โฆษณา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Sep 2024 13:38:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อังกฤษ ‘สั่งห้ามโฆษณา’ เครื่องดื่ม-อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ทางทีวี ก่อน 3 ทุ่ม บังคับใช้ ต.ค. 2568 แก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก https://positioningmag.com/1490168 Mon, 16 Sep 2024 06:48:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490168 ในปี 2563 WHO ได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพลภาพของประชากรทั่วโลกในปี ค.ศ.2000-2019 พบว่า การเสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยเฉพาะในหมู่ประชากรโลกที่เป็นเพศชายที่มีอัตราเสียชีวิตจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 80% ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมาจากโรคอ้วน 

ซึ่งในรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเบาหวานของ WHO ยังพบว่า การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรทั่วโลกจากโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นถึง 5% ในระหว่างปี ค.ศ.2000 ถึงปี ค.ศ.2016 และมีตัวเลขประมาณการว่าการเสียชีวิตของประชากรราวๆ 1.5 ล้านคนทั่วโลกในปี ค.ศ.2019 โดยมีเด็กในอังกฤษที่อายุต่ำกว่า 19 ปีป่วยเป็นโรคเบาหวานกว่า 36,000 คน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีจำนวน 31,500 คนในปี 2015

ที่ผ่านมารัฐบาลอังกฤษได้พยายามในการลดจำนวนของผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนอันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ด้วยการหันมาออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร การใช้กฎหมายบังคับเพื่อพยายามลดขนาดรอบเอวของพลเมืองอังกฤษ ตามอย่างประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการระบุปริมาณแคลอรีในเมนูอาหาร ทางรัฐบาลยังเดินหน้าพิจารณาการแสดงปริมาณแคลอรีในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีการเปิดตัวแคมเปญสุขภาพที่ดีขึ้นไปพร้อมกับมาตรการรับมือปัญหาโรคอ้วน เป็นต้น

ล่าสุดได้มีนโยบายในการลดปัญหาโรคอ้วนในเด็ก โดยการสั่งห้ามโฆษณาเครื่องดื่ม และอาหารฟาสต์ฟู้ดส์ทางโทรทัศน์ ก่อนเวลา 21.00 น. และนโยบายนี้จะใช้ควบคู่ไปกับการโฆษณาในออนไลน์แบบชําระเงินทั้งหมดเช่นกัน โดยจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังในวันที่ 1 ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป

ซึ่งโยบายกำหนดเวลาเผยแพร่โฆษณาเครื่องดื่มและอาหารฟาสฟู้ดส์ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะในปี 2021 สมัยที่ บอริส จอห์นสัน เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยถูกพูดถึงนโยบายนี้มาก่อน เนื่องจากบอริส เป็นหนึ่งในคนที่มีน้ำหนักเกิน และในเดือน เม.ย. ปี 2020 เขาได้เผชิญกับการป่วยโรคโควิด – 19 ด้วยตัวเองจนถึงขั้นต้องเข้าห้องไอซียู และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลาหลายวันกว่าจะเอาตัวรอดจากโรคนี้ได้นั่นเอง

แอนดรูว์ กวินน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์และออนไลน์มีน้อยกว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ซึ่งส่งผลต่อความชอบด้านอาหารของพวกเด็กๆ และทำให้มีปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น 

ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลฯ มีการดำเนินการเรื่องข้อตกลงและปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับร่างมาตรการสําหรับผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ และบริการที่ครอบคลุมรายการอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงนมผงสําหรับทารก อาหารแปรรูปจากธัญพืชสําหรับทารก ผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหาร เครื่องดื่มยา และผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหารที่ได้รับอนุมัติด้วย

ที่มา : BBC



]]>
1490168
มองเทรนด์ ‘โฆษณา’ ปี’67 ‘ไมโครอินฟลูฯ’ ยิ่งทวีความสำคัญ ‘Meta’ ยังครองแชมป์เบอร์ 1 แพลตฟอร์มโฆษณาดิจิทัล https://positioningmag.com/1455766 Fri, 15 Dec 2023 12:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455766 กำลังจะหมดเดือนสุดท้ายของปีแล้ว ทาง MI GROUP ก็ออกมาประเมินถึงทิศทาง เม็ดเงินโฆษณา ในปีหน้าหรือ 2567 หลังจากที่คาดว่าในปี 2566 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงว่าจะเติบโตได้เพียง 4.4% พร้อมกับมองถึง สื่อ ไหนจะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเม็ดเงินในอุตสาหกรรม

หนี้ครัวเรือนยังเป็นปัจจัยลบสำคัญ

จากปัจจัยลบต่าง ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งขั้วการค้าของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่ส่งผลในด้านการนำเข้า-ส่งออกของไทย ผู้บริโภคมีความกระจายตัวมากขึ้น ทำให้นักการตลาดทำงานยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีภาวะสงครามและปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น คาดว่าการเติบโตของ GDP โลกปีหน้าจะเติบโตที่ 2.3%

ขณะที่ GDP ไทยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตประมาณ 3.2-4.2% โดยคาดว่า ท่องเที่ยว จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ ขณะที่ปัจจัยลบของไทยยังคงเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง, เงินเฟ้อ, เรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเรื่องความไม่เท่าเทียมทางด้านด้านดิจิทัล และความเชื่อทางการเมือง

“จะเห็นว่าปีนี้โฆษณาเกี่ยวกับสินเชื่อลดลง เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินเลยต้องเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บางรายที่มีเงินก็เลือกจะเก็บเงินสดมากกว่า” ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP กล่าว 

เม็ดเงินโฆษณาปีหน้าโตแค่ 4%

สำหรับเม็ดเงินโฆษณาปีนี้คาดว่าเติบโต +4.4% หรือ 84,549 ล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าเติบโต +4% มีมูลค่า 87,960 ล้านบาท โดยอีกปัจจัยที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้มีมูลค่าแตะ 9 หมื่นล้านเหมือนช่วงก่อนโควิดเป็นเพราะ สื่อดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุ ที่ไม่ได้มีอิทธิพลสูงเหมือนในอดีต ทำให้เม็ดเงินส่วนนี้ถูกโยกไปใช้กับสื่อดิจิทัล

“สื่อดั้งเดิมแทบไม่กระเตื้อง โดยเฉพาะสื่อทีวีที่ถูกแบ่งเม็ดเงินไปยังแพลตฟอร์มอื่นมากขึ้น เช่น YouTube และ Streaming Service ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การลงโฆษณาได้ใกล้เคียงกับสื่อทีวีมากที่สุด”

ในส่วนของสื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ สื่อนอกบ้าน (OOH) ที่เติบโตตั้งแต่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลง และ สื่อออนไลน์ ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดย บ้าน Meta (Facebook, Instagram) ที่ยังคงครองอันดับ 1 ตามมาด้วย YouTube อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพายของทั้ง 2 แพลตฟอร์มก็ลดลงเรื่อย ๆ จากการมาของแพลตฟอร์มใหม่ ๆ อย่าง TikTok และ Streaming Platforms รวมไปถึงเหล่า Digital Content Creator หรือ อินฟลูเอนเซอร์

อินฟลูฯ ยังสำคัญต่อเนื่องเพราะ Affiliate Marketing

แน่นอนว่าเทรนด์การใช้งานอินฟลูเอนเซอร์เป็นอะไรที่เติบโตมานานแล้ว แต่เทรนด์ที่ขับเคลื่อนการใช้อินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบันและอนาคตก็คือ Affiliate Marketing หรือการใช้อินฟลูเอนเซอร์แปะลิงก์ขายของเพื่อ ขายตรง ต่างจากอดีตที่เน้นใช้อินฟลูฯ เพื่อสร้างการรับรู้ซะมากกว่า

นอกจากนี้ การมาของ Affiliate Marketing ทำให้รูปแบบการจ้างอินฟลูฯ เปลี่ยนไปเป็นการ แบ่งรายได้ยอดขาย ส่งผลให้แบรนด์สามารถวัดผลได้ทันที สามารถรู้ได้เลยว่าอินฟลูฯ ที่ใช้เหมาะกับแบรนด์หรือไม่ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ ที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของเม็ดเงินโฆษนาดิจิทัล เพราะรายได้จากยอดขายไม่สามารถนำเข้ามาคำนวนได้ ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ จะสูงกว่าที่ประเมิน

“จากที่เคยเห็น Media Plan ของลูกค้า เราพบว่าแต่ละบริษัทมีการใช้งบประมาณกับอินฟลูฯ ประมาณ 15-20% ในแต่ละแคมเปญการตลาด ซึ่งเราเชื่อว่าเม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ นั้นมหาศาลแน่นอน เพียงแต่เราไม่สามารถเก็บข้อมูลได้”

ภวัต เรืองเดชวรชัย ทิ้งท้ายว่า ความท้าทายของแบรนด์จากนี้ก็คือ งานที่ต้อง ละเอียดขึ้น เพราะผู้บริโภคมีกระจายตัว และซับซ้อนขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่ดิสรัปต์คนทุกเจน ดังนั้น จะเห็นว่าแบรนด์ให้ความสำคัญกับการสร้างและลิงก์ยอดขายไปที่ เว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้า และปีหน้าคลื่มลมแรงแน่นอน แต่ก็เป็นทั้งอุปสรรคและโอกาสของแบรนด์

]]>
1455766
ยอมจ่ายไหม? ‘Facebook’ และ ‘Instagram’ เตรียมเพิ่มแพ็กเกจ ‘ไร้โฆษณา’ ในยุโรปราคา 400 บาท/เดือน https://positioningmag.com/1446835 Thu, 05 Oct 2023 06:48:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446835 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเบื่อกับโฆษณาที่ต้องเห็นในหลาย ๆ แพลตฟอร์มรวมไปถึง Facebook และ Instagram ล่าสุด ทาง Meta ก็ได้เปิดตัวแพ็กเกจแบบเสียเงินรายเดือน เพื่อที่จะ “ไม่เห็นโฆษณา” ในยุโรป

Meta วางแผนที่จะให้ผู้ใช้ Facebook และ Instagram ในยุโรปมีตัวเลือกในการชําระเงินเพื่อใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบไม่มีโฆษณา เนื่องจากยุโรปได้ออกกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด เบื้องต้น คาดว่าค่าบริการ เวอร์ชั่นเดสก์ท็อป จะอยู่ประมาณ 10 ยูโรต่อเดือน (ราว 390 บาท) และหากผู้ใช้มีบัญชีอื่น ๆ ที่เชื่อมกันก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณ 6 ยูโรต่อบัญชี

ส่วนถ้าเป็นการใช้ผ่านมือถือ ค่าแพ็กเกจจะแพงกว่า โดยอยู่ที่ประมาณ 13 ยูโร (ราว ๆ 500 บาทต่อเดือน) เนื่องจากต้องหักส่วนแบ่งบางส่วนให้กับทั้ง Apple App Store และ Google Play Store

อย่างไรก็ตาม Meta ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดตัวชัดเจน แต่คาดว่าจะเปิดให้ใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของสหภาพยุโรป ที่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใช้ก่อนจะแสดงโฆษณาตามความสนใจของผู้ใช้

ทั้งนี้ Meta ระบุว่า แพลตฟอร์มไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้งานต้องจ่ายเงินแต่อย่างใด โดยผู้ใช้ยังสามารถใช้งานได้ฟรีตามปกติ แต่ก็ยังต้องเห็นโฆษณาตามเดิม

Meta ยังเชื่อในรูปแบบการให้บริการฟรี อย่างไรก็ตาม เรายังคงสํารวจทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเราปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านกฎระเบียบที่กําลังพัฒนา”

Source

]]>
1446835
‘MI Group’ หั่นคาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาลงเหลือ +2.5% ชี้ ปัจจัยบวกจาก ‘รัฐบาลใหม่’ จะเห็นภาพชัดในปีหน้า https://positioningmag.com/1442896 Wed, 30 Aug 2023 13:32:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442896 8 เดือนผ่านไปแล้วสำหรับปี 2023 เม็ดเงินโฆษณาและสื่อสารการตลาดกลับไม่โตตามคาด เนื่องจากตลาดมีปัจจัยบวกเพียงน้อยนิด โดยทาง MI GROUP ได้ออกมาประเมินถึงเม็ดเงินโฆษณาในช่วงโค้ง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2023 หลังจากที่ประเทศไทยสามารถตั้งรัฐบาลสำเร็จและเริ่มเห็นโฉมหน้าครม.

เม็ดเงินโฆษณาโตเพียง 2.5% ลดลงครึ่งหนึ่งจากประเมิน

ผ่านไป 8 เดือนแล้วสำหรับปี 2023 โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังเจอทั้งความท้าทายและปัจจัยลบที่ยังมีมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น GDP ที่เติบโตต่ำกว่าคาดเพียง +3% ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ส่งออกติดลบ และการเมืองหลังเลือกตั้งยังไม่นิ่ง ทำให้ความเชื่อมั่นและอุปสงค์ต่ำ ขณะที่ปัจจัยบวกก็มีเพียง ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งไม่เพียงพอในการฟื้นอุปสงค์ในประเทศ โดยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด คาดว่า เม็ดเงินโฆษณาปีนี้อาจจะอยู่ที่ 83,000 ล้านบาท โตเพียง +2.5% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ +5% 

สำหรับปัจจัยบวกใหม่ ๆ ในช่วง 4 เดือนหลังมากจากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ และนโยบายที่ประกาศว่าจะทำเลยหลังรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศภายในปลายเดือนกันยายน เช่น การปรับลดราคาเชื้อเพลิง ค่าครองชีพ เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่น่าจะ ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาด คือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่จะได้เห็นอย่างเร็วในช่วงต้นปีหน้า ส่วนนโยบายอื่น ๆ อาทิ ค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือนนักศึกษาจบใหม่ เงินเดือนข้าราชการ ซอฟต์พาวเวอร์ จะเป็นส่วนที่ส่งผลในระยะยาว

สื่อทีวีได้รายการข่าวประคอง

สำหรับเม็ดเงิน สื่อโทรทัศน์ จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยที่ -1% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคอนเทนต์หลักที่ยังขับเคลื่อนสื่อโทรทัศน์ปีนี้คือ รายการข่าว วิเคราะห์ข่าว และละคร ซึ่งปีนี้กลับมาคึกคักเป็นพิเศษ ส่วนสื่อดิจิทัลและสื่อนอกบ้าน (Out of Home) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีอัตราการเติบโตอย่างน้อย +7% และ +10% ตามลำดับ

โดยตัวขับเคลื่อนหลักของสื่อดิจิทัลยังคงมาจาก 2 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ Meta และ YouTube ส่วนแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงคือ TikTok โดยน่าจับตามองทั้งในแง่การเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาและ IMPACT ในเชิง Full-Funnel Solution ส่วนสื่ออื่น ๆ แม้จะมีบทบาทน้อยลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงมีบทบาทในการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

Generative AI ทำตลาดแตะเบรก

การมาของ Generative AI เริ่มเห็นผลกระทบในเกือบทุกอุตสาหกรรมไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมสื่อโฆษณา เพราะการทำการตลาดและสื่อสารการตลาดที่เปลี่ยนไปจากการพัฒนาและการขับเคลื่อนของ Technology และ Generative AI นำไปสู่นิยาม Marketing Intelligence ซึ่งถือเป็นอีกขั้นของ Data-driven Marketing หรือการทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล อย่างไรก็ตาม การใช้งาน AI เพื่อ Marketing Intelligence ก็มีผลเสียตามมาเช่นกัน อาทิ การแตะเบรคเม็ดเงินโฆษณา เพราะ Generative AI มาช่วยขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านการตลาดและสื่อสารการตลาดเกือบทุกมิติอย่างก้าวกระโดด

แย่งงานมนุษย์ โดยไม่ใช่จำกัดอยู่แค่ Routine Work หรือ Basic Jobs แต่ยังเริ่มแย่งงานมนุษย์ในส่วนของความคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ, ศิลปะ, ดนตรี, ฯลฯ และบางครั้งยังคิดแทนมนุษย์ได้ ตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ และที่สำคัญที่สุด AI สามารถทำแทนได้เร็วกว่าปริมาณมากกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า โดยตัวอย่างหมวดงานด้านการตลาด และสื่อสารการตลาดที่ AI ทำแทนมนุษย์ได้แล้ว อาทิ

  • การค้นคว้าหาข้อมูล การทำวิจัย และการสรุปข้อมูล
  • การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง การคาดการณ์สถานการณ์ (Predictive Analytics)
  • งานออกแบบและงานดีไซน์
  • การทำพรีเซนเทชั่น, การสร้างคอนเทนต์และการเล่าเรื่อง, การทำคลิปวิดีโอ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด (Marketing Optimization)
  • การตลาดเฉพาะบุคคลแบบขั้นกว่า (Hyper-Personalized Marketing)

ดังนั้น สิ่งที่นักการตลาดและเอเจนซี่ต้องปรับตัวเพื่อคว้าโอกาส หรือเพื่อให้อยู่รอด คือ ต้องรู้เท่าทัน AI และพัฒนาทักษะตัวเองเพื่อยังเป็นนาย AI ให้ได้ เช่น ทักษะการ Prompt (การออกคำสั่ง) ควรเรียนรู้ AI tool พื้นฐานให้ใช้งานได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักใช้ประโยชน์จาก AI tools ต่าง ๆ สุดท้าย พัฒนาทักษะที่ AI ยังทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์ เช่น ความละเอียดอ่อนทางด้านอารมณ์ของมนุษย์, ไหวพริบและการสังเกต, ทักษะด้านศิลปะและความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบ, การตัดสินใจที่ซับซ้อน, การเจรจาต่อรอง เป็นต้น

“พวกเราทุกคนคงหลีกหนี IMPACT ของ AI ไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวเรามากขึ้นและรอบด้านขึ้นทุกวันการปรับตัวโดยการเรียนรู้จะทำให้ทั้งมนุษย์และ AI สามารถประสานการทำงานร่วมกัน และช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละฝ่ายได้ แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่ด้อยค่าตัวเองและต้องทำให้การพัฒนาและการใช้งาน AI อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา”

]]>
1442896
เม็ดเงินโฆษณา 2 เดือนแรกยังซึม! รอดู “เลือกตั้ง” จุดเปลี่ยนสำคัญ https://positioningmag.com/1421265 Tue, 28 Feb 2023 11:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421265 ซึมต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง Q4/2022 จนถึงช่วง 2 เดือนแรกของปี 2023 สำหรับ เม็ดเงินโฆษณา อย่างไรก็ตาม ทาง MI GROUP ยังมองว่าภาพรวมทั้งปียัง เติบโตได้ เพราะยังพอมีปัจจัยบวก แต่ที่น่าจับตาที่สุดคือ สถานการณ์การ เลือกตั้ง ที่ค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าจะเกิดขึ้นช่วงพฤษภาคมนี้

มองตามสถานการณ์ตลาด +5%

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 2 เดือนแรกถือว่า ซึมตามคาด โดยเดือนมกราคมติดลบ -10% เนื่องจากผลมาจากปัจจัยลบต่อเนื่องจาก Q4 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น GDP โตต่ำกว่าคาด ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้อุปสงค์ต่ำ

อย่างไรก็ตาม ในมุมนักการตลาดก็เห็นปัจจัยบวก โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยว ที่คาดว่าภายในสิ้นปีน่าจะมีมากถึง 30 ล้านคน ผู้บริโภคไม่กลัวโควิดแล้ว และอีกปัจจัยสำคัญคือ การเลือกตั้งมีความชัดเจน ทำให้นักการเมืองเริ่มออกมาทำกิจกรรมหาเสียง ซึ่งส่วนนี้ก็จะส่งผลบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเศรษฐกิจ ดังนั้น ในปีนี้คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเติบโตได้ราว 5% หรือประมาณ 85,790 ล้านบาท

เลือกตั้งช่วยทางอ้อมมากกว่า

ภวัต อธิบายว่า การเติบโต 5% ที่ประเมิน ถือเป็นการประเมินตามสถานการณ์ที่เห็นตอนนี้ แต่จะเติบโตมากหรือน้อยกว่านี้ ต้องรอดู หลังเลือกตั้ง ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การมาของการเลือกตั้งจะหนุนเงินสะพัดถึง หมื่นล้านบาท ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม แต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับเม็ดเงินโฆษณา จะเป็นผลทางอ้อมที่มาจากกิจกรรมลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อ กำลังซื้อของผู้บริโภค แบรนด์ที่เป็นสินค้าพื้นฐานก็จะได้ประโยชน์ตรงนี้

ในส่วนของเม็ดเงินที่จะใช้กับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดว่ามี ไม่ถึงร้อยล้าน เนื่องจากแลนด์สเคปของการหาเสียงเปลี่ยนไป นักการเมืองไม่ต้องการสร้างอแวร์เนส แต่ต้องการ สร้างคอนเทนต์ บนโลกออนไลน์ ซึ่งถ้าคอนเทนต์ดีก็จะเกิดการแชร์ ถือว่าได้หน้าสื่อฟรี ดังนั้น การหาเสียงช่วงเลือกตั้ง โซเชียลมีเดียจะเป็นสมรภูมิหลัก

“เม็ดเงินหมื่นล้านอาจเข้าสื่ออาจจะมีไม่ถึงร้อยล้านด้วยซ้ำ เพราะในช่วง 2-3 ปีมานี้แลนด์สเคปเปลี่ยน แค่มีคอนเทนต์ที่แรงจะได้สื่อฟรี แถมสามารถกระจายตัวไปอยู่ในสื่อทีวีได้ด้วย เช่น การดีเบต มันชิ่งไปชิ่งมาโดยมีคอนเทนต์เป็นตัวหลัก ดังนั้น ออนไลน์จะเป็นสมรภูมิหลักแน่นอนในช่วงเลือกตั้ง จากในอดีตที่เม็ดเงินจะไหลไปที่หนังสือพิมพ์และทีวี”

สินเชื่อส่วนบุคคลไม่ใช้เงินร้อนแรงอีกต่อไป

ขณะที่หมวดสินเชื่อโดยเฉพาะ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คึกคักมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้คาดว่าน่าจะคึกคักน้อยลง จากภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงแตะ 90% ของ GDP อันเป็นผลมาจากหนี้ส่วนบุคคลที่เต็มวงเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ซึ่งนำไปสู่หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (NPL) ที่สูงขึ้นแตะ 4.4% ในปีที่ผ่านมา

“เขาไม่รู้จะใช้เงินทำตลาดไปทำไม เพราะตอนนี้คนที่ต้องการกู้แทบไม่มีแล้ว คนที่กู้ก็กู้เต็มวงเงินไปหมดแล้ว”

สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะคึกคักในปีนี้ ได้แก่

  • หมวดยานยนต์ จักรยานยนต์ โดยเฉพาะ ยานยนต์พาณิชย์, ยานยนต์พลังงานสะอาด (EV, HEV, PHEV) คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 5,800 ล้านบาท
  • หมวดงานอีเวนต์กิจกรรม คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท
  • E-Commerce โดยเฉพาะ Market Place, เดินทาง&ท่องเที่ยว, รถยนต์มือสอง, ประกัน, ดีลและส่วนลดพิเศษ คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,800 ล้านบาท
  • อาหาร เครื่องดื่ม และบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อสุขภาพและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,800 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์ในหมวดความสวยและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,300 ล้านบาท

“ปีนี้มีปัจจัยบวกคือ ท่องเที่ยว เลือกตั้ง และคนที่ออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ส่วนการมาของซีเกมส์ เรามองว่าไม่มีนัยเลย คนสนใจแต่ดราม่า แต่การแข่งขันไม่น่าสนใจ ส่วนช่วงหน้าร้อนที่ปกติจะเป็นช่วงที่คึกคักของตลาด ปีนี้ก็มองว่าคงจะคึกคักเหมือนเดิมไม่ได้คึกคักเป็นพิเศษ”

]]>
1421265
‘เอเจนซี่โฆษณา’ ในสหรัฐฯ แนะแบรนด์เบรกลงแอดใน ‘Twitter’ เพื่อรอความชัดเจนแพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1406387 Wed, 02 Nov 2022 09:34:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406387 หลังจากที่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ขึ้นเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม ทวิตเตอร์ (Twitter) ทางมัสก์ก็ได้โละ บอร์ดบริหาร ทั้ง 9 คนพ้นบริษัททันที ด้วยความที่องค์กรปรับทัพใหม่แบบนี้ ทางเอเจนซี่โฆษณาของสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาเตือนให้แบรนด์งดลงโฆษณาในทวิตเตอร์ไปก่อน

ย้อนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่าง General Motors (GM) ได้ระงับการโฆษณาบนทวิตเตอร์ชั่วคราว โดยระบุว่า “เพื่อทำความเข้าใจทิศทางของแพลตฟอร์มภายใต้เจ้าของใหม่” ล่าสุด Interpublic Group ยักษ์ใหญ่ด้านโฆษณาได้แนะนำให้ลูกค้าในหน่วย IPG Media Brands อาทิ นินเทนโด, ยูนิลีเวอร์ ว่าให้ระงับการโฆษณาบนทวิตเตอร์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังจากการเข้าซื้อกิจการของมัสก์

นอกจากนี้ MAGNA ธุรกิจสื่อภายใต้เว็บ Morning Brew ก็ได้แนะนำลูกค้าว่า แพลตฟอร์มทวิตเตอร์หลังเปลี่ยนมือ ยังไม่ได้สื่อสารโดยตรงและชัดเจนกับเอเจนซี่การตลาด ส่งผลให้สถานการณ์ปัจจุบันนั้น คาดเดาไม่ได้และวุ่นวาย

โดยตั้งแต่ที่มัสก์ปิดดีลได้สำเร็จ แนวโน้มของทวีตเกี่ยวกับการ แบ่งแยกเชื้อชาติและข้อความแสดงความเกลียดชังอื่น ๆ ได้เริ่มสร้างความเสียหายให้กับเครือข่ายในระดับที่สูงกว่าปกติ ตามการวิจัยของ Network Contagion Research Institute และ Dataminr และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ทำให้ผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายคนเลิกใช้งานทวิตเตอร์

อย่างไรก็ตาม Yoel Roth หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยที่ Twitter ได้โพสต์ข้อความบน Twitter เกี่ยวกับวิธีที่บริษัทกำลังต่อสู้กับเรื่องนี้ พร้อมแจงว่า ได้ดำเนินการที่ ลบบัญชีมากกว่า 1,500 บัญชี และลดการแสดงผลในเนื้อหานี้จนเกือบเป็นศูนย์ ส่วนมัสก์เขามีแนวคิดที่จะ “จัดตั้งสภาควบคุมเนื้อหาผ่านมุมมองที่หลากหลาย”

Source

]]>
1406387
โฆษณาที่คน Gen Z จะไม่กดข้าม! ‘LINE WEBTOON’ หมัดเด็ดของ “แบรนด์” เพื่อครองใจคนรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1379582 Tue, 29 Mar 2022 14:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379582

‘คนรุ่นใหม่ไม่ดูโฆษณากันแล้ว’ ข้อความนี้เป็นความจริง แต่เป็นความจริงที่แก้ไขได้ หากแบรนด์สามารถพลิกแพลงด้วย ‘Storytelling’ เข้ากับคอนเทนต์ที่คน Gen Z และ Gen Y ชื่นชอบ โดย ‘LINE WEBTOON’ เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับแบรนด์ จากความนิยมที่สูงมากในกลุ่มวัยรุ่นไทย มาดูกันว่า กลยุทธ์ที่แบรนด์สามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มนี้ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง

คนทั่วไปเมื่อเอ่ยชื่อ LINE (ไลน์) อาจจะนึกถึงแอปพลิเคชัน “แชท” เป็นแพลตฟอร์มเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่จริงๆ แล้วระบบนิเวศของ LINE นั้นขยายไปไกลกว่าแค่การแชท โดยมีโปรดักส์อื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น LINE TODAY, LINE WEBTOON, LINE SHOPPING และ LINE OpenChat เป็นต้น

ระบบนิเวศทั้งหมดนี้ทำให้ LINE เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันทุกช่วงของคนไทย รวมถึงเป็นช่องทางให้กับธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ระบบนิเวศของ LINE เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและครอบคลุม

ในยุคที่แพลตฟอร์ม “ดิจิทัล” มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจและการตลาด LINE ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลของไทยจึงจัดงานสัมมนาเพื่อช่วยติดอาวุธธุรกิจไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ชื่องาน “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD” รวมกูรูในวงการมาให้ข้อมูลด้านดิจิทัลที่ผู้ประกอบการควรรู้ ตั้งแต่เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ การใช้ดาต้าเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ จนถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจของงานสัมมนาคือหัวข้อ WEBTOON: THE NEXT MOVEMENT IN THAILAND” ชี้เป้าให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจเห็นว่า เทรนด์ที่กำลังมาในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของไทยและจะเป็นโอกาสทางการตลาดให้แบรนด์ คือแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์นี่เอง


LINE WEBTOON แพลตฟอร์มยอดนิยมของคนรุ่นใหม่

อันแชวอน Partnership Manager ของ LINE WEBTOON อธิบายถึงโปรดักส์นี้ก่อนว่า เป็นแพลตฟอร์มที่นำความเพลิดเพลินจากหนังสือการ์ตูนในอดีตมาสู่อุปกรณ์ดิจิทัล โดยมีการปรับรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะกับอุปกรณ์มากขึ้น

คอนเทนต์ยอดนิยมของ LINE WEBTOON มีการขายลิขสิทธิ์ไปผลิตเป็นซีรีส์และภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง

LINE WEBTOON เปิดตัวครั้งแรกที่เกาหลีใต้เมื่อปี 2004 ก่อนจะเริ่มขยายไปยังต่างประเทศเมื่อปี 2014 จนปัจจุบันเป็นผู้นำในธุรกิจแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์ มียอดผู้ชมประจำเดือนทั่วโลก (MAUs) กว่า 82 ล้านคน และมีระยะเวลาการอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันมากกว่า 24 นาที

จากการสั่งสมฐานแฟนและครีเอเตอร์มายาวนาน ทำให้ LINE WEBTOON อัดแน่นด้วยคอนเทนต์คุณภาพจนได้รับการต่อยอด ซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปสร้างเป็นซีรีส์-ภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Nevertheless, Hellbound, All of Us Are Dead, คุณแม่วัยใส และแต่ละเรื่องล้วนกลายเป็นคอนเทนต์สุดฮิตบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นตลาดสำคัญของ LINE WEBTOON เพราะแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมสูงมาก ไทยมียอดผู้ชมประจำเดือน (MAUs) 3.5 ล้านคน และมีระยะเวลาอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันถึงมากกว่า 100 นาที! นอกจากนี้ ไทยยังเป็นตลาดที่มีการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสูงเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและจีน สะท้อนให้เห็นว่าผู้อ่านไทยชื่นชอบคอนเทนต์ มีการเข้าอ่านเป็นประจำ และเป็นแฟนตัวยง

ผู้อ่านหลักของ LINE WEBTOON จะเป็นกลุ่ม Gen Z และ Gen Y โดยมีผู้อ่านวัยต่ำกว่า 24 ปี และวัย 24-34 ปี รวมกันถึง 76% ทำให้ถ้าหากแบรนด์ใดมีเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่กลุ่มเดียวกัน นี่จะเป็นช่องทางที่ใช่สำหรับแบรนด์นั้นทันที


ช่องทางเข้าถึงใจ Gen Z + Gen Y

กลุ่มคน Gen Z และ Gen Y ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่นักการตลาดดิจิทัลไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะเป็น ‘media savvy’ รับชมคอนเทนต์ออนไลน์ถึงวันละ 8 ชั่วโมง กลุ่มนี้ยังเป็นผู้นำความคิดในโลกออนไลน์ คอนเทนต์จากแบรนด์จะ “ไวรัล” หรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา

นอกจากนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ยังเปิดใจกว้างกว่าวัยอื่น มากกว่า 20% ของคนกลุ่มนี้พร้อมจะลองแบรนด์ใหม่ๆ และมีกำลังซื้อพอที่จะจับจ่าย

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการส่งคอนเทนต์สู่สายตาคน Gen Z และ Gen Y คือ “พวกเขามีระยะความสนใจต่ำเพียง 8 วินาที” และไม่ชอบรับชมโฆษณา ทำให้การทำโฆษณาแบบดั้งเดิมนั้นอาจจะไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะพวกเขาจะกดข้ามทันที

ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร? แชวอนแนะนำถึงกลยุทธ์การโฆษณาที่ซับซ้อนขึ้น ด้วยการสร้าง ‘storytelling’ เมื่อร้อยเรียงข้อความของแบรนด์เข้ากับเนื้อเรื่องที่คนรุ่นใหม่สนใจอยู่แล้ว จะทำให้คนรุ่นนี้สนใจมากกว่าการอ่านข้อความธรรมดาที่บอกเล่าตรงๆ ถึง 22 เท่า!

เหตุนี้เอง LINE WEBTOON จึงเข้ามาตอบโจทย์นักการตลาด ด้วยแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ที่แฟนๆ ชื่นชอบ ทำให้ผู้อ่านไม่รู้สึกว่าถูกรบกวนหรือยัดเยียดเมื่อร้อยเรียงแบรนด์ลงไป และยังคงได้รับความบันเทิงพร้อมๆ กับการอ่านโฆษณา


Branded Story: สร้างเนื้อเรื่องของแบรนด์เข้ากับตัวละครดัง

แชวอนยกตัวอย่างงานโฆษณาในประเทศอื่นๆ ที่ร่วมมือกับ LINE WEBTOON และประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนความคิดของคน Gen Z ที่ไม่ชอบโฆษณา มาเป็นแนวหน้าช่วยเผยแพร่โฆษณาของแบรนด์ออกไปจนไวรัล ผ่านกลยุทธ์เหล่านี้

กุญแจสำคัญคือแบรนด์จะมีการสร้าง Branded Story ร่วมกับครีเอเตอร์ที่สามารถคอลแลปกันได้ โดยครีเอเตอร์จะใช้ตัวละครจากเรื่องมาเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีการคิดสร้างสรรค์เนื้อเรื่องที่ช่วยส่งเสริมจุดประสงค์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความตระหนักรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการโปรโมตแคมเปญ

ตัวอย่างจาก Com2Us: เนื้อเรื่องของแบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์วางอยู่ในช่วงท้ายตอนของเนื้อเรื่องปกติ (BEP: Branded Epilogue)

ในแง่วิธีการเผยแพร่ Branded Story บน LINE WEBTOON มีหลายตัวเลือกขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแบรนด์ เช่น Com2Us ซึ่งเป็นบริษัทเกม ต้องการจะสร้าง Brand Awareness ในระยะยาว จึงเลือกวางโฆษณาไว้ท้ายตอนปกติของการ์ตูนรวมทั้งหมด 25 เรื่อง

ขณะที่ Devsisters บริษัทเกมอีกแห่งหนึ่ง ต้องการเพิ่มยอดดาวน์โหลดแอปฯ ด้วย จึงเพิ่มแบนเนอร์ไว้ที่หน้าแรกของ LINE WEBTOON เพื่อให้คนอ่านคลิกเข้ามาที่เนื้อเรื่องโฆษณาได้ทันที และมีปุ่มกดคลิกดาวน์โหลดเกมแทรกไปใน Branded Story ของแบรนด์

ส่วน Samsung มีแคมเปญโปรโมตวิธีใช้งานผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Samsung Galaxy Fold 3 และ Flip 3 จึงเลือกที่จะสร้าง Branded Story ยาวถึง 8 ตอนแยกออกมาโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ลงรายละเอียดการใช้งานผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายของแบรนด์ได้ดีกว่า ผลของการร่วมมือครั้งนี้ทำให้ Samsung มียอดเยี่ยมชมสโตร์ออนไลน์สูงขึ้นถึง 150%

ตัวอย่างจาก Samsung: พัฒนา Branded Story เป็นเนื้อเรื่องพิเศษ 8 ตอน แสดงถึงฟังก์ชันการใช้งานของผลิตภัณฑ์

อีกไอเดียที่น่าสนใจมาจาก Cash App แอปฯ ตัวกลางในการชำระเงินในสหรัฐฯ แบรนด์นี้ต้องการดึงผู้ใช้เข้ามามากขึ้น จึงมีแคมเปญกับ ‘Coins’ ในแอปฯ LINE WEBTOON

อธิบายก่อนว่าระบบ Coins คือสิ่งที่ใช้ในการปลดล็อก Fast Pass อ่านตอนต่อไปที่ล็อกอยู่บน LINE WEBTOON ซึ่งทำให้ Coins เป็นที่ต้องการของผู้อ่าน ดังนั้น Cash App จึงสร้างแคมเปญแจก Coins เมื่อผู้อ่านคลิกเข้ามาอ่าน Branded Story ของแบรนด์และดาวน์โหลด Cash App ปรากฏว่าแคมเปญนี้ทำให้มีผู้ใช้รายใหม่ของ Cash App มากกว่า 25,000 ราย

เนื้อเรื่องที่โดนใจของแต่ละแคมเปญยังทำให้ผู้อ่านนำไปพูดถึงจนเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์มอื่น เช่น แคมเปญของ Devsisters ที่กลายเป็นไวรัลคอนเทนต์บนเว็บบอร์ด Reddit

โดยสรุปแล้ว แบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์และอาศัยช่องทาง LINE WEBTOON มีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงคน Gen Z และ Gen Y เพราะสามารถโฆษณาแบรนด์ได้อย่างเป็นมิตร ไม่ถูกกดข้าม และแปลผลไปสู่ยอดขายได้จริง!

สำหรับผู้ที่สนใจงานสัมมนา “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD”  งานนี้เปิดให้เข้าชมแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน LINE Official Account: @linebizth, FB Fanpage: LINE for Business และผ่านเว็บไซต์: https://lin.ee/JtJGilH/wcvn  ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคมนี้ ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจรออยู่สำหรับผู้ประกอบการทุกท่าน

]]>
1379582
ถอดบทเรียน 3 แบรนด์ดัง กับการใช้ Smart Channel Ads พื้นที่โฆษณาทำเลทองบน LINE https://positioningmag.com/1375974 Wed, 16 Mar 2022 04:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375974

ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้าถึงสื่อโฆษณาย่อมมีการเปลี่ยนไป โฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ที่เคยประสบผลสำเร็จอาจจะใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้วก็ได้ แน่นอนว่ายุคดิจิทัลนำพามาด้วยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ 


ตำแหน่งโฆษณาที่ดี มีชัยมากกว่าครึ่ง

ขึ้นชื่อว่าการทำโฆษณาแล้ว โจทย์ของนักการตลาดส่วนใหญ่ก็ต้องการ Awareness หรือการรับรู้ในจำนวนมาก หรือมากไปกว่านั้นก็ต้องการเทิร์นการรับรู้เหล่านั้น มาเป็น Conversion หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือช่องทางการขาย เพื่อที่สามารถปิดการขายได้

นอกจากการสร้างการรับรู้แล้ว โลเคชั่น หรือจุดที่วางตำแหน่งโฆษณาสำคัญมากๆ ส่งผลต่อการมองเห็น และการตัดสินใจของผู้บริโภคเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าแคมเปญนั้นจะต๊าชมากแค่ไหน แต่ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม จุดที่คนไม่มองเห็น ก็เปล่าประโยชน์ แคมเปญอาจจะพังไม่เป็นท่าเลยก็ได้ สมัยนี้แค่คอนเทนต์ถูกใจ หรือภาพถูกตาก็ยังไม่พอ ต้องเลือกแพลตฟอร์มให้ถูกที่และวางให้ถูกเวลาอีกด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์คุ้มค่า โดนใจ มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เมื่อเครื่องมือการตลาด หรือแพลตฟอร์มมากมายเต็มไปหมด หลายเจ้าต่างชูจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว ต้องบอกว่าเครื่องมือการตลาดในยุคนี้คงไม่มีอะไรที่น่าสนใจไปกว่า LINE อีกแล้ว เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคน/เดือน มียอดแอคทีฟยูเซอร์ในระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

ที่สำคัญก็คือ กลุ่มผู้ใช้หลากหลาย ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทุกคนใช้ LINE ในการพูดคุยในชีวิตประจำวัน อีกทั้งในแต่ละวันคนไทยยังอยู่บน LINE โดยเฉลี่ยรวมเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแอปฯ ที่คนไทยเปิดกันบ่อยตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอนกันเลยทีเดียว

วันนี้ทาง Positioning จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมการลงโฆษณาบน LINE ถึงมีประสิทธิภาพ แล้วตำแหน่งไหนที่จะทำให้ Ads มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือโฆษณาตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Smart Channel หรือ Smart Channel Ads นั่นเอง


ทำไม Smart Channel ถึงเวิร์ก?

Smart Channel เป็นตำแหน่งโฆษณาที่ขึ้นอยู่ด้านบนหน้ารายการ Chat ของ LINE เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่มีการเข้าใช้งานสูงที่สุดบน LINE เพราะผู้ใช้จะเห็นห้องแชทของเพื่อนๆ หรือ กลุ่มโดยรวม ก่อนที่จะกดเข้าไปแชทนั่นเอง โดยรูปแบบโฆษณาที่แบรนด์สามารถนำมาขึ้นบนตำแหน่ง Smart Channel นี้แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  1. VDO Expandable Ads แบรนด์สามารถจัดทำชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบ VDO เพื่อให้ลูกค้าคลิกขยาย และดูวิดีโอโฆษณาได้ทันที เสริมประสบการณ์ของลูกค้าในการรับข้อมูลสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ ก่อนที่จะสามารถคลิกเพิ่มเติมไปยังหน้าปลายทางที่แบรนด์ต้องการต่อได้
  2. Static Banner แบนเนอร์โฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งที่สามารถนำลูกค้าไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือหน้าปลายทางที่ต้องการได้ในคลิกเดียว ถือเป็นเครื่องมีทรงประสิทธิภาพในการสร้างทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์อย่างมาก

คำถามที่ตามมาก็ได้ ทำไมการทำโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ถึงประสบผลสำเร็จ การทำโฆษณาในยุคปัจจุบัน เป็นยุคของการทำ Personalized ads โดย LINE มีเครื่องมือที่พร้อมที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ ถูกเวลา ตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้า โดยลูกค้าจะมองเห็นคอนเทนต์และโฆษณาในตำแหน่ง Smart Channel นี้ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ด้วยการทำงานของ AI / Machine learning จากพฤติกรรมในอดีต 

เช่น ลูกค้าจะเห็นเพียง 3-6 คอนเทนต์ต่อวันเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่ทำให้จดจำโฆษณาได้ดีกว่า แต่ละคอนเทนต์ จะปรากฎอยู่เพียง 30 นาทีเท่านั้น และในบางคอนเทนต์จะไม่มาให้เห็นอีก ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือ จุดที่วางโฆษณาค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะอยู่ในตำแหน่งบนสุดของรายการแชท ส่วนถ้าเวอร์ชั่นเดสท์ท็อปจะอยู่แถบล่างสุด เรียกว่าไม่รบกวนสายตาจนเกินไป ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ หรือคิดว่าถูกยัดเยียดให้ดูโฆษณา ผู้ใช้สามารถกดปิดได้ด้วย

การทำงานของ AI และ Machine Learning ของ LINE มีประสิทธิภาพสูง เพราะเป็นการเก็บข้อมูลจาก Ecosystem ทั้งหมด อาทิ พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ การเข้าดูข้อมูลต่างๆ บน LINE สิ่งที่สนใจหรือชอบ พฤติกรรมการตอบรับต่อข้อมูลของลูกค้าในรูปแบบ Real Time (เวลาเห็นข้อมูล มีการ React  อย่างไร)

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ Smart Channel เป็นพื้นที่และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพราะ ไม่เป็นการให้ข้อมูล หรือโฆษณาแบบถาโถมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ หรือถูกรบกวนจนเกินไป อยู่บนตำแหน่งที่โดดเด่น ส่งผลให้การมองเห็นโฆษณาของกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละครั้งมีความหมาย น่าจดจำ และมีแนวโน้มในการนำไปสู่ความสนใจในสินค้าและบริการ ด้วยตัวเลขพิสูจน์ประสิทธิภาพของโฆษณาในแต่ละประเภทบน Smart Channel เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาแบบทั่วไปในตลาด ซึ่งถือว่าสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น


ทำเลทอง สร้างการจดจำได้มากกว่า

ถ้าให้เจาะถึงสถิติของรูปแบบโฆษณาแต่ละประเภทบน Smart Channel ต้องบอกว่ามีตัวเลขที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เป็นสถิติที่ค่อนข้างสูง และวัดผลได้ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะยอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานหรือ Reach จากโฆษณาในตำแหน่งนี้ ที่สูงสุดถึง 31 ล้านคนต่อวัน จนกลายเป็นพื้นที่โฆษณาทำเลทอง พร้อมผลสถิติการใช้งานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

โฆษณาประเภท VDO Expandable Ads

  • เรตการคลิกเข้าชม VDO เฉลี่ย 8%
  • เรตการเข้าชม VDO จนจบ เฉลี่ย 15%
  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย3%

โฆษณาประเภท Static Banner

  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย  0.7%

นอกจากรูปแบบของชิ้นงานโฆษณาที่แบรนด์สามารถเลือกทำเป็นวิดีโอหรือภาพนิ่งได้แล้ว นักการตลาดยังสามารถวางแผนการทำการตลาดได้ล่วงหน้า เลือกอัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือ target reach ของโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ไม่ว่าจะเป็น 25%, 50%, 75% หรือ 100% เต็มเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่วางไว้ด้วยได้เช่นกัน


กรณีศึกษา 3 แบรนด์ใหญ่ กับผลลัพธ์สุดปัง

ถ้ามาเล่าถึงรูปแบบการโฆษณาอย่างเดียวคงจะไม่เห็นภาพว่ามันทรงพลังอย่างไร จึงขอเล่าถึงกรณีศึกษาของแบรนด์ที่ลงโฆษณาในรูปแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ ได้ผลลัพธ์สุดปัง

LINE BK กับผลงานโฆษณาสินเชื่อออนไลน์ โดยได้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟในรูปแบบ Static Banner ได้ตรงใจ key message ชัดเจน เข้าใจง่ายและเข้ากับช่วงเวลา พร้อมเลขโปรโมชั่นที่จัดวางได้อย่างน่าดึงดูดใจ เมื่อวางในตำแหน่ง Smart Channel ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก จึงสามารถสร้างคลิกเรต (CTR) ได้กว่า 1.53% ซึ่งถือเป็น Best Practice ของโฆษณาบนช่องทางนี้ทีเดียว

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเสนอโฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งหรือ Static Banner บนตำแหน่ง Smart Channel เช่นกัน โดยนำเสนอแคมเปญวัคซีนโมเดอน่าให้กับคนไทย โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างครอบคลุม คือกลุ่มคนที่สนใจเรื่องวัคซีน สุขภาพ การแพทย์ และเมื่อคอนเท้น งานครีเอทีฟสื่อสารได้ชัดเจน วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แคมเปญจึงประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สร้างคลิกเรต (CTR) ได้มากถึง 1.41%

KFC เป็นอีกหนึ่งเคสที่น่าสนใจ ทำโฆษณาในรูปแบบ VDO Expandable Ads เพื่อโปรโมทโปรไก่ทอดเซ็ตพิเศษ เฉพาะวันอังคาร เพื่อตอกย้ำให้คนจดจำโปรได้มากขึ้น ด้วยงานครีเอทีฟ ภาพเคลื่อนไหวที่แค่เห็นก็อดน้ำลายไหลไม่ได้ พร้อมกลยุทธ์การเลือกช่วงเวลาในการนำเสนอโฆษณาบน Smart Channel อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงประสบความสำเร็จด้านการรับรู้เท่านั้น แต่ยังสร้างการจดจำได้ดีต่อลูกค้า ด้วยตัวเลขอัตราการคลิก (CTR) ที่มากกว่า Avg. CTR ใน Smart Channel ถึง 64% นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการแข่งขันด้านโฆษณาที่สูงมากในทุกวันนี้ ทุกแบรนด์แข่งกันให้ลูกค้าเห็น ให้ลูกค้าจดจำได้ แบรนด์จึงต้องอัพเดท และมองหาช่องทางที่ดีที่สุด ที่ตอบโจทย์ที่สุดอยู่ตลอดเวลา Smart Channel บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่เพียงตอบโจทย์ในเรื่องการเข้าถึงคนจำนวนมาก ถูกที่ ถูกเวลา แต่ยังสามารถเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถ Personalized คอนเท้น ให้ถูกใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

ธุรกิจองค์กรที่สนใจ สามารถติดต่อพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ที่ท่านร่วมงานอยู่ หรือตรวจสอบพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/partner เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 

 

]]>
1375974
‘Rabbit’s Tale’ ฉายภาพ ‘การตลาดหลังโควิด’ เมื่อแบรนด์พึ่งตัวเองมากขึ้น ‘เอเจนซี่’ ต้องปรับตัวอย่างไร https://positioningmag.com/1375961 Tue, 01 Mar 2022 12:10:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375961 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบในหลาย ๆ อุตสาหกรรมรวมไปถึง ‘โฆษณา’ โดย สุนาถ ธนสารอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่ง Rabbit’s Tale ก็จะออกมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของการตลาด รวมถึงวงการ เอเจนซี่ หลังยุคโควิดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน และต้องปรับตัวอย่างไร

โควิดทำแบรนด์พึ่งพาตัวเองมากขึ้น

สุนาถ เล่าว่า การเปลี่ยนแปลงของเอเจนซี่ในช่วงยุคที่มีการระบาดของ COVID-19 คือ แบรนด์ลดการพึ่งพาเอเจนซี่ โดยย้ายไปอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มกันหมด และหันไปทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นด้วยตัวเอง ไม่ได้แปลว่าเอเจนซี่จะตาย แต่เอเจนซี่ในรูปแบบเดิม ๆ จะเติบโตได้ช้า

“ในวันที่สื่อโฆษณาโตเกินจริง โควิดกลับเข้ามาทำให้มันอยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ทำให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เอเจนซี่โฆษณาแบบเดิมจะอยู่ยาก เพราะดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น”

จากการเก็บตัวเลขของ Gartner ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขงบการตลาดของแบรนด์ทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ 10-12% ของรายได้ แต่ในปี 2021 งบลดลงโฆษณาลงเหลือแค่ 6.4% เนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่ที่น่าสนใจคือ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมางบประมาณในการเสริมด้านดิจิทัลให้กับแบรนด์ อาทิ การทำดาต้า, การทำทรานส์ฟอร์มเมชั่นต่าง ๆ กลับเพิ่มขึ้น

เมื่อแยกดูงบการตลาดของแบรนด์ว่าใช้ไปกับอะไรบ้าง พบว่า 72.2% ใช้กับ Digital Marketing โดยแบ่งเป็น

  • Owned Digital (Website 10.1%, Email 9.7% และ Mobile 9.7%)
  • Paid Digital (Digital ads 11.2%, Search ads 9.7%)
  • Earned Digital (Social 11.3%, SEO 10.5%)

ส่วนสิ่งที่แบรนด์เน้นหนักในปี 2021 ได้แก่

  • เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้า (51%)
  • สร้างช่องทางการเข้าถึงใหม่ ๆ (45%)
  • การสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อพาโปรดักส์เข้าสู่ตลาด (41%)

“สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าหลังจากเกิดโควิด แบรนด์เริ่มหันมาสร้างรากฐานทรัพยากรของตัวเองให้แข็งแรง ลดการพึ่งพาแพลตฟอร์มลงอย่างเห็นได้ชัด และงบที่ใช้กับการตลาดก็เทไปที่ช่องทางดิจิทัล”

สุนาถ ธนสารอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่ง Rabbit’s Tale

ไทยเทงบไปกับโซเชียลและอินฟลูฯ

สำหรับไทยงบโฆษณาก็ลดลง โดยในปี 2020 เม็ดเงินโฆษณาลดลงเหลือ 107,719 ล้านบาท และในปี 2021 ลดลงเหลือ 107,151 ล้านบาท โดยเกือบทุกสื่อได้รับผลกระทบหมด ยกเว้น ทีวี และ ดิจิทัล ที่เติบโต อย่างไรก็ตาม การเติบโตของสื่อดิจิทัลเติบโตถึง 11 เท่าเมื่อเทียบกับทีวี เนื่องจากสามารถดึงลูกค้าได้จริง วัดผลได้แม่นยำ สามารถทดลองทำทีละน้อย ๆ นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับทุกสื่อ

โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สื่อดิจิทัลเติบโต 2 หลักมาอย่างต่อเนื่องยกเว้นปี 2020 ที่เจอกับโควิด โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าราว 23,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดิจิทัลเอเจนซี่ไม่ได้รุ่งอย่างที่คิด เพราะกว่า 50% ใช้ไปกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Facebook (32%) YouTube (18%) ตามมาด้วยอินฟลูเอนเซอร์ (9%) ส่วน ครีเอทีฟหรือเอเจนซี่มีเม็ดเงินเพียง 2,000 กว่าล้านบาทคิดเป็นอันดับที่ 4

อย่างไรก็ตาม แม้บริบทในปัจจุบันของไทย แบรนด์จะพึ่งพาแพลตฟอร์มอยู่มาก แต่เชื่อว่าอนาคตแบรนด์จะเริ่มพึ่งพาตัวเองมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคและกลไกของตลาด และการอยู่รอดในระยะยาว

“เทรนด์ของตลาดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Data Privacy ทำให้แบรนด์เริ่มเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคได้ยากขึ้น และหากต้องพึ่งพาข้อมูลจากแพลตฟอร์มกลางจะทำให้แบรนด์ยิ่งรู้จักลูกค้าน้อยลง แถมจ่ายแพงขึ้นอีกอย่างน้อย 30% การทำตลาดแบบ Direct to Consumer (D2C) จะยิ่งทำให้แบรนด์เลิกพึ่งพาตัวกลาง ดังนั้น ไทยเองก็จะตามเทรนด์โลกไป”

เอาตัวรอดอย่างไรในยุคตลาดแข่งดุ

ที่ผ่านมา ตลาดเอเจนซี่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดเนื่องจาก 4 ปัจจัย ได้แก่

  • บุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้ต้องแย่งตัว
  • ตลาด Fragment โดยแบรนด์เริ่มใช้เอเจนซี่เป็นแคมเปญไป ไม่ได้อยู่กันยาว และ 1 แบรนด์ใช้หลายเอเจนซี่
  • มีเอเจนซี่เกิดใหม่เยอะ
  • MarTech หรือเทคโนโลยีมาทดแทนการทำงานของเอเจนซี่

ดังนั้น เอเจนซี่จะอยู่ได้ต้องทำงาน เฉพาะทาง (Specialist) มากขึ้น และต้องสามารถใช้ Data + Technology + Creativity เข้ามาประสานงานกัน เพื่อสร้าง ประสบการณ์ (Experience) ที่ดีที่สุดให้กับทั้งแบรนด์และผู้บริโภค เพราะประสบการณ์คือสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ยั่งยืนในระยะยาว และบทบาทของเอเจนซี่ในอนาคตจะต้องเป็น พาร์ตเนอร์ช่วยดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โควิดทำให้เอเจนซี่ต้องอยู่ในโหมด เอาตัวรอด จนทำแต่เป้าระยะสั้นคือ การสร้างยอดขาย ลืมมองภาพใหญ่ของนักการตลาดไป ที่ต้องสร้างแบรนด์, ดูแลชื่อเสียงของแบรนด์ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)”

รีแบรนด์ Rabbit Tale สู่ Experience Agency

ตลอด 10 กว่าปีที่ให้บริการมานั้น Rabbit Digital Group (RDG) เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นตัวนำเพื่อผลิตผลงาน แต่ตอนนี้จะต้องสอดประสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าที่ตรงจุดมากขึ้น ดังนั้นจึง รีแบรนด์ใหม่เป็น Rabbit’s Tale พร้อมปรับโครงสร้างองค์กรใหม่สู่ Experience Agency

ทุกวันนี้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Customer Data Platform, Marketing Automation, Marketing Cloud, AI, Blockchain ไปจนถึง Metaverse ที่เข้ามา Disrupt หลาย ๆ อุตสาหกรรมไม่เว้นแม้แต่วงการสื่อสารการตลาด เอเจนซี่เองก็ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้

สำหรับการรีแบรนด์ครั้งนี้ Rabbit’s Tale ได้เปิดตัวโลโก้และอัตลักษณ์องค์กรใหม่ สะท้อน Inspiration, Innovation, Creativity, Energy และ Wisdom ที่พร้อมด้วยโครงสร้างและไดเร็กชันขององค์กรรูปแบบใหม่ ควบรวมบริษัทย่อยเป็น Business Group 4 กลุ่ม ตามเซอร์วิสที่นำเสนอและความเชี่ยวชาญขององค์กร ดังนี้

  • Advertising Business Group หรือ Rabbit’s Tale AD โดยแบ่งเป็น 3 เซอร์วิสหลัก ได้แก่

– Branding and Marketing Solutions สร้างสรรค์งานโฆษณา วางกลยุทธ์ของแบรนด์และตราสินค้า

– Social Media Management ที่จะดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ของแบรนด์ ทั้งการสร้างตัวตน คอนเทนต์ รวมถึงการดูแล Online Community ต่าง ๆ

– Performance Marketing ที่ช่วยซัพพอร์ตเรื่องการจัดการมีเดียและการซื้อสื่อในช่องทางต่าง ๆ

  • Public Relations Business Group หรือ Rabbit’s Tale PR บริการด้านการประชาสัมพันธ์แบบไฮบริด (Hybrid)
  • Data and Interactive Business Group หรือ Rabbit’s Tale DI เน้นย้ำการสร้าง End-to-End Experience ให้กับทั้งแบรนด์และผู้บริโภค ทั้งการขาย การบริการและการสร้างความสัมพันธ์หลังการขาย
  • CX Solutions Business Group หรือ Rabbit’s Tale CX คือทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Customer Experience และ Enterprise Solutions อาทิ Marketing Technology, Customer Data Platform, Automation ไปจนถึง Marketing Cloud Solutions

นอกจากนี้ยังมีบริษัทย่อยในเครืออีก 2 บริษัท นั่นก็คือ The Zero Publishing และ Pickle Influencer โดย The Zero Publishing เป็นธุรกิจพับลิชเชอร์ สื่อออนไลน์รุ่นใหม่มี 4 Publisher ได้แก่ Mango Zero, ThumbsUp, RAiNMAKER และ Parents One และมี Rabbit Virtual Experience บริการ LIVE streaming แบบเต็มรูปแบบ ส่วน Pickle Influencer เป็น Influencer Marketing Platform

]]>
1375961
สดใสแน่! ‘MI Group’ ประเมิน ‘เม็ดเงินโฆษณา’ ปี 65 โต 12% หลังติดลบ 2 ปีซ้อน https://positioningmag.com/1375051 Wed, 23 Feb 2022 08:26:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375051 ปิดปี 64 ไปแบบจืด ๆ สำหรับเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาที่ -0.6% มีมูลค่าราว 7.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเจอโควิดสายพันธุ์ ‘เดลตา’ ทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถฟื้นตัวแม้ว่าจะมี ‘วัคซีน’ ก็ตาม แต่ในปี 65 นี้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group) มองว่ายังไงอุตสาหกรรมก็ต้อง ‘เติบโต’ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่ม ‘ไม่แคร์’ กับการมาของสายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนภัยระดับ 4 เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 กลับมาพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โต 12% เพราะอั้นทั้งแบรนด์และผู้บริโภค

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ได้ประเมินเม็ดเงินสื่อโฆษณาปีนี้ว่าน่าจะเติบโตได้ +5% อย่างไรก็ตาม MI Group คาดการณ์ว่าปีนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตได้ถึง +12% หรือราว 84,000 ล้านบาท จากปี 2564 อยู่ที่ 74,713 ล้านบาท

โดยสัญญาณกลับคึกคักของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา น่าจะเริ่มเห็นตัวเลขชัดเจนในช่วง Summer นี้ MI Group คาดการณ์โดยเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันคือ มีนาคม-พฤษภาคม ปีนี้และปีที่แล้ว เม็ดเงินโฆษณาน่าจะสูงขึ้นกว่า +10% หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท (จาก 19,766 ล้านบาท เป็น 21,759 ล้านบาท) โดยช่วงเดือนมกราคม +1.2% ปิดที่ 6,039 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ปัจจัยบวกมาจากประชาชนส่วนหนึ่งเริ่มคลายความวิตกกังวล เริ่มกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากขึ้น อาจเป็นเพราะได้รับวัคซีนแล้ว และแม้สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จะติดได้ง่ายกว่าแต่ว่าอาการไม่รุนแรง อีกทั้งหน่วยงานสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลดีต่อการระบาดของ COVID-19 ที่จะปรับสถานะเป็น endemic หรือโรคระบาดท้องถิ่นทั่วไป ทำให้การใช้ชีวิตของประชาชน และการดำเนินธุรกิจกลับมาใกล้เคียงปกติมากขึ้น

นอกจากนี้ จากผลการสำรวจโดย Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) หรือ HILL ASEAN ประจำประเทศไทยล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เกี่ยวกับ “ภาพรวมความสุขและความเชื่อมั่นของคนไทยต่อสถานการณ์ Covid-19 และเศรษฐกิจในปัจจุบัน” โดยกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 44% คาดว่าในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ตัวเองน่าจะมีความสุขในการดำเนินชีวิตมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา และมีเพียง 6% ที่คาดว่าตัวเองจะมีความสุขน้อยลง

“เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเขาต้องปรับตัวอยู่กับโควิด ต้องออกไปใช้ชีวิต ดังนั้น แม้ว่าจะติดเยอะแต่เห็นความคึกคัก มีการใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้น ไม่แคร์มากขึ้น เพราะคนอยากกลับมาใช้ชีวิตปกติหลังอัดอั้นมากว่า 2 ปี ผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องกระตุ้นตลาดเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินกำลังซื้อที่มีอยู่อย่างจำกัดของผู้บริโภคส่วนใหญ่”

ทีวีครองสัดส่วนไม่ถึง 50%

1.สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ (Broadcast TV) จะมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาลดลงไปต่ำกว่า 50% เป็นปีแรก (หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท) โดยปัจจุบันมีช่องเพียง 5-6 ช่องเท่านั้นที่ยังมี Eye Ball อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ทีวียังคงความเป็นสื่อหลักอันดับหนึ่ง

“สื่อทีวีเป็นสื่อที่ถดถอยแต่ที่ยังเติบโตได้ มีละครและรายการข่าว ขณะที่ช่องเองก็ต้องพยายามหาเงินมาพยุง ดังนั้น จะเห็นการไทอินสินค้าในรายการข่าวแน่นอน รวมไปถึงการหารายได้จากรายการ ‘ทีวีช้อปปิ้ง’ แต่มีมากไปก็ไม่ดี อาจทำให้สูญเสียผู้ชมหรือเรตติ้ง ดังนั้น ต้องหาสมดุลให้ได้เพื่อหารายได้และรักษาฐานผู้ชม

2.สื่อดิจิทัล (Online) และสื่อนอกบ้าน (OOH) จะมีสัดส่วนที่โตขึ้น คือ 32% และ 13% ตามลำดับ โดยเฉพาะสื่อนอกบ้าน ที่หดตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากวิกฤต COVID-19 ทั้งนี้ เม็ดเงินรวมของ 2 สื่อหลักนี้สูงกว่า 38,000 ล้านบาท

3.สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล (Online) ที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องมาหลายปีจะยังเติบโตอีก +16% หรืออยู่ที่ 27,000 บาท โดยตัวขับเคลื่อนหลัก ๆ จะมาจาก KOLs (Influencers) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดในหลากหลายธุรกิจมากขึ้น โดย KOLs มีส่วนแบ่งของเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัลมาเป็นอันดับ 3 รองจาก Facebook และ YouTube

โดยในปีนี้ KOLs กลุ่มใหม่ที่มาแรงคือ กลุ่มการเงิน การลงทุนและเก็งกำไรในรูปแบบใหม่ หรือ FIN-fluencers (ซึ่งมาจาก Finance + Influencers) จากอิทธิพลและกระแสความสนใจในเรื่องการลงทุนในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ อาทิ การเทรดเหรียญคริปโต, การเทรดหุ้น SET, NFT เป็นต้น นอกจากนี้ KOLs กลุ่ม รถยนต์ โดยเฉพาะเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าจะยิ่งได้เติบโต

กลุ่มรถยนต์โหมหนักเพราะดันรถอีวี

ในส่วนของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสเป็นพิเศษในปีนี้ ได้แก่

1.รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) ที่ราคาน่าดึงดูดมากขึ้น เพราะได้อานิสงส์จากมาตรการอุดหนุนจากภาครัฐ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงนี้

2.รถจักรยานยนต์ จากสถานการณ์ที่เริ่มผ่อนคลาย หลายธุรกิจและบริการเริ่มกลับมาดำเนินกิจการต่อ ประกอบกับแรงงานบางส่วนคืนถิ่นฐานภูมิลำเนา รถจักรยานยนต์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตในสภาพเศรษฐกิจที่ยังซบเซาอยู่

3.ธุรกิจและบริการที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ เช่น E-Market Place, Delivery Service, Health & Hygienic Care ที่คนส่วนใหญ่ปรับตัวและให้ความสำคัญมากขึ้นจากสถานการณ์โควิดจนเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติไปแล้ว

4.เครื่องดื่ม Non-alcohol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Functional Drinks/ Healthy Drinks และ Innovative Drinks หรือเครื่องดื่มนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เครื่องดื่มกัญชา เป็นต้น

5.ธุรกิจที่เกี่ยวกับความงามและสุขภาพ Skin Care Products, Beauty Clinic เมื่อการออกไปใช้ชีวิตเริ่มกลับมาปกติมากขึ้น เรื่องความสวยความงามที่เคยละเลยและมองข้ามไปได้บ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กลับต้องมาดูแลและใส่ใจมากขึ้น

6.สินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล หลายสถาบันทางการเงินจะคลายความเข้มงวดและปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ตามสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยมีความหวังที่จะฟื้นตัว ซึ่งเทรนด์จะเป็นสินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล ที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น

7.ทางเลือกการลงทุน การเก็งกำไรในรูปแบบใหม่ แพลตฟอร์มเทรดเหรียญคริปโต, ระบบเครือข่ายและตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ (Drop ship)

8.กลุ่มสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกไปใช้ชีวิต เช่น ร้านอาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

3 ข้อแนะนำสำหรับวางแผนการตลาด

1.Performance Media (Performance Marketing Communication) ความจำเป็นของเครื่องมือสื่อสารการตลาด ที่ต้องวัดผลประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน (เช่น ปฏิกิริยาของกลุ่มเป้าหมายต่อแบรนด์, ยอดขาย เป็นต้น) ซึ่งไม่เพียงแค่ Social Media เท่านั้นที่สามารถวัดผลหรือเป็น Performance Media ได้ สื่อดั้งเดิมอย่าง TV หรือ Out of Home ก็สามารถวัดผลได้ หากมีการวางแผนออกแบบขั้นตอนไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่ตอนต้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย

2.Data Driven For Marketing Technology การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ สามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและโอกาส เพื่อใช้กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่เมื่อวาน และนำมาใช้กับเครื่องมือช่วยทางการตลาด (Marketing Technology) ที่ให้ผลประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลง สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากขึ้น หรือ การใช้เครื่องมือช่วยทางการตลาดร่วมกับข้อมูลที่จัดเก็บมา สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทันใจ รู้ใจ โดนใจและได้ใจ (Fragmented Audiences Personalized Marketing)

ภาพจาก virtualspatialsystems.com

3.Metaverse/ Cryptocurrency/ NFT ควรติดตามและศึกษาวิเคราะห์กระแสความนิยมในเรื่องใหม่ ๆ อย่างรอบด้าน ไม่จำเป็นต้องคว้าทุกโอกาส หรือขี่ทุกกระแส เพราะนั่นอาจทำให้เราต้องเสียทรัพยากรไปโดยไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ กลับมา “Not necessary to “Trial and Error”, you can learn the best practices”

อย่าง Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมาก ๆ ดังนั้น ยังคงต้องติดตามทิศทางที่ชัดเจนขึ้นและการพัฒนา Technology & Infrastructure ถึงจะสรุปได้ว่าธุรกิจหรือบริการจะสร้างโอกาสและยั่นยืนในระบบนิเวศใหม่นี้หรือไม่อย่างไร แต่ถ้าต้องการเพียงแต่ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้ ในการสร้างสีสันให้กับธุรกิจหรือแบรนด์ ต้องมีไอเดียที่น่าสนใจ โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ลงทุนไปและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับว่าคุ้มหรือไม่

อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณบวกต่าง ๆ ดังกล่าว ที่ส่งผลต่อตัวเลขคาดการณ์ปี 2565 ยังคงมีอีกหลายปัจจัยความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ยังคงมีอยู่และดูจะสาหัสมากขึ้นจากวิกฤตโรคระบาด, การกลายพันธุ์ของ Omicron สายพันธุ์ใหม่ BA.2, ปัญหาสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน, ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอื่น ๆ อาจเป็นตัวชะลอให้การเติบโตต่ำกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้ โดยทาง MI Group ยังคงจำเป็นต้องติดตามและประเมินสถานการณ์กันเป็นรายสัปดาห์ต่อไป

]]>
1375051