โปรแกรมเมอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Feb 2020 09:24:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดโผฐานเงินเดือนปี 2020 “โปรแกรมเมอร์” ดาวรุ่ง เด็กจบใหม่สตาร์ทสูงสุดแตะ 40,000 บาท! https://positioningmag.com/1264024 Wed, 12 Feb 2020 08:40:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264024
Adecco ประเทศไทย HR Agency เปิดตัว Salary Guide 2020 คู่มือฐานเงินเดือนประจำปี เผยอัตราเงินเดือนในสายอาชีพต่างๆ กว่า 800 ตำแหน่ง กว่า 3,000 บริษัท โดยในปีนี้พบว่าอาชีพที่มีเงินเดือนเริ่มต้นสูงสุดได้แก่ อาชีพในสาย IT ขณะที่เงินเดือนผู้บริหารเพิ่มสูงทุกสาขาสะท้อนความต้องการบุคลากรเพื่อปรับตัวธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)

เด็กจบใหม่สตาร์ทเงินเดือนสูงสุดแตะ 40,000

เมื่อเทียบกับเรตเงินเดือนเมื่อ ปีที่แล้วพบว่า ฐานเงินเดือนพนักงานออฟฟิศของเด็กจบใหม่มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากเดิมอยู่ที่ต่ำสุด 9,000 บาท มาเป็นเริ่มต้น 12,000 บาท และสูงสุดที่ 40,000 บาท โดยในปีนี้พบว่า เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่จะได้เงินเดือนราว 18,000 – 25,000 บาท

ส่วนอาชีพทำเงินสูงสุดสำหรับเด็กจบใหม่ในปีนี้ ได้แก่ อาชีพ Programmer/Software Developer ที่มีเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 40,000 บาท เนื่องจากเป็นสายงานที่มีความต้องการจากตลาดสูง หลายๆ องค์กรต่างก็ต้องการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง หากเด็กจบใหม่มีทักษะและความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้ตรงตามที่องค์กรกำหนด สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ก็มีโอกาสที่จะได้เงินเดือนเริ่มต้นสูงถึง 40,000 บาท หรืออาจมากกว่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเงินเดือนของแต่ละองค์กรด้วย


รองลงมาในอัตราเงินเดือนสูงสุด 35,000 บาท ได้แก่ อาชีพ Sales Engineer, Project Coordinator, Personal Assistant, เลขานุการ, ล่ามภาษาญี่ปุ่น และตำแหน่งงานด้านการขายที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น

ผู้บริหารระดับสูงเงินเดือนพุ่งทุกสาขา

นอกจากนี้ยังพบว่าเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูงสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกตำแหน่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพการตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ละองค์กรต่างต้องการคนเก่งในหลากสาขา เพื่อเข้ามากำหนดทิศทางการบริหารงาน และเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย Digital Transformation แต่จำนวนของผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันยังอยู่ในสภาวะขาดแคลน (Talent Shortage) องค์กรจึงต้องเพิ่มค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารระดับสูง เพื่อที่จะสามารถดึงดูดและเก็บรักษาผู้บริหารมือดีได้มากขึ้น

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่พบว่าช่องว่างเงินเดือนระหว่างพนักงานระดับปฏิบัติการกับผู้บริหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ที่ทำให้กลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ ถูกทดแทนด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดภาวะแรงงานล้นตลาด ขณะที่ผู้บริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงและมีทักษะทางด้านดิจิทัล กลับเกิดภาวะขาดแคลน ทำให้อัตราค่าตอบแทนของพนักงานในกลุ่มผู้บริหารพุ่งสูงขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่างานในตำแหน่งอื่นๆ

องค์กรเน้นรับพนักงานที่มีทักษะรอบด้าน

ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า

“ระดับเงินเดือนของแต่ละตำแหน่ง แต่ละอาชีพ เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงอุปสงค์และอุปทานของงานได้ดีอย่างหนึ่ง ว่าตอนนี้ตลาดกำลังต้องการแรงงานในส่วนไหน และมีกำลังในการจ่ายค่าจ้างได้มากน้อยแค่ไหน”

“จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราจะเห็นหลายองค์กรพยายามรัดเข็มขัด ลดต้นทุนในด้านต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคลด้วย องค์กรจะปรับตัวสู่การเป็น Lean Organization ที่บริหารโดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า”

Photo : Shutterstock

แนวโน้มการจ้างงานในปัจจุบันจึงมีการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์เข้ามาผสมผสานกันมากขึ้นเพื่อลดรายจ่ายประจำของบริษัท ส่วนการจ้างงานในรูปแบบพนักงานประจำ องค์กรก็ต้องการพนักงานที่มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าแล้ว ยังเป็นเพราะธุรกิจในปัจจุบันมีการ Disruption อยู่ตลอดเวลา

องค์กรจึงต้องการพนักงานที่มีความรู้และทักษะรอบด้านเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทำงานในสายการตลาด นอกจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงานที่ต้องมีแล้ว ทุกวันนี้คุณยังจำเป็นต้องมีทักษะด้านดิจิทัล ทักษะด้านการออกแบบ และมีความรู้ความเข้าใจในงาน IT หรือ E-Commerce เพิ่มเติมด้วย

ในอนาคตแนวโน้มของการกำหนดอัตราเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับทักษะของผู้สมัครมากกว่าใบปริญญา เพราะความรู้ที่เรียนมาจะล้าหลังกว่าความรู้ในโลกการทำงานจริง ใบปริญญาจึงวัดอะไรไม่ได้ไม่มากนัก สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณมีความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการแค่ไห

Photot : Shutterstock

ดังนั้นหากอยากก้าวหน้าในยุคนี้สิ่งสำคัญที่คนทำงานต้องมีคือการหมั่นเรียนรู้และพัฒนาทักษะอยู่เสมอ ทั้งการเสริมทักษะใหม่ (Upskilling) และพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ (Reskilling) ทักษะที่เหล่านี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวคุณ ทำให้องค์กรยอมจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้นและผลักดันคุณสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กร

*หมายเหตุ ตัวเลขเป็นภาพรวมอัตราเงินเดือนโดยประมาณ อาจมีบางตำแหน่งได้เงินเดือนต่ำกว่าหรือสูงกว่า ขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถของผู้สมัครงาน สายอาชีพ และโครงสร้างเงินเดือนของแต่ละองค์กร

]]>
1264024
ไม่ปลื้ม! 5 อันดับอาชีพที่พ่อแม่ญี่ปุ่นไม่อยากให้ลูกเป็น https://positioningmag.com/1163283 Mon, 26 Mar 2018 09:30:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163283 “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ใหญ่มักจะคอยถามเด็ก ๆ อยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา อาชีพที่เด็กใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุดนั้นได้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมาก ซึ่งจากผลแบบสำรวจที่สอบถามนักเรียนชายมัธยมต้น จำนวน 100 คน พบว่าอาชีพที่เด็กผู้ชายในวัยมัธยมต้นอยากเป็นมากที่สุดมีดังนี้

อาชีพที่นักเรียนชายมัธยมต้นอยากเป็นมากที่สุด

อันดับ 1 วิศวกรไอที / โปรแกรมเมอร์

อันดับ 2 นักสร้างเกม

อันดับ 3 YouTuber

อันดับ 4 นักกีฬาอาชีพ

อันดับ 5 วิศวกร

แต่ในทางกลับกัน ก็ได้มีการสำรวจอาชีพที่พ่อกับแม่ไม่ปลื้ม ไม่อยากให้ลูกเป็นขึ้นมาด้วยเช่นกัน แบบสอบถามนี้เป็นแบบสอบถามจากผู้หญิงและผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 30-99 ปี โดยตัวเลือกเป็นอาชีพให้เลือกดังต่อไปนี้ นักกีฬา หมอ YouTuber วิศวกรไอที โปรแกรมเมอร์ นักสร้างเกม เจ้าของธุรกิจ ครู / อาจารย์ นักวิจัย เซลส์แมน โดยอาชีพที่พ่อแม่เลือกให้เป็นอาชีพที่ไม่อยากให้ลูกทำมากที่สุด เป็นดังนี้

5 อันดับอาชีพที่พ่อแม่ไม่ปลื้ม

อันดับ 1 YouTuber 59%

อันดับ 2 เซลส์แมน 11%

อันดับ 3 นักสร้างเกม 8%

อันดับ 4 นักกีฬาอาชีพ 7%

อันดับ 5 ข้าราชการ 7%

อาชีพที่พ่อแม่ไม่ปลื้ม ไม่อยากให้ลูกทำมากที่สุดคือ YouTuber ซึ่ง HIKAKIN YouTuber ที่โด่งดังมากในญี่ปุ่น ขวัญใจเด็ก ๆ ไปจนถึงผู้ใหญ่ ไม่ว่าออกคลิปไหนมาก็มียอดวิวที่สูงมากและยังทำรายได้สูงมากเช่นกัน แต่ในสายตาของพ่อแม่แล้วกลับมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่อยากให้ลูกของตัวเองทำ โดยให้เหตุผลไว้ทั้งฝั่งพ่อและแม่ดังนี้

ความเห็นของฝั่งแม่

  • “เอางานอดิเรกมาทำเป็นงานประจำมันไม่มั่นคงหรอก” แม่บ้าน อายุ 32 ปี
  • “ไม่มั่นคง ภาพลักษณ์ที่ดูบ้าบอ อาชีพที่ทำได้แค่ชั่วคราว” แม่บ้าน อายุ 32 ปี
  • “ไม่อยากให้ลูกตัวเองออกสื่อในอินเทอร์เน็ต” แม่บ้าน อายุ 36 ปี
  • “แค่ออกคลิปสนุก ๆ แล้วมีรายได้ คิดจะทำอะไรก็ได้มันช่างน่าเสียใจจริง ๆ” แม่บ้าน อายุ 32 ปี
  • “ถ้าทำแล้วโด่งดังก็ดีไป แต่มันไม่ใช่กับทุกคน หากทำแล้วไม่ดัง อาจจะเผลอต้องทำคลิปอะไรบ้า ๆ เพื่อให้มีคนดูก็ได้” แม่บ้าน อายุ 36 ปี
  • “ไม่มั่นคง แถมยังจะกลายเป็นคนประหลาดที่อยากให้คนอื่นมาชื่นชอบชื่นชม” พนักงานพาร์ตไทม์ อายุ 44 ปี

ความเห็นของฝั่งพ่อ

  • “มันไม่ใช่อาชีพที่จะทำได้ไปตลอดชีวิต” พนักงานบริษัท อายุ 32 ปี
  • “ไม่มั่นคง และยังเป็นห่วงว่าจะกลายเป็นคนที่ตัดสินใจอะไรไม่ได้ เพราะในหัวมัวแต่คิดแค่จะเพิ่มยอดคนดูคลิป” พนักงานบริษัท อายุ 34 ปี
  • “ไม่อยากให้ลูกก้มหน้าก้มตาอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์” ข้าราชการ อายุ 36 ปี
  • “อยากให้อยู่ในโลกของความเป็นจริง ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทำงานที่ทำประโยชน์เพื่อคนอื่น” ไม่ระบุอาชีพ วัย 31 ปี

ที่มา : mgronline.com/japan/detail/9610000029852

]]>
1163283