คอนเซ็ปต์สโตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Apr 2022 06:51:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สเวนเซ่นส์ ท่ามหาราช” สัมผัสกลิ่นอายรัตนโกสินทร์ สาขาแรกตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา https://positioningmag.com/1382569 Mon, 25 Apr 2022 13:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382569

สเวนเซ่นส์ เดินเกมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภค ด้วยการตกแต่งสาขาให้เข้ากับโลเคชั่น ล่าสุดกับการเปิดตัว “สเวนเซ่นส์ ท่ามหาราช” สาขาแรกที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับสัมผัสกลิ่นอายความเป็นกรุงเก่า ด้วยการตกแต่งสุดคลาสิค หวังเป็นสาขาแม็คเน็ตดึงดูดนักท่องเที่ยวได้


คอนเซ็ปต์สโตร์ ย้อนยุคสู่กรุงเก่า

ในยุคปัจจุบัน การเปิดร้านอาหารคงไม่สามารถใช้แพทเทิร์น หรือรูปแบบเดียวกันได้กับทุกโลเคชั่น เพราะความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด อีกทั้งยังเบื่อง่าย มีตัวเลือกเยอะมากขึ้น ทำให้แบรนด์ต้องปรับตัวเพื่อรับกับความเป็นไปของตลาด

นอกจากปัจจัยด้านของผู้บริโภคแล้ว ยังมีเรื่องการมาของวิกฤต COVID-19 ทำให้ทุกธุรกิจอยู่บนความไม่แน่นอนได้ทุกเมื่อ จึงได้เห็นเหล่าบรรดาร้านอาหารต่างดีไซน์ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ หรือโมเดลใหม่ เพื่อเรียกเสียง “ว้าว” จากลูกค้า อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา “สเวนเซ่นส์” ร้านไอศกรีมในเครือไมเนอร์ ฟู้ด ได้เดินเกมนี้มาตลอด มีการเปิดโมเดลร้านพิเศษ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

  1. Regional Flagship Store เป็นสาขาในรูปแบบสแตนอโลน มีการดีไซน์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของจังหวัดนั้นๆ ปัจจุบันมี 5 สาขา ได้แก่ ภูเก็ต, ยะลา, น่าน, พิษณุโลก และนครศรีธรรมราช
  2. Concept Store เป็นสาขาที่มีการดีไซน์ให้เข้ากับสถานที่นั้นๆ เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ปัจจุบันมี 3 สาขา ได้แก่ กาดฝรั่ง จ.เชียงใหม่, แอท เอกมัย และท่ามหาราช

สเวนเซ่นส์ ท่ามหาราช ตั้งอยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์สุดฮิปท่ามหาราช โดยเป็นสาขาแรกที่ได้โลเคชั่นติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ที่สาขานี้เป็นโมเดลแบบ Concept Store เพราะมีการดีไซน์ร้านด้วยแรงบันดาลใจจากการเอากลิ่นอายย้อนยุคในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มาตกแต่งร้านให้เบลนด์เข้ากับสถานที่

โทนสีจะเน้นสีน้ำตาล และครีม ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ เก้าอี้ หรือโซฟา ทำให้มีความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปนั่งทานไอศกรีมในร้านของชาวบ้านในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ พร้อมกับมีการตกแต่งด้วยโทรศัพท์ ลำโพงสุดคลาสิค และมีพร็อบ พร้อมกับมุมถ่ายรูป ที่รับรองว่าถ่ายออกมาแล้วต้องเหมือน “ท่านเจ้าคุณ” อย่างแน่นอน

อนุพนธ์ นิธิยานันท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด เริ่มเล่าว่า

“สาขาที่ท่ามหาราชเป็นรูปแบบ Concept Store ก่อนที่จะออกแบบร้านเราได้ศึกษาว่าลูกค้าเป็นใคร พร้อมกับดูคอนเซ็ปต์ของสถานที่ ถ้าย้อนกลับไปในอดีตบริเวณนี้มีประวัติศาสตร์ สามารถทำให้น่าสนใจขึ้นกว่าร้านธรรมดาได้ แถมยังได้โลเคชั่นอยู่ริมแม่น้ำ อีกทั้งสเวนเซ่นส์อยู่ในประเทศไทยมา 35 ปี มีรูปแบบร้านใหม่ๆ เรื่อยๆ สาขานี้จะเป็นสาขาที่ได้เหมือนได้ย้อนอดีตกลับไปช่วงเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว มู้ดแอนด์โทน บรรยากาศ ชุดยูนิฟอร์มพนักงาน มีความย้อนยุคอยู่ในตัว”


ดีไซน์ให้เข้ากับสถานที่

โมเดล Concept Store ทั้ง 3 สาขานั้น จะมีความแตกต่างกัน โดยทางสเวนเซ่นส์จะทำการศึกษาคอนเซ็ปต์ของแต่ที่ จากนั้นจะดูกลุ่มลูกค้าบริเวณนั้นว่าเป็นกลุ่มไหน แล้วดีไซน์ให้เข้ากัน

ยกตัวอย่างเช่น สาขากาดฝรั่ง ดีไซน์คอนเซ็ปต์โมเดิร์น นอร์ท กลิ่นอายล้านนาแบบทันสมัย ให้เข้ากับจ.เชียงใหม่ สำหรับสาขาแอท เอกมัย เป็นคอมมูนิตี้แห่งใหม่ใจกลางเมือง ดีไซน์ด้วยคอนเซ็ปต์ไนท์ไลฟ์ หรือสีสันในเวลากลางคืน เพื่อให้เข้ากับเอกมัย เป็นอีกหนึ่งโลเคชั่นสำหรับนักท่องราตรี

ส่วนสาขาท่ามหาราชนี้ อนุพนธ์บอกว่าเป็นทำเลที่มีศักยภาพอย่างมาก ได้ดึงความย้อนยุคของกรุงเก่า แล้วดีไซน์ให้มีบรรยากาศช่วงยุครัตนโกสินทร์

“สาขานี้ใช้เวลาออกแบบ และก่อสร้างราว 6 เดือน ตัวคอนเซ็ปต์ไม่ได้ยากเท่าไหร่ เพราะเรามีสิ่งที่ต้องการ มี Reference ที่อยากได้เรียบร้อย ความยากอยู่ตรงที่จะทำออกมาอย่างไรให้น่าสนใจ เบลนด์ทุกอย่างให้เข้ากับสเวนเซ่นส์ และทำให้สาขานี้น่าสนใจให้มากที่สุดจึงเป็นเรื่องท้าทาย”


ทำเลทองดึงนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาล

ทำเลของท่ามหาราชเป็นอีกโลเคชั่นที่อนุพนธ์มองว่าน่าสนใจ เพราะเป็นโซนที่มีนักท่องเที่ยวเยอะ มีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงาน เนื่องจากบริเวณนั้นมีทั้งม.ธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลศิริราช และยังเป็นท่าเรือข้ามฟาก เรียกว่ามีทราฟิกทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

และในท่ามหาราชนี้เอง ก็มีแบรนด์ร้านอาหารในเครือไมเนอร์ ฟู้ดเข้ามาเปิดให้บริการอยู่นานแล้ว ได้แก่ เดอะ คอฟฟี่ คลับ และบอนชอน ทำให้ได้ศึกษาข้อมูลของทำเลนี้ และพฤติกรรมของลูกค้าอยู่พอสมควร

ความสำคัญของสาขานี้ ทางสเวนเซ่นส์หมายมั่นปั้นมือที่จะให้เป็นอีกหนึ่งสาขาที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว มีความเชื่อว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาภายในไม่ช้า เพราะก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ท่ามหาราชก็เป็นอีกจุดที่มีทั้งนักท่องเที่ยวชาวจีน และตะวันตก

“สาขานี้มีศักยภาพ จะเป็นสาขาที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว แม้ 2 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจะหายไป แต่มองว่าปีนี้จะกลับมา เราจึงต้องรีบจับพื้นที่ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลลอยกระทง และวันปีใหม่ บริเวณนี้จะมีทราฟิกเพิ่มขึ้น 3 เท่า ร้านอาหารบางแห่งต้องเปิดจองโต๊ะกันในวันนั้นเลยก็มี เราก็กำลังคิดที่จะทำอะไรในช่วงเทศกาลอย่างแน่นอน”


จัดเมนูพิเศษด้วย “กล้วยไข่บวชชีกะทิซันเด”

แค่เปิดร้านในรูปแบบใหม่ๆ อย่างเดียวไม่พอ ยุคนี้ต้องมีเมนูใหม่ๆ หรือไอเดียใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้น  ในช่วงที่ผ่านมานี้ ในการเปิดสาขาใหม่ในโมเดล Regional Flagship Store และ Concept Store ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับการเปิดตัวเมนูใหม่ ซึ่งเป็นเมนูพิเศษเฉพาะสาขานั้นๆ ที่สำคัญคือเป็นการคิดค้นเมนูให้เข้ากับสถานที่นั้นๆ อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ในสาขาพิเศษต่างๆ ได้มีเมนูพิเศษทั้งสิ้น ล้วนเป็น Limited Edition ที่ขายเพียงแค่ชั่วคราว ได้แก่ ภูเก็ตทาวน์ มีเซ็นโกปิ๊, กาดน่าน มีไอศกรีมกะทิบัวลอย, ยะลา มีเมนูกล้วยหิน, และพิษณุโลกได้นำกล้วยตาก เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดมาอยู่ในไอศกรีมของสเวนเซ่นส์อย่างลงตัว มีเพียง 2 แห่งที่กาดฝรั่ง และแอท เอกมัย ที่จะไม่มีเมนูพิเศษ

สาขาท่ามหาราชก็ไม่พลาดที่จะมีเมนูพิเศษอย่างแน่นอน ได้เปิดตัวเมนู “กล้วยไข่บวชชีกะทิซันเด” เป็นการนำเอาไอศกรีมกะทิ เป็นรสชาติที่ไม่เคยจำหน่ายในสเวนเซ่นส์มาก่อน มาผนวกกับกล้วยไข่บวชชี ให้ความรู้สึกวินเทจย้อนยุคไปกับบรรยากาศในร้านอยู่ไม่น้อย

ใครที่อยากสัมผัสสเวนเซ่นส์ในแบบกลิ่นอายย้อนยุค ลองไปเยือนที่สาขาท่ามหาราช แอบแนะนำว่าถ้ายิ่งจัดคอสตูมแนววินเทจไปอีกสักนิด ยิ่งเพิ่มความฟินในการนั่งทานไอศกรีม พร้อมบรรยากาศริมน้ำอย่างแน่นอน

]]>
1382569
The North Face ขอปรับลุคให้ไลฟ์สไตล์ขึ้น รับเทรนด์ Outdoor โตแรงสวนโควิด! https://positioningmag.com/1364277 Mon, 29 Nov 2021 14:03:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364277 The North Face Thailand ปรับลุคครั้งใหญ่ในรอบ 17 ปี ปรับโฉมสาขาเซ็นทรัลเวิลด์เป็นคอนเซ็ปต์สโตร์แห่งแรกในอาเซียน มองเทรนด์เอาต์ดอร์เติบโตแรง หลัง COVID-19 ทำเปลี่ยนวิถี คนมองการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากขึ้น

เปิดคอนเซ็ปต์สโตร์แห่งแรกในอาเซียน

จากวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านเกือบ 2 ปีเต็มนี้ ได้ส่งผลต่อธุรกิจมากมาย ธุรกิจค้าปลีก และแฟชั่นก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เจ็บหนักพอสมควร เนื่องจากการล็อกดาวน์ทำให้ต้องปิดหน้าร้าน ปิดสาขาออฟไลน์ รวมไปถึงการอยู่บ้าน และกำลังซื้อน้อยลง ทำให้คนสนใจแฟชั่นน้อยลง

จึงได้เห็นแบรนด์แฟชั่นหลายแบรนด์ที่ต้องตัดใจลดสเกลธุรกิจ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการลดคน ปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร เรียกว่าสร้างแรงสั่นสะเทือนทั้งในแง่ของธุรกิจ และผู้บริโภค ที่หลายคนต้องสูญเสียแบรนด์ที่รักไป

แต่ต้องบอกว่าตลาดสินค้าเอาต์ดอร์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตสวนกระแส อย่างแบรนด์ The North Face ก็เดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง ล่าสุดได้ปรับโฉมสาขาเซ็นทรัลเวิลด์ให้กลายเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์แห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน เป็นอีกหนึ่งสเต็ปในการรีเฟรชแบรนด์ให้ดูทันสมัยขึ้น เพื่อต้องการจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มไลฟ์สไตล์มากขึ้น

อรรถพล นิติวรคุณาพันธุ์ Brand Manager The North Face Thailand เริ่มเล่าว่า สาขานี้ได้ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นจาก 120 ตารางเมตร เพิ่มเป็น 170 ตารางเมตร ทำให้เป็นคอนเซ็ปต์สโตร์ จริงๆ มีการวางแผนมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่พอมีการล็อกดาวน์ จึงถือโอกาสปิดร้านแล้วรีโนเวตไปเลย แล้วกลับมาเปิดพร้อมกับศูนย์การค้า

แบรนด์แฟชั่น หรือรีเทลหลายแห่งเริ่มชะลอการลงทุน เพราะยังไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ แต่กับ The North Face ที่เดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง อรรถพลบอกว่า เพราะทางผู้บริหารมองเห็นสถานการณ์ในยุโรปมันดีขึ้น หลายคนมองว่าไม่น่าลงทุนแต่ที่นี่มองว่าน่าลงทุน เห็นว่าเทรนด์ “เอาต์ดอร์” มาแน่

“เราเห็นเทรนด์จากยอดขายเติบโตมาตลอด อีกทั้งประเทศไทยเป็นตลาดเบอร์หนึ่งในอาเซียน เลยมองว่ามีโอกาสในการปรับเปลี่ยนโฉมให้ เพราะอยากได้ลูกค้าเจนใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา ปรับให้ดูไลฟ์สไตล์ขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสายฮาร์ดคอร์ปีนเขาอย่างเดียว”

รูปแบบร้านคอนเซ็ปต์สโตร์ จะมีการดีไซน์ร้านให้มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น เน้นประสบการณ์ใหม่ๆ โทนมินิมัล และมีสินค้าคอลเลกชั่นพิเศษ และมีไฮไลต์ที่การประดับไฟเพดานรูป Contour ที่ถูกถอดแบบมาจากยอดเขาของแต่ละประเทศ ที่เซ็นทรัลเวิลด์จะเป็นยอดดอยอินทนนท์

คอนเซ็ปต์สโตร์เริ่มมีที่ประเทศจีนแล้ว 40 สาขา มีที่ยุโรปบางแห่ง โดยจะเริ่มปรับสาขาในเอเชีย ที่ไทยจะเป็นที่แรกในอาเซียน จากที่มีการทำตลาดทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

หลังล็อกดาวน์ คนเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น

แม้ธุรกิจอื่นจะซบเซา แต่ธุรกิจเอาต์ดอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทางแบรนด์มองเห็นแทรนด์นี้จากทางฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่พอมีการล็อกดาวน์ เมื่อคลายล็อกดาวน์จะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เนื่องจากคนโหยหาการท่องเที่ยว การใช้ชีวิตนอกบ้าน รวมถึงการเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น

อีกแง่มุมหนึ่งก็คือ หลายคนมองว่าชีวิตเริ่มไม่แน่นอน ต้องรีบทำอะไรที่ยังไม่ได้ทำ หลายคนเลือกที่จะเข้าหาธรรมชาติ ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติไปเลย เป็นการชาเลนจ์ชีวิตตัวเองนั่นเอง

ในประเทศไทยก็สอดรับกับเทรนด์นี้เช่นเดียวกัน ในโซนเอเชียก็มีพฤติกรรมไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยิ่งในช่วงที่ยังปิดประเทศ ไม่สามารถเดินทางต่างประเทศได้ ทำให้ต้องเที่ยวในประเทศไปก่อน หลายคนเลือกที่จะเที่ยวสายธรรมชาติ ยิ่งในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเยอะ มาพร้อมกับเทรนด์ “แค้มปิ้ง” ด้วย ทำให้ตลาดสินค้าเอาต์ดอร์เติบโตสวนโควิด

“COVID-19 ทำให้ทุกคนต้องทำนู้นทำนี่เพื่อความอยู่รอด เชื่อว่าได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้ว ตลาดเอาต์ดอร์ในไทยจะโตไม่แพ้ในยุโรป หรืออเมริกาเลย เชื่อว่าถ้ามีการท่องเที่ยวในประเทศใกล้เคียงได้ก็จะช่วยให้เติบโตเร็วยิ่งขึ้นด้วย ทางแบรนด์ก็มองหาลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ผสมไลฟ์สไตล์เข้ามา”

คาดการณ์ว่าตลาดสินค้าเอาต์ดอร์มีมูลค่า 2,500 ล้านบาท ในปีนี้อาจจะเสมอตัวแต่ก็เห็นทิศทางที่ดีขึ้น จากที่ 3 ปีก่อนเติบโต 20-30%

ปรับลุคไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ถ้าใครเป็นสายปีนเขา สายธรรมชาติต้องรู้จักแบรนด์ The North Face เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เรียกว่าเป็นแบรนด์ที่มีจุดยืนที่แข็งแรงมากในการทำกิจกรรมเอาต์ดอร์ แอดเวนเจอร์ โดยเฉพาะปีนเขา เดินป่า เป็นแบรนด์สำหรับนักเดินทางตัวยง ใครที่มีแผนในการปีนเขาที่ต่างแดนในอากาศหนาวๆ เชื่อว่าต้องมีแบรนด์ The North Face อยู่ในใจเป็นอันดับต้นๆ

ด้วยจุดยืนของแบรนด์ สินค้าที่ทำออกมาตอบโจทย์นักเดินทางมากๆ เป็นสาย Performance แบบสุดๆ ทำให้ราคาก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน กลุ่มลูกค้าหลักของ The North Face จึงอยู่ในกลุ่มวัยทำงาน มีอายุหน่อยๆ ราว 40 ปีขึ้นไป มีกำลังซื้อ มีหน้าที่การงานที่ดี ชอบเที่ยวต่างประเทศ

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ The North Face ต้องการขยายฐานสู่กลุ่มใหม่ๆ เป็นวัยรุ่นที่เด็กลง เพราะมองเห็นเทรนด์คนไปทำงานต่างประเทศ ไปเที่ยว ปีนเขาที่ญี่ปุ่น ไต้หวันมากขึ้น

โจทย์ใหญ่คือ การปรับลุคให้ดูไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่สายฮาร์ดคอร์ปีนเขาอย่างเดียว จึงมีการออกสินค้าใหม่ๆ ที่เป็นเชิงแฟชั่นไลฟ์สไตล์ สินค้าที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหมวก กระเป๋า เสื้อยืด อีกทั้งทางบริษัทแม่ก็เห็นความสำคัญของตลาดเอเชีย มีการปรับไซส์สำหรับคนเอเชียโดยเฉพาะ ทำให้ได้ตลาดกลุ่มใหม่ๆ มากขึ้น

แค้มปิ้งทดแทนเสื้อกันหนาว

อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงในไทย และยังคงอยู่ก็คือ “แค้มปิ้ง” ไม่ว่าจะเป็นแค้มปิ้งสายลุย หรือสายแฟชั่น แต่เชื่อว่าทุกคนจะต้องคิดว่า “ของมันต้องมี” อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งแคมป์จึงขายดี รวมไปถึงเสื้อผ้าด้วย

จากเดิมที่รายได้ส่วนใหญ่ของ The North Face คือ เสื้อกันหนาว มีสัดส่วนถึง 60% เนื่องจากแต่ละตัวมีมูลค่าสูง และใช้กันหนาวในอากาศติดลบได้ดี ยอดเริ่มตกลงหลังจากช่วงเมษายน 2563 เป็นช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรก เพราะไม่สามารถเดินทางเที่ยวต่างประเทศได้

แม้ยอดขายเสื้อกันหนาวจะลดลง แต่ The North Face กลับได้สายเดินป่า สายแค้มปิ้งมาช่วยเติมเต็มส่วนที่หายไป หลายคนเริ่มซื้อเต็นท์ เสื้อผ้า บางคนซื้อเสื้อยืดไปใส่ทำงานอยู่บ้านก็มี โดยสินค้าที่เซอร์ไพรส์มีการซื้อเยอะมากก็คือ “หมวกปีกกว้าง”

หรืออย่าง “เต็นท์” อุปกรณ์ของสายแคมป์ ในช่วงที่ผ่านมาก็ขายดีมาก จากที่แต่ก่อนขายได้เดือนละ 2-3 หลัง กลายเป็นขายได้เดือนละ 10 หลัง

อรรถพลบอกว่า ในช่วงที่ล็อกดาวน์ แต่ The North Face ก็ยังเติบโตเกือบ 100% เพราะคนเที่ยวในประเทศเดินป่าเดินเขา แม้ยอดเสื้อกันหนาวจะหายไป แต่ขายสินค้าอื่นๆ มาถัวๆ กันได้ แต่ตอนนี้เริ่มมีการเปิดประเทศ ทำให้ยอดขายเสื้อกันหนาวเริ่มกลับมาแล้ว

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สาขา และเป็นรูปแบบเคาน์เตอร์ในห้างฯ 60 สาขา แผนการขยายสาขายังไม่มีแน่ชัด เพราะตอนนี้มีสาขาเกือบครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ แต่จะเน้นเป็นการรีโนเวต ปรับลุคให้ดูไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ลูกค้ามียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 4,000-5,000 บาท/บิล มีการซื้อเฉลี่ย 1-2 ชิ้น เป็นยอดที่ไม่ลดลงเท่าไหร่ เพราะคนเดินทางกล้าลงทุน และกล้าจ่าย

]]>
1364277