โอเปอเรเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 29 Mar 2022 15:14:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตาความ Beyond ของ ‘ดีแทค’ เมื่อแอปใหม่ใช้ได้ทุกค่าย ลูกค้า ‘ค่ายอื่น’ จะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? https://positioningmag.com/1378471 Fri, 25 Mar 2022 10:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378471

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมดีแทคแอป ถึงเปิดให้ทุกค่ายใช้ได้? แล้วกลยุทธ์นี้จะช่วยให้ดีแทคแข่งขันหรือเพิ่มลูกค้าได้อย่างไร และมันสะท้อนอะไรในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่กำลังจะเปลี่ยนไป

หากพูดถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหรือเหล่าโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายหลักของคนไทยเราจะนึกถึงจำนวนคลื่นในมือ, โปรโมชั่น, การบริการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แน่นอนว่าทั้ง 3 ค่ายก็ไม่มีใครยอมใครเพื่อจะรักษาฐานลูกค้าของตัวเองให้อยู่ในมือนานที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าการจะหา ‘ลูกค้าใหม่’ ในตอนนี้แทบจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะแค่จำนวนเบอร์ที่เปิดในตลาดก็มากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศไปแล้ว

ในขณะที่ลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่หายาก ทำให้เห็นว่าตลาดโทรคมนาคมในตอนนี้กำลังก้าวไปอยู่ในจุดที่ ยังเติบโตได้แต่น้อย แน่นอนว่าทุกค่ายก็พยายามที่จะหารายได้ใหม่ ๆ อย่างเช่นการทำ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือไปจับมือกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง แต่จะมีเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ที่เป็นค่ายตัวเองเท่านั้นที่ดูได้ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกวิธีที่จะดึงลูกค้าใหม่เข้าค่ายไปในตัว

สำหรับดีแทคได้เลือกที่จะหันมาพัฒนา ดีแทคแอป ไม่เพียงเพื่อให้เป็นอีกทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท แต่ยังเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และต่อยอดเป้าหมายการเติบโตด้านดิจิทัลด้วย จากตอนแรกดีแทคแอปนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการทำธุรกรรมพื้นฐาน อาทิ ชำระค่าบริการรายเดือน เติมเงิน รับสิทธิ์ดีแทครีวอร์ด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับดิจิทัลมากขึ้น จนทำให้ลูกค้าคุ้นเคยกับการใช้งานธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น และความต้องการก็เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่ม ดังจะเห็นได้ว่าลูกค้ากลุ่ม ดังจะเห็นได้ว่าลูกค้ากลุ่มเติมเงินใช้งานแอปดีแทคเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 124% ในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด

ในเมื่อบริษัทมีฐานลูกค้า 20 ล้านราย แม้ตอนนี้จะยังไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่ใช้แอป แต่โอกาสที่จะเข้าใช้งานมากขึ้นก็มี ดังนั้น ดีแทคก็เดินเกมต่อไปโดยการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่มากกว่าโทรคมนาคม เพื่อตอบสนองการใช้งานดิจิทัลที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการร่วมมือกับ พันธมิตร ที่มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือ ต่อยอดสู่บริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม

อย่าง ดีแทค ดีชัวรันส์ บริการประกันออนไลน์ ที่ร่วมกับพันธมิตรประกัน 11 ราย เพื่อคัดสรรกรมธรรม์ที่คุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่สุด หรือล่าสุด บริการ dtac Safe สำหรับปกป้องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยการร่วมมือกับ Cyan ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้มาตรฐานยุโรป นอกจากนี้ก็มีบริการอย่าง Gaming Nation จุดหมายปลายทางเพื่อคอเกมที่รวบรวมดีลเติมเกมดี ๆ พร้อมไอเทมเกมสุดเอ็กคลูซีฟ และบริการ และ Pay via dtac ให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ ได้ผ่านระบบโอเปอเรเตอร์บิลลิ่ง สะดวก ครบจบในที่เดียว

หากพิจารณากลยุทธ์ดังกล่าวถือว่า Win-Win-Win ทั้ง 3 ฝ่าย ดีแทคเองได้ต่อยอดทรัพยากรที่มี และสามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ใหม่ ๆ สำหรับพาร์ทเนอร์ก็สามารถขายบริการได้โดยไม่ต้องไปเหนื่อยหาลูกค้าเอง และสำหรับลูกค้าดีแทคและแม้ไม่ใช่ดีแทคเอง ก็ได้ใช้บริการที่อาจกำลังมองหา แต่ยกระดับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริการประกัน ที่ในไทยมีผู้ให้บริการหลายรายมาก กว่าจะหาข้อมูลครบแต่ละรายคงจะหมดความอดทนก่อน ซึ่งบริการดีแทค ดีชัวรันส์ ก็เข้าใจปัญหานี้จึงทำให้หาง่ายและเปรียบเทียบบริการแต่ละประกันให้เสร็จ แถมยังจ่ายผ่านบิลดีแทค และทำธุรกรรมทั้งหมดนี้บนดีแทคแอปที่เดียวจบ ทั้งสะดวกทั้งปลอดภัย

ถ้าดูจากตัวเลขในช่วง 2 เดือนที่บริการดีแทค ดีชัวรันส์ให้บริการก็พบว่ามีผู้เข้าชมมากกว่า 2.5 ล้านครั้ง และที่สำคัญคือ  25% ไม่ใช่ลูกค้าดีแทคด้วยซ้ำ จากตัวเลขก็แสดงให้เห็นแล้วว่า โอกาสไม่ได้อยู่แค่ลูกค้าในค่ายอีกต่อไป ดีแทคเลยอัพเกรด ดีแทคแอปเวอร์ชันใหม่ ให้สามารถ ใช้ได้ทุกค่าย พร้อมกับรองรับการใช้งาน 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ พม่า และกัมพูชา เพื่อเปิดรับโอกาสให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงประชากรไทยอีก 50 ล้านคน ที่อาจจะเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าดีแทคในอนาคต

หากดูจากผลลัพธ์ในการเดินกลยุทธ์ Fast forward digital ที่ดีแทคจะมุ่งสู่บริการที่ ‘มากกว่าโทรคมนาคม’ โดยให้บริการดิจิทัลแบบไม่จำกัดค่าย อาจพูดได้ว่า มาถูกทาง เพราะสามารถดึงลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 7 แสนราย มีผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 6.7 ล้านคน ซึ่งถ้าหากดีแทคยังเดิมกลยุทธ์แบบเดิม ๆ มุ่งเน้นแต่ในด้านโทรคมนาคม ผลลัพธ์อาจไม่เป็นอย่างที่เห็นก็เป็นได้

ก็ต้องมารอดูกันว่าปีนี้ ดีแทคจะมีบริการใหม่ ๆ อะไรเพิ่มเข้ามาอีกบ้าง และจะไปถึงเป้าที่วางไว้ว่าต้องการเพิ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการดิจิทัล 10 ล้านคนต่อเดือน และมียอดลูกค้าใหม่ผ่านดิจิทัลมากกว่า 5 เท่า ได้ไหม แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้ดีแทคแอปไม่ได้มีไว้เพื่อลูกค้าดีแทคอีกต่อไป แต่มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยทุกคน

]]>
1378471
‘อีริคสัน’ มองในปี 68 คนไทยใช้ 5G เกิน 50% พร้อมประเมินควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ ตลาดยิ่งแข่งสูง https://positioningmag.com/1364923 Wed, 01 Dec 2021 14:05:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364923 รายงานเชิงลึกระดับโลกของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดเผยว่าตั้งแต่อีริคสันจัดทำและเผยแพร่รายงาน Ericsson Mobility Report ครั้งแรกในปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณ การใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มขึ้นเกือบ 300 เท่า โดยในรายงานฉบับครบรอบสิบปีนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเครือข่ายมือถือทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการคาดการณ์ไปจนถึงปี 2570

ผู้ใช้ 5G ทั่วโลกแตะ 660 ล้านบัญชีในสิ้นปี

จากการคาดการณ์ที่ระบุว่า ยอดผู้ใช้บริการ 5G จะสูงแตะ 660 ล้านบัญชีภายในสิ้นปีนี้ เป็นการตอกย้ำสมมติฐานที่ว่า 5G เป็นเจเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วที่สุด โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีนและอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาอุปกรณ์ 5G ที่ลดลง อีริคสันยังพบว่าในไตรมาส 3 ที่ผ่านมานี้ทั่วโลกมียอดผู้ใช้ 5G มีจำนวนเพิ่มขึ้นสุทธิที่ 98 ล้านบัญชี เทียบกับผู้สมัครใช้ 4G รายใหม่ที่ 48 ล้านบัญชี

นอกจากนี้ยังคาดว่าเครือข่าย 5G จะครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 2 พันล้านคนภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ล่าสุดที่ระบุว่าภายในปี 2570 เครือข่าย 5G จะกลายเป็นเครือข่ายหลักของโลกเพื่อใช้เข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ  ซึ่ง ณ เวลานี้ผู้ใช้ 5G มีสัดส่วนประมาณ 50% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมดทั่วโลก โดยครอบคลุมประชากรโลกถึง 75% และคิดเป็น 62% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนทั่วโลก

ดีไวซ์มีจำนวนมากในราคาที่ถูกลง

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2554 การนำเครือข่าย 4G LTE มาใช้งานได้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่เพิ่มยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกพุ่งเป็น 5.5 พันล้านคน และเกิดอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G ขึ้นในตลาดมากกว่า 20,000 รุ่น ในรายงานยังชี้ให้เห็นว่าวงจรเทคโนโลยีของอุปกรณ์ 5G นั้นเปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วกว่า ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือ 5G คิดเป็นสัดส่วน 23% ของมือถือทั้งหมดทั่วโลก เทียบกับโทรศัพท์มือถือ 4G ที่มีเพียง 8% ณ จุดเดียวกัน

สิ่งนี้กระตุ้นให้การใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตบนมือถือเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากพิจารณาการเติบโตแบบปีต่อปี จะพบว่าปริมาณการใช้เน็ตมือถือ ณ ไตรมาส 3 ปี 64 เติบโตที่ 42% หรือประมาณ 78 เอกซะไบต์ (EB) ซึ่งนับรวมปริมาณอินเทอร์เน็ตจากบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตไร้สาย (Fixed Wireless Network) นอกจากนี้ ยังพบว่ายอดการใช้เน็ตมือถือในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีปริมาณเทียบเท่าปริมาณเน็ตที่เคยมีมาทั้งหมดจนถึงปี 2559 ซึ่งจากการคาดการณ์ล่าสุดยังเผยว่าในปี 2570 จะมีการใช้เน็ตมือถือเพิ่มขึ้นสูงถึง 370 เอกซะไบต์ (EB)

ไทยเป็นผู้นำ 5G เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้มือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มเป็น 1.1 พันล้านราย โดยมียอดผู้สมัครใช้บริการ 5G สูงแตะ 15 ล้านราย และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้ 5G ถึง 560 ล้านราย

นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในโลก แตะ 46 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 34% ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดที่เติบโตต่อปีที่ 39% ส่งผลให้มียอดการใช้เน็ตต่อเดือนสูงถึง 46 เอกซะไบต์ (EB) เป็นผลมาจากจำนวนผู้สมัครใช้บริการ 4G และ 5G ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่เปิดให้บริการ 5G

สำหรับประเทศไทย คือ หนึ่งในประเทศที่มีประชากรใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก โดยมีการประเมินว่าภายในปี 2568 การใช้งานจะคิดเป็น 50% ส่วน 4G จะมีการใช้งานประมาณ 40% นอกจากนี้ ไทยคือหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาค โดยมีธุรกิจที่มีศักยภาพจำนวนมากที่นำเทคโนโลยี 5G มาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความทันสมัย ดังนั้น อุตสาหกรรมการผลิต, ยานยนต์ และเฮลท์แคร์ จะเป็นอุตสาหกรรมที่นำ 5G มาใช้โดยเฉพาะในเรื่องของออโตเมชั่นและการแพทย์ทางไกล ซึ่งการใช้งาน 5G จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ การใช้งาน 5G ไทยเป็นช่วงเออรี่สเตจ ตอนนี้โอเปอเรเตอร์มองไปที่โคเวอเรจพื้นที่ใช้งานเป็นหลัก ขณะที่ผู้ใช้ในปัจจุบันมีประมาณ 3 ล้านราย ดังนั้นมองว่า โอเปอเรเตอร์ควรไปเน้นที่ คุณภาพ มากกว่าโคเวอเรจด้านพื้นที่เพื่อให้คนมาใช้ 5G เนื่องจากปัจจุบัน สิ่งที่ขับเคลื่อนการใช้งานคือ คอนเทนต์ และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือ แพ็กเกจใหม่ ๆ ในราคาที่จับต้องได้

“ตลาดไทยแอคทีฟมาก และ 5G ก็ไปเร็วกว่าที่อื่น ถือเป็นผู้นำด้วยซ้ำ แต่จะทำอย่างไรให้ประสบการณ์ 5G ดีกว่านี้ และผลักดันให้ผู้บริโภคมาใช้มากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคไทยมีการใช้งานหลากหลายและคาดหวังกบบริการสูง ดังนั้น ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้” อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทยกล่าว

อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย

ควบรวมทรู-ดีแทค อาจทำให้ตลาดแข่งสูงขึ้น

สำหรับประเด็นที่โอเปอเรเตอร์เบอร์ 2 และ 3 อย่าง ทรู-ดีแทค ควบรวมกัน ทำให้ผู้เล่นในตลาดจาก 3 เหลือ 2 รายที่ต้องแข่งขันกัน แน่นอนว่าผู้เล่นที่น้อยลงแปลว่าตัวเลือกที่น้อยลง แต่แปลว่าเส้นแบ่งระหว่างเบอร์ 1 และ 2 ก็ยิ่งน้อย ดังนั้น การแข่งขันจะยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพสัญญาณและโปรโมชัน เพราะผู้บริโภคไทยมีความคาดหวังสูงและใช้งานหลากหลาย ดังนั้น ในส่วนนี้ทางด้านผู้กำกับดูแลต้องมาดูว่าโอเปอเรเตอร์ให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคหรือยัง

สำหรับอีริคสันเอง การควบรวมนี้นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งใน ระยะสั้น มองว่าการควบรวมจะนำไปสู่การ ลดต้นทุน จะมีการรวมทรัพยากรกัน แต่ใน ระยะยาว โอเปอเรเตอร์จะต้องพยายามหาเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้ลูกค้า ดังนั้น อีริคสันต้องเกาะติดลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงความต้องการของเขา และนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ซึ่งสิ่งที่อีริคสันกำลังมองก็คือ เทคโนโลยี สแตนด์อะโลน หรือก็คือ การใช้เทคโนโลยี 5G ที่ไม่ได้ไปใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเก่าอย่าง 4G

]]>
1364923
‘อีริคสัน’ คาดสิ้นปีผู้ใช้ ‘5G’ ไทยแตะ 5 ล้านราย ทั่วโลกทะลุ 500 ล้านราย https://positioningmag.com/1339935 Wed, 30 Jun 2021 10:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339935 เป็นประจำทุกปีที่ อีริคสัน (Ericsson) จะออกรายงาน Ericsson Mobility Report และในฉบับที่ 20 นี้ อีริคสันได้คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมดเลยทีเดียว

จากการคาดการณ์ตามรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุดตลอดกาล โดยคาดยอดผู้สมัครใช้ 5G จะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน และภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

และตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุดได้คาดการณ์ว่า การสมัครใช้ 5G จะพุ่งเกิน 1 พันล้านราย เร็วกว่าไทม์ไลน์ของ 4G LTE ถึง 2 ปี โดยมีปัจจัยเบื้องหลังสำคัญ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการพัฒนา 5G ของจีน ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ และความพร้อมใช้งานที่มาเร็วขึ้น ประกอบกับการวางจำหน่ายของอุปกรณ์ดีไวซ์ที่รองรับ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่ง ณ เวลานี้มีการเปิดตัวหรือวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่รองรับเครือข่าย 5G มากกว่า 300 รุ่นแล้ว

โดยคาดว่าภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีสัดส่วนผู้สมัครใช้ 5G มากที่สุด ถึงประมาณ 1.4 พันล้านราย ภายในปี 2569 ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับคาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้ 5G สูงสุดที่ 84% และ 73% ตามลำดับ

ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวน มากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกแตะ 39 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G

จากรายงาน Five Ways to a Better 5G พบว่า ในปี 2573 ตลาด 5G สำหรับผู้บริโภคทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 31 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยการให้บริการ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุด ตอกย้ำให้เห็นความตั้งใจของผู้บริโภคที่ต้องการอัปเกรดเป็น 5G ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 5 ล้านราย สามารถใช้ 5G ได้แล้ว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีพฤติกรรมใหม่ ๆ จากการใช้ 5G ของผู้ใช้กลุ่มแรก ๆ โดยพวกเขา ใช้วลามากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไปกับแอป AR และเล่นเกมบนคลาวด์ ซึ่งมากกว่าผู้ใช้ 4G ประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่ 57% ของผู้ใช้ 5G เริ่มสตรีมวิดีโอ HD หรือมีการใช้งานมากขึ้น โดย 14% ใช้ Wi-Fi น้อยลงหลังอัปเกรดเป็น 5G

ทั้งนี้ ผู้ใช้งาน 5G ในไทยระบุว่ายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น 50% สำหรับใช้แพ็กเกจ 5G ที่รวมบริการดิจิทัลที่มีบทบาทสูงสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์ ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่พบว่าชาวไทยยอมจ่ายเพิ่ม 30% เท่านั้น

]]>
1339935
‘ดีแทค’ ขอไม่เดินตามเกม ‘5G’ เน้นฟังความต้องการลูกค้า พัฒนาบริการที่ ‘จับต้องได้’ https://positioningmag.com/1289900 Wed, 29 Jul 2020 12:55:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289900 หลายคนคงจะสัมผัสได้ว่าตลาดโทรคมนาคมไทยมองไปทางไหนก็พูดถึงแต่เรื่อง ‘5G’ ไม่ว่าจะค่าย ‘สีเขียว’ หรือค่าย ‘สีแดง’ แต่มีแค่เพียงค่าย ‘สีฟ้า’ อย่าง ‘ดีแทค’ (Dtac) เท่านั้น ที่ดูเหมือนจะ ‘เงียบ’ ไปสักหน่อยสำหรับเรื่องของ 5G และดังนั้น ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของดีแทค จึงออกมาไขข้อสงสัยถึง แผน 5G และกลยุทธ์ในครึ่งปีหลังว่าดีแทคได้เตรียมงัดอะไรมาสู้อีกบ้าง

5G ยังสำคัญ แต่ต้องรออีโคซิสเต็มส์ไทย

ในส่วนของ 5G นั้น ดีแทคจะเน้นไปที่ฝั่งของคอมเมอร์เชียลหรือกลุ่มอุตสาหกรรม ก่อน โดยได้เตรียมทดสอบ 5G บนคลื่น 26 GHz ที่ EEC ในไตรมาสที่ 3 นี้ โดยการทดสอบนี้จะเน้นไปที่การใช้กับกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ และให้บริการเน็ตไร้สายความเร็วสูงแบบ Fixed Broadband แม้จะล่าช้าจากแผนที่ต้องทดสอบในช่วงไตรมาส 2 เพราะ Covid-19

สำหรับ 5G ในฝั่งของคอนซูมเมอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป ดีแทคได้เตรียมทดลอง 5G ในคลื่น 700 MHz ภายในไตรมาส 4 ของปี 2563 อย่างไรก็ตาม ดีแทคมองว่าอีโคซิสเต็มส์ในไทยยังไม่พร้อม ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเพราะ Covid-19 ส่งผลให้คาดการณ์ GDP อาจติดลบถึง 8% มีแรงงานที่เสี่ยงตกงานถึง 8.3 ล้านคน แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อการจับจ่าย อย่าง ‘สมาร์ทโฟน’ ที่ควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 24 เดือน อาจลากยาวไปถึง 36 เดือน ยิ่งดีไวซ์ 5G ที่ราคายังสูงผู้บริโภคจึงไม่เปลี่ยน ดังนั้น สิ่งที่ดีแทคจะทำคือ เน้นที่ประสบการณ์ของลูกค้า

“ในมุมลูกค้า 5G ก็แค่อินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ได้ด้วยสิ่งอื่นได้ 5G ก็ยังไม่จำเป็น ซึ่ง 5G ไม่ใช่เกมของปี 2020 แต่มันยาวกว่านั้น เป็นมาราธอน ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกเยอะ ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ”

ทุ่ม 1 หมื่นล้าน เดินหน้าขยาย 4G

ตั้งแต่ล็อกดาวน์คนกลับต่างจังหวัดมากขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นคนก็ยังไม่ได้กลับกรุงเทพฯ ทั้งหมด ส่งผลให้การใช้งานของลูกค้าในต่างจังหวัดเติบโตขึ้น 5 เท่า ส่วนพื้นที่การใช้งานในกรุงเทพฯ ก็กระจายไปแถบที่อยู่อาศัยมากขึ้น จากเดิมกระจุกอยู่ในย่านออฟฟิศ เนื่องจากการ Work from Home ส่วนปริมาณการใช้ดาต้าเพิ่มมากขึ้น 44% จากช่วงเวลาปกติ

ดังนั้น ดีแทคเตรียมวางงบ 8,000-10,000 ล้านบาท ในการขยายโครงข่าย 2300 MHz ให้ได้ 20,000 สถานี เพื่อให้ลูกค้ากว่า 76% ของดีแทคที่รับสัญญาณ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยปัจจุบัน ดีแทคเป็นผู้ให้บริการที่มียอดดาวน์โหลดสปีดสูงสุด และการทำให้สูงสุดทั่วประเทศเป็นสิ่งที่มองว่าสำคัญกว่า 5G

“เรามั่นใจว่าการลงทุนกับ 4G จะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์จริง”

ลูกค้าลดจริง แต่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว

สิ้นไตรมาสที่ 2/63 ดีแทคมีฐานลูกค้าจำนวนทั้งสิ้น 18.8 ล้านราย ลดลง 835,000 ราย โดยจำนวนลูกค้าที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว ซึ่งดีแทคเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยคาดว่าจะหายไปถึง 80% แต่ดีแทคมั่นใจว่าการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวได้แน่นอน และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาและเพิ่มยอดลูกค้าได้หากเข้าใจลูกค้ามากพอ โดยเชื่อว่า หากลูกค้ามีความสุข เขาจะดึงคนอื่นเข้ามาด้วย

ยุค Covid-19 ทุกอย่างต้องจับต้องได้

การจะทำให้ลูกค้ามีความสุข จะต้องเริ่มจากการนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจ ดังนั้น ดีแทคจะเน้นเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ โดยที่ผ่านมาดีแทคได้เก็บข้อมูลผู้ใช้ซึ่งพบว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันเติบโตขึ้น 2 เท่า การใช้งานผ่านเว็บไซต์เติบโตขึ้น 68% แสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ส่วนการใช้งานดีแทครีวอร์ดที่เกี่ยวกับช้อปปิ้งออนไลน์ก็เติบโตถึง 5.6 เท่า และมีการใช้งานจากแคมเปญ Save Street Food กว่า 1 แสนสิทธิ์

จะเห็นว่าผู้บริโภคเรียนรู้ที่จะใช้งานออนไลน์มากขึ้น ดีแทคจึงได้เพิ่มช่องทางต่าง ๆ ในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น อาทิ ใช้ Facebook Live รวมถึง TikTok ในการนำเสนอสินค้าและบริการ มีการออกแบบแพ็กเกจเป็นรายสัปดาห์ เนื่องจากรายได้ที่ลดลงของลูกค้า มีการออกแบบแพ็กเกจสำหรับ Work from Home รวมถึงออกประกัน Covid-19

“เราฟังเสียงลูกค้าตลอด ทั้งความต้องการและการใช้งานที่สะท้อนออกมา ซึ่งเขาต้องการบริการพื้นฐานที่จับต้องได้ อย่างความพอใจของลูกค้าอาจจะแชร์ตัวเลขไม่ได้ แต่ยืนยันว่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทั้งที่การใช้งานดาต้าเพิ่ม 44% แต่ความพอใจยังอยู่ในระดับเดิม ซึ่งเรามองว่าการฟังเสียงลูกค้าเป็นปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในไตรมาสก่อน ๆ และในอีก 2 ไตรมาสที่เหลือด้วย”

บริการที่ยืดหยุ่น มาจาการทำงานที่ยืดหยุ่น

ปัจจุบัน ดีแทคนั้นใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน’ (tight-loose-tight) โดยอนุญาตให้พนักงานกว่า 95% สลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์หรือในวันที่จำเป็นเท่านั้น อีกทั้งยังนำระบบ automation มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพิ่มความยืดหยุ่น

“เราชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ เราเชื่อว่าพนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน”

]]>
1289900
จัดอันดับบริการโครงข่ายช่วง COVID-19 ผลชี้ AIS เล่นเกมดีสุด True ดูวิดีโอลื่นสุด และ Dtac ดาวน์โหลดเร็วสุด https://positioningmag.com/1277438 Fri, 08 May 2020 09:29:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277438 เหมือนเป็นธรรมเนียมปกติของวงการโทรคมนาคมที่ ‘Opensignal’ จะมาจัดจัดอันดับข้อมูลประสบการณ์ผู้บริโภคบนมือถือในการใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ให้บริการของไทย 3 รายหลัก ได้แก่ AIS, TrueMove H และ Dtac โดยรายงานประจำเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น Opensignal ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม หรือในช่วง COVID-19 จากอุปกรณ์กว่า 2,216,324 เครื่อง พร้อมจัด 7 รางวัล ที่ดีที่สุดในการให้บริการ

CHIANG MAI,THAILAND – May 11, 2019 : Man showing screen shot of Youtube on Oneplus 6, YouTube app on the screen, YouTube is the popular online video sharing website. – Image

AIS : กวาด 4 รางวัล ยืนหนึ่งเรื่องเกมและ 4G ครอบคลุมสุด

ประสบการณ์การเล่นเกม : AIS สามารถชนะคู่แข่งด้วยคะแนน 74.9 ตามด้วย DTAC 67.7 คะแนน ขณะที่ TrueMove H ได้ 64.6 คะแนน ทั้งนี้ AIS สามารถเอาชนะผู้ให้บริการรายอื่นได้ถึง 22 จังหวัด ได้คะแนนเสมอกับค่ายอื่น 5 จังหวัด

การใช้งานแอปพลิเคชันโทรด้วยเสียง : ส่วนนี้จะประเมินคุณภาพประสบการณ์จากบริการแบบ over-the-top (OTT) เช่น Facebook Messenger เป็นต้น โดย AIS นำมาด้วยคะแนน 79.3 ตามด้วย DTAC 76.5 คะแนน ส่วน TrueMove H ได้ 75.6 คะแนน แม้จะเป็นเบอร์ 3 แต่ถือว่ามีพัฒนาการดีที่สุด

การเข้าถึง 4G : โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้ 4G ชาวไทยสามารถเชื่อมต่อกับบริการ 4G ได้มากกว่า 90% หากไม่คำนึงถึงเครือข่ายที่ใช้อยู่ แต่เมื่อวัดตามผลสำรวจ AIS เป็นผู้นำกลุ่ม โดยมีคะแนน 94.9% ในขณะที่ DTAC ได้ 92.3% ตามเป็นอันดับสอง และ TrueMove H 91.6%

ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย 4G : AIS ยังได้รับรางวัลด้านความครอบคลุมของสัญญาณ 4G ครั้งแรกในประเทศไทยด้วยคะแนน 8.5 โดยมี TrueMove H ตามมาเป็นที่สองด้วยคะแนน 7.9 และ DTAC มาเป็นที่สามด้วยคะแนน 6.4

TRUE : ดูวิดีโอและอัพโหลดดีที่สุด

ประสบการณ์วิดีโอ : TrueMove H ได้รางวัลด้านนี้ด้วยคะแนน 62.2 ตามด้วย DTAC 60.5 คะแนน ส่วน AIS รั้งท้ายด้วยคะแนนต่ำกว่า 60 และเมื่อเทียบกับการวัดผลครั้งที่ผ่านมา TrueMoveH และ DTAC มีคะแนนเพิ่มขึ้น 9.4 และ 11.9 ตามลำดับ ส่วนของ AIS เพิ่มขึ้น 14.2 ทั้งนี้ TrueMove H สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ใน 9 จังหวัด และเสมอกับค่ายอื่นในอีก 17 จังหวัด โดยเสมอกับ AIS ใน 4 จังหวัด และเสมอกับ DTAC ใน 12

ความเร็วในการอัพโหลด : TrueMove H ยังคงเป็นผู้นำในด้านนี้ ผู้ใช้เห็นความเร็วเพิ่มขึ้นจากหกเดือนที่แล้วอย่างน้อย 19% ด้วยความเร็วในการอัพโหลดเฉลี่ยที่ 7.2 Mbps อย่างไรก็ตาม ยังไม่นับว่าเป็นการเพิ่มความเร็วในระดับที่มากที่สุด เพราะจากข้อมูลพบว่า DTAC สามารถเพิ่มความเร็วในการอัพโหลดได้มากที่สุดอย่างน้อย 30% เป็น 3.3 Mbps ครองเบอร์ 2 ส่วน AIS ก้าวกระโดดไปที่เกือบ 44% เป็น 5.8 Mbps

Dtac : ที่สุดความเร็วในการดาวน์โหลด

ความเร็วในการดาวน์โหลด : เป็นการแข่งขันที่ใกล้เคียงกันมากของทั้ง 3 ค่าย ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของ DTAC ที่กลายเป็นผู้นำการดาวน์โหลดผ่านเครือข่าย 4G โดยสามารถชนะได้ใน 5 จังหวัด ด้วยความเร็ว 11.4 Mbps เพิ่มขึ้นจากการวัดผลที่ผ่านมา 20% ตามด้วย AIS และ TrueMove H ที่ 10.3 Mbps และ 10 Mbps ตามลำดับ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นระบบ 3G TrueMove H กลับนำมาเป็นที่หนึ่งด้วยความเร็ว 4.7 Mbps

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยมีการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการที่เปิดตัววัดประสบการณ์ผู้ใช้ใหม่อีก 2 หมวดหมู่ คือ ประสบการณ์เกม และประสบการณ์ความครอบคลุมของ 4G ทำให้ TrueMove H ที่เคยครองตลาดชนะรางวัลมาตลอด เปลี่ยนไปเป็น AIS แทน ทั้งนี้ ประสบการณ์การใช้งานอาจขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่รับบริการด้วย ดังนั้นข้อมูลนี้ตรงใจผู้ใช้งานหรือไม่นั้นลองแชร์ความเห็นกันดูได้เลย

]]>
1277438
กสทช. ยัน 5G ไทยไม่ช้า! เตรียมคลื่นไว้แล้ว ถามใจ “โอเปอเรเตอร์” พร้อมประมูลหรือไม่ https://positioningmag.com/1247573 Wed, 25 Sep 2019 11:59:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247573 วันนี้ (25 ..) เว็บไซต์ manager.com หรือ MGROnline ในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 จัดเสวนาในหัวข้อกระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันถกปัญหาสำคัญของ “5G” ในประเทศไทยว่าเหตุใดจึงไปไม่ถึงฝัน

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าการให้บริการ 5G เป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมทั่วโลกที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ประเทศไทยเองต้องการให้ 5G เกิดในปี 2563 ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลชุดก่อนที่ต้องการขับเคลื่อนเรื่องนี้

ดังนั้นหน้าที่ของ กสทช. คือจัดสรรคลื่นความถี่รองรับ 5G ปัจจุบัน ITU ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับนานาชาติขององค์การสหประชาชาติ ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่าจะให้ใช้คลื่นไหนเป็นคลื่น 5G โดยการประชุมจะเกิดขึ้นปลายเดือนต.ค. นี้ ในงาน WRC 2019

ขณะนี้หลายประเทศได้เดินหน้า 5G กันไปแล้ว โดยจัดให้มีอุปกรณ์ค้นคว้าทดลองใช้คลื่น 5G ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G สิบเท่า กสทช. เองก็จัดตั้งคณะทำงาน หาแนวทางการนำคลื่นมาให้บริการ 5G

“เมื่อ กสทช. จัดคลื่นแล้วก็ต้องมีโอเปอเรเตอร์มาประมูลคลื่น ถ้าไม่มีโอเปอเรเตอร์มาประมูล 5G ก็ไม่เกิด เงื่อนไขที่จะทำให้ 5G เกิด ก็คือต้องให้โอเปอเรเตอร์มาประมูลคลื่นไปดำเนินการ”

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร

พล.อ.สุกิจกล่าวย้ำว่า ประเทศไทยยังไม่ช้าเรื่อง 5G เพราะในบรรดาประเทศอื่นๆ ที่เดินหน้า 5G ไปแล้ว ปัจจุบันมีมือถือเพียงไม่กี่ยี่ห้อ ไม่กี่โมเดล ที่สามารถรองรับ 5G ได้ และอยู่ในขั้นของการพัฒนาไปเรื่อยๆ อะไรก็แล้วแต่ที่ยังอยู่ในขั้นของการพัฒนาไปเรื่อยๆ มันก็ยังไม่หยุด

กสทช. ชี้ 5G ไม่เกิดเสียโอกาส

ในวงเสวนา “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าขณะนี้การจัดสรรคลื่นความถี่ยังเป็นไปตามแผนทั้งหมด ทั้งคลื่น 2600 และ คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้ง 26 – 28 กิกะเฮิรตซ์ ที่เริ่มกระบวนการประมูลในปี 2563 หากเป็นไปตามนี้ การเปิดบริการ 5G ในปลายปี 2563 จะเดินได้ตามโรดแมป โดยจะให้บริการบางพื้นที่เชิงพาณิชย์ก่อน เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โลจิสติกส์

หากประเทศไทยเดินหน้า 5G ได้เร็วกว่าหรือใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ นักลงทุนไม่ย้ายฐาน แต่หาก 5G ไม่เกิดจะได้รับผลแน่นอน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และดึงนักลงทุนไม่ให้ย้ายฐานการผลิต

“5G หากไม่เกิดประเมินมูลค่าสูญเสียโอกาสจากภาคการผลิต 600,000 ล้านบาท โลจิสติกส์ 100,000 ล้านบาท  ภาคเกษตร 90,000 ล้านบาท รวมสูญเสีย 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งคงยอมไม่ได้ จึงต้องเดินหน้าขับเคลื่อน 5G ต่อไป”

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

มั่นใจ 5G เกิดได้ปี 63

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าการหารือร่วมกับ “โอเปอเรเตอร์” ก่อนหน้านี้ ทุกรายนิ่งหมด โดยบอกว่าการลงทุน 4G ยังไม่คุ้มทุน ขณะที่การลงทุน 5G ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะเป็นคนละเทคโนโลยีกับ 4G แต่ละรายต้องใช้เงินลงทุนหลัก “แสนล้านบาท” จึงลำบากที่จะลงทุนในช่วงนี้ และต้องการให้รัฐบาลช่วยกำหนดเงื่อนไขการจัดสรรคลื่นให้ฟรีก่อน เพราะหากดูการจัดสรรคลื่น 5G ในประเทศจีน เวียดนาม ก็ได้กำหนดเงื่อนไขให้โอเปอเรเตอร์ได้ใช้ฟรีก่อน แล้วนำมาชำระเงินภายหลัง

ปัจจุบัน กสทช. ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและวางแนวทางทำงานร่วมกัน เพราะ 5G ไม่ใช่บริการสำหรับโมบายอย่างเดียว แต่ใช้ในทุกอุปกรณ์ของภาคอุตสาหกรรมและบริการ จึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น

จากการรับฟังความเห็นของคณะทำงาน พบว่ามี 3 เรื่องหลัก 1. การกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 2. การลงทุนของโอเปอเรเตอร์ 3. การต่อยอดการทำงาน การนำไปใช้งาน

“เมื่อโอเปอเรเตอร์มีความมั่นใจในการลงทุน เชื่อว่าจะช่วยสานฝัน 5G ให้เกิดขึ้นได้ในปี 2563 เพราะ 5G เป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศและของโลก”

อเล็กซานดรา ไรซ์

รอดูเงื่อนไขประมูล-ราคาคลื่น

อเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  กล่าวว่า 5G ในประเทศไทยจะเกิดได้ต้องมาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย เพราะ 5G เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับ B2B ส่วน B2C ก็ได้ประโยชน์ ในเกาหลีการทดสอบ 5G ยังไม่ได้ผลที่ชัดเจนเพราะมีผู้ใช้งานแค่ 10% เครือข่ายก็ยังไม่ดีมาก การขับเคลื่อน 5G ทั่วโลกเหมือนยังเป็นการหวังผลทางการตลาดมากกว่า

บริการ 5G เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่คิดว่าพร้อมจะจ่ายค่าใช้บริการในอัตราสูงขึ้นเพื่อความเร็วที่ดีกว่าเดิม ดีแทคต้องการให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนา ผ่านการขับเคลื่อน 5G เพราะเห็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

“การทำให้เกิด 5G ถ้าเร่งมากไปจะได้ผลที่ไม่ชัดเจน จึงควรมีโรดแมป มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการลงทุนที่เหมาะสม มองว่าปี 2563 อาจจะเร็วเกินไป ปี 2564 น่าจะเหมาะสมมากกว่าเพราะจะมีความพร้อมทั้งการลงทุน ภาครัฐต้องคิดถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้จากเทคโนโลยีในระยะยาว”

ดีแทคมุ่งมั่นและต้องการลงทุน 5G แต่ด้วยราคาคลื่นความถี่คงต้องขอเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน การลงทุน 5G จะเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งโอเปอเรเตอร์ทุกราย พร้อมที่จะขยายเครือข่ายให้บริการ 5G แต่ต้องขอดูรายละเอียดเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ที่เหมาะสมด้วย

“สุดท้ายแล้ว 5G จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะต้องมีการลงทุนทางธุรกิจที่สมเหตุสมผล”

จรีพร จารุกรสกุล

หนุนดึงต่างชาติลงทุน

จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในฐานะภาคอุตสาหกรรมที่ลงทุนนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่ได้รับความชัดเจนโรดแมป 5G ของประเทศ เพราะผู้ลงทุนทุกคนอยากรู้ว่าการลงทุนจะได้ผลการลงทุนคุ้มค่าหรือไม่

การประเมินว่า 5G จะทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ 1.307 พันล้านล้านเหรียญสหรัฐ มาจากภาคพลังงาน 19% การผลิต 18% สาธารณสุข 12% กลุ่มเหล่านี้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งนั้น แต่ทั้งหมดยังไม่มีข้อมูลและการทดสอบ 5G ในภาคอุตสาหกรรม

ต้องบอกว่า “เทรดวอร์” ที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเคลื่อนย้ายทุนการผลิตจากจีนมาที่ประเทศไทย 5G เป็นส่วนที่สำคัญ ที่จะรองรับอุตสาหกรรมที่จะมา ช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม เพื่อไม่ให้ไทยเสียโอกาส

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

แนะปรับวิธีประมูล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าการเกิด 5G นั้น มองด้านเศรษฐกิจ 5G ทำให้การเชื่อมโยงในการติดต่อกันรวดเร็วขึ้น เกิดความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เกิดความสามารถในการแข่งขันประเทศ เกิดการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ เกิดนวัตกรรมใหม่

ในอนาคต 5G จะเป็นบริการที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ของภาคการผลิต เช่นเดียวกับภาคบริการที่สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์กับสินค้า เพื่อตรวจสอบการให้บริการต่างๆ การเก็บ “ดาต้า” ต่างๆ จากผู้ใช้งาน

ดังนั้นไมว่าจะเร็วหรือช้า ก็จะมีการเดินหน้าเรื่อง 5G

ด้านรูปแบบการลงทุน 5G มองว่าหากจะใช้วิธีประมูลเหมือนเดิม “ไม่เห็นด้วย” เพราะควรหาแนวทางในการประมูลที่เหมาะสม เช่น รายใดเสนอค่าบริการต่ำสุดชนะ แม้รัฐบาลได้เงินน้อยแต่ยังมีการลงทุนยังมีเหมือนเดิมที่จะช่วยด้านเศรษฐกิจ และประชาชนได้ใช้บริการในราคาถูก

]]>
1247573
ปิดดีลยักษ์ T-Mobile ซื้อกิจการ Sprint มูลค่า 2.6 หมื่นล้าน รวบตึงลูกค้า 130 ล้านรายเตรียมบุก 5G https://positioningmag.com/1167793 Mon, 30 Apr 2018 04:48:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167793 “ทีโมบาย” (T-Mobile) บริษัทโทรคมนาคมจากสหรัฐฯ ตกลงซื้อกิจการคู่แข่ง “สปรินท์” (Sprint) ภายใต้ดีลมูลค่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นควบรวมโอเปอเรเตอร์อันดับ 3 และ 4 เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขันบนฐานลูกค้ารวม 130 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้คาดว่าจะจุดกระแสให้มีการตรวจสอบกฎระเบียบเข้ม ว่าจะมีผลกระทบกับราคาค่าใช้บริการของลูกค้าอย่างไรในอนาคต

*** รวมกันเพื่อลุย 5G

จอห์น เลกจิเออร์ (John Legere) บอสใหญ่ T-Mobile ประกาศด้วยความมั่นใจว่า บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้ดีลนี้จะใช้เเงินลงทุนกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญในการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 5G ต่อเนื่องในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยยืนยันว่าทั้ง 2 บริษัทจะสร้างเครือข่ายโมบายเน็ตเวิร์กที่มีความจุสูงสุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ด้วยกัน

ผมกำลังพูดถึง capacity ที่เหนือกว่า 30 เท่าของ capacity T-Mobile ในวันนี้

ผู้บริหาร T-Mobile ระบุในทวีตของตัวเอง

สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่าการร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการเจรจานานหลายเดือนระหว่างผู้ถือหุ้น T-Mobile, ดอยช์เทเลคอม (Deutsche Telekom) และซอฟต์แบงก์ (SoftBank) ของญี่ปุ่นซึ่งถือหุ้นใหญ่ใน Sprint ภายใต้ข้อตกลงนี้ Deutsche Telekom จะเป็นเจ้าของหุ้น 42% ของบริษัทใหม่ที่รวมกิจการแล้ว พร้อมกับได้สิทธิ์ควบคุมกรรมการบริหาร และขณะที่ Softbank จะถือหุ้น 27%

Legere จะเป็นผู้นำในบริษัทใหม่ซึ่งจะใช้ชื่อ T-Mobile เช่นเดิม และมูลค่าตลาดบริษัทใหม่จะอยู่ที่ราว 146,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

นักวิเคราะห์มั่นใจว่าการรวมตัวของ T-Mobile และ Sprint จะทำให้ทั้งคู่มีอิทธิพลมากขึ้นในการแข่งขันกับโอเปอเรเตอร์เบอร์ 1 และ 2 ของสหรัฐฯ ได้แก่ เวอริซอน (Verizon) และเอทีแอนด์ที (AT&T) ซึ่งทั้งคู่มีลูกค้ามากกว่า 100 ล้านราย

ทั้ง 2 บริษัทเชื่อว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทมีทางรอดที่ดีกว่าในวันที่อเมริกาเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5G ซึ่งหากไม่มี T-Mobile โอเปอเรเตอร์เบอร์เล็กกว่าอย่าง Sprint อาจจะขาดฐานตลาดที่จำเป็น ที่ทำให้การอัปเกรดเครือข่ายเกิดขึ้นอย่างคุ้มทุน

ปัจจุบัน Sprint เป็นผู้ให้บริการโมบายบรอดแบนด์รายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ

*** กังวลเรื่องผูกขาด

Sprint และ T-Mobile มีข่าวมานานเรื่องการควบรวมกิจการตั้งแต่ปี 2014 สมัยรัฐบาลโอบามานั้นมีข่าวลือว่าดีลยักษ์นี้ถูกล้มไปเพราะความกังวลเรื่องการแข่งขันไม่เป็นธรรม

มาวันนี้สหรัฐฯ อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทรัมป์ แน่นอนว่าการประกาศดีลนี้ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลหลายส่วนเร่งมือตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับดีล โดยเฉพาะแนวโน้มการมัดมือขึ้นราคาค่าบริการ ซึ่งล่าสุด กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ก็กำลังพยายามระงับข้อตกลงของ AT&T เพื่อซื้อสื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่างไทม์วอร์เนอร์ (Time Warner) มูลค่า 85,000 ล้านเหรียญ บนข้อสันนิษฐานว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบ

กรณีของ Sprint และ T-Mobile ผู้บริหารยืนยันว่าการควบรวมกิจการจะช่วยลดราคาและช่วยให้สหรัฐฯ เร่งพัฒนา 5G ได้เร็วขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงจากจีน ประเด็นนี้เป็นปัจจัยที่นักวิเคราะห์กล่าวว่าอาจช่วยให้ผู้มีอำนาจในรัฐบาลทรัมป์ไม่เข้ามาแซงแทรกก็ได้

ปัจจุบัน Sprint เป็นผู้ให้บริการโมบายบรอดแบนด์รายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ นักวิเคราะห์มั่นใจว่าการรวมตัวของ T-Mobile และ Sprint จะทำให้ทั้งคู่มีอิทธิพลมากขึ้นในการแข่งขันกับโอเปอเรเตอร์เบอร์ 1 และ 2 ของสหรัฐฯ ได้แก่ เวอริซอน (Verizon) และเอทีแอนด์ที (AT&T) ซึ่งทั้งคู่มีลูกค้ามากกว่า 100 ล้านราย

ทั้ง 2 บริษัทเชื่อว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทมีทางรอดที่ดีกว่าในวันที่อเมริกาเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5G ซึ่งหากไม่มี T-Mobile โอเปอเรเตอร์เบอร์เล็กกว่าอย่าง Sprint อาจจะขาดฐานตลาดที่จำเป็น ที่ทำให้การอัปเกรดเครือข่ายเกิดขึ้นอย่างคุ้มทุน. 

Source

]]>
1167793
คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือ 121 ล้านเลขหมาย AIS ส่วนแบ่งตลาด 43% TRUE เบอร์ 2 ครอง 29.66% DTAC 24.69% https://positioningmag.com/1164703 Wed, 04 Apr 2018 08:29:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164703 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดเผยถึงภาพรวมการใช้โทรศัพท์มือถือของประเทศไทยในปี 2560 พบว่า การใช้ดาต้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางบริการเสียงลดลงทุกปี

คนไทยโทรน้อยลง

การใช้บริการเสียงของ 3 โอเปอเรเตอร์ AIS TRUE และ DTAC ระหว่างปี 2557 – 2560 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

ปริมาณการใช้งานบริการเสียง

  • ปี 2557 จำนวน  70,720.42 ล้านนาที
  • ปี 2528 จำนวน  62,851.09 ล้านนาที
  • ปี 2559 จำนวน  51,021.48 ล้านนาที
  • ปี 2560 จำนวน  43,460.84 ล้านนาที

กลุ่มบริษัท AIS มีปริมาณการใช้บริการเสียงสูงสุดในแต่ละปี ตามด้วยกลุ่มบริษัท DTAC และกลุ่มบริษัท TRUE อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 และ 2560 กลุ่มบริษัท TRUE มีปริมาณการใช้งานบริการเสียงมากกว่ากลุ่มบริษัท DTAC

โทรเฉลี่ยเหลือ 2 นาที/คน/วัน

ทั้งนี้ในปี 2560 คนไทยใช้บริการเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ยประมาณ 2 นาที ต่อคนต่อวัน ลดจากเดิมปี 2557 ที่ใช้บริการเสียงเฉลี่ยประมาณ 4 นาที ต่อคนต่อวัน

ใช้ดาต้า 3 ล้านเทราไบต์

ในส่วนของข้อมูลปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ หรือ  การใช้ดาต้า ของโอเปอเรเตอร์หลัก 3 ราย พบว่า แนวโน้มปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

เมื่อสิ้นปี 2560 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก 3 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ มีการใช้สูงถึง 3,294,325,000 กิกะไบต์ (หรือ 3 ล้านเทราไบต์โดยประมาณ) ภายใน 4 ปี เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ประมาณ 6 เท่าตัว ถือว่าเป็นการเติบโตของการใช้งานที่สูงมาก

ใช้เฉลี่ย 140 เมก/คน/วัน

คิดเป็นปริมาณการใช้งานดาต้าโดยเฉลี่ย 4.11 กิกะไบต์ ต่อคนต่อเดือน แสดงให้เห็นว่าในปี 2560 ใน 1 วันแต่ละคนมีการใช้งานดาต้าเฉลี่ย 0.14 กิกะไบต์ หรือ 140 เมกะไบต์

(หมายเหตุ : 1 เทราไบต์ เท่ากับ 1024 กิกะไบต์)

]]>
1164703
นับถอยหลัง 2G! โอเปอเรเตอร์หารือ กสทช. ขอหยุดให้บริการ https://positioningmag.com/1114422 Tue, 24 Jan 2017 09:01:35 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114422 หลังจากการขยับจากบริการ 3G ไปสู่ 4G ที่ทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถูกแพร่ขยายออกไป ปริมาณการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระบบ 2G มีผู้ใช้ลดลงต่อเนื่อง เหลือ 7-8 แสน จาก 113 ล้านเลขหมายที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

จนล่าสุด  ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ได้เข้าหรือกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อขอหารือแนวางหยุดให้บริการ 2 G

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้มีหนังสือขอหารือสำนักงาน กสทช. เรื่องที่จะหยุดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G เนื่องจากขณะนี้ผู้ใช้บริการระบบดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยเวลานี้มีจำนวนผู้ใช้งาน 2 G คงเหลือประมาณ 7 – 8 แสนเลขหมาย จากจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด 113 ล้านเลขหมายที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับแนวโน้มของผู้ใช้บริการและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหันมาใช้งานด้านข้อมูล หรือดาต้าเพิ่มมากขึ้น อันเป็นการใช้งานในระบบ 3G หรือ 4G เป็นส่วนใหญ่

แต่การยุติการให้บริการระบบ 2G ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G แม้ว่าในหลายประเทศ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย และสิงคโปร์ องค์กรกำกับดูแลเริ่มที่จะมีการวางแผนยุติการให้บริการในระบบ 2G แล้ว แต่การหยุดให้บริการ 2G ในประเทศไทยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบเพราะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและนำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G ข้อสำคัญมีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น สำนักงาน กสทช. จะได้เชิญผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดที่ทำหนังสือหารือมายังสำนักงานฯ เข้ามาประชุมหารือเพื่อวางกรอบการทำงาน ว่า จะส่งผลกระทบกับประชาชนอย่างไรบ้าง และจะมีการศึกษาข้อมูลการยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G ในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆ โดยนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับประเทศไทย เพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนที่มีการใช้งานอยู่

การยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G นอกจะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G ที่ใช้บริการอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่นำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G ที่ยังมีการอนุญาตให้นำเข้าอยู่ โดยจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ออกไปทั้งสองส่วน ในส่วนของประชาชน และผู้ประกอบการนำเข้าอุปกรณ์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 G ให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินการยุติการให้บริการดังกล่าว

]]>
1114422