คว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 16 Apr 2023 08:01:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การส่งออกน้ำมัน ‘รัสเซีย’ พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี แต่รายได้หดตัว 43% https://positioningmag.com/1427417 Sun, 16 Apr 2023 05:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427417 แม้รัสเซียจะถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก หลังจากที่ก่อสงครามกับยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา แต่การส่งออกน้ำมันของรัสเซียกลับสูงสุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ตาม รายได้กลับไม่ได้โตตามยอดการส่งออก

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) หรือ IEA ได้เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมการส่งออกน้ำมันของรัสเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี แม้ว่าจะถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก โดยมียอดส่งออกจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020

โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นกลับสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 จาก 450,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากน้ำมันของรัสเซียยัง ลดลงถึง 43% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้รายได้จะดีดตัวขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์แตะ 12.7 พันล้านดอลลาร์ก็ตาม

IEA กล่าวว่า การส่งออกน้ำมันดิบของมอสโกเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอินเดีย และจีนเป็นปลายทางหลักสำหรับการขนส่งของรัสเซียในเอเชียในเดือนมีนาคม ขณะที่การจัดส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็น 300,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ลดลงเกือบ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ครั้งเมื่อเทียบกับระดับก่อนสงคราม

ทั้งนี้ มาตรการการคว่ำบาตรน้ำมันของยุโรปมีเป้าหมายที่จะตัดรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานชั้นนำของโลกออกจากแหล่งรายได้หลักจากการทำสงคราม ส่งผลให้รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกโดยลดการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน และพันธมิตรในกลุ่มพันธมิตรน้ำมัน OPEC+ สร้างความตกใจให้กับตลาดด้วยการประกาศลดกำลังการผลิตของตนเองเมื่อต้นเดือนนี้

อย่างไรก็ตาม รัสเซียพลาดเป้าหมายในเดือนมีนาคม เนื่องจากการผลิตลดลง 290,000 บาร์เรลต่อวัน ตามรายงานของ IEA

Source

]]>
1427417
‘เยอรมนี’–‘เดนมาร์ก’ ทุ่ม 9 พันล้านลงทุน ‘ไฟฟ้าพลังงานลม’ แทนการนำเข้าก๊าซ ‘รัสเซีย’ https://positioningmag.com/1398346 Wed, 31 Aug 2022 02:41:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398346 หลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทาง สหภาพยุโรป (EU) ก็ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมถึงการนำเข้า พลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซ น้ำมัน และ ถ่านหิน แน่นอนว่าการคว่ำบาตรดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิก ล่าสุด เยอรมนีและเดนมาร์กก็หันไปหาพลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว

เยอรมนีและเดนมาร์ก ได้มีข้อตกลงร่วมกันมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานลม นอกชายฝั่งในทะเลบอลติก ซึ่งทางการระบุว่าจะช่วยให้สามารถจ่ายไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับครัวเรือน 4.5 ล้านครัวเรือน ภายในปี 2573

โดยข้อตกลงนี้ เดนมาร์กต้องการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมตามแผนที่วางไว้บนเกาะพลังงานบอร์นโฮล์มจาก 2 เป็น 3 กิกะวัตต์ และข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงสายเคเบิลใต้น้ำ 292 ไมล์ที่เชื่อมโยงกังหันลมของบอร์นโฮล์มกับกริดของเยอรมนี เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซและน้ำมันของรัสเซีย

ปัจจุบัน เดนมาร์กและเยอรมนีมีความสามารถด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง 1.5 กิกะวัตต์ และ 1 กิกะวัตต์ ในทะเลบอลติกตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของพลังงานลมในยุโรป

Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพอากาศของเยอรมนี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการ ระดับเรือธง ซึ่งจะช่วยให้ยุโรปบรรลุ ความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นกลางของสภาพภูมิอากาศ

“พลังงานลมจากทะเลบอลติกจะช่วยเราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และนี่คือการลงทุนในความมั่นคงของเรา มันจะช่วยให้เราพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียน้อยลง” Annalena Baerbock รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน กล่าวเสริม

ความจุพลังงานลมทั้งหมดของโลก ทั้งบนบกและนอกชายฝั่ง ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 837 กิกะวัตต์ ตามรายงานของสภาพลังงานลมโลก จีนถือหุ้นใหญ่ที่สุดในตลาดพลังงานลมนอกชายฝั่งของโลก โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตลมนอกชายฝั่งเป็น 27.7 กิกะวัตต์ในปี 2564

คณะกรรมาธิการยุโรปตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมทั้งหมดของประเทศเป็น 300 กิกะวัตต์ภายในปี 2593 เพิ่มขึ้นจาก 16 กิกะวัตต์ที่ติดตั้งในเดือนพฤษภาคม

Source

]]>
1398346
ทำได้จริงไหม! ‘อียู’ ประกาศคว่ำบาตร ‘น้ำมันรัสเซีย’ 90% ภายในปลายปีนี้ https://positioningmag.com/1387184 Tue, 31 May 2022 07:21:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387184 ตั้งแต่ ‘รัสเซีย’ เปิดศึกเริ่มสงครามกับ ‘ยูเครน’ ราคาน้ำมันทั่วโลกก็พุ่งสูงขึ้น แต่ที่ราคาน้ำมันสูงหลายคนคิดว่าเป็นเพราะการ ‘คว่ำบาตร’ จาก ‘อียู’ (EU) หรือ ‘สหภาพยุโรป’ แต่ความเป็นจริงแล้วที่น้ำมันทั่วโลกแพงเป็นเพราะรัสเซียมีกำลังผลิตน้ำมันที่ลดลง จนทำให้ประเทศในยุโรปต้องไปดึงเอาน้ำมันจากประเทศผู้ผลิตอื่น แต่ล่าสุด อียูก็มีมติที่จะคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียจริง ๆ ภายในสิ้นปีนี้

หลังจากที่อียูได้เสนอเข้าร่วมกับสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ในการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว ล่าสุดของอียู อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เปิดเผยว่า อียูมีมติในการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย 90% ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อลดแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่สำหรับการทำสงครามกับยูเครน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคว่ำบาตรอื่น ๆ อาทิ การตัด Sberbank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียออกจากการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ SWIFT, ห้ามผู้แพร่ภาพกระจายเสียงของรัฐรัสเซียอีก 3 ราย และคว่ำบาตรบุคคลที่รับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามในยูเครน

อย่างไรก็ตาม อียูจะยกเว้นมาตรการดังกล่าวกับประเทศ ฮังการี เนื่องจากประเทศไม่มีดินแดนติดทะเล ดังนั้น การขนส่งน้ำมันจึงทำได้ยากกว่าประเทศอื่น ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพิงการส่งน้ำมันดิบจากรัสเซียผ่านทางท่อส่งน้ำมัน

ที่ผ่านมา อียูกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซียมาแล้ว 5 ครั้ง นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เพื่อบีบให้รัสเซียหยุดก่อสงคราม อย่างไรก็ตาม พวกเขาประสบปัญหาในการแบนนำเข้าน้ำมันรัสเซีย เนื่องจากมันก่อความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรป

เนื่องจาก ยุโรปถือเป็นผู้ซื้อพลังงานรัสเซียรายใหญ่ที่สุด โดยในปี 2020 ยอดส่งออกน้ำมันดิบ 27% ของรัสเซียถูกส่งไปยังยุโรป หรือคิดเป็นประมาณ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ประเทศ ฮังการี, สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย ถือเป็น 3 ประเทศที่พึ่งพาน้ำมันของรัสเซียมากที่สุด โดยคิดเป็น 86%, 97% และ 100% ตามลำดับ

ทั้งนี้ รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 2 ของโลก โดยช่วงก่อนเกิดสงครามสามารถผลิตได้เฉลี่ย 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 11% ของความต้องการทั่วโลก แต่ตั้งแต่เกิดสงคราม ปริมาณการผลิตของรัสเซียก็ลดลงมาเหลืออยู่ราว 9-10 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่านั้น หรือหายไปประมาณ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงเพราะไม่เพียงพอต่อความต้องการ

Source

]]>
1387184