การ์ทเนอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Jun 2023 12:41:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจพบพลัง ‘ChatGPT’ ทำผู้บริหาร 45% เร่งลงทุน AI และองค์กร 70% กำลังศึกษาเทคโนโลยี Generative AI https://positioningmag.com/1433446 Wed, 07 Jun 2023 11:12:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433446 ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสามารถของ AI Chatbot อย่าง ChatGPT ได้สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับทั้งพนักงานและองค์กร เพราะด้วยความฉลาดจนน่ากลัวที่อาจทำให้ในอนาคต AI อาจมาแทนที่มนุษย์ ขณะที่องค์กรต่าง ๆ เองก็อยากให้องค์กรตัวเองมีเทคโนโลยีล้ำ ๆ นี้มาใช้ในองค์กร

จากผลการสำรวจของ การ์ทเนอร์ อิงค์ ที่สอบถามความคิดเห็นผู้นำธุรกิจกว่า 2,500 ราย พบว่า โดย 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ChatGPT กระตุ้นให้พวกเขาเพิ่มการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่าองค์กรของตนอยู่ในช่วงของ การสำรวจและศึกษาเทคโนโลยี Generative AI ขณะที่ 19% นั้นอยู่ในช่วงของการ ทดลองใช้หรือในช่วงของการผลิต

“ความร้อนแรงของเทคโนโลยี Generative AI ไม่มีทีท่าลดลง โดยองค์กรต่าง ๆ กำลังขบคิดอย่างหนักว่าจะจัดสรรงบประมาณให้กับโซลูชัน Generative AI แค่ไหน จะเลือกลงทุนกับผลิตภัณฑ์ใดถึงจะคุ้มค่า และจะเริ่มใช้งานจริงจังเมื่อใด รวมถึงเรียนรู้วิธีการลดความเสี่ยงที่มาพร้อมเทคโนโลยีนี้” ฟราสซิส คารามูซิส รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าว

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าอยากลงทุนด้าน Generative AI ก็คือ ประสบการณ์ของลูกค้า โดยมีสัดส่วนถึง 38% จากความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยชี้ว่า แม้จะมีอุปสรรคทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer experience) คือหัวใจหลักที่ผู้บริหารให้ความสำคัญสำหรับการลงทุนใน Generative AI โดยมีเพียง 17% ระบุว่า การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน (Cost Optimization) เป็นเป้าหมายหลักที่เลือกลงทุน Generative AI

ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่เริ่มทดลองใช้ Generative AI และมีหลายแห่งนำไปใช้ในหลายกรณี เช่น ใช้ปรับปรุงเนื้อหาในสื่อหรือสร้างโค้ด ทั้งนี้ Generative AI ยังมีศักยภาพอีกมากที่สนับสนุนหรือรองรับการพัฒนาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มความสามารถของมนุษย์หรือเครื่องจักร รวมถึงช่วยปรับการดำเนินธุรกิจและกระบวนการทางไอทีให้เป็นแบบอัตโนมัติ

“ธุรกิจรูปแบบขับเคลื่อนเองอัตโนมัติ หรือ Autonomous Business คือก้าวถัดไปครั้งใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่สามารถลดผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ และแม้แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดย CEO และ CIO ที่ใช้ Generative AI ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงตลอดทั่วทั้งโมเดลผลิตภัณฑ์และโมเดลการดำเนินธุรกิจจะพบกับโอกาสการเติบโตของรายได้อย่างมหาศาล”

นอกจากนี้ ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจจำนวน 68% เชื่อว่า Generative AI นั้นมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ซึ่งเมื่อเทียบกับเพียง 5% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่ามีความเสี่ยงมากกว่ามีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารอาจเปลี่ยนมุมมองไปเมื่อลงทุนในระดับที่ลึกขึ้น

ความกระตือรือร้นกับเทคโนโลยีใหม่ช่วงแรก ๆ สามารถให้แนวทางกับการวิเคราะห์ที่เข้มข้นต่อความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง ๆ มักจะพบกับคำถามด้านความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และจริยธรรม เมื่อพวกเขาเริ่มพัฒนาและนำเทคโนโลยี Generative AI มาใช้” คารามูซิส กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1433446
บริษัทวิจัยเทคโนโลยีคาด 4 ปีข้างหน้า คน 25% จะใช้เวลาใน ‘Metaverse’ อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง https://positioningmag.com/1374086 Tue, 15 Feb 2022 08:48:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374086 ‘การ์ทเนอร์’ (Gartner) บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก ได้ออกมาคาดการณ์ว่าภายใน 4 ปีข้างหน้านี้ ผู้คนจำนวน 25% บนโลกนี้จะใช้เวลาอยู่ใน ‘Metaverse’ อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง และการเติบโตของ Metaverse จะก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่ช่วยขยายการทำธุรกิจดิจิทัล

มาร์ตี้ เรสนิค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า การ์ทเนอร์ให้นิยามของ Metaverse ว่าเป็นพื้นที่เสมือนจริงที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมาแบ่งปันใช้ร่วมกัน โดยสร้างขึ้นจากการผสมผสานความเป็นจริงทางกายภาพและดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ชิ้นเดียวหรืออุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ตั้งแต่แท็บเล็ตจนถึงจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ

โดยภายในปี 2569 ผู้คนราว 25% ทั่วโลกจะใช้เวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงไปกับการทำงาน ช้อปปิ้ง เรียนรู้ เข้าสังคม รวมถึงใช้เพื่อความบันเทิงรูปแบบต่าง ๆ ในโลก Metaverse

“ผู้ให้บริการพร้อมสร้างแนวทางการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลให้แก่ผู้ใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การเข้าร่วมคลาสเรียนแบบเวอร์ชวลไปจนถึงการซื้อที่ดินดิจิทัลหรือสร้างบ้านเสมือนจริง แม้กิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินอยู่ในคนละสภาพแวดล้อม แต่ท้ายที่สุดกิจกรรมทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวนั่นคือ Metaverse ปลายทางที่รวมเทคโนโลยีและประสบการณ์หลากหลายไว้ด้วยกัน”

การ์ดเนอร์มองว่า จะไม่มีผู้ให้บริการใดที่เป็นเจ้าของ Metaverse แต่เพียงผู้เดียว และ Metaverse ยังส่งผลกระทบไปถึงทุกธุรกิจที่โต้ตอบสื่อสารกับผู้บริโภคทุกวัน รวมไปจะมีรูปแบบเศรษฐกิจเสมือนจริงเกิดขึ้นและขับเคลื่อนโดยสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs)

มาร์ตี้ เรสนิค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์

นอกจากนี้ Metaverse ยังส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงาน องค์กรต่าง ๆ จะมุ่งนำเสนอการมีส่วนร่วม ความร่วมมือกันและการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นให้แก่พนักงานผ่านพื้นที่ทำงานเสมือนจริงแบบเวอร์ชวลออฟฟิศ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตนเอง เพราะว่า Metaverse ได้ช่วยจัดการวางระบบให้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้การจัดกิจกรรมเสมือนจริงที่ได้รับความนิยมในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา จะมอบโอกาสในการสร้างเครือข่ายและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมและมีความสมจริงยิ่งขึ้น

องค์กรต่าง ๆ จะมีความสามารถในการขยายและพัฒนาธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยย้ายจากธุรกิจดิจิทัลไปเป็นธุรกิจใน Metaverse ซึ่ง 30% ขององค์กรทั่วโลก จะมีผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมสำหรับดำเนินธุรกิจใน Metaverse ภายในปี 2569” เรสนิค กล่าวเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Metaverse มาใช้นั้นยังถือเป็นเรื่องใหม่และกระจัดกระจายอยู่มาก และการ์ทเนอร์ยังเตือนองค์กรที่มีการลงทุนสูง ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาด Metaverse ว่า

“มันยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าควรลงทุนแบบใดเพื่อสร้างความสำเร็จในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ควรใช้เวลาเรียนรู้ สำรวจและเตรียมพร้อมรับมือกับโลก Metaverse เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน”

]]>
1374086
‘ลงทุนไอที’ ปีหน้าฟื้นแน่! เทคโนโลยีทำงานระยะไกลจะเป็น ‘พระเอก’ ดันตลาด https://positioningmag.com/1304630 Thu, 05 Nov 2020 11:09:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304630 แม้สถานการณ์ COVID-19 จะทำให้องค์กรทั่วโลกต้องหันมาพึ่งพาไอทีมากขึ้น แต่ ‘การ์ทเนอร์’ ก็ยังคาดว่าเม็ดเงินการลงทุนด้านไอทีจะลดลง 5.4% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าคาดว่าจะกลับมาโตได้อีกครั้ง

ภายในงาน Gartner IT Symposium/Xpo Americas ที่จัดขึ้นในรูปแบบเวอร์ชวล เหล่านักวิเคราะห์ได้แสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มตลาดไอทีทั่วโลกในปี 2564 อาจจะแตะ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 4% โดยตลาดซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้งที่ 7.2%

เนื่องจากแรงกระตุ้นขององค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาส่งเสริมการทำงานจากระยะไกลของบุคลากรมากขึ้น รวมถึงบริการแบบเวอร์ชวล อาทิ บริการเรียนหรือบริการด้านสุขภาพทางไกล และการประยุกต์ใช้ระบบไฮเปอร์ออโตเมชั่น เพื่อให้องค์กรตอบรับความต้องการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดได้อย่างเหมาะสม

ส่วนตลาดดาต้าเซ็นเตอร์จะเติบโตสูงเป็นอันดับสองที่ 5.2% เนื่องจากไฮเปอร์สแคลเลอร์เร่งสร้างศูนย์ข้อมูล และองค์กรทั่วไปกลับมาดำเนินแผนการขยายศูนย์ข้อมูลตามปกติ โดยอนุญาตให้พนักงานกลับเข้าทำงานในสำนักงานได้เหมือนเดิม และแม้ว่ากิจกรรมบนคลาวด์จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่องค์กรเปลี่ยนไปใช้ระบบการทำงานผ่านระยะไกล หรือมีการใช้จ่ายของคลาวด์ระดับองค์กรในหลากหลายหมวดหมู่ แต่กิจกรรมเหล่านั้นจะยังไม่ส่งผลต่อรายได้ของผู้ผลิตต่างๆ จนถึงปี 2564

“ภาวะการใช้จ่ายชะลอตัวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราวเมษายนจนถึงสิงหาคมปีนี้ รวมถึงโครงการต่าง ๆ ประเภท ‘ทดลองใช้’ ของผู้ให้บริการระบบคลาวด์กำลังจะเริ่มทำให้รายได้จากคลาวด์ขยับขึ้นจากปีนี้ และจะเติบโตยาวไปถึงปี 2565 เนื่องจากคลาวด์พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี” จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ด้วยความผันผวนของรายได้ทำให้ ‘เงินสด’ มีสถานะสำคัญสูงสุด ทำให้ตอนนี้เหล่าซีไอโอกำลังจัดลำดับความสำคัญว่างานไหนเหมาะสมกับการลงทุนด้วยต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้น แม้ว่าบริษัทต่าง ๆ มีงานด้านไอทีต้องทำมากขึ้นด้วยเงินให้ใช้ที่น้อยลง พวกเขาจึงเบรกในส่วนที่ไม่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือและเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเติบโตของตลาดอุปกรณ์และบริการด้านการสื่อสารลดลง

“จากนี้ต่อไปการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลจะไม่อยู่ภายใต้เหตุผลเรื่อง ROI แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาด ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศวันนี้ได้เป็นตัวกำหนดความอยู่รอดของธุรกิจมากกว่าแง่ของการเติบโต”

ทั้งนี้ คาดการณ์ภาพรวมมูลค่าการใช้จ่ายไอทีของประเทศไทยในปีหน้าจะพลิกกลับมาเติบโตที่ 5.6% จากในปีนี้คาดว่าจะลดลง 6.8%

]]>
1304630
ภาพรวมมูลค่าการใช้จ่ายด้านบริการไอทีทั่วโลกและไทยช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1296812 Mon, 14 Sep 2020 08:48:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296812 1296812 Work from Home ไม่ช่วย ลงทุนไอที -4.7% องค์กรเบรกซื้อ ‘อุปกรณ์’ และ ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ https://positioningmag.com/1296360 Thu, 10 Sep 2020 12:32:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296360 หลังจากเกิดการระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลกนั้น หลายองค์กรในช่วงแรกก็ได้เริ่มเพื่อปรับตัวต่อสถานการณ์ โดยให้พนักงานทำงานผ่านระบบทางไกล รวมถึงการศึกษาช่องทางดิจิทัลใหม่ ๆ และการกู้คืนความเชื่อมั่นกับนักลงทุนที่เกิดความไม่มั่นใจ แต่ถึงกระนั้น ‘การ์ทเนอร์’ (Gartner) ได้ระบุว่าเม็ดเงินลงทุนในไอทีทั่วโลกจะลดลง -4.7%

เจฟฟ์ เคซี่ย์ นักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ทเนอร์ ระบุว่า หลังการเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 5% ในปี 2562 แต่ผลจาก COVID-19 ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านบริการไอทีลดลง ไม่ว่าจะเป็น ขนาด เงื่อนไข และประเภทของดีลในสัญญาทางการค้าล้วนได้รับผลกระทบ เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ ๆ ถูกตัดทอนหรือยกเลิกไป โดยคาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงราว -4.7% หรือคิดเป็นมูลค่า 514,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอที อาทิ ในหมวดพีซีและอุปกรณ์เคลื่อนที่จะเห็นการเติบโตลดลงมากที่สุด -12.1% ตามมาด้วยในหมวดของระบบดาต้าเซ็นเตอร์

COVID-19 ไม่เพียงเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีในแวดวงธนาคารและหลักทรัพย์นั้นเกิดความผันผวน แต่ยังเป็นตัวกำหนดวิธีการทำธุรกรรมของลูกค้าต่อสถาบันการเงินให้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บริษัทเหล่านี้ยังต้องเดินหน้าให้บริการและตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำและการสนับสนุนน้อยลงจากภาครัฐ”

การ์ทเนอร์คาดการณ์การใช้จ่ายด้านสินค้าและบริการทางเทคโนโลยี รวมไปถึงระบบไอทีสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กรของธุรกิจธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ของโลกนั้นจะกลับมาพลิกฟื้นในช่วงปี 2564 ด้วยอัตราการเติบโตที่ 6.6% ทั่วโลก และสำหรับประเทศไทยคาดว่าปีนี้มีเม็ดเงินลงทุนราว 48,900 ล้านบาท โดยลดลงจากปีที่แล้ว -1.7% และคาดว่าในปี 2564 จะกลับมาเติบโต 6.6% เช่นกัน

“ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ที่ดีขึ้น ตอนนี้ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ต่างกำลังเร่งผลักดันและริเริ่มการใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น แชทบอทสื่อสารกับลูกค้า กระบวนการอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ (RPA) และโซลูชันการสร้างบัญชีแบบ end-to-end นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโครงสร้างองค์กรและขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการหันมาจัดลำดับความสำคัญของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในปีหน้า” นายเคซี่ย์ กล่าวเพิ่มเติม

การ์ทเนอร์เชื่อว่าความสามารถของการสร้างมูลค่าให้กับบริการและที่มาของรายได้แหล่งใหม่ ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อสร้างความสำเร็จระยะยาวตามแผนการฟื้นฟูธุรกิจ COVID-19 ชี้ให้ธนาคารมองเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มบทบาทของการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลและขยายบริการให้ครอบคลุม จากผลสำรวจ 2020 Gartner CIO Survey ระบุว่าปัจจุบันธนาคารมีรายได้ที่มาจากบริการดิจิทัลเพียง 27% เท่านั้น

]]>
1296360
‘เสียวหมี่’ ขึ้นแท่น ‘เบอร์ 1’ ตลาดสมาร์ทโฟนไทย เบียด ‘ออปโป้’ หล่นที่ 2 https://positioningmag.com/1282015 Thu, 04 Jun 2020 10:40:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282015 ในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ต้องเผชิญกับ COVID-19 ส่งผลให้ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกตกลงอย่างเห็นได้ชัด โดยการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าลดฮวบถึง -20.2% เนื่องมาจากผู้บริโภคหยุดการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะที่ยอดขายทุกคนหล่นฮวบ แต่มีเพียง Xiaomi (เสียวหมี่) เท่านั้นที่สามารถเติบโตได้

อ่าน >>> COVID-19 ฉุดยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลก Q1/63 วูบ 20% มีเพียง Xiaomi ที่ยังโตได้

ภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนโลกเบอร์ 1 ยังคงเป็น Samsung แต่ยอดขายไตรมาสแรกกลับหล่นถึง -22.7% ขณะที่เบอร์ 2 อย่าง Huawei ติดลบ -27.3% ตามด้วย Apple ยอดตก -8.2% แต่เบอร์ 4 อย่าง Xiaomi กลับเติบโตได้ 1.4% ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดที่ 9.3% คิดเป็นจำนวนเครื่อง 27,817,000 ยูนิต โดยปัจจัยที่ทำให้เติบโตคือ ‘Redmi’ ที่ทำยอดขายพุ่งกระฉูดในตลาดต่างประเทศ อีกทั้ง Xiaomi ยังเน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ต้น

แม้ว่าในตลาดโลกจะเป็นที่ 4 แต่ในประเทศไทยนั้น การ์ดเนอร์ระบุว่า Xiaomi ก้าวเป็นเบอร์ 1 ในตลาดครั้งแรกด้วยส่วนแบ่งการตลาด 16.2% มีจำนวนยอดขายกว่า 691,000 เครื่อง โดยเบียดเอา Oppo ที่เคยเป็นเบอร์ 1 ตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2018 มาอยู่ที่ 2 มีส่วนแบ่งตลาดที่ 12.6% ตามมาด้วย Vivo 10.5% Samsung และ Apple อยู่อันดับ 4 และ 5 ตามลำดับ

“ในปีนี้ เราจะนำเสนอสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงกลุ่มสินค้าสมาร์ทโฮมที่หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยที่มีมากขึ้น ล่าสุด เสียวหมี่ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ Redmi Note 9 Pro และ Redmi Note 9 ร่วมด้วย Mi Note 10 Lite และนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น” โจนาธาน คัง ผู้จัดการใหญ่ประจำเสียวหมี่ประเทศไทย กล่าว

โจนาธาน คัง ผู้จัดการใหญ่ประจำเสียวหมี่ประเทศไทย
]]>
1282015
COVID-19 ฉุดยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลก Q1/63 วูบ 20% มีเพียง Xiaomi ที่ยังโตได้ https://positioningmag.com/1281666 Tue, 02 Jun 2020 08:08:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281666 การ์ทเนอร์ เปิดยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนทั่วโลกไตรมาสแรกปี 2563 ลดฮวบถึง 20.2% เป็นผลจากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุปสงค์สำหรับสมาร์ทโฟนหายไปอันเนื่องมาจากผู้บริโภคหยุดการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น 

อยู่ในช่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

แอนชูล กุปต้า นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกประสบกับภาวะตกต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ผู้ผลิตชั้นนำส่วนใหญ่จากจีนรวมถึง Apple ต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการปิดโรงงานชั่วคราวในประเทศจีน และอีกตัวแปรสำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกเพื่อกักตัวเองอยู่ในสถานที่ปลอดภัย”

Samsung Huawei และ OPPO มียอดขายเติบโตต่ำสุดใน 5 แบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชั้นนำของโลก แบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชั้นนำทั้ง 5 รายต่างได้รับผลกระทบ และมียอดขายลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ยกเว้น Xiaomi โดยอุปกรณ์มือถือแบรนด์ Redmi ทำยอดขายพุ่งกระฉูดในตลาดต่างประเทศ และการรุกหนักในช่องทางออนไลน์ทำให้ Xiaomi ประสบความสำเร็จ โกยยอดขายได้ดีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ตรงข้ามกับ Samsung ที่ยอดขายวูบลง 22.7% แต่ยังคงครองความเป็นเบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกด้วยส่วนแบ่ง 18.5%

Samsung-Huawei กอดคอยอดขายดิ่ง

Samsung ได้เพิ่มสินค้าในคลังมากขึ้นเพื่อรองรับการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกสู่ตลาด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ล็อกดาวน์ผนวกกับช่องทางการขายออนไลน์ที่ยังไม่แข็งแกร่งพอ ส่งผลให้ยอดขายสมาร์ทโฟนในกลุ่มเอ็นยูสเซอร์ต่ำกว่าช่องทางการขายปกติมาก

กัปต้า กล่าวว่า “Samsung ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์อาจจะแย่ลงไปอีก แต่ด้วยสถานะที่จำกัดของ Samsung ในประเทศจีนและที่ตั้งของโรงงานผลิตนอกประเทศจีนกลายเป็นการป้องกันไม่ให้ยอดขายดิ่งลงไปกว่านี้”

จากสมาร์ทโฟน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลก Huawei มียอดขายไตรมาสแรกปีนี้ดิ่งลงต่ำสุด โดยยอดขายตกลงเหลือ 42.5 ล้านยูนิต คิดเป็น 27.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ยอดขายวูบ แต่ Huawei ยังคงครองอันดับ 2 ในตลาดสมาร์ทโฟน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 14.2%

กัปต้ากล่าววา “ปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายของ Huawei เนื่องจากแบรนด์ได้พัฒนา Huawei Mobile Service Ecosystem (HMS) มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังขาด Google แอปฯ ยอดนิยม และ Google Play Store อยู่ ดังนั้น จึงทำให้ผู้ซื้อสมาร์ทโฟนใหม่ ๆ ในตลาดต่างประเทศไม่สนใจ Huawei มากเท่าที่ควร”

Apple กระทบจากปิดสาขา

ในขณะที่ Apple แม้จะไม่ต้องขึ้นอยู่กับประเทศจีนเหมือนอย่าง Huawei, Oppo หรือ Vivo แต่ก็ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดทั้งด้านความต้องการของตลาด และการปิดร้านค้าซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขาย iPhone ในไตรมาสแรกของปี 2563 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การระบาดไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ Apple เหมือนผู้ผลิตรายอื่น ๆ มากนัก โดยในไตรมาสแรกปีนี้ Apple มียอดขาย iPhone ลดลง 8.2% หรือราว 41 ล้านยูนิต

Photo : รอยเตอร์

แอนเน็ต ซิมแมร์มันน์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Apple เปิดตัวได้อย่างร้อนแรงในช่วงต้นปีด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ และสร้างความสนใจไปทั่วโลก ถ้าไม่เกิดการระบาดของ COVID-19 เราคงได้เห็นยอดขาย iPhone พุ่งทะยานสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสแรกปีนี้ไปแล้ว แต่การหยุดชะงักของซัพพลายเชนและการใช้จ่ายที่ลดลงของผู้บริโภคเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ทำให้แนวโน้มที่ดีนี้ชะงักงัน อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพในการให้บริการลูกค้าผ่านทางออนไลน์ และการผลิตสินค้าของ Apple ทำให้ยอดขายกลับมาสู่ระดับเกือบปกติเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการพลิกฟื้นโมเมนตัมให้กลับมาดีได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ”

สำหรับยอดขายสมาร์ทโฟนไตรมาสแรกปี 2563 ของ Oppo ตกลง 19.1% สาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากการจัดส่งสินค้าแบบออฟไลน์ที่เป็นจุดแข็งนั้นได้รับผลกระทบจากการที่ผู้บริโภค และธุรกิจส่วนใหญ่ต่างหันไปพึ่งพาช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์เมื่อต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ดังนั้นหาก Oppo ต้องการเพิ่มยอดขายและชิงส่วนแบ่งการตลาดกลับคืนมา สิ่งสำคัญสูงสุดที่ต้องทำคือต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับช่องทางการขายออนไลน์ของตนเอง”

]]>
1281666