กสทช – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Feb 2022 12:48:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละดีลควบรวม ‘ทรู’-‘ดีแทค’ ผูกขาดหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน และ ‘ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน https://positioningmag.com/1374729 Mon, 21 Feb 2022 12:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374729 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดทรู-ดีแทค ไฟเขียวควบรวมกิจการ เคาะตั้งบริษัทใหม่เข้าตลาดหุ้น พร้อมถอนหุ้น TRUE และ DTAC ออกจากตลาด โดยทาง สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดงานเสวนา เรื่อง ‘ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค’ เพื่อสะท้อนหากเกิดการควบรวมจริงถือเป็นการ ‘ผูกขาด’ หรือไม่ และ ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ผูกขาดชัดเจน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประโยชน์ของการควบรวมบริษัทมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสได้ของดีราคาถูก อีกมุมคือ เพิ่มอำนาจการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์ ดังนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนักของ 2 ข้อนี้

“ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่กำกับดูแลจะพิจารณาจาก ผลกระทบต่อผู้บริโภคเท่านั้น ว่าการควบรวมก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียกับผู้บริโภคมากกว่ากัน ถ้าเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงก็จะ ห้ามการควบรวม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรงก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม”

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

สำหรับการควบรวมของ ทรู-ดีแทค นั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้ผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์นั้นพิจารณาจาก ผู้ประกอบการรายที่เหลือ (เอไอเอส) มีท่าทีอย่างไร ถ้ามีการ คัดค้าน หน่วยงานกำกับดูแลควรอนุญาตให้ควบรวม แต่ถ้า ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน ควร ห้ามการควบรวม กรณีนี้ไม่มีใครคัดค้าน เพราะจะทำให้ตลาดกระจุกตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์

หลักฐานที่ชัดเจนคือ ราคาหุ้นของทั้ง 3 บริษัทเพิ่มขึ้น แม้ว่าเอไอเอสไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบรวมก็ตาม นอกจากนี้ การควบรวมทรู-ดีแทค ยังถือว่าเป็นการผูกขาดในระดับ อันตรายมาก ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตให้ควบรวม

“ทุกอย่างชี้ว่าการควบรวมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่เป็นผลเสียกับผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องดีลกับผู้ประกอบการที่จะเหลืออยู่ 2 รายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ที่เหลือแค่ 2 ทางเลือก ผู้พัฒนานวัตกรรมหรือสตาร์ทอัพก็มีทางเลือกน้อยลง จะเห็นว่าทุกฝ่ายแย่ลงหมดยกเว้นผู้ประกอบการ ดังนั้น ควรระงับไม่ให้เกิดการควบรวม”

ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทางเลือกลดลงย่อมส่งผลต่อราคา อีกทั้งยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หวังว่าบอร์ดใหม่กสทช. จะพิจารณาให้ถี่ถ้วน

“จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อผู้เล่นลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นถึง 20% ดังนั้นจาก 3 เหลือ 2 ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ.

กฎหมายใหม่กสทช. มีช่องว่าง

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ทั้งทรู-ดีแทคออกมาประกาศว่า “อยู่ระหว่างการหารือเรื่องควบรวม” แต่กลับมีการเรียนอัตราการแลกหุ้นอย่างชัดเจน แสดงว่าทั้ง 2 บริษัทได้คำนวณเรื่องการควบรวมไว้แล้วแสดงว่า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัทตั้งใจจะควบรวมกิจการ ลึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่ว่าจะมีการควบรวมหรือไม่นั้น กสทช. เป็นองค์กรที่ต้องออกมากำกับดูแลหากเห็นพฤติกรรมที่ส่องเค้าที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น กสทช. ไม่ควรรีรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ ควรจะวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และอีกปัญหาคือ ประกาศกสทช. ฉบับปี 2561 มีช่องว่างก่อให้เกิดความเสี่ยงในการควบรวมเมื่อเทียบกับประกาศของปี 2553 จากเดิมจะ ต้องมาขออนุญาตก่อน แต่ประกาศฉบับปี 61 แค่รายงานให้ทราบ

“เห็นชัดเจนว่าถ้าจาก 3 เหลือ 2 การแข่งขันน้อยลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทเดินหน้าควบรวมโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเลยเข้ามากำกับก็จะนำไปสู่ภาวะการผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ก่อนที่การควบรวมจะสิ้นสุดด้วยซ้ำ เพราะแค่เจรจาก็สุ่มเสี่ยงแล้ว”

กสทช. รับต้องรอบอร์ดใหม่พิจารณา

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช ยอมรับว่า ตั้งแต่มีข่าวการควบรวม กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการมาชี้แจงบ้าง รวมถึงได้ประสานงานกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) แต่ช่วง 3 เดือนที่มีข่าว ทางกสทช. ไม่เคยนำเสนอเรื่องการควบรวมให้เป็นวาระการประชุมเลย เพิ่งมี 2 ครั้งหลังสุดที่มีการรายงานด้วยวาจา โดยไม่มีเอกสารวาระก่อนปิดประชุมทั้ง 2 ครั้ง

ดังนั้น กรรมการกสทช. จึงไม่มีเวลาถกแถลง หรือ หารือว่าจะทำอย่างไรต่อ และเป็นปัญหาที่ตัวข้อเท็จจริงยังอยู่ในชั้นสำนักงานทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดถือเป็น จุดอ่อนของการบริหารของสำนักงานกสทช. อีกปัญหาคือ ตัวกฎหมายผู้ร่างคือสำนักงานกสทช. ซึ่งประกาศฉบับแก้ไขการรวมกิจการปี 61 ก็ร่างโดยสำนักงานกสทช. ซึ่งส่วนตัวนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายปี 53 มีความเสี่ยงในการควบรวมได้ทันที

“หลายคนไม่เอะใจเลยว่า กฎหมายปี 61 เป็นแค่การรายงานให้ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณา ถือเป็นประกาศที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบในการควบรวม ดังนั้น ตรงนี้ตรงไปตรงมามาก และผมไม่ได้เห็นด้วย”

อีกปัญหาสำคัญคือ การควบรวมมาในช่วงคาบเกี่ยวการแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งทางกรรมการชุดปัจจุบันไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องการควบรวม ดังนั้น เมื่อมีการเสนอคำขอควบรวม จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อหากบอร์ดทั้ง 2 ชุดเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ขณะที่การควบรวมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 65

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากมาประกอบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ไม่เช่นนั้นจะเกิดการลำเอียงในการพิจารณาในภายหลัง ผู้ที่ขอยื่นอาจขอค้านทางปกครองในภายหลังว่าเราไม่มีความเป็นกลาง ดังนั้น โดยหลักแล้วทำให้กสทช. ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาให้ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันข้อถกเถียงเรื่องผลดีผลเสียจากการควบรวมของทรู-ดีแทค ยังเป็นแค่การพยากรณ์ทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิด แต่ถ้าปล่อยให้ควบรวมก็จะสายเกิดไปในการรับมือ

และทางกสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยมีการประสานงานกับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า โดยได้หารือว่าจะรับมืออย่างไร นอกจากนี้ คณะสภาผู้แทนราษฎรณ์ก็มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางกสทช. ก็ได้หารือกันทุกสัปดาห์ มีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม เบื้องต้นพยายามรวมประเด็นเพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกด้าน

“โดยสรุปแล้ว กสทช. ยังไม่ได้ฟันว่าจะไม่ให้ควบรวม หรือให้ควบรวม แต่ต้องปกป้องประโยชน์ต่อประชาชน และต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าจะพิจารณาเรื่องนี้ต้องวิเคราะห์โครงสร้างตลาดที่เหมาะสมในประเทศไทย มีมาตรการเชิงโครงสร้าง และสิ่งสำคัญต้องติดตามผลกระทบจากการควบรวมจริง ๆ”

แนะ 3 ข้อ ป้องกันผูกขาด

ดร. สมเกียรติ ได้เสนอ 3 แนวทาง สำหรับป้องกันการผูกขาดที่จะเกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค ดังนี้

  1. ไม่อนุญาตให้ควบรวม : โดยหากดีแทคต้องการจะเลิกกิจการในประเทศไทย ควรให้ขายกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรู
  2. ควบรวมได้ แต่ต้องคืนคลื่น : อนุญาตให้ควบรวมได้แต่ต้องคืนคลื่นมาบางส่วนแล้วนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย ในตลาดโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม
  3. ควบรวมได้แต่ต้องส่งเสริมให้เกิด MVNO หรือผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายฯ ของตัวเอง : ทางเลือกนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่มีความเหมาะสม เนื่องจาก MVNO ไม่ได้เกิดง่าย และการดูแลยากมาก ดังนั้น ควรป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด เพราะหากปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปแก้ไขในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากมาก

สุดท้าย ผศ.ดร. กมลวรรณ จิรวิศิษฏ์ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะยังไม่ควบรวมแต่การมีการ แบ่งปันข้อมูล อาจนำไปมาซึ่งการ ไม่แข่งขัน เพราะอาจมีการ ฮั้ว กันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องนี้หน่วยงานกำกับดูแลต้องนำมาพิจารณาด้วย

]]>
1374729
รู้จัก ‘เน็ตดาวเทียม’ พร้อมเจาะลึกความพิเศษ ‘Starlink’ ของอีลอน มัสก์ และไทยสั่งเบรกจริงหรือ? https://positioningmag.com/1319657 Tue, 16 Feb 2021 11:26:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319657 อินเทอร์เน็ตน่าจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกใบนี้ไปแล้ว แต่สำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มี 4G-5G หรือ ไฟเบอร์อย่างในทะเล ก็คงไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้หากไม่มีบริการ อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) ซึ่งจริง ๆ แล้ว อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ทำไม ‘Starlink’ ของ ‘อีลอน มัสก์’ ทำไมถึงน่าสนใจ และไทยจะได้ใช้งานเมื่อไหร่ ถูกเบรกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

เน็ตดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่

อย่างที่เกริ่นไป อินเทอร์เน็ตดาวเทียมทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีมากว่า 20 ปีแล้ว โดยเป็นการใช้ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า โดยข้อดีของอินเทอร์เน็ตดาวเทียมคือ ให้บริการครอบคลุมกว้างไกล แต่ข้อเสียคือ แบนด์วิดท์ที่จำกัดเพราะดาวเทียมหนึ่งดวงให้บริการพื้นที่แทบทั้งทวีป โดยดาวเทียมค้างฟ้าแค่ 3 ดวงก็สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเลยทีเดียว นอกจากนี้ ดาวความที่ดาวเทียมอยู่ไกล ความหน่วง (latency) จึงสูงมาก ทำให้การใช้งานไม่สะดวกนัก อีกทั้ง บริการนี้ ‘คนทั่วไปเข้าถึงไม่ง่ายนัก’ เนื่องจากเน้นการใช้งานแบบพาณิชย์มากกว่า ทำให้มีค่าบริการที่สูง ติดตั้งยุ่งยาก

จะเห็นว่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมนั้นมีจุดอ่อนที่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับ 4G-5G หรือไฟเบอร์ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ ‘Starlink’ โครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ ‘อีลอน มัสก์’ กันว่ามันพิเศษกว่าตรงไหน

(Photo by Paul Hennessy/NurPhoto via Getty Images)

รู้จัก Starlink

Starlink นั้นเป็นอีกหน่วยธุรกิจของ ‘SpaceX’ บริษัทของอีลอน มัสก์ที่พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและจรวดที่ขึ้นไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง โดยอีลอน มัสก์นั้นก่อตั้ง Starlink มาก็เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมให้กับ ‘ประชาชนทั่วไป’ โดยใช้ ‘ดาวเทียมวงโคจรต่ำ’ ซึ่งต่ำกว่าดาวเทียมทั่ว ๆ ไปที่ถึง 60 เท่า ซึ่งนั่นทำให้ Starlink แก้จุดอ่อนด้าน latency ให้ต่ำได้จนเหลือเพียง 20-40Ms เทียบเท่ากับอินเทอร์เน็ตบ้านเลยทีเดียว และแถมยังให้สปีดดาวน์โหลดของอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วที่ 50–150Mb/s

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำทำให้ Starlink ต้องใช้ดาวเทียมหลักหมื่นดวงถึงจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 จนปัจจุบัน Starlink ได้ปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 400 ดวง จากเป้าหมายที่จะมีดาวเทียมทั้งหมดถึง 42,000 ดวง

Photo : Thom Baur / Reuters

เคาะราคา 99 ดอลลาร์/เดือน

ปัจจุบันประชากรโลกมีกว่า 7.6 พันล้านคน แต่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ 4.54 พันล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางพื้นที่ของโลก สัญญาณอินเทอร์เน็ตยังไม่ถึง ดังนั้น Starlink จะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร้ข้อจำกัด ล่าสุด Starlink ก็ได้เคาะราคาค่าบริการแล้วที่ 99 ดอลลาร์หรือประมาณ 3,000 บาท แต่จะมีค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมอีก 499 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15,000 บาท โดยปัจจุบันในอเมริกามีผู้ลงทะเบียนให้ความสนใจที่จะใช้บริการแล้วกว่า 700,000 รายเลยทีเดียว ส่วนประเทศไทยเองมีข่าวว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2022

(Photo by Justin Sullivan/Getty Images)

กสทช. สั่งเบรกจริงหรือ?

หลังจากที่มีข่าวว่าจะให้บริการในไทย ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกมาระบุว่า การให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมต่างชาติในประเทศไทย ต้องได้รับการอนุญาตจาก กสทช. ก่อนเริ่มให้บริการ โดยกรณีนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และการอนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติเพื่อให้บริการในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ยื่นขอรับอนุญาตเพื่อให้บริการดังกล่าวในประเทศไทย มีแต่เพียงการขอข้อมูลและปรึกษาการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมต่างชาติ เท่านั้น

ซึ่งทำให้หลายคนมองว่า กสทช. ออกมาสั่งเบรกบริการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การขออนุญาตให้บริการเป็นเรื่องปกติของหลายประเทศไม่ใช่แค่ไทย ดังนั้น กสทช. ไม่น่าจะมาเบรกอะไร

ไม่ได้มีแค่ อีลอน มัสก์ที่ทำ

ย้อนไปปี 2011 Google เปิดตัวโครงการ ‘Loon’ เพื่อส่งบอลลูนให้ลอยอยู่เหนือท้องฟ้าและควบคุมให้เคลื่อนที่อยู่ในบริเวณที่ยังขาดการเชื่อมต่อด้านอินเทอร์เน็ต อาทิ ในขุนเขา มหาสมุทร ทะเลทราย ขณะที่ Facebook เองก็มีโครงการ ‘Aquila’ ซึ่งทดลองส่งเครื่องโดรนให้ล่อนอยู่ในท้องฟ้าเป็นเวลานาน เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล แต่ทั้ง 2 โครงการต่างก็เงียบหายไปตามกาลเวลา

นอกจากนี้ยังมี โครงการ ‘Project Kuiper’ ของ ‘Amazon’ ที่ต้องการสร้างเครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) จำนวน 3,236 ดวงเพื่อให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตกับผู้คนในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างพิกัด 56 องศาเหนือถึง 56 องศาใต้ หรือระหว่างสกอตแลนด์และบริเวณอเมริกาใต้ ซึ่งคาดว่าครอบคลุมพื้นที่การใช้งานของประชากรกว่า 95% แต่โครงการดังกล่าวก็เงียบไปอีกเช่นกัน

มีความเป็นไปได้ว่าโครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูงนั้นใช้เงินลงทุนมหาศาลเลยทำให้ต้องเบรกไป เพราะโครงการ Starlink ก็ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท แต่ทางอีลอน มัสก์ก็คาดว่าจะทำเงินได้ถึงปีละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

สำหรับคนไทยก็รอดูแล้วกันว่าในปี 2022 จะได้ใช้บริการไหม สำหรับใครที่อยากลองใช้ก็อดใจรออีกสักนิดนะ

]]>
1319657
กสทช. เสนอแผนกระตุ้น Work from Home เพิ่มเน็ตมือถือ 10 GB อัพสปีดเน็ตบ้าน 100 Mbps https://positioningmag.com/1269409 Mon, 23 Mar 2020 09:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269409 กสทช. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต COVID-19 ระบาด ให้ประชาชนสามารถใช้งานเน็ตมือถือเป็น 10 GB อัพสปีดเน็ตบ้าน 100 Mbps พร้อมเสนอ ครม. ออกเป็นมาตรการเร่งด่วน

พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) เปิดเผยว่า

“มาตรการที่จะลดการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 หรือหยุดการแพร่กระจาย คือการที่ทำให้คนอยู่กับที่ อยู่กับบ้าน ไม่เคลื่อนที่ หรือเดินทางสัญจร จึงเกิดมาตรการทำงานที่บ้านหรือ Work from Home ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำงาน คือบริการทางด้านโทรคมนาคม จึงเป็นที่มาของมติ กสทช.ว่าด้วยมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต COVID-19 เพื่อรองรับมาตรการส่งเสริมการทำงานที่บ้านหรือ Work from Home ของรัฐบาล และเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบโดยเร่งด่วน”

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช.ได้นัดประชุมวาระพิเศษเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนทุกระดับ โดยที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยการลดค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคม และส่งเสริมการทำงานที่บ้าน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนต่อไป ดังนี้

1. สนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) เพิ่ม 10 GB ต่อคน ต่อเดือน ให้แก่ผู้ใช้งานในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการ 1 คนจะได้รับการสนับสนุน 1 เลขหมาย ต่อ 1 ผู้ให้บริการ โดยจะสนับสนุนเป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563

โดยใช้ฐานลูกค้าที่มีผู้ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เท่านั้น ให้หักจากเงินที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ จะต้องชำระค่าประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใบอนุญาตที่ กสทช.กำหนด จนกว่าจะครบจำนวน และให้ กสทช.นำเงินส่วนที่เหลือส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป โดยประชาชนจะสามารถรับสิทธิได้ด้วยการลงทะเบียนผ่านระบบ USSD ของผู้ให้บริการแต่ละค่ายที่ตนใช้งานอยู่

2. สนับสนุนการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ (Fixed Broadband) ให้แก่ผู้ใช้งานในปัจจุบัน โดยปรับเพิ่มขนาดความจุ (Capacity) เท่าที่ผู้ให้บริการจะสามารถดำเนินการได้ กล่าวคือ กรณีบริการ ADSL/VDSL/Copper ให้ปรับเพิ่มความเร็วสูงสุดที่สามารถทำได้ และกรณีบริการ FTTX ให้ได้ระดับความเร็ว (Download) 100Mbps โดยหักเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินที่ต้องนำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

]]>
1269409
หมดปัญหาสายไฟรุงรัง? กสทช. ปิ๊งไอเดีย “ตัวครอบสาย” กันสายเถื่อนพาดเสา https://positioningmag.com/1266369 Fri, 28 Feb 2020 14:46:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266369 สำนักงาน กสทช. เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ติดตั้งอุปกรณ์ตัวครอบสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบสายที่ไม่ได้รับอนุญาตมาพาดเพิ่ม เริ่มเส้นทางถนนชัยพฤกษ์ จ.นนทบุรี

ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า

“จากการจัดระเบียบสายสื่อสารที่ผ่านมา ยังพบปัญหาการติดตั้งสายสื่อสารอย่างไม่เป็นระเบียบ และมีการพาดสายสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก สำนักงาน กสทช. จึงได้ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้เป็นผู้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบสายสื่อสาร รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการตรวจสอบสายสื่อสารอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบตัวครอบสายสื่อสารที่มีอุปกรณ์ RFID คอยส่งสัญญาณติดกริ่งที่ตัวครอบท้าย เพื่อให้สามารถทราบข้อมูลสายสื่อสารที่พาดบนเสาไฟฟ้า หากเกิดกรณีมีการละเมิดนำสายสื่อสารมาพาดเพิ่มโดยไม่ได้ขออนุญาต”

กสทช. ได้เลือกพื้นที่ในการทดสอบติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบสายสื่อสาร บนเส้นทางถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่หน้าร้านแก๊สรถยนต์ ถึงโตโยต้า เมืองนนท์ สาขาชัยพฤกษ์ ฝั่งทิศเหนือ ระยะทาง 1 กิโลเมตร บนเขตพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้มีการดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารตามแผนงานแล้ว

โดยการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว จะสามารถป้องกันการพาดสายสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาตและตรวจสอบข้อมูลสายสื่อสารที่พาดบนเสาไฟฟ้าในเส้นทางที่สำนักงาน กสทช. ได้มีการจัดระเบียบสายสื่อสารร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและ ผู้ประกอบกิจการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เมื่อการติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จและการทดสอบระบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงาน กสทช. จะต่อยอดไปยังพื้นที่อื่นทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการพาดสายโดยไม่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น พื้นที่ ๆ จัดระเบียบสายแล้วจะมีการใส่ตัวครอบเพื่อจะได้ไม่ต้องกลับมาทำอีก และสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน”

]]>
1266369
กสทช.เสนอแนวทางรายงานข่าวตามสื่อ USA “ไม่เสนอภาพ-ไม่ให้พื้นที่สื่อคนร้าย-ไม่รายงานสด” https://positioningmag.com/1263786 Mon, 10 Feb 2020 06:45:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263786 เลขาธิการ กสทช. เผยแนวทางการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนอเมริกาและหลักการนำเสนอข่าวขององค์การอนามัยโลก กรณีเหตุการณ์กราดยิง และเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พร้อมเสนอบอร์ด กสทช. พิจารณา เพื่อใช้เป็นแนวทางการนำเสนอข่าวในลักษณะนี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า

จากกรณีที่มีสื่อมวลชนบางรายนำเสนอรายงานสดเหตุการณ์ที่คนร้ายกราดยิง รวมถึงการรายงานแผนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติการจับกุมคนร้ายที่ จ.นครราชสีมา สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความเสียหายจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ในลักษณะดังกล่าว

เมื่อได้ศึกษาข้อมูลที่มีการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะเดียวกันของสื่อมวลชนในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา กรณีเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ และหลักการนำเสนอข่าวสารลักษณะนี้ของสื่อมวลชนที่องค์การอนามัยโลกได้เคยให้ไว้ พบว่า

หลายประเทศมีการเลิกนำเสนอรูปคนร้ายในสื่อ เลิกการรายงานสดเหตุการณ์ ยกเลิกการนำเสนอคลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ แล้ว

เพราะในต่างประเทศมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา และอาชญาวิทยา ออกมาเตือนถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบนี้ว่านำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ ซึ่งจากผลการศึกษาจำนวนมากพบว่า ข้อสันนิษฐาน ข้อสังเกตที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา และอาชญาวิทยาเหล่านั้น ออกมาเตือนนั้นเป็นความจริง

นายฐากร กล่าวว่า ผมเห็นด้วยกับแนวทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลกข้างต้น ที่การนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ควรมีการนำเสนอภาพคนร้าย รายละเอียด แผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ เพราะการนำเสนอข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จะทำให้คนร้ายทราบข้อมูลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่งผลกระทบให้เจ้าหน้าปฏิบัติงานได้ยากขึ้น ทำเหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

และไม่ควรนำเสนอข่าวถี่จนเกินไป ไม่ควรลงข่าวโดยใช้พาดหัวตัวโตๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่นำเสนอข่าวดัดแปลงให้มีลักษณะน่าตื่นเต้น เร้าใจ ไม่ชี้แจงรายละเอียด ลงลึกในรายละเอียดทุกขั้นตอนว่าฆ่าตัวตายยังไง ไม่ลงรูป หรือลงคลิปมาก โดยเฉพาะกรณีการนำเสนอข่าวบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าวมากเป็นพิเศษ

นอกจากนั้นยังไม่ควรลงชื่อคนร้ายในสื่อ หรือลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าให้พื้นที่สื่อกับคนร้าย อย่าขุดคุ้ยเรื่องราวของคนร้ายมานำเสนอ ให้คนสนใจ ตื่นเต้น จนเกินเหตุ เพื่อให้ขายข่าวได้ และอย่าลงการแถลงคำพูด คำสารภาพผิดของคนร้าย ต้องไม่ให้ความสำคัญกับคนร้าย จนคนร้ายกลายเป็นฮีโร่ และจะนำแนวทางดังกล่าว เสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการทำข่าวลักษณะนี้ต่อไป

นายฐากร กล่าวว่า จากเหตุการณ์การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนบ้านเราบางช่อง โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์บางสถานี ตั้งแต่ครั้งนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของ อาจารย์สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง จนกระทั่งการรายงานสดเหตุการณ์กราดยิงที่ จ.นครราชสีมาในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ กระทบต่อจิตใจของประชาชนผู้รับชมข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ โดยมองแบบผิดๆ ว่าเป็นฮีโร่ การกระทำดังกล่าวทำให้ตัวเองโด่งดังได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมไทยได้ ผมเห็นว่า เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก และสังคมไทยไม่ควรเกิดเหตุการณ์การสูญเสียเช่นนี้อีกแล้ว การนำเสนอข่าวสารต่างๆ ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ เปลี่ยนมุมมองใหม่ ไม่ใช่นำเสนอในแนวที่เสมือนให้ผู้ชมอยู่ในเหตุการณ์อย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงผลจากการนำเสนอข่าวสารในรูปแบบนั้นๆ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างด้วย

ดังเช่นกลยุทธ์การนำเสนอข่าวของสหรัฐอเมริกา อย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าสื่อมวลชนบ้านเราควรนำมาปรับใช้ คือ การกระทำของคนร้ายในแง่ลบเสมอ และเน้นย้ำถึงความน่าอับอายและขี้ขลาดของการกระทำของคนร้าย อย่าลงข่าวถึงเหตุผล หรือตรรกะ จนละเอียดยิบว่าทำไมคนร้ายลงมือก่อเหตุ เพราะคนร้ายคนต่อๆ ไป มันจะรู้สึกว่าเรื่องราวที่ดู หรืออ่านจากการนำเสนอข่าวคล้ายกับตัวเอง และอย่านำเสนอข่าวเหตุการณ์เช่นนี้นานไป อย่ามีการนำเสนอคลิปเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ควรนำเสนอข่าวสั้นๆ กระชับ และอย่านำเสนอข่าวในรูปแบบอนิเมชั่น หรือนำเสนอเป็นรายงานข่าว จำลองเหตุการณ์ให้ดูซ้ำแล้วซ้ำอีก จนอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

อ้างอิง : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5296697/

https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259

https://www.latimes.com/california/story/2019-08-11/mass-shooters-seek-notoriety-in-media

https://psmag.com/social-justice/does-naming-the-shooter-in-the-media-lead-to-more-mass-violence

]]>
1263786