ขยะอิเล็กทรอนิกส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Dec 2022 13:37:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AISยกระดับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ เป็นรายแรกในอาเซียน https://positioningmag.com/1412315 Wed, 14 Dec 2022 13:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412315

เมื่อปัญหาโลกร้อน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวข้อใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ หลายองค์กรต่างมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความยั่งยืน หรือกำหนดเป็นนโยบายใหญ่เลยก็มี เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

AIS เป็นหนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและ Sustainability มาโดยตลอด เรียกว่าให้ความสำคัญควบคู่กันไปทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทาง AIS ได้โฟกัสทั้งในแง่ของ Emission ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคธุรกิจให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการช่วยสิ่งแวดล้อม ทั้งการใช้ e-Bill การส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อลดการใช้กระดาษ และลดทราฟิกของลูกค้าในการเดินทางมาที่สาขา เป็นการลดขยะ และลดค่าน้ำมันได้พร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ AIS ยังได้เริ่มพัฒนาอีโคซิสเท็มในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” เรียกว่าเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ที่ตื่นตัวในเรื่องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก็ว่าได้

โครงการนี้เป็นการการรับรู้ให้คนไทยต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สร้างองค์ความรู้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้ในการทิ้งขยะ และเปิดจุดบริการฝากทิ้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี รวมไปถึงกระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาโครงการคนไทยไร้ E-Waste มีพาร์ทเนอร์ทั้งหมด 142 ราย มีจุดดร็อปให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2,484 จุด และมีจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 397,376 ชิ้น

ถ้าเปรียบโครงการคนไทยไร้ E-Waste อยู่ในเฟสที่ 1 ในปีนี้ AIS ก็พร้อมยกระดับเข้าสู่เฟสที่ 2 ด้วยแพลตฟอร์ม E-Waste+ พร้อมกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น เห็นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนำร่องกับ 6 องค์กรพันธมิตร

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า

“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”

ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพยิ่งขึ้น ก็คือ ในเฟสที่ 1 โครงการคนไทยไร้ E-Waste เป็นการตั้งจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงจุดทิ้งได้ง่ายขึ้น และเริ่มตระหนักถึงการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จากเดิมที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีใครที่ให้ความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจัง

แต่ในเฟสที่ 1 ก็มี Pain Point หลายจุด ที่ทำให้การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็คือ เมื่อเป็นจุดที่ตั้งทิ้งเฉยๆ ทำให้ผู้บริโภคทิ้งขยะอื่นๆ ลงไป แทนที่จะมีแค่ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว แต่ในเฟส 2 เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรด ถ้าในภาษาวัยรุ่นต้องบอกว่า “แบบใหม่แบบสับ” เมื่อเรานำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งแล้วสามารถแทร็คกิ้งแบบเรียลไทม์ได้ว่าตอนนี้ขยะอยู่ในกระบวนการใดและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนสกอร์เท่าไหร่ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตนเองมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไหร่บ้าง

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS เล่าว่า

“แพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส สามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้”

อราคินยังกล่าวเสริมอีกว่า โดยปกติแล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 4 แสนตัน แต่มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องเพียงแค่ 1% เท่านั้น แต่เดิมการตั้งที่ให้คนทิ้งเฉยๆ อย่างเดียวไม่ค่อยได้ผล ต้องมีการให้ความรู้ผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้าง Incentive ไปด้วย

โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้คาร์บอนสกอร์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย แรกเริ่มอาจจะเริ่มจากการเปลี่ยนคาร์บอนสกอร์ เป็น AIS Point ก่อน จากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็น Utility Token อื่นๆ ที่สามารถใช้ได้สำหรับผู้บริโภคทุกคน ไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้า AIS อย่างเดียว

เบื้องต้น AIS ได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กร ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคม

สายชลยังได้เสริมถึงการเป็นพันธมิตรของทั้ง 6 องค์กรนี้ว่า เป็น “อารีย์ คอมมูนิตี้” เริ่มต้นจากองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเส้นถนนพหลโยธินก่อน เป็นย่านเดียวกันกับ AIS นั้นเอง ทั้งธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย, เด็นโซ่, เงินติดล้อ ล้วนมีสำนักงานอยู่ในระแวกเดียวกัน ย่านอารีย์นี้จึงกลายเป็นแซนด์บ็อกซ์ในการนำร่องโครงการนี้ ก่อนจะขยายไปยังที่อื่น

ความสำคัญอีกหนึ่งสิ่งของแพลตฟอร์ม E-Waste+ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AIS ที่ต้องการยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาบูรณาการได้อย่างตรงจุด สามารถสร้างระบบการจัดการ E-Waste แบบใหม่ได้ด้วย Blockchain เป็นการกาวข้ามขีดจำกัดแบบเดิมๆ พร้อมกันนี้ยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยจำกัดขยะอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างยั่งยืน

“แพลตฟอร์ม E-Waste+เปิดตัวเป็นครั้งแรกในอาเซียนสามารถเอาจุดแข็งของโครงข่ายอัจฉริยะของ AISและเอาเทคโนBlockchainมาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการให้ดีขึ้นจึงอยากให้มีหลายองค์กรมาร่วมมือกันมากขึ้นไม่ใช่การเพิ่มจำนวนขยะแต่ช่วยสร้างการรับรู้ช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมเชื่อว่าทุกองค์กรมีเป้าหมายด้านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนทุกองค์กรพูดเรื่อง ESGแต่เวลาลงมือทำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกันถึงจะประสบความสำเร็จ” สายชลกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: [email protected] หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus

กระบวนการทำงานของ E-Waste+

  • E-Waste+ สามารถดาวน์โหลดรองรับทุกเครือข่ายและทั้งระบบ Android และ IOS โดยกดค้นหาคำว่า “E-Waste+” เพื่อดาวน์โหลด หลังจากนั้นลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลก โดยกรอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ (โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกเครือข่าย)สามารถโหลดแอปE-Waste+ ได้ทาง https://m.ais.co.th/ApH8dgAi8
  • การทำงานของทั้งระบบจะใช้เพียง Application เดียว ลงทะเบียนและนำขยะ E-Waste มาทิ้งที่จุดรับ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะ E-Waste ถ่ายภาพและใส่ข้อมูล ระบบก็จะบันทึกการทิ้งขยะ โดยผู้ใช้งานก็จะเห็นได้ว่าขณะนี้ E-Waste ของคุณอยู่ในขั้นตอนไหน
  • เมื่อขยะ E-Waste ที่ถูกรวบรวมถึงโรงงานแยกขยะ จะทำการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีขยะดังกล่าวจริงก็จะยืนยัน และแสดงผลลัพธ์การส่งขยะเสร็จสมบูรณ์ถึงโรงงานที่ได้มาตราฐานเพื่อทำการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ผู้ทิ้งขยะจนออกมาเป็น Carbon Score

ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชันE-Waste+

  • โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
  • อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ตเช่นหูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
  • ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น

ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท

]]>
1412315
งานวิจัยชี้ ‘สมาร์ทโฟน’ กว่า 5.3 พันล้านเครื่องถูก ‘เก็บไว้เฉย ๆ’ รอวันเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ https://positioningmag.com/1404567 Tue, 18 Oct 2022 08:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404567 รู้หรือไม่ว่าการกำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่ทำอย่างถูกวิธีจะส่งผลให้เกิด ก๊าซมีเทน และมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนที่เป็นผลพวงจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์ให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

ผลวิจัยขององค์กร Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) หรือ องค์กรว่าด้วยการกำจัดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีมือถือมากกว่า 5.3 พันล้านเครื่อง ที่เลิกใช้แล้ว จากที่มีการครอบครองทั้งหมด 1.6 หมื่นล้านเครื่องทั่วโลก โดยมีแนวโน้มที่จะถูกทิ้งหรือเก็บเอาไว้เฉย ๆ โดยไม่นำมาทิ้งอย่างถูกวิธี และภายในปี 2030 เชื่อว่าจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากมือถือมีมากถึง 74 ล้านตัน

จากผลการวิจัยพบว่า 46% ของ 8,775 ครัวเรือนในยุโรปที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ที่เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสมาร์ทโฟนไว้โดยไม่กำจัดอย่างถูกวิธีเป็นเพราะ อาจนำไปใช้ในอนาคต อีก 15% ระบุว่าที่เก็บไว้เพราะ ตั้งใจที่จะขายหรือมอบให้แก่ผู้อื่น ขณะที่ 13% เก็บไว้เนื่องจากเป็น คุณค่าทางจิตใจ

อย่างไรก็ตาม ภายในมือถือนั้นมีวัตถุดิบมากมายที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ทองแดง เงิน แพลเลเดียม ฯลฯ แต่ถ้านำไปกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี อย่างเช่น เผาทำลายก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคมักไม่ทราบว่าสิ่งของที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล

“สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราให้ความสำคัญสูงสุด ถ้าเราไม่รีไซเคิลวัสดุหายากที่เรามีอยู่ เราจะต้องขุดพวกมันในประเทศอย่างจีนหรือคองโก” Pascal Leroy ผู้อำนวยการทั่วไปของ WEEE Forum กล่าว

แม้ว่ามือถือที่ไม่ได้ใช้แล้วจะมีมากกว่า 5 พันล้านเครื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นแค่ส่วนน้อย เพราะตามรายงานการตรวจสอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกปี 2020 พบว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมีปริมาณกว่า 44.48 ล้านตัน ที่เกิดขึ้นทุกปีและไม่สามารถรีไซเคิลได้

ทางฝั่งของสหภาพยุโรปได้พยายามลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพึ่งผ่านในกฎหมายใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่กำหนดให้ USB-C เป็นมาตรฐานเครื่องชาร์จเดี่ยวสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องใหม่ทั้งหมดเริ่มปลายปี 2024 ซึ่งการออกกฎหมายนี้ คาดว่าจะช่วยประหยัดเงินได้อย่างน้อย 195 ล้านดอลลาร์ต่อปี และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปกว่า พันตันทุกปี

ปัจจุบัน มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่ถูกรีไซเคิลอย่างเหมาะสมมีสัดส่วนเพียง 17% เท่านั้น แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ภายในปีหน้า

Source

]]>
1404567
‘ออปโป้’ ประกาศวิสัยทัศน์ ‘Inspiration Ahead’ พร้อมยกระดับเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1377922 Thu, 17 Mar 2022 10:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377922

ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟน ได้กลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนทั่วโลกไปเรียบร้อยแล้ว โดยในแต่ละปีมียอดขายรวมกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลก


e-waste จะเพิ่มเป็น 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030

จากรายงานของ The Global E-Waste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียง 17.4% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่า 82.6% ไม่สามารถติดตามได้

แน่นอนว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีล้วนตระหนักถึงปัญหาและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ออปโป้ (OPPO) ซึ่ง OPPO ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์สมาร์ทโฟนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ Eco Rating Labeling Scheme ซึ่งจะประเมินประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของสมาร์ทโฟนใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม ความสามารถในการรีไซเคิล ประสิทธิภาพด้านความเป็นมิตรต่อสภาพอากาศ ซึ่ง OPPO ก็สามารถทำผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี

ล่าสุด OPPO พึ่งประกาศ Brand proposition ใหม่ ‘Inspiration Ahead’ โดย OPPO ให้คำมั่นว่าจะใช้แนวทางเชิงบวกและดำเนินการยกระดับประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายระดับโลกในปัจจุบัน โดยเน้นมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญและประสบการณ์เทคโนโลยีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจมาสู่ผู้ใช้งานทั่วโลก


ไม่ใช่แค่ลด e-waste แต่ต้องลดขยะทุกด้าน

นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนให้ใช้งานได้ดีขึ้นและนานขึ้น OPPO ได้มีการจัดตั้งระบบรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ โดยให้บริการแลกเปลี่ยนในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลและนำสมาร์ทโฟนที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ จนถึงปัจจุบัน ในประเทศจีนมีสมาร์ทโฟนมากกว่า 1.2 ล้านเครื่องถูกรีไซเคิล ผ่านโครงการนี้ คิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 216 ตัน

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ OPPO ก็ใช้หลัก ‘3R+1D’ หรือการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ใหม่ และการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากตลาดในยุโรปในปี 2020 OPPO ได้ลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลงถึง 24% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยบรรจุภัณฑ์ประมาณ 45% ทำจากเส้นใยรีไซเคิล ช่วยให้ยอดการใช้พลาสติกโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลดลงถึง 95%

นอกจากนี้ OPPO ได้พัฒนาเทคโนโลยี SUPER VOOC flash charge ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 220 ล้านคนทั่วโลก ให้เป็น 150W SUPERVOOC flash charge ที่มาพร้อม Battery Health Engine โดยช่วยให้ชาร์จแบตเตอรี่ 4,500 mAh ได้ถึง 50% ในเวลาเพียง 5 นาที และชาร์จได้เต็ม 100% ในเวลาเพียง 15 นาที และช่วยรักษาระดับแบตเตอรี่ได้ที่ 80% ของความจุเดิมหลังจากมีรอบการชาร์จ 1,600 รอบ ซึ่งเพิ่มเป็นสองเท่าของมาตรฐานปัจจุบันที่อยู่ 800 รอบ ช่วยให้ใช้งานสมาร์ทโฟนได้นานขึ้นซึ่งถือเป็นการ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไปในตัว


เดินหน้าสร้างความยั่งยืนต่อเนื่อง

นอกจากการดำเนินงานของตัวเองแล้ว OPPO ยังได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมด้านความยั่งยืน เช่น การร่วมกับ National Geographic เพื่อสนับสนุนการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ผ่านแคมเปญ OPPO Endangered Color Campaign ซึ่งทำมาแล้วกว่า 2 ปี

นอกเหนือจากความพยายามด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม OPPO ยังได้มีการดำเนินการมาอย่างยาวนานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญอย่างความเท่าเทียมทางดิจิทัล สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และพลังเยาวชน ตัวอย่างเช่น OPPO ได้พัฒนาฟีเจอร์ Color Vision Enhancement เพื่อเป็นทางออกให้แก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสี เป็นต้น


ไม่หยุดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

ภายในงาน MWC 2022 Barcelona ที่ผ่านมา OPPO ได้เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จ 240W SUPERVOOC ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่ 4,500mAh ได้เต็ม 100% ในเวลาประมาณ 9 นาที รวมถึงได้เปิดตัว OPPO 5G CPE T2 ที่สามารถแปลงสัญญาณ 5G เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi หรือ LAN

นอกจากนี้ OPPO FIND N สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นแรกของแบรนด์ยังได้รับรางวัล Disruptive Device Innovation Award จาก GLOMO โดยปัจจุบัน Find N มีการสั่งซื้อมากกว่า 1 ล้านรายการ และตลอดปี 2021 OPPO มีอัตราการเติบโต 22% ในการส่งออกสมาร์ทโฟนทั่วโลก มีส่วนแบ่งตลาด 11% เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟน Android 5G อันดับ 2 ของโลก 2 ปีติดต่อกัน

และปลายปีที่ผ่านมา ในงาน OPPO INNO DAY 2021 ได้มีการเปิดตัว MariSilicon X ซึ่งเป็น Imaging NPU ที่ OPPO ดีไซน์เองครั้งแรกจากเทคโนโลยีการผลิตที่มีขนาดเพียง 6nm เพื่อยกระดับการถ่ายภาพขั้นสุด รวมไปถึง OPPO Air Glass แว่นตาอัจฉริยะ ที่มีฟังก์ชันสุดล้ำอย่างแปลภาษาเป็นข้อความได้แบบเรียลไทม์ นับว่า OPPO เป็นแบรนด์ที่ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาให้ผู้ใช้งานจริงๆ ว่าแล้วในตลาดไทยของเราจะมีอะไรที่น่าสนใจจาก OPPO มาเพิ่มเติม ต้องรอติดตามกัน

]]>
1377922
AIS เปิดโครงการ ฝากทิ้ง E-Waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับพี่ไปรษณีย์ได้ฟรี! https://positioningmag.com/1319766 Wed, 17 Feb 2021 06:01:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319766 ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ถือเป็นอีก 1 ประเด็นที่หลายภาคส่วนต่างออกมารณรงค์ให้คนไทยตระหนักและให้ความสำคัญกับการทิ้งอย่างถูกที่ และถูกวิธี เพราะขยะประเภทนี้นอกจากจะไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษลงสู่สภาพแวดล้อม ซึ่งท้ายที่สุดก็จะย้อนกลับมาทำร้ายพวกเราได้อีกด้วย

ที่ผ่านมา แม้จะมีหลายหน่วยงานออกมาตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste แต่ก็อาจจะยังไม่ทั่วถึงอยู่ดี รวมถึงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ที่แม้จะทำให้เราควรต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติกันมากขึ้น แต่บริการรับ/ส่ง จดหมายหรือพัสดุจากไปรษณีย์ไทยไม่เคยหยุด

จึงเป็นที่มาของบริการ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับพี่ๆ ไปรษณีย์ นับเป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ ไปรษณีย์ไทย หลังจากร่วมกันตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ในโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” มาก่อนหน้านี้ ดีเดย์วันแรก 15 กุมภาพันธ์

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เล่าว่า

“เชื่อว่าวันนี้พวกเราตื่นตัวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น แต่ Pain Point คือ ไม่สะดวกที่จะนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้ง ดังนั้นการเข้าไปรับฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงที่บ้านเพื่อส่งต่อให้เอไอเอส ทุกๆ คนสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะนำไปกำจัด และ Recycle อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลในรูปแบบของ Zero Landfill จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งต้องขอขอบคุณทางไปรษณีย์ไทย ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับเอไอเอส ในการรณรงค์ และเป็นช่องทาง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากที่บ้านได้ง่ายๆ สะดวก และที่สำคัญไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสามารถฝากทิ้งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

2 ขั้นตอนง่ายๆ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับบุรุษไปรษณีย์

  1. เตรียม E-Waste ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, สายชาร์จ, หูฟัง, พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ ให้พร้อม และนำใส่กล่อง พร้อมเขียนหน้ากล่อง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์”
  2. ฝากทิ้ง กับพี่ไปรษณีย์ ที่มาส่งจดหมาย หรือพัสดุ ที่บ้านได้เลย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
]]>
1319766
‘AIS’ ผุดแคมเปญ ‘E-Waste ทิ้งรับพอยท์’ แก้ปัญหาคนไม่อยากทิ้ง https://positioningmag.com/1295113 Wed, 02 Sep 2020 08:59:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295113 จากรายงานของ The Global E-Waste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียง 17.4% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่า 82.6% ไม่สามารถติดตามได้

ด้วยปัจจัยในปัจจุบัน อาทิ วิกฤติ COVID-19 และการมาของ 5G ที่ขับเคลื่อนให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้น กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีก็จะยิ่งมีความสำคัญ และในฐานะที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) เป็น Digital Life Service Provider ที่จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และให้บริการโครงข่าย ดังนั้น เอไอเอสตระหนักดีว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งที่จะชักชวนให้คนนำ E-Waste มาทิ้งอย่างถูกวิธีเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ และป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่แผ่นดินและแหล่งน้ำอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

“ความยั่งยืนเป็นเรื่องยาวมาก เวลาเราคุยกันมันคือความเสี่ยงเกิน 10 ปีขึ้นไป ซึ่งตอนนี้องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาตื่นตัวเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงกองทุนต่าง ๆ ที่มองว่าเรื่องความยั่งยืนเป็นจุดตั้งต้น ดังนั้นเชื่อว่าภายในปี 2030 คาดว่าทุกองค์กรจะนำเรื่องความยั่งยืนเข้าหลอมรวมมาอยู่ในกระบวนการการดำเนินงานอย่างชัดเจน รวมถึงผลอย่างเป็นรูปธรรม” นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าว

ที่ผ่านมา เอไอเอสเริ่มเก็บข้อมูลการกำจัดขยะตั้งแต่ปี 2016-2019 โดยทำการกำจัดขยะจากโครงข่ายไปกว่า 700 ตัน โดยมีสัดส่วนที่นำไปรีไซเคิลถึง 96% และตั้งเป้าที่รีไซเคิลให้ได้ 97% ในอนาคต ขณะที่ส่วนของการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์จากผู้บริโภคอยู่ที่ 3 ตัน สามารถรีไซเคิลได้ 100% และตั้งเป้าที่จะกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Zero Landfill หรือไม่มีการฝังกลบให้ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เอไอเอสและหลาย ๆ องค์กรพบคือ คนไทยมักไม่ทิ้งหรือทิ้งกับซาเล้ง ดังนั้น การสร้างการรับรู้และการปลูกฝังจิตสำนึกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เอไอเอสต้องการเน้นย้ำ โดยที่ผ่านมาเอไอเอสได้ขยายจุดรับขยะโดยร่วมกับพันธมิตรกว่า 52 องค์กร เพื่อขยายจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมเป็น 2,000 จุดทั่วไทย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างเอนเกจเมนต์ อาทิ มีการจัดเกมและผลิตสื่อต่าง ๆ

ล่าสุด เอไอเอสออกแคมเปญใหม่ ‘เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์’ ที่ร่วมภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญไปกับเอไอเอส เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน AIS Points เพื่อเป็นสิ่งจูงใจ และเมื่อหลังจากที่เอไอเอสนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิลแล้ว เงินที่ได้จากการรีไซเคิล เอไอเอสจะนำไปบริจาคเพื่อให้เกิดกระบวนการกำจัดขยะที่ยั่งยืนต่อไป

“เรื่อง E-Waste เราทำอย่างจริงจังต่อเนื่องตลอด แม้เราจะใช้วิธีเหมือนการตลาดแต่วัตถุประสงค์ต่างกัน เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อผลกระทบยังเห็นไม่ชัดเนื่องจากเป็นเรื่องระยะยาว แรงกระตุ้นที่ให้คนตระหนักจึงมีน้อยมาก ดังนั้น จุดรับขยะที่มีจำนวนมากขึ้นเราก็หวังว่าจะช่วยสร้างการรับรู้และปรับวิธีคิดให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม และภายใน 1 ปีจากนี้ เราจะต้องมีแผนงานอีกหลายอย่าง เพื่อให้เกิดกระแสต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยน”

อย่างไรก็ตาม เอไอเอสไม่ได้มุ่งเน้นแค่ด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการจัดตั้งแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อดูแลโดยเฉพาะ และที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนศูนย์ DATA Center แล้ว 2 แห่ง จากทั้งหมด 9 แห่ง และติดตั้งตามสถานีฐาน 1,000 แห่งจากทั้งหมด 3 หมื่นแห่ง โดยคาดว่าจะติดตั้งได้ประมาณ 6,000 แห่งภายใน 3 ปี นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์การประหยัดพลังงานในองค์กร รวมถึงการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของเอไอเอสช็อปแต่ละสาขาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อโลก เช่น เปลี่ยนจากขวดน้ำพลาสติกเป็นกระดาษ เป็นต้น

สำหรับแคมเปญ เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์ ทำได้ใน 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปยังเอไอเอสช็อปใกล้บ้าน

2.แจ้งกับพนักงานว่าต้องการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง

3.นำขยะหย่อนลงถัง และสแกน QR Code เพื่อรับ AIS Points จากแท็บเล็ตของพนักงาน ซึ่งจะแสดงผลจำนวน AIS Point ที่ได้รับทันทีผ่าน Notification โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดรวม AIS Point ได้ที่ App My AIS

โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้นมีค่า 5 คะแนน 1 หมายเลขสามารถรับ AIS Points ได้สูงสุด 10 คะแนนต่อวัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563

]]>
1295113
‘ดีแทค’ พาแกะรอย ‘ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ พร้อมปักหมุด ‘Zero Landfill’ ในปี 2565 https://positioningmag.com/1294241 Wed, 26 Aug 2020 12:22:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294241 หากใครมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่พังเสียหาย หากไม่ทิ้งลงถังขยะทันทีก็อาจจะรอ ‘ซาเล้ง’ มาซื้อ ซึ่งข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่าผู้บริโภคที่ขายให้ซาเล้งหรือผู้รับซื้อของเก่าคิดเป็นกว่า 50% เลยทีเดียว แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีวิธีการกำจัดอย่างถูกวิธี แต่แค่แกะของที่มีค่าเพื่อเอาไปขายอีกทอด ส่วนอย่างอื่นก็จัดการเผาไม่ก็ฝัง ซึ่งจะก่อปัญหามลพิษต่อโลก และกลับมาส่งผลต่อสุขภาพอนามัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของเราอีกทอด ดังนั้น ‘ดีแทค’ (Dtac) จึงจะพาไปดูว่าการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีไม่ได้ช่วยแค่โลก แต่ยังสามารถนำไปต่อยอดสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ได้อีกด้วย

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นมากกว่าเทรนด์

ในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ นักลงทุนให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ตอนนี้เขาเลิกถามเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาด แต่สิ่งที่ออนท็อปและสร้างความแตกต่างก็คือ การทำด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นเทรนด์อย่างชัดเจน จนตอนนี้กลายมาเป็นเรื่องพื้นฐาน

โดยในปี 2562 ขยะอิเล็กทรอนิกส์แค่เฉพาะของดีแทคในด้านชิ้นส่วนโครงข่ายก็สร้างขยะกว่า 167,255 ชิ้น หรือคิดเป็น 79% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เก็บได้ ส่วนอีก 21% หรือประมาณ 46,221 ชิ้น มาจากผู้ใช้งานทั่วไปที่มาทิ้งกับดีแทคผ่านโครงการ ‘ทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทค’ นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากหน่วยงานภายในดีแทค ทั้งจากศูนย์บริการดีแทคและสำนักงาน หากยังมีสภาพดี ก็จะนำกลับมาใช้ซ้ำ ส่วนที่เสื่อมสภาพถาวรแล้ว ก็จะเข้ากระบวนการกำจัดและรีไซเคิลต่อไป

ต้องยอมรับว่า โอเปอเรเตอร์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะแค่ยอดขายสมาร์ทโฟนในแต่ละปีก็มากกว่า 5 แสนเครื่อง ยังไม่รวมอุปกรณ์โครงข่าย ดังนั้นเราจึงเริ่มทำเรื่องการนำมือถือของผู้บริโภคไปกำจัดอย่างถูกวิธีตั้งแต่ปี 2555” นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าว

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

ไม่ใช่แค่ใครก็ได้ แต่ต้องมีมาตรฐาน

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีใบรับรองมาตรฐาน NIST 800-88R1 ซึ่งเป็นมาตรฐานการกำจัดข้อมูลต่าง ๆ ที่ยังอาจคงค้างอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก โดยดีแทคมีหน่วยงานกำกับดูแลห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Sustainability Management) ทำหน้าที่ตรวจประเมินบริษัทผู้ให้บริการรีไซเคิลเหล่านี้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทผู้ให้บริการที่ได้รับคัดเลือกมานี้ยังคงรักษามาตรฐานกระบวนการรีไซเคิล มีการพัฒนาระบบการทำงานและเทคโนโลยีอยู่เสมอ

ที่ผ่านมา ดีแทคทำงานร่วมกับ ทส’ ผู้นำระดับโลกในเรื่องของการจัดการรีไซเิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มานาน 8 ปี เมื่อเทสรับซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มายังโรงงานแล้ว เทสจะทำการตรวจนับและชั่งน้ำหนัก เพื่อรายงานจำนวนและน้ำหนักและสถานที่รับเพื่อแจ้งให้ดีแทคทราบและยืนยันว่าได้รับอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย จากนั้นจะนำเข้าพื้นที่จัดเก็บและจะทำการคัดแยกวัสดุตามประเภทหลัก ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ หูฟัง สายชาร์จแบตเตอรี่ พาวเวอร์แบงค์ เป็นต้น เพื่อนำวัสดุหลักดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแกะแยก

หลังการแกะแยกจะทำการบรรจุวัสดุตามแต่ละประเภท วัสดุทั้งหมดจะถูกนำส่งออกไปยังโรงงานของเทสที่สิงคโปร์ เพื่อทำลายหน่วยความจำในเครื่อง และสกัดเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ ทองแดง พาลาเดียม เหล็ก อะลูมิเนียม ลิเทียม และวัสดุประเภทพลาสติก เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ต่อไป ทั้งนี้ 96-98% ของขยะทั้งหมดที่ดีแทคเก็บได้สามารถนำเข้าสู่กระบวนกำจัดที่ถูกต้อง เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด

“ปัญหาของไทยตอนนี้คือ ผู้ให้บริการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานยังมีน้อย ดังนั้นนี่อาจเป็นโอกาสสู่กิจกรรมใหม่ทางเศรษฐกิจ เพราะวัสดุบางอย่างใช้หมดเเล้วหมดเลย อย่างพวกลิเทียม ซึ่งบางประเทศใช้เป็นอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ”

เป้าหมาย Zero Landfill และนำรายได้ต่อยอดความยั่งยืน

ที่ผ่านมา ในส่วนของการรีไซเคิลมือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากฝั่งผู้ใช้งานทั่วไป ดีแทคสามารถรีไซเคิลโดยไม่ทิ้งเศษซากขยะเป็นขยะฝังกลบเลย หรือ Zero Landfill ตั้งแต่ปี 2555 แต่ในส่วนของขยะจากโครงข่ายดีแทควางเป้าหมายว่าจะไม่ฝังกลบเลยในปี 2565 นอกจากนี้ ดีแทคจะนำรายได้ที่กลับมาจากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 1 ล้านบาท มาร่วมกับหน่วยงานที่สนใจเพื่อตั้งกองทุนพัฒนา (Innovation Fund) ต่อไป จากก่อนหน้านี้นำเงินไปบริจาคให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ

ทั้งนี้ ดีแทคตั้งเป้าที่จะเก็บขยะจากฝั่งผู้ใช้งานทั่วไปไม่ต่ำกว่า 50,000 ชิ้นในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ที่สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี การเปลี่ยนสมาร์ทโฟนใหม่ก็จะน้อยลง อายุการใช้งานก็จะนานขึ้นจาก 2 เป็น 3 ปี ขณะที่อุปสรรคและความท้าทายในระยะยาวยังอยู่ที่ความเข้าใจของ ‘ผู้บริโภค’ เพราะเขามองว่าทิ้งกับซาเล้งยังได้เงินบ้าง แต่เอามาทิ้งเปล่า ๆ กับดีแทคไม่ได้อะไร

“เราต้องแข่งกับซาเล้งและความเข้าใจของผู้บริโภค เพราะเขามักตั้งคำถามว่าทิ้งกับซาเล้งแล้วได้เงิน ทิ้งกับเราแล้วได้อะไร ดังนั้นเราจึงต้องทำให้เขาเห็นว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งอย่างถูกวิธีแล้วมีประโยชน์อะไร และเอาไปทำไปต่อยอดอะไรได้อีกบ้าง”

]]>
1294241