โรงหนังไซส์เล็ก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Nov 2018 03:30:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมเจอร์ กางแผนปี 2019 เร่งผลิตหนังไทย ลุยขยายโรงหนังไซส์เล็กตรึงคนดู ตจว. https://positioningmag.com/1198097 Sun, 18 Nov 2018 23:08:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198097 โรงภาพยนตร์จะอยู่ได้อย่างไร ท่ามกลาง “ดิจิทัลดิสรัปชั่นจากการมาของ “วิดีโอสตรีมมิ่ง” เช่น เน็ตฟลิกซ์ และ ไอฟลิกซ์ เข้าเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ชม และเป็นคำถามที่ “วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ต้องเจอตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

“วิชา” ต้องออกมายืนยันว่า “ดิจิทัลดิสรัปชั่น” แทบไม่ส่งผลถึง “ธุรกิจโรงภาพยนตร์” เห็นได้จากโรงภาพยนตร์ในโลกยังมีการขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในแถบเอเชียอย่างในเมืองจีนมีถึง 50,000 จอ เกาหลีใต้นอกจากขยายในบ้านตัวเองยังไปบุกจีน เวียดนาม ตุรกี

บรรดาค่ายหนังยังคงทำภาพยนตร์ที่เน้น “คุณภาพ “ ผลิตภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์มากขึ้นเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาดูหนังในโรง “วิชา” ยกตัวอย่าง “ดิสนีย์” อดีตทำภาพยนตร์ปีละไม่เกิน 3 เรื่อง แต่วันนี้เพิ่มไปถึงปีละ 10 เรื่องแล้ว

ในเมืองไทย “อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์” มูลค่า 7,000 ล้านบาท ยังไปได้เรื่อยๆ เพราะผู้เล่นรายใหญ่ทั้ง 2 เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง อย่าง “เมเจอร์” ปีนี้วางแผนเปิดทั้งหมด 96 จอ หลักๆ ถูกขยายไปยังต่างจังหวัด ส่วนในกรุงเทพฯ เปิดเพียง 2 สาขาที่ไอคอนสยาม และเกตเวย์ บางซื่อ ต่างประเทศขยาย 2 สาขาที่ ลาวและกัมพูชา

ดิจิทัลดิสรัปชั่นมีผลอยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น แต่สิ่งที่ทำให้เมืองไทยโตช้า และกลายเป็นความท้าทายหลักๆ ตอนนี้คือ ภาพยนตร์ของไทยแทบไม่มีที่ยืนอยู่เลย ถูกครองสัดส่วนโดยหนังต่างประเทศหมด

วิชายกตัวอย่างประเทศในแถบเอเชียทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์มีมูลค่าสูงเพราะปีๆ หนึ่งทำหนังท้องถิ่นจำนวนมาก อย่างจีนปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 เรื่อง เกาหลีใต้ 200 เรื่อง ส่วนไทยปีนี้มีเพียง 43 เรื่องเท่านั้น ลดน้อยลงกว่าอดีตที่เคยมีถึงปีละ 100 เรื่อง

เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ จึงต้องส่งเสริมหลักๆ 2 เรื่องด้วยกันคือ 1.กระตุ้นให้มีการสร้างภาพยนตร์ของไทยให้มากขึ้น เมเจอร์เองมีค่ายภาพยนตร์อยู่ในมือเอ็ม พิคเจอร์สเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ และ ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม เป็นต้น ปีหน้าวางแผนสร้างภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 20 เรื่อง

เมเจอร์ จึงต้องเปลี่ยนโมเดลเสียใหม่จากที่ลงทุนเอง ก็ไปหาผู้สนใจรายอื่นๆ มาร่วมลงทุน เมื่อภาพยนตร์มีกำไร ก็แบ่งให้ผู้กำกับด้วยเหมือนกับโมเดลของฮอลลีวู้ด เพื่อชักจูงให้ผู้กำกับยังมีกำลังใจทำหนังมากขึ้น โดยทำภาพยนตร์ที่ถูกจริตกับคนต่างจังหวัดให้มากขึ้น เพราะแต่ก่อนรายได้ต่างจังหวัดจะมีเพียง 20% แต่ตอนนี้ขึ้นมาเป็น 50% แล้ว

ไบค์แมน ศักรินทร์ตูดหมึก” เป็นตัวอย่างได้ดี เรื่องทำหนังให้ถูกจริตคนต่างจังหวัดแล้วได้ผล ทำรายได้ถึง 100 ล้านบาท หากเจาะเข้าไปจะพบในกรุงเทพฯ รายได้ไม่เยอะ แต่ไปโกยที่ต่างจังหวัดค่อนข้างเยอะ หรือ นาคี 2 กวาดรายได้ 450 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัดทั้งนั้น

สอง ขยายโรงภาพยนตร์ไปต่างจังหวัดให้มากขึ้น ปี 2019 เมเจอร์วางแผนใช้เงินลงทุนรวม 700 – 800 ล้านบาท ลดลงจากอดีตที่มักจะใช้ปีละ 1,000 – 1,200 ล้านบาท ด้วยเมเจอร์จะขยายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เจาะเข้าไปยังเขตอำเภอ โดยไปกับเทสโก้โลตัสและบิ๊กซี

โมเดลสาขาจะไม่เหมือนกับในกรุงเทพฯ ที่ทำสาขาละ 5 จอ 200 ที่นั่งต่อโรง ต่างจังหวัดจะเหลือ 1-2 จอเท่านั้น และเก้าอี้จะไม่เกิน 150 ตัว จึงทำให้ต้นทุนลดลงไปถึง 20% โดยภาพรวมจะขยายทั้งหมด 74 จอ

ตอนนี้สัดส่วนรายได้ของภายนตร์ไทยจนถึงเดือนตุลาคมอยู่ที่ 26% คาดถึงสิ้นปีจะอยู่ระหว่าง 25-30% จากการส่งเสริมของเมเจอร์เชื่อว่าปีหน้าสัดส่วน 35-40% และขยับเป็น 50% ในปี 2020 ซึ่งจนถึงตอนนั้นเมเจอร์คาดว่าจะมีทั้งหมด 1,000 จอด้วยกัน”

อย่างไรก็ตาม ปี 2018 เป็นอีกหนึ่งปีที่เมเจอร์ออกมาเคลื่อนไหว และเปิดตัวบริการใหม่ๆ เพื่อผลักดันรายได้ของธุรกิจจำนวนมากโดยเน้นเจาะเข้าไปยังแต่ละเซ็กเมนต์เลย ได้แก่ ตอนต้นปีเปิด “โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก” เพื่อเจาะกลุ่มเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 10 สาขาแล้ว

หรือก่อนหน้านี้ได้เปิด “โรงภาพยนตร์เกมมิ่งอีสปอร์ตซีนีม่า” เพื่อเกาะกระแสของการแข่งขันอีสปอร์ตกำลังบูมในเมืองไทย เน้นจับลูกค้าที่เป็นองค์กร โดยทดลองเปิดที่สาขาเอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัชดา ตอนนี้ได้มีลูกค้ามาจองแล้ว 40 อีเวนต์ยาวไปถึงปีหน้า ถ้ากระแสเป็นไปด้วยดี จะขยายไปยังโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์

สำหรับรายได้ปีที่ผ่านมาเมเจอร์มีรายได้ทั้งหมด 9,900 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายตั๋วภาพยนตร์กว่า 5,000 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,900 ล้านบาท และสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ราว 1,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นรายได้อื่นๆ ปี 2018 คาดทะลุ 10,000 ล้านบาท ส่วนปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 10%

เมื่อถึงสิ้นปี 2018 เมเจอร์จะมีโรงภาพยนตร์ทั้งสิ้น 160 สาขา 771 โร 176,435 ที่นั่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 43 สาขา 349 โรง 79,003 ที่นั่ง ต่างจังหวัด 110 สาขา 385 โรง 89,402 ที่นั่ง และต่างประเทศ 7 สาขา 37 โรง 8,030 ที่นั่ง.

]]>
1198097