โลกดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 23 Aug 2023 05:19:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สยามพิวรรธน์เปิดวิสัยทัศน์บุกเบิกเทคโนโลยีสู่ Web 3.0 สร้างประสบการณ์ ตอบไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากำลังซื้อสูงในโลกอนาคต https://positioningmag.com/1441971 Thu, 24 Aug 2023 10:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441971

Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีชั้นนำสุดยิ่งใหญ่ของเอเชียในปีนี้ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำอย่าง สยามพิวรรธน์ ประกาศตัวเป็นรีเทลเทค (RetailTech) รายแรกของไทยที่พัฒนา Global Ecosystem ด้วยการจับมือกับพันธมิตรและคู่ค้าชั้นนำที่มีอยู่ทั่วโลก ร่วมสร้างปรากฏการณ์ผ่าน ONESIAM SuperApp พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจสู่ Web 3.0 สร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายทั้งในโลกจริง โลกดิจิทัล และโลกเสมือนจริง เพื่อมัดใจฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงมากที่สุดในประเทศ และครองความเป็นหนึ่งในใจผู้คนทั่วโลก

ชญาภา จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ พิงค์แล็บ จำกัด (The Pink Lab) ที่ปรึกษาด้าน Web 3.0 และโมโมริ ฮิราบายาชิ Business Development Web 3.0 บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ NFTs in the Retail World ในงาน Techsauce Global Summit 2023 อัพเดทเทรนด์การนำเทคโนโลยี Web 3.0 มาสร้างประสบการณ์ลูกค้าของกลุ่ม Luxury Retail และแชร์ความสำเร็จของโครงการ Web 3.0 ที่สยามพิวรรธน์ได้ร่วมมือกับพันธมิตร สร้างปรากฏการณ์แปลกใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ชญาภา จูตระกูล ที่ปรึกษาด้าน Web 3.0 ของสยามพิวรรธน์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างผลกระทบมหาศาลต่อไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยเฉพาะช่วงโควิด -19 ที่ทำให้เกิดช่องทางใหม่ที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้รู้สึกจดจำ และตื่นเต้นเมื่อเห็นสินค้าที่จำหน่ายในศูนย์การค้าจริง ผ่านโลกดิจิทัลแค่ปลายนิ้ว โดยธุรกิจรีเทลใช้เทคโนโลยี Web 3.0 เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่หลากหลาย โดยเฉพาะการทำ NFT (Non-Fungible Token) ที่จะเชื่อมโยงโลกคู่ขนานออนไลน์และโลกออฟไลน์ และโลกเสมือนจริง หรือ Metaverse ซึ่งข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ และวางแผนกลยุทธ์ที่จะเข้าถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้า โดยเฉพาะการใช้ NFT ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล การ สร้าง Loyalty Program รีวอร์ดที่แบรนด์ต่างๆ จะนำไปใช้มัดใจลูกค้าผ่านการเชื่อมโยงด้านอารมณ์ แบบ Emotional Engagement

“Web 3.0 เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ที่สามารถต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้และเป็นอนาคตของไลฟ์สไตล์ และเทรนด์ในการใช้ชีวิตในวันข้างหน้า ที่เปลี่ยนวิธีการใช้ Social media ไปอย่างสิ้นเชิงทำให้แบรนด์เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ ทั้ง Web 3.0 และ NFT จึงไม่ใช่เป็นเรื่องสำหรับคนรุ่นใหม่ Gen Z เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคน Gen Y และ Gen X ที่ดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของทุกคน และสื่อสารกันผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น รวมถึง Luxury Brands ต่างๆ ที่นำเทคโนโลยี Web 3 มาใช้เพื่อเข้าถึงและ engage กับลูกค้าเจนใหม่ๆ ” ชญาภากล่าว

เดอะ พิงค์แล็บ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ดิจิทัล ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing Community และ Loyalty Program Web 3.0 และ นวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยหัวใจของการสร้างธุรกิจที่นำเสนอด้วยความสนุกนำ Data ในโลกออนไลน์มาสร้างแบรนด์และนำเสนอประสบการณ์มิติใหม่ให้กับวงการ ได้ร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ในการผนึกกำลังกับ ZEPETO พันธมิตรระดับโลกสร้างประสบการณ์แบบใหม่ในโลกดิจิทัล ด้วยการจัดงานสงกรานต์ผ่าน Metaverse เป็นครั้งแรกของโลก สร้างประสบการณ์ แบบออนไลน์สู่ออฟไลน์ (O2O) ทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศสงกรานต์ได้อย่างไร้พรมแดน และการนำแฟชั่นไทยสู่โลกเสมือนจริง ในงาน Bangkok International Fashion Week 2022 ที่สยามพารากอน ลูกค้าสามารถเลือกช้อปคอลเลกชันล่าสุดจากรันเวย์เพื่อสวมใส่จริง และซื้อไอเทมเดียวกันเพื่อแต่งตัวอวตาร์บนโลก Metaverse และแชร์ผ่านโลกโซเชียลมีเดีย

โมโมริ ฮิราบายาชิ Business Development Web 3.0 บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า สยามพิวรรธน์เป็นผู้นำในตลาดลักซ์ซูรี ที่มีแนวคิดการร่วมสร้าง หรือ Co-creation ร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมทั้งร้านค้าแบรนด์ต่างๆ ที่เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า และผู้บริโภค สยามพิวรรธน์จึงมุ่งสร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายในพื้นที่ของศูนย์ฯ ที่เป็น Physical World และเชื่อมโยงประสบการณ์ไปสู่โลกดิจิทัล และโลกเสมือนใน Metaverse ซึ่งลูกค้าจะได้รับประโยชน์สูงสุด ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เป็น Tech Savvy

นอกจากนี้ สยามพิวรรธน์มีพันธกิจสำคัญในการนำอัตลักษณ์ไทยชนะใจคนทั่วโลก (Win the World for Thailand) ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับ NIMIT และ Cryptomind ในโครงการ Fight for The Future เปิดตัวดิจิทัลแลนด์ของคนไทยบน Sandbox แพลตฟอร์มโลกเสมือน โดยจำลองพื้นที่ของศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบดีไซน์ พร้อมนำเสนอเกมสนุกสุดมันด้วยกีฬามวยไทย (Thai Boxing) นำความเป็นไทยสู่เวทีโลก ถือเป็นบริษัทแห่งแรกที่สร้างประสบการณ์มวยไทยในแพลตฟอร์มโลกเสมือน

“สิ่งสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จคือการร่วมกันแชร์ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระหว่างบริษัท Web 3.0 และบริษัทที่ไม่ได้ทำ Web 3.0 การมีพันธมิตรจากหลากหลายธุรกิจจะทำให้สามารถสร้างสรรค์ประสบการณ์ Web 3.0 ได้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างแท้จริง” โมโมริกล่าว

Web 3.0 เป็นการสื่อสารอินเตอร์เน็ทยุคใหม่ที่ไร้ตัวกลาง ผู้ใช้งานสื่อสารกันเองได้โดยตรง และมีบล็อกเชนที่ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว โดยเมตาเวิร์สเป็นแพลตฟอร์มในโลก 3.0 ที่จะเปลี่ยนประสบการณ์การช้อปปิ้งโดยเชื่อมโลกจริงและโลกเสมือน ในขณะที่ NFT เป็นเครื่องมือการตลาดยุคใหม่ที่จะส่งเสริมการเอ็นเกจกับลูกค้า ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล ใช้ได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการสะสมสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้สิทธิประโยชน์พร้อมใช้ได้ทันที หรือใช้ยืนยันตัวตนการเป็นสมาชิกเพื่อเข้าถึงคอมมูนิตี้ที่จัดไว้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น

สยามพิวรรธน์เป็นบริษัทชั้นนำที่ได้พลิกโฉมหน้าธุรกิจค้าปลีกไทย บุกเบิกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตอกย้ำบทบาทการเป็น RetailTech รายแรกของไทยที่พัฒนา Global Ecosystem ด้วยการร่วมมือกัพันธมิตรและคู่ค้าทั้งในประเทศและระดับโลกมากกว่า 50 องค์กร ในกว่า 13 อุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดยุคใหม่ ภาคธุรกิจจะต้องเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้ มองหาโอกาส และเป้าหมายที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมใน Value Chain ของอีโคซิสเต็มดังกล่าว และคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกธุรกิจจะสามารถคว้าโอกาสและรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ จึงควรมองภาพแบบระยะยาวที่จะเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต แต่ไม่ทิ้งฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ ทั้งการสร้างรายได้จากระบบนิเวศในรูปแบบใหม่ ยกระดับการแข่งขันกับแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกได้” ชญาภา กล่าวเสริม

]]>
1441971
บาสเกตบอล NBA เลือกอาลีบาบา ขยายสู่โลกดิจิทัล https://positioningmag.com/1218951 Mon, 11 Mar 2019 06:57:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218951 หลังจากลุยสร้างอีโคซิสเต็ม ช้อปปิ้งออนไลน์ ให้คนเจ้าของธุรกิจรายเล็กไว้ขายของ ได้เวลาที่อาลีบาบาจะป้อนโซลูชั่นครอบคลุมทั้งการตลาด สร้างแบรนด์ และขายผลิตภัณฑ์ให้กับเจ้าของคอนเทนต์ดังอย่าง บาสเกตบอล NBA กระจายผ่านทุกแพลตฟอร์มของอาลีบาบา

จึงเป็นที่มาระหว่าง NBA China และอาลีบาบา กรุ๊ป ในการนำคอนเทนต์ของ NBA มาเปิดตัวในแพลตฟอร์มต่างๆ ของอาลีบาบา และเพื่อเป็นการยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคในจีน ในขณะที่ NBA จะขยายฐานผู้ชมและผู้บริโภคในจีนได้มากขึ้น

โดยอาลีบาบาจะนำเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคมาใช้ใน “NBA Section” ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนสามารถเข้าถึงคอนเทนต์แบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลแล้ว ยังสามารถเข้าถึงสินค้า NBA ตอบครบจบในอีโคซิสเท็มเดียว

สำหรับการชมเกม NBA ไม่ว่าจะเป็นไฮไลต์ โปรแกรมออริจินัล หรือเกมคลาสสิก NBA จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 700 ล้านคนบนแพลตฟอร์มของอาลีบาบา รวมไปถึงแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์อย่างทีมอลล์โซเชี่ยลคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มเถาเป่า วิดีโอสตรีมมิ่ง Youku และแพลตฟอร์มคอนเทนต์และเบราว์เซอร์ UC

โปรแกรมออริจินัลจะครอบคลุมหัวข้อการทำนายเกม แฟชั่น รองเท้ากีฬา และของที่ระลึก ทั้งช่วงฤดูกาลปกติ ออลสตาร์เกม ฤดูกาลเพลย์ออฟและรอบไฟนอล โดยจะมีเทรนด์และข่าวสารล่าสุดนำเสนอในรูปแบบที่เป็นอินเทอร์แอคทีฟ เช่น วิดีโอสั้น และการถ่ายทอดสดไลฟ์สตรีมมิ่ง โดยคนดังหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด

NBA กับอาลีบา จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโซลูชั่นด้านการตลาดในการส่งเสริมแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่จะกระจายในทุกแพลตฟอร์มของอาลีบาบา

ดีเร็ก ชาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NBA China กล่าวเราต้องการนำเสนอคอนเทนต์ออนไลน์ที่แตกต่างและสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ก้าวไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เราเฝ้ารอคอยให้ถึงการทำงานร่วมกันกับอาลีบาบาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเกมกีฬาบาสเกตบอลในจีน

ทางด้าน โทบี้ ซู รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “NBA นับเป็นลีกกีฬาที่เป็นที่นิยมที่สุดลีกหนึ่งในโลกและมีฐานผู้ติดตามขนาดใหญ่ในจีน การขยายพันธมิตรในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับอีโคซิสเท็มของอาลีบาบาในการสร้างประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่แตกต่าง และทำให้ NBA ใกล้ชิดกับแฟนและผู้บริโภคในประเทศจีนได้มากยิ่งขึ้น

ริชคอนเทนต์ที่เกิดจากความร่วมมือล่าสุดของ NBA กับอาลีบาบา คือ การเปิด NBA แฟลกชิปสโตร์บนทีมอลล์ เมื่อปี 2555 โดยนำเสนอสินค้าลิขสิทธิ์ของ NBA

ทั้งนี้ การขยายความร่วมมือกับ NBA เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “A100 Program” ของอาลีบาบา ที่นำเสนอโซลูชั่นที่ครอบคลุมครบถ้วนในที่เดียว เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ภายใต้อีโคซิสเท็มของอาลีบาบา

NBA China เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านธุรกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2551 ปัจจุบัน NBA เป็นพันธมิตรกับเครือข่ายโทรทัศน์และสื่อดิจิทัลหลายแห่ง อาทิ เป็นพันธมิตรกับ CCTV สินค้าลิขสิทธิ์ของ NBA มีที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น NBAStore.cn, NBA.Tmall.com, NBAStore.hk และ NBAStore.tw

อาลีบาบา มีผลประกอบการประจำปีที่ผ่านมา สิ้นสุดงวดวันที่ 31 มีนาคม 2561 ทำรายได้ที่ 39,900 ล้านเหรียญสหรัฐ.

]]>
1218951
ถอดรหัส 10 เทรนด์ดิจิทัลไทยจาก IDC ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด https://positioningmag.com/1215792 Fri, 22 Feb 2019 08:03:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215792 วันนี้หลายคนมองเศรษฐกิจไทยว่าเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นแล้ว แต่รายงานจาก IDC ตอกย้ำว่าธุรกิจดิจิทัลไทยจะยิ่งเข้มข้นขึ้นอีกหลายขั้นในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ ดังนั้นทุกองค์กรทุกอุตสาหกรรมจึงควรต้องตามติดการเปลี่ยนแปลงให้ทัน โดยเฉพาะนักการตลาดที่ไม่ควรพลาดการอัพเดตเทรนด์เหล่านี้ เพื่อมุมมองใหม่ที่เฉียบคมลื่นไหลกว่าเดิม

เทรนด์เหล่านี้สรุปจากรายงานเรื่อง IDC FutureScapes ซึ่งมีการประเมินแนวโน้มโดดเด่นที่จะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยช่วงปี 2020-2024 

โดยทุกเทรนด์สามารถฉายภาพแรงผลักสำคัญที่จะดันให้ประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มตัว

1. ส่วนใหญ่ของ GDP ไทยจะมาจากธุรกิจดิจิทัล

ภายในปี 2022 ไทยจะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มตัว เห็นได้ชัดจาก GDP ของประเทศไทยกว่า 61% ที่ IDC มั่นใจว่าจะมาจากธุรกิจดิจิทัล โดยแรงขับเคลื่อนจะมาพร้อมทุกบริการไอทีรอบตัวคนไทยทั้งการตลาดดิจิทัล การเดินทาง การกิน การใช้ และการอยู่ 

ประภัสสร เพชรแก้ว นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโส ด้านบริการไอทีประเทศไทย บริษัท ไอดีซี อธิบายว่า การเติบโตนี้จะครอบคลุมทุกเซ็กเตอร์ในธุรกิจไทย แต่จุดหลักที่ไดรฟ์คือองค์กรจะสร้างบริการไอทีใหม่สำหรับใช้แทนหรือเสริมกับธุรกิจเดิมในฐานะแพลตฟอร์มที่ 3 (3rd platform) ซึ่งจะเห็นจากบริการหุ่นยนต์, AR, Mobility, Cloud ฯลฯ

“Cloud จะดึงให้การลงทุนดิจิทัลโตขึ้นอีก จะแตะ 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019-2022 การสำรวจพบว่า 90% ขององค์กรไทย เชื่อว่าจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นถ้าลงทุนดิจิทัล” 

ประภัสสรเชื่อว่าองค์กรจะลงทุนเรื่องการทำงานร่วมกันจากระยะไกล ขณะเดียวกันก็จะพัฒนาทักษะให้พนักงานในองค์กรใช้งานเทคโนโลยีได้ดีขึ้น องค์กรจะเห็นความสำคัญของฝ่ายไอทีที่ต้องเลือกเทคโนโลยีมาใช้กับองค์กรมากขึ้น และองค์กรไทยในอนาคตจะมองประสบการณ์ผู้ใช้บนระบบดิจิทัล หรือ DX เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

2. 3rd platform โตแม้จะมีระบบเก่าอยู่

ภายในปี 2022 การวิจัยของ IDC พบว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทย 60% จะถูกใช้ลงทุนเพื่อสร้าง 3rd platform คาดว่าส่วนนี้จะเติบโตสูงมากเป็นเลข 2 หลัก จนครองส่วนแบ่งมากที่สุดในการใช้จ่ายไอทีภายในปี 2022

แม้จะมีระบบเก่าอยู่ แต่ทุกองค์กรไทยเห็นประโยชน์ และเข้าใจดีว่าต้องทำ 3rd platform แต่ปัญหาคือระบบเก่าที่ทำให้กังวลเรื่องความยุ่งยากในการทำระบบใหม่บนระบบเดิม ไม่ว่าอย่างไร ทุกคนก็จะพยายาม

เทรนด์นี้เริ่มเห็นแล้วในแบรนด์ใหญ่อย่าง Tesco Lotus ที่ใช้เทคโนโลยี becons ในการกระจายข่าวสารถึงลูกค้าที่อยู่ใกล้สาขา หรือธนาคารไทยพาณิชย์ที่ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงเพื่อให้บริการทางการเงินเป็นรายแรกของประเทศไทยในชื่อ SCB Abacus ขณะที่ Honda ค่ายรถแดนปลาดิบที่มีระบบ My connected car เป็น 3rd platform ที่รองรับความต้องการของลูกค้าโดยไม่เน้นแต่มุมการขายรถเพียงอย่างเดียว

ในอนาคต เราจะเห็นการรีวิวพาร์ตเนอร์ขององค์กรด้วย เพราะการไปดิจิทัลจะทำให้พาร์ตเนอร์ที่เคยดี อาจไม่รองรับทั่วถึงอีกต่อไป ภายในองค์กรก็จะต้องมีการทำงานร่วมกับฝั่งไอที เพื่อจะร่วมกันชี้หรือเลือกพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สุด

IDC เชื่อว่ามากกว่า 30% ขององค์กรไทยจะสร้างสภาพแวดล้อมไอทีแบบแท้จริง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ภายในปี 2022

3. ไม่เก็บข้อมูลขึ้นคลาวด์ 100%

ธุรกิจไทยจะไม่เก็บข้อมูลขึ้นคลาวด์ 100% แต่จะเลือกเก็บไว้ใกล้ตัวเพื่อทำงานร่วมกับการดึงข้อมูลจากระบบคลาวด์ การประมวลผลแบบผสมนี้เรียกว่า Edge computing หรือการประมวลผลที่ขอบระบบ ซึ่งมีจุดเด่นที่ความรวดเร็วที่เหนือกว่าคลาวด์ 100% คาดว่าการลงทุนในเทคโนโลยีนี้จะร้อนแรงมากขึ้นในปี 2022 ซึ่งจะเป็นปีที่องค์กรไม่น้อยกว่า 20% จะเทเงินลงทุนในเทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับ 25% ของอุปกรณ์ในมือคนไทยที่จะใช้อัลกอริธึม AI

ข้อดีของการเก็บข้อมูลขึ้น Cloud คือการตอบโจทย์เรื่องการรองรับจำนวนข้อมูลมหาศาลได้ไม่อั้น แต่ระบบ Edge จะทำให้เกิดการทำงานรวดเร็วกว่าเพราะไม่ต้องเสียเวลาดึงข้อมูลจากคลาวด์ การใช้ Edge จะเชื่อมกับการมาของ 5G ด้วย ซึ่งจะทำได้ดีขึ้น

ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับปริมาณสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และนานาอุปกรณ์ไอทีที่ถูกเรียกรวมว่า endpoint device เนื่องจากการที่อุปกรณ์มีจำนวนมาก ข้อมูลก็จะมีสูงมากตามไปด้วย องค์กรไทยในอนาคตจะอยากใช้ประโยชน์จากข้อมูลมหาศาล เวลานั้น AI จะตอบโจทย์ตรงนี้ คาดว่า 25% ของอุปกรณ์และระบบ endpoint ทั่วไทยจะทำบน AI ซึ่งเวลานั้นองค์กรไทยก็จะทำธุรกิจโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น

4. คนสร้างแอปไม่ต้องเก่งเขียนโปรแกรม

วงการพัฒนาแอปพลิเคชันไทยจะถูกปฏิวัติในปี 2022 จุดนี้ IDC คาดว่าแอปพลิเคชั่นใหม่ของประเทศไทย 70% จะมีสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส ที่ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องเขียนโค้ดคำสั่งขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น สามารถนำโค้ดมาใช้ซ้ำใหม่หรือพัฒนาข้ามขั้นตอนได้สะดวก การพัฒนาแอปพลิเคชั่นของไทยในอนาคตจึงมีโอกาสสร้างเสร็จเพื่อให้บริการได้เร็วกว่าเดิม คาดว่า 25% ของแอปพลิเคชั่นไทยทั้งหมดจะเป็นระบบคลาวด์ในช่วง 3 ปีนับจากนี้

สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบการสร้างแอป แต่ก่อนนี้แอปพลิเคชั่นต้องถูกพัฒนาเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระทั่งครบต้นจนจบ แต่สถาปัตยกรรมนี้จะทำให้การพัฒนาทำได้แยกส่วนกัน ส่วนท้ายอาจพัฒนาพร้อมส่วนหัว ทำให้การพัฒนาแอปเร็วขึ้น

IDC เชื่อว่าธุรกิจ B2C ไทย ที่จะลงทุนสร้างแอปพลิเคชั่นในรูปแบบนี้มากที่สุดคือกลุ่มแบรนด์อย่าง Unilever, Central, CIMB, Aliexpress, Laz และ Shopee เพราะกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ต้องการให้ลูกค้าใช้งานแอปได้เร็ว เป็นกลุ่มที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากอย่างชัดเจน

5. ในปี 2024 จำนวนนักพัฒนาไทยเพิ่มเกิน 20%

ก่อนหน้านี้ องค์กรไทยอาจมีปัญหาเรื่องทีมพัฒนาแอปที่มีความรู้ความสามารถจำกัด ทำให้การพัฒนาแอปได้ช้า สิ่งที่จะเกิดในอนาคตคือการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ที่ไม่ต้องใช้การเขียนโค้ด แต่ออกแบบให้ทำงานได้เร็วและสะดวกขึ้น 

เครื่องมือใหม่ที่เข้ามาตอบโจทย์ จะเป็นแรงผลักดันให้นักพัฒนาในไทยมีการร่วมมือประสานงานมากขึ้น ยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐ มีการสนับสนุนทุน การเรียนการสอนผ่านหลักสูตรมากมาย ทั้งหมดทำให้มั่นใจว่านักพัฒนาไทยจะมีจำนวนมากขึ้นแน่นอน

เรียกว่าในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ อุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจะใช้งานง่ายขึ้น ความจำเป็นการในการเขียนโค้ดน้อยลง องค์กรอาจจะใช้เครื่องมือช่วยให้พนักงานที่ไม่จบสายโปรแกรมเมอร์โดยตรง สามารถเป็นทีมพัฒนาให้องค์กรได้โดยไม่ต้องจ้างบริษัทอื่น

สิ่งสำคัญในเทรนด์นี้คือองค์กรต้องปรับนโยบาย เพื่อให้นักพัฒนาทำงานได้ดีขึ้น อาจจะเป็นการปรับให้นักพัฒนาเข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น หลากหลายขึ้น อีกจุดคือ self service ที่จะเอื้อให้พนักงานทำงานด้วยตัวเองมากขึ้น คาดว่าองค์กรจะต้องรีวิวและเพิ่มงบประมาณที่จำเป็น ซึ่งกรณีนี้เป็นไปได้ทั้งการเพิ่มหรือลดงบประมาณลง

6. แอปใหม่เกิน 4 ล้านแอปในไทยจะถูกสร้างขึ้นโดยแนวคิดใหม่

เมื่อมีเครื่องมือมากมายให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นทำงานได้ง่ายกว่าเดิม และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางแบบที่ผ่านมา คาดว่าจะมีแอปใหม่กว่า 4 ล้านแอปในไทยที่จะถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องมือใหม่เหล่านี้ โดยภายในปี 2023 ราว 95% ของประชากรไทยจะมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน จุดนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซไทยอย่างจริงจัง คาดว่า 41% ของการซื้อจะเกิดบนสมาร์ทโฟน 

หลายธนาคารพัฒนาแอปแล้ว เชื่อว่าจะเห็นการพัฒนาที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต แต่ผลกระทบคือเวลาที่คนไทยใช้แอปพลิเคชั่นจะลดลงอย่างมาก ดังนั้นองค์กรที่ไม่ใช้ประโยชน์จากระบบเรียนรู้ด้วยเรื่อง (ML) จะเสียความสามารถในการแข่งขันได้

7. ลงทุนฮาร์ดแวร์

IDC มองว่าองค์กรไทยจะมีการใช้งานระบบประมวลผลเทคโนโลยีใหม่ที่มีพลังประมวลผลสูงมาก เช่น quantum มากขึ้น คาดว่าในปี 2022 องค์กรกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนราว 15% ของธุรกิจไทย

IDC มองว่าการปรับตัวเพื่อยกระดับฮาร์ดแวร์ของธุรกิจจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบ AI บริษัทไทยที่เริ่มลงทุนระบบ quantum แล้วคือไทยพาณิชย์ ที่ลงทุนในบริษัทผู้พัฒนาระบบ quantum ชื่อ 1QBit อย่างจริงจัง

การเพิ่มขึ้นของซูเปอร์แอป จะทำให้เราเห็นความร่วมมือระหว่างองค์กรไทยกับแบรนด์ต่างชาติด้วย ทั้งหมดนี้จะเห็นผลอย่างช้าๆ

8. คนไทยคุยกับ AI มากขึ้น

แทนที่จะต้องใช้แอปพลิเคชั่นหรือเมนูหน้าเว็บไซต์ผ่านหน้าจอ IDC ฟันธงว่าเทคโนโลยี AI จะเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้หรือ UI ใหม่ซึ่งจะมาแทนแอปพลิเคชั่น 1 ใน 3 ที่คนไทยใช้งานผ่านอุปกรณ์ในปัจจุบัน 

ประเด็นนี้น่าสนใจมากเพราะข้อมูล IDC บอกว่าปี 2024 ระบบแชตบอทเทคโนโลยี AI จะเติบโต 230.2% ในไทย ถือเป็นการเติบโตที่สูงมากจนอาจจะทดแทนแอปพลิเคชั่นบางส่วน ซึ่งลูกค้าไทยอาจจะไม่ทันสังเกตว่าเป็นระบบอัตโนมัติก็ได้

คาดว่าผู้ประกอบการไทยเกิน 20% จะใช้เทคโนโลยีแชตอัตโนมัติภายในปี 2024

9. เข้ารหัสแรง บล็อกเชนร้อน

ในช่วง 4 ปีนับจากนี้ 25% ของเซิร์ฟเวอร์ไทยจะมีการเข้ารหัสข้อมูล คาดว่าการแจ้งเตือนความปลอดภัยมากกว่า 20% ในไทยจะถูกจัดการโดยระบบอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยี AI 

นอกจากนี้ ในช่วง 4 ปีเดียวกัน IDC เชื่อว่าคนไทย 3.5 ล้านคนจะมีตัวตนดิจิทัลเทคโนโลยีบล็อกเชน กรณีนี้จะมีผลใหญ่เพราะจะเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยพัฒนามุมดิจิทัลในสเต็ปต่อไป 

บริการดิจิทัลแบงกิ้ง หรือองค์กรที่มีระบบ KYC (Know Your Customer) จะได้เปรียบ ปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยสมัครใจเก็บข้อมูลตัวตนดิจิทับคือบริการด้านการเงิน ซึ่งภาครัฐก็จะผลักดันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนไทยให้ไปดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ที่โดดเด่นมากที่สุดคือบล็อกเชน

อย่างไรก็ตาม IDC ตั้งข้อสังเกตว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย นั้นนำหน้าไทยเรื่องตัวตนดิจิทัลไปมากกว่า 1-2 ขั้นแล้ว ทำให้มีโอกาสสูงที่ไทยจะเดินตามรูปแบบการพัฒนาระบบตัวตนดิจิทัลของ 2 ประเทศนี้

สิ่งสำคัญเมื่อคนไทยเกิน 3 ล้านคนมีตัวตนดิจิทัล คือการทำประโยชน์จากข้อมูลเส้นทางดิจิทัลของคนกลุ่มนี้ เนื่องจากแม้ส่วนใหญ่จะอยู่กับแบงก์ แต่ก็จะแพร่หลายไปใช้บริการทั่วทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้คือประเด็นการรักษาความปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด

10. Multicloud ผสมให้ยืดหยุ่น

IDC ย้ำว่าองค์กรไทยจะใช้ Multicloud ซึ่งเป็นระบบผสมระหว่างที่ทำให้การเก็บข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลการดำเนินงานของบริษัททำได้ยืดหยุ่นกว่าการเลือกประเภท cloud อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

เทรนด์นี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของหลายบริษัทที่เชื่อว่าองค์กรจะลงทุนมหาศาลเพื่อรับมือกับการล็อกอินใช้งานบริการ ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย จุดนี้ IDC ทิ้งท้ายว่า การปรับใช้ Hybrid Cloud และ Private Cloud จะเป็นเรื่องธรรมดาเพราะ 54% ขององค์กรไทยจะเน้นลงทุนเพื่อเชื่อม Cloud สาธารณะเข้ากับ Cloud ส่วนตัวเพื่อให้บริการของตัวเองลื่นไหลที่สุด.

]]>
1215792
ผ่า 5 บิ๊กเทรนด์ค้าปลีก สู่พฤติกรรมช้อปลูกค้า ทางรอดค้าปลีกปี 62 https://positioningmag.com/1207283 Wed, 09 Jan 2019 07:59:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207283 ถึงยุคที่ธุรกิจค้าปลีกต้องเผชิญกับ “แรงเหวี่ยง” ของการเปลี่ยนแแปลงรอบด้าน โลกดิจิทัลช้อปปิ้งออนไลน์ที่เข้ามาเบียดช่องทางขายแบบดั้งเดิม แม้กระทั่งร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกาต้องปิดตัวลงประมาณ 8,828 ร้าน ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ อย่าง Macy, Gap, Toy R us, Wallgreen, Best Buy  

สวนทางกับร้านค้าในโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้นทุกปี แถมยังกลับมาเปิดร้านค้าในโลกออฟไลน์ด้วยเช่น Amazon Go, Amazon Book Store โดยมีร้านค้าเปิดใหม่ถึง 12,663 ร้าน

เหตุการณ์เช่นนี้ จึงไม่ธรรมดาสำหรับวงการค้าปลีก

สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัด ในเครือบริษัทอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ได้นำปรากฏการณ์ดังกล่าว มาตีโจทย์ และสรุปออกเป็น 5 เทรนด์สำคัญของธุรกิจรีเทลและการตลาด ปี 2019 ซึ่งนักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์และเปลี่ยนวิธีสื่อสารกับผู้บริโภคใหม่

เทรนด์แรก เงาตามตัว Shadow Shopping ไม่มี Window Shopping อีกต่อไป

ก่อนหน้านี้ ลูกค้า “ดู” แต่ ”ไม่ซื้อ” ซึ่งนักการตลาดก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่รู้ข้อมูล จึงต้องปล่อยโอกาสการขายไป แต่จากนี้ไป รีเทลจะเปลี่ยนจากการ “ดู” มาเป็นการ “ซื้อ” ด้วย ข้อมูล” ความสนใจของผู้บริโภคเพื่อนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ทั้งการนำเสนอสินค้าและราคาที่เหมาะสมแบบ “เรียลไทม์” หรือแม้กระทั่งการลงทุน “เปิดร้าน“ เพื่อให้เข้าชมหรือทดลองสินค้าเพื่อ “ปิด” โอกาสการลังเลทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะยิ่งทอดเวลาออกไป โอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อจะยิ่งยากขึ้น

เธอยกตัวอย่าง Amazon Books ที่พบว่ามีผู้บริโภคดูหนังสือออนไลน์แต่ไม่ตัดสินใจซื้อซักที เพราะอยากดูรูปเล่ม คำนำ จึงเปิดร้านหนังสือเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้โดยจะซื้อทางออนไลน์หรือออฟไลน์ได้ในราคาเดียวกัน

กรณี Amazon ซื้อกิจการ Whole Foods Market ซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง เพื่อต้องการรู้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อทลายกรอบระหว่างออนไลน์และออฟไลฟ์ เช่นลูกค้าอเมซอนชั้นดีจะได้ดีลพิเศษเมื่อมาซื้อที่โฮลฟู้ดส์ด้วย

JD.com อีคอมเมิร์ซจากจีน ประกาศเปิดร้านสะดวกซื้อ 1,000 สาขาต่อวัน เพื่อให้นักช้อปออนไลน์ได้เลือกชมสินค้าแบบไม่ลังเล

แบรนด์เครื่องสำอาง SmashBox ใช้เทคโนโลยี Eye Tracking เพื่อดูว่าผู้บริโภคดูสินค้าอะไรนาน สนใจสินค้าอะไร เพื่อนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าสนใจและนำเสนอแบบเรียลไทม์ ทำให้ยอดขายของ SmashBox สูงขึ้นถึง 27%

อาลีบาบาสร้างเหอหม่าซูเปอร์มาร์เก็ตโดยให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าด้วยตัวเอง เสนอส่วนลดสินค้าตามความชอบของผู้ซื้อแต่ละราย

ซูเปอร์มาร์เก็ตเหอหม่า

จากนี้ไปรีเทลและนักการตลาดจะต้องมุ่งเน้นกลยุทธ์ที่เปลี่ยนการดู (browse) มาเป็นการซื้อ (Buy) เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการขายอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้บริโภคเลิกพฤติกรรม window shopเพราะตัดสินใจได้ฉับพลัน

เทรนด์ 2  Sellrounding (Sell+Surrounding)

ต่อจากนี้ไป พื้นที่ขายไม่ได้จำกัดอยู่แค่ร้านค้าออนไลน์ หรือออฟไลน์เท่านั้น แต่รอบตัวผู้บริโภคสามารถเป็น “พื้นที่ขายสินค้า” ได้หมด

ไม่ว่าจะเป็นป้ายรถเมล์ ตู้เสื้อผ้าในโรงแรม ห้องน้ำ สวนสาธารณะ รายการทีวี หาดทราย เป็นต้น ด้วยคอนเซ็ปต์ ‘ถูกที่ถูกเวลา’

เธอยกตัวอย่าง แบรนด์แฟชั่น H&M เปิดป็อปอัพสโตร์บนชายหาด Adidas เปิดคอนเทนเนอร์สโตร์ตามสวนสาธารณะ

แบรนด์หรูอย่าง Chanel รองเท้าโอนิซึกะ ไทเกอร์ ขายผ่านตู้เวดิ้งแมทชีนเพื่อเอาใจลูกค้า Gen Y แม้แต่โรงแรมก็เป็นพื้นที่ขาย

หรืออย่าง bingo box ของเมืองจีน เปลี่ยนป้ายรถเมล์ให้เป็นพื้นที่ค้าปลีกขายสินค้าขนมน้ำ เพราะโอกาสที่ผู้บริโภคซื้อสินค้ามีสูงขึ้น

รายการทีวี LoveIsland ทำแอปพลิเคชั่นให้ผู้ชมสั่งซื้อเสื้อผ้าที่ตัวละครสวมใส่ได้เลย ทำให้ยอดขายของแบรนด์เสื้อผ้าสูงขึ้นกว่า 40%

Alibaba มองหาโอกาสการขายในทุกที่ โดยการเปลี่ยนห้องน้ำผู้หญิงในห้างให้กลายเป็น Beauty Lounge โดยใช้กระจกอัจริยะแทนกระจกธรรมดา ทำให้ลูกค้าลองเครื่องสำอางได้ และถ้าชอบ สามารถซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น หรือ vending machine ที่วางขายในห้องน้ำได้เลย ขับรถเราสามารถช้อปได้จากหน้าจอ สามารถช้อประหว่างรอรถติด

ถึงแม้จะมีสโตร์รีเทลปิดไปเยอะ แต่ก็มีพื้นที่ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้แต่บ้านของลูกค้า เมื่อดีไซเนอร์ส่งเสื้อผ้าที่จัดเป็นชุดที่เหมาะให้ลูกค้า ทั้งเสื้อ กระโปรง กางเกง รองเท้า เสร็จสรรพ ถ้าชอบสั่งซื้อได้เลย แต่ถ้าไม่ชอบส่งคืนดีไซเนอร์ นอกจากเพิ่มโอกาสการขายได้ทุกที่แล้ว ยังตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคขี้เกียจคิดอีกด้วย

แบรนด์ขนม ส่งสินค้ามาที่บ้านลูกค้า โดยแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นการ Sellrounding ทุกอย่างเป็นพื้นที่ขายหมด

Sellrounding ถูกใจอาลีบาบามาก นอกจากจะมี pop up store ให้ลูกค้ามาทดลองสินค้าแล้ว ยังร่วมมือกับร้านโชห่วย 6 แสนแห่งในจีน (10% ของโชห่วยในจีน) แปลงโฉมร้านใหม่ โดยนำระบบไอทีมาช่วย ทำให้ร้านค้าสะดวกในการสั่งสินค้า และลูกค้าก็ได้รับความสะดวกมากขึ้น ทำให้โชห่วยสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน

จะเห็นได้ว่าทุกที่รอบตัวผู้บริโภคสามารถเป็นพื้นที่ขายสินค้าได้ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อง่ายขึ้น ซื้อมากขึ้น

เทรนด์ 3 Syntail (Synergistic R(E)tail)

เป็นการรวมตัวของผู้ค้าต่างสายธุรกิจ เพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อในทุกๆ ขั้นตอน (Journey) และทุกช่องทาง (Touch Point) ส่งผลให้ผู้บริโภคฉาบฉวยมากขึ้น

เธอยกตัวอย่าง ความร่วมมือระหว่าง Alibaba + Starbucks เพื่อเปิดโอกาสให้คนสั่ง Starbucks Online เข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้น

  • Ikea จับมือ Task Rabbit เพื่อขยายการบริการส่งและประกอบเฟอร์นิเจอร์ตามบ้าน

  • Martha Stewart เจ้าแม่ไลฟ์สไตล์ ที่คิดค้นสูตรอาหารและเครื่องปรุง จับมือ  Marley Spoon Meal kits delivery service ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดส่งอาหารสดสำหรับปรุง เพื่อขยายสู่เดลิเวอรี
  • เทสโก้ โลตัส เป็นพันธมิตรกับ honest bee เพื่อให้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านลูกค้า เพื่อรองรับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซื้อถี่ขึ้น ซื้อสินค้า SKUs เล็กลง แต่เวลาเดินทางไปจับจ่ายด้วยตนเองลดน้อยลง

  • Alibaba จับมือ Intersport เพื่อให้ลูกค้าลองสินค้ากีฬาได้ที่ร้านค้า (Physical Store) ของ Intersport และสามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น TMall ของ Alibaba โดยสินค้าไปส่งได้ที่บ้านเลย ไม่ต้องถือของพะรุงพะรัง

ธุรกิจที่ได้เปรียบ จะต้องเป็นธุรกิจที่เข้าได้ทุกช่องทาง (Touch Point)ของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ขบวนการซื้อขาย (Shopping Journey) แต่ต้องมีระบบการขนส่ง (Logistic) เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญ และการรวมตัวทำให้ผู้บริโภคฉาบฉวย มากขึ้น เพราะแทบไม่ต้องคิด ต้องทำอะไร มีคนคิดแทนได้หมด 

เทรนด์ 4 Self Control

ผู้บริโภคทุกวันนี้ยอมแลกการบริการอันแสนสบายกับการไม่ต้องรอคิวอันแสนน่าเบื่อ รีเทลและนักการตลาดจึงต้องปล่อยให้ผู้บริโภคควบคุมขบวนการซื้อด้วยตัวเอง และมีทางเลือกที่จะช้อป รับสินค้าแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้อย่างอิสรเสรี เช่น

Amazon Go หรือ Tao Café ที่ไม่มีพนักงานมาคอยบริการ ซึ่งผู้บริโภคสามารถช้อป ตัดเงินอัตโนมัติ เดินออกโดยไม่ต้องเข้าคิว

Walmart เปลี่ยนจากลานจอดรถเป็นพื้นที่รับสินค้า (Pick up area) เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสั่งออนไลน์ และมารับได้ที่ลานจอดภายใน 5 นาที สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือซื้อของน้อยชิ้น Walmart ก็มีจุดรับสินค้า (Pick up) อัตโนมัติ ที่เราแค่สแกนบาร์โค้ด สินค้าก็จะโหลดลงมาที่จุดรับสินค้าทันที

Alibaba เองก็มีทางเลือกให้ลูกค้ามาเลือกช้อปสินค้าของสดที่ Hema Supermarket โดยจะเอาสินค้ากลับบ้าน หรือจะใช้บริการจัดส่ง (Delivery) ก็ได้

ต่อไปนี้รีเทลและนักการตลาด จะปล่อยให้ผู้บริโภคควบคุมขบวนการซื้อได้ด้วยตัวเอง ผู้บริโภคจะชินกับการช่วยตัวเองมากกว่าการรอรับบริการ

เทรนด์ 5 Sentimental data ใช้ข้อมูลผู้บริโภคเองเป็น influencer ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด

ผู้บริโภคนอกจากช่วยเหลือตัวเองแล้ว ยังเชื่อตัวเองด้วย ส่งผลให้ influencer จะเปลี่ยนจากคนที่มีชื่อเสียงเป็นตัวผู้บริโภคเอง เนื่องจากปัจจุบันความสามารถในการประมวลผลของ AI (สมองกล) สามารถเก็บข้อมูลผู้บริโภคได้โดยละเอียด และสามารถนำข้อมูลนั้นมาแนะนำสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างโดนใจ เพราะข้อมูลจากผู้บริโภคเองเป็นข้อมูลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ทำให้เกิดการซื้อที่ง่ายขึ้น ซึ่งสมัยก่อนไม่มีข้อมูลที่ประมวลผลได้ละเอียดแม่นยำเท่าทุกวันนี้ รีเทลและนักการตลาดบางบริษัทจึงพัฒนาไปถึงขั้นการจับอารมณ์ เช่น

Walmart ทดลองเทคโนโลยีการจับ Mood หรือ อารมณ์การช้อป ทำให้รู้ว่าผู้บริโภค ชอบไม่ชอบอะไร และสามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงประเด็นมากขึ้น

สถานีรถไฟฟ้าบราซิล สามารถจับหน้าจาก Biometric Technology ทำให้รู้ว่าคนรอรถไฟฟ้าเป็นเพศอะไร วัยอะไรเพื่อเลือกยิงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด แทนที่จะฉายโฆษณาไปเรื่อยๆ แบบไม่มีเป้าหมาย

Nike ทำแอปพลิเคชั่นการวิ่งเพื่อเก็บข้อมูลการวิ่งของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลของผู้บริโภค มาแนะนำสินค้าให้กับตัวผู้บริโภคเอง ว่ารองเท้ารุ่นไหนที่เหมาะกับสุขภาพและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคมากที่สุด และข้อมูลที่เก็บมาจากตัวเราเองอย่างแม่นยำ ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเราเองอย่างปฏิเสธไม่ได้

ต่อจากนี้ไป รีเทลและนักการตลาดจะใช้ข้อมูลของผู้บริโภคเองเป็น Influencer มากกว่าจะใช้ ดารา หรือคนดัง ซึ่งถือเป็นการยัดเยียดผ่านโฆษณา แต่ด้วยการใช้ข้อมูลที่เข้าถึงผู้บริโภคจริงๆ จะสร้าง ‘Trust’ และ ‘Brand Loyalty’ รูปแบบใหม่ อย่างไรก็ดี อาจทำให้ผู้บริโภคแปลกแยกกับสังคมมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีทำให้พึ่งพาและเชื่อตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือ เทรนด์ค้าปลีก ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผี้บริโภค.


]]>
1207283
“บอย โกสิยพงษ์” ในวันที่พายุดิจิทัลซัดกระหน่ำ เพลงไม่ตาย แต่ต้องกลายพันธุ์ “แฟนคลับ” แอสเสทที่แท้ทรูของธุรกิจบันเทิงวันนี้ https://positioningmag.com/1158534 Fri, 23 Feb 2018 07:16:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158534 ในโลกดิจิทัล เพลงเป็นหมวดแรกในธุรกิจบันเทิงที่โดน “Disrupt” ก่อนใคร อีกทั้งแอปพลิเคชั่นให้ฟังเพลงฟรีก็มีมากมายทั่วโลก ทำให้ เพลง” ซึ่งเคยเป็นสินค้าหลักของธุรกิจ ถูกแปลงสภาพเป็น “ฟรี” คอนเทนต์ที่ถูกแชร์ให้เสพเป็นของสาธารณะที่ไม่มีราคา รายได้ของธุรกิจเพลงหายวับไปกับตา ค่ายเพลงบางค่ายถึงกับต้องหันไปขายเครื่องสำอาง หรือพึ่งรายได้จากการขายสินค้าทางทีวี แทนการขายเพลงที่แทบไม่เหลือมูลค่าเพิ่มใด  แล้ว 

บอย โกสิยพงษ์ เจ้าพ่อเพลงรัก ผู้ให้กำเนิดค่ายเบเกอรี่ มิวสิค ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของค่ายเลิฟอีส (Love is) ในภายหลัง ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรมเพลงของไทย ที่ต้องเจอดิสรัปต์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ถึงขั้นต้องหลบอยู่นิ่ง ๆ ในวันที่ฝนพรำ และพายุดิจิทัลก็ทำให้เขาต้องเห็นถึงความแตกต่างของโลกที่เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ

บอย คนเดียวกันนี้ ได้ถูกรับเชิญมาอยู่บนเวทีสัมมนา Digital Intelligent Nation 2018 ของเอไอเอส ค่ายมือถือ เพื่อบอกเล่าถึงการปรับตัวครั้งสำคัญบนเส้นทางใหม่ในโลกดิจิทัล

จากเจ้าของค่ายเพลงที่เคยทำรายได้หลักจากเพลง ปั้นนักร้องมากี่คน ออกอัลบั้มขายซีดีแต่ละทีลงทุนโปรโมตเท่าไร อย่างต่ำที่สุดก็จะต้องขายซีดีได้เป็นแสนก๊อบปี้ขึ้นไป แต่ยุคนี้ไม่มีภาพแบบนั้นอีกแล้ว

ตอนแนปสเตอร์ (Napster) มา ผมคุยกับน้องชายว่า ซวยแน่ๆ แต่เรายังไม่รู้ว่ากระแสเอ็มพี 3 (mp3) จะเกิดอะไรขึ้น ช่วงนั้นตลาดเพลงยังไม่หาย แต่เหมือนเห็นฟ้าครึ้มแล้วรู้ว่าฝนมาแน่

พายุดิจิทัลก็ซัดอุตสาหกรรมเพลงหนักมาก เพราะตั้งแต่เริ่มมีไฟล์เพลงดิจิทัลยอดขายซีดีจากแสนจากล้านก๊อบปี้ รายได้จากการขายเพลงลดเหลือแค่เปอร์เซ็นต์เดียว

สถานการณ์ธุรกิจไม่น่าไว้ใจ แม้บริษัทจะยังมีรายได้ที่ทดแทนการขายซีดีอยู่บ้างแบบบางมากๆ และรายได้จากการทำโชว์ การจัดคอนเสิร์ตในตอนนั้น กลยุทธ์เดิมของบริษัทคิดแค่ใช้กิจกรรมเหล่านี้เป็นการตอบแทนให้ความสุขแฟนๆ มากกว่าจะเป็นรูปแบบของการทำกำไรทางธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งต่างจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อดิจิทัลทำให้ธุรกิจเพลงต้องเปลี่ยนตัวเองแบบ 360 องศา

เมื่อเพลงเป็นมีเดีย กำไรไม่ได้มาจากเพลง

บอยเลือกใช้กลยุทธ์ในวันที่ฝนพรำ เปลี่ยนการทำตลาดเพลง จากบีทูซี เพราะเห็นแน่ๆ ว่าผู้บริโภคไม่จ่ายเงินซื้อซีดีอีกต่อไปแล้ว ไปมองหาคนที่จะยอมจ่ายเงินแทน โดยเปลี่ยนมาทำธุรกิจเพลงแบบ บีทูบี เพราะเรื่องเพลงคนหาฟังได้อยู่แล้ว

ในเมื่อ

บริษัทไม่ได้กำไรจากเพลง และเพลงกลายเป็นมีเดียแทน

จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการขยายฐานแฟนคลับ สร้างศิลปินกลุ่มใหม่ เปลี่ยนรูปแบบการขายโดยให้ธุรกิจเป็นคนจ่าย

เพราะของฟรีคนรับส่วนใหญ่ก็ชอบ แต่จะทำอย่างไรให้มีคุณค่าและแฟนคลับยังอยากได้ซีดีที่จับต้องได้ไปเก็บไว้ ซึ่งต้องยอมรับล่ะว่า ศิลปินในสังกัดของบอย มีความสามารถ เอ็นเตอร์เทนคนได้ แต่มากกว่าครึ่งก็ไม่ใช่แนวที่แฟน ๆ อยากถ่ายรูปคู่จับมือด้วย เพราะฉะนั้นจะมาขายบัตรจับมือพ่วงซีดี หรือบัตรงานมีทแอนด์กรี๊ดก็ไม่ใช่แนว แถมศิลปินหลายคนก็ขึ้นแท่นระดับแถวหน้าไปแล้วด้วยผลงานและวัย

ช่วงนั้นผมเซ็นลายเซ็นบนซีดีที่ขายผ่านบีทูบี (ที่จะแจก) 400,000 แผ่น ตั้งใจจะแจกเป็นล้าน เพื่อให้เข้าถึงแฟนเพลงให้ได้เป็นล้านคน ทำแบบนี้ต่อเนื่องอยู่ 3-4 ปี บีทูบีทำให้ตั้งสติได้ว่า จะเอาไงดีต่อจากนี้ เพราะภาพชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่า พาราไดม์เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ จะคิดแบบเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแล้วจริง ๆ

การขายลายเซ็นบนแผ่นซีดี ก็เลยเป็นเทคนิคการขายที่ทำให้บอยยังทำยอดขายซีดีให้กับธุรกิจเพลงของเขาได้ แม้ซีดีเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ถูกเปิดฟังก็ตาม

ส่วนจุดที่คิดว่าต้องเปลี่ยนเพื่อพาอุตสาหกรรมเพลงให้รอด บอยยังได้แรงหนุนจากคำของพ่อที่เคยสอนไว้ว่า

ต้นไม้เวลาถูกริด ถูกตัดจนโกร๋น อีกสักพักจะเบ่งบาน มีใบใหม่ มีดอก ถ้ายิ่งขึ้นทะลุจากปูนก็ยิ่งอยู่ได้นาน ผมคิดว่า ชีวิตธุรกิจก็เช่นกัน เราก็ต้องทำแบบนั้น เราต้องอยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

เจ้าพ่อเพลงรัก เห็น “Insight” อะไรจากโลกอินเทอร์เน็ต

วิธีการหาทางออกของบอยเริ่มจากที่เขาสังเกตเห็นว่า คนเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเยอะมาก แล้วใช้บนมือถือ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ขับรถอยู่ก็ยังหยิบมาเล่น จึงคิดว่า จะต้องทำอย่างไรให้สามารถเปลี่ยนช่วงเวลานั้นของคนใช้อินเทอร์เน็ตให้มีมูลค่า แล้วเอามูลค่านั้นมาจ่ายให้อุตสาหกรรมดนตรี หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ อยู่รอด

การคิดจะเปลี่ยนความสิ้นเปลืองมาเป็นรายได้ให้อุตสาหกรรมดนตรี จากที่เคยจับเข่าคุยกับน้องชายเรื่องลางร้ายของอุตสาหกรรมดนตรี ก็ถึงเวลาจับเข่าคุยเพื่อหาทางออก ซึ่งกลายเป็นที่มาของแอปพลิเคชั่นแฟนสเตอร์ (FanSter) 

FanSter แอปฯ ที่คิดขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมติ่ง

ที่สุดของติ่งหรือแฟนคลับระดับสาวก คือการได้รับรู้ว่าไอดอลที่ชื่นชอบรู้ถึงความชื่นชมคลั่งไคล้ที่เหล่าติ่งทั้งหลายมีต่อพวกเขา และได้รับแฟนเซอร์วิสกลับมาในรูปแบบต่าง ๆ

การเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายไหน ให้กลายเป็นการแสดงออก หรืออะไรที่จับต้องได้ไม่เพียงมีคุณค่าทางจิตใจ แต่สามารถทำให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ” ได้ด้วยเช่นกัน

7-8 ชม.ที่คนใช้ชีวิตอยู่บนมือถือ แน่นอนว่าส่วนใหญ่คือการใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ดังนั้น ถ้าคิดจะมีแอปฯ ที่ดึงทุกคนมาไว้ที่เดียว แอปฯ FanSter ก็เลยต้องรวมทุกคอนเทนต์ที่กระจายในโซเชียลแพลตฟอร์มของศิลปิน หรือไอดอลทุกคนมารวมไว้ที่เดียว เพื่อดึงดูดแฟนคลับด้วยการอำนวยความสะดวกให้ติดตามศิลปินที่ชอบจากทุกโซเชียลแอปพลิเคชั่นได้ในแฟนสเตอร์ 

ถ้าเราทำให้ แทนที่คนจะใช้ทุกโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม มาใช้บนแฟนสเตอร์ที่เดียว เราก็จะใช้เวลาที่เขาใช้ มาสร้างรายได้ให้เรา ผ่านการโฆษณา หรือกิจกรรมต่าง

วิธีการของ FanSter คือ เมื่อเปิดแอปฯ แล้ว ก็จะพบขั้นตอนดังต่อไปนี้

• ระบบจะถามว่า อยากติดตามใครบ้าง โดยจะมีรายชื่อไอดอลโชว์ขึ้นมาในรูปวงกลมเรียงกันไป ให้กดเลือกว่าอยากจะติดตามใคร

• เมื่อกดติดตามแล้ว ระบบจะแสดงให้เห็นด้วยการเปลี่ยนกรอบรูปวงกลมเป็นกรอบรูปหัวใจ ปัจจุบันมีแค่ศิลปินนักร้องจากหลาย ๆ ค่ายเล็กที่บอยรวบรวมมาแบบไม่จำกัดค่าย ในอนาคตจะไม่จำกัดศิลปิน จะมีดารา นักเขียน นักมวย คนที่มีแฟนคลับ เช่น ชมรมรถยี่ห้อต่าง ๆ ของเล่น เข้ามาอยู่ในนี้หมด

• คนที่กดติดตามจะสามารถดูทุกฟีดของศิลปินคนนั้นได้จากทั้งที่ลงในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูป ทวิตเตอร์

• ฟีดที่จะได้เห็น ไม่จำกัดแค่ของศิลปิน หรือที่เป็นออฟฟิศเชียลฟีดเท่านั้น ส่วนที่แฟนฟีด หรือฟีดของกลุ่มแฟนคลับของไอดอลก็โชว์ให้เห็นได้ด้วย

• มีระบบเอ็นเกจเมนต์เหมือนในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ให้กดแสดงความรู้สึกและแชร์ต่อไปในเฟซบุ๊กได้

• มีระบบกระตุ้นเพื่อสร้างเอ็นเกจเมนต์ด้วยการให้คะแนนสะสมไว้ในระบบคะแนนยิ่งมากเลเวลยิ่งเพิ่ม

• คะแนนที่ได้จะเป็นเหมือนบัตรใช้ผ่านเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับศิลปินในกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น

• โดยรวมในแอปฯ จะแบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนของผู้ใช้ฟีดของศิลปิน เอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ มิชชั่น และของรางวัล

คะแนนนสะสม เลเวลที่ได้ จะแสดงให้เห็นว่า เวลาที่เขาใช้บนมือถือเริ่มมีคุณค่า ระบบจะบอกเลยว่า ใครใช้เวลากับใครเท่าไรในช่วงอาทิตย์หนึ่ง และเวลาสะสมทั้งหมด ศิลปินก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้ เพราะเข้าไปดูได้ว่าคนไหนเลเวลเท่าไร เข้าไปดูถึงหลังบ้านของแฟนได้เลยว่า คนที่ติดตามเขาตอนนี้ อกหัก อินเลิฟ หรืออะไร เพื่อถ้าอยากเซอร์วิสแฟนจะได้รู้ว่าควรทำอะไร ระบบหลังบ้านเป็นแฟนคลับแมเนจเมนต์เพื่อมอบให้คู่ค้าทุกคน

ส่วนคะแนนสะสมหรือเหรียญที่ได้จากการติดตาม แฟนคลับสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่ค้าของแฟนสเตอร์ หรือจะเอามาใช้งานและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในระบบก็ได้ เช่น อันล็อกเอ็กซ์คลูซีฟคอนเท็นต์ หรือแลกกับกิจกรรมพิเศษกับศิลปินที่ชอบ ฯลฯ

เหรียญหรือคะแนนที่ให้ ผู้ใช้จะได้ทั้งจากในระบบหรือจากพันธมิตรธุรกิจ เช่น สมัครบริการเอไอเอสแพ็กเกจที่ทำโปรโมชั่นแจกเหรียญร่วมกับแอปฯ สมัครใช้งานธนาคาร ฯลฯ ส่วนการใช้คะแนน เราจะมีของรางวัลที่ซูเปอร์อินไซต์ เช่น ให้พี่นภพรชำนิ ขับรถเอาดอกไม้ไปให้ที่ทำงาน ขับรถพาไปกินข้าว ถ้าคะแนนไม่ถึงเพื่อแลกของรางวัล ก็จะมีระบบให้ใช้คะแนนบางส่วนเพื่อแลกกับสิทธิในการจับรางวัล

นี่คือการนำระบบพริวิเลจกับโปรโมชั่นแบบชิงโชคเสี่ยงดวง มารวมกันอย่างแยบยลชัด

FanSter Now & Next

ตอนนี้แอปฯ สเตอร์มีคนดาวน์โหลดใช้งานแล้วกว่า 10,000 ราย มีเรตติ้งในระดับ 4.3 จากผู้ใช้ 187 คนที่เข้ามารีวิว (23 กุมภาพันธ์ 2561)

บอยให้ตัวเลขว่า 60% ของคนที่โหลด ใช้งานทุกวัน มีประเภทติดตามแบบฮาร์ดคอร์ 30% คนกลุ่มนี้มาจากประเทศจีน ซึ่งเชื่อว่าหากมีการเปิดใช้งานระบบ VPN ก็ยิ่งมีจำนวนมากขึ้นมหาศาล

แฟนคลับจากจีนที่ใช้ FanSter เป็นกลุ่มที่ได้จากการติดตามวง SB Five ในสังกัด ที่หนึ่งในสมาชิกวงคือ Bass หรือที่คนจีนเรียกว่า พั้งพั้ง (แปลว่าอ้วน) เคยมีซีรีส์ที่เข้าไปฉายในจีนและทำให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบของแฟนๆ ชาวจีน

การบุกตลาดของวงนี้ในจีน เป็นการทำงานของเลิฟอีสกับสตาร์อันเตอร์ ซึ่งบริษัททำเพลงให้วงนี้หลังจากที่เป็นที่รู้จักในจีนผ่านละครแล้ว

ปรากฏการณ์ของวง SB Five ในจีน เป็นอีกเรื่องที่ทำให้บอยเห็นบทบาทศิลปินที่เปลี่ยนไปว่า เวลาศิลปินจัดงานมีทแอนด์กรี๊ดจากเดิมก็เพื่อให้ศิลปินมาเจอกับแฟนคลับ ร้องเพลงให้ฟัง ยุคนี้แทนที่ศิลปินจะเป็นฝ่ายร้องเพลงแต่แฟนคลับกลับเป็นคนยอมจ่ายค่าบัตรแพง ๆ มาร้องเพลงให้ศิลปินฟัง

ถ้าเป็นคอนเสิร์ต นักร้องต้องมาร้องให้คนดูฟัง แต่ SB Five จัดมีทแอนด์กรี๊ดที่จีน คนเสียงตังค์ 5,000 หยวน (ประมาณ 25,000) บาท มาร้องเพลงให้นักร้องฟัง แล้วบัตรขายหมดใน 15 นาที

การเห็นและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้บอยเข้าใจว่า แม้โลกของบันเทิงถูกดิสรัปต์ก็จริง แต่ก็เป็นการดิสรัปต์เพื่อให้รู้จักเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนตัวเอง ถ้ายืนยันทำแบบเดิมก็เดินต่อไม่ได้

อีกเรื่องที่เราต้องทำคู่กันไปสำหรับยุคนี้ คือ แบรนดิ้ง เพื่อจะใช้แบรนดิ้งของศิลปินออกไปสู่ต่างประเทศได้” 

FanSter จะโตยั่งยืน ต้องสร้างอีโคซิสเต็มแห่งความสุขให้ครบ

บอย กล่าวถึงธุรกิจแฟนสเตอร์ต่อจากนี้ไว้ว่า

ผมเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้ใช้ได้ทั้งโลก เพราะทั้งโลกต้องมีแฟน เป็นระบบแฟนคลับ ซึ่งในเวอร์ชั่น 2.0 จะเป็นเวอร์ชั่นที่พลิกเกม เพราะเราจะให้ยูสเซอร์เจนเนอเรตคอนเทนต์ได้เอง โดยไม่ต้องดูดเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูปแล้ว เพื่อแก้เกมที่เฟซบุ๊กเปลี่ยนอัลกอลิธึ่มใหม่ ถ้าเราสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมากันเอง เราก็ดูแลกันเองได้

ในวันที่ฟ้าสว่าง วิสัยทัศน์ในอนาคตของแฟนสเตอร์ก็ชัดเจน   

ที่สำคัญเขาเชื่อว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้สามารถตอบสนองทั้งอีโคซิสเต็ม โดยเฉพาะตอบสนองความสุขของผู้ใช้ หรือกลุ่มแฟนคลับ ไม่ให้ใช้เวลาไปแบบเสียเปล่าซึ่งเป็นความเหนือกว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่น ที่ใช้งานมากเท่าไรก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไร

แต่แฟนสเตอร์ ยิ่งใช้เยอะยิ่งได้เหรียญมาแลกความสุขของผู้ใช้ ขณะที่ลูกค้าที่เป็นสปอนเซอร์ก็คำนวณได้ว่า สิ่งที่จ่ายไปซัคเซสเท่าไร

ถึงตรงนี้บทเรียนสำหรับธุรกิจอื่น ๆ ที่ยังหาทางออกไม่เจอจากการถูกดิสรัปต์ หาศึกษาจากกรณีของ FanSter ซึ่งพบทางออกของอุตสาหกรรมดนตรี และอาจจะพ่วงอุตสาหกรรมบันเทิงอื่น ๆ ให้ไปต่อได้ด้วย กับการฝ่าฟันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดที่ผ่านมาของบอยก็คงจบลงด้วยประโยคของบอยที่สรุปไว้ว่า

ก็ต้องอดทนเหมือนเวลาที่ฝนพรำ อย่างไรฝนก็ต้องหยุด ไม่มีทางที่ฝนจะตกไปเรื่อย ๆ รู้ความจริงเช่นนี้แล้ว ก็อย่าไปยอมแพ้มัน

]]>
1158534