เมื่อประมาณ 1 ปีก่อน Twitter มีการออกฟังก์ชันใหม่เป็นการสมัครสมาชิกในชื่อ Twitter Blue ราคา 4.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 190 บาท) สมาชิกจะมีสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นบางประการ เช่น สามารถอ่านข่าวในเว็บไซต์บางแห่งได้โดยไม่มีโฆษณาแทรก สามารถปรับแต่งสีไอคอนของแอปฯ บนมือถือตัวเองได้
ที่สำคัญคือ บัญชีที่เข้ามาขอรับ Verified Badge หรือเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชี (เครื่องหมายที่ทำให้คนรู้ว่าบัญชีนี้เป็นบัญชีทางการของจริงของคนดังหรือองค์กร) เมื่อได้เครื่องหมายไปแล้ว จะถูกบังคับให้สมัคร Twitter Blue ภายใน 90 วัน มิฉะนั้นเครื่องหมายจะหายไป
ล่าสุดสำนักข่าว The Verge รายงานจากแหล่งข่าววงในว่า อีลอน มัสก์ สั่งทำแผน เพิ่มราคา Twitter Blue ขึ้น 4 เท่าตัวเป็น 19.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 760 บาท) และให้บัญชีที่ต้องการจะมี Verified Badge ต้องสมัครสมาชิกเข้ามาก่อน
รายงานยังบอกด้วยว่า พนักงานที่ต้องรับผิดชอบโครงการนี้เพิ่งได้รับคำสั่งให้ปรับฟีเจอร์ดังกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และถูกกำหนดเส้นตายว่าต้องทำให้เสร็จพร้อมเปิดตัวในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2022 หรือมิฉะนั้นจะถูกไล่ออกทันที
มัสก์พูดมาตลอดหลายเดือนก่อนจะเข้าซื้อ Twitter ว่าเขาต้องการจะปรับระบบตรวจสอบตัวตนเจ้าของบัญชี และต้องจัดการกับบอทมากมายในระบบด้วย
เจ้าของคนใหม่ที่มาพร้อมกับการตั้งชื่อตำแหน่งใหม่ให้ตัวเองว่า “Chief Twit” ยังดึงตัววิศวกรที่ Tesla เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในบริษัท พร้อมกับวางแผนจะเลย์ออฟพนักงานชุดใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานระดับผู้จัดการระดับกลางและกลุ่มวิศวกรที่ไม่ได้เขียนโค้ดให้ระบบเมื่อเร็วๆ นี้
การเลย์ออฟดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มขึ้นภายในสัปดาห์นี้ หลังพนักงานระดับผู้จัดการถูกสั่งให้จัดลิสต์พนักงานที่จะถูกให้ออกแล้ว
อีลอน มัสก์ เข้ามาเทกโอเวอร์บริษัท Twitter เมื่อช่วงเย็นวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2022 และพนักงานคนใดก็ตามที่ถูกดึงตัวมารับผิดชอบโครงการใหม่ของมัสก์จอะต้องทำงานอยู่ดึกและทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาด้วย
ที่ผ่านมา Twitter มีแหล่งรายได้หลักมาจากเงินค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์ม มัสก์มองว่าจะต้องเพิ่มยอดสมัครสมาชิกให้ได้มากกว่า เพื่อเป็นแหล่งรายได้ให้ได้ถึงกึ่งหนึ่งของรายได้รวมบริษัท ซึ่งการพุ่งเป้าไปที่เครื่องหมาย Verified Badge ดูจะเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ เพราะเหล่าคนดัง/องค์กรต่างๆ ที่มีตัวตนบน Twitter คงไม่อยากจะเสียเครื่องหมายนี้ไป
]]>สื่อของอังกฤษอย่างเดอะการ์เดียน ผู้รายงานข่าวนี้เผยว่า การมาบรรยายที่อังกฤษนี้เป็นส่วนหนึ่งของกำหนดการทัวร์ยุโรปของ ทิม คุก เพื่อซัปพอร์ตโครงการอบรม Everyone Can Code ของแอปเปิล ซึ่งในระหว่างบรรยาย
ทิม คุก ได้กล่าวออกมาตรง ๆ ว่า เขาไม่ใช่คนที่จะบอกว่า ที่การใช้งานเทคโนโลยีตลอดเวลาจะทำให้เราประสบความสำเร็จได้
แน่นอนว่าประเด็นนี้มีความเกี่ยวข้องกับอดีตซีอีโอผู้ล่วงลับอย่าง สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ที่แม้จะเป็นซีอีโอบริษัทเทคโนโลยี และเป็นผู้คิดค้นไอโฟน แต่การเลือกเรียนของสตีฟ จ็อบส์ จะเน้นไปที่คอร์สเกี่ยวกับศิลปะ และมนุษยวิทยา รวมถึงการลงเรียนเกี่ยวกับ Typography หรือการออกแบบตัวอักษร ซึ่งต่อมาได้นำมาใช้ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลในที่สุด
ทิม คุก ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้งานโซเชียลมีเดียด้วยว่า แม้เขาจะไม่มีลูก แต่เขาก็มีหลาน และมีข้อกำหนดในการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ให้เด็ก ๆ เช่นกัน นั่นคือเขาไม่ต้องการให้หลาน ๆ อยู่บนโซเชียลเน็ตเวิร์กใด ๆ
คำกล่าวของทิม คุก กลายเป็นประเด็นที่สื่อหยิบยกขึ้นมาโจมตีโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างกว้างขวาง โดยมีการโยงไปถึงงานวิจัยจำนวนมากก่อนหน้านี้ที่ศึกษาพบว่า การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กมากเกินไปนำไปสู่การป่วยด้วยภาวะซึมเศร้าได้
ขณะที่ในอีกมุมหนึ่ง แอปเปิลเองเป็นบริษัทที่ไม่มีแอ็กเคานต์ของทวิตเตอร์ (Twitter) ไว้ใช้งานเลยจนกระทั่งปี 2016 และถึงมีการสมัคร แต่แอปเปิลก็ไม่เคยใช้แอ็กเคานต์นั้น ในการทวีตข่าวสารใด ๆ แม้แต่ครั้งเดียวด้วย.
สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000008687
]]>