การตลาดสายมู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Sep 2024 04:56:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะการตลาด ‘สายมู’ อะไรควร ‘Do’ อะไรต้อง ‘Don’t’ จากมุมมองของ 3 แบรนด์ที่ปังกับมูเก็ตติ้ง! https://positioningmag.com/1488252 Mon, 02 Sep 2024 03:09:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488252 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ มูเตลู เป็นอะไรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน และไม่ใช่แค่มูกับศาสนาพุทธเท่านั้น แต่คนไทยเปิดรับทุกเทพ ทุกศาสตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลสำรวจผลว่า คนไทยเกือบ 90% เชื่อเรื่องมู แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ 75% ยอมจ่ายเพื่อมู! ดังนั้น แบรนด์ต่าง ๆ ก็เห็นโอกาสจากจุดนี้ในการทำการตลาด โดยเฉพาะ AIS, KBank และคารวะ โกลบอล ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์จะมาบอกเล่าว่าการตลาดสายมู อะไร Do อะไร Don’t

ย้อนดูอินไซต์สายมูชาวไทย

อินไซต์การมูของคนไทยที่ศึกษาโดย สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) พบว่า กว่า 88% เชื่อเรื่องการมู โดยสิ่งที่ขอเป็นอันดับ 1 ก็คือ เรื่องเงิน (44%) ตามด้วย เรื่องโชคลาภ (17%) (ซึ่งก็ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอยู่ดี) ตามด้วยการมูเรื่อง สุขภาพ (12%) ส่วนการมูเรื่อง การงาน มีเพียง 8% เท่านั้น

แม้เชื่อเรื่องมูเหมือนกัน แต่แต่ละเจนก็มีวิธีมูต่างกัน โดย Gen X เน้นเรื่องการสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญทำทาน มักขอเรื่องสุขภาพมากกว่าเจนอื่น ๆ ส่วน Gen Y จะ เปิดกว้างให้กับความศรัทธาแบบไร้ขีดจำกัด ได้ทุกศาสนา และความเชื่อ ขอแค่มอบผลลัพธ์ในสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยเฉพาะเรื่อง การเงินและการงาน สุดท้าย Gen Z ชอบให้ blend in แบบเนียน ๆ ดังนั้น จะมูในแบบเรื่องของ แฟชั่นและสีสันในชีวิตประจำวัน เช่น ใส่เสื้อผ้าสีมงคล เครื่องประดับมงคลชิ้นเล็ก ๆ หรือตั้งวอลเปเปอร์บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

จะทำมูเก็ตติ้งต้องจริงจัง เชื่อถือได้

สำหรับ เอไอเอส แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแบรนด์แรก ๆ ของไทยที่ บุกเบิกการทำมูเก็ตติ้ง เพราะเรื่องของ เบอร์มงคล นั้นออกมานาน 10 ปีเต็ม โดย คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส เล่าให้ฟังว่า หนึ่งในข้อพิสูจน์ว่ามูเก็ตติ้งได้ผลก็คือ ยอดขายเบอร์มงคลตลอด 10 ปีไม่เคยตกลงเลย ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันมียอดขายเฉลี่ยที่เดือนละ 3 หมื่นเบอร์ รวมแล้วเอไอเอสมีรายได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาทจากเบอร์มงคล

โดย คณาธิป มองว่า ถ้าจะทำมูเก็ตติ้งอย่างแรกคือ ต้องเข้าใจตลาดก่อน ดังนั้น ต้องหาอินไซต์ของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร ชอบเรื่องอะไร และต้องระลึกไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อเรื่องมู ดังนั้น ต้องทำการตลาดให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย และที่สำคัญ ต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น เอไอเอสจะต้องมี อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ในศาสตร์ด้านตัวเลขจริง ๆ มาแนะนำ นอกจากนี้ จะต้องทำจริงจังเพราะการทำมูเก็ตติ้งจำเป็นต้องใช้เวลา

คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส

เช่นเดียวกับ นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด ที่ย้ำเรื่อง ความถูกต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น สินค้าของคารวะจะผ่านการ ปลุกเสก อย่างถูกต้อง รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวขององค์เทพให้ถูกต้อง ไม่บิดเบือน แต่ก็ต้อง ยอมรับความเห็นต่าง

“จุดเริ่มต้นของเราเกิดจากเราพบว่า 8 ใน 10 ของคนเหงาขึ้น และต้องเจอกับการตัดสินใจที่ยากขึ้น ทำคนเลยหาของยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งเราอยากทำเพราะมีเครื่องประดับองค์เทพที่ใส่เป็นแฟชั่นได้ มีความโมเดิร์นใส่กับชุดประจำวันได้ เลยเกิดเป็นแบรนด์คาราวะ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเรื่องมูเป็นเรื่องจริงจังขนาดนั้น แต่มีความใกล้ชิดมากขึ้น กล้าล้อเล่น แต่ก็เคารพ”

นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด

เข้ากับไลฟ์สไตล์และเชื่อมโยงกับสินค้าแบรนด์

เนื่องจากการมูไม่ใช่เรื่องของคน Gen X อีกต่อไป แต่ Gen Z, Gen Y ก็สนใจเรื่องมู ดังนั้น วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank” มองว่า ต้องปรับให้ทันกับยุคสมัยและ ต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ และเชื่อมโยงกับสินค้าของแบรนด์ โดย Kbank ก็เห็นโอกาสจากการทำการตลาดสายมูโดยคอลแลปกับคารวะในการทำ บัตรเดบิตลายรวมองค์เทพ แม็กซ์พลัส กสิกรไทย ซึ่งมีจำนวนลูกค้าถึง 4-5 หมื่นใบ และลูกค้าบางคน สมัครทุกลาย เพื่อสะสม

นอกจากนี้ Kbank ยังให้วอลเปเปอร์และใบสลิปโอนเงินเป็นลายองค์เทพ เช่นเดียวกันกับเอไอเอส ที่ให้ วอลเปเปอร์ ลายเทพเมื่อซื้อเบอร์มงคล เพราะแบรนด์ควร ตามไปอยู่ในชีวิตประจำวัน อะไรที่อยู่ใกล้ตัว หรืออยู่ติดตัว

“ที่เราต้องลงมาทำเพราะมูเก็ตติ้งเป็นเทรนด์แรง แต่เราก็ต้องดูว่ามันเชื่อมโยงกับสินค้าเราหรือเปล่า ไม่ใช่กระโจนไปทุกเทรนด์  ดังนั้น คัสตอมเมอร์อินไซต์มีความสำคัญมาก เพราะต้องปรับตัวให้ทันผู้บริโภค”

วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank”

เสริมความมั่นใจ ไม่ใช่เสริมให้งมงาย

วราพร ย้ำว่า มูเก็ตติ้งเป็นการเล่นกับความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น แบรนด์ต้อง ไม่บิดเบือนความเชื่อ และข้อควรระวังคือ การสื่อสาร และต้องทำให้พอเหมาะพอดี โดยต้องสื่อสารให้ลูกค้าไม่เข้าใจผิด ไม่เช่นนั้นอาจ กระทบกับแบรนด์ เช่นเดียวกันกับ คณาธิป ที่เสริมว่า การตลาดสายมูต้องทำหน้าที่เป็น เครื่องยึดเหนี่ยว หรือเสริมความมั่นใจ ห้ามสัญญา

“ความท้าทายของการตลาดสายมูคือ มันละเอียดอ่อน พร้อมดราม่าได้ตลอด ดังนั้น แบรนด์ต้องอย่าทำเกินพอดี ต้องสื่อสารด้วยความระมัดระวังว่าเป็นแค่เครื่องยึดเหนี่ยว สร้างความมั่นใจ แต่อย่าไปให้คำมั่นว่าใช้แล้วรวย ใช้แล้วหายป่วย อย่าให้เกินพอดีให้ลูกค้ามองเราเป็นที่พึ่งสุดท้าย” คณาธิป เสริม

มูไทยจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์

อย่างไรก็ตาม เทรนด์สายมูไม่ใช่อะไรที่มาแล้วหายไปแน่นอน โดย วราพร เชื่อว่า เทรนด์จะอยู่ยาวและ ยิ่งเข้มข้น ด้วย โดยการมูจะ ใกล้ชิดกับบุคคลมากขึ้น สามารถมูได้ทุกที่ทุกเวลา เหมือนกับที่ใช้วอลเปเปอร์เพื่อมู และต่อไปการมูจะยิ่งแมสมากขึ้น ขณะที่ นันท์ธร มองว่า การมูของไทยสามารถกลายเป็น ซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย เพราะเห็นว่าคนประเทศอื่น ๆ ที่มีความเชื่อเรื่องมูเริ่มมามูกับวัดไทยเยอะ นอกจากนี้มองว่า เทรนด์ต่อไปของไอเทมสายมูคือ การนำวัสดุรักษ์โลกมาใช้มากขึ้น ด้าน คณาธิป มองว่า ต่อไป เทคโนโลยี จะมีบทบาทกับการตลาดสายมูมากขึ้น และมีความ Personalized มากขึ้น

“ตอนนี้มูเก็ตติ้งก็มีการแข่งขันสูง ทั้งในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจต่างกัน เพราะเงินผู้บริโภคมีจำกัด เขาก็ต้องพิจารณาว่าจะซื้ออะไร และการเปลี่ยนเเปลงที่มาเร็วไปเร็ว แต่ละเจนก็มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องปรับให้เขากับกลุ่มเป้าหมาย และทันกระแสเพื่อให้ลูกค้าสนใจ สุดท้าย ต้องทำให้เมหาะสม พอดี ไม่ใช่สร้างความงมงาย และความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญวราพร ทิ้งท้าย

]]>
1488252
ต่าง Gen ก็มูต่างกัน! ล้วงลึกพฤติกรรมการ ‘มูเตลู’ ของคนไทย ที่ไม่ใช่ความงมงายแต่เป็น ‘วิถีชีวิต’ https://positioningmag.com/1466722 Tue, 19 Mar 2024 05:38:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466722 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ มูเตลู เป็นอะไรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน เพราะการมูถือเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเจนจะมูเหมือนกัน ไปดูอินไซต์การมูของคนไทยที่ศึกษาโดย สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ว่าแต่ละเจนมีความเชื่ออย่างไร และ แบรนด์ จะนำไปปรับใช้กับการทำการตลาดได้อย่างไรบ้าง

88% เชื่อเรื่องมู และมูเพื่อจะรวย

จากคำตอบของผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบกว่า 1,200 คน ทั่วประเทศไทย พบว่า กว่า 88% เชื่อเรื่องการมู และกว่า 52% มองว่า การมูเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และแม้ว่าคนไทยจะเน้นเรื่องครอบครัวเป็นศูนย์กลาง แต่ 65% ขอพรเพื่อตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่คิดถึงครอบครัว แต่อาจจะมีปัญหาบางอย่าง ความปรารถนาบางสิ่งที่ไม่สามารถบอกใครได้ เลยมาขอกับการมู

ที่น่าสนใจคือ อันดับ 1 ในการขอก็คือ เรื่องเงิน (44%) ตามด้วย เรื่องโชคลาภ (17%) ซึ่งก็ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอยู่ดี ตามด้วยการมูเรื่อง สุขภาพ (12%) ส่วนการมูเรื่อง การงาน มีเพียง 8% เท่านั้น เนื่องจากคนไทยมองว่า การทำงานเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับการนำไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงกับผู้ชายก็มีความต้องการการมูที่ต่างกัน โดยผู้ชายมีแนวโน้มที่จะต้องการผู้รับฟัง แต่ผู้หญิงต้องการการฟันธง

“พฤติกรรมการมูสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจ สังคม ความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ เขามองว่าเขาไร้ที่พึ่ง การมูเตลูจึงเป็นเสมือนครึ่งยึดยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเครื่องเสริมความมั่นใจ” กรรณ ทองศรี ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ กล่าว

ต่างเจนก็มูต่างกัน

แม้ว่าจะเชื่อเรื่องมูเหมือนกัน แต่ใช่ว่าแต่ละเจนจะใช้วิธีมูเหมือน ๆ กัน โดย Gen X #มูแบบtraditional โดยคนที่อยู่ในช่วงอายุ 43 – 58 ปี เน้นเรื่องการ สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญทำทาน โดยมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็น Booster หรือเป็นตัวช่วย Top up ความพยายาม เสริมความหวังและกำลังใจให้แก่ตนเอง และด้วยช่วงอายุที่มากขึ้น ทำให้ชาว Gen X มีการมูเตลูเพื่อ ขอเรื่องสุขภาพมากกว่า เจนอื่น ๆ เพราะการมีสุขภาพที่ดี คือการเพิ่มความมั่นใจว่าชีวิตจะไม่สะดุด สามารถลุยงานและเอ็นจอยชีวิตได้อย่างเต็มที่ และยังลดความเสี่ยงในการเป็นภาระของคนรอบข้างอีกด้วย

Gen X เติบโตในช่วงเริ่มต้นทุนนิยมในไทย เน้นการยึดหลักปฏิบัติและธรรมเนียมที่มีมาแต่รุ่นก่อน และมองว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องนี้ภูมิใจ และยืนหนึ่งเรื่องความพยายาม ทำให้การมูเป็นตัวเสริมความพยายามที่ทำ” ดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ กล่าว

Gen Y มูหมดไม่สนลูกใคร

Gen Y มีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวคือ เปิดรับ และ ปรับตัวเก่ง โดยเปิดกว้างให้กับความศรัทธาแบบไร้ขีดจำกัด ได้ทุกศาสนาและความเชื่อ ขอแค่มอบผลลัพธ์ในสิ่งที่ตัวเองต้องการแบบเฉพาะเรื่องได้ โดย Gen Y เอง ถือเป็นช่วงอายุที่เป็นวัยสร้างตัว จึงมักได้ชื่อเล่นว่าเป็น เดอะแบก มีภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่และครอบครัวของตัวเอง ดังนั้นจึงโฟกัสกับ การเงินและการงานมากกว่าเจนอื่น เพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าในชีวิต

“คนในช่วงอายุ 27 – 42 ปี เติบโตมาในช่วงจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นยุครอยต่อระหว่าง analog-to-digital จึงมีการเปิดรับและปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี” พร้อมพร สุภัทรวณิช รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลุยทธ์ กล่าว

Gen Z มูนะแต่ไม่ (ค่อย) แสดงออก

สำหรับการมูแบบ Gen Z จะเป็นการ blend in แบบเนียน ๆ จะไม่ใช่การใส่เครื่องรางของขลังแบบเด่น ๆ แต่จะอยู่ในรูปแบบของ แฟชั่นและสีสันในชีวิตประจำวัน ใช้เพื่อเป็น Gimmick ทั้งในด้านการซัพพอร์ตและฮีลใจนั้น ไม่ว่าจะเป็นการ ใส่เสื้อผ้าสีมงคล เครื่องประดับมงคลชิ้นเล็ก ๆ หรือตั้ง วอลเปเปอร์บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 11 – 26 ปี เติบโตในยุคดิจิทัลพร้อมปรับเปลี่ยน เพื่อสิ่งใหม่ ๆ และเอ็นจอยชีวิตได้ทุกสถานการณ์

โดย Gen Z จะเน้นมูไปที่ การงานและการเรียน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังอยู่ทั้งในวัยเรียนและกำลังก้าวเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการค้นหาตัวเอง เลือกทางเดินในการมีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง เพื่ออนาคตที่สดใสและชีวิตที่ดีกว่าเดิม

Gen Z เน้นมูแบบ blend in เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน มองการมูเป็น Gimmick เป็นลูกเล่น สีสัน เสริมพลังใจและใช้เป็น Topic ในการไปคุยกับเพื่อน ๆ ได้ ไม่ใช่แค่สร้างความมั่นใจแต่ยังเพิ่มเรื่อง Relationship ได้” 

แบรนด์จะทำอย่างไรมัดใจสายมู

จากผลสำรวจดังกล่าวจะเห็นว่าผู้บริโภคเปิดใจกับการมูมาก และการมูก็มีผลต่อเรื่องการตัดสินใจจะซื้อสินค้า เพราะนอกจากฟังก์ชันนอลที่ลูกค้ามองหา เรื่องมูจะเข้ามาช่วยเรื่องอีโมชันนอล ดังนั้น จะเห็นว่าแบรนด์ใหญ่ ๆ ลงมาทำการตลาดเรื่องมู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แบรนด์ก็ต้องทำให้เหมาะกับแบรนด์ และจะจับ Gen ไหนต้องชัดเจน

สำหรับ Gen X อาจจะเน้นการส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก โดยสามารถเพิ่มความน่าสนใจและคุณค่าในแง่ของความสุขทางใจ ด้วยกิจกรรมมูเตลูที่พวกเขาคุ้นเคย เช่น กิจกรรมเดิน-วิ่ง 9 วัด ให้คน Gen X ได้สวดมนต์ ทำบุญขอพรและได้ออกกำลังกายไปพร้อม ๆ กัน หรือจัดทำ Packaging บทสวดมนต์/บทอวยพรมงคล ที่ช่วยให้สามารถสวดเพิ่มกำลังใจได้ทุกที่ทุกเวลา แต่แบรนด์ควรคำนึงถึงขอบเขต และความเหมาะสมตามธรรมเนียมและวิถีปฏิบัติที่ชาว Gen X ยึดถือด้วย

ดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ (ซ้าย), กรรณ ทองศรี ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ (ตรงกลาง), พร้อมพร สุภัทรวณิช รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลุยทธ์ (ขวา)

ส่วน Gen Y มีนิสัยเปิดกว้าง ชอบลองของใหม่ ชอบโพสต์และแชร์ชีวิตแบบฮิป ๆ ของตัวเอง ดังนั้น แบรนด์อาจ recommend การมูแบบใหม่ ๆ ที่ไม่มีมาก่อน โดยยึดหลัก จุดประสงค์ชัด ประสบการณ์ใหม่ ถ่ายรูปสวย เช่น “Meet and Mu” ทริปมูเตลูที่เน้น new spot ทั้งในและนอกประเทศ พร้อมการ tie-in สินค้าหรือบริการของแบรนด์ นอกจากจะได้มูตามศรัทธาแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้เที่ยวและพบปะเพื่อนใหม่ ๆ คอเดียวกัน และยังได้รูปสวย ๆ ไปโพสต์ได้ด้วย แต่ท้ายที่สุดแบรนด์ควรระวังความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลต่าง ๆ เพราะคนเจนนี้ชอบค้นหา และแชร์ข้อมูลกับคนรอบข้าง

มูแบบมินิมอล หรือ มูแบบไม่ตะโกน คือ มอบความสนุก ความมั่นใจ ไม่ใช่ขายความเชื่อ จะถูกจริตชาว Gen Z ที่สุด แบรนด์สามารถเพิ่มโอกาสในการเชื่อมต่อกับคน Gen Z ได้ด้วยการเสริมเรื่องราวมูเตลูที่ ดูดีมีสไตล์ และ เอ็นจอยร่วมกันกับเพื่อน ๆ ให้กับสินค้าหรือบริการ เช่น จัดแพ็กสินค้าสีมงคล สำหรับทุก ๆ วัน หรือ สติกเกอร์รวมพลังเทพครบเซต อีกหรือทำสินค้าแฟชั่น/ accessories หรือกลุ่มบิวตี้ ที่มี สีมงคลพาสเทล เสริมความสนุกและความมั่นใจ ให้กับพวกเขาทั้งในชีวิตประจำวันและโลกออนไลน์

]]>
1466722
‘LINE’ เตรียมพาครีเอเตอร์สติกเกอร์บุกตลาด ‘NFT’ พร้อมผุดบริการใหม่ ‘ดูดวงผ่าน VDO Call’ เอาใจสายมู https://positioningmag.com/1376736 Tue, 08 Mar 2022 10:01:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376736 ในปีที่ผ่านมา LINE ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจบริการ ขยาย LINE Consumer Business ซึ่งประกอบด้วย LINE STICKERS, LINE MELODY และ LINE ดูดวง มาปี 2565 นี้ ภายใต้การดำเนินงานของ นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร ที่เพิ่งขึ้นเป็น รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Office) หมาด ๆ ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงทิศทางและบริการใหม่ ๆ ในฝั่ง Consumer Business ว่าปีนี้จะมีอะไรบ้าง

ดันครีเอเตอร์สติกเกอร์สู่ตลาด NFT

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่อยู่คู่กับไลน์มาตลอด 10 ปี ก็คือ สติกเกอร์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งาน LINE กว่า 50 ล้านคน มีผู้ใช้งานสติกเกอร์ประมาณ 35 ล้านราย/เดือน แม้จะดูเป็นจำนวนที่สูง แต่ นรสิทธิ์ ยอมรับว่าการเติบโตในแง่ของจำนวนนั้นเริ่ม อิ่มตัวแล้ว

อย่างไรก็ตาม ตลาดครีเอเตอร์ไทยค่อนข้างแข็งแรง เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยชื่นชอบครีเอเตอร์ไทย เพราะสามารถผลิตสติกเกอร์ได้ตอบโจทย์การใช้งานและเข้ากับสถานการณ์ ทำให้จากนี้ LINE ประเทศไทยจะไม่เน้น Global Licensing มาเน้นครีเอเตอร์ไทยเป็นหลักซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 ล้านราย เติบโต 35% และมีสติกเกอร์วางจำหน่ายในตลาดของประเทศไทยกว่า 5.3 ล้านชุด

โดยปีนี้ LINE จะดันครีเอเตอร์ไทยต่อยอดไปสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผลิตผลงานสติกเกอร์ แต่ต่อยอดไปสู่ Commercial Arts ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Licensing IP Business หรือการขายสินค้าต่าง ๆ (Merchandising) โดยที่ผ่านมา มีครีเอเตอร์ชาวไทยมากกว่า 28 รายที่กลายเป็นผู้เล่นธุรกิจ IP ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Uniqlo และ AIS สำหรับปีนี้  LINE ก็มีแผนจะจะเปิดตัว Line Valley สำหรับการขายสินค้าให้กับเหล่าครีเอเตอร์ด้วย

นอกจากนี้ LINE ก็พยายามผลักดันให้ครีเอเตอร์ไปสู่ตลาด NFT (Non-Fungible Token) โดยเตรียมจัดตั้ง LINE CREATORS Academy เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ข้องเกี่ยวกับ NFT ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงให้แก่ครีเอเตอร์และบุคคลที่สนใจ ซึ่งปัจจุบัน LINE ประเทศไทยได้เป็นพันธมิตรกับตลาด NFT (NFT Marketplace) ชั้นนำ อาทิ EAST NFT, Bitkub NFT, Coral by KASIKORN X และ Zixel by Zipmex  NFT

ต่อยอดบริการดูดวงด้วย VDO Call

เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เมื่อ LINE เพิ่มบริการสายมูไปเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่แค่ดูดวง แต่ยังรับ ขอพรแก้บน ตักบาตร ถวายผ้าไตร ทำสังฆทาน แก้ชง และอื่น ๆ ทำให้ปัจจุบัน LINE ดูดวง มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคนต่อวัน และมีผู้ใช้บริการขอพร แก้บนมากกว่า 3,500 คน

โดยบริการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ การขอพร-แก้บนจากหลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ และการแก้ชงในช่วงตรุษจีน ซึ่งตัวเลขผู้ใช้งานจะมีมากขึ้นในช่วงกลางเดือนและปลายเดือนของแต่ละเดือนซึ่งเป็นช่วงการประกาศผลสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงมีการใช้งานมากขึ้นในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนา ช่วงปีใหม่ และตรุษจีน

ด้วยความนิยมของการใช้งาน Line Video Call ที่เติบโตถึง 30% มีผู้ใช้ 22 ล้านคน ในขณะที่ Line Call มีผู้ใช้ 34 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20% LINE จึงต่อยอดสู่บริการใหม่ ‘ดูดวงออนไลน์’ โดยเปิดให้ผู้ใช้จองเวลากับหมอดูเพื่อ ดูดวงผ่าน LINE Video Call โดยบิสซิเนสโมเดลจะเป็นการแบ่งรายได้จากหมอดู รวมถึงการโฆษณาอีกด้วย

MELODY ยังกระจุกแค่ในวัยรุ่น

ด้าน LINE MELODY เสียงเรียกเข้าและเสียงรอสายเมื่อโทรผ่าน LINE Call ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยในปี 2564 มีผู้ใช้งาน LINE MOLODY ต่อเดือนกว่า 2.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมปี 2563 กว่า 600% โดยปัจจุบันมีคลังเพลงทั้งสิ้นกว่า 38,000 เพลงจากกว่า 43 พันธมิตรค่ายเพลง

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่อายุ 20-34 ปี เป็นผู้หญิง 69% ผู้ชาย 31% ซึ่งเมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้ LINE ทั้งหมดถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยอยู่มาก ดังนั้น นี่จึงเป็นการบ้านของทีมงานว่าจะสามารถดันให้เกิดดีมานด์ใน LINE MELODY ได้อย่างไร

“หากพูดถึงเทรนด์ที่จะเห็นปีนี้คงบอกยาก อะไรที่เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คนไทยเอาหมด ไม่ว่าจะเพลง ละคร NFT รวมไปถึงความเชื่อ ดังนั้น เราจึงพยายามดัน 3 ส่วนนี้ และก็ช่วยกระจายรายได้สู่รายย่อยได้ด้วย”

]]>
1376736
รู้จัก Horosociety ผู้จับเทรนด์ “การตลาดสายมู” (Muketing) แบบครบวงจร https://positioningmag.com/1370621 Tue, 18 Jan 2022 04:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370621 เทรนด์การตลาดสายมูยังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัว ล้วนเป็นไอเทมมูเตลูได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสร้อยข้อมูล กระเป๋า เสื้อสีมงคล วอลเปเปอร์โทรศัพท์มือถือ ทำให้ในตอนนี้เริ่มมีบริษัทที่รับทำการตลาดสายมูโดยเฉพาะมากขึ้น

หากพูดถึง “การตลาดสายมู” (Muketing) แท้จริงแล้วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใกล้ตัว และได้เข้ามาแทรกซึมอยู่ในชีวิตคนไทยและคนเอเชียมาเนิ่นนาน จะเห็นได้จากในช่วงเทศกาลปีใหม่ทั้งแบบสากล แบบไทย หรือแบบจีนในทุกๆ ปี หลายแบรนด์มักจะจัดกิจกรรมการตลาดขึ้นโดยใช้กลยุทธ์ที่ล้อไปกับการเปลี่ยนแปลงของดวงชะตา

อาทิ แบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะจัดเซตกระเช้าของมงคลประจำปีเพื่อมอบให้คนพิเศษ หรือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำแคมเปญเรื่องการเสริมดวงเสริมฮวงจุ้ย รวมไปถึงแบรนด์รถยนต์ที่มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าได้รับสิทธิ์ดูดวง เลือกสีรถ และเลขป้ายทะเบียนมงคลกับนักพยากรณ์ชื่อดัง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ตลาด ‘มูเตลู’ เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดยมีผลสำรวจที่ระบุว่าคนไทยกว่า 52 ล้านคนในปัจจุบันมีความเชื่อในเรื่องของโชคลาง อันเกิดจากสภาวะตึงเครียดจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ไม่แน่นอน อันเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนอนาคตได้ ดังนั้นการมีสิ่งที่สามารถใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจจึงเป็นตัวช่วยในการดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจของใครหลายคน

อนัญญา โตแสงชัย ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหาร บจ.โฮโรโซไซตี้ กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และการทำตลาดสายมูว่า

“การตลาดสายมู (Muketing) เป็นรูปแบบการตลาดที่สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ในทุกระดับฐานะ ทุกเพศทุกวัย ทุกสายอาชีพ คอนเทนต์ประเภทนี้มักได้รับความนิยมและมี Engagement ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคอนเทนต์ประเภทอื่นเนื่องจากคนไทยตลอดจนคนเอเชียมีความชอบ และความเชื่อในเรื่องมูเตลูกันเป็นพื้นฐาน ดังนั้นการผสมผสานศิลปะ (Art) ข้อมูล (Data) ประสบการณ์ (Experience) กับศาสตร์ความเชื่อในยุคดิจิทัลทำให้การทำการทำการตลาดสายมู (Muketing) มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงโควิด-19 เรามีลูกค้าให้ความสนใจในเรื่องนี้ และใช้บริการกับเราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก”

นอกจาก “การตลาดสายมู” (Muketing) ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว การตลาดที่ใช้นักพยากรณ์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ หรือ KOL (Key Opinion Leader) สามารถสร้างกระแสความนิยม สร้างอัตราการรักษาลูกค้า (Customer Retaining Rate) และดึงดูดกำลังซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมหาศาล

โดยมีกรณีศึกษาจากเครือข่ายมือถือ 3 ยักษ์ใหญ่ ที่หลายปีมานี้ต่างก็แข่งขันกันด้วยกลยุทธ์ ‘เบอร์มงคล’ โดยใช้นักพยากรณ์ชื่อดังของเมืองไทยมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งแมน-การิน ศตายุส์ ก็เป็นหนึ่งคนที่โด่งดัง และประสบความสำเร็จจากแคมเปญ ‘เบอร์เสริมชีวิต’ ของเอไอเอส ที่คัดสรรเบอร์มงคลให้กับผู้ใช้งานกว่า 2 ล้านเบอร์ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยเบอร์มงคลนั้นยังคงเป็น Segment ใหญ่ของ “การตลาดสายมู” (Muketing) ที่สามารถสร้างมูลค่าสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นโอกาสสำหรับ “โฮโรโซไซตี้” (Horosociety) อีกหนึ่งบริษัทที่หันมาจับการตลาดสายมูโดยเฉพาะ มีการผลิตคอนเทนต์ และการวางแผนกลยุทธ์การตลาดสายมูแบบครบวงจร มีประสบการณ์ดูแลลูกค้าที่เป็นแบรนด์ องค์กร เอเจนซี่มากกว่า 200 รายยาวนานกว่า 10 ปี มีบริการการตลาดสายมู 7 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  1. Presenter & Celebrity Campaign Endorsement การใช้นักพยากรณ์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์หรือการใช้ดาราในการช่วยส่งเสริมการขายหรือแคมเปญต่างๆ อาทิ แมน-การิน ศตายุส์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ AIS เป็นต้น
  2. Branded Exclusive Content เนื้อหาคอนเทนต์ความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น E-Newsletter หรือ Social Content เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับลูกค้าคนสำคัญใน Segment ต่างๆ อย่างกลุ่มธนาคาร และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
  3. Branded Exclusive Product or Premium Gift สินค้าหรือของพรีเมียมที่เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น กระเป๋าเก็บสมุดบัญชีมงคลสำหรับกลุ่มธุรกิจธนาคาร เป็นต้น
  4. Branded Exclusive Activity and Event กิจกรรมหรืองานอีเวนต์ที่เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น อีเวนต์ส่งเสริมการขายให้คู่ค้าของแบรนด์ หรือกิจกรรมทัวร์ทำบุญไหว้พระสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษหรือผู้ชนะกิจกรรมจากแบรนด์ เป็นต้น
  5. Branded Exclusive Personal Consulting นักพยากรณ์เป็นแขกรับเชิญในการพยากรณ์ศาสตร์ต่างๆ ทั้งในรายการทีวี รายการออนไลน์ และไลฟ์บนแอปพลิเคชันขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ อาทิ Shopee, LAZADA รวมไปถึง Owned Media อย่าง BIG C และ Tesco Lotus เป็นต้น
  6. Lead Generation and Data Collection Service การเก็บข้อมูลด้วยการใช้คอนเทนต์ หรือเนื้อหาความเชื่อ เช่น แคมเปญตรวจดวงรับปีใหม่เพื่อนำไปพัฒนาทำ CDP (Customer Data Platform) สร้างความยั่งยืนให้องค์กร
  7. 360 Creative Muketing บริการวางแผน และให้คำปรึกษาการตลาดสายมูแบบสร้างสรรค์ครบวงจรในทุกๆ ด้าน

โดยในปีที่ผ่านมาโฮโรโซไซตี้ ได้ทำกิจกรรมการตลาดให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ อาทิ

  • SCB LINE OA (LINE BCRM) ที่ผู้ติดตามในไลน์สามารถเช็กดวงตัวเองได้
  • เดอะมอลล์กรุ๊ป ในการจัดอีเวนต์ดูดวงสุดพิเศษโดยนักพยากรณ์ชื่อดัง และทำ Lucky Planner ที่รวบรวมเคล็ดลับการใช้ตัวเลข และสีเพื่อให้คนไปปรับใช้ในการเสริมสิริมงคลชีวิต รวมถึงฤกษ์ดีในแต่ละเดือน
  • คาราบาวแดง บริหารจัดการนักพยากรณ์ในแคมเปญลุ้นล้าน ล่าฝัน #โชคดีวันพุธ
  • Grab ในแคมเปญดวงดี ดีลปัง ทั้งการทำนายดวง แจกวอลเปเปอร์เสริมดวง เปิดร้านตะลุยแก้ชง เสริมดวง
  • พฤกษา เรียลเอสเตท กับการทำคอนเทนต์ฮวงจุ้ย รองรับแคมเปญ 11.11 วันดีของคนจะมีบ้านใหม่
  • Shopee Live Official ช่วง Pro Horo โดยนักพยากรณ์ของโฮโรโซไซตี้จะสลับสับเปลี่ยนกันไลฟ์ทุกวันพุธ
  • LINE โดยการทำคอนเทนต์ดูดวงไพ่ยิปซี และเซียมซี ให้ระบบดูดวงอัตโนมัติใน LINE OA
  • กรุงศรี ออโต้ กับการสร้างระบบให้คนทั่วไปเข้ามากรอกข้อมูล เช็กเลขทะเบียนรถและเบอร์โทรศัพท์ แล้วได้รับทำนายกลับไป

ล่าสุดโฮโรโซไซตี้ได้ประกาศลุย Horoscope NFT เพราะเล็งเห็นว่าแนวโน้มในอนาคต NFT จะเป็นตลาดที่เติบโตต่อเนื่อง พร้อมหวังผลักดันธุรกิจสายมูให้เติบโตในตลาดดิจิทัลแบบเต็มตัว โดย Horoscope NFT ชิ้นแรกได้ถูกออกแบบโดย แมน-การิน ศตายุส์ กับผลงานที่ชื่อว่า “ลักกี้ นัมเบอร์ อาร์ติแฟ็คต์” (Lucky Number Artifact)

]]>
1370621