กวางตุ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Jun 2021 11:00:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โลกเจอวิกฤต ‘ขนส่ง’ อีกรอบหลังโควิดระบาด ‘กวางตุ้ง’ ทำท่าเรือชะงัก https://positioningmag.com/1337208 Tue, 15 Jun 2021 10:07:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337208 ในช่วงครึ่งปีแรก 2021 ซึ่งนอกเหนือวิกฤต COVID-19 เหมือนจะผ่อนคลายลงเพราะมีวัคซีน แต่โลกกลับต้องเจอวิกฤตด้าน ‘การขนส่งทางเรือ’ โดยเรื่องแรกมาจากผลของ COVID-19 ที่ทำให้ ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ขาดแคลน อีกทั้งยังเจอกับวิกฤต ‘เรือเกยตื้นคลองสุเอซ’ แต่ล่าสุดก็มีอีกปัญหาเพราะการระบาดของ COVID-19 ใน ‘กวางตุ้ง’ เมืองท่าสำคัญของจีน

ภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านการขนส่งอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัสในภาคใต้ของจีน ทำให้บริการท่าเรือหยุดชะงักและทำให้การส่งล่าช้า ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นอีกครั้ง โดยมณฑลกวางตุ้งของจีนเผชิญกับการระบาดครั้งใหม่ของ COVID-19 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อินเดียโดยมีผู้ติดเชื้อกว่า 100 ราย ส่งผลให้ทางการได้สั่งปิดเขตและธุรกิจห้างร้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย

กวางตุ้งซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญโดยคิดเป็น 24% ของการส่งออกทั้งหมดของจีน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือเซินเจิ้นและท่าเรือกวางโจวซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามและใหญ่เป็นอันดับห้าของโลกตามปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ตามรายงานของ World Shipping Council

“การหยุดชะงักในเมืองเซินเจิ้นและเมืองกวางโจวนั้นยิ่งใหญ่มาก โดยลำพังพวกเขาจะมีผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” Brian Glick กล่าว

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ภาคส่วนต่าง ๆ ของโลกฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้มีการซื้อเพิ่มขึ้นทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนจนทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมากในการขนส่งสินค้าจากจีนไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา และทำให้ราคาสูงขึ้นสำหรับธุรกิจและผู้บริโภค

จากนั้นหนึ่งในเรือคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Ever Given ได้ติดอยู่ในคลองสุเอซและปิดกั้นเส้นทางการค้าที่สำคัญเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ การค้าโลกประมาณ 12% ผ่านคลองสุเอซ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมีเรือผ่านมากกว่า 50 ลำต่อวัน เหตุการณ์ดังกล่าวจุดชนวนให้เกิดวิกฤตการณ์การขนส่งทางเรือทั่วโลกและทำให้การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน และตอนนี้วิกฤตล่าสุดในภาคใต้ของจีน กำลังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอีกครั้ง

“ความเสี่ยงของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนกำลังเพิ่มขึ้น และราคาส่งออก/ค่าขนส่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก มณฑลกวางตุ้งมีบทบาทสำคัญในซัพพลายเชนทั่วโลก” จาง จือเว่ย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Pinpoint Asset Management กล่าว

เจพี วิกกินส์ รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กรของบริษัทซอฟต์แวร์การขนส่ง 3GTMS กล่าวว่า วิกฤตท่าเรือในจีนจะทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันหยุดชะงักลงอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากส่งไปยังอเมริกาเหนือ ขณะที่กรณีของเรือขวางคลองสุเอซมีผลกระทบมากขึ้นต่อการค้าของยุโรป

“คาดว่าสินค้าที่ผลิตในเอเชียจะขาดแคลนและหมดสต๊อก”

นอกจากปัญหาความล่าช้าแล้ว ค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้นเป็นผลโดยตรงจากวิกฤต โดยผู้ขนส่งสินค้าขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากต่างได้รับผลกระทบ เนื่องจากค่าขนส่งนั้นสูงกว่าสินค้าที่ขนส่ง

“เราฝ่าเพดานราคามามากมายจนไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าราคานี้จะไปถึงจุดสูงสุดที่ใด”

ตู้คอนเทนเนอร์
(Photo by Stephen Chernin/Getty Images)

จากนี้อัตราค่าขนส่งจะ “ผันผวนอย่างมาก” ดังนั้น ผู้ขนส่งสินค้าวางแผนที่จะใช้จ่ายมากขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนผู้ส่งสินค้าที่ไม่สามารถรับความล่าช้าได้จะต้องเปลี่ยนมาขนส่งสินค้าทางอากาศแทน ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อไป Shehrina Kamal รองประธานฝ่ายโซลูชั่นอัจฉริยะของ Everstream Analytics กล่าว

ปัจจุบัน ระยะเวลารอเรือเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือ Yantian International Container Terminal ในเซินเจิ้น “พุ่งสูงขึ้น” จากเฉลี่ย 0.5 วันเป็น 16 วัน โดยท่าเรือหนานซาในกวางโจวกำลังประสบปัญหานำเข้าของสินค้า เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าของเรือ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกสองสัปดาห์กว่าจะคลี่คลาย

โดยรวมแล้ว การหมุนเวียนของท่าเรือในกวางตุ้งจะยังคงชะลอตัวในเดือนมิถุนายน และแม้แต่ส่วนอื่น ๆ ของจีนก็มีแนวโน้มที่จะระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ราคาค่าส่งที่สูงขึ้น Zhang จาก Pinpoint Asset Management กล่าว

Source

]]>
1337208
“เป๊ปซี่โค” ทุ่ม 2,280 ล้านบาท ตอกเสาเข็มขยาย “ฐานผลิต” ในกวางตุ้ง https://positioningmag.com/1311288 Sun, 20 Dec 2020 07:32:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311288 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เป๊ปซี่โค (PepsiCo) บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยวข้ามชาติ ระบุว่าได้เริ่มการก่อสร้างฐานการผลิตอาหารในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน โดยเป็นโรงงานผลิตอาหารแห่งแรกของบริษัทที่ตั้งขึ้นในจีนตอนใต้

ด้วยพื้นที่การก่อสร้างราว 24,000 ตารางเมตร โรงงานแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในเมืองโฝซาน มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5.3 เฮกตาร์ (ราว 33 ไร่) โดยในโรงงานจะมีสายการผลิต 1 สายสำหรับมันฝรั่งทอดแผ่นบาง และสายการผลิต 2 สายสำหรับมันฝรั่งทอดบรรจุกระป๋อง รวมถึงอาคารสนับสนุน อาทิ โกดังสำหรับการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป

โครงการก่อสร้างครั้งนี้ใช้เงินลงทุนราว 500 ล้านหยวน (ราว 2,280 ล้านบาท) โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตอย่างเป็นทางการได้ในเดือนกันยายน ปี 2022 และคาดว่าจะมีกำลังการผลิต 25,000 ตันต่อปี

เป๊ปซี่โคระบุว่าตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานแห่งใหม่นี้ถูกคัดเลือก โดยพิจารณาจากการสั่งสมทรัพยากรโดยกลุ่มอุตสาหกรรมของเมืองโฝซานเป็นหลัก รวมถึงเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนความสะดวกสบายและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีระบบระเบียบในเขตเศรษฐกิจอ่างกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA)

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป๊ปซี่โคขยายขอบเขตการลงทุนในจีนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน บริษัทมีโรงงานผลิตอาหาร 7 แห่ง ฟาร์มสาธิตการปลูกมันฝรั่ง 6 แห่ง และฟาร์มแบบสหกรณ์ 18 แห่งในจีน

]]>
1311288