ขยะรีไซเคิล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 18 Oct 2022 08:49:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 งานวิจัยชี้ ‘สมาร์ทโฟน’ กว่า 5.3 พันล้านเครื่องถูก ‘เก็บไว้เฉย ๆ’ รอวันเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ https://positioningmag.com/1404567 Tue, 18 Oct 2022 08:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404567 รู้หรือไม่ว่าการกำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่ทำอย่างถูกวิธีจะส่งผลให้เกิด ก๊าซมีเทน และมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนที่เป็นผลพวงจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์ให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

ผลวิจัยขององค์กร Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) หรือ องค์กรว่าด้วยการกำจัดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีมือถือมากกว่า 5.3 พันล้านเครื่อง ที่เลิกใช้แล้ว จากที่มีการครอบครองทั้งหมด 1.6 หมื่นล้านเครื่องทั่วโลก โดยมีแนวโน้มที่จะถูกทิ้งหรือเก็บเอาไว้เฉย ๆ โดยไม่นำมาทิ้งอย่างถูกวิธี และภายในปี 2030 เชื่อว่าจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากมือถือมีมากถึง 74 ล้านตัน

จากผลการวิจัยพบว่า 46% ของ 8,775 ครัวเรือนในยุโรปที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ที่เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสมาร์ทโฟนไว้โดยไม่กำจัดอย่างถูกวิธีเป็นเพราะ อาจนำไปใช้ในอนาคต อีก 15% ระบุว่าที่เก็บไว้เพราะ ตั้งใจที่จะขายหรือมอบให้แก่ผู้อื่น ขณะที่ 13% เก็บไว้เนื่องจากเป็น คุณค่าทางจิตใจ

อย่างไรก็ตาม ภายในมือถือนั้นมีวัตถุดิบมากมายที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ทองแดง เงิน แพลเลเดียม ฯลฯ แต่ถ้านำไปกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี อย่างเช่น เผาทำลายก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคมักไม่ทราบว่าสิ่งของที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล

“สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราให้ความสำคัญสูงสุด ถ้าเราไม่รีไซเคิลวัสดุหายากที่เรามีอยู่ เราจะต้องขุดพวกมันในประเทศอย่างจีนหรือคองโก” Pascal Leroy ผู้อำนวยการทั่วไปของ WEEE Forum กล่าว

แม้ว่ามือถือที่ไม่ได้ใช้แล้วจะมีมากกว่า 5 พันล้านเครื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นแค่ส่วนน้อย เพราะตามรายงานการตรวจสอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกปี 2020 พบว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมีปริมาณกว่า 44.48 ล้านตัน ที่เกิดขึ้นทุกปีและไม่สามารถรีไซเคิลได้

ทางฝั่งของสหภาพยุโรปได้พยายามลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพึ่งผ่านในกฎหมายใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่กำหนดให้ USB-C เป็นมาตรฐานเครื่องชาร์จเดี่ยวสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องใหม่ทั้งหมดเริ่มปลายปี 2024 ซึ่งการออกกฎหมายนี้ คาดว่าจะช่วยประหยัดเงินได้อย่างน้อย 195 ล้านดอลลาร์ต่อปี และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปกว่า พันตันทุกปี

ปัจจุบัน มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่ถูกรีไซเคิลอย่างเหมาะสมมีสัดส่วนเพียง 17% เท่านั้น แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ภายในปีหน้า

Source

]]>
1404567
‘อินเดีย’ Go Green! เตรียมแบน ‘พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ ในปีหน้า หวังแก้ปัญหามลพิษ https://positioningmag.com/1356096 Mon, 11 Oct 2021 10:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356096 หลังจากมีมติในปี 2019 เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศ ในที่สุดรัฐบาลกลางของอินเดียก็เตรียมประกาศห้ามไม่ให้ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plasstic) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดมลภาวะ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าไม่ง่ายและอาจจะได้ผลมากพอ

อินเดียเตรียมแบนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ ถุงหูหิ้ว, ถุงบรรจุภัณฑ์อาหาร ขวดและหลอดที่ใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง แต่นักวิเคราะห์มองว่า การบังคับใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญ และมองว่าอินเดียยังต้องแก้ไข ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ เช่น นโยบายในการควบคุมการใช้พลาสติกทางเลือก, การปรับปรุงการรีไซเคิล และการจัดการการแยกขยะที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลไม่ดีพอ

“พวกเขาต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบในพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบังคับใช้การแจ้งเตือนนี้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม” Swati Singh Sambyal ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอิสระในนิวเดลีกล่าวกับ CNBC  

Anoop Srivastava ผู้อำนวยการ Foundation for Campaign Against Plastic Pollution องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อจัดการกับขยะพลาสติกในอินเดีย เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกประมาณ 60% ในอินเดียถูกรวบรวมไปกำจัดหรือรีไซเคิล ส่วนอีก 40% หรือ 10,376 ตัน ยังคงไม่ถูกเก็บ

ประเทศต่าง ๆ รวมถึงอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อลดการใช้พลาสติก โดยส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือกที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ อาทิ ผู้ขายอาหาร เครือร้านอาหาร และธุรกิจในท้องถิ่นบางแห่งเริ่มนำ ช้อนส้อมที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ มาใช้งาน หรือนำ ถุงผ้า มาใช้ แต่ในอินเดีย ยังไม่มีแนวทางสำหรับการใช้พลาสติกทดแทน และนั่นอาจเป็นปัญหาเมื่อการห้ามใช้พลาสติกมีผล

ดังนั้น อินเดียจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมทางเลือกอื่น นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ยังขาดแนวทางในการรีไซเคิล แม้ว่าขยะพลาสติกในอินเดียประมาณ 60% จะถูกนำไปรีไซเคิล แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าขยะพลาสติกที่มากเกินไปนั้นเกิดจากการ ‘ดาวน์ไซเคิล’ ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่พลาสติกคุณภาพสูง ถูกรีไซเคิลเป็นพลาสติกใหม่ที่มีคุณภาพต่ำกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นโพลีเอสเตอร์สำหรับเสื้อผ้า

“ตามปกติแล้ว พลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 7-8 ครั้งก่อนที่จะส่งไปยังโรงเผาขยะ แต่ถ้าคุณดาวน์ไซเคิล พลาสติกที่ได้จะใช้ได้ 1-2 ครั้งก็ต้องกำจัดทิ้ง นอกจากนี้ การแยกขยะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

นักสิ่งแวดล้อมมักเห็นพ้องกันว่าการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งนั้นไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากความคิดริเริ่มอื่น ๆ ขณะที่ข้อบังคับของรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมและรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น การควบคุมผู้ผลิตและขอให้พวกเขาทำเครื่องหมายประเภทของพลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางเลือกที่ใช้แทนพลาสติกด้วย

“อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่อ่อนไหวต่อราคา ซึ่งพลาสติกทางเลือกสามารถผลิตได้จำนวนมากและขายได้ในราคาที่เหมาะสม ในอดีตรัฐต่าง ๆ ของอินเดียได้ออกข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับถุงพลาสติกและช้อนส้อม แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด”

อย่างไรก็ตาม การสั่งห้ามครั้งล่าสุดถือเป็นก้าวสำคัญสู่การต่อสู้ของอินเดียในการลดขยะทางทะเล และช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ และสอดคล้องกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยอินเดียกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงของปารีส และเสริมว่ามีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 33% เป็น 35% ภายในปี 2030

Source

]]>
1356096
IKEA โกกรีน! เปิดบริการ IKEA Circular Shop และ Recycling Centre ที่บางใหญ่แล้ว https://positioningmag.com/1355760 Fri, 08 Oct 2021 08:13:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355760 IKEA เปิด 2 บริการใหม่ IKEA Circular Shop จุดให้ลูกค้านำเฟอร์นิเจอร์เก่ามาขาย แล้ว IKEA จะเป็นพื้นที่ส่งต่อหาบ้านใหม่ให้ และ Recycling Centre จุดรับขยะรีไซเคิล พร้อมเปลี่ยนเป็นคะแนน IKEA Family หวังจูงใจให้คนไทยรีไซเคิลขยะมากขึ้น

ชุบชีวิตเฟอร์นิเจอร์เก่า หาบ้านใหม่

IKEA Circular Shop เป็นบริการที่เปิดในประเทศสวีเดนประเทศแม่เป็นที่แรก จากนั้นได้ขยายไปยัง IKEA ประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ฮ่องกง ประเทศไทยถือว่าเป็น 1 ใน 5 ที่เริม่บริการนี้ ได้นำร่องที่ IKEA บางใหญ่เป็นแห่งแรก

บริการนี้ให้คำจำกัดความง่ายๆ ก็คือ ลูกค้าสามารถนำเฟอร์นิเจอร์เก่าของ IKEA มาขายต่อให้ IKEA จากนั้นทาง IKEA ก็จะนำเฟอร์นิเจอร์มาปัดฝุ่นใหม่ แล้วทำการหาเจ้าของบ้านใหม่เป็นเฟอร์นิเจอร์มือ 2 เพื่อลดการเป็นขยะ

เฟอร์นิเจอร์ที่จะนำมาขายต่อนั้น จะต้องเป็นเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA เท่านั้น ยังไม่เปิดรับของแบรนด์อื่น และต้องเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ไม่รวมของตกแต่งบ้านจากมาร์เก็ตฮอลล์สินค้าที่ซื้อจากจากแผนกสินค้าตามสภาพ (As-Is เดิม) หรือ Circular Shop ในจำนวนไม่เกิน 10 ชิ้น ต่อคน/วัน

ทอม ซูเทอร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่ เริ่มเล่าว่า

“IKEA Circular Shop เริ่มเห็นที่สวีเดนเป็นที่แรก เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปีที่แล้ว เป็นการให้โอกาสเฟอร์หาบ้านใหม่ ลูกค้าเองก็ได้รับผลประโยชน์ เลยมาคิดว่าคนไทยมีพฤติกรรมชอบส่งต่อเฟอร์นิเจอร์กันอยู่แล้ว สิ่งที่ IKEA ทำขึ้นมาเพื่อเสริม สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะไปส่งต่อที่ไหน ให้มีทางเลือกมากขึ้น”

อีกหนึ่งจุดประสงค์ของบริการนี้ก็คือ ต้องการสร้างชุมชนของคนรัก IKEA ในการแลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจในการตกแต่งบ้าน ส่งต่อเฟอร์นิเจอร์ ในแต่ละปีจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้แล้วแต่ยังสภาพดีนับล้านชิ้นที่ต้องถูกทิ้งกลายเป็นขยะ จึงเป็นเหตุผลที่ปิดบริการรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้แล้ว เพื่อชุบชีวิตใหม่ให้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยลูกค้าจะได้รับบัตรของขวัญ IKEA ใช้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่

ขั้นตอนการใช้บริการ

  • นำเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการขายมาติดต่อที่แผนกบริการลูกค้า ชั้น 1 IKEA บางใหญ่ เพื่อประเมินสภาพของเฟอร์นิเจอร์ของลูกค้า และแจ้งราคารับซื้อ ซึ่งหากลูกค้าตกลง จะได้รับบัตรของขวัญอิเกีย มูลค่าตามที่แจ้ง (สามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการและรายละเอียดต่างๆ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการลูกค้า หรือ IKEA.co.th/buy-back-resell)
  • รับบัตรของขวัญอิเกียตามจำนวนที่ได้ตกลงกันเพื่อนำไปซื้อสินค้าในสโตร์บัตรของขวัญมีอายุ 2 ปี
  • สินค้ามือสองที่มีคุณภาพและราคาเอื้อมถึงได้ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จะวางจำหน่ายที่ IKEA Circular Shop โดยจะมีสติกเกอร์ “สวัสดี ฉันกำลังหาบ้านใหม่” แปะไว้
  • สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ และลูกค้าไม่ต้องการทิ้งเฟอร์นิเจอร์ให้กลายเป็นขยะสามารถติดต่อที่ศูนย์รีไซเคิล โดย IKEA จะนำเฟอร์นิเจอร์ไปบริจาคให้องค์กรการกุศลในท้องถิ่นต่อไป

สำหรับการประเมินราคาของเฟอร์นิเจอร์นั้น ยังไม่มีเกณฑ์ชี้วัดแน่นอน ทอมบอกว่ามันเป็นศิลปะ คำนวณเป็นตัวเลขเป๊ะๆ ไม่ได้ ทาง IKEA มีหลักการว่าไม่สร้างกำไร มองว่าถ้าขายสินค้าชิ้นนี้จะดูว่าลูกค้ายอมจ่ายในราคาเท่าไหร่ แต่ต้องมั่นใจในเรื่องคุณภาพ ทำความสะอาด ไม่มีตำหนิหนักๆ อยู่ในคุณภาพที่ดี อาจจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 50% ของราคาเดิม

สร้างแรงจูงใจในการรีไซเคิลขยะ

อีกหนึ่งบริการที่เปิดที่ประเทศไทยเป็นแห่งแรกก็คือ Recycling Centre เป็นจุดรับขยะรีไซเคิลต่างๆ หลายคนอาจจะเคยเห็นจากที่ศูนย์การค้า หรือผู้เล่นค้าปลีกอื่นๆ ก็มีจุดรับทำนองนี้บ้างแล้ว โดย IKEA จะเปิดรับขยะรีไซเคิล และเปลี่ยนเป็นคะแนน IKEA Family เพื่อใช้ซื้อของในสโตร์ต่อไป

ทอมเสริมอีกว่า “บริการนี้เกิดที่ประเทศไทยเป็นที่แรก มองว่าการแยกขยะยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย เลยคิดว่าทำอย่างไรให้ง่ายขึ้น เลยใช้แรงจูงใจในการสะสมแต้ม เปิดรับขยะ 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ กระดาษ, ขวดพลาสติก, อะลูมิเนียม/โลหะ, ขวดแก้วใส, หลอดไฟ และแบตเตอรี่ โดย 4 ประเภทแรกจะได้คะแนนต่อการทิ้งจำนวน 1 กิโลกรัมขึ้นไป

ปัจจุบันขยะในสโตร์ของ IKEA มีการนำไปรีไซเคิลได้ราวๆ 78% หลังจากมีบริการนี้คาดว่าจะเพิ่มการรีไซเคิลเป็น 83% ได้ตอนนี้พบว่ามีลูกค้านำขยะมารีไซเคิลกว่า 200 กิโลกรัมแล้ว

ในอนาคต IKEA จะขยาย 2 บริการนี้ไปยังสาขาอื่นๆ รวมทั้งภูเก็ตด้วย และอาจจะเปิดพื้นที่ให้ลูกค้ามาเจอกัน ซื้อขายเฟอร์นิเจอร์กัน โดยใช้พื้นที่ลานจอดรถ เป็นคอมมูนิตี้ให้พบปะกัน

]]>
1355760