กลาสสิค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 02 Jan 2024 09:25:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก Glassiq สตาร์ทอัพร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ ปักหมุดสาขาแรกที่ Emsphere https://positioningmag.com/1457550 Tue, 02 Jan 2024 08:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457550 ทำความรู้จัก Glassiq (กลาสสิค) ร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์น้องใหม่ในเครือวิชั่นเวนเจอร์ จุดเริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพ เริ่มจากขายออนไลน์ จนล่าสุดได้เปิดแฟลกชิปสโตร์สาขาแรกที่ศูนย์การค้า Emsphere

เริ่มจากสตาร์ทอัพ ขายแว่นออนไลน์

ต้องบอกว่าแว่นตาในยุคนี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไอเทมแฟชั่นอย่างหนึ่ง ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือช่วยเรื่องปัญหาด้านสายตาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทำให้ตลาดร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมมากขึ้น หรือจะเรียกกันว่าร้านแว่นตามินิมัลก็ไม่ผิดนัก หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ 2 แบรนด์ใหญ่ Owndays และ Seven days เพราะมีหลายสาขาในประเทศไทย

ตอนนี้มีอีกหนึ่งแบรนด์น้องใหม่ที่เข้ามาท้าชิงในตลาด ก็คือ Glassiq แต่จะบอกว่าเป็นน้องใหม่ก็ไม่เชิง เพราะแบรนด์นี้ได้ก่อตั้งมา 7 แล้ว แต่เพิ่งทำการรีแบรนด์ และเปิดร้านสาขาแรกที่ศูนย์การค้า Emsphere

Glassiq

Glassiq ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2559 เริ่มจากกลุ่มเพื่อน 4 คนที่มีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพเหมือนกัน ใช้งบลงทุนก้อนแรก 200,000 บาท/เดือน แรกเริ่มได้วางจุดยืนเป็นสตาร์ทอัพร้านแว่นตา เริ่มจากการขายบนช่องทางออนไลน์ ใช้จุดแข็งโดยการหาซื้อแว่นโดยตรงจากโรงงาน ทำให้ได้ราคาถูก

พิริยะ ตันตราธิวุฒิ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์แว่นตา Glassiq และ CMO บริษัท วิชั่น เวนเจอร์ส จำกัด เริ่มเล่าว่า

“ส่วนตัวเป็นคนที่ใส่แว่นตั้งแต่เด็กๆ แล้วจะมีปัญหาเวลาเลือกซื้อแว่นที่หน้าร้าน จะเจอประสบการณ์ไม่ค่อยดี เช่น พนักงานจะเลือกกรอบมาให้ดู 4 แบบ โดยที่ไม่ได้มีการประเมินใบหน้าของลูกค้าแบบชัดเจน แต่ก่อนเราก็จะเกรงใจพนักงานก็เลือกๆ ไปก่อน สรุปว่าก็ไม่ได้แว่นที่ถูกใจ 100% แถมราคาแพงอีกด้วย ซึ่งร้านแว่นในสมัยก่อนจะไม่มีแบบให้เลือกมากนัก จะเป็นสไตล์ยุโรป ที่ไม่เข้ากับรูปหน้าคนไทยด้วย”

Glassiq

พิริยะ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากนั้นมาทำงานด้านที่ปรึกษา และการตลาดที่ True ในยุคหลายปีก่อนที่เทรนด์ของสตาร์ทอัพกำลังมาแรง จึงได้เข้าร่วมโครงการ True Incube พิริยะได้จบทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นคนชอบวาดรูป จึงทำแอปฯ สติ๊กเกอร์ วาดสติ๊กเกอร์แต่งรูป โลเคชั่นเบสสติ๊กเกอร์ ในตอนเข้าร่วมโครงการก็ได้เจอกลุ่มคนที่ทำสตาร์ทอัพคล้ายๆ กัน เลยมารวมตัวกันทำ Glassiq

ในช่วงแรกมีการขายในช่องทางออนไลน์อย่างเดียว แต่ก็มี Pain Point ที่ต้องลองแว่นกันหน้า เลยมีแคมเปญส่งแว่นให้คนไปลองที่บ้าน 3 แบบ แล้วส่งคืนที่เซเว่นฯ จากนั้นค่อยสั่งซื้อ หลังจากนั้นก็ได้พาร์ตเนอร์กับร้านหอแว่น มีวางจำหน่ายในหอแว่น

รีแบรนด์สู่ Glassiq เพื่อเข้าถึงง่าย

ปัจจุบัน Glassiq ได้วางจุดยืนเป็นร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ที่มีความแฟชั่น มีทั้งเลนส์สายตา และเลนส์สี เลนส์กันแดด ใช้จุดเด่นในการเป็นแบรนด์ไทย เข้าใจพฤติกรรมคนไทย และคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เนื่องจากพบว่าเซ็กเมนต์นี้มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Glassiq

โดยเมื่อปี 2565 Glassiq ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท วิชั่นเวนเจอร์ส จำกัด เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสายตา หอแว่นกรุ๊ปก็อยู่ในเครือเดียวกัน ปัจจุบันมีร้านแว่นตาขายปลีก และบริการวัดสายตาในเครือคือ หอแว่น, หอแว่น Prestige, Monde Eyewear และ Glassiq เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายและมีความต้องการที่แตกต่างกัน

วิชั่นเวนเจอร์สเองก็ต้องการร้านแว่นตาในกลุ่มไลฟ์สไตล์ เพื่อเติมเต็มพอร์ตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ Glassiq เองก็มีเงินทุนในการขยับขยายแบรนด์ให้เติบโตยิ่งขึ้น

Glassiq

ทำให้ Glassiq ถือโอกาสในการรีแบรนด์ใหม่ ทั้งชื่อแบรนด์ที่แต่เดิมใช้ชื่อว่า Glazziq เปลี่ยนชื่อเป็น Glassiq ให้อ่านง่าย จดจำง่ายขึ้น พิริยะบอกว่า ในสมัยสตาร์ทอัพยุคนั้นจะนิยมตั้งชื่อสะกดแปลกๆ กัน แต่ลูกค้าจะมีความรู้สึกว่าเข้าถึงยาก จำยาก จึงตัดสินใจรีแบรนด์ใหม่เลย พร้อมกับเปิดแฟลกชิปสโตร์สาขาแรกที่ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์เมื่อเดือนธันวาคม 2566 มีโอกาสได้คุยกับทางศูนย์ แล้วอยากได้ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่พอดี เลยได้เปิดที่นี่

ขอเป็นร้านแว่นไลฟ์สไตล์มัดใจวัยรุ่น

ปี 2566 ตลาดแว่นตามีมูลค่าราวๆ 6,000-7,000 ล้านบาท รวมทั้งกรอบ และเลนส์ หรือคิดเป็นปริมาณ 8-9 ล้านตัว ปัจจุบันตลาดแว่นตามีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแว่นบ่อยมากขึ้น โดยจะมีกลุ่มทั่วไปที่อาจจะเปลี่ยนแว่นทุกๆ 3-5 ปี มองว่าแว่นยังใช้งานได้อยู่ แต่จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองแว่นตาเป็นไอเทมแฟชั่น จะเปลี่ยนแว่นทุกๆ 6 เดือน – 1 ปี ประกอบกับค่าสายตามีการเปลี่ยนขึ้นทุกปี จึงมีการเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับค่าสายตาด้วย

Glassiq ต้องการจับกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ตั้งแต่นักศึกษา ไปจนถึงกลุ่มคนที่เริ่มทำงาน กรอบแว่นตาจะมีราคาเริ่มต้นที่ 1,990 – 2,990 – 3,990 บาท เป็นราคากรอบแว่น + เลนส์แล้ว ใช้เวลาในการประกอบ 20 นาที ก็รับแว่นกลับบ้านได้เลย

Glassiq

พิริยะ เสริมว่า ช่วงปีที่ผ่านมาเหมือนเป็นการรื้อระบบใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เปิดสาขาแรกในช่วงแรกตั้งเป้ายอดขายวันละ 5-6 ตัว หลังจากนั้นจะตั้งเป้ายอดขายวันละ 15-20 ตัว แว่นตาแต่ละชิ้นราคาเฉลี่ย 4,000 บาท ถ้าได้ตามเป้าทั้งปีก็จะมีรายได้ราวๆ 22-30 ล้านบาท

สำหรับแผนในการขยายสาขาต่อไปในอนาคตนั้น พิริยะมองว่าต้องดูผลตอบรับจากสาขาแรกก่อน ว่าต้องปรับอะไรบ้าง โลเคชั่นตรงไหนถึงเหมาะสม แต่ตอนนี้มีแผนเปิดใหม่ 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลนครสวรรค์ และอาคารซิลลิค เฮ้าส์ (Zuellig House Building) ถนนสีลม ซึ่งเราอาจจะได้เห็นการขยายสาขา 6-7 แห่งในปีหน้าเลยก็ได้

ถ้าถามถึงเป้าหมายในอนาคตของ Glassiq พิริยะบอกว่า ในระยะสั้น ขอเป็นแบรนด์ไทยที่เจาะกลุ่มวัยรุ่นให้ได้ก่อน หลังจากนั้นจะเริ่มขยายตลาดสู่ต่างประเทศ มองกลุ่มประเทศในเอเชียก่อน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม แต่ต้องพัฒนาระบบให้พร้อม และประสบการณ์ของร้านได้ให้ก่อน จึงจะทำการขยายอย่างเต็มที่

]]>
1457550