาดใหญ่ โดยกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในกลุ่ม Mobile Banking ประมาณ 7.3 ล้านราย หรือ 26% ของผู้ใช้ Mobile Banking ทั้งหมด

ขณะที่ธนาคารมีรายได้จากการโอนเงินประมาณ 20% ของรายได้ค่าธรรมเนียมมีเพียง ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY ที่เปิดเผยผลกระทบจาก National E-Payment (รวมถึง Internet Banking, Mobile Banking และ Prompt-Pay) ว่า อยู่ที่ประมาณ 6% และ 2% ของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และประมาณ 7% และ 3% ของกำไรสุทธิตามลำดับ

ส่งผลให้กำไรสุทธิของธนาคารกสิกรไทยลดลงประมาณ 7% เป็น 3.78 หมื่นล้านบาท

จากคาดการณ์เดิมที่ 4.08 หมื่นล้านบาท ธนาคารอื่นๆ ลดหลั่นลงเนื่องจากธนาคารอื่นมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากการโอนผ่าน Mobile Banking ไม่มากนัก

ธนาคารเองก็รู้ดีว่าต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ แต่มองว่าธนาคารได้ประโยชน์จากการลดต้นทุนบริหารจัดการเงินสด เมื่อลูกค้าหันไปโอนเงินผ่านมือถือ

เหมือนอย่างที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ‘ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มองว่า การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือนั้นได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะค่าธรรมเนียมหลักๆ อยู่ที่บริการกลุ่มอื่นๆ เช่น เอทีเอ็ม บริการหน้าเคาน์เตอร์ แต่ถ้าเทียบกับลูกค้าใหม่ที่ได้มาแล้วถือว่า คุ้มค่า เพราะในอนาคตฐานลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมาก

ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ มียอดผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กว่า 6.5 ล้านราย มียอดใช้งานแอคทีฟกว่า 75% และมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ย 150 ล้านธุรกรรมต่อเดือน ซึ่งการประกาศฟรีค่าธรรมเนียม เพื่อต้องการให้คนเข้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น และคาดหวังว่าลูกค้าจะใช้งานอย่างต่อเนื่อง

คู่แข่งของธนาคาร ไม่ใช่ธนาคารด้วยกัน แต่เป็นนอนแบงก์ ผู้ให้บริการ อีมันนี่ รวมทั้งแอปพลิเคชั่นที่จ่ายเงินและปล่อยกู้ได้ เช่น GrabPay รวมถึงฟินเทครายใหม่ที่เป็นคู่แข่งและให้บริการไม่มีค่าธรรมเนียม

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องใช้ความได้เปรียบในเรื่องฐานลูกค้าที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งลูกค้าเหล่านี้คุ้นเคยกับธนาคารดีอยู่แล้ว ให้ลูกค้าให้หันมาใช้บริการบนแพลทฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร แบบไม่ลังเลอีกต่อไป

เมื่อได้ฐานผู้ใช้มาแล้ว โอกาสที่จะขยายไปทำธุรกรรมประเภทอื่นๆ ของธนาคารก็จะตามมา และที่สำคัญ คือ “ข้อมูล” ที่ใช้ในการสร้าง “บิ๊กดาต้า” นำมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอด ออกแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง

เหมือนอย่างฟินเทคยักษ์ใหญ่ที่ก้าวเข้าสู่โลกของธนาคาร ก็ด้วยบิ๊กดาต้าที่มาจากการนำพฤติกรรมลูกค้ามาใช้วิเคราะห์ และนำเสนอบริการได้ตรงจุดมากที่สุด เป็นการฉีกจากรูปแบบเดิมๆ ของธนาคาร เช่น การปล่อยสินเชื่อ ที่ดูจากพฤติกรรมการชำระหนี้ของผู้ใช้ ไลฟ์สไตล์ นำมาประกอบในการตัดสินใจ

รวมไปถึงการสร้างธุรกิจใหม่ อย่าง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเวลานี้อยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีตัวเลือกในการชำระเงินมากมาย จากบริการของนอนแบงก์

ธนาคารจึงปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการแยกหน่วยงานออกมามุ่งเน้นเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก คิดเองไม่พอ ต้องหาคนรุ่นใหม่ๆ มาช่วยคิด ทำโครงการเฟ้นหา “สตาร์ทอัพ” ฟินเทค ที่ดูเข้าตา เพื่อจับมือกันต่อยอดบริการในอนาคต

โจทย์ใหญ่ของทุกธนาคารเวลานี้ จึงอยู่ที่การย้ายลูกค้าเดิม หาลูกค้าใหม่ไปใช้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มากที่สุด และนี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ.

]]>
1164161