โมบายเพย์เมนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Apr 2019 07:22:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 PwC ชี้ผู้บริโภคทิ้งสื่อดั้งเดิม หันเสพ “สื่อ-บันเทิง” แพลตฟอร์มดิจิทัล https://positioningmag.com/1222497 Fri, 29 Mar 2019 11:15:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1222497 ภาพ : Designed by tirachardz / Freepik

การก้าวสู่ยุคดิจิทัลวันนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในทุกด้าน จากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ชัดเจนคือ การเสพ “สื่อ-บันเทิง” ผ่านสตรีมมิ่งมากขึ้น และใช้ “โซเชียลมีเดีย” เป็นช่องทางหลักในการรับข่าวสาร

จากข้อมูลของ Global Consumer Insights Survey ของ PwC ซึ่งถูกจัดทำขึ้น เพื่อประเมินพฤติกรรม และความคาดหวังของผู้บริโภคออนไลน์ จำนวนกว่า 21,000 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก พบว่าปัจจุบันผู้บริโภคใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าแค่การช้อปปิ้ง ถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของการเข้าถึง สื่อและความบันเทิง” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

“สตรีมมิ่ง” มาแรง

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากธุรกิจบันเทิงและสื่อ

พบว่า 38% ของผู้บริโภคทั่วโลกที่ถูกสำรวจ มีการเสพสื่อและความบันเทิงผ่านสตรีมมิ่ง (Streaming) อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในจำนวนนี้กว่า 50% เป็นเด็กรุ่นใหม่ Gen Z

รูปแบบการรับชมข่าวสารปัจจุบัน พบว่า 25% ของผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางโซเชียลเป็นอันดับแรก ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะการใช้โซเชียลมีเดียกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ขณะที่การเสพสื่อดั้งเดิมมีแนวโน้มลดลง

นอกจากนี้ การโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ยังทำให้ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของสินค้าและแบรนด์ต่างๆ ได้ดี โดยได้รับการจัดอันดับว่า เป็นรูปแบบการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในอันดับ 3 และเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวมิลเลนเนียลมากที่สุด แซงหน้าโฆษณาโทรทัศน์รูปแบบดั้งเดิม

“รีวิว-โซเชียล” ดึงนักช้อป

รายงานพบว่า ช่องทางในการนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลายและมีให้เลือกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหา “เครื่องมือ” ที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจด้านการใช้จ่าย นอกจากการใช้เทคโนโลยีแล้ว ยังมองหากลุ่ม “บุคคล” หรือ ชุมชน” ที่ไว้วางใจได้ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ

ปัจจัย “3 อันดับแรก” ที่จะปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งภายในร้านค้า ประกอบด้วย 1. การจัดวางสินค้าที่ง่ายต่อการเข้าถึง 2. มีพนักงานขายที่มีความรู้ และ 3. มีช่องทางในการชำระเงินที่ง่ายและสะดวก

โดยพบว่า 61% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากโซเชียลมีเดียในการจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจหรือการบริโภคตาม “รีวิว” เชิงบวก แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคน้อยกว่า 20% บอกว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าตามศิลปิน-ดาราที่มีชื่อเสียงหรืออินฟลูเอนเซอร์

ทั้งนี้เกือบ 50% ของผู้บริโภคอาศัยความคิดเห็นของครอบครัวและเพื่อนฝูงมาช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว

จอห์น แมกซ์เวลล์ หัวหน้าสายงาน Global Consumer Markets ของ PwC ให้ความเห็นว่า กุญแจสำคัญในการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งและค้าปลีก แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย

“วันนี้ผู้บริโภคมองหาประสบการณ์การใช้จ่ายที่ง่ายและไร้รอยต่อ ธุรกิจต่างๆ ต้องผสมผสานวิธีการทั้งแบบ Physical และดิจิทัล เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป”

จากการสำรวจพบว่า มากกว่า 51% ของผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนในการชำระบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ในปีที่ผ่านมา และกว่า 50% ใช้บริการโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์

ช้อปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟน

ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ PwC ได้มีการสำรวจและพบว่า ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ ในการช้อปปิ้งออนไลน์ โดย 24% ใช้สมาร์ทโฟนช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์

ตลาดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ มีการขยายตัวของการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile payment) มากขึ้น โดยเวียดนามเป็นตลาดที่เห็นผู้บริโภคชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในร้านค้าเติบโตสูงสุดที่ 61% จากปีก่อนที่ 37% ตามด้วยตะวันออกกลาง 45% จากปีก่อนที่ 25% ขณะที่ระดับโลกการเติบโตอยู่ที่ 34% จากปีก่อนที่ 24% โดยทั่วไปประเทศในเอเชียยังมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รวดเร็วกว่าประเทศตะวันตก

โมบายเพย์เมนต์ไทยพุ่ง

สำหรับประเทศไทย วิไลพร กล่าวว่าผลสำรวจด้านการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นมาที่ 67% จากปีก่อนที่ 48% เนื่องจากปัจจุบันคนไทยใช้มือถือมากขึ้น โดยข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าไตรมาส 3 ปี 2561 มีผู้ใช้มือถือถึง 124.6 ล้านเลขหมาย มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 119.8 ล้านเลขหมาย ส่วนใหญ่ใช้มือถือต่ออินเทอร์เน็ต 71.5 ล้านเลขหมาย 

การส่งเสริมให้ไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ผ่านแผนพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ หรือ National e-payment จะทำให้สถาบันการเงินของไทย หันมาให้บริการชำระเงิน ถอนเงินสดจากตู้ผ่านโมบายแบงกิ้งโดยไม่ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม ขณะที่ร้านค้าทั่วไปก็หันมารับชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น หรือคิวอาร์โค้ดมากขึ้น

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจไทยจะต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายของตัวเองว่า มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในช่วงวัยใด และมีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีแบบไหน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และออกแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้ารายบุคคล รวมไปถึงการออกแบบโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขายอื่นๆ ที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

]]>
1222497
ทรูต่อจิ๊กซอว์เพย์เมนต์ขนส่ง ดึง “แท็กซี่-พี่วิน” รับจ่ายเงินแอป True Ryde https://positioningmag.com/1222452 Fri, 29 Mar 2019 09:43:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1222452 ยังคงเดินหน้า Digitization ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับ “กลุ่มทรู” เพื่อขยายจากผู้ให้บริการ Infrastructure ในกิจการโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง สู่ “เซอร์วิส” ใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่ใน Ecosystem ทุกบริการของทรู ล่าสุดเป็นคิวของ “แท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” กับเซอร์วิส “เพย์เมนต์” ระบบขนส่ง อีกปัจจัยสำคัญการใช้ชีวิตของคนกรุง

ภัคพงศ์ พัฒนมาศ รองผู้อำนวยการ ธุรกิจโมบายล์ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยจุดแข็งระบบเพย์เมนต์ผ่านแพลตฟอร์ม “ทรูมันนี่ วอลเล็ท” ของทรู ที่พัฒนามากว่า 10 ปี วันนี้มีผู้ใช้บริการกว่า 7 ล้านคน สิ้นปีนี้มีเป้าหมายที่ 10 ล้านคน กระบวนการ Digitization ธุรกิจสู่เซอร์วิสต่างๆ ในยุคดิจิทัล จึงมุ่งใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ บริการล่าสุดคือแอปพลิเคชั่น True Ryde (ทรู ไรด์) ระบบรับจ่ายค่าโดยสารแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผ่านแพลตฟอร์ม “ทรูมันนี่ วอลเล็ท” ของคนขับจากแอปทรู ไรด์

สิ้นปีเจาะลูกค้า 10 ล้านคน

หากมองแรงจูงใจการใช้แอป “ทรู ไรด์” ในฝั่งคนขับรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทรูบอกว่ามีฐานลูกค้าที่ใช้ทรูมันนี่ วอลเล็ท สิ้นปีนี้ 10 ล้านคน ที่พร้อมจ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ด จากมือถือไปยังบัญชีทรูมันนี่ วอลเล็ท ของผู้ขับที่ใช้แอปทรู ไรด์

ดังนั้นเพื่อดึง “แท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์” ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้แอป ทรูได้จัดแคมเปญจูงใจ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนนี้ โดยคนขับสมัครลงทะเบียนใช้แอป ทรู ไรด์ ผ่านทรูช้อปทุกสาขา จะได้รับเงินสดเข้าทรูมันนี่ วอลเล็ท 1,000 บาท รับสิทธิ “ยืมใช้สมาร์ทโฟน” ฟรี เมื่อเปิดใช้งานแพ็กเกจทรูมูฟ เอช รายเดือน ซึ่งจะได้ค่าอินเทอร์เน็ตและค่าโทร 3 เท่า จากแพ็กเกจที่เลือก นาน 24 เดือน และหากยังใช้แอปต่อจะได้รับสิทธิ ค่าเน็ตค่าโทร 3 เท่าต่อเนื่อง และทุกการรับชำระค่าโดยสาร จะได้สิทธิทรูพอยท์สูงสุด 1,000 คะแนน

“การให้สิทธิใช้สมาร์ทโฟนฟรี เพื่อดึงคนขับในกลุ่มสูงอายุ 45 ปีขึ้นไป ที่อาจยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้งานเข้าสู่แอป และคนขับที่ต้องการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนรุ่นเก่าที่ใช้อยู่”

สำหรับเงินค่าโดยสารที่อยู่ในทรูมันนี่ วอลเล็ท คนขับสามารถนำไปใช้จ่ายได้ปกติ รวมทั้งโอนเงินออกผ่านระบบพร้อมเพย์, บัญชีธนาคาร และบัตรเดบิต ทรูไวท์การ์ด และใช้ทรูพอยท์แลกรับสิทธิและสินค้าในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น

ในฝั่งของ “ผู้โดยสาร” ที่ใช้ทรูมันนี่ วอลเล็ท 10 ล้านคนในสิ้นปีนี้ จะมีความสะดวกในการจ่ายเงินค่าโดยสารโดยไม่ต้องใช้เงินสด และได้คะแนนจากทรูพอยท์เช่นกัน รวมทั้งเป็นการก้าวสู่ Smart Transportation 4.0 ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะถือเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ แต่ละวันมี Transaction กว่า 10 ล้านครั้ง พร้อมทั้งเป็นการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

ยังไม่ใช่แอปเรียกรถ แต่ต่อยอดได้

การเปิดตัวแอป “ทรู ไรด์” วันนี้เป็นเพียงสเต็ปแรก วางเป้าหมายยอดดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งาน 3 เดือนที่จัดแคมเปญไว้ที่ 30,000 ราย จากจำนวนผู้ขับแท็กซี่ 80,000 ราย และมอเตอร์ไซค์รับจ้างกว่า 80,000 รายในกรุงเทพฯ

ภัคพงศ์ พัฒนมาศ

แม้ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดระบบขนส่งอยู่ที่แอปเรียกรถ ที่มี “แกร็บ” เป็นเจ้าตลาดและ “เก็ท” (GET) จากอินโดนีเซีย ได้ประกาศตัวสู่ตลาดไทยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่สำหรับ “ทรู ไรด์” วันนี้ ภัคพงศ์ ย้ำว่า “เรายังไม่ใช่แอปเรียกรถ เพราะต้องการเปิดตัวเข้าสู่ตลาด ด้วยจุดแข็งระบบเพย์เมนต์ของกลุ่มทรูก่อน”

หลังจากมีฐานข้อมูลที่เกิดจากการใช้งานของฝั่งคนขับและผู้โดยสารจำนวนมากพอ ขั้นตอนต่อไปคือศึกษาความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพัฒนาเซอร์วิสใหม่ๆ ผ่านแอปทรู ไรด์ ที่จะมีการต่อยอดหลังจากนี้ “แน่นอน” และไม่ปฏิเสธว่าหากมีดีมานด์บริการเรียกรถ ทรู ไรด์ ก็สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแอปเรียกรถได้เช่นกัน

วันนี้ผู้โดยสารที่ใช้แอปเรียกรถและมีบัญชี ทรูมันนี่ วอลเล็ท ก็สามารถจ่ายเงินให้กับผู้ขับที่ใช้แอปทรู ไรด์ได้เช่นกัน หากไม่ต้องการจ่ายผ่านระบบเพย์เมนต์อื่นๆ

ดึงลูกค้าอยู่ใน Ecosystem ทรู

หากดูบิสสิเนสโมเดลของแอป ทรู ไรด์ จะเห็นได้ว่ายังไม่ใช่บริการที่สร้างรายได้ โดยเป็นเซอร์วิสที่จะดึงทั้งคนขับรถและผู้โดยสารเข้าสู่ Ecosystem ของกลุ่มทรู เพื่อส่งต่อไปใช้เซอร์วิสต่างๆ ทั้งทรูมูฟเอช การซื้อสินค้าในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น รวมทั้งจะใช้เป็นช่องทางทำแคมเปญจากบริการต่างๆ ของทรูหลักจากนี้

เมื่อเรามีฐานข้อมูลที่มากพอ และวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและคนขับได้ว่าต้องการเซอร์วิสด้านใด ก็จะพัฒนาบริการนั้นมาตอบสนอง ที่จะเป็นบิสสิเนสโมเดลที่สร้างรายได้ต่อไป

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเซอร์วิส OTT ที่เข้าสู่ตลาดช่วง 2-3 ปีแรก ไม่มีรายใดสร้างรายได้ เพราะเป็นช่วงการลงทุน จากนั้น Scale up วนเวียนอยู่แบบนี้ ต่อเมื่อมีฐานผู้ใช้งานที่มากพอ จึงพัฒนาบิสสิเนสโมเดลที่สร้างรายได้ ซึ่ง ทรู ไรด์ ก็จะเป็นแบบนี้เช่นกัน

ส่องพฤติกรรมแท็กซี่-พี่วิน

การเปิดตัวแอป True Ryde ของกลุ่มทรู เพื่อดึงผู้ขับรถสาธารณะ ทั้งแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าสู่ Ecosystem ของกลุ่มทรู

ได้มีการสำรวจและศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ ที่มีกว่า 80,000 คัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 เจนเนอเรชั่น คือ ผู้ขับที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี สัดส่วน 60% กลุ่มนี้ มีพฤติกรรมพร้อมใช้เทคโนโลยี มีการใช้สมาร์ทโฟนอยู่แล้ว มีพฤติกรรมเสพคอนเทนต์ ดูยูทูบ และพบว่าใช้แพ็กเกจมือถือแบบ “รายเดือน” ราคา 499 บาทเป็นส่วนใหญ่ สัดส่วน 70% โดยบอกว่าคุ้มค่ากว่าแพ็กเกจเติมเงิน

กลุ่มแท็กซี่ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี สัดส่วน 40% กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทรู ไรด์ จะดึงเข้ามาใช้งานแอป โดยมีสมาร์ทโฟนให้ใช้ฟรี

ส่วนมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี สัดส่วน 80% โดยใช้งานสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว จึงพร้อมใช้เทคโนโลยีต่างๆ

ปัจจุบันพบว่าผู้ขับแท็กซี่จะรับผู้โดยสารวันละ 15 รอบต่อวัน ส่วนมอเตอร์ไซค์รับจ้างอยู่ที่ 30-40 รอบต่อวัน.

                     

]]>
1222452
ระเบิดศึกโมบายเพย์เมนต์ วัดพลังเอไอเอส ควงคู่แรบบิท+ไลน์ ปะทะ ทรูผนึกอาลีเพย์ https://positioningmag.com/1161071 Sat, 10 Mar 2018 06:13:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161071 มองทิศทาง AIS mPAY หลังจับ Rabbit LINE Pay ท้าชน TrueMoney ที่ควงคู่ Alipay หลังจากนิ่งเงียบปล่อยให้คู่แข่งอย่าง ทรู มันนี่ (TrueMoney) จับมือกับ แอนท์ ไฟแนนเชียล (ANT) ผู้ให้บริการอาลีเพย์ (Alipay) เข้ามารุกตลาดโมบายเพย์เมนต์ในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า เอ็มเปย์ (mPAY) จะปรับตัวอย่างไรเพื่อรับกับยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

การประกาศร่วมทุนระหว่าง แอดวานซ์ เอ็มเปย์ และ แรบบิท ไลน์ เพย์ จึงกลายมาเป็นคำตอบที่น่าสนใจ และมีโอกาสทำให้ mPAY ที่จะผันตัวไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ กลับมาเป็นผู้นำในตลาดนี้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับพันธมิตรหลักอย่างแรบบิท (Rabbit) และไลน์ (LINE)

‘โอกาส’ ที่ทั้ง 3 รายมองเห็นร่วมกันคือ จำนวนลูกค้าที่ใช้งานเครือข่ายเอไอเอสกว่า 40 ล้านราย และจำนวนลูกค้าที่ใช้งาน LINE กว่า 42 ล้านราย ในไทย ที่เชื่อว่าเมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อม จุดเติมเงิน และรับชำระมีมากขึ้น ผู้บริโภคคนไทยก็พร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่การใช้งานโมบายเพย์เมนต์มากขึ้น

ทั้งนี้ การเข้าไปร่วมทุนของบริษัท แอดวานซ์เอ็มเปย์ จำกัด จะเข้าไปร่วมทุนผ่านการซื้อขายหุ้นเพิ่มใน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) จำนวน 1,999,998 หุ้น ในราคาหุ้นละ 393.75 บาท รวมเป็นเงิน 787 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างผู้ร่วมทุนเดิม ไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น และไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) กับบริษัท แรบบิท เพย์ ซิสเทม จำกัดก็ได้มีการเพิ่มทุนอีก 1,999,996หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้ทั้ง 3 รายถือหุ้นเท่ากันที่ 33.33%

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ระบุว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ภาพรวมของโมบายมันนี่ในประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคืออยู่ภายใต้การร่วมกันผลักดันให้พฤติกรรมการใช้เงินของผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้ช่องทางดิจิทัลที่ประหยัด และปลอดภัยกว่า

โดยข้อมูลจำนวนผู้สมัครใช้งานล่าสุดของ mPAY จะอยู่ที่ราว 3-4 ล้านราย โดยในจำนวนนี้เป็นลูกค้าที่มีการใช้งานเป็นประจำ (Active User) ราว 4-5 แสนราย ในขณะที่ Rabbit LINE Pay (RLP) ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีลูกค้าสมัครใช้บริการราว 3 ล้านราย และจำนวนการใช้งานสูงสุดใน 1 วันอยู่ที่ 1.5 ล้านราย พร้อมกับประกาศว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน ผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะสามารถใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ได้

ทั้งนี้ จุดเด่นหลักของ mPAY ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้งานคือเป็นช่องทางในการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค รวมถึงค่าบริการต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200 รายการ ทำให้ เอไอเอส มองว่าการขยับ mPAY ขึ้นไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าองค์กรจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ให้ข้อมูลเสริมว่า ลูกค้าที่ใช้งานกระเป๋าเงิน mPAY ในปัจจุบันจะค่อย ๆ ถูกไมเกรดให้เข้าไปใช้งาน RLP ภายในแอป myAIS แทน ภายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยเหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าในการสมัครเข้าไปใช้งาน RLP ก่อน

ส่วนรูปแบบการให้บริการของ mPAY ในอนาคต ก็จะหันมาเน้นลูกค้าในส่วนขององค์กรธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากรายได้หลักของเอ็มเปย์ในปัจจุบันมาจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของการให้บริการโอนเงินระหว่างบริษัท รวมถึงการเชื่อมระบบอีเพย์เมนต์ต่าง ๆ

ดังนั้น ต่อไปในแง่ของการให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์แก่ผู้บริโภคทั่วไปจะอยู่ภายใต้ RLP ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่า จากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าที่ปัจจุบันกว่า 95% ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีการติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชัน LINE รวมถึงระยะเวลาในการใช้งานเฉลี่ยของคนไทยในแต่ละวันสูงถึง 63 นาที

จิน วู ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Rabbit LINE Pay เสริมว่า ความร่วมมือระหว่าง LINE และเอไอเอส จริง ๆ แล้วเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 2012 จากการให้บริการ LINE Official Sticker น้องอุ่นใจ ถัดมาในปี 2014 ที่ LINE นำเกม Cookie Run เข้ามา เอไอเอส ก็เป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ร่วมทำแคมเปญการตลาด

จนมาถึงการร่วมมือ AIS mPAY x Rabbit LINE Pay ในครั้งนี้ ที่เข้ามาช่วยเสริมอีโค ซิสเต็มส์ของ RLP ในแง่ของช่องทางการเติมเงินจากเดิมที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินออนไลน์ได้จากการผูกบัญชีธนาคาร และจุดรับเติมเงินอย่าง Kerry Express ซึ่งเมื่อร่วมกับ mPAY ช่องทางอย่าง M Pay Station ศูนย์บริการเอไอเส และเทเลวิซ รวมจุดเติมเงินอีกกว่า 1 แสนจุดทั่วประเทศ ก็จะสามารถเติมเงินเข้า RLP ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกันลูกค้า RLP ก็จะเข้าถึงช่องทางชำระเงินค่าบริการ และค่าสาธารณูปโภคกว่า 200 รายการของ mPAY ไม่นับรวมกับช่องทางชำระเงินอื่น ๆ ที่ทาง RLP อีกกว่า 9,000 จุด และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปอีก

ความร่วมมือครั้งนี้ จึงถือเป็นการปลดล็อก mPAY ที่ถูกปั้นขึ้นมาโดยพี่ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นบริการลูกรักที่อยู่คู่กับซีอีโอคนปัจจุบัน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกมรสุมกระหน่ำจากการที่เหล่าธนาคารต่างหันมาให้บริการออนไลน์ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน

กลับกันเมื่อมาดูในฝั่งของ TrueMoney ที่ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่สมัครใช้งานราว 8 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งานประจำราว 4 ล้านราย ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ และคาดว่าจนถึงปี 2020 จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้าที่สมัครใช้งานเป็น 30 ล้านรายได้

โดยในช่วงก่อนหน้านี้ ลูกค้าหลักที่ใช้งาน TrueMoney จะเริ่มจากกลุ่มที่เป็นเกมเมอร์ ใช้ในการเติมเงินเกมออนไลน์ และโอนเงินภายในระบบ จนกระทั่ง TrueMoney จับมือกับ ANT จึงเริ่มขยายการให้บริการสู่การชำระเงินผ่านช่องทางออฟไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของการรองรับนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวในไทย

จุดแข็งสำคัญของ TrueMoney ในเวลานี้จึงขึ้นอยู่กับการนำร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ที่มีสาขาอยู่มากกว่า 1 หมื่น แห่งทั่วประเทศ ที่มีโอกาสขยายไปให้บริการปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ เมื่อรวมกับช่องทางชำระสินค้าและบริการในกลุ่มทั้งของซีพี และทรูมูฟ เอช จึงทำให้กลายเป็นผู้นำอยู่ในเวลานี้

เมื่อรวมกับเป้าหมายเดิมของ TrueMoney และ ANT ในการขยายร้านค้าชำระเงินให้กลายเป็น 1 แสนแห่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันระหว่าง 2 กลุ่มพันธมิตรนี้จะช่วยเพิ่มจุดรับชำระเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดให้แก่ประเทศไทย

ขณะที่ถ้ามองในภาพใหญ่ การขยับตัวครั้งนี้ของ mPAY ร่วมกับอีก 2 พันธมิตร ยังเน้นการให้บริการเฉพาะลูกค้าที่ใช้งานในประเทศเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายของทรูมันนี่ ภายใต้แอสเซนด์ กรุ๊ป วางเป้าใหญ่ไปในระดับภูมิภาคอาเซียน ด้วยฐานลูกค้าที่หวังไว้ราว 100 ล้านราย จากจำนวนประชากรกว่า 620 ล้านราย ภายในปี 2020

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักเดียวกันของผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ หรืออีมันนี่ในไทย ที่ถูกผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานได้สะดวกขึ้นทั้งการมาของระบบชำระเงินผ่าน QRcode จากทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงการโอนเงินภายใต้บริการอย่างพร้อมเพย์ ที่ช่วยตัดปัญหาค่าใช้จ่ายในการโอนเงินข้ามบัญชี และการปรับตัวของหลาย ๆ ธนาคารที่ร่วมวงเข้ามาจับพฤติกรรมการออนไลน์ของลูกค้า ต่างอยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วยกันทั้งสิ้น

‘บริการ RLP ไม่จำกัดว่าเป็นแค่ลูกค้าเอไอเอสถึงจะใช้บริการได้ เพราะใช้การลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชน ใครก็ได้ที่ใช้ไลน์ก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ทุกคน บริการที่สะดวก ปลอดภัยนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้คนที่อยากใช้จะต้องย้ายค่ายมาใช้ แต่เรามองว่าทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้’ ปรัธนากล่าวส่งท้าย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000024058

]]>
1161071