กสิกรไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Jan 2024 07:13:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KAsset เปิดตัวพันธมิตรใหม่ “เจ.พี. มอร์แกน” เติมเต็มกองทุนรวมประเภท Multi Asset Fund ให้ลูกค้าชาวไทย https://positioningmag.com/1458218 Wed, 10 Jan 2024 09:49:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458218 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย (KAsset) ได้เปิดตัวพันธมิตรใหม่ซึ่งเป็น บลจ. ระดับโลกอย่าง “เจ.พี. มอร์แกน” โดยการผนึกกำลังครั้งนี้เน้นไปยังกองทุนรวมประเภท Multi Asset Fund ให้ลูกค้าชาวไทย และยังรวมถึงผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ที่เตรียมนำเสนอให้กับลูกค้าในอนาคต

KAsset ได้ประกาศเปิดตัวพันธมิตรใหม่ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) โดยความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่ายนั้นไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ที่เตรียมนำเสนอให้กับลูกค้าในอนาคต การให้คำแนะนำด้านการลงทุนแก่นักลงทุนชาวไทย ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง บลจ.

ความร่วมมือดังกล่าวนั้นชี้ให้เห็นโอกาสของตลาดกองทุนรวม หรือแม้แต่การบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยยังเปิดกว้างอีกมาก

แดน วัตกินส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ.พี.มอร์แกน แอสเซท แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ทีมงานของ JPMAM รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ KAsset ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้นักลงทุนไทย โดยมองว่าตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่มีความคึกคักและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMAM ยังได้กล่าวเสริมว่า “ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั่วโลกของ JPMAM ทำให้พวกเรามีความพร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันการลงทุนที่ได้มาตรฐานระดับโลกให้ผู้ลงทุนไทย และเป็นการเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจของ JPMAM ไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าที่มีการลงทุนในกองทุนรวมเกือบ 1 ล้านราย (ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2023) และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง KAsset และ JPMAM ตั้งแต่การบริหารจัดการไปจนถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตรงความต้องการของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย จะช่วยยกระดับประสบการณ์การลงทุนของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

อดิศร เสริมชัยวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร KAsset กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ JPMAM ถือเป็นการยกระดับการให้บริการของเรา ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การให้บริการด้านที่ปรึกษาการลงทุน รวมถึงตอบโจทย์ Pain Point ของนักลงทุนในช่วงตลาดผันผวน

ผู้บริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย (ที่ 1-2 จากด้านซ้าย) และ เจ.พี.มอร์แกน แอสเซท แมเนจเม้นท์ (ที่ 1-2 จากด้านขวา) – ภาพจาก KAsset

ผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นความร่วมมือสำคัญก็คือกองทุนรวมประเภท Multi Asset Fund ซึ่งมีการลงทุนในหลายสินทรัพย์ในกองทุนเดียว ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในหลากหลายตลาดหุ้นทั่วโลก ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งประธานกรรมการบริหาร KAsset ชี้ว่าสัดส่วนของนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนประเภทนี้ในต่างประเทศมีสัดส่วนมากถึง 20% ในขณะที่ประเทศไทยนั้นถือว่าสัดส่วนนั้นน้อยมาก

ประธานกรรมการบริหาร KAsset ยังกล่าวเสริมว่า JPMAM ถือเป็นพันธมิตรที่จะเข้ามาเติมเต็ม โดยนำเสนอกองทุนในรูปแบบ Multi Asset Fund ที่มีจุดเด่นในการลงทุนสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่ดี และมีผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่งโดยที่ผ่านมาอยู่ระดับ 3-4% ต่อปี

ทางด้านความร่วมมือด้านองค์กรนั้นมีตั้งแต่การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง 2 องค์กร หรือแม้แต่การใช้ข้อมูลจาก JPMAM นำเสนอให้กับลูกค้าของ KAsset เพื่อจะทำให้เห็นภาพรวมในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมามีข่าวลือหลายครั้งเกี่ยวกับอนาคตของ KAsset ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขายกิจการ หรือแม้แต่หาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้ชี้แจงในประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้มุมมองของธนาคารฯ นั้นมองว่าธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคาร

ขณะที่โมเดลการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ JPMAM เฉกเช่นการจับมือของ KAsset มีหลายประเทศด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในแอฟริกาใต้ โดยผู้บริหารของ JPMAM ชี้ว่าการจับมือรอบนี้แม้จะไม่ใช่ครั้งแรก แต่โมเดลในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ก็จะนำมาใช้ในประเทศไทยเช่นกัน

ความร่วมมือดังกล่าวนี้ KAsset ตั้งเป้าหมายมีสินทรัพย์จากการลงทุนในกองทุน Multi Asset Fund มากถึง 100,000 ล้านบาทใน 3 ปี และคาดว่าจะยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมหลังจากนี้ด้วย

]]>
1458218
กสิกรไทยร่วมผลักดัน ASEAN taxonomy ผ่านการประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน https://positioningmag.com/1444261 Fri, 15 Sep 2023 10:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444261

กสิกรไทยเป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย ร่วมการประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council Summit Week) เมื่อต้นเดือนกันยายน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และร่วมการเสวนาหัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future แลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) พร้อมเชิญชวนกลุ่มประเทศอาเซียนจับมือกันทำเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Decarbonization ให้เป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค สร้างมาตรฐานร่วมกัน ผลักดันการเกิด ASEAN Taxonomy

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย เข้าร่วมงานสัปดาห์การประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยภายในงานมีกิจกรรม การประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit หรือ ABIS 2023) ที่จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “ASEAN Centrality: Innovating Towards Greater Inclusivity” มีตัวแทนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ ผู้นำ และผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจทั่วโลกกว่า 2,000 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้นำธุรกิจได้มีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับผู้กำหนดนโยบาย

นอกจากนี้ ธนาคาร ยังได้เข้าร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) รวมถึงแนวทางการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้านการธนาคาร ที่จะผลักดันให้ธนาคารและลูกค้าทุกภาคส่วน คำนึงถึงการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยแสดงมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกชนิด อื่น ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ หรือ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศในการปรับตัว ทั้งด้านการเงิน ความสามารถทางเทคโนโลยี และองค์ความรู้ ประเทศที่มีความพร้อม เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศจีน จะเป็นผู้กำหนดแนวทางและกฎเกณฑ์ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนมากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความพร้อมที่แตกต่างกัน แต่ยังพึ่งพากันได้ดีผ่านการค้าและการลงทุน ด้วยมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN intra-trade) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 23%

ภายใต้บริบทดังกล่าว กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถหาโอกาสใหม่ ๆ ร่วมกัน โดยการสร้างความร่วมมือเพื่อทำให้ Decarbonization เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในระดับภูมิภาค (Regional Progressive Dialogue) และสอดรับกับพลวัติการค้าการลงทุนที่เกิดขึ้น โดยการสร้างมาตรฐานการทำงานด้าน Decarbonization เดียวกัน ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) ที่แต่ละประเทศสามารถเติมเต็มแหล่งทรัพยากรซึ่งกันและกันได้ และโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน (Soft Infrastructure) เช่น การกำหนดให้มี ASEAN Taxonomy ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องของ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียน แล้ว จะสามารถทำให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในระดับเวทีโลกเช่นกัน

ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบันของภาคธุรกิจในอาเซียน เรื่องการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ (Large Corporates) มีความสามารถในการปรับตัว และปฏิบัติตามกติกาในระดับนานาชาติได้อย่างทันท่วงที ด้วยความพร้อมด้านทรัพยากร เทคโนโลยี เงินทุน และความรู้ ขณะที่กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ต้องมีการช่วยเหลือจากรัฐบาลและธนาคาร หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multi Development Banks) เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเอาตัวรอดได้ สุดท้ายในส่วนของกลุ่มลูกค้ารายย่อย ก็ต้องมีการผลักดันให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างแนวคิดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดระบบคุณค่าใหม่ (New Value System) ที่จะคอยผลักดันให้เอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

นายพิพิธ กล่าวในตอนท้ายว่า การส่งเสริมการสร้างมาตรฐานร่วมกันด้าน Decarbonization ในภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นการตอกย้ำแนวคิดการทำงานตามหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ของธนาคารกสิกรไทย ที่พร้อมจะก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธนาคารจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและผลักดันลูกค้า ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Decarbonization ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ธนาคารกสิกรไทยมีที่ตั้งอยู่ เพื่อให้เป็นตามนโยบายเป้าหมาย Net Zero Commitment ของแต่ละประเทศต่อไปในอนาคต

]]>
1444261
KBank แยก กสิกร อินเวสเจอร์ เป็นบริษัทใหม่ โฟกัสธุรกิจสินเชื่อกับลูกค้ารายย่อยที่แบงก์เข้าไม่ถึง https://positioningmag.com/1439582 Wed, 02 Aug 2023 09:15:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439582 KBank ประกาศแยก “บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด” หรือ KIV เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการรุกธุรกิจให้บริการการเงินกับลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารเข้าไม่ถึง จากการร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวถึงการดำเนินการของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของบริการจ่ายเงิน บริการสินเชื่อทั้งลูกค้าบริษัทและลูกค้ารายบุคคล บริการด้านการลงทุนและประกัน รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงการแยก บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ KIV นั้นเพื่อสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และมองว่าธุรกิจ KIV มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจของธนาคารใน 4 ด้านในข้างต้น แต่ลูกค้าของ KIV แตกต่างกับธุรกิจของธนาคาร ซึ่งต้องใช้วิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม

โดยเธอได้กล่าวว่าก่อนที่จะมีการเปิดตัว KIV ในวันนี้ได้มีการทดลอง แยกธุรกิจมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อประสบความสำเร็จจึงค่อยแยกตัวออกมา เธอยังได้กล่าวเสริมว่า KIV คือ Game Changer ของ KBank สามารถเป็นแหล่งรายได้ใหม่ และยังทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากกว่าเดิม

ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของ KIV ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยบริษัทที่น่าสนใจเช่น การลงทุนใน Grab ของธนาคาร การร่วมทุนกับ LINE ในชื่อ Kasikorn LINE ที่เป็นเจ้าของ LINE BK การร่วมทุนกับกลุ่มคาราบาวภายใต้ชื่อ KBao เป็นต้น

ข้อมูลจาก KBank

พัชร สมะลาภา Group Chairman ของ บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด ได้กล่าวถึงปัญหาของลูกค้ารายย่อยนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงสินเชื่อได้ ซึ่งเขาให้ข้อมูลว่า 60% ของผู้ขอสินเชื่อนั้นธนาคารไม่แน่ใจว่าจะกลับมาจ่ายเงินหรือไม่ ขณะเดียวกันทางธนาคารเองก็ต้องแบกรับความเสี่ยงจากปัญหาผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้จากการสำรองหนี้

เขาชี้ว่าเป้าหมายของ KIV คือ เพิ่มความสามารถในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ ต้องลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) และลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินงานในการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น

นอกจากนี้ KIV ยังได้อาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล ระบบไอที เงินทุนซึ่งมีต้นทุนการเงินที่ถูกกว่า

พัชรยังชี้ว่ากระบวนการทำงานของ KIV ได้แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้พนักงานเข้ามาตรวจสอบลูกค้าว่ามีตัวตนจริงๆ ไม่ใช้เอกสารปลอม หรือแม้แต่กรณีการปล่อยสินเชื่อกับลูกค้าที่หาเช้ากินค่ำนั้นก็ดูวงเงินที่เหมาะสม ซึ่งผลที่ได้คือ NPL ของ KIV ลดลงมาต่ำแล้ว

ขณะเดียวกันในการร่วมทุนกับพันธมิตรนั้นก็ทำให้ KIV สามารถเก็บเงินจากลูกค้าที่เป็นหนี้เสียได้มากขึ้น ส่งผลทำให้ Credit Cost ลดลง

โดย KIV ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะมีกำไรราวๆ 900-1,000 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายในปี 2026 จะมีมูลค่าของพอร์ตสินเชื่อ 75,000-80,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เท่าเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อในปัจจุบัน และคาดว่าจะมีกำไรมากถึง 4,500-5,000 ล้านบาท

]]>
1439582
KBTG เปิดตัวสำนักงานใหญ่ในเวียดนาม เตรียมปั้นเป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค https://positioningmag.com/1435567 Tue, 27 Jun 2023 08:11:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435567 KBTG ได้เปิดตัวสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งผู้บริหารนั้นมองว่าประเทศเวียดนามนอกจากจะมีเศรษฐกิจเติบโตแล้ว ยังมีศักยภาพในเรื่องทรัพยากรบุคคล โดยเตรียมที่จะปั้นให้เป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 หลังจากนี้

KBTG ได้เปิดตัวสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่ 3 ในทวีปเอเชีย ต่อจากประเทศไทย และประเทศจีน โดยตั้งเป้าเป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 หลังจากนี้ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงประเทศเวียดนามว่ามีเศรษฐกิจโต มีประชากรจำนวนมาก รวมถึงคาดการณ์ภายในปี 2030 ระดับ GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่เพียงเท่านี้เวียดนามยังมีการทำ FTA กับหลายประเทศ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเวียดนามส่งผลต่อธุรกิจธนาคาร และยังส่งผลดีต่อผู้ใช้งานในเวียดนาม

CEO ของธนาคารกสิกรไทยยังได้กล่าวเสริมว่าการก่อตั้ง KBTG Vietnam จะช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Mobile Banking หรือแม้แต่ Digital Lending นอกจากนี้ชาวเวียดนามยังมีความสามารถที่เก่ง ทำให้สามารถพัฒนาประเทศ และนอกประเทศได้ เธอมองว่าการเปิดสำนักงานที่นี่ถือเป็นก้าวใหม่ในการเดินทางของ KBTG ด้วย

นอกจากนี้ขัตติยายังวางเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยนั้นจะเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 พร้อมเป้าหมายการเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามได้ภายในปี 2027

ทักษะคนเวียดนามถือว่าสูงมาก

วรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman ของ กสิกร บิซิเนส- เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวถึง การที่แรงงานของไทยลดลง เวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากนี้ และยังมีคนจบการศึกษาในสาขา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM) ที่มีจำนวนสูงอันดับต้นๆ ในอาเซียน นอกจากนี้ทักษะการเขียนโปรแกรมของคนเวียดนามถือว่าดีอันดับต้นๆ ในภูมิภาค รวมถึงยังมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยด้วย

ผู้บริหารของ KBTG รายนี้ยังกล่าวว่าการที่ KBTG มีบุคลากรมากฝีมือทั้งในประเทศไทย ประเทศจีน รวมถึงประเทศเวียดนาม จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน และยังสามารถดึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนมาประกอบกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคนิค รวมถึงทักษะด้านต่างๆ ที่สำคัญสำหรับองค์กรได้

ชูหลักการ 3S สำหรับสำนักงานในเวียดนาม

ธนุสศักดิ์ ธัญญสิริ Managing Director บริษัท KBTG Vietnam ได้กล่าวถึงหลักการ 3S โดยนำกรณีศึกษาในต่างประเทศหลายแห่งมาใช้ เพื่อที่จะสามารถส่งมอบงานด้านซอฟต์แวร์ให้กับ KBTG ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Speed เขาได้กล่าวถึงว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ KBTG Vietnam สามารถที่จะเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่างการนำ AI มาช่วยในการเขียนโปรแกรม
  2. Scale การเพิ่มขนาดเพื่อรองรับการขยายธุรกิจหรือรองรับความต้องการทั้งด้านไอทีและองค์กร ธนุสศักดิ์ยังได้เล่าถึงการจ้างงานในประเทศเวียดนามเพื่อที่จะทำให้มีทรัพยากรเก่งๆ เข้ามาทำงาน การเปิดสำนักงานในกรุงฮานอยเพื่อรองรับการทำงาน หรือแม้แต่ความร่วมมือกับสำนักงานในประเทศจีน หรือในไทย เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถของ KPlus รองรับการใช้งานของคนเวียดนาม
  3. Sustain ปัจจุบัน KBTG ได้พยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือแม้แต่การพัฒนาบุคคลากร เพื่อที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Positioning เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปิดสำนักงานของ KBTG ในประเทศเวียดนาม

  • KBTG มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะกับคนเวียดนาม ซึ่งหลายอย่างไม่เหมือนในประเทศไทย เช่น ระบบไว้สำหรับไว้ซื้อขายของ โดยทีมงานจะสำรวจว่าคนในท้องที่ต้องการอะไร นอกจากนี้สำนักงานในเวียดนามนี้ยังมีพนักงานเป็นคนท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ มีคนไทยจำนวนไม่มากนัก
  • ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายว่า KPlus Vietnam มีคนใช้งาน 8.4 ล้านคนในปี 2027 จากเป้า 1.3 ล้านคนในปี 2023 และผู้ใช้งาน KPlus รวมกันถึง 100 ล้านคน โดยมองเป็น Regional Digital Bank ไม่ใช่แค่ให้บริการแต่ในประเทศไทยอย่างเดียว
  • KBTG เริ่มหาพนักงานตามเมืองต่างๆ ในเวียดนามเพิ่มขึ้น ล่าสุดผู้บริหารได้กล่าวว่าเริ่มดูเมืองดานังไว้ด้วย หลังจากที่ได้ไปเปิดสำนักงานในกรุงฮานอยมาแล้ว และหลังจากนี้อาจมีการเปิดสำนักงานที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมองถึงศักยภาพที่เหมือนกับประเทศเวียดนามเช่นกัน หลังจากที่ธนาคารกสิกรไทยได้ลงทุนในกิจการของธนาคารแมสเปี้ยน
]]>
1435567
เดอะวิสดอมกสิกรไทย ประสานเสียงกูรู มองจีนมีโอกาสน่าลงทุน หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบและมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน https://positioningmag.com/1425761 Sat, 01 Apr 2023 10:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425761

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นจีนเองจะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีมากนัก รวมถึงตัวเลข GDP จีนที่ต่ำกว่าที่หลายคนคาดไว้ แต่ล่าสุดการเปิดประเทศในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นเรื่องที่ไวกว่าหลายคนคาดไว้ ส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง

โอกาสในการลงทุน หรือโอกาสในการทำธุรกิจ ปัจจัยอะไรที่น่าติดตามหลังจากนี้ Positioning ได้รวบรวมจากงานสัมมนา โอกาสในการลงทุน หรือโอกาสในการทำธุรกิจ ปัจจัยอะไรที่น่าติดตามหลังจากนี้ Positioning ได้รวบรวมจากงานสัมมนา THE WISDOM Investment Forum ที่บริการเดอะวิสดอม ธนาคารกสิกรไทยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการเชิญนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการลงทุนในแต่ละวงการ มาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจและโอกาสการ ลงทุนที่น่าจับตา โดยในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ China Insight Unlock Wealth Opportunity in 2023


ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวเริ่มต้นถึงเศรษฐกิจไทย ในช่วงปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโควิด หรือสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยมี GDP เติบโตแค่ 2.6% สาเหตุหลักที่ชะลอตัวคือภาคการส่งออก ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจโลก แต่หลังจากจีนเปิดประเทศแล้วน่าจะส่งผลมุมมองเชิงบวกหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ ซึ่ง ดร. พิพัฒน์พงศ์ คาดว่าจะมีมากถึง 4.65 ล้านคน

อีกประเด็นที่สำคัญคือไทยนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ขณะเดียวกันจีนยังเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของประเทศไทย และยังรวมถึงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สูงเป็นอันดับ 1 ในปีที่ผ่านมา มูลค่าสูงถืง 77,800 ล้านบาท

แต่สถานการณ์ล่าสุดจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐ จากกรณีของ SVB รวมถึง Credit Suisse นั้น ดร. พิพัฒน์พงศ์ กล่าวว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ ก็ยังสามารถใช้คาดการณ์เดิมที่เศรษฐกิจไทยจะโตถึง 3.7% ได้ โดยพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก


ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย


เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง และได้ประโยชน์หลังจากจีนฟื้นตัว ไม่ห่วงเรื่อง SVB

ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีของ SVB และ Credit Suisse มองว่ายังไม่เป็นความเสี่ยงเชิงระบบ และตลาดน่าจะสงบลงได้ นอกจากนี้เขายังมองว่าในแง่ความผันผวนของตลาดน่าจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีถ้าการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ตลาดผิดหวังก็ย่อมเพิ่มความผันผวนให้กับตลาดอีกรอบ

ขณะเดียวกันความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดการเงินโลกตะวันตก รวมถึงปัจจัยลบจากเรื่อง SVB และ Credit Suisse ก็อาจส่งผลทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในประเทศจีน เนื่องจากมีปัจจัยบวกต่างๆ  จากที่จีนเปิดประเทศ ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นปกติ ก็ทำให้เศรษฐกิจไทยได้ผลบวกด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน

อย่างไรก็ดีถ้าหากกรณีของ  SVB และ Credit Suisse ยังจบไม่ได้ ก็จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก และอาจลามมาที่เศรษฐกิจไทยด้วยได้เช่นกัน แต่ ดร. ดอน ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเข้มแข็ง เนื่องจากมีทุนสำรองที่สูง มีหนี้สาธารณะยังไม่มาก และปัจจุบันเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งกว่าเดิม

ดร. ดอน แนะนำสิ่งที่ต้องจับตามองหลังจากนี้ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยคือแนะนำคือวิกฤตของสถาบันการเงินทั่วโลกจะลุกลามหรือไม่ แต่ก็ยังเชื่อว่าธนาคารไทยยังคงมีความแข็งแกร่งกว่าวิกฤตการเงินในช่วงแฮมเบอร์เกอร์ด้วยซ้ำ

ขณะที่โอกาสของเศรษฐกิจไทยก็คือเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ และยังมีเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่ยังเติบโต มีประชากรที่อายุน้อยที่สูง ไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชา ฯลฯ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะช่วยดึงเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อได้


ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ยุทธศาสตร์ของจีนจะชัดเจนมากขึ้น แตกต่างกับในอดีต

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าถึงรัฐบาลจีนได้ตั้งเป้า GDP ในปีที่เศรษฐกิจจีนดีให้ต่ำกว่าที่คาด โดยยกตัวอย่างในปี 2021 ที่เศรษฐกิจจีนไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด แต่จะตั้งเป้า GDP สูงในช่วงที่เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ต่ำ อย่างเช่นในปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อที่จะปลุกความมั่นใจ

เขามองว่าปีนี้ GDP จีนน่าจะเติบโตได้ตามเป้า แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนหลายอย่าง เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ การล็อกดาวน์ในประเทศจีนทำให้หลายธุรกิจปิดตัวไป รวมถึงปัจจัยภายนอกอย่างกรณี SVB หรือ Credit Suisse ที่อาจฉุดเศรษฐกิจจีนลงมาได้เนื่องจากเศรษฐกิจจีนเน้นภาคการส่งออกเป็นหลัก อย่างไรก็ดีถ้าหากเป็นภาคการเงินแล้ว ดร.อาร์ม มองว่าปัญหาของ SVB และ Credit Suisse จะไม่กระทบกับภาคการเงินจีน เนื่องจากรัฐบาลยังควบคุมดูแลอย่างหนัก ขณะที่การเมืองของจีน ดร.อาร์ม มองว่ายุทธศาสตร์ของจีนจะชัดเจนมากขึ้น และคนจีนจะมองภาพบวกมากกว่า แตกต่างกับในอดีต

นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังส่งสัญญาณจะฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ หลังจากการประชุม 2 สภา โดยให้ความสำคัญกับภาคเอกชน และภาคธุรกิจ รวมถึงกลับมากระตุ้นภาคการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ดร.อาร์ม ชี้ว่าจีนไม่ได้หยุดค้าขายกับต่างประเทศแต่อย่างใด เขาชี้ว่าจีนจะบุกหารายได้จากที่อื่น เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา หรือแม้แต่อาเซียน แทน

เม็ดเงินจะไหลกลับเข้ามาลงทุนในจีนอีกครั้ง

คุณทิวา ชินธาดาพงศ์ นักลงทุนไทย ได้มองถึงโอกาสในการลงทุนในประเทศจีน ซึ่งเขามองโอกาสลงทุนในประเทศจีนระยะยาวว่ายังสดใส แม้ว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นจีนได้ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี เขายังมองว่ารัฐบาลจีนได้วางพื้นฐานของเศรษฐกิจไว้แล้ว และกำลังปราบปรามคอร์รัปชัน ย่อมเป็นโอกาสก้าวกระโดดหลังจากนี้

เขายังมองว่าด้วยระดับกำไรของหุ้นจีน เงินปันผล และในเคสของ SVB ที่มีปัญหาในสหรัฐอเมริกา นั้นทำให้มีโอกาสที่เม็ดเงินจะไหลมาที่หุ้นจีนได้ รวมถึงมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้มาก หรือลดดอกเบี้ยลงมาได้

นอกจากนี้คุณทิวายังมองถึงโอกาสของตลาดผู้บริโภคในประเทศจีนที่กำลังเติบโตหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ไปจนถึงอุตสาหกรรมค้าปลีก หรือแม้แต่ E-commerce แต่ถ้าหากคนทั่วไปที่ไม่อยากลงทุนหุ้นรายตัว ก็สามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมได้


คุณภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย


จีนส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทคขั้นสูง และนวัตกรรมมากขึ้น

คุณภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้ชี้ว่าจีนได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยสังเกตได้จากร้านอาหารนั้นแทบจะไม่มีโต๊ะว่าง และมีการทำธุรกิจแทบจะปกติแล้ว นอกจากนี้จีนยังเน้นเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโต รวมถึงหารายได้จากประเทศที่เป็นมิตรกับจีนมากขึ้น

ในเชิงของ KBank นั้นเขากล่าวว่าจะลงทุนในประเทศจีนมากกว่าเดิม และให้มุมมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีที่สุดของประเทศจีน เนื่องจากชาวจีนมีเงินออมในช่วง 3 ปีเยอะมาก เขาเชื่อว่าชาวจีนจะมาไทยเพิ่มมากขึ้น แต่ต้องให้เวลาอีกสักพัก

นอกจากนี้คุณภัทรพงศ์ ยังได้ชี้ว่าจีนกำลังจะเปลี่ยนเกมโดยการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการผลักดันโดยรัฐบาลในเรื่องนวัตกรรม ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลจีนยังจะส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทคขั้นสูง (Deep Technology) ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี 5G เรื่องของ AI ไปจนถึงการผลิตชิป ซึ่งหลังจากนี้เราจะเห็นเทคโนโลยีเหล่านี้ของประเทศจีนจะออกสู่ท้องตลาดมากยิ่งขึ้น

คุณภัทรพงศ์ให้คำแนะนำภาคธุรกิจไทยว่าให้เริ่มค้าขายกับจีนก่อน จนเริ่มเข้าใจประเทศจีนแล้ว ค่อยเริ่มเข้าไปเจาะตามเมือง หรือหาพาร์ตเนอร์ที่เชื่อถือได้ในจีน โดยทางธนาคารได้เชื่อมโยงการชำระเงินให้ง่ายและสะดวกต่อคนที่ทำธุรกิจในจีนมากที่สุด

]]>
1425761
ส่องกลยุทธ์ KBank World Business Group กับเป้าหมายระยะยาวในปี 2027 ในตลาด AEC+3 https://positioningmag.com/1420250 Thu, 23 Feb 2023 11:00:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420250

ในปี 2022 ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจโลกประสบปัญหาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ความผันผวนของตลาดการเงินที่ไม่เป็นใจ แม้ว่าโลกจะอยู่ในช่วงเวลาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม หรือแม้แต่เรื่องสำคัญอย่างความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็มีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมไม่เติบโตเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดีในปีที่ผ่านมามีหนึ่งในภูมิภาคที่ยังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจนั่นก็คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนนั่นเอง และหนึ่งในหน่วยงานของธนาคารกสิกรไทย นั่นก็คือ KBank World Business Group ซึ่งเป็น หน่วยงานสำคัญในการขยายธุรกิจธนาคารและกิจการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศของธนาคารฯ ก็ได้ไปลงทุนในอาเซียน รวมถึงประเทศจีนด้วย

Positioning จะพาไปดูกันว่าความสำเร็จในปี 2022 ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง กลยุทธ์อะไรที่ทำให้ KBank World Business Group ประสบความสำเร็จ รวมถึงเป้าหมายระยะยาวในปี 2027


ผลงานในปี 2022 ที่ผ่านมา

ในปี 2022 ที่ผ่านมา KBank World Business Group ได้สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากธุรกิจต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีลูกค้าอยู่มากถึง 2.1 ล้านรายทั่วภูมิภาค จากปัจจัย ในการขยายธุรกิจและการดำเนินงานที่มุ่งสร้างคุณค่าและการเติบโตให้กับผู้คนในทุกประเทศทั่วภูมิภาคที่ธนาคารเข้าไปทำธุรกิจ

สำหรับผลการดำเนินงานนั้น KBank World Business Group  ทำรายได้ไปถึง 4,072 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่นั้นมาจาก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รองลงมาคือประเทศจีน ไม่เพียงเท่านี้รายได้ดังกล่าวยังเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 9% ทำให้ปี 2022 มีการส่งมอบรายได้สุทธิ (Net Total Income-NTI) ให้ธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% ไม่เพียงแค่ในเรื่องรายได้เท่านั้น ในปีที่ผ่านมา KBank World Business Group ในประเทศกัมพูชายังคว้ารางวัลองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานที่สุดในเอเชีย หรือ HR Asia Best Companies To Work For In Asia 2022 (Cambodia Edition) อีกด้วย

อีกปัจจัยสำคัญก็คือการให้พนักงานให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ KBank ให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศที่ธนาคารได้เข้าไปทำธุรกิจ


ปัจจัยของความสำเร็จ 5 ข้อ 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ KBank World Business Group สามารถเอาชนะเป้าหมายที่วางไว้  คือกลยุทธ์ที่ผลักดันให้พนักงานสามารถทำงานและเติบโตได้อย่างไร้ขอบเขตเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Play to Win – การมีทีมที่มีความสามารถ มีความหลากหลาย ด้วยแนวคิดที่พร้อมเดินหน้าไปสู่เป้าหมายด้วยกัน โดยได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรให้กับทีมงานเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. Prudent Project Management – การบริหารโปรเจ็กต์อย่างรอบคอบ ไม่ใช่การคำนึงถึงโอกาสเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการมองถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกันในอนาคต
  2. Resource Management – การบริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมกับธุรกิจและเกิดประโยชน์สูงสุด
  3. Agile Management – การทำงานแบบ Agile โดยเปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองผิดลองถูกในงาน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเองในหน้างานจริง
  4. Sustainability – การมีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจและส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าและสังคมเพื่อจะเป็นธนาคารที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้พนักงานให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ KBank ให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศที่ธนาคารได้เข้าไปทำธุรกิจผ่าน KBank World Business Group อีกด้วย

เป้าหมายในปี 2023 ของ KBank World Business Group คือการส่งมอบรายได้สุทธิ ให้ธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 4%


มองเป้าหมายปี 2023 รวมถึงเป้าหมายระยะยาวในปี 2027

แม้ว่าในปี 2023 นี้จะมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมของการแข่งขันภายในประเทศ การเกิดและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมใหม่การเติบโตของเทคโนโลยีแห่งอนาคต รวมถึงสถานการณ์ตลาดแรงงาน แต่ KBank World Business Group ยังคงตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องผ่านการขยายธุรกิจในทุกประเทศและตั้งเป้ารายได้สุทธิที่ท้าทายยิ่งขึ้นในส่วนของแนวทางการดำเนินธุรกิจ Regional Business ยังคงมุ่งมั่นขยายธุรกิจในตลาด AEC+3 เพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค (A Regional Bank of Choice) โดยเน้นขยายธุรกิจในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชาและสปป.ลาว ผ่านการพัฒนาบริการบนดิจิทัล ที่จะช่วยให้ลูกค้าในภูมิภาคนี้มีชีวิตที่ดีขึ้นจากบริการทางการเงิน เช่น บริการ K PLUS ในประเทศเวียดนามขณะที่ประเทศจีนยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าด้วยแนวคิด “Better Me” “Better SME” “AEC Connectivity” และ “ESG” ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นว่าธุรกรรมทางการเงินจากอาเซียนกับประเทศจีนนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับปริมาณการค้าของทั้งอาเซียนและประเทศจีน ขณะเดียวกันในเรื่องของ ESG นั้น ธนาคารกสิกรไทยเองก็เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ต้องการเห็นหลายภาคส่วนในประเทศไทยก้าวเดินไปสู่เรื่องของความยั่งยืนมากขึ้น

ไม่เพียงแต่เป้าหมายทางธุรกิจ แต่ทีมงานก็เป็นอีกกำลังสำคัญ โดย KBank World Business Group มีแผนขยายทีมงานกว่าเท่าตัว เป็น 1,600 คนภายในปี 2023 ซึ่งนอกจากการขยายพนักงานที่เป็นคนไทยแล้ว ยังรวมถึงพนักงานต่างชาติในประเทศต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันแบบ Agile  ทำให้เกิดความคล่องตัว เปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองสิ่งใหม่ ด้วยการ Fail Fast, Fail Forward และเรียนรู้ไปพร้อมกันจากการลงมือทำจริงในตลาดแต่ละประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตร่วมกันพร้อมส่งมอบผลงานที่มีคุณค่าสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับลูกค้า สังคม และตนเองได้ ผ่านแนวคิด World of Borderless Growth ให้ทุกคนเติบโตไปอย่างไร้ขอบเขต

และด้วยกลยุทธ์ 5 ข้อที่กล่าวไปข้างต้น การผนึกกำลังของพนักงานทุกคน  ทำให้ KBank World Business Group เดินหน้าต่อไปในภูมิภาคนี้เพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค ซึ่งในปี 2027 นั้นธนาคารต้องการที่จะติด Top 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในเวียดนามและอินโดนีเซียให้ได้

สนใจร่วมทีม KBank World Business Group ได้ที่ลิ๊งก์นี้ 
https://kbankwbg.co/3I7xHLj

ติดตามความเคลื่อนไหวของทีม KBank WBG ได้ที่ 
https://m.facebook.com/KBANKWBG/

]]>
1420250
กสิกรไทยเปิดแผน “KBank ESG Strategy 2566” พร้อมผสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1409532 Thu, 24 Nov 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409532

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราจะเห็นข่าวพายุที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฝนตกหนักมากขึ้นในหลายพื้นที่แบบไม่เคยเป็นมาก่อน หรือแม้แต่คลื่นความร้อนที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเหลื่อมล้ำ การที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการต่างๆ ฯลฯ หลายปัญหาที่ยังต้องแก้ไขในระยะยาว

สถาบันการเงินเองก็ต้องปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจจากปัจจัยเหล่านี้เช่นกัน

แต่หลายคนอาจสงสัยว่าสถาบันการเงินนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) หรือเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สถาบันการเงินถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โลกเรานั้นดีขึ้นได้

เราจะเห็นข่าวว่าหลายสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนนโยบายแทบจะพลิกฝ่ามือ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยเริ่มมองปัจจัย ESG หรือแม้แต่ผู้จัดการกองทุนก็ให้ความใส่ใจในเรื่อง ESG โดยนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการลงทุนด้วย

ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเองก็เป็น 1 ในสถาบันการเงินที่ต้องการเห็นหลายภาคส่วนในประเทศไทยก้าวเดินไปสู่สภาวะแวดล้อมที่ดีมากขึ้น รวมถึงเรื่องของความยั่งยืน

Positioning จะพาไปดูว่าธนาคารกสิกรไทยวางกลยุทธ์ในเรื่องดังกล่าวยังไง


คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวว่าปัจจุบัน ESG เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก และลูกค้าของธนาคารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างสนใจในเรื่องนี้อย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเขาได้ยกตัวอย่างว่ากองทุนจากต่างประเทศได้สอบถมนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง ESG ของธนาคารอย่างเข้มข้น แตกต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่มักสอบถามถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจ หรือเป้าหมายการทำกำไร

นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศเริ่มหันมาออกมาตรการภาษีด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีคาร์บอน ฯลฯ ฉะนั้นแล้วถ้าหากธนาคารกสิกรไทยไม่สนใจเรื่อง ESG  หรือแม้แต่ลงมือทำช้าไป ตัวของธนาคารเองก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

ธนาคารกสิกรไทยเป็นอีกสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการวางยุทธศาสตร์เรื่องการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการ ESG โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินงานตามหลักการและมาตรฐานสากล

กลยุทธ์ด้าน ESG ของธนาคารกสิกรไทยใน 3 ด้านของปี 2566  (KBank ESG Strategy 2566) ประกอบด้วย

ด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) จากการดำเนินงานของธนาคารภายในปี 2573 โดยธนาคารได้วางแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น การปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทยอยปรับเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคารให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า การทยอยติดตั้งแผงโซลาร์บนดาดฟ้าของอาคารสำนักงานและสาขาของธนาคารที่มีพื้นที่เป็นของตนเอง

KLOUD by KBank หนึ่งในอาคารที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์

ขณะที่พอร์ตสินเชื่อของธนาคาร เริ่มมีการประเมินในเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงจัดทำแผนกลยุทธการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมกลุ่มแรกที่ทางธนาคารได้เริ่มดำเนินการเข้าไปวางแผนในการป รับเปลี่ยนร่วมกับลูกค้าแล้วคือ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและกลุ่มเหมืองถ่านหิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร (Portfolio Emission) และเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ตามลำดับ

คุณกฤษณ์ ยังได้กล่าวถึงโครงการใช้แนวความคิดแบบ Win-Win ในเรื่องพลังงานสะอาดอย่าง SolarPlus ซึ่งช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าไฟและได้ใช้ไฟจากแหล่งพลังงานสะอาด และยังสามารถขายไฟในส่วนที่เหลือคืนให้กับธนาคารได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การให้สินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ไปจนถึงการที่ธนาคารได้ส่งเสริมการเช่าใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า EV Bike สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายมากขึ้น และช่วยให้ไรเดอร์กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสในการประกอบอาชีพด้วยต้นทุนต่ำ เนื่องจากสามารถเช่า EV Bike ได้ในราคาถูก

สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ EV Bike ในพื้นที่สาขาของธนาคาร

ด้านสังคม คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงเรื่องทำให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้นยังไง โดยเฉพาะสินเชื่อของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกระบวนการขอสินเชื่อที่ทำได้รวดเร็วมากขึ้น เกิดผลลัพธ์ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยสินเชื่อให้คนตัวเล็กกว่า 5 แสนรายในปี 2565 และตั้งเป้าในปี 2568 จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ 1.9 ล้านราย

นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ความเข้าใจความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับลูกค้า ซึ่งเราจะเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว เช่น คอลเซ็นเตอร์จากต่างประเทศที่หลอกลวงเงินลูกค้า โดยธนาคารตั้งเป้าในการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจด้านการเงินและไซเบอร์แก่ลูกค้า 10 ล้านรายในปี 2566 รวมถึงยกระดับการให้บริการที่ปลอดภัย และดูแลอย่างทันท่วงที ด้วยบริการของธนาคารที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง

ด้านธรรมาภิบาล คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงประเด็นหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อตามหลัก ESG เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่อยไปไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และป้องกันประเด็นการฟอกเขียว (Greenwashing) โดยธนาคารได้มีการกำหนดให้ทุกสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% โดยข้อมูล 9 เดือนแรกของปี 2565 มีสินเชื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวไปแล้วกว่า 340,000 ล้านบาท

นอกจากนี้คุณกฤษณ์ยังได้กล่าวว่า ภารกิจด้านความยั่งยืนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงอยากเชิญชวนให้ทุกฝ่ายมาแข่งขันกันในเรื่อง ESG นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และเขาได้ย้ำว่าหลายฝ่ายเองก็ต้องจับมือเดินไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างๆ รัฐบาล หรือแม้แต่หน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะประสานความร่วมมือดังกล่าว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับของธนาคารและระดับโลก

]]>
1409532
เมื่อ ถูกดี มีมาตรฐาน พลิกโฉมเป็นร้านสะดวกซื้อของชุมชนที่ทำให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการการเงินได้ง่ายและสะดวก https://positioningmag.com/1394408 Tue, 02 Aug 2022 04:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394408

ในอดีตสำหรับร้านโชห่วยเองถือว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่ปัจจุบันร้านโชห่วยเองกลับถูกทอดทิ้ง และเราจะเห็นว่าผู้ประกอบการร้านโชห่วยเองก็ประสบกับปัญหาในการดูแลและจัดการร้านอย่างมาก รวมถึงต้นทุนในการบริหารร้านค้าเองก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ต้องปิดตัวลงเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดีเรื่องนี้กลับกลายเป็นอดีตไปแล้ว

เมื่อความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคาราบาวกับธนาคารกสิกรไทย กำลังจะทำให้ร้านโชห่วยกลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กับคนฐานรากของสังคม

Positioning จะพาไปดูว่าความร่วมมือระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่นี้จะช่วยพลิกฟื้นร้านโชห่วย และยังทำให้ประชาชนฐานรากเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างไรหลังจากนี้

“ถูกดี มีมาตรฐาน” ร้านโชห่วยที่ถูกพัฒนาศักยภาพ เป็นร้านสะดวกซื้อของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

 Positioning ได้พูดคุยกับเจ้าของร้านโชห่วยที่ก่อนจะมาเป็นพาร์ทเนอร์กับร้าน ถูกดี มีมาตรฐาน โดยหลายคนเปิดเผยว่าในการเปิดร้านโชห่วยนั้นประสบปัญหาหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสต็อกสินค้าที่ต้องออกเงินก่อน ขณะเดียวกันต้องเก็บสินค้าและไม่รู้ว่าสินค้าจะขายหมดเมื่อไหร่ หลายครั้งทำให้ต้นทุนต้องจม นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่ไม่ทราบว่าความต้องการสินค้าของคนในชุมชนนั้นคืออะไร ก็อาจทำให้ร้านโชห่วยเองอาจขายสินค้าได้ไม่ดี

สิ่งที่ร้านถูกดี มีมาตรฐาน แตกต่างจากโชห่วยแบบเดิมๆ คือ ไม่ต้องนำเงินไปจมกับสต็อกสินค้า พร้อมทั้งติดตั้งระบบเครื่อง POS ที่เชื่อมต่อกับทางทีดี ตะวันแดง ทำให้ทราบได้ว่าสินค้าไหนขายดี และสามารถรู้สต็อกเพื่อจัดส่งสินค้าเมื่อสต็อกถูกขายออกไป และยังมีการให้คำปรึกษาจากทาง ทีดี ตะวันแดง ด้วย

นอกจากนี้ ร้านถูกดี มีมาตรฐาน ได้เพิ่มระบบสมาชิกเข้ามา ยิ่งทำให้ลูกค้าของร้านมีสิทธิ์สะสมคะแนน หรือได้ส่วนลดจากทางร้านค้าในอนาคต ทางด้านของร้านค้าเองก็จะทราบถึงความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ทำให้สามารถลงสินค้าในแต่ละร้านให้ถูกใจคนในชุมชนได้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับโมเดลของร้านถูกดี มีมาตรฐาน ไม่ใช่การผูกขาดอย่างที่หลายคนกังวล เนื่องจากโมเดลของร้านนั้นเป็นการแบ่งส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 85-15 นั่นก็คือทางร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ได้กำไรไป 85% ขณะที่ทีดี ตะวันแดงได้ส่วนแบ่งซึ่งเป็นค่าบริหารจัดการเพียงแค่ 15% โดยที่ร้านค้าพาร์ทเนอร์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนให้กับบริษัทฯ

ปัจจุบันร้านถูกดี มีมาตรฐานมีจำนวนร้านค้าที่เปิดไปแล้วทั้งสิ้นราวๆ 5,000 ร้าน โดยตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าให้ได้ถึง 30,000 ร้านค้าทั่วประเทศภายในปี 2567

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด (ขวา)


เมื่อร้านถูกดี มีมาตรฐานกำลังจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน 

คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ได้กล่าวว่า ในการพัฒนาร้านถูกดี มีมาตรฐาน นั้น บริษัทไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายให้ร้านถูกดี มีมาตรฐาน เป็นเสมือน “แพลตฟอร์ม”และ “โครงข่าย” นอกจากนี้เมื่อร้านถูกดี มีมาตรฐานกลายเป็นศูนย์กลางชุมชนนอกจากเรื่องค้าปลีกแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางที่จะทำให้ ผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก อาทิ บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร ฯลฯ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนในชุมชนนั้นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไม่ถึง แต่ทำให้ชุมชนเหล่านี้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น

ลองนึกภาพว่าร้านถูกดี มีมาตรฐานในชุมชน สามารถที่จะทำธุรกรรมรับฝากเงิน เปิดบัญชีธนาคาร หรือแม้แต่จ่ายบิล ที่แต่เดิมอาจต้องเดินทางไปทำธุรกรรมต่างพื้นที่ เนื่องจากไม่มีผู้ให้บริการในเรื่องนี้ ซึ่งทำให้เสียเวลา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยซ้ำ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเข้มแข็งขึ้นมา จึงเกิดความร่วมมือดังกล่าวขึ้น ซึ่งแต่ละฝ่ายมีจุดแข็งแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นฝั่งของทีดี ตะวันแดงที่ทำแพลตฟอร์มถูกดี มีมาตรฐาน และกำลังขยายร้านค้าไปทั่วประเทศ ขณะเดียวกันธนาคารกสิกรไทยเองก็มีจุดแข็งในการเป็นสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง มีนวัตกรรมใหม่ๆ และยังเห็นโอกาสที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากกว่านี้

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการจับมือระหว่าง 2 องค์กร นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทยยัง ได้ลงทุนกับกลุ่มทุนคาราบาวเป็นเงินมากถึง 15,000 ล้านบาทด้วย


คนในพื้นที่จะได้ใช้บริการทางการเงินจากธนาคารกสิกรไทยได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยกับกลุ่มคาราบาวที่รวมถึง ทีดี ตะวันแดง ยิ่งทำให้ภายในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะเห็นบริการทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยนั้นเข้าไปตามชุมชนมากยิ่งขึ้น

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การร่วมลงทุนกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจ คาราบาว เป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ตั้งใจพัฒนาร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ทุกคนที่อยู่ในวงจรของไล่ตั้งแต่เจ้าของร้านคู่ค้า ชาวบ้านในชุมชน สามารถจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยความร่วมมือนี้จะทำให้ธนาคารมีจุดบริการเคแบงก์ เซอร์วิส เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 จุด จากเดิมที่มีจำนวนกว่า 27,000 จุด

นอกจากนี้ความร่วมมือดังกล่าวยังทำให้ประชาชนฐานรากนั้นสามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้นและจะตอบโจทย์ที่ว่าการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ส่งผลทำให้หลายคนเองต้องไปใช้เงินกู้นอกระบบแทนซึ่งพื้นที่ห่างไกลหลายแห่งนั้นมีเรื่องราวแบบนี้จริง ซึ่งในช่วงแรกพาร์ทเนอร์ของถูกดี มีมาตรฐาน จะช่วยกับธนาคารในการปล่อยสินเชื่อ และในช่วงเริ่มต้นบริการสินเชื่อนั้นคุณเสถียรได้กล่าวว่าอาจเริ่มต้นที่ 5 ถึง 10 ราย ในไม่กี่สาขาทั่วประเทศ ก่อนที่จะขยายเพิ่มมากขึ้น

คุณพัชร ยังชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือดังกล่าวนี้ไล่ตั้งแต่เจ้าของร้าน คู่ค้า ชาวบ้านในชุมชน สามารถจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างรายได้หมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน

ท้ายที่สุดแล้วสำหรับความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้สินค้าคุณภาพดี แม้ต่อให้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็ตาม ขณะเดียวกันยังทำให้ประชาชนระดับฐานรากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนั้นสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน หรือแม้แต่สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งทำให้โอกาสที่ชาวบ้านจะไปใช้บริการของเงินกู้นอกระบบลดลง และเมื่อชาวบ้านระดับฐานรากเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในชุมชนเองหมุนเวียน สร้างโอกาสและการพัฒนาใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้านถูกดี มีมาตรฐาน คลิก https://bit.ly/3ayuAzd

]]>
1394408
‘กสิกรไทย’ กับกลยุทธ์การเติบโต ฉบับ ‘THE METAMORPHOSIS’ พัฒนาเทคโนโลยี จับโอกาสตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1367289 Fri, 17 Dec 2021 04:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367289

ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการปรับตัวที่โดดเด่นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแตกต่างของ ‘ธนาคารกสิกรไทย’ (KBank) ที่สร้างปรากฏการณ์มาหลายครั้ง

ความเคลื่อนไหวล่าสุดกับการประกาศยกทัพบุกตลาดภูมิภาค ด้วยแนวคิด “THE METAMORPHOSIS” กลายร่างธนาคาร ให้เติบโตมากกว่าเดิมแบบ “ไร้ขีดจำกัด ไร้รอยต่อ และไร้ขอบเขต” น่าสนใจยิ่ง เพราะสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในการ บุกทำตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ทุกคน ‘เข้าถึง’ การเงินบนโลกดิจิทัล

โอกาสนี้ เห็นได้จากทิศทางการเติบโตของธุรกิจธนาคารในระดับภูมิภาคของ KBank ที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ท่ามกลางความโกลาหลของเศรษฐกิจโลกในช่วงวิกฤตโควิด-19

โดยในปี 2564 มีการเติบโตมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 34% ซึ่งธนาคารได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2566 จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจในต่างประเทศเป็น 5% ของรายได้สุทธิธนาคารทั้งหมด (Net Total Income-NTI) หรือมีรายได้เติบโตถึง 5 เท่า  พร้อมขยายฐานลูกค้าดิจิทัลเป็น 6.5 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1.6 ล้านราย และเพิ่มเป็น 10 ล้านรายภายในปี 2567

เส้นทางสู่เป้าหมาย เต็มไปด้วยความท้าทายมากมายรออยู่ ทั้งเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน วางเเผนกลยุทธ์รองรับทุกการเปลี่ยนเเปลง การสร้างสรรค์เทคโนโลยีเเละพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงการบริหารจัดการองค์กรให้เป็น ‘หนึ่งเดียวกัน’ ผสมผสานความหลากหลายของเชื้อชาติเเละวัฒนธรรม ดึงดูด Top Talent จากทั่วโลก


เติบโตไร้ขีดจำกัด ฉบับ THE METAMORPHOSIS

ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก เเละมีเเนวโน้มจะเติบโตได้ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า เเละเส้นทางนี้ก็เหมือนการ ‘วิ่งมาราธอน’ ที่ต้องใช้ความพยายาม อดทนเเละต้องคว้าโอกาสสำคัญให้ได้ พร้อมการวางเเผนกลยุทธ์ที่ดี การเติบโตของ KBank จึงเปรียบเสมือน ‘Metamorphosis’ วิวัฒนาการเชิงความคิด การเติบโตผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างรวดเร็วตามเป้าธุรกิจที่ท้าทาย

เปลี่ยนปรัชญาทางธุรกิจไปสู่การให้บริการที่เหนือกว่าธุรกิจธนาคาร ผ่านการสร้างโซลูชันและยกระดับการให้บริการเพื่อมอบชีวิตที่ดีให้ลูกค้า ตาม 3 วิสัยทัศน์หลัก คือ

Limitless Opportunity ธนาคารกสิกรไทยจะไม่ติดกรอบอยู่แค่การทำธุรกิจในประเทศไทย การเติบโตของธนาคารสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาคอย่างไร้ขีดจำกัด

Seamless Connectivity ด้วยการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจาก KASIKORN BUSINESS-TECHNOLOGY GROUP (KBTG) ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรทั้งการลงทุน ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ

Borderless Growth สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ศักยภาพ (Capabilities) ทุก ๆ ด้านของคนกสิกรไทยที่จะต้องเติบโตได้อย่างไร้ขอบเขต


โอกาสอยู่ในทุกๆ การเปลี่ยนเเปลง

ด้าน พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ชี้ว่า โลกยุคใหม่หลังโควิด-19 เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก มีทั้งความซับซ้อนเเละท้าทาย เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาดิสรัปเร็วกว่าเดิม 4-10 ปี ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว (Morph) และเปิดรับทักษะสมัยใหม่ โดยสามารถเเบ่งเป็น 4 ธีมการเปลี่ยนเเปลงของโลกในระยะต่อไป ได้เเก่

DECOUPLING สำนักวิจัยหลายแห่งคาดว่าภายในปี 2573 เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่กว่าสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลานี้ เกิดการประลองกันของมหาอำนาจโลก มีการกีดกันทางการค้าและเเข่งขันกันด้านเทคโนโลยี เหล่านี้เป็นโอกาสที่ไทยเเละ ‘อาเซียน’ จะสามารถเชื่อมต่อกับสองห่วงโซ่ทั้งจีน และสหรัฐฯ จากการเปิดกว้างต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับทั้งสองขั้วอำนาจ ซึ่งต้องมองเรื่องนี้ให้เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค

ในประเด็นต่อมาคือ REGIONALIZATION 2.0 การปรับภาพลักษณ์ใหม่ของจีน ที่จะผันตัวเองจากแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกไปเป็นประเทศ ที่เน้นการส่งออกสินค้าไฮเทคและนวัตกรรม

“ธุรกิจของจีนจะทยอยย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งมีศักยภาพสูง ในการเป็นห่วงโซ่อุปทานของจีน เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคชนชั้นกลางจำนวนมาก รวมถึงมีความได้เปรียบทั้งเรื่องความสัมพันธ์ วิถีชีวิต มีศักยภาพสูงในการลงทุนทั้งเรื่องของค่าแรง กฎระเบียบต่างๆ”

สำหรับโอกาสของ NEXT-GEN DIGITALIZATION เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนและสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ส่วนอีกกระแสสำคัญของปัจจุบัน คือ DECARBONIZATION ที่นานาประเทศเริ่มมุ่งไปสู่ ‘สังคมไร้คาร์บอน’ ซึ่งการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย

โดยทางจีนที่เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนสูงที่สุด ก็มีการประกาศเป้าหมายนี้มาเเล้ว เชื่อว่าต่อไปจะได้เห็นความร่วมมือกันของหลายประเทศ ทั้งภาครัฐเเละเอกชนในด้านต่างๆ อย่างพลังงานลมและโซลาร์เซลล์ เเละรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ

“นี่เป็นโอกาสของการทำธุรกิจในการสร้างห่วงโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain) ของไทยเเละอาเซียน ยกระดับเศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคบนเส้นทางการเติบโตยั่งยืนในอนาคตข้างหน้า”

ด้านความเห็นต่อกระเเส Crypto Economy ผู้บริหารกสิกรไทยมองว่า ต่อไปจะเป็นการรวมกันระหว่างตลาดการเงิน สินทรัพย์ดิจิทัลเเละภาคธุรกิจต่างๆ เช่นการนำ  Metaverse มาปรับใช้ จะช่วยสร้างผลิตภาพที่สูงขึ้น การซื้อขายผ่านเงินสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรือซื้อขายผ่าน NFT (Non-Fungible Token) สถาบันการเงินจึงต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมรับทุกบริการเพื่อธุรกิจยุคใหม่

 ทั้งนี้ เมื่อช่วงปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมา KBTG เพิ่งส่งบริษัทลูกในเครืออย่าง KASIKORN X หรือ KX เดินเกมสร้างธุรกิจใหม่บนโลกของ DeFi เปิดตัว ‘Coral’  มาร์เก็ตเพลส NFT ที่ซื้อขายง่ายด้วยสกุลเงินทั่วไป สร้างโอกาสศิลปินไทยสู่ระดับสากล (คลิกอ่าน ที่นี่)

 โดยโจทย์หลักของ KBank คือ การมุ่งสู่โลกการเงินแห่งอนาคต ยกระดับความสามารถความรู้ให้ทั้งบุคลากรของธนาคาร และลูกค้าเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างยั่งยืน และเรื่อง ESG ที่การเติบโตของธุรกิจไม่ได้ดูแค่ผลกำไรเท่านั้น เเต่จะต้องสร้างสิ่งดีๆ ให้สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย


เทคโนโลยีคือจุดเชื่อมโยง ต่อยอดฟินเทคจีน-อาเซียน

เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท KBTG (Group Chairman-KASIKORN BUSINESS-TECHNOLOGY GROUP) กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนในของ ‘ตลาดจีน’ ว่ามี FinTech Landscape ที่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น จากจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 1,412 ล้านคน เเละมีการใช้โทรศัพท์มือถือสูงมากๆ ใช้จ่ายด้านออนไลน์สูง เเละเป็นตลาดที่มีการเเข่งขันสูง เป็นโอกาสของกสิกรไทยที่จะเข้าไปเจาะตลาดเเละเรียนรู้ได้

ในปี 2563 ที่ผ่านมา KBTG ได้มีการจัดตั้งบริษัท ไคไท่ เทคโนโลยี จำกัด (KAITAI Technology Company Limited : KTECH) ที่เซินเจิ้น ซึ่งภารกิจหลักๆ  คือการ ‘หาบุคลากร’ จีนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีมาร่วมทีมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร เเลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งต่อยอดโอกาสทางธุรกิจจากฟินเทคในจีนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไปสู่ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน

โดยเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในจีน ก็คือ คลาวด์คอมพิวติ้ง นาโนไฟเเนนซ์ ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน 5G เเละความปลอกภัยไซเบอร์

ความสำเร็จในก้าวปีแรกของ KBTG คือ การมีส่วนร่วมใน 14 โครงการสำคัญ ครอบคลุมในทุกประสบการณ์ทางการเงิน ทั้งด้านการปล่อยกู้ เงินฝาก การชำระเงิน รวมทั้งข้อมูลและการวิเคราะห์กับ 7 พันธมิตรสำคัญในประเทศจีน  และมีแผนเพิ่มทีมงานให้ใหญ่ขึ้นถึง 12 เท่า ภายในปี 2569  “การทำงานของเราจะเป็นไปในรูปแบบ Fast-Fun-Flow-Feedback ทำอย่างรวดเร็วด้วยความสนุก”

ส่วนเป้าหมายจำนวนผู้ใช้ K PLUS ทั้งในไทยและต่างประเทศนั้น ตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ 50 ล้านผู้ใช้ในอีก 5  ปีข้างหน้า ซึ่งตอนนี้จำนวนผู้ใช้ในปัจจุบันก็ใกล้เเตะ 20 ล้านรายแล้ว


World Business Group : ก้าวต่อไป KBank ธนาคารเเห่งภูมิภาค

ภัทรพงศ์ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับศักยภาพของกลุ่ม World Business Group (WBG) ที่ได้สร้างการเปลี่ยนสู่ธุรกิจ ธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค ว่า ด้วยความที่ KBank นิยามตัวเองว่าเป็นเทคสตาร์ทอัพที่มี banking license จึงเข้าไปทำตลาดใหม่ๆ ได้อย่าง ‘ตัวเบา’ โดยการเดินหน้าธุรกิจตามโมเดล Kasikorn China ในจีนนั้นจะใช้บนปรัชญา “Better Me” ที่มุ่งให้การสนับสนุนลูกค้าที่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมุ่งมั่นนำพาตัวเองสู่อิสรภาพทางการเงินสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนพร้อมจะนำแนวคิดธุรกิจนี้ขยายไปต่อยัง ‘เวียดนาม’ ที่ได้เดินหน้าด้วยดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ

ได้แก่ KBank Biz Loan สินเชื่อดิจิทัลที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการขออนุมัติวงเงินและ K PLUS Vietnam โมบาย แบงกิ้งที่ต่อยอดจากต้นแบบ K PLUS ในประเทศไทย

“ในอนาคตจะมีการเปิดตัวธุรกิจใหม่บนโมเดล Banking-as-a Service (BaaS) ในการให้บริการมากกว่าธุรกิจการเงินที่จะเริ่มที่เวียดนามเป็นแห่งแรก เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่มากกว่าในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ช่วยให้ฟินเทครายย่อยมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกันและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น”

สำหรับในตลาดกัมพูชา KBank พร้อมเปิดตัว Payroll Lending ที่ทำให้ลูกค้าได้รับสินเชื่ออย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชันของพันธมิตร ส่วนในฝั่ง สปป.ลาวจะยังคงเดินหน้าเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานบริการ QR KBank จากปัจจุบันที่มี 1.3 แสนรายอย่างต่อเนื่อง ด้วยการขยายการใช้งานให้ครอบคลุมทุกธุรกรรมการเงินของลูกค้า

เป้าหมายถัดไปของธนาคารกสิกรไทย คือ การเชื่อมต่อกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่สุดและมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค โดยปัจจุบันธนาคารได้เร่งสร้างพันธมิตรธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อขยายโอกาสในการทำธุรกิจและส่งมอบบริการทางการเงินให้กับลูกค้าในอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ ยังมีแผนในการจัดตั้งบริษัท K VISION FINANCIAL (KVF) เพื่อขยายการลงทุนด้านดิจิทัลในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ สู่การเป็น Ecosystem ทางการเงินในระดับภูมิภาค พร้อมชูแผนการสร้าง บริการทางการเงินเพื่อรองรับตลาด Digital Asset ที่จะเติบโตในตลาดภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม

เปิดพื้นที่เเชร์ไอเดีย เป็นองค์กรสำหรับ Talent ทั่วโลก

จากเป้าหมายและพันธกิจที่ใหญ่ขึ้น  WBG ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 1,037 คนในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นถึง 52% จากปี 2563 เพื่อขยายศักยภาพของทีมให้ไปสู่ความสำเร็จได้ และด้วยความตั้งใจที่จะเป็นองค์กรสำหรับ Talent ทั่วโลก

ธนาคารได้เสนอแนวคิด “World of Borderless Growth” เพื่อสื่อสารให้คนรุ่นใหม่เห็นโอกาสในการเติบโตอย่างไร้ขอบเขตทุกมิติ อย่าง

Personal Growth การเติบโตผ่านประสบการณ์ทำงานจริงที่ท้าทาย

Growth of Team การเติบโตร่วมกับทีมที่เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

Growth of Partners การเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรทั้ง Tech Company และ Startup ระดับโลก

Growth of Community การเติบโตเคียงข้างกับสังคมผ่านทุกภารกิจ (Mission) ของ WBG ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

“เราจะได้สร้างสิ่งใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เเค่พนักงานไม่เคยทำ เเต่ KBank เองก็ยังไม่เคยทำ เป็นประสบการณ์ใหม่ของทีมงานที่จะได้ไปเจอ ให้โอกาสในการเเสดงศักยภาพ เเชร์ไอเดียทำงาน เราต้องการคนรุ่นใหม่ที่ใจกล้า มีความอยากเรียนรู้เข้ามาช่วยเราทำงาน เเละเติบโตไปด้วยกัน”  ชัช เหลืองอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าว

โดยสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยอยากจะเป็นจริงๆ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า คือการเป็นธนาคารที่ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือลูกค้า เเละ ‘เป็นที่รัก’ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนๆ เเละก็เชื่อว่าทีมงานของเราทุกคนมีความเชื่อเเละปรัชญานี้เหมือนกัน ที่จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต พัฒนาสิ่งที่ดีกว่าให้กับโลก

 

]]>
1367289
‘ดิจิทัลเเบงกิ้ง’ โตไวในอาเซียน โอกาสทองของ KBank สู่การเป็นธนาคารเเห่งภูมิภาค https://positioningmag.com/1364524 Thu, 02 Dec 2021 04:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364524

‘อาเซียน’ กลายเป็นดาวรุ่งด้าน ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ที่ดึงดูดเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก ยิ่งในยามวิกฤตโรคระบาด ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซเเละฟินเทค

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ประเมินว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศในอาเซียน จะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

เมื่อผู้คนเริ่ม ‘เปิดใจเเละคุ้นชิน’ กับการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัล จนเเทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเเล้ว

จึงเป็นโอกาสของ ธนาคารใหญ่ของไทย ที่จะเร่งเกมบุกเข้าสู่ ‘ตลาดเติบโตใหม่’ เจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อปูทางสร้าง ‘ดิจิทัล เเบงกิ้ง’ ให้เข้าถึงกลุ่มประชากรจำนวนมาก

เห็นได้ชัดจากความเคลื่อนไหวสำคัญ เพื่อการเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 ของธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ที่ขยับเข้าไปทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยกลยุทธ์หลักๆ ของ KBank จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อเครือข่ายการค้าและการลงทุนในอาเซียนเข้าด้วยกันผ่าน ‘ดิจิทัล แพลตฟอร์ม’ เเละจุดหมายล่าสุดก็คือภารกิจเจาะตลาดเนื้อหอมอย่าง ‘เวียดนาม’


เวียดนาม สนามเเข่งดิจิทัลแห่งอาเซียน

 เวียดนาม กำลังเดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามเทรนด์โลก โดยเฉพาะในภาคส่วนอีคอมเมิร์ซเเละเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) พร้อมการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ประกาศตั้งเป้าให้เศรษฐกิจดิจิทัล มีสัดส่วนถึง 20% ของจีดีพีประเทศ ภายในปี 2025 และสัดส่วน 30% ภายในปี 2030 ซึ่งต่อจากนี้ก็คงจะมีการออกนโยบายเเละเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อดึงดูดให้บริษัทเทคโนโลยีต่างชาติทั้งหลายเข้ามาลงทุน

จากรายงานของสื่อท้องถิ่นอย่าง VnExpress ระบุว่า ณ ตอนนี้เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม มีสัดส่วนอยู่ที่ 8.2% ของจีดีพี โดยรัฐบาลยังตั้งเป้าให้ประชากรกว่า 80% ใช้งานการทำธุรกรรมออนไลน์อีกด้วย

 ใน e-Conomy SEA Report 2021 มีประเด็นเกี่ยวกับ ‘ผู้บริโภคดิจิทัล’ ในเวียดนามที่น่าสนใจคือ นับตั้งแต่โรคโควิด-19 ได้กลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เวียดนามมีจำนวนผู้บริโภคดิจิทัล เพิ่มขึ้นถึง 8 ล้านราย ในจำนวนนี้ ‘มากกว่าครึ่ง’ มาจากพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่  และกว่า 99% ตั้งใจจะใช้บริการออนไลน์ต่อไปหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง

สะท้อนให้เห็นว่าชาวเวียดนามได้หันมาใช้สินค้าและบริการดิจิทัลกันในระดับสูงมาก โดยเหล่าพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ในเวียดนามถึง 30% เชื่อว่าพวกเขาอาจจะไม่สามารถพยุงธุรกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ได้ ‘หากไม่มีแพลตฟอร์มดิจิทัล’ เข้ามาช่วย 


โอกาส KBank สู่ธนาคารเเห่งภูมิภาค ‘บุกเวียดนาม’ ด้วยกลยุทธ์ที่เเตกต่าง

เเม้ว่าการแข่งขันของ ‘สถาบันการเงิน’ ในเวียดนามจะค่อนข้างรุนแรง แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

เมื่อเห็นช่องว่างการตลาดที่เอื้อต่อการลงทุน ‘กสิกรไทย’ ไม่รอช้าเดินหน้าบุกเวียดนามเต็มสูบ ประเดิมเปิดสาขาเเรกที่ ‘โฮจิมินห์’ พร้อมขยายทีมงานเพิ่ม ประเมินปี 2022 มียอดเงินฝากเเตะ 1,200 ล้านบาทเเละสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้า 5 ปีสร้างฐานลูกค้ารายย่อยมากกว่า 8 ล้านราย

หลังประสบความสำเร็จในตลาดกัมพูชาและ สปป.ลาว ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อใน 3 เซ็กเมนต์ ทั้งในส่วนซัพพลายเชน กลุ่มรายย่อย และกลุ่มไมโคร

จากการที่เวียดนาม มีสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด 90 ล้านคน เเละคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยเเรงงาน ทำให้การเข้าไปตีตลาดครั้งนี้ ต้องใช้กลวิธีที่ ‘เเตกต่าง’ ในการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศ AEC+3 อื่น ๆ ที่จะเน้นให้บริการธุรกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก

จุดเด่นของเวียดนาม คือการเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาค

เป็น ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีน–สหรัฐฯ เเม้ในวิกฤตโรคระบาด เวียดนามก็ยังเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวก

จากมาตรการล็อกดาวน์ที่กระทบเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ไปบ้าง แต่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ซึ่งนำไปสู่การส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ถูกกระทบมากนัก

เหล่านี้ เป็นปัจจัยหนุนช่วยภาคเศรษฐกิจอื่นของเวียดนาม และมีการประเมินว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้มีแนวโน้มจะเติบโตเกิน 5% ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งเอเชียและตะวันตกเข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง

กสิกรไทย เริ่มเปิดให้บริการแก่ลูกค้าเวียดนามผ่านสำนักงานผู้แทน 2 แห่ง ณ กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ มาตั้งแต่ปี 2015

 เเละเมื่อเห็นโอกาสที่มากขึ้น ก็มีการ ‘ยกระดับ’ การให้บริการมาเป็น ‘สาขานครโฮจิมินห์’ เป็นสาขาแรกในประเทศเวียดนาม และเป็นสาขาที่ 10 ในต่างประเทศ ซึ่งได้เปิดตัวสาขาอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา

สำหรับการดำเนินธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย สาขานครโฮจิมินห์ ในช่วงแรกจะเน้นไปที่บริการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่  (Corporate Lending) เจาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ในเวียดนาม

มุ่งไปที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต นิคมอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการค้าและอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค ให้บริการแก่บริษัทของไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ต้องการขยายธุรกิจไปเวียดนามเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังจะขยายการให้บริการในส่วนของ ‘กลุ่มลูกค้ารายย่อย’ ในท้องถิ่น จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านดิจิทัล แบงกิ้ง และโมบาย แบงกิ้งของธนาคารกสิกรไทยมาใช้ ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างเงินฝาก สินเชื่อบุคคล เเละสินเชื่อดิจิทัล

โดยธนาคารจะทยอยส่งมอบบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าเข้าสู่โลกของดิจิทัลแบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบผ่านสินเชื่อดิจิทัล ซึ่งภายในปี 2022 ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อดิจิทัลไว้ที่ 1,500 ล้านบาท จากลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก 25,000 ราย ที่มาใช้บริการขอเงินกู้ (KBank Biz Loan) หรือร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการต่อยอดธุรกิจ

และยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อหนุนศักยภาพทางธุรกิจร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น เช่น การร่วมมือกับบริษัทฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีความเข้าใจในตลาดอย่างลึกซึ้งอย่าง IPOS VN., Haravan และ KiotViet ที่จะมาช่วยส่งมอบบริการได้ตรงใจลูกค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึง Sendo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก เพื่อสร้างโซลูชั่นทางการเงินสำหรับผู้ค้าออนไลน์ ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อทางธุรกิจได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว และสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนสินเชื่อได้สูงสุดถึง 36 เดือน วงเงินกู้สูงสุดถึง 100 ล้านดงเวียดนาม หรือประมาณ 150,000 บาท ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.4% ต่อเดือน


กลยุทธ์ AssetLight จับมือ ‘เทคสตาร์ทอัพ’ ท้องถิ่น

ธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือกับเทคสตาร์ทอัพในท้องถิ่น ด้วยการร่วมลงทุนของ KVision เข้ามาช่วยในการให้พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

“ขณะนี้มีกลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) ระดับโลกที่สนใจเข้ามาหารือในการเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารเพื่อสร้างอีโคซีสเต็มของการขยายธุรกิจในเวียดนาม ทั้งยังจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงิน (Unbank) และกลุ่มประชากรวัยทำงานที่มีโอกาสเติบโตได้อีกด้วย” พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าว

เพื่อย้ำให้เห็นถึงการทุ่มทุนบุกตลาดเวียดนาม KBank ได้ประกาศเฟ้นหาทีมงาน เพื่อขยายกำลังคนที่มีศักยภาพ หลากหลายทักษะมากกว่า 500 ตำแหน่ง ทั้งในประเทศไทยและทีมงานที่อยู่ประจำสาขานครโฮจิมินห์

เเละยังเตรียมเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาให้กับพนักงานปัจจุบัน ทั้งการรีสกิล ทักษะด้านภาษา เทคโนโลยี บวกกับวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ผนึกกำลังสร้างบริการทางการเงินให้พร้อมรับกับตลาดดิจิทัล และบริบทของธุรกิจในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การดำเนินธุรกิจธนาคารในเวียดนาม จึงไม่ได้เน้นธุรกรรมการเงินพื้นฐาน (Traditional Banking) เท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของธนาคารในธุรกรรมการเงินยุคใหม่ที่เป็นดิจิทัล แบงกิ้ง (Disruptive Banking / Digital Banking)

“ประชากรของเวียดนามเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีความคุ้นเคยและพร้อมในเทคโนโลยีดิจิทัล ขณะเดียวกันดิจิทัล อีโคซิสเต็มในเวียดนามยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ AssetLight Regional Digital Expansion ที่มุ่งเน้นรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยลงทุนและร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพในท้องถิ่น รวมถึงการให้สินเชื่อระหว่างประเทศแก่บริษัทในท้องถิ่นในเวียดนาม โดยอาศัยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ”

ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทยมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศในกลุ่มประเทศ AEC+3 และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง และพันธมิตรกว่า 84 แห่งทั่วโลก มีฐานลูกค้าในภูมิภาคกว่า 1.85 ล้านคน

ความเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นถึง ‘ความจริงจัง’ กับยุทธศาสตร์ในการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างสมบูรณ์แบบของกสิกรไทย ที่ต้องการเชื่อมต่อการให้บริการผ่านเครือข่ายของธนาคารในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการเป็นธนาคารท้องถิ่น สาขาของธนาคาร สำนักงานผู้แทน และสถาบันทางการเงินที่เป็นพันธมิตรของธนาคาร เดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการปรับปรุงเเละเปลี่ยนเเปลง เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ไปเรื่อยๆ

]]>
1364524