ไทยพีบีเอส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 14 Jun 2019 09:38:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไทยพีบีเอส” เปิดช่อง VIPA เสริมทัพ OTT หวังจับคนดูรุ่นใหม่ดูได้ทุกแพลตฟอร์ม เขย่าองค์กรมุ่ง Content https://positioningmag.com/1234602 Fri, 14 Jun 2019 08:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234602 ในภาวะที่ทุกสื่อกำลังปรับตัวและกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะหลังการคืนใบอนุญาตและปิดตัวลงของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล “ไทยพีบีเอสทีวีสาธารณะ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในยุค Media Disruption เช่นกัน  

วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล ถือเป็นความท้าทายของไทยพีบีเอส จากพฤติกรรมผู้ชมรับสื่อผ่านหน้าจอโทรทัศน์ลดลงและหันมาชมผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ไทยพีบีเอสจึงเตรียมเผยแพร่คอนเทนต์ ผ่านช่องทาง OTT เรียกว่า ช่องวิภา (VIPA Channel) รองรับผู้ชมทางออนไลน์ที่สนใจเนื้อหาเชิงสาระของไทยพีบีเอส และกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยจะเปิดตัวในไตรมาส 3 นี้

โดย VIPA Channel จะให้บริการ Audio และ Video Streaming ในช่องสื่อใหม่ของไทยพีบีเอสเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชั่น VIPA นำเสนอในหลายหมวดเนื้อหา พร้อมบริการภาษาทางเลือก โดยให้บริการ VIPA Live รายการสด ในเหตุการณ์และการแข่งขันกีฬาสำคัญๆ VIPA Archive คลังคอนเทนต์จากไทยพีบีเอส VIPA Original เนื้อหาที่นำเสนอเฉพาะช่อง VIPA และ VIPA UGC พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานจากครีเอเตอร์ออนไลน์

“ช่อง VIPA วาง Positioning เป็น Passionate Learners คือ คนที่กระตือรือร้นแสวงหาการเรียนรู้ และเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานจาก Creator Online ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบนสื่อออนไลน์”

ปรับองค์กรมุ่ง Content Based

นอกจากนี้ได้พัฒนาบุคลากรให้ทำงานแบบ Multi Skills มากขึ้น เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์ม หรือ Transmedia รวมทั้งปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็น Content Based มากขึ้น นำร่องสร้างหน่วยย่อยลักษณะ Business Unit เพื่อบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัว และทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรได้ดีขึ้น เช่น หน่วยสื่อสารภัยพิบัติ หน่วยที่มุ่งสื่อสารให้บริการประชาชน หน่วย Thai PBS World ที่เน้นนำเนื้อหาของไทยออกไปสู่ Global และอีก 2 กลุ่มเนื้อหาที่เป็นจุดแข็งของไทยพีบีเอส คือ หน่วยผลิตสารคดี และศูนย์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ทั้งหมดเป็นทิศทางที่กำลังเร่งพัฒนาในปีนี้

ภาพจาก thaipbs

นอกจากนั้นการปรับเนื้อหาให้แข่งขันได้มากขึ้น ไทยพีบีเอสได้กำหนดเซ็กเมนต์ของตัวเองเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบ Informed Citizen เนื้อหาของข่าวและรายการมุ่งทำให้ผู้ชมเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องรอบด้าน โดยจะเพิ่มรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจและน่าติดตามมากขึ้น จะเริ่มเห็นภาพการปรับตัวของไทยพีบีเอส ตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นต้นไป

“จุดแข็งของไทยพีบีเอส คือ ข้อมูลข่าวสารอยู่บนความถูกต้อง น่าเชื่อถือ เป็นธรรม ปราศจากอคติ ปลอดจากการแทรกแซงของกลุ่มทุนและการเมือง มุ่งสื่อสารเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน”

วิลาสินี พิพิธกุล

เสริมคอนเทนต์เด็กหลังปิด 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากสถานการณ์การคืน 7 ช่องทีวีดิจิทัล ทำให้ช่องเด็กสูญพันธุ์ “ไทยพีบีเอส” ในฐานะสื่อสาธารณะมีแผนพัฒนา ศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อต่อยอดเนื้อหารายการเด็กเพิ่มขึ้น ทั้งสื่อทางหน้าจอทีวี สื่อออนไลน์ และพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ ขยายเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็ก รวมถึง Gamer ที่ผลิตเกมสำหรับเด็ก

โดยมีสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ทำวิจัยติดตามพฤติกรรมการรับสื่อของเด็กกลุ่มอายุ 3-6 ปี และกลุ่มอายุ 7-11 ปี ผลวิจัยพบว่าเด็กวัย 3-6 ปี ยังดูทีวีเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการอ่านหนังสือและดู YouTube ส่วนเด็กอายุ 7-11 ปี ใช้สื่อ YouTube มากที่สุด รองลงมาคือโทรทัศน์ ดังนั้นศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว จะนำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบสนองพฤติกรรมทั้ง 2 กลุ่ม.

]]>
1234602
9 ชื่อผู้สมัครชิง ผอ.ไทยพีบีเอส https://positioningmag.com/1128165 Tue, 06 Jun 2017 06:08:42 +0000 http://positioningmag.com/?p=1128165 ส.ส.ท. ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับตำแหน่ง ผอ.ไทยพีบีเอส คนใหม่อย่างเป็นทางการ หลังขยายเวลารับสมัคร มีผู้ยื่นทั้งหมด 9 คน ตัวแทนค่ายสื่อเพียบ ทั้ง เนชั่น – สปริงนิวส์ – ทีเอ็นเอ็น – อดีตรอง ผอ. ยุค “หมอกฤษดา” และ “สมชัย สุวรรณบรรณ”

วานนี้ (5 มิ.ย.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ได้ประกาศรายชื่อบุคคลผู้สมัครรับการสรรหาเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (ผอ.) คนใหม่ หลังขยายเวลาการรับสมัครออกไปถึงเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นใบสมัครทั้งหมด 9 คน ดังนี้

1. นายอนุสรณ์ ศิริชาติ
2. นายพัชระ สารพิมพา
3. นายสุพจ จริงจิตร
4. นายวุฒิกร ทิวะศศิธร
5. นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ
6. นางสุวรรณา บุญกล่ำ
7. นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์
8. รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล
9. นางสาวฐานุตรา สร้างสุขดี

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการ ส.ส.ท. อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครให้ครบถ้วนตามข้อบังคับ ส.ส.ท. ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการรับสมัคร และการสรรหาผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกต่อไป

ประวัติการทำงานของผู้สมัครโดยย่อ

1. นายอนุสรณ์ ศิริชาติ ผช.กก.ผู้อำนวยการใหญ่ และ ผอ.สำนักข่าวไทย อสมท ที่หมดสัญญาตั้งแต่ปี 2559
2. นายพัชระ สารพิมพา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสปริงนิวส์ ปี 2557 – 2559 ปัจจุบันเป็น กก.ผู้จัดการ บริษัทลูกสปริงนิวส์ บริหารสถานีวิทยุ 98.5 MHz
3. นายสุพจน์ จริงจิต อดีตรอง ผอ.ไทยพีบีเอส สมัยที่ นายสมชัย สุวรรณบรรณ เป็นผู้อำนวยการ
4. นายวุฒิกร ทิวะศศิธร อดีตกรรมการ หจก.เชคเทค เคยสมัครเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
5. นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของช่อง NationTV22
6. นางสุวรรณา บุญกล่ำ รอง ผอ.ข่าวและรายการสถานีโทรทัศน์ TNN24
7. นายอนุพงษ์ ไชยฤทธ์ อดีตรอง ผอ.ไทยพีบีเอส สมัยที่ทันตแพทย์ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เป็นผู้อำนวยการ
8. รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล อดีตรอง ผอ.ไทยพีบีเอส สมัยที่ทันตแพทย์ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เป็นผู้อำนวยการ

นายพัชระ สารพิมพา ภาพจากเว็บไซต์ www.youtube.com/watch?v=W5nRmFT_Puc
ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์
นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

ที่มา : http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000057442

]]>
1128165
นักวิชาการซัด “ไทยพีบีเอส” ซื้อหุ้น “ซีพี ” ผิดทั้งกฎหมาย – จริยธรรม – จรรยาบรรณ https://positioningmag.com/1119169 Mon, 13 Mar 2017 18:19:22 +0000 http://positioningmag.com/?p=1119169 นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ซัด “ไทยพีบีเอส” ซื้อหุ้นซีพี ผิดทั้งกฎหมาย – จริยธรรม – จรรยาบรรณ มิหนำซ้ำยังเป็นบริษัทที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีเรื่องธรรมาภิบาล ถ้าเกิดปัญหาจะกล้าตรวจสอบหรือ ถามยังมีจิตวิญญาณสื่อไหม เอือมผู้บริหารขู่ฟันพนักงานที่เผยความลับ ลั่นองค์กรนี้ไม่ใช่ของเอกชนแต่ประชาชนเป็นเจ้าของ ด้านอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์ ชี้ ผอ. เอาเงินไปซื้อหุ้น ทำเกินอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ จี้คณะกรรมการนโยบายเร่งสอบสวนหาข้อเท็จจริง

วันนี้ (13 มี.ค.) จากกรณีที่ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ให้สัมภาษณ์ว่ามีการนำเงินไปลงทุนซื้อหุ้นกู้ ของ ซีพีเอฟ แต่เป็นการลงทุนลักษณะการซื้อตราสารหนี้ ไม่ได้เป็นการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้ เป็นการลงทุนตามปกติ หน่วยงานราชการหลายแห่งก็ทำกัน

ทางด้าน นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “Time Chuastapanasiri ” วิจารณ์ถึงกรณีนี้อย่างดุเดือด เนื่องจากสื่อสาธารณะต้องได้รับความไว้วางใจสาธารณะจากประชาชนในการใช้เงินภาษีประชาชนอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง โปร่งใส เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นกลาง แต่กลับนำเงินไปแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเอกชน และยิ่งกว่านั้นยังเป็นบริษัทที่มีภาพลักษณ์ด้านธรรมาภิบาลไม่ดีนัก หากเกิดปัญหาขึ้นมาจะกล้าตรวจสอบหรือไม่ … ข้อความที่ นายธาม มีรายละเอียดดังนี้

“Spirits of ThaiPBS? ยังมีไหมจิตวิญญาณสื่อสารธารณะ ผมคิดว่า กรรมการบริหาร และ กรรมการนโยบาย “หมดหนทางใดๆ ที่ที่จะแก้ตัว แก้ต่าง” ได้อีก การรักษาความอิสระ เสรีภาพ และความเที่ยงตรง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ของไทยพีบีเอสในตอนนี้ “เข้าขั้นวิกฤติธรรมาภิบาล” จะตรวจสอบผู้อื่นได้อย่างกล้าหาญได้อย่างไรครับ? ถ้าองค์กรตัวเองก็ไม่กล้าตรวจสอบผู้บริหารองค์กรสื่อสาธารณะ “ขู่เอาผิดวินัยกับพนักงานหากเอาความลับองค์กรไปเปิดเผยต่อสาธารณะ”? นี่มันเป็นองค์กรประเภทไหนครับ นี่เป็นองค์กรรัฐ ที่มีประชาชนเป็นเจ้าของ ใช้เงินภาษีประชาชน แต่กลับ “เงียบงำปิดปากพนักงาน” นี่ไม่ใช่บริษัทเอกชนส่วนตัวนะครับ ที่จะสั่งให้ใครทำอะไรก็ได้ องค์กรนี้ มีเจ้าของ คือประชาชน!!”

อีกโพสต์ได้วิจารณ์ถึงคำให้สัมภาษณ์ของ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ว่า “ตรรกะวิบัติ?” ฟังท่าน ผอ.ส.ส.ท. “อ้างเหตุผล” ว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ตลกมากครับ ไม่เคยเรียนวารสารศาสตร์ ไม่มีทางเข้าใจแนวคิดเรื่อง สิทธิเสรีภาพ และความอิสระของกองบรรณาธิการ การเอาเงินไปฝากธนาคารนั่นเรื่องหนึ่ง เอาเงินไปซื้อหุ้นกู้เอื้อธุรกิจเอกชนก็เรื่องหนึ่ง เพราะเอื้อผลประโยชน์ให้คุณให้โทษกันได้ ซีพีเอฟมีปัญหาภาพลักษณ์จริยธรรม มีหลายข่าวเรื่องเกษตรกรความเป็นธรรมการเกษตร การทำไร่นาที่มีปัญหามากมาย ที่สื่อสาธารณะควรไปตรวจสอบ เอาเงิน 200 ล้านบาทไปซื้อหุ้นกู้เขา แล้วกล้ารายงานข่าวตรวจสอบธุรกิจเขาไหมครับ?

ให้ สตง. ตรวจสอบสิครับ ว่าผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งจริยธรรม ผิดทั้งจรรยาบรรณของพนักงานและผู้บริหาร ส.ส.ท. หรือไม่? กฎหมายบอกว่าให้เอาเงินไปทำในกิจการของสื่อสาธารณะ เขาไม่ได้บอกว่าให้เอาเงินไปลงทุนซื้อหุ้นเก็งกำไร เงินถ้าเหลือ เอาไปทำสื่อ/สารคดี ดีๆ ให้ประชาชนได้ดู เอาเงินไปพัฒนาอบรมทักษะคนทำงานให้สร้างสรรค์สื่อดี ๆ สิครับ สื่อสาธารณะต้องอิสระจากอำนาจรัฐ อำนาจทุน และกลุ่มรณรงค์ทางการเมือง

ถ้าทำข่าวเรื่องนี้อย่างสมดุล รอบด้าน ต้องเอาความเห็นสองฝั่งมาออกสิครับ ไม่ใช่ใช้สื่อของประชาชนมาพูดอยู่แต่เพียงข้างเดียวลำพัง เหลือเชื่อจริงๆ!!”

นอกจากนี้ทางด้าน นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “จักร์กฤษ เพิ่มพูล” ถึงกรณีดังกล่าวว่า ผู้อำนวยการนำเงินไปซื้อหุ้น เป็นการทำเกินอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งคณะกรรมการนโยบาย มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ จะต้องดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเร่งด่วน

เนื้อหาที่โพสต์มีรายละเอียดดังนี้ “เมื่อสื่อสาธารณะไม่โปร่งใส – อ่านกฎหมายหลายตลบก็ยังไม่พบว่า ผู้อำนวยการ คณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีอำนาจทำให้สื่อสาธารณะ แปรรูปเป็นองค์กรแสวงหากำไร รับเงินปันผลจากบริษัทเอกชนตรงไหน นอกจากข้อความนี้

วัตถุประสงค์ขององค์การ

(๒) ผลิตรายการทางด้านข่าวสาร สาระประโยชน์ทางด้านการศึกษา และสาระบันเทิง ที่มีสัดส่วนอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง เน้นความหลากหลายในมิติต่างๆ โดยมุ่งดำเนินการอย่างปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ #ไทยพีบีเอสกับผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ อำนาจตามกฎหมายของผู้อำนวยการ

มาตรา ๓๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจ

(๑) ออกระเบียบในการบริหารกิจการขององค์การ รวมทั้งระเบียบและวิธีปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การ ทั้งนี้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบกลางที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

(๒) ทำสัญญาจ้าง เลิกจ้าง เลื่อน ลด หรือตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ตลอดจนลงโทษทางวินัยแก่พนักงานและลูกจ้างขององค์การตามระเบียบ ที่คณะกรรมการบริหารกำหนด

(๓) แต่งตั้งนายสถานีและคณะกรรมการบริหารสถานี

อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการมีเท่านี้ การเอาเงินขององค์การไปซื้อหุ้นกู้บริษัทเอกชน หรือการลงทุนในตราสารหนี้ ซีพีเอฟ เป็นการจัดการงานเกินอำนาจ หน้าที่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบกันอย่างชัดเจน เปิดเผย ตรงไปตรงมา

เมื่อมีข้อสงสัยในตัวผู้อำนวยการ เป็นหน้าที่ตามกฏหมายของคณะกรรมการนโยบาย ที่เป็นผู้กำหนดข้อบังคับด้านจริยธรรมของกรรมการบริหาร ผู้อำนวยการ มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ จะต้องดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเร่งด่วน เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นสื่อสาธารณะ ที่ต้องโปร่งใส ชัดเจน และวางใจได้

นี่อาจเป็นบทเรียนที่ย้อนไปในตอนต้น ครั้งแต่งตั้งผู้อำนวยการ สสท.เราอาจมองข้ามคุณสมบัติสำคัญ คือ ผู้อำนวยการต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน แต่จนถึงนาทีนี้เราอาจเริ่มคิดได้ว่าคนที่ไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีประสบการณ์ตรงด้านสื่อสารมวลชน จะก่อความเสียหายร้ายแรงให้กับองค์การ ภาพลักษณ์ขององค์การได้อย่างไร”

ที่มา : http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025886

]]>
1119169