แบรนด์ชุดกีฬา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Jun 2021 10:11:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Nike’ ยังแกร่ง! ทำรายได้ทะลุ 3.9 แสนล้านบาท โต 96% https://positioningmag.com/1338981 Fri, 25 Jun 2021 09:17:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338981 ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปี 2020 ‘Nike’ (ไนกี้) ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้มีรายได้เพียง 6.31 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากถึง -38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ แต่จากนั้นไนกี้ก็ปรับตัวโดยการมุ่งไปที่ออนไลน์จนสามารถพลิกสถานการณ์กลับมาได้ และในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปี 2021 หรือไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ ไนกี้สามารถทำรายได้ถึง 3.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 96%

ถือว่าฟื้นคืนชีพจากที่เคยโดนพิษโควิดเล่นงานอย่างสวยงาม เพราะเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ไนกี้สามารถเติบโตได้ถึง 96% โดยทำรายได้ถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์หรือราว 3.92 แสนล้านบาท ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้าทำรายได้ที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการเติบโตดังกล่าวทำให้หุ้นของไนกี้พุ่งขึ้น 12% ส่งผลให้มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.6 ล้านล้านบาท

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไนกี้สามารถเติบโตอย่างมากมาจากผู้บริโภคที่ยังมองหาเสื้อผ้าที่ใส่สบายและเสื้อผ้าสำหรับออกกำลังกาย แม้ว่าคนจะเริ่มกลับไปโรงเรียนหรือออฟฟิศแล้วก็ตาม แต่คนก็ยังมองหารองเท้าผ้าใบและกางเกงผ้ายืดเพื่อใส่ออกไปนอกบ้าน ขณะที่ยอดขายจากช่องทางออนไลน์ก็เติบโตขึ้นถึง 41% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 147% เมื่อเทียบกับสองปีก่อน

นอกจากนี้ การทำรูปแบบสมาชิกยิ่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยการซื้อออนไลน์จากสมาชิกซึ่งได้รับสิทธิ์เข้าถึงผลิตภัณฑ์พิเศษและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ก่อนลูกค้าทั่วไป ทำให้ไนกี้มียอดขายทำสถิติสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปัจจุบัน ไนกี้มีสมาชิกมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก

“ด้วยแรงผลักดันจากโมเมนตัมของเรา เรายังคงลงทุนในนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลของเรา เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตในระยะยาวของ Nike” John Donahoe ซีอีโอของ Nike กล่าว

(Photo by Noam Galai/Getty Images)

ด้านภูมิภาคที่ไนกี้สามารถทำได้ดีก็คือ อเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท (46%) โดยยอดขายพุ่งขึ้นกว่า 141% ทำรายได้เป็น 5.38 พันล้านดอลลาร์ ส่วน ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (25%) ยอดขายเพิ่มขึ้น 124% ด้าน เอเชียแปซิฟิก และละตินอเมริกา (13%) ยอดขายเติบโต 82%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจีน (16%) หนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัทกลับเติบโตได้เพียง 17% ซึ่งสาเหตุอาจมาจากที่ไนกี้เคยถูกแบนเพราะบริษัทได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

“จากประวัติศาสตร์ 40 ปีของเราในจีนแผ่นดินใหญ่ เรายังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการให้บริการผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่ โดยไนกี้นำเสนอในรูปแบบสินค้าที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นCFO Matt Friend กล่าว

ทั้งนี้ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ยังคงเป็นสิ่งที่ไนกี้ให้ความกังวล โดยคาดว่าจะยังมีความล่าช้าในระบบซัพพลายเชน รวมถึงต้นทุนที่จะยิ่งสูงขึ้นตลอดปีงบประมาณ 2565 โดยไนกี้คาดว่าการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนคนขับรถบรรทุก รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จะทำให้การขนส่งสินค้าตั้งแต่จากท่าเรือไปยังโกดังสินค้าไปจนถึงบ้านของผู้ซื้อเป็นไปอย่างล่าช้า และจะยังเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกไปอีกหลายเดือน

Source

]]>
1338981
Ben Francis อดีตเด็กส่งพิซซ่า ปั้นแบรนด์ชุดกีฬา Gymshark มูลค่าเกิน 1 พันล้านปอนด์ https://positioningmag.com/1293206 Tue, 18 Aug 2020 16:11:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293206 Photo : ig-benfrancis

ไม่ถึง 10 ปี Ben Francis สามารถเปลี่ยนชีวิตตัวเองจากอดีตเด็กส่งพิซซ่าแสนธรรมดา มาเป็นผู้บริหารบริษัทชุดกีฬา Gymshark ที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านปอนด์ได้สำเร็จ เหตุผลที่ทำให้ Gymshark พุ่งทะยานหลัก 4 หมื่นล้านบาทคือการเข้ามาของยักษ์ใหญ่ General Atlantic ที่จะถือหุ้น 21% ซึ่งกลายเป็นหลักไมล์แรกของประวัติศาสตร์การเพิ่มทุน Gymshark

ทำไม Gymshark จึงน่าลงทุนนัก คำตอบจะต้องดูตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ Gymshark ก่อร่างจากการเป็นบริษัทอาหารเสริม ก่อนที่จะย้ายไปสู่ธุรกิจเสื้อผ้า สินค้าช่วงแรกเป็นเสื้อกล้ามและเสื้อยืดสำหรับออกกำลังกายซึ่งถูกตัดเย็บและสกรีนลายกันเองโดย Francis พี่ชาย และกลุ่มเพื่อน ที่มาของธุรกิจนี้คือคุณยายของ Francis ที่สอนวิธีใช้จักรเย็บผ้าให้ ซึ่งในตอนแรก Francis คิดเพียงว่าแค่ลงมือตัดเย็บเสื้อผ้าที่อยากใส่ แต่กลับรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้วิธีสร้างแบบและตัดเย็บตามคำสั่งซื้อที่ได้รับ รวมถึงการกำหนดราคาสินค้าได้สมเหตุสมผล 

ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้ Francis และ Gymshark เติบโตอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือการตั้งสโลแกนที่ทำให้ Gymshark มีวัฒนธรรมองค์กรชัดเจน ทั้งการถ่อมตัวหรือ humble และการเรียนรู้ที่จะล้มก่อนเพื่อลุกก่อน ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนสามารถเรียนรู้จากแนวทางของ Gymshark ได้ 

สู่ยักษ์ใหญ่กีฬา

Ben Francis เด็กหนุ่มจากเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษมีอายุเพียง 19 ปีเมื่อปิ๊งไอเดียเกี่ยวกับ Gymshark โดยปักหลักทำธุรกิจจากโรงรถของพ่อแม่ ขณะเรียนและทำงานที่ Pizza Hut ไปด้วย

เพียง 9 ปีนับจากวันก่อตั้ง Gymshark ผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในแบรนด์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเมื่อขายหุ้น 21% ใน Gymshark ให้กับ General Atlantic ของสหรัฐฯ ก็เชื่อว่า Gymshark จะว่ายไปได้เร็วกว่าเดิมอีก

ผู้ก่อตั้ง Gymshark วัย 28 ประกาศข่าวดีลใหญ่ของบริษัทด้วยการโพสต์บน Instagram ของตัวเอง โดยบอกว่าการที่ Gymshark เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านปอนด์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เคยคาดคิด ซึ่งในวันที่บริษัทก้าวไปอีกขั้น ความฝันของ Francis คืออยากให้แบรนด์ Gymshark เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

Francis ยอมรับว่าตื่นเต้นมากกับการร่วมทุนกับ General Atlantic เพื่อช่วยขยายแบรนด์ Gymshark ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ตื่นเต้นมากขึ้นสำหรับก้าวต่อไปในการเดินทางของ Gymshark โดยปัจจุบัน Gymshark มีพนักงาน 499 คน สำนักงานกระจายอยู่ทั่วโลกรวมถึงฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา

สิ่งสำคัญที่ทำให้ Gymshark มีวันนี้ คือการลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์หรือผู้มีอิทธิพล เรื่องนี้ Francis ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่าเป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มแรกที่ลงทุนสนับสนุนผู้มีอิทธิพล ทำให้ Gymshark อยู่ในแนวหน้าของสื่อโซเชียลมาตลอด จนสามารถเติบโตได้ด้วยการต่อยอดข้อมูลมากมายจากอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้น

จุดนี้น่าสนใจ เพราะ Francis ใช้คำว่า Gymshark เป็นหนึ่งในธุรกิจแรก ๆ ที่ลงทุนในโซเชียลมีเดียแบบเดิมพันสูง การเลือกลงทุนบนสื่อโซเชียลล้วนๆทำให้ Gymshark ไม่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่หลายบริษัทต้องดิ้นรนตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ได้ว่า Gymshark คือแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ

Francis มอง COVID-19 ว่าเป็นผลดีในเชิงการค้า เนื่องจากผู้คนจับจ่ายทางออนไลน์มากขึ้น และยังมีเวลาวิ่ง ปั่นจักรยาน และออกกำลังกายที่บ้านมากกว่าที่เคยเป็น ทั้งหมดนี้ Francis บอกว่าจะแอบปล่อยให้ตัวเองเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งใหม่นี้ด้วยการนอนตื่นสาย 1 วัน

วิถีชีวิตสู่วัฒนธรรมองค์กร

จากโพสต์ของ Francis หนุ่มเมืองผู้ดีบอกว่าจำไม่ได้แล้วว่าได้ตื่นนอนช้ากว่า 5:30-6:00 น. ครั้งสุดท้ายเมื่อไร เพื่อเป็นการฉลองดีลใหญ่ Francis จะขอนอนเล่น 1 วัน แล้วจะออกไปพาสุนัขเดินเล่นให้สบายอารมณ์

ข้อความนี้สะท้อนตัวตนของ Francis เรื่องความเอาจริงเอาจังในการทำงาน ที่ผ่านมา Francis มีช่อง YouTube เป็นของตัวเองพร้อมผู้ติดตาม 1.62 แสนราย นอกจากใช้ประกาศข่าวหรือแชร์ความเห็นส่วนตัว  Francis ใช้ช่อง YouTube เพื่อตอบคำถามแฟนคลับถึงบทบาทของตัวเขาในบริษัท 

Francis ไม่ได้เป็น CEO ของ Gymshark แต่เป็น Steve Hewitt ซึ่งเคยออกมากล่าวถึงคติประจำ Gymshark ที่เป็นที่มาของ #stayhumble แฮชแทคใน Instagram ซึ่งแฟนคลัย Gymshark และทีมงานของบริษัทนิยมใช้ โดย Steve Hewitt อธิบายว่าการทำงานหนักและการถ่อมตัวอยู่เสมอนั้นไม่ต้องใช้พรสวรรค์ใดๆ ซึ่งถ้าใครทำได้ ก็จะไปได้ดีในเส้นทางของตัวเอง

นอกจากการถ่อมตัว CEO ของ Gymshark ยังเชื่อในการเรียนรู้ที่จะล้มเหลวให้เร็ว และการหาทางเป็นเจ้าของสายการผลิตในสินค้าของตัวเองให้มากที่สุดด้วย

อีกจุดที่เห็นชัด คือ Gymshark โฟกัสที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็เป็นแบรนด์ที่มีวิสัยทัศน์ กล้าที่จะวางเป้าหมายและไปให้ถึงฝัน ทั้งหมดนี้ทำพร้อมกับการสร้างชุมชนอินฟลูเอนเซอร์ที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางทีมงานคุณภาพที่สนับสนุนเต็มที่

ที่สำคัญ สิ่งที่ทำให้ Gymshark มีวันนี้คือการตัดสินใจจากข้อมูลที่รวบรวมได้จากการลงทุนในโซเชียลมีเดีย ทุกเสียงตอบรับและความต้องการของลูกค้าทำให้ Gymshark สามารถสร้างคอนเทนต์ที่โดนใจ รวมถึงการวางแผนออกสินค้าที่เฉียบขาด

จากอดีตเด็กส่งพิซซ่า Ben Francis จึงสามารถขยายอาณาจักรชุดกีฬา Gymshark ได้เกรียงไกรเช่นนี้.


ที่มา : 

]]>
1293206