เลอโนโว (Lenovo) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน ได้มีการโชว์ ThinkBook Transparent Display Laptop แล็ปท็อปตัวต้นแบบที่มี หน้าจอโปร่งใส สามารถมองทะลุได้ นอกจากนี้ ตัวคีย์บอร์ดและแทร็กแพดยังเป็นแบบ จอสัมผัส ซึ่งจะเป็นการฉายภาพแป้นพิมพ์ ดังนั้น ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากคีย์บอร์ดหรือสไตลัสสำหรับใช้วาดภาพได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ด้านหลังของจอยังมีกล้องขนาดเล็กที่มีเอไอ ซึ่งปัญญาประดิษฐ์นี้จะสามารถให้ข้อมูลกับวัตถุที่อยู่หลังจอได้
โดยเลอโนโวได้สาธิตฟีเจอร์ดังกล่าวโดยการตั้งดอกทานตะวัน ซึ่งเจ้า ThinkBook Transparent Display Laptop ก็สามารถให้ข้อมูลดอกทานตะวันได้ทันที ซึ่งทางเลอโนโวระบุว่า ฟีเจอร์การใช้งานดังกล่าวมีคอนเซ็ปต์จากการทำงานของ เทคโนโลยี AR ที่สามารถนำเนื้อหาดิจิทัลมาซ้อนทับกับโลกจริง เพราะด้วยคุณสมบัติหน้าจอโปร่งใสสามารถมองทะลุได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นบ้านผ่านหน้าจอ และใช้สไตลัสเพื่อวาดหรือออกแบบได้ทันที ยกตัวอย่างสถาปนิกที่สามารถออกแบบบ้านผ่านหน้าจอได้
หรือในตัวอย่างการใช้งานที่ง่ายที่สุด คือ การใช้งาน ThinkBook Transparent Display Laptop กับสำนักงานแพทย์หรือ Reception ในโรงแรม โดยแทนที่จะต้องพลิกหน้าจอ แต่ผู้ใช้สามารถกลับหน้าจอผ่านซอฟต์แวร์ เพื่อให้ใครก็ตามที่อยู่อีกด้านฝั่งสามารถดูหน้าจอได้
อย่างไรก็ตาม เลอโนโวย้ำว่าตัว ThinkBook Transparent Display Laptop ยังเป็นแค่ตัวโชว์ ยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมวางจำหน่าย แต่ Lenovo ก็มองว่าเทคโนโลยีดังกล่าวอาจถูกนำมาใช้งานจริงภายใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตพีซีกำลังหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพื่อกระตุ้นตลาด หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวอย่างหนัก โดยเมื่อปีที่แล้ว การจัดส่งพีซีลดลงเกือบ 15% เมื่อเทียบเป็นรายปีตามข้อมูลของ Gartner
แน่นอนว่าคอนเซ็ปต์ของการทำแล็ปท็อปหรือสมาร์ทโฟนจอใสนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยย้อนไปในงาน CES 2010 แบรนด์อย่าง ซัมซุง (Samsung) ก็เคยโชว์แนวคิดแล็ปท็อปโปร่งใส ส่วน Lenovo เองก็เคยมีโชว์ตัวสมาร์ทโฟนโปร่งใสในปี 2015 ผ่านทางบริษัทย่อยอย่าง Zuk Mobile ที่ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว รวมถึงมีแนวคิดจะทำสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอม้วนได้ แต่ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดก็คือ หน้าจอ OLED ของ LG ที่มีแผนจะจัดส่งทีวีโปร่งใส OLED Signature T ในปีนี้
]]>การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกปี 2023 ซึ่ง หดตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2022 โดยปี 2023 มียอดขายเพียง 241.8 ล้านเครื่อง ลดลงจาก 284 ล้านเครื่องในปี 2022 และนับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายต่ำกว่า 250 ล้านเครื่อง นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ตลาดพีซีมียอดขายเพียง 230 ล้านเครื่อง
อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 ที่มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต โดย มิคาโกะ คิตากาวะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ มองว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่ ตลาดพีซีมาถึงจุดลดลงต่ำสุดแล้ว และคาดว่าปี 2024 ตลาดจะกลับมาเติบโต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเนื่องจากการขึ้นราคาของชิ้นส่วน รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ
ผู้ขายพีซี 6 อันดับแรกในไตรมาส 4 ปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดย Lenovo, HP, Apple และ Acer มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียง Dell และ ASUS มีอัตราการเติบโตลดลง โดยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Lenovo มีการเติบโตในการจัดส่งพีซีทั่วโลก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ส่วน HP มีการเติบโตเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี ขณะที่ Dell มีการเติบโตลดลงเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี
เนื่องจากปัญหาพิษเศรษฐกิจในจีนส่งผลกระทบต่อความต้องการพีซี และยังกระทบรุนแรงต่อ Lenovo เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม Lenovo สามารถทำตลาดได้ดีในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (หรือ EMEA) รวมถึงตลาดอเมริกาที่เติบโตในระดับเลขสองหลัก ซึ่งชดเชยตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่หดตัว
ตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และอเมริกาเหนือ (EMEA) มีการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยถือเป็นผู้นำการเติบโตทั่วโลก โดยตลาดพีซีใน EMEA มีการเติบโตสูงสุดที่ 8.7% ซึ่งถือเป็นการกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี
นอกจากนี้ ปี 2023 ถือเป็นปีแรกที่ตลาดพีซีในสหรัฐฯ เติบโตนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2021 โดยเพิ่มขึ้น 1.8% ในไตรมาส 4 ปี 2023 ซึ่งการเติบโตของแล็ปท็อปช่วยชดเชยการเติบโตที่ลดลงของเดสก์ท็อป โดย HP ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดพีซีในสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.7% ตามมาด้วย Dell ที่ 24.2%
“การเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดมีเสถียรภาพในระหว่างไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยให้การใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย”
ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงหดตัว -8% ในช่วง Q4/2023 โดยได้รับแรงกดดันจากยอดที่ตกต่ำในจีน นับเป็นการลดลงติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดยแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเป็นอุปกรณ์ไอทีสองชนิดที่เติบโตลดลงในภูมิภาคนี้ ซึ่งเดสก์ท็อปได้รับผลกระทบมากกว่าโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวมปรับตัวลดลงระดับเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกมีการลดลงเล็กน้อย ส่วนตลาดเกิดใหม่เติบโตขึ้นเพียงเลขหลักเดียว
]]>รายได้ของ Lenovo บริษัทผู้ผลิตพีซีสัญชาติจีนที่ครองแชมป์ยอดขายอันดับ 1 ของโลก ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการของตลาดทั่วโลกยังคงตกต่ำ แต่ Wong Wai-Ming CFO ของ Lenovo กล่าวว่า บริษัทไม่ได้มีความกังวลใจถึงยอดขายที่ลดลง เพราะมั่นใจว่า หากตลาดกลับสู่ภาวะปกติ บริษัทจะเติบโตแน่นอน Wong Wai-Ming, CFO ของ Lenovo กล่าว
“ไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณเป็นไตรมาสที่ท้าทายที่สุดของปี โดยได้รับแรงกดดันจากทั้งตลาดพีซีและเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม รายได้รวมทั้งปีใของเราทั้งปีไม่ได้ลดลงมากนัก เนื่องจากกลุ่มธุรกิจอีกสองกลุ่มได้ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจบริการ อย่างไรก็ตาม เราเป็นที่หนึ่งในตลาด และเมื่อตลาดกลับสู่สภาวะปกติเราจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน”
แม้จะเชื่อว่าตลาดจะฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลัง แต่ Lenovo กำลังมองเห็นการเติบโตที่สูงขึ้นในธุรกิจอื่น ๆ เช่น โซลูชันโครงสร้างพื้นฐานและบริการ ซึ่งธุรกิจในส่วนนี้ช่วยพยุงรายได้จากส่วนของพีซีที่หดตัวลง โดยรายได้รวมของบริษัทในช่วงไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 24% ถือเป็นการลดลงเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน แต่หากนับเฉพาะรายได้จากฝั่ง พีซีลดลง –33% ส่วนรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ เติบโตขึ้น +7% ปัจจุบัน รายได้จากพีซีคิดเป็น 60% ของรายได้รวม อีก 40% มาจากธุรกิจอื่น ๆ
“รายได้จากธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่พีซีของเราเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 40% ซึ่งกลยุทธ์ที่ชัดเจนของเราคือ ความยืดหยุ่น เพื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทั่วโลก เราจะยังคงลงทุนใน [การวิจัยและพัฒนา] เพื่อคว้าโอกาสการเติบโตระลอกใหม่ ดังนั้นเราจึงเตรียมพร้อมอย่างดีสำหรับอนาคต” Yuanqing Yang ประธานและซีอีโอของ Lenovo Group กล่าว
ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทผู้ผลิตพีซีได้อานิสงส์จากโควิด ที่ทำให้ผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ หันมาซื้อคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊ก รวมถึงสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อทำงานระยะไกล แต่เมื่อพนักงานกลับมาที่ออฟฟิศ ยอดการจัดส่งพีซีก็ลดลง โดยจากข้อมูลของ IDC รายงานว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 การจัดส่งเดสก์ท็อปและแล็ปท็อปทั่วโลกหดตัวประมาณ 30% เหลือ 56.9 ล้านเครื่อง
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยังมองบวกว่าครึ่งปีหลังตลาดจะกลับมาโตอีกครั้ง โดย Lenovo มองว่า เทคโนโลยีที่จะมาช่วยผลักดันตลาดคือ AI ปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเป็นขับเคลื่อนธุรกิจอุปกรณ์ของบริษัท เนื่องจาก AI เข้ามาเร่งความเร็วของการแปลงขององค์กรไปสู่ดิจิทัล
]]>เอเอ็มดี รายงานผลประกอบการไตรมาสแรก โดยมีรายรับ 5.3 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 9% โดยผลขาดทุนสุทธิของบริษัทพุ่งไปที่ 139 ล้านดอลลาร์ โดยไม่รวมการขาดทุนบางส่วนจากการลงทุนและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการ ส่งผลให้หุ้นลดลง 6% ในการซื้อขายระยะยาวในวันอังคาร
รายได้จากกลุ่มพีซีลดลงมากถึง 65% โดยมีรายได้ 739 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 2.1 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อน ขณะที่กลุ่ม Data Center รายได้อยู่ที่ 1,295 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่ม Gaming รายได้ 1,757 ล้านดอลลาร์ ลดลง 6% ขณะที่กลุ่ม Embedded ยังเติบโตสูงถึง 163% มีรายได้ 1,562 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม Lisa Su CEO ของ AMD ยังเชื่อว่า การเติบโตของตลาดพีซีและเซิร์ฟเวอร์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากที่ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อุตสาหกรรมพีซีกำลังตกต่ำอย่างหนัก โดยยอดจัดส่งลดลง 30%
“เราเชื่อว่าไตรมาสแรกเป็นจุดต่ำสุดสำหรับธุรกิจพีซีของเรา”
]]>แอลจีนั้นได้เปิดตัวแล็ปท็อปชื่อ LG gram ตั้งแต่ปี 2015 และปัจจุบันเพิ่งมีวางจำหน่ายไปเพียง 5 ประเทศ เท่านั้น ได้แก่ เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และไทย โดยหากดูตลาดในช่วงปี 2015 ถือเป็นช่วงที่ตลาดคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กทั่วโลกยังอยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่ยอดขาย ลดลง 6.3% ขณะที่ช่วงปี 2018 ตลาดเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แต่กลุ่มสินค้าที่ผลักดันตลาดนั้นเป็นเซกเมนต์ เกมมิ่ง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่แอลจีจะยังไม่ตัดสินใจส่ง LG gram ทำตลาดไทยตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น
อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิดในช่วงปี 2020-2021 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดโน้ตบุ๊กทั่วโลกสามารถ เติบโตได้สูงสุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากผู้คนจำต้องหันมาซื้ออุปกรณ์ไอทีเพื่อทำงานและใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงที่ต้องอยู่แต่บ้าน แต่แอลจีก็ยังเข้ามาตลาดในไทย จนมาปี 2022 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดกลับไปสู่ขาลงอีกครั้ง คำถามคือ แอลจีกลับนำ LG gram มาประเดิมตลาดแล็ปท็อปไทยทำไมในเมื่อเป็นช่วงขาลงของตลาด ทั้งที่ควรนำมารุกตลาดตั้งแต่ช่วงโควิดที่ตลาดกำลังเติบโต
โดย จีรภา คงสว่างวงศา รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจกลุ่มลูกค้าองค์กรและไอที ภาคพื้นอินโดไชน่า บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ยืนยันว่า LG gram นั้นมาถูกเวลา แม้ว่าตลาดโน้ตบุ๊กไทยจะมีแนวโน้มกลับไปเป็นช่วงขาลงก็ตาม แต่เนื่องจากจุดเด่นของ LG gram คือ บางเบาและทนทาน ด้วยน้ำหนักเพียง 1.19 กก. และความทนทานมาตรฐานทางทหาร ซึ่งมั่นใจว่าตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิดที่ออกเดินทางมากขึ้น
นอกจากนี้ LG gram ได้วางตัวจับ กลุ่มพรีเมียม (ราคา 40,000 บาทขึ้นไป) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังมีการแข่งขันไม่สูงอีกทั้งยังมีการเติบโตเพราะไม่ได้ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ ปัจจุบัน แล็ปท็อปพรีเมียมมีสัดส่วนประมาณ 17% มีมูลค่าราว 200 ล้านบาท
“เราคิดมานานกว่าจะลองนำ LG gram เข้ามาจำหน่ายในไทย จนเมื่อเราเห็นว่าเทรนด์คนเริ่มเดินทาง ซึ่งสินค้าเราน่าจะตอบโจทย์โดยเฉพาะเรื่องความเบาและความทนทาน ทำให้ปี 2022 จึงเริ่มนำเข้ามาทำตลาด และตัดสินใจทำตลาดอย่างเต็มตัวในปี 2023 เพราะตอนนี้คนไม่ได้พกแค่มือถือ แต่ต้องการดีไวซ์ที่ตอบโจทย์การทำงานหนัก ๆ ได้” จีรภา กล่าว
จีรภา อธิบายว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อในพรีเมียมข้อแรกคือ ดีไซน์ ที่ต้องเรียบหรูและน้ำหนักเบา อีกจุดคือ ถือแล้วภูมิใจ (Proud to Own) ซึ่งแอลจีมั่นใจว่า LG gram สามารถตอบโจทย์ทุกด้าน ทั้งดีไซน์เรียบหรูมีความโมเดิร์น ขณะที่สเปกต่าง ๆ ก็ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักที่เบา ความทนทาน มีฟีเจอร์ความปลอดภัย ใช้ชิป Intel 13th Generation และภายในปีนี้ แอลจีจะมีไลน์อัพใหม่ ๆ เช่น รุ่นที่ใช้หน้าจอ Oled เข้ามาทำตลาดด้วย
นอกจากนี้ การที่ LG gram ได้วง NewJeans ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีที่กำลังมาแรงเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ระดับโกลบอล ซึ่งก็จะยิ่งช่วยให้ LG gram เข้าถึง Gen Z ซึ่งแอลจีวางไว้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึง เนื่องจากเห็นว่า เทรนด์ความนิยมของศิลปินเกาหลี กำลังมาแรง
“จากที่ลองตลาดในปี 2022 เราเห็นเทรนด์ที่แปลกมากในไทยคือ เขาชอบสินค้าขนาด 16-17 นิ้วมากกว่า ซึ่งในตลาดไม่ค่อยมี นี่ก็เป็นอีกจุดแข็งของเรา โดยเราต้องการเป็นผู้เซ็ตเทรนด์ใหม่ ๆ ให้ตลาด และเรามั่นใจว่าเราเข้าใจกับไลฟ์สไตล์คนไทย”
โดยในการทำตลาดของ LG gram ในปีแรกนี้ แอลจีได้วางงบไว้ 30-50 ล้านบาท โดยจะทำครบ 360 องศา โดยเฉพาะสื่อ Out of Home ซึ่งจะมีการโฆษณาใน เซเว่นอีเลฟเว่น เพื่อสร้างการรับรู้ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่เดินทางไปในที่ต่าง ๆ ส่วนช่องทางการขายนอกเหนือจากร้านค้าปลีกไอที และช่องทางออนไลน์แล้ว แอลจีจะวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกด้านไลฟ์สไตล์ด้วย เช่น ช้อปลำโพง Bang and Olufsen เป็นต้น
ทั้งนี้ แอลจีตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด LG gram ให้เป็น 2% ของตลาดพรีเมียม และมั่นใจว่ายอดขายของ LG gram จะเป็นสัดส่วนถึง 70% ในการสร้างการเติบโตให้กลุ่มสินค้าไอทีเป็น 10% ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มสินค้าไอทีของแอลจีจะเป็นสินค้าจอมอนิเตอร์เป็นหลัก
“แม้แอลจีจะทำตลาดมานาน แต่ในตลาดแล็ปท็อปต้องยอมรับว่าเราเป็นน้องใหม่ แต่เราเชื่อว่าด้วยชื่อแบรนด์ ความยูนีคของฟีเจอร์ ดีไซน์ ความบางเบาและความทนทานของดีไวซ์ เรามั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันในตลาดได้”
ที่น่าสนใจคือ แอลจีได้แอบเผยว่า กำลังตัดสินใจนำ สมาร์ทโฟน กลับมาทำตลาดในไทยอีกครั้งเพื่อนำเสนอ อีโคซิสเต็มส์ ให้ครบ ๆ ใครที่เป็นสาวกก็รอได้เลย ทั้งสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อปรุ่นใหม่จากแอลจี
]]>IDC เปิดเผยว่า ยอดการจัดส่งพีซี, โน้ตบุ๊กทั่วโลกของทุกแบรนด์รวมกันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ลดลง -29% อยู่ที่ 56.9 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าลดลงต่ำกว่าระดับของต้นปี 2562 เนื่องจากความต้องการที่ถูกขับเคลื่อนโดยการทำงานระยะไกลในยุคการระบาดของโควิดได้หายไป
ในบรรดาผู้นำตลาด เช่น Lenovo และ Dell Technologies ลดลงมากกว่า -30% ในขณะที่ HP ลดลง -24.2% ส่วน Asus ลดลง -30.3% และแบรนด์พรีเมียมอย่าง Apple ลดลง -40.5% ดังนั้น จะเห็นว่าไม่มีแบรนด์หลักรายไหนรอดพ้นจากการชะลอตัวของตลาด
สืบเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวในช่วงปีที่ผ่านมาส่งผลให้ตลาดสินค้าไอทีลดลงอย่างมาก อาทิ ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลงเป็นตัวเลขสองหลักด้วยความต้องการที่ลดลงอย่างมาก ทำให้บรรดาซัพพลายเออร์ชิปหน่วยความจำระดับแนวหน้าของโลก อาทิ Samsung กำลังลดการผลิตหน่วยความจำหลังจากรายงานผลกำไรที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2552
อย่างไรก็ตาม IDC มองว่าในปี 2567 ความต้องการของตลาดพีซีอาจฟื้นตัวได้ โดยได้รับแรงหนุนจากการความต้องการอัปเกรดฮาร์ดแวร์และเศรษฐกิจโลกกำลังดีขึ้น
]]>เจฟฟ์ คล้าร์ก ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการร่วมของเดลล์ กล่าวว่า บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง 5% หรือราว 6,650 ตำแหน่ง จากพนักงานทั้งหมด 133,000 คน (ล่าสุด 22 มกราคม 2022) เนื่องการความพยายามในการลดต้นทุนอื่น ๆ เช่น การจำกัดการเดินทาง การหยุดจ้างงานภายนอก และลดการใช้จ่ายด้านบริการจากภายนอก ไม่เพียงพออีกต่อไป
“น่าเสียดายที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ สมาชิกบางคนในทีมของเราจะลาออกจากบริษัท ไม่มีการตัดสินใจไหนที่ยากไปกว่านี้ แต่เราต้องทำเพื่อความสำเร็จในระยะยาวของเรา”
จากตัวเลขของ IDC ระบุว่า การจัดส่งคอมพิวเตอร์ของ Dell ลดลง 37% ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Lenovo, HP และ Apple ลดลง 28% 29% และ 2% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า Dell เป็นแบรนด์ที่มียอดจัดส่งหดตัวมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม คลาร์ก ย้ำว่า เดลล์ที่ได้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาก่อนและนั่นทำให้บริษัท แข็งแกร่งขึ้น และจะพร้อมเมื่อ ตลาดฟื้นตัว
ดูเหมือนว่าการปลดพนักงานในบริษัทเทคโนโลยีจะยังไม่หมดลง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มี PayPal ประกาศแผนปลดพนักงาน 2,000 ตำแหน่ง
]]>ในอดีต Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้งเคยบอกว่า สาเหตุที่ MacBook ไม่ใช้จอสัมผัสเพราะเป็นสิ่งที่ แย่กับหลักสรีรศาสตร์ เพราะถ้าจอแสดงผลของ Mac เป็นระบบสัมผัส มือของเราจะต้องใช้งานในแนวตั้ง และเมื่อใช้งานเป็นเวลานานจะเกิดอาการเมื่อยล้า และ iPad เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากมีคนต้องการอินเทอร์เฟซแบบสัมผัส นอกจากนี้ Apple ยังกังวลว่า Mac หน้าจอสัมผัสอาจส่งผลต่อยอดขาย iPad ได้
“เรารู้สึกจริงๆ ว่าหลักสรีรศาสตร์ของการใช้ Mac คือการที่มือของคุณวางอยู่บนพื้นผิว และการยกแขนขึ้นเพื่อจิ้มหน้าจอเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเหนื่อยที่จะทำ ผมไม่ชอบหน้าจอสัมผัสบนพีซี” Craig Federighi หัวหน้าฝ่ายซอฟต์แวร์ของ Apple เคยกล่าวในปี 2018
อย่างไรก็ตาม วิศวกรของ Apple ได้บ่งชี้ว่า บริษัทกำลังพิจารณาอย่างจริงจังที่จะผลิต Mac แบบจอสัมผัสเป็นครั้งแรก โดยอาจจะใช้ใน MacBook Pro ภายในปี 2025
แน่นอนว่าการที่ MacBook ของ Apple นั้นเป็นเรื่องใหม่ แต่สำหรับคู่แข่งแล้วถือเป็นสิ่งที่มีมานานนับสิบปี ซึ่งจุดนี้อาจเป็นสิ่งที่กดดันให้ Apple ทำเช่นเดียวกัน ขณะที่การกลับมาของ Mac ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจนี้กลายเป็นส่วนที่ ทำเงินมากกว่า iPad โดยในปี 2022 ธุรกิจ Mac ของ Apple สร้างรายได้ถึง 4.01 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 14% จากปี 2021 และบริษัทก็ต้องการให้กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์มีความน่าสนใจมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม Mac แบบจอสัมผัสจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์จำนวนมากเพื่อรองรับการแตะด้วยนิ้ว ซึ่งต้องใช้ปุ่มขนาดใหญ่กว่าแทนการคลิกเมาส์ iPhone และ iPad ของ Apple ใช้ระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับหน้าจอสัมผัส ในขณะที่ macOS สามารถควบคุมได้ด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดเท่านั้น
]]>มาไตรมาสแรกของปี 2565 การจัดส่งพีซีทั่วโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าช่วงที่บูมที่สุดของยอดขายพีซีได้สิ้นสุดลงแล้วโดย Gartner คาดว่า ยอดส่งมอบพีซีปีนี้จะลดลง -7.3% เหลือ 77.5 ล้านเครื่อง ซึ่งส่วนที่ลดลงมากที่สุดมาจากยอดขาย Chromebook ซึ่งเป็นแล็ปท็อปราคาประหยัดที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน
เช่นเดียวกับ IDC ที่ประเมินว่าตลาดจะลดลง –5.1% เป็น 80.5 ล้านเครื่อง ส่วน Canalys คาดว่าตลาดจะลดลง -3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 อย่างไรก็ตาม Gartner ประเมินว่าแม้ว่าจำนวนเครื่องจะลดลง แต่มูลค่าตลาดทั้งหมดยังคงเติบโตได้ราว +3.3% ต่อปี
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า สาเหตุที่เริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตของตลาดที่ช้าลงอย่างมาก มาจากผู้บริโภคจำนวนมากซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการจัดหาชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ท็อป อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในช่วงที่ยอดขายพีซีเฟื่องฟู อีกทั้งผู้จำหน่ายพีซีหยุดส่งคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปยังรัสเซียในระหว่างการรุกรานยูเครน
สำหรับบริษัทที่มียอดขายพีซีสูงสุด 6 อันดับในช่วงไตรมาสแรกของปี ได้แก่
จากข้อมูลของ IDC พบว่า ในปี 2564 ยอดจัดส่งเดสก์ท็อป แล็ปท็อป และเวิร์กสเตชันทั่วโลกเติบโตขึ้น 14.8% โดยมีจำนวนมากที่สุดในปีเดียวนับตั้งแต่ปี 2555 และเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของตลาดมีการจัดส่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 34% โดยมียอดจัดส่งรวมทั้งสิ้น 349 ล้านหน่วย
การเติบโตดังกล่าวนับเป็นการฟื้นตัวที่น่าสนใจสำหรับภาคส่วนที่นักลงทุนและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีตัดขาดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสมาร์ทโฟนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและมีปริมาณสูงสุดในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ การฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ และการเพิ่มขึ้นของการทำงานทางไกล (Work From Home) และการเรียน (Learn From Home) ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องซื้อแล็ปท็อปและพีซีเครื่องใหม่สำหรับลูก ๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ และธุรกิจต่าง ๆ ซื้ออุปกรณ์ให้พนักงานใช้เพื่อทำงานจากที่บ้าน และแม้ว่าทั่วโลกจะเจอปัญหาการขาดแคลนชิป แต่ตลาดก็ยังสามารถเติบโตได้
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนมองว่ายอดขายจะไม่ยั่งยืนหลังจากการระบาดใหญ่ที่ลดลง ตัวอย่างเช่นในเดือนธันวาคม IDC กล่าวว่า ตลาดได้ผ่านความต้องการการระบาดใหญ่และคาดการณ์การชะลอตัวในปี 2565 แต่ผู้เข้าร่วมตลาดบางคนยังคงมองโลกในแง่ดีว่ายอดขายพีซีจะยังคงดำเนินต่อไปตามวิถีปัจจุบัน
Pat Gelsinger CEO ของ Intel เชื่อว่าตลาดพีซีอยู่บนเส้นทางขาขึ้นใหม่ที่มีความยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจุบัน Intel เป็นผู้ผลิตชั้นนำของโปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% ด้าน Rahul Tikoo ผู้บริหารของ Dell มองว่า การระบาดใหญ่ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในพฤติกรรมการซื้อในขณะนี้ ซึ่งทุกคนต้องการพีซีของตัวเอง
“เรากำลังเปลี่ยนจากพีซีหนึ่งเครื่องต่อครัวเรือน เป็นพีซีหนึ่งเครื่องต่อคนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นเหมือนกับรุ่นสมาร์ทโฟน โดยตอนนี้ฉันคิดว่าพีซีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน”
สำหรับบริษัทพีซีรายใหญ่ที่มียอดสัดส่งสินค้ามากที่สุด 6 แบรนด์ ได้แก่