ก๊าซเรือนกระจก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Mar 2024 05:38:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KBank ชูโซลูชันมากกว่าการเงิน ช่วยผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม เชื่อคนไทยชนะในเกมนี้ได้ https://positioningmag.com/1468305 Fri, 29 Mar 2024 12:49:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468305

หนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการไทยหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็กที่ต้องเจอคือหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงประเทศจีน ได้ออกมาตรการทางการค้าที่อิงหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ….. ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (MRV) มาตรการจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap and Trade) มาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม (Carbon Tax) รวมถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง

ผู้ประกอบการที่ปรับตัวไม่ทันกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ย่อมมีความเสี่ยงที่จะต้องมีต้นทุนในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจัยกดดันภาคธุรกิจเหล่านี้กำลังเพิ่มขึ้น และจะทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวได้ว่า โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game แล้ว

Positioning จะพาไปฟังผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย เล่าถึงประเด็นดังกล่าว และสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาคธุรกิจจะต้องตระหนักและลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อปรับตัวให้ได้ และก้าวทันในเกมนี้

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้ชี้ถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมว่า ถ้าหากถึงปี 2050 อุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นไปถึง 3.2 องศา ซึ่งเกินความตกลง Paris ในการควบคุมอุณภูมิโลก นั้นเราอาจจะได้เห็นตัวเลขความเสียหายของเศรษฐกิจโลกมูลค่ากว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 18% ของ GDP โลก

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังชี้ให้เห็นเป็นการเปรียบเทียบว่าการแพร่ระบาดของโควิดนั้น GDP ของโลกได้รับผลกระทบแค่ 3% เท่านั้น ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นไปในระดับดังกล่าว ก็จะสร้างผลกระทบมากมายมหาศาลกว่าที่เราคิด

สำหรับผลกระทบดังกล่าวต่อประเทศไทยนั้น คุณพิพิธได้ชี้ว่าเรื่องดังกล่าวกระทบต่อ 44% ของ GDP ไทย คิดเป็นเงิน 218,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 7.9 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย โดยอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผ่านการคาดการณ์เม็ดเงินที่หายไปราว 1.14 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 40-50% ของมูลค่าการส่งออกในประเทศไทย

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ปรับตัวไม่ได้ในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ความยั่งยืนจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าจากการเก็บภาษีของประเทศต่างๆ ที่กล่าวไปในข้างต้น และในท้ายที่สุดสินค้าของผู้ประกอบการไทยรายนั้นก็อาจไม่สามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนตัวเองโดยเน้นความยั่งยืนได้

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารทำอะไรไปแล้วบ้าง

คุณพิพิธ ยังได้เล่าให้ฟังว่า คงจะเป็นเรื่องแปลกไม่น้อย ถ้าหากธนาคารนั้นพยายามที่จะให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน แต่ตัวธนาคารเองกลับไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ปรับตัวเพื่อเข้าสู่ความยั่งยืนเริ่มจากในส่วนของการดำเนินการของธนาคารเองไม่ว่าจะเป็น การติดตั้ง Solar Cell ที่อาคารหลักของธนาคารครบ 100%

การเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทย ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียน Carbon Neutral โดย อบก. ว่าเป็นกลางทางคาร์บอน 6 ปี ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2018-2023 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังของธนาคาร และธนาคารยังเชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นจะยกระดับมาตรฐานขึ้นไปได้อีก และยังสร้าง Impact ที่วัดผลได้จริง


เตรียมปล่อยสินเชื่อมากกว่าเป้าที่วางไว้

คุณพิพิธ ยังได้กล่าวว่าธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท โดยใน 2 ปี ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารได้ให้ความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด โดยมีการวางแผนกลยุทธ์รายอุตสาหกรรมแล้ว 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่านหินประเภทเชื้อเพลิงให้ความร้อน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอะลูมิเนียม

นอกจากนี้คุณพิพิธยังได้กล่าวถึงว่าในการปล่อยสินเชื่อธนาคารมีคณะกรรมการตรวจสอบว่าสินเชื่อดังกล่าวที่ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นจริง ทำได้จริง และป้องกันสิ่งที่เกิดว่า “การฟอกเขียว”

ทั้งนี้ เป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนในปี 2024 นี้ จะมียอดรวมอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเป้าหมายรวม 200,000 ล้านบาทภายในปี 2030

หลายประเทศมหาอำนาจเริ่มมีมาตรการจัดเก็บภาษีในสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

บริการของ KBank ที่มากกว่าด้านการเงิน

อย่างที่เราทราบดีกว่าธนาคารกสิกรไทยถือเป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ของประเทศไทย แต่สำหรับการช่วยเหลือให้บรรดาผู้ประกอบการสามารถก้าวผ่านไปสู่ความยั่งยืนได้นั้น คุณพิพิธ ชี้ว่าไม่ใช่แค่เรื่องของการปล่อยสินเชื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ด้วยการวางยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารกสิกรไทยนั้นมีเป้าหมายสำคัญคือการพาธุรกิจไทยและเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่  ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปรับตัวและคว้าโอกาสในยุคของ Climate Game พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ที่นอกเหนือจากบริการด้านการให้สินเชื่อด้วยการบูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานทั้งของธนาคารเองและการทำงานของลูกค้า ผ่านบริการที่มากกว่าการเงิน ได้แก่

Climate Solutions โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นมากกว่าบริการธนาคาร เพื่อช่วยธุรกิจในการปรับตัวและเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร และ “ปันไฟ” (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไ ทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

Carbon Ecosystem การเชื่อมต่อ Carbon Ecosystem และเข้าไปศึกษาเตรียมพร้อม เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต รองรับเครือข่ายผู้ใช้งานในอนาคต โดยมีการดำเนินการนำร่อง เปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็ อป ขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่น ๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Broker / Dealer) การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Tokenization)

สำหรับบริษัทใหญ่ๆ ในด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนั้น คุณพิพิธ ไม่ค่อยเป็นห่วงมากเท่าไหร่นัก แต่ผู้บริหารของ KBank ได้กล่าวว่า ลูกค้า SME รับรู้ในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก ถึงแม้บางรายจะรับรู้แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เช่น ส่งออกไปยุโรปต้องกรอกแบบฟอร์ม ทุกคนก็สงสัย เลยติดต่อมาที่ธนาคาร และเขายังชี้ว่าถ้าหากธุรกิจใหญ่ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางเป็นหัวหอกหลักแล้ว ก็จะช่วยในการดึงธุรกิจขนาดเล็กให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้

ลูกค้าคาดหวังกับธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความยั่งยืน

Now Or Never ทำตอนนี้ยังไงไม่สายเกินไปแน่นอน

เราจะเห็นว่า Climate Game เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และเรื่องดังกล่าวถือว่ามีความท้าทายรอทุกคนอยู่ข้างหน้า ซึ่งหากทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นไปได้มากขึ้น นอกจากนี้คุณพิพิธ ยังชี้ว่าเรื่องดังกล่าวยังทำเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยพลังจากทุกคน จับมือทำไปด้วยกัน จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง

ถ้าหากภาคธุรกิจรายใดยังมีข้อสงสัยในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความยั่งยืน ธนาคารมีการจัดงานสัมมนาเพื่อธุรกิจ ทั้งงานเฉพาะกลุ่ม ไปจนถึงงานฟอรั่มขนาดใหญ่ประจำปี อาทิ งาน “EARTH JUMP 2024” ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด The Edge of Action เพราะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ธุรกิจต้องลงมือทำทันที

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังชี้ว่าธุรกิจที่ปรับตัวและลงมือทำก่อนก็จะมีโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันบนโลกธุรกิจยุคใหม่ และเขาเชื่อว่าคนไทยจะสามารถชนะในเกมดังกล่าวนี้ได้

โดยสำหรับงาน EARTH JUMP 2024 นี้ผู้เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้เทรนด์และความรู้มุมมองใหม่ๆ ครบทุกมิติในงานเดียว ในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และซื้อบัตรร่วมงานได้ที่ Zip Event คลิก https://www.kasikornbank.com/k_3IgdPWE

 

]]>
1468305
‘UN’ เตือนการวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับ ‘สีแดง’ สำหรับมนุษยชาติ https://positioningmag.com/1345883 Mon, 09 Aug 2021 10:46:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345883 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลกได้ส่งคำเตือนเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

ในปี 2558 เกือบ 200 ประเทศให้ได้บรรลุข้อตกลงด้านสภาพอากาศของปารีสที่ COP21 โดยตกลงที่จะจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศบางคนเชื่อว่าการบรรลุเป้าหมายหเหล่านี้นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ขณะที่ รายงานที่คาดการณ์ไว้โดยคณะกรรมการสภาพภูมิอากาศของ UN เตือนว่า การจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยพยายามจำกัดให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยืนยันว่า เป็นไปได้ยาก หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทันที อย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก

การจำกัดให้อุณหภูมิสูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นเป้าหมายระดับโลกที่สำคัญ เพราะหากเกินกว่าระดับนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบสภาพอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ และอาจส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาคการเกษตรและสุขภาพ

ผลการวิจัยล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก 195 ประเทศสมาชิกสรุปว่า อิทธิพลของมนุษย์ทำให้ระบบภูมิอากาศโลกร้อนขึ้นอย่างชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคบนโลกแล้ว

ทั้งนี้ รายงานแสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850-1900 และพบว่าโดยเฉลี่ยในช่วง 20 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกคาดว่าจะสูงถึงหรือเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้โลกของเรา และทำให้ผู้คนหลายพันล้านตกอยู่ในความเสี่ยงทันที ถือเป็นรหัสสีแดงสำหรับมนุษยชาติ” António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภูมิอากาศของสหประชาชาติ กล่าวว่า การลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ อย่าง แข็งแกร่งและยั่งยืน จะจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีผลให้คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้เวลา 20-30 ปีเพื่อให้อุณหภูมิโลกคงที่

Photo : Shutterstock

รายงาน IPCC ระบุชัดเจนว่าไม่ใช่แค่เรื่องอุณหภูมิเท่านั้น มันบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่าง ๆ และทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามความร้อนของโลกต่อไป  อาทิ ปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักขึ้นและน้ำท่วมที่เกี่ยวข้อง ความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้นในหลายภูมิภาค พื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 การขยายตัวของการละลายน้ำแข็งชั้นดินเยือกแข็ง การทำให้เป็นกรดในมหาสมุทร และอื่น ๆ อีกมากมาย

มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศสุดขั้วทั่วโลก เช่น ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำท่วมได้คร่าชีวิตผู้คนในยุโรป , จีน และอินเดีย มีควันพิษได้ปกคลุมไซบีเรีย และไฟป่าได้เผาในสหรัฐอเมริกา , แคนาดา , กรีซและตุรกี

ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์จะร่วมการประชุมทางออนไลน์เพื่อปรึกษาหารือและถกเถียงถึงผลการศึกษาวิจัยด้านสภาพอากาศของพวกเขากับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ และผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่าง ๆ โดยจะมีรายงานสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย

รายงานดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการแนะแนวทางในการรับมือกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นการ เตือนสติ ให้แก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ

Source

]]>
1345883
25 เมืองใหญ่ในโลกเป็นตัวการหลักปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” เกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศจีน https://positioningmag.com/1341974 Tue, 13 Jul 2021 06:31:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341974 25 เมืองใหญ่ในโลกจากทั้งหมด 167 เมืองเป็นตัวการหลักของการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” โดยเกือบทั้งหมดนั้นอยู่ในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม เป็นเพราะจีนคือแหล่งอุตสาหกรรมการผลิต การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงไม่ง่าย

นักวิจัยศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตีพิมพ์ลงในวารสาร Frontiers in Sustainable Cities โดยมีการศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 167 เมืองของ 53 ประเทศ พบว่า เมืองใหญ่ทั้งหมด 25 เมืองเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 52% ของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาทั้งหมด

ในจำนวน 25 เมืองนั้น มีถึง 23 เมืองที่อยู่ในประเทศจีน เช่น เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง, หานดาน ส่วนอีก 2 เมืองคือ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมอสโก ประเทศรัสเซีย

Shaoqing Chen หนึ่งในทีมวิจัยและนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น เมืองกวางโจว กล่าวว่า งานวิจัยนี้ต้องการจะตอกย้ำความสำคัญของ ‘เมือง’ ว่ามีบทบาทในการช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้

“เป็นเรื่องง่ายและมีตรรกะ” เขากล่าว “ถ้าคุณไม่ปฏิบัติในวันนี้ อีกหน่อยวันข้างหน้าคุณก็จะต้องรับผลจากภาวะโลกร้อน”

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วง Pre-industrial baseline (ยุคปีค.ศ. 1850-1900) และคาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องจนเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5-2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นขีดจำกัดสูงสุดที่ข้อตกลงปารีสเคยตกลงกันไว้ (*ข้อตกลงปารีส เกิดขึ้นเมื่อปี 2015 โดยมีสมาชิก UN 196 ประเทศ ร่วมให้คำมั่นว่าจะร่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส)

ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้ของ Chen และนักวิทยาศาสตร์แจ้งเตือนไว้ด้วยว่า ผลศึกษาอาจจะไม่แม่นยำ เพราะบางเมืองให้ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เก่ามาก บางแห่งเก่าถึงปี 2005

 

จีนเป็นฮับการผลิตที่หยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก

Chen กล่าวต่อว่า การวิเคราะห์ขั้นต่อไปของทีม จะลงลึกเรื่องการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมหานครต่างๆ รวมถึงความคืบหน้าในการลดโลกร้อนด้วย

โดยปัจจุบันพบว่า 68 เมืองจาก 167 เมืองที่ศึกษา มีการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นเมืองในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และมีเพียง 30 เมืองที่มีความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมืองในทวีปยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา

TAIZHOU, CHINA – NOVEMBER 24, 2020 – Workers inspect inside and outside the Great Wall Motor factory. Taizhou city, Jiangsu Province, November 24, 2020.- PHOTOGRAPH BY Costfoto / Barcroft Studios / Future Publishing (Photo credit should read Costfoto/Barcroft Media via Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พบว่า การวิเคราะห์ครั้งนี้ยืนยันสิ่งที่นักวิจัยคาดคิดไว้แล้ว นั่นคือ เมืองในประเทศจีนที่พบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรในอัตราสูง มักจะเป็น “ฮับอุตสาหกรรมการผลิต” แต่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เมืองที่พบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรในอัตราสูง มักจะเป็นเมืองที่มีการบริโภคสูง

กล่าวโดยสรุปคือ เมืองในยุโรปหรือประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง แต่เมืองอื่นๆ ของโลกอยู่ในระยะที่เร่งความเร็วการลดการปล่อยคาร์บอนได้ยากกว่า

“พวกเขา (เมืองในประเทศพัฒนาแล้ว) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วหลายตันกว่าจะไปถึงจุดที่เมืองเป็นอยู่ขณะนี้ ขณะที่จีนอยู่ในขั้นที่กำลังปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด เราทราบว่าอินเดียกำลังจะมาถึงขั้นเดียวกับจีน และทวีปสุดท้ายที่จะกลายเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงคือทวีปแอฟริกา” Dan Hoornweg ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยออนทาริโอเทค และอดีตที่ปรึกษาให้กับธนาคารโลกด้านภาวะโลกร้อนและความยั่งยืนของเมือง ให้ความเห็นต่อประเด็นนี้

Source

]]>
1341974
Starbucks เกาหลีใต้ เตรียมยกเลิกแก้วแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2025 ใช้วิธี “เก็บค่ามัดจำ” https://positioningmag.com/1327324 Thu, 08 Apr 2021 15:24:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327324 สตาร์บัคส์เตรียมหยุดนำแก้วแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาให้บริการแก่ลูกค้า โดยเริ่มโครงการนำร่องที่เกาหลีใต้ภายในปี 2025 เพื่อลดปริมาณขยะและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ “คาร์บอนฟุตพรินต์”

โครงการ “Cup Circularity” จะเปิดตัวที่เกาหลีใต้ในเดือน ก.ค. นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 9% ของคาร์บอนฟุตพรินต์ 16 ล้านตันที่สตาร์บัคส์ก่อขึ้นทั่วโลกในปี 2018

ภายใต้นโยบายนี้ ลูกค้าจะได้รับเครื่องดื่มที่เสิร์ฟมาในแก้วซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยทางร้านจะเก็บเงิน “ค่ามัดจำ” เล็กน้อย และคืนให้แก่ลูกค้าที่นำแก้วกลับไปวางในจุดที่กำหนด

ปีที่แล้วสตาร์บัคส์ได้ห้ามลูกค้านำแก้วส่วนตัวมาซื้อเครื่องดื่ม เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 แต่ล่าสุดทางบริษัทประกาศว่าจะอนุญาตให้ลูกค้าในเกาหลีใต้นำแก้วทัมเบลอร์ส่วนตัวมาใช้ได้อีกครั้ง

เกาหลีใต้ถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของสตาร์บัคส์ โดยปัจจุบันมีร้านอยู่กว่า 1,500 สาขาทั่วประเทศ

ในส่วนของรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็มีเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือเป็น “ศูนย์” ภายในปี 2050 และเมื่อเดือน ก.พ. ก็ได้มีการแก้กฎหมายเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกและสิ่งของที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่นๆ ทั้งจากร้านค้า, บริการส่งอาหาร และโรงแรม

Source

]]>
1327324
‘IBM’ วางเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1319965 Thu, 18 Feb 2021 07:24:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319965 เรื่อง Sustainable กลายเป็นเทรนด์ขององค์กรทั่วโลก เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มแคร์เรื่องโลกมากขึ้น ล่าสุด ‘IBM’ (ไอบีเอ็ม) ยักษ์สีฟ้าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2030 เพื่อแก้วิกฤตโลกร้อน

“วิกฤตโลกร้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดในยุคของเรา และการปฏิญาณตั้งคำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำในเรื่องสภาวะอากาศมาอย่างยาวนานของเรา ซึ่งถือเป็นก้าวที่รุดไปไกลกว่าเป้าหมายที่ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) ได้กำหนดไว้” อาร์วินด์ กฤษณะ ประธานและซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไอบีเอ็มจะเริ่มเดินหน้าลดการปล่อยมลพิษ วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานที่มีอยู่ใน 175 ประเทศ โดยภายในปี 2025 IBM ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 65% เมื่อเทียบกับปี 2010 โดยบริษัทจะจัดหา 75% ของพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทต้องใช้ในสำนักงานทั่วโลกจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2025 และ 90% ภายในปี 2030 นอกจากนี้จะใช้เทคโนโลยีที่อย่างการจับคาร์บอนภายในปี 2025 เพื่อลดปริมาณการปล่อยมลพิษในปริมาณที่เท่ากับหรือมากกว่าระดับมลพิษที่เหลือค้างอยู่

“บริษัทฯ จะมีการคำนวณและรายงานการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างโปร่งใส เช่น เป้าหมายของไอบีเอ็มกำหนดขึ้นจากปริมาณพลังงานที่บริษัทบริโภคจริง ไม่ใช่การซื้อใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือแยกส่วนออกไป”

NEW YORK, NY – JUNE 16: SVP and Director at IBM Research Arvind Krishna speaks on stage during the 2016 Wired Business Conference on June 16, 2016 in New York City. (Photo by Brian Ach/Getty Images for Wired)

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัย IBM ได้เปิดตัวโครงการ Future of Climate ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการวิจัยพัฒนาโซลูชันที่จะช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผนวกความสามารถของ AI ไฮบริดคลาวด์ และ ควอนตัมคอมพิวติ้ง รวมถึงวิทยาศาสตร์เพื่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่มีความซับซ้อน อาทิ การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากเวิร์คโหลดจากระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก วิธีการที่จะกำหนดโมเดลและประเมินความเสี่ยงของแพทเทิร์นสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หรือการพัฒนาโพลิเมอร์ เยื่อบุผิว และวัสดุใหม่ ๆ ที่สามารถจับและดูดซับคาร์บอนโดยตรงจากจุดที่มีการปล่อยมลพิษ เป็นต้น

ทั้งนี้ IBM นับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ นับตั้งแต่การประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นครั้งแรกในปี 1917 และตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา IBM ได้เริ่มเผยแพร่ผลการบริหารจัดการขยะ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน การลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ รวมถึงการพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปีขององค์กร (Corporate Environmental Report)

Source

]]>
1319965
โลกได้พัก! COVID-19 ส่งผลให้ปล่อยคาร์บอนลดลง 5% หรือ 2,500 ล้านตัน https://positioningmag.com/1274171 Sun, 19 Apr 2020 16:40:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274171 นักวิเคราะห์เผยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ส่งผลให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจากทั่วโลก (Carbon Emission) ซึ่งมีการประมาณการว่าอาจจะลดลงถึง 2,500 ล้านตัน หรือคิดเป็น 5%

สาเหตุเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าการเดินทาง หรือการทำงานในภาคอุตสาหกรรม คาดว่าลดการใช้น้ำมันกว่าพันล้านบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติกว่าล้านล้านลูกบาศก์เมตร และถ่านหินกว่าล้านตัน

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี Dr Fatih Birol หัวหน้า International Energy Agency กล่าวว่า “การลดลงครั้งนี้เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ประชาชนต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้มาจากการดำเนินการอย่างถูกต้องของรัฐบาลต่างๆ ต่อภาวะโลกร้อน”

นักวิเคราะห์พบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันต่อวันลดลงถึง 11 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ คิดเป็นทั้งหมด 4,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งเท่ากับลดการสร้างคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 1,800 ล้านตัน

ในขณะเดียวกันความต้องการไฟฟ้าและอุตสาหกรรมลดลง ความต้องการของก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลดลง 2.3% เท่ากับลดคาร์บอน 200 ล้านตัน และ 500 ล้านตัน ตามลำดับ จากครั้งสุดท้ายที่การใช้น้ำมันลดลง คือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008-2009 แต่ปีนี้ ผลจากไวรัสโคโรนาอาจมากกว่าปี 2008 ถึง 5 เท่า

นักวิเคราะห์คาดว่าความต้องการน้ำมันจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนภาคพลังงานของจีน อาจจะกลับมาฟื้นตัวในเดือนหน้า หลังจากการแพร่ระบาด 4 เดือนที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะกลับสู่ระดับปกติเร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนนี้

นี่ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีที่ก๊าซเรือนกระจกลดลง เพราะมีผู้คนมากมายต้องเสียชีวิต และได้รับผลกระทบ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดจากวิกฤตครั้งนี้ที่บอกต่อมนุษย์บนโลก คือ ทุกกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุโดยตรงของภาวะโลกร้อน ต่อจากนี้ไปควรต้องมีการทบทวนกันใหม่ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และที่สำคัญรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันทบทวนการใช้แหล่งพลังงานสะอาดเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกับที่พวกเขาลงมือแก้ไขปัญหาไวรัสโคโรนา

Source

]]>
1274171
UN เตือน COVID-19 ไม่ใช่เรื่องดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเกิดระยะสั้น พร้อมความทุกข์ยากของคน https://positioningmag.com/1271878 Mon, 06 Apr 2020 04:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271878 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน (Inger Andersen) ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงและคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ในช่วงเวลาที่รัฐบาลของหลายประเทศกำลังรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ควรถูกมองว่า “เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม”

สหประชาชาติรายงานคำกล่าวของอิงเกอร์ แอนเดอร์สัน เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า “ขณะที่เรากำลังขยับจากการรับมือภาวะสงครามไปเป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม (Build Back Better) เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสัญญาณต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม และรู้ว่ามันจะส่งผลต่ออนาคตและคุณภาพชีวิตของเราอย่างไร เพราะ COVID-19 อย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับสิ่งแวดล้อม”

สำหรับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 ที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก แอนเดอร์สันกล่าวว่า

“ผลที่มองเห็นได้ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว เพราะมันเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันน่าเศร้าและความทุกข์ยากของมนุษย์โลก”

“การระบาดใหญ่จะส่งผลให้ปริมาณขยะทางการแพทย์ และของเสียอันตรายเพิ่มพูนมากขึ้น นี่ไม่ใช่รูปแบบของการตอบสนองทางสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่สำหรับนักสิ่งแวดล้อม

เธอกล่าวว่า “ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปปส์ (Scripps Institution of Oceanography) ย้ำว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะต้องลดลงประมาณ 10% ทั่วโลก และจะต้องต่อเนื่องนานหนึ่งปี กว่าจะเห็นถึงระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชัดเจน”

“ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่อันน่าสะพรึงครั้งนี้ ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของเราให้สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

“การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในระยะยาวเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแนวโน้มของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้”

ดังนั้น หลังจากวิกฤตครั้งนี้ ในช่วงที่เราวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีโอกาสอย่างแท้จริงที่จะรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการลงทุนในพลังงานทดแทน อาคารอัจฉริยะ การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการขนส่งสาธารณะ … ”

เธอกล่าวว่า “เสาหลักที่สำคัญประการหนึ่งในแผนฟื้นฟูหลังผ่านพ้นโรค COVID-19 จะต้องมาพร้อมกับกรอบการวางแผนที่กระตือรือร้น สามารถวัดผลได้ และไม่แบ่งแย่ง เพราะการรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ หลากหลาย และงอกงามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้”

]]>
1271878