ไทยรัฐทีวี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Jun 2019 03:27:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะเรตติ้งออนไลน์ พ.ค. 3 ช่องทีวีดิจิทัล ยอดดูย้อนหลังแซงชมสด https://positioningmag.com/1235168 Tue, 18 Jun 2019 13:10:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235168 พฤติกรรมผู้ชมรายการทีวีวันนี้ มีความชัดเจนว่าดูผ่าน “มัลติสกรีน” บนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น ด้วยปัจจัยประชากรไทยเข้าถึงอินเทอรเน็ตกว่า 82% การดูคอนเทนต์ทีวีจึงเลือกตามความสนใจและพบจำนวนคนดู “ย้อนหลัง” จำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงาน กสทช. รายงานข้อมูลเรตติ้งออนไลน์เดือน พ.ค. 2562 ของนีลเส็น จากการออกอากาศแบบสด (Live Streaming) และดูย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชั่น บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และคอนเน็คเต็ด ดีไวซ์ (Connected Devices) เช่น Apple TV หรือ Android Box ซึ่งมีทีวีดิจิทัลวัดเรตติ้งบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 3 ช่อง คือ ช่อง 7, ไทยรัฐทีวี และเวิร์คพอยท์

“ช่อง 7” มียอดรับชมเป็นจำนวนคน (แบบไม่นับซ้ำ หรือ Unique Audience หรือ UA) ในการรับชมรายการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 16.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 2562 ประมาณ 11% แบ่งเป็นผู้หญิง 52% และผู้ชาย 48% ผู้รับชมเนื้อหารายการส่วนใหญ่อายุ 21-34 ปี

ส่วนยอดรับชมแบบนับซ้ำหรือยอดวิว ช่อง 7 อยู่ที่ 291 ล้านครั้ง แบ่งเป็นยอดวิวของผู้หญิงประมาณ 194 ล้านครั้ง และผู้ชายประมาณ 97 ล้านครั้ง

เดือน พ.ค. ช่อง 7 มียอดดูย้อนหลัง 17.45 ล้านคน ความถี่ 17 ครั้งต่อเดือน  รายการยอดนิยม คือ ละคร “ขิงก็รา ข่าก็แรง” ส่วนการดูรายการสดอยู่ที่ 1.64 ล้านคน ความถี่ 13 ครั้งต่อเดือน แต่รูปแบบดูสดใช้เวลา 1.50 ชั่วโมงต่อเดือน ส่วนดูย้อนหลัง 42 นาทีต่อเดือน

“ไทยรัฐทีวี” มียอดรับชม UA รายการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 28.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 2562 ประมาณ 36% แบ่งเป็นผู้หญิง 52% และผู้ชาย 48% ส่วนใหญ่อายุ 21-39 ปี ยอดวิวเดือน พ.ค. 2562 ประมาณ 702 ล้านครั้ง แบ่งเป็นผู้หญิง 329 ล้านครั้ง และผู้ชาย 373 ล้านครั้ง

พฤติกรรมผู้ชมแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่องไทยรัฐทีวี เป็นการดูย้อนหลังมากกว่าดูสด เดือน พ.ค. 2562 ยอดดูย้อนหลัง 25 ล้านคน ดูสด 2.7 แสนคน รายการดูย้อนหลังที่ได้รับความนิยม คือ “บันเทิงไทยรัฐ” ส่วนรายการสด คือ การถ่ายทอดสดการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล การดูสดเฉลี่ย 5.5 ครั้งต่อเดือน ใช้เวลา 52 นาทีต่อเดือน ส่วนดูย้อนหลัง 29 ครั้งต่อเดือน ใช้เวลา 11 นาทีต่อเดือน

ภาพเฟซบุ๊ก I Can See Your Voice

“เวิร์คพอยท์ทีวี” มียอดรับชม UA รายการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 26.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 2562 ประมาณ 10% แบ่งเป็นการรับชมของผู้หญิง 52% และผู้ชาย 48% ส่วนใหญ่อายุ 25-29 ปี โดยยอดวิวรวม เดือน พ.ค. 2562 ประมาณ 921 ล้านครั้ง แบ่งเป็นยอดวิวผู้หญิง 417 ล้านครั้ง และผู้ชาย  504 ล้านครั้ง

พฤติกรรมผู้ชมช่องเวิร์คพอยท์ เดือน พ.ค. 2562 ดูรายการย้อนหลังมากกว่าดูสด โดยดูย้อนหลัง 28.73 ล้านคน และดูสด 1.25 แสนคน รายการดูย้อนหลังที่ได้รับความนิยมคือ “ชิงร้อยชิงล้าน” ส่วนรายการสดคือ I Can See Your Voice Thailand เฉลี่ยดูรายการสด 11 ครั้งต่อเดือน ใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อเดือน และดูย้อนหลัง 34 ครั้งต่อเดือน เฉลี่ย 20 นาทีต่อเดือน

]]>
1235168
รายการข่าวแรง! กลุ่มท็อปเท็น “ไทยรัฐทีวี-อมรินทร์-เนชั่น”โกยเรตติ้งเพิ่ม https://positioningmag.com/1232987 Wed, 05 Jun 2019 02:39:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232987 หลังการเลือกตั้งเดือน มี.และยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้ผู้ชมเกาะติดรายการข่าวทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ เพื่ออัพเดตสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองในการจับขั้วตั้งรัฐบาล ส่งผลให้เรตติ้งรายการข่าวของช่องท็อปเท็นขยับขึ้น

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รายงานข้อมูล “นีลเส็น” ในการวัดค่าความนิยม (เรตติ้ง) ช่องทีวีดิจิทัลเดือน พ.ค.2562 สูงสุด 10 อันดับแรก คือ ช่อง 7 (7HD) ช่อง 3 (3HD) โมโน 29 เวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ช่อง 3SD ช่อง 8 และเนชั่นทีวี

ในเดือน พ.ค.นี้ ช่องรายการที่มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ ช่อง 7 ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี และเนชั่นทีวี

ช่อง 7 มีเรตติ้งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 000.7 รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือน พ.ค. คือ ละครเย็น “ขิงก็รา ข่าก็แรง” มีเรตติ้งสูงสุด 7.853 (ออกอากาศวันที่ 30 พ.ค. 2562) ส่วนละครค่ำ “เพลงรักเพลงปืน” ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน โดยมีเรตติ้งสูงสุด 7.785 (ออกอากาศวันที่ 8 พ.ค. 2562)

ไทยรัฐทีวี เรตติ้งสูงสุดยังเป็นรายการข่าว เช่น ไทยรัฐนิวส์โชว์ และการถ่ายทอดสดการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่สร้างเรตติ้งได้ดีเสมอต้นเสมอปลาย ส่งผลให้เรตติ้งเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.001

อมรินทร์ทีวี เป็นช่องที่มีเรตติ้งเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้น 0.023 โดยขยับจาก 0.288 ในเดือน เม.ย.2562 เป็น 0.311 ในเดือน พ.ค. 2562 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเรตติ้งดังกล่าวส่งผลให้การจัดลำดับของช่องในกลุ่ม Top 10 ขยับจากอันดับ 8 ขึ้นสู่อันดับ 7 รายการที่ช่วยสร้างกระแสความนิยมให้แก่ช่องคือ ทุบโต๊ะข่าว

เนชั่นทีวี มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้น 0.032 ส่งผลให้ช่องสามารถเข้าสู่การจัดอันดับในกลุ่ม Top 10 ได้อีกครั้ง โดยรายการที่ได้รับความนิยมยังคงเป็นรายการ “เนชั่น ทันข่าว” และ “ข่าวข้น คนเนชั่น”

กสทช.ออกหลักเกณฑ์หนุนเงินทำทีวีเรตติ้ง

สำหรับความคืบหน้าการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำเรตติ้งทีวี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2562 กสทช.ได้ออก ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินในการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล

ตามประกาศฯ กำหนด ให้มี “องค์กรกลาง” ซึ่งหมายถึง องค์กรที่เป็นการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล โดยองค์กรกลาง มีสิทธิขอรับการจัดสรรเงินสนับสนุนจาก สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการสำรวจความนิยมช่องรายการทีวี (ทีวีเรตติ้ง) ของช่องรายการทีวี หรือเนื้อหารายการทีวี การจัดทำฐานข้อมูล การให้บริการฐานข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล

สำหรับ “องค์กรกลาง” ที่มีสิทธิขอรับการจัดสรรเงินสนับสนุนจากสำนักงาน กสทช. เพื่อสำรวจเรตติ้ง จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (24 พ.ค. 2562)
  2. มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องรายการทีวี เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล หรือส่งเสริมการพัฒนากิจการทีวีดิจิทัล
  3. กรรมการ ผู้ดำเนินกิจการขององค์กรกลางจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จะต้องเป็นผู้แทนจากผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
  4. สมาชิกองค์กรกลางที่เป็นผู้แทนจากผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล จะต้องมีสมาชิกทีวีดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่มีอยู่ปัจจุบัน ไม่รวมทีวีดิจิทัลที่แจ้งคืนใบอนุญาต กับ กสทช.

โดยองค์กรกลางที่จะขอรับเงินสนับสนุนตามประกาศฯ ให้แจ้งเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน กสทช. ภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่มีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นฯ 700 MHz (วันที่ 19 มิ.ย.2562)

การจัดสรรเงินจะต้องสอดคล้องกับข้อเสนอในการดำเนินการสำรวจเรตติ้ง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยองค์กรการจะต้องป้องกันการ “ผูกขาด” ส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  1. สำนักงาน กสทช. จะต้องได้รับหรือมีสิทธิใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเรตติ้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการแข่งขันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. องค์กรกลางที่ได้รับการจัดสรรเงิน จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวี
  3. องค์กรกลางที่ได้รับการจัดสรรเงินจะต้องสนับสนุนข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนากิจการวิทยุ ทีวี และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม
  4. ทีวีดิจิทัล สาธารณะ มีสิทธิ์เข้าร่วมระบบสำรวจเรตติ้ง
]]>
1232987
รายได้โฆษณาไม่รุ่ง มุ่งโฮมช้อปปิ้งดีกว่า “อาร์เอส” ควง “ไทยรัฐทีวี” ลุยตลาด หวังขยายฐานลูกค้า https://positioningmag.com/1220368 Mon, 18 Mar 2019 06:47:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220368 หลังเดินหน้าทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก “สื่อ” สู่เชิงพาณิชย์ เริ่มด้วยธุรกิจสุขภาพและความงาม “ไลฟ์สตาร์” ตั้งแต่ปี 2558 ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ “อาร์เอส” มาจากธุรกิจ Multi Platform Commerce หรือ MPC 50% รายได้จากสื่อเหลือเพียง 35% ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติ “อาร์เอส” ย้ายไปหมวดธุรกิจพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคมนี้ 

เมื่อเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์แล้วก็ต้องไปให้เต็มที่ นอกจากการขยายไลน์สินค้าให้หลากหลายทั้ง สินค้าสุขภาพและความงาม ของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว อาร์เอส ยังมองโอกาสการขยายช่องทางการขายโฮมช้อปปิ้ง ผ่านทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ นอกเหนือจากช่อง 8 ที่ยังต้องรักษาสัดส่วนของคอนเทนต์ให้น่าสนใจ ไปพร้อมกับโอกาสการทำตลาดธุรกิจพาณิชย์

“อาร์เอส” จับมือพันธมิตร “ไทยรัฐทีวี”

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปี 2562 เป็นปีแรกที่อาร์เอสจะเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกเต็มรูปแบบ จึงมองโอกาสขยายธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง (MPC) ร่วมกับพันธมิตรทีวีดิจิทัล เพื่อต่อยอดธุรกิจของทั้งสองฝ่าย และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของอาร์เอส นอกจากสื่อในเครือ

นำร่องด้วยการจับมือกับพันธมิตรทีวีดิจิทัล ไทยรัฐทีวี ช่อง 32 ทำรายการโฮมช้อปปิ้ง “T จัดส่งฟรีเก็บเงินปลายทาง จำหน่ายสินค้าของ ลฟ์สตาร์”เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ในหลายช่วงเวลาหลักตลอดวัน เป็นรายการแนะนำสินค้าครั้งละ 5 นาที โดยรูปแบบธุรกิจเป็นการแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้า ผ่านเทเลเซลและ Line@tshopping

ช่องไทยรัฐทีวี มีจุดแข็งด้านคอนเทนต์ข่าวและกีฬาติดกลุ่มผู้นำทีวีดิจิทัล โดยมีฐานผู้ชมเป็นกลุ่มแมส อายุ 35+ ครอบคลุมทั่วไปประเทศ ทำให้การจับมือร่วมธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ขยายฐาน Big Data ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ให้กลุ่มธุรกิจ MPC ของอาร์เอส เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคน จากการประเมินรายได้จากการร่วมธุรกิจกับไทยรัฐทีวี ปี 2562 อยู่ที่ 350 ล้านบาท และปี 2563 อยู่ที่ 455 ล้านบาท

“ยังมีทีวีดิจิทัลหลายช่องสนใจร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจกับอาร์เอส เชื่อว่าบิสสิเนสโมเดลนี้จะเชื่อมโยงฐานผู้ชมทีวีดิจิทัลมาเป็นลูกค้าธุรกิจค้าปลีกได้อย่างลงตัว”

โฮมช้อปปิ้งแหล่งรายได้ทีวีดิจิทัล

ความเคลื่อนไหวของการจับมือเป็นพันธมิตร อาร์เอส”และไทยรัฐทีวี เพื่อลุยธุรกิจโฮมช้อปปิ้งของทั้ง 2 บริษัทในครั้งนี้ หากมองธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องบอกว่าสถานการณ์การแข่งขันยังคงดุเดือด จากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น 22 ช่อง ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาเท่าเดิม โฮมช้อปปิ้ง”จึงเป็นอีกคำตอบของการหารายได้ เพราะดูจากแนวโน้มธุรกิจนี้ เรียกว่าเติบโตปีละ 20% สมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) หรือ THA รายงานมูลค่าปี 2561 อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท ปีนี้ยังเติบโตได้ 25-35%

ทีวีดิจิทัลจึงมองโอกาสจากตลาดโฮมช้อปปิ้ง เป็นอีกแหล่งรายได้ใหม่ โดยช่องที่มีความพร้อมและต้องการขยายธุรกิจ จะใช้รูปแบบการลงทุนเอง ทั้งการผลิตสินค้าหรือหาแหล่งสินค้ามาจำหน่าย จัดส่ง โดยทำการตลาดผ่านรายการโฮมช้อปปิ้ง ทางช่องทีวีดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีรูปแบบปล่อยเช่าเวลาให้กับผู้ประกอบการ “โฮมช้อปปิ้ง” เจ้าใหญ่ เช่น ทีวีไดเร็ค, ทรู ช้อปปิ้ง

อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการหน้าใหม่ ที่เข้าสู่ตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้สื่อทีวี ซึ่งเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ เป็นช่องทางการทำตลาดหลัก.

]]>
1220368
เจาะดีล ไทยรัฐทีวี-เวิร์คพอยท์ ถ่ายสด “แหลม ศรีสะเกษ” เวที ONE Championship ควบ 2 ช่อง https://positioningmag.com/1191795 Tue, 09 Oct 2018 10:15:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191795 ถือเป็นดีลที่ไม่ธรรมดาสำหรับการถ่ายทอดสด มวยกรง “ONE Championship” ที่ “แหลม ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น” ต่อยป้องกันแชมป์สภามวยโลก (WBC) รุ่น 115 ปอนด์ สมัยที่ 2 บนเวที ONE Championship เมื่อคืนวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา

เพราะตามปกติแล้วการถ่ายทอดสดมวยรายการใหญ่มักจะมีทีวีเพียงช่องเดียวที่ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด แต่สำหรับการถ่ายทอดสดมวยรอบนี้ กลับถ่ายทอดสดถึง 2 ช่อง คือ ไทยรัฐทีวี และเวิร์คพอยท์

ONE Championship นั้น จัดตั้งขึ้นโดย ชาตรี ศิษย์ยอดธง เป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพราะมองเห็นว่า แนวโน้มการแข่งขันมวยกรง ซึ่งเป็นรูปแบบการแข่งขัน ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบผสม Mix Martial Art คือ การรวมศิลปะการต่อสู้หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ทั้ง มวยไทย, มวยสากล, ยูโด, มวยปล้ำ และอื่นๆ ได้รับความนิยมอย่างมากในระดับสากล

เขาจึงจัดตั้ง ONE Championship ขึ้นมา รูปแบบการแข่งขัน จะนำนักสู้ทั้งสองฝ่ายขึ้นมาต่อกรกันบนเวทีที่มีลูกกรงล้อมรอบ ใช้กติกาสากล คือ แข่งขันกันภายใน 3 ยก ยกละ 5 นาที แต่หากเป็นรายการที่มีการชิงเข็มขัดแชมป์จะเพิ่มเป็น 5 ยก โดยมีนักสู้มากมายทั้งชายและหญิงจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมแข่งขัน และสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นชกในทุกเดือน โดยมีกติกาเขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามมีการใช้ท่าที่รุนแรงจนทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บสาหัส

ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันของ ONE Championship ไทยรัฐทีวีได้ลิขสิทธิ์มา แต่ทำเรตติ้งเฉลี่ยในรายการตลอดทั้งปีได้น้อยมาก เฉลี่ย 0.1-0.5 เท่านั้น เนื่องจากมีนักสู้ในสังเวียนที่เป็นคนไทยได้แชมป์น้อยลง

ทำให้ผู้จัด ONE Championship จึงต้องหา “สตาร์” ใหม่ๆ มาดึงดูดคนดู สร้างเรตติ้ง

ภาพจาก : facebook.com/pg/thairathtv

ผู้จัดจึงได้หันไปเจรจากับนักมวยสากลอาชีพที่ได้รับชื่อเสียง ความนิยมสูงในเอเชีย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า พร้อมทุ่มไม่อั้น ไปทาบทาม “บัวขาว บัญชาเมฆ” มาแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไป จนกระทั่งมาดีลได้ “ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น” มาต่อยป้องกันแชมป์ในรายการ พร้อมกับข่าวที่ว่า ทุ่มไม่อั้นเช่นกัน

สำหรับ “แหลม ศรีสะเกษ” นั้น อยู่ในสังกัดนครหลวงโปรโมชั่น ที่มีสัญญาถ่ายทอดสดทางทีวีดิจิทัลกับเวิร์คพอยท์ ซึ่งเป็นการย้ายจากกลุ่มช่อง 3 ที่เคยถ่ายทอดสดมาก่อนในปี 2560 ที่เป็นช่วงที่ “แหลม ศรีสะเกษ” คว้าแชมป์โลกมาได้ ด้วยการเอาชนะ โรมัน กอนซาเลซ อดีตแชมป์โลกชื่อดังชาวนิการากัว ทำให้ชื่อเสียงของ “แหลม ศรีสะเกษ” ดังเป็นพลุแตก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การได้ แหลม ศรีสะเกษ มาป้องกันแชมป์ใน ONE Championship ทำให้เรตติ้ง ไทยรัฐทีวีโกยเรตติ้งไป 3.517 สูงที่สุดเท่าที่เคยถ่ายทอดสดรายการนี้มาในปีนี้ ส่วนช่องเวิร์คพอยท์ได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.875

ภาพจาก : facebook.com/pg/thairathtv

แต่ภาพเวทีมวยรอบนี้ ดูแปลกตาของแฟนมวยไม่น้อยเลย ด้วยขนาดของเวทีมวยที่กว้างกว่าปกติ จากเดิม 6 เมตร กลายเป็นขนาด 8 เมตร เชือกที่กั้นรอบเวที จากเวทีมวยปกติมี 4 เส้น กลายเป็น 5 เส้น ด้วยเวทีกว้าง การวิ่งไล่ต่อยก็กว้าง ไกลมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่ผลการแข่งขันไม่มีการชนะน็อก แต่เป็นการชนะคะแนน โดยที่ “แหลม ศรีสะเกษ” เป็นฝ่ายชนะคะแนนผู้ท้าชิงเอกฉันท์ด้วย 119-108 สองเสียง และ 120-108 หนึ่งเสียง ป้องกันแชมป์สภามวยโลก (WBC) รุ่น 115 ปอนด์ สมัยที่ 2 ครั้งที่ 3 ไว้ได้

การที่ผู้จัด ONE Championship สามารถดีลนำ “แหลม ศรีสะเกษ” มาลงทำการแข่งขันได้นั้น นับว่าเป็นดีลทุ่มสุดตัวของทาง ONE Championship ที่สามารถดึงความนิยม และเรตติ้งรายการกลับคืนมาได้ ในขณะที่ค่ายนครหลวงโปรโมชั่น และ “แหลม ศรีสะเกษ” ก็ได้รับเงินก้อนโตจากดีลนี้

“แหลม ศรีสะเกษ” กำลังมีแผนจะแต่งงานกับแฟนสาวคนใหม่ “น้องจ้ะจ๋า” ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ ที่สามารถเริ่มชีวิตคู่ครั้งใหม่หลังจากที่ยอมทิ้งสมบัติทั้งหมดให้กับแฟนเก่าที่เลิกรากันไปแล้ว.

]]>
1191795
”บุพเพฯ” เจอฟุตบอลไทย สกัดเรตติ้งตอนล่าสุดขยับเล็กน้อย แต่ยังออกฤทธิ์ ช่อง 7 รูดหนัก https://positioningmag.com/1163047 Fri, 23 Mar 2018 15:28:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163047 กระแสคนดูฟุตบอลไทย จากการถ่ายทอดสดฟุตบอลคิงส์คัพ แมตช์ทีมชาติไทย พบทีมชาติกาบอง ถ่ายทอดสดโดยไทยรัฐทีวี จบลงด้วยชัยชนะของทีมไทยในการยิงจุดโทษ มีผลเบรกเรตติ้งของละคร ”บุพเพสันนิวาส” ที่กำลังพุ่งขึ้นสุด ๆ ลงได้

เรตติ้งเฉลี่ยทั่วประเทศของละครหลังข่าววันที่ 22 มี.ค. ละคร “บุพเพสันนิวาส” ได้เรตติ้งเฉลี่ย 15.982 เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 21 มี.ค. เพียง 0.011 เท่านั้น แบ่งเป็นกลุ่มผู้ชมในกรุงเทพฯ 21.430 ต่างจังหวัด 15.056 กลุ่มผู้หญิง 19.913 และผู้ชาย 11.863

เมื่อรู้ว่าบอลแมตช์นี้ต้องชนกับละครดัง ไทยรัฐทีวีจึงจุดกระแสเต็มที่ใช้วิธีส่งข้อความทางโซเชียลเรียกร้องให้ผู้ชมแฟน ๆ “ออเจ้า” เลือกชมสด​ ”บอลไทย” ผ่านไทยรัฐทีวี ส่วนละคร ”บุพเพสันนิวาส” นั้น ดูย้อนหลังได้ อีกทั้งขณะพากย์บอล คนพากย์ก็เอาใจคอละครเต็มที่ เมื่อมีช่วงหวาดเสียว ก็ออกปากแซว “ออเจ้า” มีเสียว เป็นที่สนุกสนาน

ผลเรตติ้งฟุตบอลของไทยรัฐทีวี ที่กินเวลายาวตั้งแต่ 18.35-21.49 น.ได้เรตติ้งเฉลี่ย 3.001 เป็นกลุ่มผู้ชมกรุงเทพฯ 3.778 ต่างจังหวัด 2.869 โดยมีกลุ่มคนดูผู้ชาย 3.804 และผู้หญิง 2.235

นอกเหนือจากผู้ชมที่เข้าไปชมในสนามราชมังคลาฯ กว่า 2.5 หมื่นคนแล้ว เรตติ้งจากคนดูสดทางบ้านผ่านหน้าจอ ก็สะท้อนให้เห็นว่า ฟุตบอลทีมชาติไทย ยังคงเป็นคอนเทนต์ที่โดนใจคนไทยเสมอ ไม่ว่าเพศหรืออายุใด โดยเฉพาะแมตช์ทีมชาติไทยนัดสำคัญ ๆ ด้วยแล้ว มักสร้างเรตติ้งให้กับช่องทีวีที่ถ่ายสดเสมอ เพียงแต่แมตช์นี้มาชนกับละครดังแห่งชาติ จึงยังมีผลกระทบต่อเรตติ้งไม่มาก แต่ได้ข้อสรุปว่า ศึกชิงรีโมต ผู้หญิงคือผู้ชนะ

เรตติ้งวันนี้ผลจาก ”บุพเพสันนิวาส” ก็ยังคงทำให้เรตติ้งรวมเฉลี่ยทั้งวันของช่อง 3  ขึ้นทำเนียบแชมป์ติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ของสัปดาห์แล้ว ครั้งนี้ได้เรตติ้งสูงกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่อง 7 โดยช่อง 3 ได้ 3.031 ในขณะที่ช่อง 7 ได้ 1.498 ส่วนไทยรัฐทีวีก็เด้งขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 เรตติ้ง 0.605 จากปกติอยู่ในอันดับ 7 หรือ 8

นอกจากนี้เรตติ้งรายการอื่น ๆ ของช่อง 3 ที่ออกอากาศก่อนและหลัง ”ออเจ้า” ก็พุ่งรับกันทุกช่วงเวลา เริ่มจากรายการข่าวบันเทิง “สีสันบันเทิง” ที่เริ่มเวลา 20.30 เรตติ้ง 11.501 และรายการข่าวสั้น ๆ แฟลชนิวส์ก่อนเข้าละครยังมีเรตติ้งปาเข้าไปที่ 12.573

รายการข่าว ”3มิติ” ที่ออกอากาศรับละครจบ ยังได้เรตติ้งสูงถึง 4.762 สูงกว่าละครหลักของช่อง 7 ทั้งละครไพรม์ไทม์ และละครเย็นทั้ง 2 เรื่อง โดยละครเย็น “เขยผู้ใหญ่ สะใภ้กำนัน” ได้เรตติ้ง 4.653 ส่วนละครหลังข่าว “ชาตลำชี” เรตติ้ง 3.784

อีกทั้งยังไปกระทบต่อ The Mask Singer 4 ของเวิร์คพอยท์ ที่ครานี้เรตติ้งหล่นลงมาเหลือ 1.414 และละคร “ดาวจรัสฟ้า” ของช่องวันที่ในวันจันทร์ อังคารยังได้เรตติ้งในระดับ 3 มาอยู่ที่  2.280

กระแสของ ”บุพเพสันนิวาส” คงไปต่อได้อีกจนกว่าจะจบ หลายช่องก็ตั้งความหวังว่าหลังจากละครจบลงในวันที่ 11 เม.ย.นี้ คงจะจัดหนักจัดเต็มทวงเรตติ้งคืนมากันอย่างเต็มที่ อยู่ที่ว่าช่อง 3 จะรับมือและสร้างความนิยมต่อเนื่องไปได้อย่างไร.

]]>
1163047
เจาะลึกท็อปแฟน 10 ช่องทีวีดิจิทัล ทำใจไร้เรตติ้งคนรุ่นใหม่ แต่ได้ใจสูงวัย 50 ปี https://positioningmag.com/1156163 Thu, 08 Feb 2018 23:15:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156163 เจาะเรตติ้งทีวีดิจิทัล ปี 2560 ท็อป 10 ช่องเรตติ้งสูงสุด แฟนจอต่างจังหวัดดันเรตติ้งช่อง แชมป์ตลอดกาลช่อง 3 ยึดที่ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้ง 10 ช่องหาจุดเด่น แบ่งเค้กผู้ชมชายหญิง จุดเสี่ยงทุกช่อง ได้เรตติ้งจากคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน น้อยกว่าคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

ช่องทีวีดิจิทัลที่ได้เรตติ้งสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2560 อันดับ เป็นของช่อง ไล่เรียงต่อ  กันมา คือช่อง เอชดี เวิร์คพอยท์ โมโนช่อง ช่องวัน อมรินทร์ ช่อง เอสดี ไทยรัฐ และ อสมท นับเป็นช่องที่ได้ผู้ชมทีวีไปส่วนใหญ่จากทั้งหมด 25 ช่องที่เป็นฟรีทีวี เป็น 22 ช่องเพื่อธุรกิจหารายได้จากโฆษณา และอีก ช่องเป็นช่องเพื่อสาธารณะคือไทยพีบีเอส ที่มีรายได้จากรัฐ และอีก คือช่อง และช่อง 11 ที่มีรายได้จากการหาโฆษณาด้วย 

จากตัวเลขเรตติ้งของนีลเส็น ที่เจาะลึกกลุ่มผู้ชมแบ่งตามพื้นที่ เพศ และอายุ ในกลุ่มท็อป 10 นี้ พบว่าช่องที่มีเรตติ้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสูงกว่าในต่างจังหวัด มีถึง ช่อง อันดับแรกคือช่อง เอชดี ตามมาด้วยเวิร์คพอยท์ โมโน วัน อมรินทร์ ช่อง เอสดี ไทยรัฐ และ อสมท

ส่วนช่องที่ได้ผู้ชมต่างจังหวัดสูงกว่ามีแค่ ช่อง คือช่อง ที่ได้เรตติ้งในต่างจังหวัดสูง ทิ้งห่างจากทุกช่อง และอีกช่องคือช่อง ที่ได้เรตติ้งในต่างจังหวัดสูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ทั้งสองพื้นที่ตัวเลขไม่ห่างกันมากนัก 

เจาะลึกลงไปอีกถ้าดูกลุ่มผู้ชม ตามเพศ ผู้หญิง และผู้ชายพบว่า กลุ่มผู้ชมชายมากกว่าหญิง คือ โมโน ช่อง อมรินทร์ ไทยรัฐ อสมท อีก ช่องหญิงมากกว่าชาย คือยักษ์ใหญ่ทั้งสองช่องคือช่อง และ 3 HD เวิร์คพอยท์ ช่องวัน และช่อง 3 SD

นี่คือผลงานของแต่ละช่องในช่วงปีที่ผ่านมา ที่ช่อง ยังคงยึดฐานผู้ชมส่วนใหญ่ของประเทศคือต่างจังหวัด ทั้งจากละคร วาไรตี้ และข่าว ที่มีเนื้อหา และรูปแบบที่ต่อเนื่อง ย้ำจุดยืนเป็นช่องของกลุ่มแมส

ขณะที่ช่อง แม้จะพยายามแข่งชิงพื้นที่ในต่างจังหวัดบ้าง แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะตัวเลขเรตติ้งในต่างจังหวัดยังห่างจากช่อง แต่ผลงานที่ช่วยปลอบใจผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นช่อง ได้บ้างคือในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้ 2.162 เป็นที่ ชนะช่อง ที่ได้ 1.866 แต่จุดเสี่ยงคือทิ้งห่างช่อง ไม่มาก และยังมีเบอร์ อย่างเวิร์คพอยท์ และโมโน ที่ประกาศพร้อมชิงฐานผู้ชมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย

ขณะที่โมโนเน้นจุดยืนที่เป็นช่องหนัง และจัดหนังพรีเมียม บล็อกบัสเตอร์มาลงในช่วงไพรม์ไทม์หลังสองทุ่มอย่างต่อเนื่องจนเกือบเที่ยงคืนที่ตอบโจทย์คนเมืองที่นอนดึกมากกว่าคนในต่างจังหวัด และผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

สำหรับช่องที่เหลือที่ยังมีแนวโน้มพร้อมเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายได้อีก เพราะทั้งตัวเลขพื้นที่รับชม และชายหญิงพอ  กัน คือช่องวัน อมรินทร์ ไทยรัฐ 3 SD และ อสมท

ความท้าทายที่ทุกช่องต้องเผชิญ คือฐานอายุผู้ชมทั้ง ช่องได้เรตติ้งจากกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปสูงสุดของช่อง เช่น ช่อง กลุ่มผู้ชมอายุ 50 ปีขึ้นไปมีเรตติ้ง 2.700 กลุ่มที่น้อยที่สุดคือ 15-19 ปีมีเรตติ้งประมาณ 1.400 ขณะที่โมโนได้กลุ่มอายุ 40-44 ปี ทำเรตติ้งสูงสุดของช่องได้ประมาณ 1.040  ขณะที่กลุ่มอายุอื่น  ได้เรตติ้งไม่ถึง 

ฐานผู้ชมที่แบ่งตามอายุของแต่ละช่องนั้น ตัวเลขเรตติ้งที่สูงของแต่ละช่องจะเริ่มเห็นเรตติ้งบ้างตั้งแต่กลุ่มอายุประมาณ 35 ปี โดยกลุ่มที่เป็นวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ต่ำกว่า 35 ปีนั้น แต่ละช่องมีเรตติ้งไม่สูงนัก 

ยกตัวอย่างช่อง มีเรตติ้งกลุ่มอายุวัยทำงานตั้งแต่ 20-35 ปีนั้น มีเรตติ้งประมาณ 0.660-1.000 ส่วนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 1.200-2.000 

ช่อง กลุ่มอายุ 20-35 ปี มีเรตติ้ง 1.100-1.700 ส่วน 35 ปีขึ้นไปมีเรตติ้ง 1.900-2.700.

]]>
1156163
สมรภูมิข่าวเดือด ทีวีดิจิทัลเปิดศึกชิง “พิธีกร” https://positioningmag.com/1145844 Wed, 08 Nov 2017 22:55:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145844 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการทีวีในยุคทีวีดิจิทัล พิธีกรข่าว “ตัวจริง” ยังมีที่แลนดิ้ง ย้ายเปลี่ยนช่อง บางคนก็ยังถูกแย่งชิง และบางช่องยอมลงทุนซื้อตัวข้ามช่อง จ่ายค่าฉีกสัญญา หลังจากตลาดเงียบมาสักพัก

ข่าวฮือฮาก่อนหน้านี้ คือการสลับตัวพิธีกรข่าวหลักระหว่าง “ช่องวัน” กับ “ไทยรัฐทีวี” นี่ไม่ใช่โครงการแลกเปลี่ยนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ แต่คือการวางยุทธศาสตร์หน้าจอที่ต่างกันของทั้งสองช่อง

ช่องวันรุกหนักในการปรับปรุงรายการข่าว หลังจากจัดทีมพิธีกรข่าวที่มีทั้งพิธีกรข่าวตัวจริง ผสมกับนักร้อง นักแสดง โดยมี “อุ๋ย ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์” จากช่อง 9 เป็นพิธีกรหลัก มาตั้งแต่ปี 2557 ในยุคที่ “นรากร ติยายน” เป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารข่าวช่องวัน และได้ลาออกไปแล้วตั้งแต่ปี 2559

“อุ๋ย ภาคภูมิ” ลาออกจากช่องวัน เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ไปอยู่หน้าจอ “ไทยรัฐนิวส์โชว์” ช่วงค่ำไทยรัฐทีวี

ส่วนพิธีกรข่าวของไทยรัฐทีวี ที่มานั่งแทนที่ “ภาคภูมิ” ที่ช่องวัน คือ “คิงส์ พีระวัฒน์ อัฐนาค” หลังจากที่ “คิงส์ พีระวัฒน์ ที่ย้ายมาจากมันนี่ แชนแนล มาอยู่ที่ไทยรัฐตั้งแต่ปี 2558

ไทยรัฐทีวี ใช้วิธีจ้างพิธีกรข่าวด้วยการทำสัญญาจ้างประมาณ 3 ปี เพราะช่องต้องสร้าง ต้องเทรน และโปรโมตผู้ประกาศ ซึ่งถือเป็นต้นทุน ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้น ช่องใหญ่ก็มีการดึงตัวและซื้อตัวพิธีกรข่าวกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะช่อง 3

ลือสนั่นกันว่า ช่องวันต้องจ่ายค่าฉีกสัญญาในการดึง “คิงส์” ในหลักล้านบาท ที่มาพร้อมกับทีมเบื้องหลังจากไทยรัฐอีกส่วนหนึ่ง เรื่องนี้ ผู้บริหารเครือแกรมมี่ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในช่องวัน ยอมรับว่ามีการจ่ายค่าฉีกสัญญา เพราะช่องวันต้องการรุกรายการข่าวอย่างเต็มที่ นอกจากข่าวเช้า เที่ยง เย็น แล้ว ยังมีแผนเพิ่มช่วงข่าวดึกเลทไนท์อีกด้วย

อีกช่องที่มีการทำสัญญากับพิธีกรข่าว คือช่อง 8 ค่ายอาร์เอส ที่ ดร.โด่ง องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 บอกว่า จำเป็นต้องทำสัญญา เพราะช่องมีการลงทุน ไม่เช่นนั้นแล้ว การย้ายค่ายเปลี่ยนช่องจะเกิดขึ้นง่าย ช่องก็ต้องสร้างใหม่ตลอดเวลา

ปัจจุบัน สมรภูมิทีวีดิจิทัลผ่านไปแล้วเกือบ 4 ปี หลายช่องเริ่มขยับปรับปรุงรายการข่าว ไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่มช่อง 3 ที่ยังมีน้องรองคือ 3 เอสดี หรือช่อง 28 ที่บริษัทในเครือของ “เซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” เพิ่งได้เวลาช่วงเช้า ทำรายการที่ชื่อว่า “ตีข่าวเช้า” และได้อดีตพิธีกรข่าวของช่อง 8

“เอ ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์” เป็นพิธีกรหลัก ที่อยู่ระหว่างการเคลียร์สัญญากับช่อง 8

เรื่องนี้ “จอนนี่  แอนโฟเน่” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด  กล่าวว่า เป็นเรื่องระหว่างพิธีกรข่าวกับอาร์เอส ที่จะเคลียร์กัน สำหรับในเครือของช่อง 3 ไม่ได้ทำสัญญากับพิธีกรในลักษณะดังกล่าว  เรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

ย้อนหลังไป การซื้อตัวพิธีกรข่าวเกิดขึ้นอย่างคึกคัก เริ่มเมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน ที่เบอร์ใหญ่ช่อง 3 ขยับตัวกวาดทั้งพิธีกรข่าว นักข่าวภาคสนาม ที่มีแนวโน้มเป็นพิธีกรข่าวได้ จากทั้งช่องเล็ก ช่องใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้น “ประวิทย์ มาลีนนนท์” อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เคยอธิบายว่าต้องเตรียมบุคลากรไว้ ถ้ามีช่องเกิดขึ้นอีก ช่อง 3 ก็จะมีความพร้อม

ในขณะนั้น หลัก ๆ จึงมีพิธีกรข่าวที่มาจากทั้งช่อง 7 อย่าง “ไก่ ภาษิต” ที่มาอยู่ช่อง 3 ตั้งแต่ปี 2552มีบางส่วนมาจากไทยพีบีเอส และไอทีวี ทั้งพิธีกรเบอร์เล็กเบอร์ใหญ่หลายสิบชีวิต

แหล่งข่าวจากช่อง 3 เปิดเผยถึงค่าตอบแทนพิธีกรข่าวของช่อง 3 โดยทั่วไป จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ รับเป็นเงินเดือนส่วนหนึ่ง กรณีมีชื่อเสียงหน้าจอมาแล้ว ก็ได้ประมาณเดือนละ 1 แสนบาท บวกกับค่าอ่าน ที่แต่ละคนได้รับต่างกัน บางคนอาจคิดค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง รับในหลักพันหรือ 10,000 บาท บางคนเหมาเป็นค่าอ่านทั้งวัน เช่น วันละ 10,000 บาท

ส่วนทีวีดิจิทัลช่องอื่น ๆ ก็ยังต้องการพิธีกรข่าวจำนวนมาก มีหลายโมเดลที่เกิดขึ้น เช่น การนำเซเลบ หรือคนดัง รวมถึงดารานักร้องมาอ่านข่าว ขณะที่บางช่องเลือกปั้นจากคนข่าว นักข่าว ให้เป็นพิธีกรข่าวแถวหน้า ยิ่งถ้าได้คนข่าวที่มีบุคคลิก และวิธีการเล่าข่าวเฉพาะ ยิ่งเป็นสปริงบอร์ดให้รายการได้ไม่ยาก

อย่างกรณีพิธีกรข่าวที่หลายคนยกให้เป็นเบอร์ 1 มีความดังระดับอาจแทนที่ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ได้ คือ “พุทธ อภิวรรณ” ที่มาจากทีวีดาวเทียมช่องหนึ่ง และสร้างเรตติ้งรายการข่าวค่ำให้ช่องอมรินทร์ได้ในระดับผู้ชมหลักล้านต่อนาที ช่วงหนึ่งมีข่าวลือว่าจะมาอยู่ช่อง 3 ด้วยค่าตอบแทนเดือนละ 1 ล้านบาท แต่ปัจจุบัน “พุทธ” ยังคงอยู่ทำหน้าที่ในช่องอมรินทร์เช่นเดิม

หากเปรียบเทียบกับช่วงแรก ๆ ที่ “สรยุทธ” ดัง เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ถือว่าใกล้เคียงกัน เพราะสรยุทธก็ไต่ระดับค่าอ่านจากครั้งละ 5,500 บาท มาเป็น 30,000 บาท ยังไม่นับส่วนแบ่งรายได้โฆษณาที่บริษัทของสรยุทธได้รับจากช่องอีก

ช่อง 9 พิธีกรข่าวที่เป็นพนักงานประจำ นอกจากเงินเดือนตามเกณฑ์รัฐวิสาหกิจแล้ว ยังมีค่าอ่านในแต่ละครั้ง ส่วนพิธีกรข่าวหน้าใหม่ที่เข้ามา ไม่ได้อยู่ในสถานะพนักงานประจำ ไม่ได้รับเป็นเงินเดือน แต่จะได้ค่าอ่านต่อครั้ง ถ้าได้อ่านช่วงหนึ่งของรายการข่าวหลัก จะได้ครั้งละ 1,500 บาท แต่ถ้าได้อ่านข่าวหลัก จะได้ครั้งละ 3,000 บาท

ขณะที่ช่องเล็กบางช่องจะมีการจ่ายเงินเดือนให้พิธีกรข่าว เฉลี่ยไม่เกิน 40,000 บาท แต่จะมีค่าอ่าน เช่น ครั้งละ 800-1,000 บาท ถ้าเศรษฐกิจ หรือรายได้ช่องไม่ดี ก็จะมีการตัดค่าอ่าน พิธีกรข่าวจากช่องเล็ก ๆ เหล่านี้ เมื่อมีโอกาสไปช่องใหม่ รายได้มากกว่า ก็มักจะไม่ลังเล

สำหรับบางช่องที่เลือกพิธีกรข่าวที่มีดีกรี เป็นนักแสดง คนดัง เซเลบริตี้มาก่อน จะยอมจ่ายค่าอ่านให้ครั้งละประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อคน

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงได้เห็นการย้ายช่องของพิธีกรข่าวในช่องต่างๆ จำนวนมาก เช่น จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ที่อยู่ค่ายเนชั่นมา 13 ปี และย้ายไปอยู่ช่องไทยรัฐ โมไนย เย็นบุตร จากเนชั่นทีวีไปอยู่ไทยรัฐช่วงสั้นๆ กลับมาเนชั่นทีวี และอยู่ทรูฟอร์ยู ในปัจจุบัน

บางคนที่ช่องดึงคนนอกมาจำนวนมาก และตัวเองถูกดึงจากช่องอื่นด้วย แม้จะเป็นช่องเล็กกว่า แต่มีบทบาทหลักบนหน้าจอและได้เป็นผู้บริหารด้วย ก็พร้อมไป เช่น ปราย ธนาอัมพุช และ ชาญชัย กายสิทธิ์ ที่ออกจากช่อง 3 ไปอยู่พีพีทีวี จัดรายการข่าวเช้า แทนที่บริษัทของ “บรรจง ชีวมงคลกานต์” ที่ย้ายร่วมบริหารงานข่าว และพิธีกรข่าวหลักช่องเวิร์คพอยท์ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 หลังเวิร์คพอยท์เลิกจ้างมติชนผลิตรายการข่าว

หากจะวัดที่ผลงานว่ารายการโดนใจผู้ชมหรือไม่ ก็ต้องดูเรตติ้ง ตัวอย่างเช่น รายการข่าวของวันที่ 1 พ.ย. เรตติ้ง “โชว์ข่าวเช้านี้“ ช่องพีพีทีวี ที่จัดรายการโดย ปราย กับ กายสิทธิ์ ตั้งแต่ประมาณตี 5 ถึง 8 โมงเช้า อยู่ที่ประมาณอันดับที่ 15 เรตติ้งที่ 0.09

ข่าวเที่ยงช่องวัน ที่คิงส์ เป็นแกน ได้เรตติ้ง 0.61 ในอันดับ 2 ในกลุ่มรายการข่าวเที่ยง และข่าวเย็น ได้เรตติ้ง 0.31 อยู่ในอันดับ 11 กลุ่มข่าวเย็น

ที่ช่อง 3ไก่ ภาษิต ที่รับงานเรื่องเล่าเช้านี้ โฉมใหม่ ได้เรตติ้ง 1.01 อยู่อันดับ 3 ส่วนเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ได้ 0.55 อยู่อันดับ 3

ส่วน อุ๋ย ภาคภูมิ ไทยรัฐนิวส์โชว์ ออนแอร์ช่วงแรกได้ 1.1 ช่วง 2 ได้ 0.5 โดยยังเป็นรองช่องอมรินทร์ ที่ได้ 1.3

ขณะที่  “บรรจง” ในรายการบรรจงชงข่าว ช่วงข่าวเย็น ได้เรตติ้ง 0.84 อันดับ 4 กลุ่มข่าวเย็น

“เขมทัตต์ พลเดช” ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สรุปว่า ในยุคสงครามข่าวทีวีดิจิทัลกว่า 20 ช่องนั้น พิธีกรรายการข่าวที่ผู้ชมคุ้นหน้าก็ทำให้มีโอกาสได้เรตติ้ง ซึ่งช่อง 9 เลือกวิธีการปั้นคนข่าวมาอยู่หน้าจอ แม้จะใช้เวลา แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง คือได้ภาพจำเป็นพิธีกรข่าวที่น่าเชื่อถือ ตามจุดยืนของช่องที่เติบโตมาจากความเป็นช่องข่าว

ความสำเร็จของ “รายการข่าว” ทางทีวีในยุคที่ธุรกิจทีวีแข่งเดือดเลือดสาดนี้ ไม่เพียงเสนอข่าวต้องยึดหลักของวิชาชีพสื่อเท่านั้น สิ่งสำคัญจึงมีคำตอบที่ชัดเจนว่า คือ “หน้าจอ” ในส่วนของผู้ประกาศ พิธีกรข่าว หรือนักเล่าข่าว ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพารายการให้มีเรตติ้งดี หรือไม่ดี

ในวงการรายการข่าวทีวี ถึงได้รู้ซึ้งกันดีว่า เนื้อหา รูปแบบรายการ ที่แม้ว่าทีมงานเบื้องหลังจะเตรียมมาอย่างดีแค่ไหน แต่ถ้าพิธีกร “ไม่ถึง” ทั้งการเตรียมตัวไม่ดีพอ ความรู้รอบตัวน้อย วิธีการอ่าน การเล่า ดึงผู้ชมไม่ได้ ก็นับถอยหลังถูกถอดออกจากรายการได้เลย ขณะเดียวกันใครผลงานดีเยี่ยม ช่องต่าง ๆ ย่อมอยากได้ตัวไปปั้นรายการของช่อง

ท่ามกลางการแข่งขันกันเองในธุรกิจทีวีดิจิทัล และการแข่งกับสื่อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือการไล่ตามความต้องการของผู้ชมให้ทัน การปรับกลยุทธ์ทุกรูปแบบจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา.

]]>
1145844