ไวไว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Apr 2019 02:56:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลูกค้าเปลี่ยนไป “ไวไว” ต้องพลิกกลยุทธ์ ปั้นร้านอาหาร แตกไลน์ทำธุรกิจอาหารออร์แกนิก-สินค้าเกษตร https://positioningmag.com/1223815 Fri, 05 Apr 2019 14:11:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223815 ต้องถือเป็น Strategic Move ครั้งสำคัญของ ไวไว ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะนอกจากกระแสดิจิทัลเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค พบแบรนด์ลอยัลตี้ต่ำ และความนิยมในรสชาติสั้นลง กระแสสุขภาพยังเป็นแนวโน้มสำคัญ ทำให้ ไวไว ต้องปรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจครั้งใหญ่ แตกไลน์ขยายสู่โมเดล” ธุรกิจใหม่ ไม่จำกัดเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกต่อไป

ปรีชา นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไวไว ควิกแสบ และซือดะ เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มธุรกิจอาหารมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ภายในปี 2568 ตลอดจนเทคโนโลยี่เข้ามามีบทบาทในโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารที่เป็นทางเลือกใหม่ๆ มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ลอยัลตี้ที่มีต่อสินค้าที่ออกวางตลาดแต่ละตัวลดน้อยลง บริษัทต้องนำจุดแข็งที่เป็นฐานธุรกิจเดิมมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ด้วยการแตกโมเดลทางธุรกิจใหม่ขึ้นมาอีก 3 กลุ่ม 

กลุ่มธุรกิจแรก ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร ควิกเทอเรส นำเส้นบะหมี่มาเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ทำเป็นอาหารจานหลักและอาหารทานเล่น ในราคาที่ย่อมเยา สาขาแรกได้ทดลองเปิดข้างหน้าโรงงานไวไวที่อ้อมใหญ่เมื่อ 2 ปีก่อน และมีแผนขยายสาขาที่ 2 ในเดือนพฤษภาคมนี้ ที่จังหวัดชลบุรี รวมถึงสาขาใหม่ที่จะเปิดในปีนี้อีก 3-5 สาขา ทั้งสาขาที่บริษัทลงทุนเอง และขายแฟรนไชส์

โดยตั้งเป้าในอีก 3-5 ปี ข้างหน้าจะเปิดร้าน ควิกเทอเรส” จำนวน 100 สาขาทั่วประเทศ และต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น

ธุรกิจที่ 2 แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยจะร่วมมือกับบริษัทที่มีชื่อเสียงในการผลิตผลิตผลทางการเกษตร พัฒนาแปรรูปเป็นผงปรุงรส และเครื่องเทศที่เน้นคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้ขายในประเทศและต่างประเทศได้ เป็นการต่อยอดใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรของบริษัท และส่งเสริมเกษตรกรไปในตัว 

ธุรกิจกลุ่มที่ 3 พัฒนาอาหารอนาคต รองรับแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการอาหารที่กินได้สะดวก รวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความปลอดภัย รวมถึงอาหารต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

สำหรับธุรกิจในกลุ่มนี้ บริษัทมอบหมายให้ วีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ดูแลธุรกิจในกลุ่มนี้ ซึ่งจะเน้นพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ คำนึงถึงโภชนาการทางอาหารเป็นสิ่งสำคัญ เช่น อาหารเสริมสุขภาพ และอาหารเกษตรอินทรีย์ 

สำหรับแนวทางการพัฒนาอาหารเสริมสุขภาพ บริทได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) รวมถึงสนับสนุนทุนวิจัยให้กับอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์อาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพัฒนาสินค้าให้เป็นอาหารที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และตอบสนองผู้บริโภคที่มีอาการแพ้สารอาหารบางกลุ่ม

เขา ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ กลูเตน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานที่ไม่ใส่สารกันบูด ตลอดจนบริษัทมีความสนใจมุ่งเน้นจะพัฒนาสินค้าให้ได้รับสัญลักษณ์ “Free Form” ซึ่งสัญลักษณ์นี้ คือมาตรฐานที่บ่งบอกถึงสินค้าที่ปราศจากสารปรุงแต่งต่าง 

นอกจากนี้ บริษัทได้เจรจาความร่วมมือกับเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสุขภาพ และกระบวนการผลิตโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมกับขยายความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยและนักวิจัยในเครือข่ายของเมืองนวัตกรรมอาหารอีกไม่น้อยกว่า 16 แห่ง เพื่อนำงานวิจัยที่มีศักยภาพมาต่อยอดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มทางเลือกสุขภาพ (Healthy Choice) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ และน้ำตาลต่ำ เสริมคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย และอาหารเฉพาะกลุ่ม  

บริษัทหวังใจว่าธุรกิจใหม่ทั้ง 3 กลุ่ม จะสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ด้วยแผนการตลาดดังกล่าว บริษัทคาดว่าจะผลักดันยอดขายทั้งกลุ่มอยู่ที่ 10000 ล้านบาทในอีก 5-10 ปี และเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกจาก 15% เป็น 30%”

]]>
1223815
ไวไว รสหมูสับ (โฉมใหม่) ซุปกลมกล่อม หอมน้ำมันเจียว https://positioningmag.com/1197898 Fri, 16 Nov 2018 06:29:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197898 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ไวไว” ขอแนะนำ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว รสหมูสับ ปรับโฉมใหม่” เอาใจคนรักหมูสับ กับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของรสหมูสับ ที่สุดของความอร่อยจากส่วนผสมจริงของวัตถุดิบที่สดใหม่ น้ำซุปเข้มข้น กลมกล่อม ได้รสชาติน้ำซุปหมูแท้ๆ เคล้าความหอมของกลิ่นน้ำมันเจียว พร้อมเส้นเหนียวนุ่ม… ไม่อืด ตัวจริงเสียงจริง ตามแบบฉบับของไวไว

พิสูจน์รสชาติความหอมอร่อย ของ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว รสหมูสับ โฉมใหม่ กับ ซุปกลมกล่อม หอมน้ำมันเจียว ได้แล้ววันนี้ ในราคา ซองละ 6 บาท ที่ ร้านค้าสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด โทร. 02-4311786 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเว็ปไซด์ www.waiwai.co.th หรือทาง FB: waiwaifriends

]]>
1197898
ตลาดบะหมี่กึ่งฯ หมื่นล้านหืดจับ มาม่า-ไวไว-ยำยำ ขยับลุยบะหมี่ “พรีเมียม” รับเทรนด์เกาหลีแรง https://positioningmag.com/1152669 Fri, 05 Jan 2018 01:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152669 ถ้าดูจากอัตราเติบโตของ ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในช่วงหลายปีมานี้ ถือว่าเป็นช่วง “ท้าทาย” ไม่น้อยเลย ด้วยฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น มูลค่าประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท ปี 2560 เติบโต 1-2% เท่านั้น

การจะเติบโต 2 หลัก เหมือน 10 ปีก่อน คงเป็นเรื่องยาก เพราะด้วยปัจจัยเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่มีผลต่อบะหมี่ฯ ที่แม้ราคาค่อนข้างต่ำ 5-6 บาทต่อซอง ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่กระทบต่อการเติบโตของตลาด ในกลุ่มลูกค้าฐานรากก็มี ข้าวถุงแบ่งขาย ส่วนผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ทำให้หันไปบริโภคสินค้าอื่น มากขึ้น อาหารพร้อมทาน อาหารพร้อมปรุง ล้วนมาแย่งการบริโภคบะหมี่ฯ

ปี 2558 ข้อมูลของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก หรือ World Instant Noodle Association : WINA ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ความต้องการ (ดีมานด์) บริโภคบะหมี่ในประเทศไทย ไม่ได้ขยายตัวมากนัก สอดคล้องกับประเทศอื่นในโลก เช่น จีน เบอร์ 1 ที่ดีมานด์บะหมี่ฯ สูง แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ดีมานด์ก็ลดลงตลอด รวมถึงอินโดนีเซียด้วย

สำหรับความต้องการบะหมี่ฯ ในตลาดประเทศไทยพบว่า

  • ปี 2559 อยู่ที่ 3,360 ล้านซอง
  • ปี 2558 และ 57 ทรงตัวที่ 3,070 ล้านซอง
  • ปี 2556 อยู่ที่ 3,020 ล้านซอง
  • ปี 2555 ความต้องการอยู่ที่ 2,960 ล้านซอง

ขณะที่ปริมาณการบริโภคบะหมี่ฯ เบอร์ 1 ของโลก ยังเป็น เกาหลี เฉลี่ย 76.1 ซองต่อคนต่อปี ตามด้วยเวียดนาม 52.6 ซองต่อคนต่อปี และอินโดนีเซีย 50.5 ซองต่อคนต่อปี ส่วนไทยอยู่อันดับ 5 บริโภคเฉลี่ย 49 ซองต่อคนต่อปี

ดีมานด์ที่โตน้อย อัตรการบริโภคบะหมี่ฯ ที่ไม่สูง นับเป็นความท้าทายและทำให้ผู้ประกอบการในไทยต้องหาทางปรับตัวทำตลาด สร้างการเติบโตให้ธุรกิจให้ได้

เกมการแข่งขันในตลาดบะหมี่ หลักๆ หนีไม่พ้น

1. การออกสินค้าใหม่

ฉีกรสชาติเดิมจากต้มยำกุ้ง หมูสับ เช่น ผู้บริโภคชาวไทยเห่อชีส ก็จะถูกนำมาเป็นขาย ซึ่ง “มาม่า” เบอร์ 1 บะหมี่ฯทำมาแล้ว รวมถึงการหันไปทำสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ยกระดับให้พรีเมี่ยมขึ้นไปอีกนิด เพราะตลาดนี้ยังเติบโตด้วยฐานตลาดยังเล็กสัดส่วนน้อยเพียง 10%หรือมูลค่า 1,000 ล้านบาท โอกาสจึงมีอีกมาก

การมุ่งทำตลาดแบบคัพของทั้ง 3 แบรนด์หลัก มาม่า ไวไว ยำยำ ยังเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น จึงหันมาบริโภคแบบคัพเพิ่มและทำให้มูลค่าตลาดใกล้ 4,000 ล้านบาทแล้ว

2. การใช้พรีเซ็นเตอร์ในการกระตุ้นยอดขาย และสร้างแบรนด์

มาม่าเคยทุ่มงบก้อนโตใช้อั้ม พัชราภา เป็นพรีเซ็นเตอร์ จนขายดิบขายดี ก็ตามมาด้วยใหม่ ดาวิกา, ส่วนคู่แข่ง ยำยำจัมโบ้ ใช้ ณเดช-ญาญ่า

3. ช่องทางจำหน่าย

นอกจากจะขายผ่านร้านค้าทั่วไป (Traditional trade:TT) ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (Moderntrade:MT) แล้ว ร้านอาหารป็นอีกช่องทางที่เข้าจับไปจองกัน โดยเฉพาะร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งจะมีแบบแพ็คขาย อย่างไวไว เส้นขาว เจาะร้านค้าอย่างดี

4. โปรโมชั่น ขาดไม่ได้

แม้บะหมี่ฯ จะราคาถูก แต่โปรก็เล่นกันแรง มีทั้งแจกทอง แจกรถ และแจกจักรยาน เรียกว่าช่วงไหนที่พบว่า “ความต้องการของผู้บริโภค” มองหารางวัลอะไร ของสิ่งนั้นก็จะถูกประเคนมาล่อใจทันที

มาม่า – ไวไว ลุยตลาดบะหมี่พรีเมียม

ในปี 2561 ผู้เล่นสำคัญอย่าง “มาม่า” วางกลยุทธ์การทำตลาดหลักๆ ได้แก่ ออกสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานตลาดให้โต โดยมุ่งเน้นตลาด พรีเมียม และ รักสุขภาพ และการลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายตลาดนอกบ้านควบคู่ทำตลาดในประทศ

ปีนี้จะมีทั้งสินค้าใหม่ แบรนด์ใหม่ และรสชาติใหม่ออกสู่ตลาดรวม 3 รายการ สินค้าใหม่ที่จะออกยังโฟกัสไปที่พรีเมียม เพราะมีแนวโน้มการเติบโตดี โดยยอดขายมาม่าพรีเมียมอย่าง แบรนด์ โอเรียนทอลคิ ทเช่น เติบโตถึง 26% และจะทำสินค้าค้าสำหรับคนรักสุขภาพมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด” พิพัฒ พะเนียงเวทย์  รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขยายการลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่

1. บังกลาเทศ เพื่อเป็นฐานผลิตส่งออกตะวันออกกลาง และอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ แม้ว่าการเข้าไปจำหน่ายยังมีอุปสรรคด้านกฎหมายอยู่พอสมควร

2. กัมพูชา ซื้อที่ดินเตรียมไว้ขยายโรงงานและกำลังผลิตในอนาคตไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนการทำตลาดมีทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากไทยไปจำหน่าย เพราะยอมรับว่าพฤตกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชานิยมซื้อสินค้าไทยที่มีภาษาไทยมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ โดยตลาดนี้มียอดขายแบบซอง 80,000 หีบต่อเดือน และแบบถ้วย 140,000 หีบต่อเดือน มาม่ามีส่วนแบ่งตลาด 80% และยอดขายประมาณ 300 ล้านบาท

3. เมียนมา ปีนี้จะลงทุน 100 – 200 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่มัณฑะเลย์ พื้นที่ 10 กว่าไร่ เพิ่มกำลังผลิตสินค้าอีกเท่าตัว จากโรงงานเดิมที่ย่างกุ้ง กำลังผลิต 5 ล้านก้อนต่อเดือนเต็มแล้ว เนื่อจากตลาดเติบโตดีมากและทำยอดขายกว่า 650 ล้านบาท มาม่ามีส่วนตลาดมากกว่า 70%

4. ฮังการี ที่บริษัทไปซื้อโรงงาน 4 ปีก่อนเพื่อเป็นฐานผลิตสู่ตลาดยุโรป พร้อมปั้นแบรนด์ “มาม่า”กับ “ ไทยเชฟ” ชิงขุมทรัพย์ตลาดบะหมี่ฯ ที่มีสูงมาก ปัจจุบันยอดขายจากฮังการีอยู่ที่ 250 ล้านบาท

ด้าน “ยศสรัล แต้มคงคา” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ไวไว และ ควิก มองแนวโน้มตลาดรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี 61 จะคึกคึกคักกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งการออกสินค้าใหม่ การลดแลกแจกแถมที่ต้องมีปกติ การเปิดช่องทางการขายใหม่ๆ 

แผนของไวไว จะมุ่งเน้น 2 กลยุทธ์  คือ 1. กระตุ้นสินค้าเดิมให้เติบโต และพัฒนาสินค้าใหม่ 2. ขยายตลาดต่างประเทศ

ในด้านของ “สินค้า” รสชาติทั้งแบบซอง และคัพ ออกสินค้ามีมูลค่าเพิ่มที่ราคาขาย 7-10 บาท ขยายฐานลูกค้าระดับบนมากขึ้น จากปีก่อน ที่พอร์ตสินค้าพรีเมียมมี 2 รายการ คือไวไวรสหมูน้ำตก และกระดูกหมูต้มยำ เป็นแบบชาม ราคา 25 บาท และจำหน่ายแบบเอ็กซ์คลูสีพที่เซเว่นอีเลฟเว่นเท่านั้น  แต่ปีนี้จะขยายสู่โมเดิร์นเทรดอื่นด้วย

เมื่อประเมินจากตลาด พรีเมียม ที่ราคามากกว่า 10 บาทขึ้นไปนั้นเติบโตดีมาก  จากการเข้ามากระตุ้นตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศจากเกาหลี ช่วง 2 ปีมานี้พบว่ามีหลายแบรนด์เข้ามาทำตลาด และได้รับความนิยม ส่งผลให้กลุ่มพรีเมียมมีมูลค่ารวมประมาณ 1,000 กว่าล้านบาทแล้ว หรือสัดส่วน 10% จากตลาดรวม

ไวไว จึงต้องขยับมาออกสินค้าในกลุ่มพรีเมียมมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามเทรนด์ของตลาด แต่ก็ไม่ทิ้งสินค้าเดิม เพราะทำยอดขายหลักกว่า 90%  ส่วนพรีเมียมมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 5%

ผลประกอบการของไวไว ปี 2560 มีอัตราเติบโต 2-3% มากกว่าตลาดรวมที่เพียง 1% เท่านั้น และมีแชร์เป็นอันดับสองในตลาด ระหว่าง 22-23% ซึ่งผู้บริหารไวไว ยอมรับว่าการจะเพิ่มส่วนแบ่งเพียงแค่ 1% ในตลาดนี้นั้นยากมาก

ยำยำ บะหมี่ญี่ปุ่นแต่เน้นรสชาติไทยๆ

ด้าน “ยำยำ” ภายใต้บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ จำกัด ซึ่งมีบะหมี่ฯ 3 กลุ่มหลักคือ ยำยำจัมโบ้ ยำยำ และยำยำช้างน้อย จับตลาดผู้ใหญ่จนถึงเด็ก  สินค้าใหม่ที่ออกมา อิงความเป็น “ท้องถิ่น” หรือ Local มากขึ้น เช่น รสต้มแซ่บอีสาน รสหมูย่างกระเทียม เพื่อแข่งกับทุกเจ้าที่หา “รสชาติซิกเนเจอร์” ใหม่ๆออกมาสู้

แม้ยำยำจะไม่ออกมาแถลงข่าว แต่การทำตลาดยิงโฆษณ TVC ก็ไม่เคยด้อยกว่าเบอร์ 1 และ 2 อีกทั้งใช้ซุป’ตาร์ แถวหน้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วย ส่วนช่องทางจำหน่ายแน่นอนว่า 2 รายแรกไปไหน ก็เห็นยำยำที่นั่นเช่นกัน.

ที่มา : http://www.manager.co.th/ibizchannel/

]]>
1152669
แบ็กทูเบสิก! “ไวไว” ปัดฝุ่นทำตลาดกลุ่มเส้นหมี่ ทางนี้คู่แข่งน้อย https://positioningmag.com/1137733 Mon, 28 Aug 2017 16:26:10 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137733 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังไม่ฟื้นเท่าที่ควรจากหลายปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจที่ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคน้อยลง ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดราว 15,000 ล้านบาท เติบโต 2-3% เท่านั้น จึงได้เห็นการแข่งขันในตลาดดุเดือด ผู้เล่นในตลาดต่างงัดกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคทั้งโปรโมชั่นและพรีเซ็นเตอร์

ไวไวในฐานะเบอร์รองในตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด 25% (รวมทุกแบรนด์ในเครือไวไว, ควิก และซือดะ) ได้ปรับกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดเช่นกัน มีการออกรสชาติใหม่ๆ จัดทัพพรีเซ็นเตอร์ แต่ก็ไม่ได้นำพาให้ไวไวเติบโตเท่าที่ควร ในปี 2559 มีการตั้งเป้ารายได้เติบโต 5% แต่สามารถทำได้แค่เติบโต 3%

ทำให้ในปีนี้ไวไวต้องกลับไปทำการบ้านตั้งโจทย์ใหม่ โดยเลือกสินค้าที่เป็นจุดแข็งอย่างเส้นหมี่เป็นตัวตั้ง เพราะไวไวมีสินค้าในพอร์ตคือเส้นหมี่อบแห้งที่ใช้ประกอบอาหารทั่วไป ทำตลาดมากว่า 40 ปี และเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบซอง 2 รสชาติ รสหมูสับ และรสปรุงรส ทำตลาดมา 10 ปีแต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีอะไรใหม่ให้กับกลุ่มเส้นหมี่เลยจึงเลือกที่จะปัดฝุ่นใหม่และแตกไลน์แพ็กเกจจิ้งใหม่ในรูปแบบถ้วยเป็นครั้งแรกเพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวก

ยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด กล่าวว่าการแข่งขันในตลาดยังคงดุเดือดเน้นเรื่องโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม และตลาดจะโตก็มาจากปัจจัยเรื่องรสชาติใหม่ๆ แต่การจะทำรสชาติหนึ่งให้ติดตลาดต้องใช้เวลานานและงบลงทุนสูง กลยุทธ์ของไวไวจึงเน้นสินค้าเดิมที่แข็งแรง แต่ขยายตลาดให้กว้าง ขยายแพ็กเกจจิ้งให้มากขึ้น กลับมาลุยตลาดเส้นหมี่เพราะคู่แข่งน้อยกว่า จะไปออกรสชาติแข่งกับคู่แข่ง

ถ้าดูภาพรวมตลาดเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังเป็นตลาดเล็กราว 10% หรือมีมูลค่า 1,500-2,000 ล้านบาท จากตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ว่ามีแนวโน้มการเติบโต เพราะคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงหันมาทานเส้นหมี่มากขึ้น เพราะมองว่าแคลอรีน้อยกว่าเส้นบะหมี่

นัยสำคัญของไวไวที่เน้นทำตลาดเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพราะว่าเป็นรสชาติที่ติด 5 อันดับแรกที่ขายดีของบริษัท ได้แก่ รสปรุงสำเร็จ, หมูสับต้มยำ, หอยลายผัดฉ่า, ต้มโคล้ง และเส้นหมี่ อีกปัจจัยหนึ่งก็เพราะว่าตลาดเส้นหมี่มีการแข่งขันน้อยกว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

ในปีนี้ไวไวได้ใช้งบการตลาดรวม 300 ล้านบาท เท่าเดิมกับปีก่อน ส่วนสินค้าใหม่นี้ใช้งบ 5 ล้านบาทในการโปรโมต เน้นช่องทางออนไลน์เท่านั้น เพราะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่

ในปี 2559 ภาพรวมบริษัทมีรายได้ 3,750 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้เป็น ไวไว 55% ควิก 20% เส้นหมี่อบแห้ง 15% และซือดะ/อื่นๆ 10% ในปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 5%

บะหมี่ถ้วยโตกว่า กำไรดีกว่า

แม้ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะไม่เติบโตเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะแพ็กเกจจิ้งแบบซอง แต่รูปแบบถ้วยมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย ซื้อบะหมี่ถ้วยจากช่องทางร้านสะดวกซื้อ แต่ในตลาดแบบซองยังมีสัดส่วนมากอยู่ที่ 75% และแบบถ้วย 25%

แต่ภาพรวมของไวไวสัดส่วนของแบบถ้วยยังอยู่แค่ 15% เท่านั้น การแตกไลน์สินค้าไปยังแบบถ้วยทำให้เพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นกว่าเดิมและยังเพิ่มรายได้เพราะสามารถขายราคาได้มากกว่า และกำไรดีกว่าแบบซอง

การขยายไปแพ็กเกจจิ้งแบบถ้วย เพราะมองเห็นเทรนด์นี้มาแรง ทำให้ช่วยเพิ่มช่องทางการขายได้มากขึ้นในร้านสะดวกซื้อ เพราะแต่เดิมในรูปแบบซองแม้จะมีหลายรสชาติ แต่ทางร้านก็จะเลือกไปขายแค่ไม่กี่รสชาติเท่านั้น เป็นรสชาติที่ขายดี แต่แบบถ้วยเหมาะกับช่องทางนี้ ทำให้มีโอกาสการขายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

เทรนด์บะหมี่เกาหลีมาแรง

อีกหนึ่งเทรนด์ในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มาแรง ทำให้หลายๆ แบรนด์ต้องลงมาจับตลาดนี้ก็คือเทรนด์บะหมี่เกาหลี เพราะจากกระแสโซเชียลมีเดีย และมีแบรนด์บะหมี่เกาหลีมาจำหน่ายในร้านเฉพาะทางมากขึ้น

ไวไวจึงมีการเกาะกระแสนี้ได้ด้วยการออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแนวเกาหลี ใช้เส้นแบนมีรสชาติหมูย่างเกาหลี และกระดูกหมูต้มยำ ได้ออกมา 3 ปีแล้ว แต่ได้มีหยุดจำหน่ายไป 3 เดือนเพื่อปรับปรุงสูตร เพิ่งกลับมาวางจำหน่ายเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งจำหน่ายแค่ที่เซเว่นฯ เท่านั้น ทำแพ็กเกจจิ้งเป็นชามเหมือนกับบะหมี่เกาหลีทั่วไป จำหน่าย 25 บาท

ได้มองเห็นเทรนด์บะหมี่เกาหลีมาสักพักแล้ว บะหมี่เกาหลีได้กินแชร์ในตลาดไปพอสมควร จึงได้ปรับตัวออกสินค้าเพื่อสู้ในตลาด มิเช่นนั้นพื้นที่บนเชลฟ์วางสินค้าก็จะหายไป จากเดิมที่ชั้นบนสุดเป็นของเบอร์ 1 กลายเป็นบะหมี่เกาหลีอยู่บนเพราะขายดี ทำให้ไวไวยิ่งลงไปอยู่ล่างๆ จึงต้องเกาะกระแสไปกับพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยยศสรัล พูดปิดท้าย

]]>
1137733
“ไวไว” ควัก 20 ล้าน เติมแซ่บสู้ตลาดซบ ปรับโฉม “ไวไวต้มยำกุ้งน้ำข้น สูตรพริกเผา” https://positioningmag.com/1133726 Thu, 20 Jul 2017 18:50:42 +0000 http://positioningmag.com/?p=1133726 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ดูเหมือนว่าจะเจอศึกรอบด้าน ทั้งพิษเศรษฐกิจทำให้กำลังซื้อน้อยลง พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคมีทางเลือกจากอาหารพร้อมทาน ทำให้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงไม่มีการเติบโตเท่าไหร่นัก

กลายเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ผู้เล่นในตลาดต้องปรับกลยุทธ์ทั้งเสริมด้วยพรีเซ็นเตอร์ อัดโปรโมชั่น รวมทั้งการปรับแพ็กเกจจิ้งที่เน้นสะดวก ทันสมัย   

แบรนด์ “ไวไว” ได้ปรับโฉม รสต้มยำกุ้งน้ำข้น สูตรพริกเผา ใหม่ ใช้งบลงทุนร่วม 20 ล้านบาท เพื่อให้ภาพลักษณ์ดูทันสมัยมากขึ้น เพื่อขอแชร์ส่วนแบ่งการตลาดในรสชาติต้มยำกุ้งน้ำข้น

ยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ตลาดรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอาจไม่โตมากนัก แต่ไวไวสามารถโตกว่าตลาดได้ แม้อาจพบปัญหาเนื่องจากแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและตลาดอาหารพร้อมทานนำเข้ามีเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเยอะมากขึ้น ในปีนี้ได้มีการปรับกลยุทธ์เน้นไปที่รสชาติให้เข้มข้น พร้อมกับนำเสนอสินค้า ที่ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทั้งในกลุ่มคนทำงานและวัยรุ่น จึงได้มีการปรับโฉมใหม่ของไวไว รสต้มยำกุ้งน้ำข้น สูตรพริกเผาให้ทันสมัยมากขึ้น”

โดยแผนการตลาดในปีนี้ ได้ใช้งบการตลาดรวมมากกว่า 200 ล้านบาท เพื่อทำตลาดแบบ 360 องศา ทั้ง Below & Above Online เน้นที่กลุ่มร้านค้า ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 20 – 35 ปี พร้อมจัดทำกิจกรรมที่เข้าถึงผู้บริโภค เช่น จัดชงชิมสินค้าฟรี, โปรโมชั่นการแจกของแถม, สนับสนุนงานคอนเสิร์ตและออนทัวร์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการรับรู้ในแบรนด์

โดยมีการตั้งเป้าในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของรสชาติ ต้มยำกุ้งน้ำข้น 10% ปีนี้ และตั้งเป้าสิ้นปี เติบโตต่อเนื่อง 5%

]]>
1133726
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโตอืด “ไวไว” ส่ง ควิก 15 บาท ชิงตลาดพรีเมียม https://positioningmag.com/1110556 Tue, 13 Dec 2016 06:51:23 +0000 http://positioningmag.com/?p=1110556 เมื่อตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดซองอยู่ในภาวะ “อิ่มตัว” ทำให้ผู้ผลิตอย่าง “ไวไว” จึงต้องแก้โจทย์ ด้วยการส่ง “ควิก” ลงตลาด “พรีเมียม”

ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะต้องแข่งกันที่นวัตกรรมและรสชาติ และการออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง เพราะตลาดเดิมที่เป็นซองราคา 6 บาทนั้นเริ่มอิ่มตัวแล้ว รวมทั้งยังต้องมีการแข่งขันกันรุนแรงทั้งด้านราคาและโปรโมชั่นด้วยยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา “ไวไว” หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ที่จะออกใหม่เพื่อเป็นการขยายตลาดและสร้างการเติบโต

นายยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด
นายยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด

ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี 2559 มูลค่าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท พบว่าในช่วงสามไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่เติบโตมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบซอง ยังคงสัดส่วนตามปริมาณสูงสุด 80% แต่เติบโตช้า ส่วนอีก 20% เป็นแบบถ้วย หรือคัพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง

“ควิก” ชิงส่วนแบ่งตลาด 23%

นอกจากนี้ เมื่อดูผลประกอบการในปี 2559 บริษัทฯ มีอัตราการเติบโต 3% แต่หากแยกเป็นแบรนด์ “ควิก” แล้วเติบโตมากถึง 8% ส่งผลให้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็น 23% เพิ่มจากเดิม 1% เป็นการเติบโตในทุกช่องทางการจำหน่าย ทั้งโมเดิร์นเทรดและเทรดิชันนัลเทรด

โดยสาเหตุที่แบรนด์ “ควิก” มีการเติบโตมากเป็นเพราะการจัดกิจกรรมตลาดอย่างต่อเนื่องและได้รับผลตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค โดยเฉพาะแคมเปญ “ควิกแสบ ปั่นสุด TEEN” และการแจกจักรยานฟิกเกียร์ควิกแสบรุ่นลิมิเต็ดเอดิชัน จำนวน 500 คัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน และจักรยานก็เป็นอะไรที่อยู่ในกระแสความสนใจของตลาดด้วย

ส่ง “ควิก 15 บาท” จับตลาดพรีเมียม

ดังนั้น แผนเบื้องต้นไตรมาสแรกปี 2560 ไวไวจะวางตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา “ควิก” แบบถ้วย ราคา 15 บาท เพื่อจับตลาดพรีเมียมขึ้นมาอีก จากเดิมที่มี “ควิก” ถ้วยราคา 13 บาทอยู่แล้ว จากปัจจุบันที่บริษัทฯ มีแบรนด์ “ไวไว” และ “ควิก” แบบซอง จำนวนรวม 21 เอสเคยู และแบบถ้วย หรือคัพ 2 เอสเคยูเท่านั้น ขณะที่ในปีนี้ไม่ได้มีการวางตลาดรสชาติใหม่เลย

ยศสรัล ประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2560 น่าจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นกว่าในปี 2559 หลังจากที่อยู่ในภาวะชะลอตัวมาแล้วหลายปี โดยคาดว่าทุกแบรนด์ในตลาดจะกลับมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายกันมากขึ้นและเต็มที่ หลังจากที่ปลายปีนี้บริษัทฯ ก็ต้องยกเลิกกิจกรรม หรืออีเวนต์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นบันเทิงอย่างคอนเสิร์ตออกไป ส่งผลให้งบประมาณด้านการตลาดที่ตั้งไว้ทั้งปีนี้ที่ 300 ล้านบาทจึงใช้ไม่หมด แต่ไม่ได้โยกไปใช้ปีหน้า แต่กำลังอยู่ระหว่างการวางแผนธุรกิจและจัดสรรงบประมาณ

เลื่อนเปิดร้าน ควิก เทอเรซ สาขาแรกปี 60

ในปี 2560 บริษัทฯ เตรียมเปิดตัวธุรกิจใหม่คือร้านอาหารแบรนด์ “ควิก เทอเรซ” อย่างเป็นทางการ จากเดิมที่จะเปิดตัวปลายปีนี้สาขาแรก แต่ก็ต้องเลื่อนออกไปเพราะอยู่ในช่วงเวลาของการแสดงความอาลัย

ที่มา : http://astv.mobi/A9UVCDa

]]>
1110556
เกมรับมือตลาด “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ซบ มาม่า ไวไว แตกไลน์สู่ร้านอาหาร https://positioningmag.com/1097262 Thu, 14 Jul 2016 04:25:30 +0000 http://positioningmag.com/?p=1097262 มาม่า-ไวไว แบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ดิ้นหนีตาย จากสภาวะตลาดไม่โตเพราะพิษเศรษฐกิจ เปิดร้านอาหาร ร้านราเมงต่อยอดธุรกิจ มาม่าร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นลุยร้านราเมงโคราคุเอ็น ทางด้านไวไวเปิดร้านควิกเทอเรสประเดิมสาขาแรกหน้าโรงงานย่านเพชรเกษม

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก ส่งผลทำให้หลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน หรือแม้แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เคยถูกเรียกว่าเป็น “ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ” เพราะจากเดิมถ้าเศรษฐกิจตกคนยิ่งกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ปรากฏว่าช่วง 2 ปีมานี้ เศรษฐกิจไม่ดียอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลับยิ่งลดลง

ส่งผลให้ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปในปี 2558 มีการเติบโตน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 44 ปี เพียงแค่ 0.4% ด้วยมูลค่าตลาด 14,500 ล้านบาท

แต่ถึงแม้ว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 1.6% ก็ตาม แต่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันอันดุเดือด เมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ๆ จากอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ

ถึงแม้ว่าจะมีการแก้เกมด้วยการออกสินค้าในระดับพรีเมียม แบบถ้วย เพื่อขยับไปจับลูกค้าในระดับกลางถึงบน แต่ตลาดนี้ยังมีสัดส่วนเล็กมากเมื่อเทียบกับบะหมี่ซองซึ่งเป็นเป็นตลาดใหญ่ ครองตลาดผู้บริโภคฐานราก ซึ่งได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ หันไปซื้ออาหารประเภทอื่นอย่างข้าวถุงที่มีราคาถูกกว่าบะหมี่

ทำให้มาม่าเองต้องออกแคมเปญ ชิงโชค รถยนต์ ทอง ต่อเนื่องมาตลอด 2 ปี เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ กระตุกยอดขายให้เพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ทั้งมาม่าและไวไวก็เริ่มมองหาการ “ต่อยอด” แตกไลน์ธุรกิจออกไป ก้าวไปสู่ในเกมธุรกิจใหม่ๆ แต่ยังอยู่บนรากฐานของธุรกิจเดิม

1_mama

โดยบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ในเครือของสหพัฒน์ ได้ลุยทำร้านราเมงด้วยการร่วมทุนกับ บริษัท โคราคุเอ็น โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในการบริหารร้าน “โคราคุเอ็น ราเมง” จากประเทศญี่ปุ่น

ทั้งคู่มองว่า ถึงแม้การแข่งขันจะสูง แต่โอกาสยังมี เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองแห่งอาหารการกิน และตลาดร้านอาหารก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านของเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์ลงมาจับตลาดตรงนี้

จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้โคราคุเอ็น ราเมงได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2555 เปิดบริการไปแล้ว 6 สาขา แต่ดูเหมือนการแข่งขันจะไม่ง่ายอย่างที่คิด คู่แข่งมากหน้าหลายตา มีทั้งรายใหญ่ในไทย และร้านอิมพอร์ตจากญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันมีร้านราเมงมากกว่า 1,000 ร้านในประเทศไทย

นอกจากนี้ การขาดประสบการณ์ในการทำตลาด และความไม่ชำนาญด้านทำเล ทำให้การขยายสาขาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ทางโคราคุเอ็นจึงตัดสินใจยุติการบริหารด้วยตนเอง แล้วใช้โมเดลการมองหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจในไทย

จึงเป็นที่มาของการมาร่วมมือกับ “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” ที่มีความสนใจอยากเปิดร้านราเมงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะต้องการต่อยอดธุรกิจด้านเส้นในแบบที่ตนเองถนัด และได้พูดคุยเจรจากัน 3 เดือนจึงทำการร่วมทุนกึ่งเทกโอเวอร์ เปิดเป็น “บริษัท เพรซิเดนท์ โคราคุเอ็น จำกัด” ด้วยเงินลงทุน 25 ล้านบาท มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็น บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 70% บริษัท โคราคุเอ็น โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด 14% และบุคคล 16%

2_mama

ในความร่วมทุนกึ่งเทกโอเวอร์ที่ว่านั้นทำให้สิทธิ์การบริหารร้านโคราคุเอ็นเป็นของไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ โดยที่ทางโคราคุเอ็นไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ กำหนด ทั้งนี้ทางไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ยังได้ซื้อในส่วนของโรงงานผลิตเส้นราเมงมาด้วย แต่ไม่เปิดเผยมูลค่าการลงทุน ซึ่งจากเดิมโรงงานได้ตั้งอยู่ที่ อ.มหาชัย แต่จะทำการย้ายมารวมกับโรงงานของไทยเพรสซิเดนท์ฟูดส์ ที่อำเภอศรีราชา

Tsutae Niida ประธานบริษัท Kourakuen Holding Corporation กล่าวว่า ตอนแรกที่เข้ามาทำตลาดตั้งเป้าขยาย 100 สาขาในไทย แต่เราไม่ชำนาญด้านทำเล และหลายๆ อย่าง จึงต้องมองหาพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อสร้างการเติบโต ตอนแรกคุยกับทางไทยเพรซิเดนท์ในลักษณะของการขายแฟรนไชส์ แต่เห็นว่ามีศักยภาพจึงทำการร่วมทุนกัน

5_mama

หลังจากที่มีการร่วมทุนเกิดขึ้นกันนั้นร้านโคราคุเอ็นภายใต้ชายคาใหม่ จึงเริ่มต้นจาก 2 สาขาที่ทำกำไรดีที่สุด คือ สาขาเกตเวย์เอกมัย และเจพาร์ค ศรีราชา ส่วนอีก 4 สาขาได้ทำการปิดบริการไปเพราะไม่สร้างกำไร และเร่งปั๊ม 30 สาขาภายใน 5 ปี โดยเริ่มต้นจากพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อน แล้วจึงขยายไปยังต่างจังหวัด

เพชร พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า เราถนัดในเรื่องเส้น จึงมองหาแต่ร้านร้านอาหารประเภทราเมงเพื่อมาต่อยอดธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าตลาดนี้การแข่งขันสูงมาก แต่จุดแข็งที่โคราคุเอ็นจะใช้เพื่อสู้ในตลาดราเมงหลักๆ เป็นในเรื่องของเมนูที่มีความหลากหลายทั้งราเมง เมนูข้าว และเกี๊ยวซ่า เพราะในปัจจุบันมีร้านราเมงที่แยกเซ็กเมนต์ชัดเจนเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงในเรื่องราคาในระดับกลาง ในขณะที่ร้านราเมงอิมพอร์ตจะมีราคาแพง 100-300 บาท

ทางไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 1 ปีนี้ 40 ล้านบาท โดยที่ปีนี้ยังไม่มีการขยายสาขาเพิ่มเติม

“ไวไว” แตกไลน์ “ควิกเทอเรส” สู่ธุรกิจร้านอาหาร

ทางด้านไวไวและควิกเป็นอีกแบรนด์ที่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการขยับตัวค่อนข้างเยอะ สำหรับแบรนด์ควิกเองที่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการสร้างแบรนด์เพื่อให้เกิดการรับรู้แก่ผู้บริโภค ในกลุ่มวัยรุ่น ในปีที่แล้วมีการใช้พรีเซ็นเตอร์กลุ่มพร้อมกันถึง 7 คน และเป็นการเน้นการทำตลาดของบะหมี่แบบถ้วย แต่ไม่มีการออกรสชาติอะไรใหม่ๆ ออกมา

3_mama

สิ่งใหม่ๆ ที่ไวไวต้องการเพิ่มไม่ใช่พอร์ตสินค้า แต่เป็นธุรกิจใหม่ ล่าสุดได้มีการแตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารเช่นกัน แต่เป็นการลงทุนสร้างแบรนด์ใหม่เองใช้ชื่อร้านว่า “ควิกเทอเรส” ประเดิมลองตลาดที่หน้าโรงงานของตนเองย่านเพชรเกษมเป็นสาขาแรก ที่ได้เปิดให้บริการเมื่อช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา

ครั้งนี้เป็นการแตกไลน์ธุรกิจครั้งใหญ่อีกครั้งในรอบ 10 ปี หลังจากที่ไวไวเคยแตกไลน์ธุรกิจเครื่องปรุงรสแบรนด์ “รสเด็ด” มาแล้ว ความสำคัญของการที่ไวไวลงมาเล่นตลาดนี้ก็เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถขายให้ได้มากกว่าบะหมี่ซองละ 6 บาทเท่านั้น เพื่อตอบรับกับตลาดที่ไม่มีการเติบโต

4_mama

ยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด กล่าวว่า ในช่วงปีนี้ยังไม่มีการลงทุนอะไรเพิ่มเท่าไหร่ แต่อยากแตกไลน์ธุรกิจมากกว่าเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจเดิมที่เรามีจุดแข็งที่วัตถุดิบเรื่องเส้น เลยทำเป็นร้านอาหารเพราะสามารถขายได้แพงขึ้นมากกว่าบะหมี่ซองละ 6 บาท ในอนาคตจะมีการขยายสาขาเป็นเชนร้านอาหารเลย

ควิกเทอเรสเป็นร้านอาหารประเภทอาหารจานเดียวที่ทางไวไวได้ต่อยอดจากธุรกิจเส้นของตนเอง เอาวัตถุดิบเส้นที่มีอยู่มาแปลงร่างเป็นเมนูอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า จากที่ขายบะหมี่ได้ซองละ 6 บาท เมนูมีทั้งประเภทยำ ซูชิ สปาเกตตี ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 35-55 บาท

แผนในการขยายสาขาของควิกเทอเรส ยศสรัลบอกว่า คงไม่ไปสู้กับร้านอาหารในห้าง อาจจะมองเป็นทำเลมหาวิทยาลัย สำนักงาน และแหล่งท่องเที่ยว มองที่ทำเลมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะสามารถควบคุมได้ง่าย อยู่ใกล้กับโรงงาน ภายในสิ้นปีนี้จะขยายเพิ่ม 1 สาขา และตั้งเป้าขยาย 50 สาขาภายใน 5 ปี   

ส่วนแผนในปีนี้สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยศสรัลมองว่า จะเพิ่มในตลาดกลุ่มพรีเมียมในลักษณะของการใส่ชิ้นเนื้อลงไป หรือซองใหญ่ขึ้น ทำให้ขายได้ในราคาสูงขึ้น จาก 6 บาทเป็น 8 บาท หรือจาก 13 บาท เป็น 15 บาท อาจจะได้เห็นในช่วงปลายปีนี้

นับเป็นอีกหนึ่งในความเคลื่อนไหวของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต้องต่อยอดธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ และบริบทการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

info_mama

]]>
1097262
จับบะหมี่แปลงร่าง! “ไวไว” แตกไลน์ร้านอาหาร “ควิกเทอเรส” https://positioningmag.com/1096426 Tue, 05 Jul 2016 00:45:48 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096426 ด้วยสภาวะของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเรียกว่าเติบโตน้อยมากไม่ถึง 1% ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างปรับกลยุทธ์กันยกใหญ่ทั้งใช้พรีเซ็นเตอร์โปรโมชั่นชิงโชคลดราคาและออกสินค้าระดับพรีเมี่ยมรวมถึงการแตกไลน์ธุรกิจเพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมอย่างร้านอาหารก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ทั้งไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์เจ้าของแบรนด์มาม่าก็ได้ร่วมทุนในร้านราเมงโคราคุเอ็นจากประเทศญี่ปุ่น

01_quick

ทางด้านของไวไวเองก็มีการแตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารเช่นกัน แต่เป็นการลงทุนสร้างแบรนด์ใหม่เองใช้ชื่อร้านว่าควิกเทอเรสประเดิมลองตลาดที่หน้าโรงงานของตนเองย่านเพชรเกษม ที่ได้เปิดให้บริการเมื่อช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา

02_quick

ควิกเทอเรสเป็นร้านอาหารประเภทอาหารจานเดียวที่ทางไวไวได้ต่อยอดจากธุรกิจเส้นของตนเอง เอาเส้นวัตถุดิบเส้นที่มีอยู่มาแปลงร่างเป็นเมนูอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า จากที่ขายบะหมี่ได้ซองละ 6 บาท เมนูมีทั้งประเภทยำ ซูชิ สปาเก็ตตี้ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 35-55 บาท

ยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด กล่าวว่าในช่วงปีนี้ยังไม่มีการลงทุนอะไรเพิ่มเท่าไหร่ แต่อยากแตกไลน์ธุรกิจมากกว่าเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจเดิมที่เรามีจุดแข็งที่วัตถุดิบเรื่องเส้น เลยทำเป็นร้านอาหารเพราะสามารถขายได้แพงขึ้นมากกว่าบะหมี่ซองละ 6 บาท ในอนาคตจะมีการขยายสาขาเป็นเชนร้านอาหารเลย

แผนในการขยายสาขาของควิกเทอเรส ยศสรัลบอกว่าคงไม่ไปสู้กับร้านอาหารในห้าง อาจจะมองเป็นทำเลมหาวิทยาลัย สำนักงาน และแหล่งท่องเที่ยว มองที่ทำเลมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะสามารถควบคุมได้ง่าย อยู่ใกล้กับโรงงาน ภายในสิ้นปีนี้จะขยายเพิ่ม 1 สาขา และตั้งเขยาย 50 สาขาภายใน 5 ปี   

1_quick-01new

2_quicknew

]]> 1096426 “ควิกแสบ” คัมแบ็กอัดโปรชิงโชคในรอบ 6 ปี https://positioningmag.com/1096415 Mon, 04 Jul 2016 11:27:58 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096415 หลังจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาควิกแสบได้ทำการค้นหาตัวเองอยู่พอสมควร และได้สร้างคาแร็กเตอร์ให้ตัวเองอย่างชัดเจนด้วยการเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสจัดจ้าน เล่นเรื่องอีโมชันนอล และเจาะกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ซึ่งการทำการตลาดแต่ละปีก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับทิศทางของตลาด 

ให้น้ำหนักในส่วนของการสร้างแบรนด์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค โดยการใช้พรีเซ็นเตอร์ ในปีก่อนได้เน้นบะหมี่แบบซอง ก็ทำแคมเปญภาพยนตร์สั้นโดยร่วมกับศิลปินแทททู คัลเลอร์ ส่วนในปี 58 ที่ผ่านมาต้องการเน้นบะหมี่แบบถ้วย ก็ได้ใช้พรีเซ็นเตอร์ทั้งหมด 7 คนในแคมเปญ 7 อรหันต์

สำหรับในปีนี้ภายใต้บังเหียนของผู้บริหารเจน 3 คนใหม่ที่จะมาดูแลด้านการตลาดยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ได้ตั้งโจทย์ถึงการเติบโตทางด้านยอดขาย ทำให้ควิกแสบต้องคัมแบ็กการจัดโปรโมชั่นชิงโชค หลังจากที่จัดครั้งล่าสุดเมื่อ 6-7 ปี มาแล้ว ตอนนั้นเป็นการชิงโชครถยนต์

แคมเปญนี้ได้ได้เลือกจักรยานฟิกเกียร์มาเป็นของรางวัลจำนวน 500 คัน มูลค่า 6 ล้านบาท เพราะด้วยเทรนด์การปั่นจักรยานยังเป็นที่นิยมในเมืองไทย และเพื่อต้องการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มคนรักจักรยานมากขึ้นด้วย 

การใช้พรีเซ็นเตอร์ที่ผ่านก็ได้รับผลตอบรับที่ดี สร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภค และคนรู้จักรสชาติของควิกแสบมากขึ้น แต่จะกระตุ้นการเติบโตทางด้านยอดขายต้องกระตุ้นด้วยการทำโปรโมชั่นชิงโชค ซึ่งไม่ได้ทำนานมากแล้วตั้งแต่ก่อนผมเข้าทำงานที่นี่ในปี 53 อีก ปีนี้ต้องทำการเน้นทั้งรูปแบบซองและถ้วย เพื่อสร้างการเติบโตพร้อมๆ กัน

แคมเปญนี้ได้ใช้งบการตลาดทั้งหมด 10 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าของรางวัล 6 ล้านบาท และด้านสื่อ 4 ล้านบาท เน้นในด้านกิจกรรม Below the line ซึ่งในปีนี้อาจจะมีการต่อยอดแคมเปญเกี่ยวกับจักรยานต่อไปในรูปแบบการจัดแข่งจักรยาน หรือปั่นจักรยานมาราธอนก็ได้ 

ปัจจุบันควิกแสบมีส่วนแบ่งการตลาด 9% ในปีนี้ไม่ได้ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด แต่ได้ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ที่ 3-5% และคาดการณ์ตลาดรวมในปีนี้น่าจะเติบโต 2-3% จากปีก่อนที่มีการเติบโตน้อยมาก เชื่อว่าปีนี้เศรษฐกิจจะดีขึ้น และกำลังซื้อของผู้บริโภคดีขึ้น จากครึ่งปีแรกมีมูลค่า 15,000 ล้านบาท เติบโต 2-3%

ควิกแสบคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 20-30% ของไวไว

1_q 

]]>
1096415