ทรู คลิกไลฟ์ TRUE CLICK LIFE ผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่อการศึกษาแบบครบวงจร ก้าวสู่ปีที่ 15 ไปพร้อมกับความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เสริมแกร่งโรงเรียนเอกชนสู่การเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยดึงจุดแข็งด้านความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสารครบวงจรและนวัตกรรมล้ำสมัยของไทย ต่อยอดสู่การออกแบบหลักสูตรที่มีกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับโรงเรียนเอกชน
โดดเด่นที่หลักสูตรคุณภาพก้าวล้ำนำเทรนด์ และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ พร้อมสื่อการสอนครบครัน หวังแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน เพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียน โดยมีโรงเรียนทั่วประเทศที่ใช้หลักสูตรพิเศษนี้กว่า 250 แห่งแล้ว และพร้อมที่จะขยายศักยภาพสื่อการเรียนการสอนที่รองรับการศึกษาไทยในยุคใหม่ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เดินหน้าสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งอบรมพัฒนาครู เพิ่มรายวิชาที่รองรับแนวโน้มการศึกษาในอนาคต อัปเดทหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
ดร. เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดมุมมองก้าวทันโลกดิจิทัลสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนว่า ทรูเข้ามามีส่วนผลักดันกระบวนการศึกษาของไทยหลากหลายมิติมาโดยตลอด ทรูจึงมองเห็นช่องว่างด้านการเชื่อมต่อกระบวนการเรียนรู้ เกิดไอเดียผลิตสื่อมัลติมีเดียและคลังความรู้ในรูปแบบดิจิทัลขึ้นเอง ด้วยการใช้ศักยภาพด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ผลิตนวัตกรรมสื่อการสอนเต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละชั้นเรียนภายใต้การทำงานของ ทรู คลิกไลฟ์ (TRUE CLICK LIFE)
ผู้บริหารด้านการศึกษา ทรู เผยวิสัยทัศน์ของทรู คลิกไลฟ์ จะมุ่งยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล เน้นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ภายใต้แนวคิด CREATIVE LEARNING INNOVATION ประกอบด้วย 5 นวัตกรรมครบวงจร ครอบคลุมทุกมิติการศึกษา
1. Innovative Curriculum นวัตกรรมหลักสูตรคุณภาพ ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ (Computing Science Genius Program) หลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Genius Program) หลักสูตรภาษาจีน (Chinese Genius Program) หลักสูตรโรโบติกส์ (Robotics Genius Program) และหลักสูตรดนตรี (Music Genius Program)
2. Innovative Multimedia สื่อมัลติมีเดียล้ำสมัย ตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่
3. Innovative Education Management ระบบการบริหารจัดการการศึกษา วิเคราะห์ประเมินข้อมูลโรงเรียน ครู นักเรียนได้ตรงจุด
4. Innovative Learning Community สร้างสังคมการเรียนรู้ เชื่อมโยง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
5. Innovative Professional Development พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ เสริมทักษะก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตลอดปี
ทั้งนี้ เหตุผลที่ทรู คลิกไลฟ์ ชนะใจ และเข้าสู่รั้วโรงเรียนเอกชนได้มากกว่า 250 แห่งในปัจจุบัน มาจากความเข้าใจความต้องการของโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างลึกซึ้ง และสามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุด พร้อมนำเสนอความคุ้มค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนมากที่สุด และส่งมอบกระบวนการเรียนรู้แบบครบวงจรให้กับโรงเรียนแบบเบ็ดเสร็จ (End to End)
“เราขอเพียงห้องเปล่าเพื่อปรับเปลี่ยน ดีไซน์สิ่งแวดล้อม จัดวางสื่อ และบูรณาการเรียนการสอนให้ตรงตามเป้าหมาย รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่เข้าใจเด็ก ให้ความสนุก กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และเหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งใบงาน กิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนพัฒนาครูต้นแบบที่เข้าใจระบบการเรียนรู้ตามแบบฉบับของทรู คลิกไลฟ์ ส่งตรงถึงโรงเรียน เพื่อนำไปสื่อสารต่อกับครูของโรงเรียนอีกทอดหนึ่ง เพื่อทำให้รูปแบบการเรียนการสอนสมบูรณ์แบบและผลสัมฤทธิ์สูงสุด” ดร. เนตรชนก กล่าว
“เสน่ห์ของสื่อการเรียนการสอนของทรู คลิกไลฟ์ คือความใส่ใจในกระบวนการการเรียนรู้ของเด็ก สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ในแต่ละชั้นวัย เราสร้างแอนิเมชัน ที่มีคาแรกเตอร์อย่างพี่แทนและน้องแยมเป็นตัวแทนของเด็กชายและหญิง และยังมีพี่คลิก Click เป็นตัวแทนของผู้ช่วยเหลือการเรียนที่จะเติบโตตามเด็กๆ ไปเรื่อย ๆ เราสร้างสื่อการสอนที่ใส่ใจในรายละเอียด และสอดรับกับการเรียนรู้ มีการใช้สื่อแบบผสมผสาน อาทิ หนังสือ สื่อภาพ สื่อกิจกรรม สื่อดิจิทัล เพลง การ์ตูนแอนิเมชัน เกมฝึกทักษะ แฟลชการ์ด บวกกับทักษะการสอนของครูที่จะสังเกตพฤติกรรมและกระตุ้นเด็กให้สนุกกับเรียนรู้ตลอดคาบเรียน พร้อมกับเชื่อมโยงกับกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ และบรรลุผลตามโครงสร้างหลักสูตร”
ดร.เนตรชนก กล่าวต่อว่า ทรู คลิกไฟล์ ไม่เพียงมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่เด็กเท่านั้น แต่ยังใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยง ครู นักเรียน และผู้ปกครองเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการใช้เครื่องมือที่กระตุ้นส่วนรวมเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งยังพัฒนาระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนของครูผู้สอน ส่งต่อชุดความรู้สู่ผู้เรียนได้อย่างตรงจุด และแสดงผลการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล มีการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลของโรงเรียน ครู และนักเรียนในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาต่อของทรู คลิกไลฟ์ จะยังคงสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เชื่อมโยง โดยจะพัฒนาสื่อการเรียนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทรู คลิกไลฟ์ มีเครื่องมือพร้อมจัดทำสื่อต่าง ๆ ให้สดใหม่ได้อยู่เสมอ นอกจากนั้นยังมีแผนในการสร้าง Learning Center เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแบบยั่งยืนให้ทั้งนักเรียนและครู ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 พร้อมประกาศตัวเป็นทางเลือกทางการศึกษา โดยคาดหวังจำนวนโรงเรียนที่สนใจหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ เพิ่มขึ้น 500 – 1,000 แห่งทั่วประเทศ
โรงเรียนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร ทรู คลิกไลฟ์ ติดต่อได้ที่โทร. 08-9116-0239 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trueclicklife.com
]]>
สำนักข่าว CNBC รายงานว่า Coursera กำลังยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) เพื่อเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน (IPO) ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยจะใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า ‘COUR’
Coursera เเพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 โดย Daphne Koller และ Andrew Ng อดีตศาสตราจารย์ด้านคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
หลังจากที่ทั้งสองได้คลุกคลีในวงการนี้มานาน จึงมองเห็นเทรนด์การศึกษาออนไลน์ ว่าควรเปิดโอกาสให้ ‘บุคคลทั่วไป’ เข้าถึงหลักสูตรการเรียนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ COVID-19
จากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ทุกคนต้องเว้นระยะห่าง ทางการต้องระงับการเรียนการสอนที่โรงเรียนเเละสถาบันการศึกษา รูปแบบการเรียนรู้จึงเป็นมาเป็นการสื่อสารทางออนไลน์เเทน
ในปี 2020 ที่ผ่านมา มียอดผู้สมัครเรียนกับ Coursera เพิ่มขึ้นถึง 65% บริษัททำรายได้รวมกว่า 293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9 พันล้านบาท) เติบโต 59% เมื่อเทียบกับปี 2019
จากหนังสือชี้ชวนของบริษัท ระบุว่า “รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนั้น มาจากการเพิ่มขึ้นของผู้ลงทะเบียนในช่วงการระบาดของ COVID-19”
อย่างไรก็ตาม เเม้ Coursera จะมีรายได้เติบโตขึ้น จากอานิสงส์วิกฤตโรคระบาด เเต่ยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้นทุก เฉลี่ยปีละ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปีที่ผ่านมาขาดทุนไปแล้ว 66.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2 พันล้านบาท) เเต่ก็ยืนยันว่าธุรกิจนี้ยังต่อยอดไปได้อีกไกล
ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Coursera มีผู้ที่เรียนออนไลน์และได้รับวุฒิการศึกษาไปแล้ว กว่า 1.2 หมื่นคน มีค่าใช้จ่ายในการเรียนโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นบาท) ต่อคน
จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2020 มีมหาวิทยาลัยกว่า 150 แห่งทั่วโลก เปิดคอร์สสอนอยู่บน Coursera ทั้งสิ้นกว่า 4,000 คอร์ส โดยมีค่าใช้จ่ายในการเรียนระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจนได้วุฒิการศึกษา อยู่ที่ราว 9,000-45,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว2.7 แสนบาท ถึง 1.3 ล้านบาท)
นอกจากนี้ ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากำลังทรัพย์น้อย โดยมีใบรับรองการศึกษาและหลักสูตรทักษะวิชาชีพที่ ‘หลากหลาย’ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 9.99 – 99 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 274 – 3,000 บาท)
โดยช่วงที่มีการแพร่ระบาด Coursera ได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลในประเทศต่างๆ มากกว่า 330 แห่งใน 70 ประเทศและ 30 รัฐของสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอให้คนว่างงานเเละผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ สำหรับธุรกิจเเละเทคโนโลยีได้ฟรี
ทั้งนี้ PitchBook ประเมินมูลค่าบริษัทของ Coursera ว่าอยู่ที่ราว 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.6 หมื่นล้านบาท)
]]>
โดยมหาวิทยาลัยแคนเบอร์รา (University of Canberra) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) เปิดเผยว่า กำลังวางเเผนที่จะเช่าเครื่องบินไปรับนักศึกษาต่างชาติราว 350 คนกลับเข้าออสเตรเลีย เบื้องต้นหวังว่าจะสามารถทำได้ในช่วงเดือนก.ค.นี้ เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้ผ่านการกักตัวก่อนกลับเข้าชั้นเรียน
อย่างไรก็ตาม เเม้แผนการนี้จะได้รับอนุญาตจากรัฐบาลระดับเมืองแล้ว แต่ยังต้องรอการอนุญาตจากรัฐบาลกลาง ซึ่งมีมาตรการสั่งปิดพรมแดนทั่วประเทศ มาตั้งแต่เดือนช่วงมี.ค.เป็นต้นมา
ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่า เที่ยวบินดังกล่าวจะมีจุดเริ่มต้นเดินทางจากประเทศใด แต่อาจจะเป็นจุดศูนย์กลางท่องเที่ยวและการเดินทางในภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาจากประเทศต่างๆ สามารถเดินทางได้
โดยจะเป็น “โครงการนำร่อง” เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติที่กำลังเรียนอยู่และไม่สามารถกลับเข้ามาในออสเตรเลียได้ เพราะมาตรการล็อกดาวน์กะทันหัน
นักศึกษาต่างชาติ ถือเป็นรายได้หลักของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย มีการประเมินว่ามาตรการปิดพรมเเดนจะส่งผลกระทบทำให้มหาวิทยาลัยอาจสูญเสียรายได้ถึง 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.4 เเสนล้านบาท)
ด้านรัฐบาลออสเตรเลีย ระบุว่าจะยังไม่เปิดชายแดนรับนักเดินทางต่างชาติไปจนกว่าจะถึงปี 2021 แต่จะพยายามผ่อนคลายระเบียบการเข้าประเทศให้กับนักศึกษาต่างชาติและผู้อาศัยในระยะยาว โดยนายกรัฐมนตรี Scott Morrison ให้ความหวังว่าอาจจะอนุญาตให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ดำเนินการนำนักศึกษาต่างชาติกลับมาเองได้ในช่วงเดือนหน้านี้
ที่มา : Reuters
]]>
ก่อนหน้านี้ Digital Disruption เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจทุกภาคส่วน รวมถึงภาค “การศึกษา” โดยเฉพาะในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เป็นเหมือนปัจจัยเร่งที่กระตุ้นให้สถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ต้อง “ลงสนามจริง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“เราพูดถึงการเรียนออนไลน์กันมาหลายปี เเต่ยังไปไม่ถึงไหน คราวนี้ถึงเวลาของจริงมาเเล้ว ถือเป็นโอกาสในวิกฤต เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ต้องพัฒนากันต่อไป”
ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่น 3 แห่ง อักษรเจริญทัศน์ เปิดใจกับ Positioning ถึงมุมมองการศึกษาไทยในยุค New Normal การปรับตัวเเละกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กร ความท้าทายในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ใหม่ รวมถึงเกร็ดชีวิต เเรงบันดาลใจเเละเป้าหมายต่อไป
หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องราวตำนาน 80 ปีของอักษรเจริญทัศน์มาบ้างเเล้ว จากรุ่นคุณปู่ที่มาจากเมืองจีนเเบบเสื่อผืนหมอนใบ เริ่มขายหนังสือตามวัดจากนั้นขยับมาพิมพ์ใบลานขายเเละขยายเป็นสำนักพิมพ์
“จากหนังสือพระสู่หนังสือเรียน”
“จากหนังสือเรียนสู่สื่อการเรียนรู้ดิจิทัล”
จุดเปลี่ยนสำคัญของอักษรเจริญทัศน์ “ยุคใหม่” ที่ก้าวขึ้นมาเป็นตัวท็อปในวงการ คือการเข้ามาสานต่อกิจการของทายาทรุ่นที่ 3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
น่าเเปลกใจไม่น้อย เเม้ “ตะวัน” จะเติบโตมากับธุรกิจการศึกษา แต่ชีวิตของเขากลับไม่ได้เลือกที่จะมาสายนี้ตั้งแต่แรก เขาเรียนวิศวกรรมเครื่องกลที่ออสเตรเลีย ก่อนจะไปเรียนต่อปริญญาโทด้านธุรกิจ ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และจบออกมาทำงานสายธนาคาร นานนับ 10 ปี
เขาเล่าย้อนว่า เมื่อถึงเวลาที่ครอบครัวคิดจะมองหาเจเนอเรชั่นใหม่เข้ามาสานต่อธุรกิจ เขาชั่งใจอยู่นานทีเดียว เพราะไม่ได้อยู่ในเเวดวงการศึกษามาก่อน คิดหนักไปจนถึงว่าตัวเองจะมีความสุขเหมือนตอนทำงานสายเเบงก์หรือเปล่า
จนได้ยินคำแทงใจว่า รุ่นที่ 3 มักจะไปไม่รอด นี่คือเเรงผลักดันที่ทำให้เขาต้องการจะพิสูจน์ตัวเองและจะทำให้องค์กรก้าวไปให้ไกลที่สุดเเละต้อง “แตกต่าง”
“ถามว่าการทำงานทุกวันนี้ สนุกกว่าสมัยทำงานแบงก์ไหม ผมว่าความรู้สึกมันต่างกัน ตอนทำงานแบงก์เราช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมาย เเต่เราตอนนี้กำลังช่วยให้เด็กไทย 10 ล้านคนบรรลุเป้าหมาย เพื่อจะได้โตขึ้นไปพัฒนาประเทศ”
ความตั้งใจว่าจะต้อง “เเตกต่าง” ทำให้ตะวันมองการศึกษาไทยในมุมมองใหม่ เขาเริ่มจากทำการบ้านอย่างหนัก ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับโรงเรียนครู ผู้ปกครองเเละนักเรียนทั่วประเทศ รวมถึงไปดูการเรียนการสอนในต่างประเทศ
จนค้นพบว่า สิ่งที่ผู้คนต้องการไม่ใช่แค่หนังสือเรียนที่ดี แต่พวกเขาต้องการ “การเรียนรู้” ที่ดีขึ้น
นำมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับรูปแบบองค์กร จากผู้ผลิตหนังสือเรียนสู่การเป็นบริษัทที่สามารถสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็กและสังคมได้ มีการดีไซน์ระบบการเรียนรู้เเบบใหม่ เพื่อให้ครูและนักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากขึ้น เน้นให้ครูใช้คำถามจุดประกายเด็ก ๆ ด้วยคำถามว่า Why (ทำไม) และ How (อย่างไร) เพื่อให้เด็กได้เกิดการคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนยุคใหม่ ให้เด็กกล้าสงสัย ได้เเก้ปัญหาเเละนำเสนอผลงานตัวเองได้
“สำหรับอักษรฯ คำว่า Digital เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือช่องทาง แต่เราให้ความสำคัญกับคำว่ากระบวนการเรียนรู้ หรือ Learning Design มากกว่า”
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคู่มือครู จัดอบรมครูเฉลี่ยปีละกว่า 7 หมื่นคน มีการเพิ่มเเนวคำถาม-คำตอบให้ครูนำไปประยุกต์สอนในห้องเรียน กระตุ้นความคิดเด็กเเละพัฒนาทักษะของครูไปพร้อมๆ กัน ส่วนการพัฒนาหนังสือเรียน จะเน้นการอธิบายด้วยภาพ มีอินโฟกราฟิกที่ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น เพิ่มสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เช่น คลิปวิดีโอสรุปเนื้อหาจากการเรียนเกือบชั่วโมงให้เป็นการเล่าเรื่องสั้นๆ 3-5 นาที ช่วยให้มีเวลาเหลือที่จะเเลกเปลี่ยนความเห็นกันในห้องเรียนมากขึ้น ปัจจุบันอักษรฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาปีละไม่ต่ำกว่า 100 รายการ
จากประเด็น #เรียนออนไลน์ ที่กำลังถูกพูดถึงในสังคม เมื่อถามถึงมุมมองในฐานะผู้ที่อยู่ในเเวดวงสื่อการเรียนการสอนว่าอะไรคืออุปสรรคของการเรียนออนไลน์ในไทย และมองความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กไทยอย่างไรบ้าง
ตะวันตอบว่า เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากันไป ซึ่งการเรียนออนไลน์ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเราและถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
“ส่วนตัวผมมองว่าไม่มีโซลูชันไหนที่สมบูรณ์แบบ เรื่องใหญ่กว่านั้นคือทัศนคติใหม่ของการเปลี่ยนโลกทัศน์การศึกษา การกล้าลองของใหม่ สิ่งเหล่านี้จะพิสูจน์ได้ว่า ไม่ว่าครูจะอยู่ในบริบทโรงเรียนแบบไหนก็สามารถลองใช้ได้ หลังจบ COVID-19 ไปแล้ว โลกทัศน์สำหรับครูและนักเรียนก็จะเปิดกว้างขึ้น”
โดยเขามองว่า “ความคุ้นเคยของคุณครู” คืออุปสรรคหลักของการเรียนออนไลน์ ในขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายให้ครูได้ลองโมเดลใหม่ๆ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีในการก้าวข้ามความท้าทายที่แตกต่างกัน
“ผมว่าเรื่องในเชิงเทคนิคมันแก้ได้ไม่ยาก แต่เรื่องของพฤติกรรมคือสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน ถ้าทุกคนได้ลองออกจาก Comfort Zone ของตัวเองสำเร็จแล้ว อะไรก็จะดีขึ้นทั้งนั้น”
ส่วนการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กไทย เขามองว่าช่วงนี้ต้องเริ่มทำในสิ่งที่ทำได้เเละกลุ่มที่ทำได้ก่อน แล้วค่อยกระจายไปเรื่อยๆ เป็นการปูทางที่ใช้เวลานานเเละเป็นเรื่องระยะยาว ต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน
“หลังจากนี้ New Normal ของโลกการศึกษาจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครูและนักเรียนจะพบว่ามีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมอีกมากมายมหาศาลบนโลกใบนี้ คุณครูที่มีความพร้อม ก็จะสามารถสอนทุกอย่างในรูปแบบดิจิทัลได้ แล้วครูก็ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้กว้างไกลมากขึ้น นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่น และมีความสร้างสรรค์ในการทำงานเพิ่มขึ้น”
ในช่วงการเรียนออนไลน์นี้ อักษรเจริญทัศน์ได้เปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคนที่มีชื่อว่า Aksorn On-Learn เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียนและผู้สอน ในรูปแบบของ E-book คลิปวิดีโอ เเละสื่อประกอบการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อการเรียนรู้ Interactive 3D สื่อการเรียนรู้ Interactive Software ภาพยนตร์สารคดีสั้นเพื่อการศึกษา สไลด์ประกอบการสอน ไฟล์เสียงประกอบการสอน ผู้เรียนสามารถจัดตารางการเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดเวลา เรียนรู้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ สามารถพัฒนาและทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง ด้านผู้สอน สามารถจำลองบรรยากาศการเรียนในชั้นเรียนได้สะดวก
Aksorn On-Learn ครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
หลังเปิดตัวตั้งเเต่ช่วงต้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมาในช่วง 2 สัปดาห์เเรกมีผู้ลงทะเบียนและเข้าใช้งานแล้วมากกว่า 8,000 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มครูผู้สอนกว่า 57% และกลุ่มของนักเรียและผู้ปกครองประมาณ 43% สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานได้ฟรีแล้วตั้งแต่วันนี้ที่ aksornonlearn
กลับมาคุยกันเรื่องธุรกิจหนังสือเรียนในไทยที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท ตามงบประมาณของรัฐบาลที่จัดสรรผ่านกระทรวงศึกษาธิการ
อักษรเจริญทัศน์ กินส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 40% ด้วยยอดขายที่ราว 2,500 ล้านบาท และถือเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจด้านการศึกษาในปีที่ผ่านมา ตีคู่มากับองค์การค้าของ สกสค. ซึ่งในปีนี้ตะวันคาดว่าตลาดยังทรงๆ
“ก่อนหน้านี้ เรายังเป็นรองในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ คณิตศาสตร์ แต่ช่วงที่ผ่านมาทำได้ดีขึ้นมาก มีการเปลี่ยนการนำเสนอใหม่ โดยเอาหลักคิดการสอนคณิตศาสตร์จากสิงคโปร์มาปรับใช้ เปลี่ยนจากคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรม มาอธิบายให้เห็นเป็นภาพส่วนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราได้มีการทำสื่อการเรียนแบบใหม่ในรูปแบบ Interactive 3D ที่ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องยากได้ง่ายขึ้น สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่”
ขณะที่ในภาพรวมของการทำการตลาด ยังเป็นแบบ B2B (Business-to-Business) ลูกค้ารายใหญ่คือกลุ่มโรงเรียน ซึ่งบริษัทกำลังวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาไปสู่แบบ B2C (Business-to-Customer) ให้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลงทุนร่วมกับสตาร์ทอัพทางการศึกษาหลายแห่ง เช่น SkillLane ซึ่งทางอักษรฯ ถือหุ้นส่วนหนึ่งด้วย
“การเข้าถึงลูกค้าเเบบ B2C คือความฝันของคนทำธุรกิจหนังสือเรียนทุกเจ้า เพราะทำได้ยากมาก แต่เราจะพยายามให้มีมากขึ้น ก้าวต่อไปของอักษรฯ คือการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่”
“ทุกวันนี้ผมยังชอบไปลงพื้นที่อยู่เรื่อยๆ ผมชอบให้พนักงานของเราไปคุยกับคุณครู นักเรียน ไปดูการเรียนการสอน เราจะได้เห็นปัญหาเเละข้อเสนอจากคนที่อยู่กับมันจริงๆ”
เขาเล่าถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก้าวเข้ามาบริหารว่า การที่จะทำคอนเทนต์เพื่อสนองการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของคนทำงานทุกตำเเหน่ง
“ความยากที่สุดคือการต้องทรานส์ฟอร์มคนในบริษัทที่มีอายุ 70-80 ปี ต้องทำให้ทุกคนกล้าที่จะเสนอไอเดีย มีการระดมสมองกันตลอดเวลา ในที่ประชุมผมจะชอบฟังพวกเขาพูดมากกว่า”
ตะวันเล่าย้อนไปในช่วงปีแรกๆ ที่เข้ามาทำงานที่อักษรฯ เขาลงมือทำเองเกือบทุกรายละเอียด อย่างการออกแบบปกหนังสือ เขียนโบรชัวร์ด้วยตนเอง ทุกวันนี้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้เอง ทุกส่วนงานสามารถทำงานประสานกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้ามาคอยสั่งงานตลอด
ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานในเครือทั้งหมดราว 1,400 คน มีทีมวิจัยและพัฒนา มีการนำกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ไปทดลองปรับใช้กับห้องเรียนจริง นำ Pain Point ของครูเเละนักเรียนมาปรับปรุงสื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
“ปู่ผมเคยถามว่า ผมอยากให้คนอื่นจดจำผมแบบไหนตอนที่ผมได้จากโลกนี้ไปแล้ว ผมตอบปู่ไปว่า ผมอยากให้คนอื่นจดจำผม ในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกครอบครัวที่ดี เป็นเพื่อนที่ดี และผมได้ทำในสิ่งที่ทำให้โลกมันดีขึ้น นี่คือหลักยึดในการทำงานเเละการใช้ชีวิตของผม” ตะวันกล่าว
อีกเกร็ดชีวิตเล็กๆ ของผู้สร้างสรรค์ “ตำราเรียน” มายาวนาน ที่ในวัยเด็กมีวิชาที่ชอบเเละวิชาที่ไม่ชอบเหมือนกับนักเรียนทุกคน ตะวันบอกว่า ตอนเด็กเขาชอบเรียน “วิชาฟิสิกส์” มากเพราะเป็นวิชาที่ทำให้ได้คิดและได้ไขปัญหา
“ผมเลือกเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เพราะอยากเป็นวิศวกร ผมเเค่อยากเรียนฟิสิกส์ ส่วนวิชาที่ไม่ชอบตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็คงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ แต่ไม่น่าเชื่อว่าทุกวันนี้พอผมได้ทำงานจริงๆ เรื่องเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเจรจา การเข้าใจผู้คน การสื่อสารเเละการตัดสินใจ”
ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งอักษรเจริญทัศน์ ปิดท้ายด้วยการฝากถึง “คนรุ่นใหม่” ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนวัยศึกษาว่า ความสงสัยคือบ่อเกิดของการเรียนรู้ทั้งมวล ทุกคนมีจุดแข็งของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตามแฟชั่นของสังคม
“ยุคนี้เราต้องรู้ให้กว้างและรู้ให้ลึกในบางเรื่อง จนสามารถประกอบร่างเป็นองค์ความรู้ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปรับตัวให้เป็น เมื่อเจอปัญหาต้องยืดหยุ่นให้ได้”
]]>
ไอติม เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่หันมาทำด้านการศึกษาเพราะเชื่อว่าการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่าง ทั้งเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ประกอบกับการประเมิน PISA ในปี 2018 จาก 79 ประเทศทั่วโลกประเทศไทยได้อันดับที่ไม่ค่อยดีนัก โดยคณิตศาสตร์อยู่ที่อันดับ 58 วิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ 54 และการอ่านอยู่อันดับที่ 67 ในขณะที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่มีผลการเรียนที่เทียบเท่ากับโรงเรียนชั้นนำระดับโลก ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 15,000 แห่ง อาจจะขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน หรือคุณครูที่มีไม่เพียงพอสำหรับทุกระดับชั้น ซึ่งหากเด็กไทยทั่วประเทศกว่า 8 ล้านคน ได้รับการศึกษาที่เหมือนกัน ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดจะลดลงได้ถึง 39% (ข้อมูลจาก UNESCO)
การศึกษาที่ดี 1.ต้องมีคุณภาพ 2.ราคาไม่สูง และ 3.เข้าถึงง่าย แต่ทางเลือกในปัจจุบันยังสามารถตอบโจทย์ได้แค่ 2 ใน 3 ดังนั้น StartDee จะมาช่วยปลดล็อกตรงนี้ ดังนั้น เทคโนโลยีไม่ได้มาแทนโรงเรียนโดยสิ้นเชิง เพราะแต่ละส่วนก็มีจุดเด่นแตกต่างกัน อาทิ โรงเรียนมีเนื้อหาที่ครอบคลุมกว่า, ครูสามารถทำความรู้จักกับนักเรียนได้ดี และนักเรียนได้เจอกับเพื่อน ๆ ขณะที่ออนไลน์ก็มีจุดเด่นที่ต่างจากโรงเรียน อาทิ สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตลอดเวลา, สามารถรวมครูเก่ง ๆ ไว้ในที่เดียว ดังนั้นการเรียนออนไลน์จะมาช่วยเสริมการเรียนปกติ
สำหรับ StartDee มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็น GenZ ขณะที่การเข้าถึงแอปพลิเคชันก็ทำได้ง่าย เพราะนักเรียนทั่วประเทศไทยกว่า 86% มีสมาร์ทโฟน และ 82% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และในส่วนของหลักสูตร จะมีตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครอบคลุม 7 วิชาหลัก มีการเรียนการสอนทั้งคลาสประจำวัน คลาสไลฟ์สด อีกทั้งสามารถดูย้อนหลังได้ มีแบบฝึกหัด ชีทสรุปบทเรียน ช่วยให้สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตัวเองตามความต้องการได้อย่างไม่จำกัด
เพราะด้วยความเป็นบริษัทเอกชน ดังนั้นจำเป็นต้องทำรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงบริษัทและเงินเดือนของครูผู้สอน แต่โจทย์ที่ต้องการให้เข้าถึงง่าย ราคาจึงต้องไม่สูง ดังนั้นจึงตั้งราคาเริ่มต้นเพียง 200–300 บาทต่อเดือน ซึ่งถ้าเทียบกับการเรียนพิเศษในรูปแบบต่าง ๆ ถือว่าถูกกว่า 10-15 เท่า และเพื่อเป็นการลดช่องว่างในการขาดหายไปจากการเรียนรู้ในช่วงที่โรงเรียนถูกเลื่อนเปิดเทอม จึงเปิดให้เรียนฟรี ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ Startdee มีพันธมิตรทั้งภาครัฐ-เอกชน ร่วมขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทย อาทิ เอไอเอส (AIS) ที่ช่วยสนับสนุนอินเทอร์เน็ต ร่วมพัฒนาคอนเทนต์ด้านทักษะดิจิทัล พร้อมกับแจกซี้ดซิม (ZEED SIM) ให้ใช้บริการแอปพลิเคชัน StartDee โดยไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต, การีนา (Garena) ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาและพัฒนาทักษะรอบด้านให้เยาวชน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ที่ร่วมทำงานวิจัยเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศ ที่ร่วมทดลองใช้งานและพัฒนาแอปพลิเคชัน
สำหรับแอปพลิเคชันด้านการศึกษา “StartDee” iOS ดาวน์โหลดได้ที่ App Store (https://apple.co/3diWevO) Android ดาวน์โหลดได้ที่ Play Store (https://bit.ly/2WasAlx) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/startdeethailand และ http://startdee.com
]]>ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม กองทุนฯ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
– กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
– กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนฯ เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่ และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน
ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถดูรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทาง www.studentloan.or.th และเพื่อเป็นการร่วมเว้นระยะห่างทางสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@กยศ. หรือ Line@กยศ.หักเงินเดือน หรือ Line@กยศ.คดีและบังคับคดี หรือ e-mail : [email protected]
]]>โดยกองทุนนี้ ตั้งเป้าให้การสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์มากถึง 700 คน เเละเตรียมมอบเงินทุนให้เฉลี่ยคนละ 7 ล้านเยน (ราว 2 ล้านบาท) เป็นระยะเวลา 7-10 ปี เเละอาจมีการพิจารณาเพิ่มเงินทุนเป็น 10 ล้านเยนได้ด้วย ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 40 ปีเป็นหลัก
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับนักวิจัยรุ่นใหม่ในญี่ปุ่น คือมีงานที่ไม่แน่นอนและมีระยะเวลาจำกัด โดยเงินอุดหนุนนี้จะช่วยส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ได้มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น เพื่อให้สามารถตั้งเป้ากับงานวิจัยที่สร้างความท้าทายใหม่เเละจุดประกายคลื่นลูกใหม่เเห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี
สำหรับงบประมาณการจัดตั้งกองทุนนี้จะรวมอยู่ในเเพ็กเกจของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ที่ผ่านมา หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเเล้ว นักวิจัยรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการขาดแคลนงานที่มีเสถียรภาพ โดยอายุของนักวิจัยระดับปริญญาเอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 36.3 ปี ในปีงบประมาณ 2015 เพิ่มขึ้นจาก 33.8 ปี ในปีงบประมาณ 2009 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นพบว่า นักวิจัยผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 46.9% จาก 32.7% เช่นกัน
ที่มา : Nikkei Asian Review
ภาพ : Pixabay