ไมโลก้อน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 30 Dec 2017 04:22:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 ปรากฏการณ์ สะเทือนตลาดปี 2560 https://positioningmag.com/1152106 Sat, 30 Dec 2017 00:07:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152106 ในทุกปีมีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจการตลาด ที่มีทั้งเรื่องราวของแบรนด์ สินค้า ที่สร้างปรากฏการณ์ตลาดจนผู้ต้องร้องว้าว! คู่แข่งต้องหันมามอง นักการตลาดต้องหยิบมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อที่จะรียนรู้ ปรับใช้ และปรับตัวในปีต่อ ๆ ไป หากจะมองว่า กระแส หรือกิจกรรมตลาดไหนบ้างที่ “ร้อนแรง” ในปี 2560

1. ตูน Phenomenon 

ถ้าหากจะพูดถึงบุคคลแห่งปีที่ผู้คนทุกวงการต้องเกาะติด ตั้งแต่การเมือง การตลาด สังคม กีฬา สารพัดฯ ต้องยกให้คนนี้ “ตูน บอดี้สแลม” ที่ลุกมาทำโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ออกมาวิ่งจากเบตง ถึงเชียงรายระยะทาง 2,000 กว่ากิโลเมตร(กม.) เพื่อระดมทุน 700 กว่าล้านบาท ไปช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาล ผลของการทำกิจกรรมด้วยใจจริง ทำให้แบรนด์ต้องหันมาศึกษา และยกเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ควรนำไปทำตาม ทั้งความจริงใจ มีความ Real Marketing ไม่ Fake เพราะการทำอะไรปลอมๆ ที่สุดแล้ว ก็จะกลายเป็นหอกกลับมาทิ่มแทงทำลายแบรนด์ให้พังได้

นอกจากนี้ สิ่งที่ตูนทำ ยังก่อให้เกิดคนรักทั้งประเทศ ซึ่งในเชิงการตลาด เป้าหมายสูงสุดที่แบรนด์ต้องการไปให้ถึงคือ Build Brand Love เพราะหากผู้บริโภคนรักแบรนด์ได้ จะก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อแบรนด์นั้นเป็นแบรนด์แรก อีกทั้งหากมีใครกล่าวร้ายแบรนด์ ผู้บริโภคจะออกมาปกป้องทันที

2. ครีมหน้าเด้งของก้อย รัชวิน ที่ทุกคนถามหา 

นอกจากพี่ตูน บอดี้สแลมจะเป็นที่สนใจของทุกคน แต่จะไม่พูดถึงคนนี้ไม่ได้ “ก้อย รัชวิน” แฟนสาว ที่ร่วมออกวิ่งกับตูน ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่สิ่งที่หลายคนสงสัย คือ “ใช้ผลิตภัณฑ์อะไร” ที่ยังคงสภาพผิว ใบหน้าให้สวดสดใสได้ตลอด จนมีบางแบรนด์มาเกาะกระแสขายสินค้า

ภาพจาก : facebook.com/rachwinwong

ขณะที่ก้อย บอกเพียงวิธีการดูแลผิวพรรณ ด้วยการใช้ครีมกันแดดในตอนกลางวัน หลังวิ่งเสร็จต้องลงอโลเวร่า ตบด้วยมาร์กหน้าตอนกลางคืน ส่วนก่อนเมคอัพให้สวยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่จำเป็นทั้ง อายครีม มอยเจอร์ไรเซอร์ เซรั่ม ต้องลงหมด

3. ไมโลคิวบ์ ไอเทมสุดฮิต 

ที่ทุกคนควานหา การออกสินค้าใหม่มาชิมลางในตลาด การแจ้งเกิดได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ไมโลคิวบ์ จะไม่ได้เปิดตัวโดยตรงจากเจ้าของแบรนด์อย่าง “เนสท์เล่” แต่เมื่อมี “ขาหิ้ว” นำเข้ามาขาย จนโด่งดัง ก็เป็นจังหวะดีที่แบรนด์กลับมามอง เพื่อปูพรมทำการตลาด หาโอกาสใหม่ๆเอง

ความดังของไมโลคิวบ์ อย่างแรกเกิดจากตัวผลิตภัณฑ์(Product)ที่แตกต่างจากตลาดอย่างแท้จริง เพราะเวลานั้นไม่มีคู่แข่งรายใดที่ทำช็อคโกแลตมอลต์อัดเม็ดออกมาจำหน่าย ส่วนการทำตลาดแน่นอนของดีเลยทำให้ “ผู้บริโภคบอกต่อ” เป็น Word of Mouth เป็นตัวกลางที่สื่อสารให้แบรนด์ซัคเซส โดยไม่ต้องลงทุนโฆษณาใดๆ

4. ชากุหลาบ โปรดักท์จุดพลุให้ชาตรามือ 

อีกหนึ่งสินค้าที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ สำหรับ “ชาตรามือ” ที่มีสินค้าพระเอกของปีคือ “ชากุหลาบ” กลายเป็น Buzz Marketing รัวๆ เพราะใครที่ลองสินค้านี้แล้ว มีการบอกต่อกันอย่างมากในโลกออนไลน์ ถึงคุณสมบัติบางประการ และนั่นทำให้ผู้บริโภคต่อคิวซื้อสินค้ายาวเป็นหางว่าว

ชากุหลาบ ยังช่วยปลุกชีพแบรนด์ที่ดูบ้านๆ มีสินค้าจำหน่ายเป็น Kiosk เล็กๆ ตามสถานีรถไฟฟ้า หรือจุดต่างๆ จนสลัดภาพไปทำตลาด เปิดช็อปให้บริการในศูนย์การค้าสยามพารากอนอย่างสวยหรู ในโซนที่เต็มไปด้วยแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มไฮโซ

5. Louis Vuitton X Supreme สุดยอดแบรนด์ปัง 

ปีนี้ถ้าจะพูดถึงการ Collaboration แบรนด์ทรงอิทธิพลจนผู้บริโภคต้องร้องว้าวต้องยกให้แบรนด์ไฮเอนด์จากฝรั่งเศสอย่างหลุยส์ วิตตอง ที่ลุกมาร่วมมือกับแฟชั่นสตรีทแวร์ดังจากเมืองมะกัน สุพรีม ออกคอลเล็กชั่นพิเศษทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ผ้าพันคอ ฯ มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคตลาดบน

เมื่อสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าอิทธิฤทธิ์ของทั้ง แบรนด์ทำให้เหล่าแฟชั่นนิสต้าไปตั้งตารอซื้อที่สยามพารากอนตั้งแต่เที่ยงคืน จนเกิดกระแสดราม่าพอสมควร เพราะสนนราคาสินค้าไม่ใช่ไก่กา แต่ราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงแสน แพงหูฉี่ยังมีสาวกไปเฝ้านั่นเอง

6. ตลาดเหล้าขาวเจ้าสัวเจริญ ถูกลูบคม โดยนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” 

วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเมืองไทย ถูกครอบครองโดยผู้ประกอบการน้อยราย(Oligopoly) หลักๆช้าง สิงห์ ไฮเนเก้น ยิ่งไปดูเหล้าขาว มีเพียง “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ที่กินรวบส่วนแบ่งกว่า 97% และมียอดขาย 109,297 ล้านบาท กำไรสุทธิ 20,420 ล้านบาท   

 แต่ปี 2560 “คู่แข่ง” ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อ เสถียร เศรษฐสิทธิ์” และผองเพื่อนแห่งคาราวบาวแดง ผ่านด่านการทำประชาพิจารณ์จนสร้างโรงงานมูลค่า 3,000 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่เหล้าขาวมีคู่แข่งรายใหญ่พอตัว

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดเหล้าขาวไม่ง่าย เพราะขุมข่ายพลังทางการค้า เอเย่นต์ ที่ขายสินค้าของเจ้าสัวมานานมีมากมาย การจะยอมให้แบรนด์ใหม่ไปแทรกแย่งตลาดย่อมยาก ดังนั้นเกมนี้ต้องจับตาดูกันยาวๆ ว่าเสถียร์ จะฝ่าด่านอรหันต์ไปได้หรือเปล่า

7. ตู้กดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อ ไปไม่รอด 

การทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ดูจะกลายเป็น “ยาขม” สำหรับเจ้าของแบรนด์สินค้าไปซะแล้ว เพราะไม่ว่าจะลุกมาทำอะไร ก็ถูกสังคมจับจ้อง และค้านสายตาบรรดาผู้ที่ต่อต้าน ส่วนในมุมผู้บริโภค ย่อมมีทั้งปิดรับเปิดค้านสลับกัน

นี่ถือเป็นความพยายามของผู้ประกอบการ ค่ายใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ที่ต้องการขยายตลาดเบียร์สดหรือ Craft beer ให้ใหญ่มากขึ้น เพื่อหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ เพราะหากยังวนเวียนเล่นแต่ตลาดลาเกอร์เบียร์ ซึ่งทุกปีอัตราการเติบโตต่ำมาก ย่อมไม่ดีต่อธุรกิจ ดังนั้นการหาน่านน้ำสีคราม(Blue Ocean)ใหม่ๆ จึงจำเป็น แต่การทดลองวางตลาดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อก็เกิดขึ้นสั้นๆ เพราะแรงเสียดทานจากสังคม ทำให้อวสานเบียร์สดเร็วมาก

8. ดราม่ามาร์เก็ตติ้ง เสียงติงจากผู้บริโภค 

การทำตลาดไม่ได้มีแต่เรื่องราวดีๆ แต่ที่ “ดราม่า” ก็มีให้เห็นเยอะ โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์ออกมาทำกิจกรรมตลาดแล้วทำลายความคาดหวังของผู้บริโภคจนพังดราม่าหนักๆในปีนี้นอกจากตู้กดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อ สินค้าความงามก็โดน เมื่อสาวๆที่รอโปรโมชั่นแรง จาก EVEANDBOY ร้านมัลติแบรนด์ดังใจกลางสยาม ใช้กลยุทธ์ลดราคาแรงมาจูงใจผู้บริโภค จนความต้องการพุ่งปรี๊ด ต่อคิวกันยาวเหยียด แต่ปรากฎว่าสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ และยังมีบล็อกเกอร์ได้อภิสิทธิ์ช้อปปิ้งก่อนโดยไม่ต้องเข้าคิว ไหนจะบรรดาแม่ค้าแม่ขายที่รับหิ้ว แห่ไปกวาดสินค้าจนหมด สุดท้ายแบรนด์โดนด่าเละ!

แต่นั่นไม่ทำให้เจ้าของแบรนด์เข็ด เพราะตราบใดที่ยอดขายยังดี การทำตลาดแบบนี้ ยังคงถูกมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะล่าสุดการลดราคาของ EVEANDBOY กระแสก็ซาลงอย่างเห็นได้ชัด

ภาพจาก : facebook.com/eveandboy

ดราม่ามาร์เก็ตติ้ง ไม่ได้มีแค่นี้ เคสอื่นๆที่เกิดขึ้นล่าสุด คือกรณีการจัดกิจกรรมระดับโลก Harry Potter Christmas in the Wizarding World ที่สยามพารากอน เพราะพลังการตลาดโปรโมทงานอลังการ แต่จัดงานจริงเล็ก สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ จัดคิวไม่ดี งานนี้ห้างเลยโดนเต็ม แต่ผู้จัดงานรอดเสียงติซะงั้น

ยังท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่กำลังทำตลาดออนไลน์บน Twitter อยู่ดีๆ “แอดมิน” คนเคยร่วมงานออกไปเล่ากลยุทธ์การตลาดใหม่ๆให้สื่อรับรู้ กลายเป็นการคลุกวงในของคนทำงานกันเอง จนต้องเบรกทำตลาดบนทวิเตอร์สักพัก ทั้งที่กำลังแจ้งเกิด สุดท้ายพอกลับมาทำตลาดอีกครั้ง เลยจืดสนิท กำลังปังแต่พังเพราะดราม่าแท้ๆ

9. เคเอฟซี-GMM25 ดีลแห่งปีจาก “เจ้าสัวน้อย ฐาปน” 

ภาพนักเทคโอเวอร์คงติดตานักบริหาร “หนุ่ม ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ทายาทคนที่ ของราชันย์น้ำเมา “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ไปเรียบร้อยแล้ว

หากพูดถึงดีลที่น่าสนใจ จาก “ฐาปน” ปีนี้ต้องยกให้การเข้าซื้อหุ้น 50% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ที่มีธุรกิจทีวี GMM25 เอไทม์มีเดียฯ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเกิดขึ้นในนามส่วนตัว ผ่านบริษัทลงทุนอย่าง “อเดลฟอส”  ซึ่งในอนาคตจะนำมาต่อยอดธุรกิจของเครือไทยเบฟอย่างแน่นอน ในฐานะที่บริษัทมีสินค้ามากมายทำ Music Marketing และ Sport Marketing ทั้งปีมากมาย

อีกดีลคือการซื้อกิจการสาขาร้านไก่ทอดเบอร์ ของโลกอย่าง KFC กว่า 1.13 หมื่นล้านบาท กลายเป็นสปริงบอร์ดสำคัญในการขยายเข้าสู่ธุรกิจอาหาร ให้ครบวงร จากที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น อาหารจีน อาหารอาเซียน อาหารไทย ตั้งแต่ฟู้ดคอร์ทไปถึงหรูหรา(Fin Dining) แต่สิ่งที่ไทยเบฟจะได้จากการซื้อสาขาเคเอฟซี คือโนวฮาวการบริหารจัดการธุรกิจระดับโลกนั่นแอง

10. ศึกวันคนโสด สุดยอดกลยุทธ์การตลาดบนโลกออนไลน์ 

สมรภูมิค้าปลีกออนไลน์ ต้องบอกว่าแข่งขันกันเสือดลาด เพราะผู้ประกอบการทำตลาดหนักแค่ไหน ก็ยังแบกขาดทุนกันมโหฬารนั่นเอง

การทำตลาดออนไลน์ที่เขย่าวงการช้อปปิ้งสุดๆ ในปีนี้ ต้องยกให้กลยุทธ์การเปลี่ยนโจทย์วันคนโสด วันป๊อบๆของชาวจีน ให้เป็นวันช้อปปิ้งแห่งปี เพราะทั้ง LAZADA 11street Shopee  ออกแคมเปญ โปรโมชั่นเพื่อดวลศึกกันสนั่นวงการ กระตุ้นยอดขายกันเป็นวินาที จนทุบสถิติ ในไทยอาจไม่เปิดเผยตัวเลขนัก แต่เมืองจีนช้อปกันสะพัดมาก อย่างอาลีบาบา โกยยอดขายกว่า 8.6 แสนล้านบาท กันภายใน 24 ชั่วโมงแค่นั้นเอ๊ง!.

]]>
1152106
#MILOCAN ดราม่าร้อน เมื่อกระแสแรงกว่าความคาดหวัง ถึงจะปังแต่ระวังแบรนด์พัง https://positioningmag.com/1151543 Sun, 24 Dec 2017 08:04:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151543 กลายเป็นดราม่า” กระหึ่มในโลกออนไลน์ กับแผนการโปรโมต #MILOCAN ผลิตภัณฑ์ใหม่ของไมโล (MILO) ในไทย ในรูปแบบกระป๋อง ว่าหาความเนียนไม่ได้ งานนี้จงใจโฆษณาชัวร์

ไมโลเลือกใช้โซเชียลมีเดียในการโปรโมตผ่านคนดังบนทวิตเตอร์ เซเลบ อินฟลูเอ็นเซอร์ สปอนเซอร์รีวิว และเซเลบจำนวนมากเพื่อหวังจะสร้างกระแสออนไลน์ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

แต่เมื่อคนไปทดลองดื่มตามกลับไม่อร่อยแบบที่คาดหวัง จากที่เห็นจากการโปรโมต จึงเกิดกระแสความไม่พอใจตีกลับมาที่การโฆษณาเกินจริง ต้องการให้ไปซื้อสินค้ามากินซะมากกว่าได้รับการบอกกล่าวความจริงอย่างจริงใจ

โดยเชื่อว่าเป็นคำพูดและแฮชแท็กที่แบรนด์กำหนดให้เหล่าคนดังทุกคนเขียนเหมือนกันหมด ส่วนของแฮชแท็กที่กำหนดไว้ 2-3 คำ ตามนี้ #MILOCAN #อะไรก็CAN #รีวิวเซเว่นกับสรรพคุณที่พูดถึงความอร่อยแบบกระป๋องกินสะดวกและคุณค่าทางโภชนาการซึ่งจับต้องไม่ได้เสียจนถูกจับได้ว่าเฟคมากกว่ารีวิวมาแล้วจริง ๆ

แม้จะไมโลแคนจะกลายเป็นกระแสที่สร้างการรับรู้อย่างได้ผล แต่ในอีกด้านหนึ่งผลเสียตกไปที่ตัวแบรนด์และโปรดักต์โดยตรง ถึงขนาดเอาไปเปรียบกับไมโลโรงเรียน หรือไมโลที่โรงเรียนมักชงแจกให้เด็กดื่มกันในงานกิจกรรมโรงเรียน และที่แจกผ่านรถไมโลที่วิ่งเข้าให้บริการถึงในโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์แห่งความทรงจำของผู้บริโภคหลายคนเกี่ยวกับไมโลที่เคยผ่านมาอย่างประทับใจ แต่การได้ลองไมโลกระป๋องกลับไม่ให้ความรู้สึกถึงประสบการณ์แห่งความประทับใจนั้นได้

อะไรทำให้ชาวเน็ตต่อมปรี๊ดแตก ไมโลแคนพลาดตรงไหน

จะว่าไปแล้ว การแอบโฆษณาหรือโฆษณาตรง ๆ ผ่านโซเชียลมีเดียทั้งสปอนเซอร์รีวิว ใช้เซเลบ อินฟลูเอ็นเซอร์ ก็เป็นสิ่งที่ชาวเน็ตรับรู้มานานและไม่ถึงกับยอมรับไม่ได้ แต่กรณีเกิดกระแสตีกลับแบบนี้มักจะมีจุดผิดพลาดที่แบรนด์อาจจะไม่ระวังและมองข้ามไป 

ประเด็นที่ทำให้ชาวเน็ตต่อมปรี๊ดแตกส่วนใหญ่ มักจะหนีไม่พ้นอารมณ์แบบว่า ผู้บริโภคไม่ได้โง่ อย่ามาดูถูกกัน ที่สำคัญคือ ไม่อินกับวิธีหรือคำพูดที่แบรนด์ใช้สื่อสารออกมา โดยเฉพาะการกำหนดคำพูดเน้นอวยแบบเว่อร์วังจนดูไม่เนียน ยิ่งโปรดักต์ที่สร้างกระแสแต่ให้ผลลัพธ์ต่ำกว่าที่คาดหวัง ยิ่งทำให้ผู้บริโภคที่ยอมเชื่อถูกกระตุ้นให้ไปลองซื้อลองชิมด้วยแล้ว ผลลัพธ์ก็แรงตามที่แบรนด์คาดหวังจริง ๆ นั่นแหละ แต่มันไปทางลบ ที่ผิดทิศทางที่คาดหวังไปไกล เพราะร้อยทั้งร้อยไม่มีแบรนด์ไหนอยากเอาดังอย่างเดียวในทางที่ผู้บริโภคไม่ตอบรับแน่ ๆ

มาลองดูแต่ละเมนต์แล้วจะได้รู้ว่าผู้บริโภคยุคนี้ล้ำแค่ไหน และน่าจะทำให้แบรนด์ตระหนักมากขึ้นว่า ในเมื่อแบรนด์เองคาดหวัง User Generated Content ในการสร้างแบรนด์ช่วยขายโปรดักต์ ซึ่งคอนเทนต์เหล่านั้นล้วนมาจากความคิดความรู้สึกของผู้บริโภคแต่ละคนที่คิดและพูดออกมาเอง แต่ทำไมเวลาที่แบรนด์ทำการตลาดเอง กลับลืมกฎข้อนี้ไปเสียได้ แถมยังไปตีเส้น ตีกรอบจนเป็นเรื่องอย่างกรณีของไมโลแคนที่เกิดขึ้นนี้

ไมโลแคนขยายกลุ่มเป้าหมาย 

สำหรับการออกแพ็กเกจใหม่ ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋อง เพื่อต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังเด็กโต เนื่องจากไมโลแบบกล่อง ที่มีขนาดเล็กเพียง 115 มิลลิลิตร และ 180 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้ส่วนผสมของน้ำนมโคเป็นหลัก มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กเล็ก

ไมโลแคนเกิดขึ้นเพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าเป้าหมาย ให้มีความต่อเนื่องในการดื่มไมโลในช่วงอายุที่มากกว่าเดิม รวมถึงขยายสู่เด็กวัยพรีทีนที่มีเครื่องดื่มเป็นตัวเลือกเพิ่มขึ้น โดยส่วนผสมของไมโลแคนจะไม่มีนมสด เหลือเพียงส่วนผสมที่เป็นนมผงและส่วนประกอบอื่น ๆ และมีรสชาติที่หวานน้อยกว่าสูตรนมโคเล็กน้อย และเพิ่มปริมาณบรรจุกระป๋องละ 230 มิลลิลิตร

ด้วยการดีไซน์ตัวกระป๋องก็บอกถึงคาแร็กเตอร์ของกลุ่มเป้าหมายได้ระดับหนึ่งโดยไมโลแคนกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้เป็นกลุ่มเด็กโตอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเล่นกีฬา แอคทีฟ และรวมถึงรักสุขภาพ ซึ่งโดยมากมักเป็นกลุ่มที่รักการเรียนด้วย.

]]>
1151543
ถอดบทเรียน 2 ดรามาร้อน ไมโลก้อน-เซ็ปเป้ กินแล้วขำ เมื่อผู้บริโภคคือผู้ทรงอิทธิพลคนใหม่ https://positioningmag.com/1123724 Thu, 27 Apr 2017 11:30:57 +0000 http://positioningmag.com/?p=1123724 ถอดบทเรียน จาก 2 ดรามาร้อน ไมโลก้อน-เซ็ปเป้ สีฟ้า กินแล้วชำ นักการตลาดชี้ คนไทยชอบลองของใหม่ ของหายาก-ไม่ยอมตกกระแส ผู้บริโภคยุคนี้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนใหม่ในโลกออนไลน์ แบรนด์ต้องปรับตัวอย่างไร

จากกรณี 2 ดรามาร้อนๆ ในโลกโซเชียล “ไมโลก้อน หรือ ไมโลคิวบ์” ที่กลายเป็นสินค้าฮอตฮิตของคนไทยต้องหาซื้อมากิน เพราะกลัวตกกระแส แม้ว่าตัวสินค้าไม่มีขายในไทย ส่งผลให้ราคาขายพรีออเดอร์บนออนไลน์ ถูกปั่นสูงขึ้น 2-3 เท่าตัว แถมปัญหายังลุกลามบานปลาย เกิดคดีต้มตุ๋นกันขึ้น

ส่วนอีกกรณีที่เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน คือ เครื่องดื่ม “เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ ขวดสีฟ้า ที่กลายเป็นกระแสดรามา เมื่อมีผู้รีวิว “กินเซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ ขวดสีฟ้าแล้วอารมณ์ดี หายง่วง กินแล้วหัวเราะ” เนื่องจากมีส่วนผสมของ “ลาเวนเดอร์ คาโมไมล์ แอล-ธีอะนีน” ช่วยให้ผ่อนคลาย หลับสบาย คลายกังวล คลายความล้า จึงมีผู้ไปทดลองกินตามแล้วก็มาแชร์ต่อ เพื่อต้องการพิสูจน์ จนเกิดเป็นกระแสลุกลามไปทั่วโซเชียลว่านี่คือ การตลาดหรืออุปทานหมู่กันแน่

ทั้ง 2 เคสนี้มีความคล้ายกัน คือ เมื่อมีการจุดติดประเด็นบนโลกโซเชียล ทำให้เกิดการทดลองตาม สอดคล้องกับพฤติกรรมคนไทยที่ไม่ยอมตกกระแส ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ  เมื่อมีการออกมาเมนต์ มาแชร์ต่อ ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ก็ยิ่งทำให้กระแสแผ่ขยายไปในวงกว้าง แต่กระแสที่เกิดขึ้นก็มีทั้งด้านลบและด้านบวก ที่แบรนด์เองก็อาจควบคุมไม่ได้

ลองมาฟังความเห็นจากนักการตลาดออนไลน์ และนักวิชาการด้านการตลาด ถึงปรากฏารณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง  2 กรณีดังกล่าว  

ผู้บริโภค influencer คนใหม่

สโรจ เลาหศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด Rabbit Digital Group ตั้งข้อสังเกตจาก 2 กรณีดังกล่าวว่า การตลาดในยุคดิจิทัลเริ่มย้อนกลับแล้ว  เพราะจากที่ตรวจสอบดู กระแสที่เกิดขึ้นกับไมโล และเซ็ปเป้ ไม่ได้มาจากตัวแบรนด์ หรือเอเจนซีที่เป็นผู้ปลุกกระแส แต่มาจาก Micro Influencer หรือผู้บริโภคทั่วไป ที่ทำให้แบรนด์เป็นกระแส  ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่แบรนด์ต้องใช้คนดัง ดารา หรือ Influencer มาช่วยปลุกกระแส ซึ่งก็อาจใช้ไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคยุคนี้บางคนไม่เชื่อถือ Influencer แล้ว เพราะมองว่า Influencer อาจเป็นแค่สื่อๆ หนึ่ง ทำหน้าที่แค่ถือสินค้า และมีแคปชันใต้ภาพ แต่ไม่ได้เห็นว่ามีการทดลองใช้จริง แต่ถ้าดูรีวิวจากตัวผู้บริโภคเอง จะได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น

สโรจ ยังมองว่า นับจากนี้แบรนด์อาจจะหันมาใช้วิธีนี้ให้ผู้บริโภคมาสร้างกระแสมากขึ้น เพราะเวลานี้ก็ได้รับโจทย์จากลูกค้ามาแล้วว่า ต้องการได้แบบนี้ ให้เป็นกระแสไวรัลลักษณะเดียวกันนี้ เพราะใช้เงินลงทุนน้อย

แต่ก็อยากแนะนำว่า อะไรที่เป็นกระแสมันจะไม่ยั่งยืน แบรนด์ต้องแน่ใจว่าสินค้าดีจริง เพราะฉะนั้นถ้าสินค้าไม่ดีจริงจะเหมือนการเรียกแขก แล้วแบรนด์ก็จะดูแย่ลง ถ้าสินค้าไม่เป็นไปตามที่ผู้บริโภคคาดหวัง ซึ่งงานไวรัลควบคุมยาก ถ้าตั้งใจทำมันจะไม่ธรรมชาติ

สิ่งสำคัญก็คือ แบรนด์ต้องอย่าพยายามทำหน้าม้า หลายคนเห็นกรณีแบบนี้ก็อยากได้บ้าง อาจจะมีหน้าม้าของตัวเอง แต่เป็นสิ่งที่ไม่จริงใจต่อผู้บริโภค ให้สร้างกลุ่มแฟนคลับที่แท้จริงของแบรนด์ดีกว่า ไม่ว่าจะมีสินค้าใหม่ก็พร้อมจะทดลอง ที่ดรามาก็พร้อมปกป้อง

คนไทยชอบลองของใหม่ ของหายาก-ไม่ยอมตกกระแส

ผศ.เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ความเห็นว่า เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นหรือมีขึ้นในสังคมที่ยังไม่เคยมีสิ่งนั้น เราอาจจะเรียกว่าของใหม่ หรือนวัตกรรม จะมีกลุ่ม Innovators เป็นกลุ่มที่ชอบทดลองของใหม่ อาการคือออกปุ๊บซื้อปั๊บ พร้อมเสี่ยง พร้อมลุย พร้อมเจอกับราคาที่อาจจะสูงในช่วงเปิดตัว

ดังนั้น บรรดาแบรนด์ต่างๆ ที่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ก็จะมีคนกลุ่มนี้เป็นแฟนคลับ ทำหน้าที่รีวิว แนะนำให้ ส่วนจะรีวิวดีหรือไม่ ก็คงต้องขึ้นกับผลิตภัณฑ์นั้น

อีกหนึ่งกลุ่มที่ตามมาติดๆ ก็คือ Early Adopters คนกลุ่มนี้ก็จะเป็นผู้นำนวัตกรรมเช่นกัน แต่ไม่เร็วเท่ากลุ่มแรก และกลุ่มนี้ยังสามารถเป็นผู้นำทางความคิดและอาจจะเล็งเห็นประโยชน์อะไรบางอย่างจากความแปลกใหม่เหล่านั้น อย่างเช่น กรณีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อาจนำสินค้าจากประเทศอื่นที่ไม่มีในประเทศไทยมาขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นกันมานานแล้ว อย่างเช่น ขนมของญี่ปุ่นที่คนไทยมักจะซื้อกลับมาเป็นของฝาก ก็นำมาขายด้วยเลย

ดังนั้น ผู้บริโภคบางคนอาจจะอยากลองของใหม่ ถ้าได้ลองแล้วฟิน บรรลุเป้าหมายก็จบ อย่างเช่นกรณีโคคาโคล่า พลัส ที่วางขายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2560 คนไทยที่ไปญี่ปุ่นก็ไปซื้อมาลองแล้วก็บอกกับเพื่อนๆ ในโซเชียลมีเดีย หรืออาจจะมีบางคนแค่อยากลองรสชาติเพราะความใหม่ ถ้าลองแล้วชอบก็อาจจะซื้อต่อเนื่อง “ความใหม่”  จึงเป็นมุกที่นักการตลาดมักจะใช้เพื่อขยายโอกาสทางการขาย บางคนอาจจะชอบของหายาก อะไรหายากก็จะดิ้นรนขวนขวายให้ได้มา จะราคาแพงแค่ไหนไม่สนใจ

ในกรณีของ ไมโลคิวบ์ นี้น่าจะเป็นกระแสอันเกิดจากการหายาก มาจากต่างประเทศและความหายากนี่เองทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้ามาปั่นราคาให้สูงกลายเป็นของเลอค่า แล้วก็ไปขุดเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาว่า อันนี้ของแท้มันต้องแพง อันนั้นราคาถูกเป็นของปลอมชัวร์ โดยลืมคิดไปว่านี่คือไมโล ไม่ใช่กระเป๋าแบรนด์หรู แล้วถ้าวันหนึ่งทางเนสท์เล่มีไอเดียจะนำผลิตภัณฑ์นี้มาขาย ความแพง หายาก เลอค่า ของปลอม ของแท้นี้ก็จะหายไป

หลายๆ ครั้งที่นักการตลาด อาจรวมถึงพ่อค้าแม่ค้ามักจะนำประเด็นเรื่อง ความใหม่ ความหายาก การได้ครอบครองก่อนใครมานำเสนอ และถ้า “จริต”  ของผู้บริโภคไปตรงกับประเด็นนั้นพอดีก็บรรลุเป้าหมายทางการขาย

อะไรที่เป็นกระแสจะไม่ยั่งยืน และถ้าสินค้าไม่ดีจริงจะเหมือนการเรียกแขก แล้วแบรนด์ก็จะดูแย่ลง ซึ่งงานไวรัลควบคุมยาก ถ้าตั้งใจทำมันจะไม่ธรรมชาติ

]]>
1123724
แชร์กระจาย! ไมโลก้อน สินค้ายอดฮิตที่ต้องซื้อออนไลน์เท่านั้น https://positioningmag.com/1122499 Mon, 17 Apr 2017 07:26:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1122499 ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมามีกระแสของการแชร์ภาพ “ไมโลก้อน” หรือไมโล เอนเนอร์จี้ คิวบ์ เป็นลักษณะของไมโลที่เป็นเครื่องดื่ม หรือขนมที่รู้จักกันดี แต่อยู่ในรูปแบบก้อน สามารถทานได้เป็นแบบขนม หรือเอาไปชงกับน้ำอุ่นก็ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้

แต่ว่าในประเทศไทยยังไม่มีขายไมโลก้อน ถ้าใครอยากลองต้องสั่งซื้อทางออนไลน์ หรือจากแม่ค้าพรีออเดอร์เท่านั้น ส่วนใหญ่สินค้าจะมาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไนจีเรีย ทำให้ไมโลก้อนกลายเป็นอีกหนึ่งสินค้ายอดนิยมช่วงนี้และเป็นสินค้าหายากเช่นกัน

ราคาของไมโลก้อนจะขึ้นอยู่กับร้านค้า มีตั้งแต่ 250 – 800 บาท ใน 1 ถุง มี 100 ก้อน บางร้านก็มีขายแยกชิ้น ชิ้นละ 7 – 10 บาทเพื่อให้คนได้ทดลองก่อน

แต่เมื่อไมโลก้อนเป็นกระแสฮิตขึ้นมาก็แอบมีดราม่าตามมา เกิดกระแสว่าร้านที่ขายถูกเป็นของปลอมบ้าง หรือนำข่าวที่ตำรวจจับแหล่งผลิตไมโลปลอมแบบผงที่มีตั้งแต่ปี 2558 ขึ้นมาเป็นกระแสได้อีก

ตอนนี้ถ้าใครอยากลองไมโลก้อนยังคงงต้องสั่งจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปก่อน แต่ต้องดูร้านค้าที่ไว้ใจได้ และราคาสมเหตุสมผล เพราะทางเนสท์เล่ประเทศไทยยังไม่มีแผนที่จะนำไมโล เอนเนอร์จี้ คิวบ์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

]]>
1122499