ข้อมูล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 07 Aug 2020 13:13:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 พลิกวิกฤต COVID-19 เป็นโอกาสในเเบบ ‘ไวซ์ไซท์’ กับการพาแบรนด์ไทยลุยตลาดโลกด้วย ‘Data’ https://positioningmag.com/1291541 Fri, 07 Aug 2020 10:22:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291541 หลายคนคงจำได้ว่าผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการด้านการวิเคราะห์โซเซียล มีเดีย (Social Data Analytic Service) อย่าง ‘โธธ โซเชียล โอบีว็อค’ (Thoth Zocial OBVOC) ได้รีแบรนด์มาเป็น ‘ไวซ์ไซท์’ (WISESIGNT) ก็เพื่อเจาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2020 ก็ถึงเวลาที่บริษัทจะสยายปีกลุยต่างประเทศได้เต็มที่สักที หลังจากที่ใช้เวลาถึง 3 ปีเพื่อขยายเครือข่ายพันธมิตรที่จะมา collaborate ข้อมูล จนปัจจุบันมีถึง 21 ประเทศ รวม 20 แพลตฟอร์ม และครอบคลุมกว่า 30 ภาษา รวมถึงภาษาท้องถิ่น

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวท์ไซท์ จำกัด กล่าวว่า COVID-19 ทำให้แบรนด์แข่งกันหนักในโลกออนไลน์ แถมชุดดาต้าแบบเก่าใช้ไม่ได้เลย ตอนนี้เหมือนรีเซตใหม่หมด ส่งผลให้ความต้องการด้านดาต้ามีมากขึ้น อย่างธุรกิจที่เติบโตก็ต้องจัดการดาต้ามากขึ้น ดังนั้น บริษัทที่ทำดาต้ามีแต่ขาขึ้นกับขึ้น เพราะคนใช้ดาต้ามากขึ้น ซึ่งตอนนี้แค่ดาต้าในประเทศไม่พอแล้ว”

ขณะที่ต่างประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวจากพิษ COVID-19 ได้เหมือนไทย นี่จึงถือเป็นโอกาสของแบรนด์ไทยในการเจาะตลาดต่างประเทศ เนื่องจากได้เห็นเทรนด์และความต้องการต่าง ๆ ก่อน โดยเฉพาะสินค้าในสินค้ากลุ่มเฮลท์แคร์ อย่างไรก็ตาม เพราะการเดินทางที่ยังไม่สะดวก ไวซ์ไซท์จึงเปิดตัว ‘Cross-Border Consumer Insights Research’ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดียของแต่ละประเทศ สำหรับประกอบการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลจะครอบคลุมเรื่องของการวิเคราะห์คู่แข่งในตลาด, วิเคราะห์ pain points ของลูกค้าในบริการต่าง ๆ , วิเคราะห์ช่องทางสื่อสาร และการใช้งานโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ, วิเคราะห์ Influencer ในแต่ละกลุ่มธุรกิจ, การพูดถึงของแบรนด์ สินค้า หรือบริการต่าง ๆ ในกลุ่มธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยค่าบริการเริ่มต้นที่ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเทศและแพลตฟอร์ม โดยมั่นใจว่าสามารถใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ ลดเวลาจากเดิมที่อาจต้องใช้เวลา 3-6 เดือน

“การบุกตลาดต่างประเทศต้องใช้ข้อมูลเยอะ และผู้ประกอบการต้องมีไมนด์เซตที่ดี ดังนั้นการรีเสิร์ชคือการนำข้อมูลกลับมาก่อน เพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่างบางประเทศที่ไม่มีการรับรู้ถึงสินค้าไทยเลย นี่อาจเป็นโอกาสก็ได้”

เบื้องต้น บริษัทจะเน้นโฟกัสที่ลูกค้าไทยที่ต้องการเจาะตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ส่วนลูกค้าต่างประเทศมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมองไทยเป็นทางผ่านในการเข้าทำตลาดที่ใหญ่กว่า อาทิ เวียดนาม โดยปัจจุบันไวซ์ไซท์มีลูกค้าในมือทั้งหมดประมาณ 280 ราย โดยหวังว่าสิ้นปีจะแตะ 300 ราย ซึ่งปัจจุบันมีแบรนด์ประมาณ 4-5 แบรนด์ที่สนใจการไปตลาดต่างประเทศ

“จากสถานการณ์ COVID-19 ทุกคนได้รับผลกระทบ ไวซ์ไซท์เองจากที่เคยบอกว่าแบรนด์ 1 ใน 3 ที่อยู่ในห้างฯ เป็นลูกค้าเราหมด แต่พอห้างฯ ปิด ลูกค้าเราก็ลดลง แต่ดีที่ไทย Recover เร็ว ดังนั้นอาจจะต้องวิเคราะห์รายวัน ถึงจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามา”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เริ่มเห็นในตลาดไทยหลัง COVID-19 คือ ‘Facebook’ ไม่ใช่หมุดหมายหลักของแบรนด์ใหญ่และ SME อีกต่อไป เนื่องจากเงินที่ลงกับผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกัน ดังนั้น หลายแบรนด์เริ่มมองหาแพลตฟอร์มอื่น อย่างเช่น ‘TikTok’ ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ยังติดปัญหาคือ ไม่รู้จะใช้งานอย่างไร

พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไวท์ไซท์ จำกัด

ด้าน พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน ไวซ์ไซท์มีพนักงานในไทยประมาณ 150 คน โดย 100 คนเป็น Data Analytic ส่วนออฟฟิศต่างประเทศอยู่มาเลเซียมีทีมงานประมาณ 20 คน โดยไวซ์ไซท์ยังคงเพิ่มคนและพยายามขยายไปยังประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงหาพันธมิตรเป็นแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะ TikTok ที่ไวซ์ไซท์ยังไม่ได้เป็นพันธมิตร

“ความยากและความท้าทายของเราในตอนนี้ ภาษาและวัฒนธรรม เพราะแต่ละประเทศแทบไม่เหมือนกันเลย อย่างไทยมี Pantip แต่ต่างประเทศก็มีแพลตฟอร์มอื่น ๆ ส่วนการเติบโตก็ไม่เท่ากัน อย่างจำนวนผู้ใช้งานในอินเดียโตถึง 48% มีปัจจุบันมีผู้ใช้งานโซเชียลฯ 400 ล้านคน แต่ไทยและไต้หวันจะอิ่มตัวเติบโตแค่ 5% หรืออย่างเมียนมาก็ไม่ใช้ Google แต่ใช้ Facebook เป็นหลัก”

อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการใช้งานดาต้า รวมถึงการสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ไทยถือเป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Story, การหา Inside ผู้บริโภค, การเลือก KOL และ Creativity ดังนั้น ถือเป็นโอกาสของธุรกิจไทยมาก ๆ ที่จะลุยต่างประเทศ

ทั้งนี้ บริษัทได้กำลังเจรจากับนักลงทุนในไทยและต่างประเทศเพื่อระดมทุนมาใช้ขยายตลาด โดยคาดว่าจะจบดีลภายในปีนี้ ซึ่งอาจอยู่ในระดับซีรีส์ A-B

]]>
1291541
เปิด 25 รหัสผ่านยอดเเย่เเห่งปี 2019 ใครกำลังใช้อยู่…ต้องระวัง ! https://positioningmag.com/1259042 Tue, 31 Dec 2019 16:46:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259042 Photo : Pixabay

ใครใช้อยู่ รีบเปลี่ยนด่วน SplashData เผย 25 รหัสผ่านยอดเเย่เเห่งปี 2019 โดยประเมินจากรหัสผ่าน (Password) ที่หลุดรั่วไหลมากกว่า 5 ล้านรหัสบนโลกอินเทอร์เน็ต

ไม่น่าเเปลกใจที่รหัส “123456” จะยังคงครองแชมป์เป็น Password ยอดแย่ที่สุด 7 ปีซ้อนตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ด้วยความที่ในปัจจุบันเรามีหลายบัญชี เป็นสมาชิกหลายเว็บ หลายโซเชียล บางครั้งก็เเค่จะตั้งให้จำได้ง่าย เเต่ Password ที่ทำให้เราจำได้ง่ายนั้น ก็ทำให้คนอื่นก็สามารถเดาได้เช่นกัน อาจเป็นอันตรายหากถูกนำไปใช้โดยบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีเเละอยากจะขโมยข้อมูลออนไลน์

และนี่คือ 25 อันดับ Password ยอดแย่ประจำปี 2019

  1. 123456
  2. 123456789
  3. qwerty
  4. password
  5. 1234567
  6. 12345678
  7. 12345
  8. iloveyou
  9. 111111
  10. 123123
  11. abc123
  12. qwerty123
  13. 1q2w3e4r
  14. admin
  15. qwertyuiop
  16. 654321
  17. 555555
  18. lovely
  19. 7777777
  20. welcome
  21. 888888
  22. princess
  23. dragon
  24. password1
  25. 123qwe

ในปีนี้ รหัสยอดฮิตอย่าง “password” ตกอันดับลงมาอยู่ที่ 4 หลังอยู่อันดับ 1 เเละ 2 มาหลายปี เเต่รหัสผ่านยอดแย่อย่าง “123456” ยังครองเเชมป์เหนียวเเน่น นับตั้งแต่ปี 2013

ขณะที่ Password ยอดเเย่น้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาติดอันดับ ได้เเก่ “1q2w3e4r” (อันดับ 13) เเม้จะดูอ่านยาก เเต่ทว่าเป็นเเค่การกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับ แต่ทำเป็นขั้นบันไดนั่นเอง ตามมาด้วย “qwertyuiop” (อันดับ 15) เป็นเเค่การกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับ เเต่มีการเพิ่มความยาวของรหัสผ่านให้ยาวขึ้น

SplashData ระบุว่า จากจำนวนรหัสผ่านที่หลุดออกมากว่า 5 ล้านรหัสนี้ มีถึง 10% ที่ใช้รหัสผ่านใน 25 อันดับนี้ และเป็นรหัส “123456” เกือบ 3%

สำหรับคำเเนะนำในการตั้ง Password จาก SplashData มี 3 ข้อ ดังนี้

  • ควรใช้รหัสที่มีความยาวอักษร 12 ตัวขึ้นไป ผสมกันทั้งอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ และตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น @ หรือ %
  • ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันในทุกเเพลตฟอร์มหรือบริการต่างๆ ควรเเยกใช้ให้เเตกต่างกัน เพราะหากรหัสหลุดไปเเค่ที่เดียว อาจจะทำให้คนอื่นสามารถเข้าหลายบัญชีของเราได้
  • ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เพื่อช่วยตั้งรหัสผ่านแบบสุ่ม และล็อกอินเข้าอัตโมมัติ

ย้อนมาดู 25 รหัสผ่านยอดเเย่ ตั้งเเต่ปี 2011-2018 มีอะไรกันบ้าง ? 

 

Source 

]]>
1259042