แอพพลิเคชัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 07 Aug 2020 00:08:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แท็กซี่มีหนาว! CABB ขอบุกตลาด ต้นแบบลอนดอนแท็กซี่-เรียกผ่านแอป นำร่องที่ “เดอะมอลล์” https://positioningmag.com/1291448 Thu, 06 Aug 2020 16:59:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291448 งานนี้รถแท็กซี่เริ่มมีสะเทือน “เอเชีย แค็บ” ส่ง CABB แท็กซี่มาตรฐานใหม่ โดยใช้ต้นแบบลอนดอนแท็กซี่ ใช้งานโดยเรียกผ่านแอปพลิเคชัน นำร่องที่กลุ่มเดอะมอลล์ 7 แห่ง จับมือ “กลุ่มเดอะมอลล์”

“เอเชีย แค็บ” เกิดมาเพื่อผลิตแท็กซี่

ถ้าย้อนกลับไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วงการรถแท็กซี่เริ่มมีสีสันมากขึ้น มีการเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถอย่าง Uber และ Grab รวมถึง “นครชัยแอร์” ที่เคยส่งบริการ All Thai Taxi ลงมาบุกตลาดแท็กซี่เช่นกัน แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก

ตอนนี้เมืองไทยได้มีแท็กซี่รูปแบบใหม่กำเนิดอีกแล้ว ในชื่อ CABB หรือแค็บบ์ เป็นรถแท็กซี่ที่มีต้นแบบรถจาก “ลอนดอนแท็กซี่” มีสีน้ำเงินโดดเด่น เป็นมาตรฐานใหม่ของวงการ

ซึ่งต้องบอกว่า CABB เกิดมาเพื่อเป็นรถแท็กซี่จริงๆ ไม่ได้นำรถยนต์ รถเก๋งยี่ห้อต่างๆ มาดัดแปลง บริหารงานโดย “บริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด” เป็นบริษัทสัญชาติไทยแท้ ต่างชาติไม่ได้เข้ามาทำตลาดแต่อย่างใด แม้ชื่อเอเชีย แค็บ จะดูใหม่ แต่ถ้าพูดชื่อผู้ก่อตั้งคงจะต้องร้องอ๋อแน่นอน

เอเชีย แค็บได้ก่อตั้งโดย “กลุ่ม ซี.เอ.เอส” ซึ่งมีบริษัทในเครือมากมาย ทั้งบริษัท เจริญอักษร จำกัด ทำธุรกิจสิ่งพิมพ์ และบริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) ทำตลาดถุงยางอนามัย ONETOUCH และ Playboy ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมรถยนต์มาก่อนเลย แต่ “สมศักดิ์ ดารารัตนโรจน์” ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม ซี.เอ.เอส และประธานกรรมการ บริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด อยากเห็นจุดเปลี่ยนของแท็กซี่ จึงกำเนิดเป็นเอเชีย แค็บ

ที่บอกว่า CABB เกิดมาเป็นรถแท็กซี่โดยเฉพาะนั้น ก็เพราะว่าทางเอเชีย แค็บได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์เอง ได้ร่วมมือกับบริษัท Zhejiang Geely New Energy Commercial Vehicle Group (GCV) ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน เปิดฐานการผลิตรถยนต์แบรนด์ ASIA CAB รุ่น AS4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน โดยคงรูปทรงคลาสสิก และเปี่ยมด้วยนวัตกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของรถลอนดอนแท็กซี่ รุ่น TX4 ที่เป็นโมเดลต้นแบบ มีความสวยงาม โอ่โถง โปร่งสบาย

โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์ลอนดอนแท็กซี่มาจากอังกฤษ เพราะมองว่าลอนดอนแท็กซี่เหมาะกับการเป็นรถแท็กซี่มากที่สุดแล้ว

มีฉากใสกั้น คนขับไม่ต้องชวนคุย!

หลายคนที่ขึ้นรถแท็กซี่อาจจะเจอปัญหาแตกต่างกันออกไป บางคนไม่ชอบรถอับ เบาะผ้า หรือคนขับที่ชอบชวนคุยเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของตัวเอง ยาวไปถึงเรื่องการเมืองก็มี

แต่ CABB ได้เอามาตรฐานของลอนดอนแท็กซี่มาใช้ มีจุดเด่นหลายอย่าง

  • มีการแยกส่วนระหว่างห้องคนขับและห้องโดยสารด้วยฉากกั้นใส (Partition screen)
  • ระบบแอร์แยกส่วน
  • ใช้ระบบอินเตอร์คอม (Intercom) ในการสื่อสารกับพนักงานขับรถ
  • ไม่ใช้เบาะผ้าเพื่อลดการสะสมของฝุ่น และสิ่งปนเปื้อน
  • มีมาตรการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งก่อน และหลังรับผู้โดยสาร
  • รองรับผู้โดยสารได้ถึง 5 ที่นั่ง มีทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ ราวจับในห้องโดยสาร 7 จุด
  • ผู้โดยสารปรับอุณหภูมิแอร์เองได้ตามต้องการ
  • มีที่ชาร์จ USB และ Wi-fi ฟรีตลอดการเดินทาง
  • มีปุ่ม SOS ในกรณีฉุกเฉิน กล้องบันทึกภาพ และระบบ GPS

เรียกผ่านแอปฯ ราคาเริ่มต้น 60 บาท ไม่รับเงินสด

การใช้งานของ CABB จะเป็นการเรียกผ่านแอปพลิเคชันที่ได้พัฒนาขึ้นมาเอง

  • ค่าโดยสารเริ่มต้น 60 บาท
  • กิโลเมตรต่อไป 6-8 บาท/กิโลเมตร (ตามช่วงเวลา)
  • กรณีรถติด 2.5 บาท/นาที
  • ไปสนามบิน +50 บาท
  • ค่าโดยสารขั้นต่ำ 70 บาท
  • ไม่มีค่าเรียกเพิ่ม

ระบบการชำระเงินของ CABB จะไม่รับเงินสด เป็น Cashless Society รับบัตรเครดิต และคิวอาร์โค้ด

การันตีรายได้คนขับ 20,000 บาท

โมเดลของ CABB ต้องการให้คนขับเป็นผู้ประกอบการ จะมีโมเดลรายได้ 2 แบบ ทั้งมีส่วนแบ่งรายได้กัน และคิดค่าเช่ารายวันกับคนขับ เปิดรับคนขับทั้งชาย และหญิง ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 23-70 ปี และมีใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลอย่างน้อย 1 ปี

โดยที่มาตรฐานคนขับต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ ผ่านการตรวจสุขภาพ ประวัติอาชญากร และอื่นๆ รวมถึงการเข้าอบรมตามหลักสูตรของบริษัท เอเชีย แค็บ ก่อนให้บริการครั้งแรก อาทิ การเรียนรู้เส้นทาง การปฐม พยาบาลเบื้องต้น มารยาทการให้บริการ เป็นต้น

สิทธิประโยชน์คนขับ CABB

  • การันตีรายได้ขั้นต่ำ 20,000 บาท/เดือน
  • เงินรายได้เข้าบัญชีทุกวัน
  • ฟรีค่าธรรมเนียมเปิดบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ
  • ดูแลค่าซ่อมบำรุงรถให้
  • ขับ 6 วัน ฟรี 1 วัน
  • ขับครบ 2 ปี ฟรี ประกันสุขภาพ
  • ขับครบ 7 ปี และ 8 ปี รับโบนัสปีละ 100,000 บาท
  • ขับครบ 9 ปี รับสิทธิ์เป็นเจ้าของรถสไตล์อังกฤษได้เลย

ทดลองระบบ นำร่องที่เครือเดอะมอลล์

ตอนนี้ CABB ได้เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเร็วๆ นี้ โดยจะแบ่งการบริการออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การจองรถล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชัน CABB หรือ คอลเซ็นเตอร์ 02-026-8888

แรกเริ่มจะให้บริการที่จุดจอดรถแท็กซี่ของห้างสรรพสินค้าที่เป็นพันธมิตรกับ เอเชีย แค็บ ซึ่งล่าสุดได้จับมือกับห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเดอะมอลล์เป็นรายแรก เพื่อนำ CABB จำนวน 30 คัน ออกให้บริการลูกค้าของห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเดอะมอลล์ 7 แห่ง ได้แก่ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ เดอะมอลล์ สาขารามคำแหง ท่าพระ งามวงศ์วาน บางกะปิ และบางแค

]]>
1291448
รู้จัก “หมอชนะ” แอปติดตาม COVID-19 ที่แจ้งเตือนกลุ่มเสี่ยงได้ไวกว่า “ไทยชนะ” https://positioningmag.com/1288283 Fri, 17 Jul 2020 06:44:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288283 นอกจากแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่เป็นแอปสำหรับติดตามกลุ่มคนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังมีแอป “หมอชนะ” ด้วยเช่นกัน จากเคส “ทหารอียิปต์” ก็สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว แจ้งเตือนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในสถานที่เดียวกันได้ แม้ไม่ได้เช็กอิน

หมอชนะคือใคร คนละแอปกับไทยชนะ

ในช่วงไม่กี่วันมานี้ หลายคนได้รู้จัก “หมอชนะ” กันมากขึ้น ในฐานะแอปพลิเคชันติดตามในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 แต่หลายคนยังสับสนกับแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่ใช้สหรับเช็กอินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ตามตัวบุคคลได้ง่าย จะมาเล่าเรื่องราวของหมอชนะให้รู้จักกันมากขึ้น

แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” คือ Contact Tracing Application เป็นความร่วมมือของ 3 ฝ่าย ประชาชน เอกชน และรัฐบาล พัฒนาขึ้นโดยทีมพัฒนาร่วมประชาชน นำโดยกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ภายใต้ชื่อ “Code for Public” และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ชื่อ “กลุ่มช่วยกัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจจำนวนมาก พร้อมกับภาครัฐกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม

เป็นระบบเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ และประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จากสถานที่ต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อของประชาชนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว

การทำงานของหมอชนะจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือ เป็นแอปที่ให้ผู้ใช้งานสามารถรายงานความเสี่ยงในการติดเชื้อของตัวเองได้ และแจ้งเตือนผู้ใช้หากเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติด COVID-19 นั่นเอง

หลักการทำงานของหมอชนะเพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จากนั้นแค่เปิด GPS และ Bluetooth ไว้ โดยที่ไม่ต้องทำการ “เช็กอิน” ใดๆ เหมือนอย่างไทยชนะ เมื่อแอปได้ทำการตรวจพบว่าผู้ใช้มีการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ทางแอปก็จะทำงานและแจ้งเตือนเมื่อพบว่าผู้ใช้งานมีความเสี่ยงติดเชื้อ โดยกลไกเหล่านี้จะทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ถือแอปหมอชนะได้รับการแจ้งเตือนได้ทันทีแม้ว่าจะไม่ได้ทำการสแกนเช็กอิน QR Code ของระบบไทยชนะก็ตาม

โดยการแจ้งเตือนนี้จะทำให้ผู้ถือแอปหมอชนะได้ทราบว่าตนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการของตน รวมถึงต้องติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขทันทีเพื่อที่จะได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว และป้องกันการแพร่ระบาดไปยังบุคคลรอบข้างด้วย

ประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง

หมอชนะได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และเน้นในการคัดกรองความเสี่ยง โดยไม่ให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ และข้อมูลส่วนบุคคล การลงทะเบียนใช้แอปจึงเป็นแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)

โดยที่คณะรวมอาสาสมัครยังได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบกระบวนการจัดการข้อมูลให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โค้ดแอปยังมีลักษณะเป็น “โอเพ่นซอร์ส (Open Source)” เพื่อให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ และง่ายต่อการส่งต่อไปยังระบบอื่นๆ เพื่อขยายผลต่อไปอีกด้วย

ระบบตั้งให้ข้อมูลที่อยู่ในระบบมีอายุ 30 วัน เมื่อข้อมูลอยู่ในระบบครบตามอายุแล้วระบบทำลายข้อมูลที่หมดอายุโดยอัตโนมัติ และข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบทิ้งภายใน 30 วันหลังจากจบวิกฤตการแพร่ระบาด

ซึ่งหัวใจการทำงานของแอป อยู่ที่การรายงานผลเป็นค่าสีต่างๆ ตามระดับความเสี่ยง แบ่งเป็น

  • สีเขียว สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีอาการ ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
  • สีเหลือง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งอาจจะมีอาการไข้หวัด แต่ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
  • สีส้ม สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง เพราะเป็นคนที่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่เด่นชัด คนในกลุ่มนี้ต้องกักตัวอยู่กับบ้านจนครบ 14 วัน พร้อมทั้งเฝ้าระวัง ถ้ามีอาการควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
  • สีแดง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะทั้งมีอาการ และมีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีส่วนขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่ยุ่งยาก เพียงดาวน์โหลด อัพโหลดรูป ตอบคำถามประเมินสุขภาพเบื้องต้นจากกรมควบคุมโรค เปิด GPS & Bluetooth ไว้ ระบบก็พร้อมทำงานและแจ้งเตือนได้ทันทีถ้าพบว่ามีความเสี่ยง ในส่วนของเบอร์โทรศัพท์ ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะไม่แจ้งตอนติดตั้งแอปได้ นอกจากนี้ ยังไม่ต้องแจ้งชื่อนามสกุลตอนดาวน์โหลด และไม่จำเป็นต้องเช็กอินเช็กเอาต์เพื่อให้ระบบทำงาน

แจ้งเตือนความเสี่ยงได้ไวกว่าไทยชนะ?

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยตื่นตระหนกกับกรณีของ “ทหารอียิปต์” ที่เข้ามาพักที่จังหวัดระยอง พร้อมกับได้เดินทางไปห้างสรรพสินค้าในจังหวัดระยองอีกด้วย

แต่เรื่องราวได้ร้อนระอุขึ้น เมื่อชาวบ้านจังหวัดระยองต้องการทราบพื้นที่ที่กลุ่มทหารเหล่านี้ได้เดินทางไป ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม และห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อโทรติดต่อไปยังหน่วยงานรัฐ กลับไม่สามารถให้ข้อมูลได้ พร้อมกับแจ้งว่าเป็นเรื่องของความมั่นคง ซึ่งจริงๆ แล้วประชาชนทั่วไปมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อได้ประเมินความเสี่ยงของตนเอง

แต่แอปพลิเคชันหมอชนะสามารถจับโลเคชั่นของบุคคลที่เดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว ในวัน และเวลาเดียวกัน โดยได้ทำการส่งข้อความแจ้งเตือนบุคคลที่ไปห้างแหลมทองในเวลาที่ทหารอียิปต์ไป พบทั้งหมด 10 ท่าน หาเจอด้วยระบบ GPS ทำให้กลุ่มเสี่ยงรู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

กลายเป็นว่าหมอชนะเป็นที่สนใจของประชาชนมากขึ้น เพราะสามารถแจ้งเตือนได้รวดเร็ว อีกทั้งยังประเมินความเสี่ยงได้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้

]]>
1288283
ต่อยอดธุรกิจใหม่! Facebook ทดลองพัฒนาแอพฯ สร้าง “มีม” https://positioningmag.com/1254286 Wed, 20 Nov 2019 11:39:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254286 เพราะการเล่นมุกด้วยภาพหรือ “มีม” กลายเป็นการสื่อสารสำคัญบนโซเชียลมีเดียไปแล้ว Facebook จึงทดลองพัฒนาแอพพลิเคชันสร้างมีมง่ายๆ บนมือถือในนาม Whale ออกมาลองตลาด

หน่วยงาน NPE เป็นแผนกเน้นการพัฒนาแอพพลิเคชันใหม่สำหรับผู้บริโภคในโซเชียลมีเดียของ Facebook หน่วยงานนี้เพิ่งจะเปิดตัวแอพฯ ที่สามของแผนกคือ “Whale” ซึ่งเป็นแอพฯ ให้ผู้ใช้สร้าง “มีม” ของตัวเองอย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป ข้อความ หรือสติ๊กเกอร์การ์ตูน สามารถนำมาตกแต่งรวมกันในแอพฯ นี้เพื่อแชร์บนโซเชียลมีเดียหรือส่งเป็นข้อความให้เพื่อนได้ทันที

ไอเดียของแอพฯ Whale อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากใน App Store ปัจจุบันก็เต็มไปด้วยแอพฯ ตกแต่งภาพมากมายอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบคือ แอพฯ นี้เปิดให้ใช้ฟรีโดยไม่มีฟังก์ชันให้ซื้อเพิ่มหรือต้องเสียค่าสมาชิกใดๆ

ในแอพฯ Whale ผู้ใช้สามารถถ่ายรูปหรือเลือกรูปจากแกลลอรี่ของตัวเอง หรือจะเลือกรูปจากสต็อกของแอพฯ ก็ได้ จากนั้นจะมีเทมเพลตให้เลือกเป็นแบบว่างเปล่า สองช่อง สามช่อง สี่ช่อง นอกจากนี้ยังมีอีโมจิ ข้อความ เอฟเฟกต์ ฟิลเตอร์ ให้เลือกแต่งกันเต็มที่

เนื่องจากยังอยู่ในขั้นทดลอง แอพฯ Whale จึงเปิดให้ดาวน์โหลดเฉพาะในแคนาดาเช่นเดียวกับแอพฯ 2 ตัวก่อนหน้านี้ที่ทีม NPE พัฒนาคือ Aux และ Bump (แอพฯ Bump เปิดตัวเพิ่มที่ฟิลิปปินส์แล้ว) สาเหตุที่ Facebook เลือกแคนาดาเป็นประเทศทดลอง เพราะมีลักษณะผู้ใช้ใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา ตลาดหลักของบริษัท แต่มีจำนวนผู้ใช้น้อยกว่า ดังนั้นถ้าแอพฯ เกิดปัญหาจะทำให้บริษัทสามารถจัดการได้ง่ายขึ้น

สำหรับทีม NPE นั้นประกาศก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย Facebook อธิบายว่าทีมนี้มีเป้าหมายเพื่อทดลองไอเดียใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว และหากไม่ได้รับความนิยมก็จะปิดโครงการอย่างรวดเร็วเช่นกัน

การลงทุนของ Facebook เพื่อมุ่งพัฒนาประสบการณ์สื่อสังคมแบบใหม่บนหน้าจอมือถือนี้เกิดขึ้นเนื่องจากแอพฯ ที่มีอยู่ในมือ Facebook ณ ปัจจุบันเริ่มเผชิญการแข่งขันอย่างหนักหน่วงจากบริษัทอื่นๆ เช่น Snapchat, TikTok และมีแอพฯ ใหม่บุกตลาดระดับโลกโดยที่แอพฯ เหล่านั้นไม่ได้อยู่ในมือ Facebook เลย เช่น Yolo, LMK, Houseparty, Marco Polo

สำหรับ Whale เปิดตัวในแคนาดาไปเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2019 โดยไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการจาก Facebook ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ Facebook เปิดเผยว่าแอพฯ แต่ละโครงการที่ NPE สร้างขึ้นจะมีแนวทางการทำตลาดเป็นของตัวเอง โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่มาแล้ว 2 โครงการ คือ Aux เป็นแอพฯ สื่อสังคมสำหรับการฟังเพลง และ Bump เป็นแอพฯ แชทที่ต้องการเชื่อมโยงให้ผู้คนรู้จักกันผ่านบทสนทนามากกว่ารูปร่างหน้าตา

Source

]]>
1254286
คนไทยมีแอปในมือถือเฉลี่ย 32 แอป แต่ซื้อไอเท็มในแอปมากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค https://positioningmag.com/1109998 Sun, 04 Dec 2016 07:39:02 +0000 http://positioningmag.com/?p=1109998 จากการศึกษาเรื่องการใช้งานโมบายล์แอปพลิเคชั่นของทาง Google ที่ร่วมกับ TNS ออสเตรเลีย ได้เผยผลสำรวจในหัวข้อ “Mobile App Usage Study” โดยได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชั่นของคนในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างรวม 10,000 คน ในประเทศไทยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 18-65 ปี

ผลสำรวจบอกว่าคนไทยมีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นในมือถือเฉลี่ยคนละ 32 แอป โดยแบ่งเป็น 16 แอปเป็นแอปที่มีการติดตั้งมาจากในเครื่องอยู่แล้ว ส่วนอีก 16 แอปเป็นแอปที่ติดตั้งเอง โดยใน 16 แอปที่มีการติดตั้งมาจากในเครื่องนั้น ผู้ใช้ได้บอกว่ามีถึง 10 แอปที่ไม่เคยใช้งานเลย

ตัวเลข 32 แอปถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยที่ประเทศอินเดีย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย มีการติดตั้งแอปเฉลี่ย 33 แอป ประเทศจีน 38 แอป มาเลเซีย 34 แอป ฟิลิปปินส์ 39 แอป ญี่ปุ่น 36 แอป สิงคโปร์ 44 แอป และเกาหลีใต้ 53 แอป

info1_app2

ปัจจัยที่ทำให้ติดตั้งแอป

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้คนไทยเลือกที่จะติดตั้งแอปพลิเคชั่น 3 อันดับแรกก็คือ 1. ทำการดูรีวิวของผู้ที่เคยใช้แล้วว่ามีความคิดเห็นอย่างไร 2. ขนาดของแอปพลิเคชั่นต้องไม่ใหญ่เกินไป เพราะสมาร์ทโฟนมีพื้นที่จำกัด และ 3. ดูเรตติ้งที่ผู้เคยใช้ได้ให้คะแนนความพึงพอใจ

ส่วนในประเทศอื่นในภูมิภาคมีความใกล้เคียงกันอย่างเกาหลีใต้เวียดนามมาเลเซียจะเลือกจากรีวิวผู้ที่เคยใช้ก่อนเป็นอันดับแรกเช่นเดียวกับคนไทย

ประเทศจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์จะเลือกจากขนาดของแอปเป็นอันดับแรก ส่วนสิงคโปร์จะเลือกจากราคาของแอป ในขณะที่ญี่ปุ่น และอินเดียจะเลือกจากเรตติ้งของผู้เคยใช้ได้ให้ความพึงพอใจ

info1

เกมครองแชมป์แอปที่คนติดตั้งมากที่สุด

เมื่อดูประเภทของแอปพลิเคชั่นที่มีมากมายหลายกลุ่ม 3 กลุ่มแรกที่คนไทยเลือกติดตั้งมากที่สุดได้แก่ เกม โซเชียลมีเดีย และแชตแอปพลิเคชั่น ซึ่งเกมกลายเป็นแอปพลิเคชั่นที่คนในประเทศอื่นในภูมิภาคนิยมติดตั้งสูงที่สุดเช่นกัน

ในอันดับอื่นๆ ประเทศสิงคโปร์นิยมติดตั้งกลุ่มช้อปปิ้ง และไลฟ์สไตล์ ประเทศเวียดนามนิยมติดตั้งกลุ่มโซเชียลมีเดีย และแชตแอปพลิเคชั่นเหมือนกับไทย ประเทศจีนนิยมติดตั้งกลุ่มช้อปปิ้ง และโซเชียลมีเดีย มาเลเซียนิยมติดตั้งแชตแอปพลิเคชั่น และโซเชียลมีเดีย

ฟิลิปปินส์นิยมติดตั้งกลุ่มการศึกษา และหนังสือ สิงคโปร์นิยมติดตั้งกลุ่มช้อปปิ้ง และโซเชียลมีเดีย ญี่ปุ่นนิยมติดตั้งกลุ่มข่าวสาร และโซเชียลมีเดีย อินเดียนิยมติดตั้งกลุ่มการศึกษา และหนังสือ และอินโดนีเซียนิยมติดตั้งกลุ่มโซเชียลมีเดีย และแชตแอปพลิเคชั่น

info2

คนไทยซื้อของผ่านแอปชนะสิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ผลสำรวจบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่ 90% ชอบโหลดแอปฟรี แต่มีจำนวน 68% เคยซื้อไอเท็ม หรือบริการผ่านแอป อาจจะเป็นฟีเจอร์เสริมที่ซื้อเพิ่มเติมในแอป ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สูงกว่าประเทศสิงคโปร์ และญี่ปุ่น เพราะตอนนี้มีช่องทางการซื้อที่หลากหลายมากขึ้น มีการสนับสนุนทั้งระบบโอเปอเรเตอร์บิลลิ่งจากเอไอเอส และดีแทคและการซื้อแอปในช่องทางอื่นๆ

การใช้จ่ายผ่านแอปของคนไทยส่วนใหญ่จะใช้จ่ายกับแอปพลิเคชั่นที่เป็นเกมทั้งสิ้น โดยที่ 3 อันดับแรกเป็นในเรื่องของ 1.การซื้ออาวุธเพิ่มเติม 2.ซื้อตัวละครเพิ่ม และ 3.ซื้อชีวิตเพิ่มเติม 

เทรนด์ของการพัฒนาแอป ที่ผู้พัฒนาควรรู้

การที่จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อไปต่อสู้กับแอปพลิเคชั่นที่มีกว่าล้านแอปบน PlayStore รวมถึงใน Appstore แต่ผู้ใช้มีติดตั้งในเครื่องเพียงแค่ 32 แอปเท่านั้น นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่ผู้พัฒนาแอปต้องเรียนรู้ และพัฒนาแอปของตัวเองให้โดนใจผู้ใช้ให้ได้

เทรนด์สำคัญอย่างแรกในการพัฒนาแอปก็คือ Multi Channel ต้องทำให้ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ของคนไทยจะนิยมเข้าโมบายล์แอป 85% และโมบายล์เว็บไซต์ 15% ต้องพัฒนาช่องทางต่างๆ ให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานให้ได้ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี

ในส่วนของคอนเทนต์ คนไทยยังต้องการคอนเทนต์ที่เป็น Localize อยู่ เป็นคอนเทนต์ที่เหมาะกับคนไทย โดนใจ มีราคาที่เหมาะสม มีเมนูที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย

]]>
1109998
Google เปิด 10 พฤติกรรมคนไทยกับการใช้แอพพลิเคชัน https://positioningmag.com/1109965 Sat, 03 Dec 2016 00:55:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1109965 Google ร่วมกับ TNS ออสเตรเลีย ได้เผยผลสำรวจในหัวข้อ “Mobile App Usage Study” โดยได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานแอพพลิเคชั่นของคนในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างรวม 10,000 คน ในประเทศไทยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 18-65 ปี

วินีท ธันวา ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Google Play Games & Apps
วินีท ธันวา ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Google Play Games & Apps

วินีท ธันวา ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Google Play Games & Apps ได้พูดถึงพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นของไทยได้ว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยถือว่ามีการใช้ที่โดดเด่น เพราะมีการใช้โทรศัทพ์มือถืออย่างจริงจัง และมีการโหลดแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นในไทยก็มีความสามารถในการทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ ส่วนกลุ่มเกมเมอร์ก็เปิดรับแอพพลิเคชั่นเกมจากทุกที่ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ต่างจากประเทศสิงคโปร์ที่จะเลือกเกมที่มาจากประเทศจีนเท่านั้น

โดยที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทั่วโลกจำนวน 1,400 ล้านราย และมีผู้เข้า Google Playstore เฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านรายซึ่งยังมีการเติบโตของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นอยู่

โดยที่ในปี 2014-2015 ทางกูเกิ้ลมีมูลค่าเงิน 7,000 เหรียญที่ต้องจ่ายให้พาร์ทเนอร์ที่พัฒนาแอพพลิเคชั่นใน Google Playstore ทั่วโลก ซึ่งยอดการใช้จ่ายต่อคนที่ซื้อแอปเติบโตขึ้น 30% แนวโน้มในปีนี้ก็มีการเติบโตขึ้นเช่นกัน

info_app_new

]]>
1109965