คั่นกู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 May 2020 12:01:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทุกคนรู้ แบรนด์รู้ ‘ซีรีส์วาย แมสแล้ว’ แต่จะใช้ทำ ‘Marketing’ อย่างไรให้ปังเหมือนซีรีส์ https://positioningmag.com/1280685 Tue, 26 May 2020 10:48:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280685 ถ้าพูดถึงกระแสคอนเทนต์ที่มาแรงแซงหน้าทุกอย่างในตอนนี้คงหนีไม่พ้น ‘ซีรีส์วาย’ แม้จะดูเป็นกระแสใหม่ ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะคอนเทนต์ประเภทนี้มีมาเป็นสิบปีแล้ว ส่วนกระแสคู่จิ้นก็ไม่ได้มีแค่ในซีรีส์ แต่เหล่าสาววายสามารถจับคู่มาจิ้นได้หมด อย่างสมาชิกวงบอยแบนด์เกาหลีก็ถูกจับคู่มาจิ้นกันบ่อย ๆ แต่อะไรที่ทำให้กระแสถึงมาปังเอาตอนนี้ และแบรนด์เองจะใช้ประโยชน์จากกระแสนี้ได้อย่างไร คุณ กณพ ศุภมานพ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจคอนเทนต์ LINE ประเทศไทย จะมาไขข้อข้องใจให้ฟัง

กณพ ศุภมานพ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจคอนเทนต์ LINE ประเทศไทย

เติบโต 4 เท่าในปีเดียว

จุดเริ่มต้นของซีรีส์วายในตอนแรกนั้นอาจมาจากคู่รองที่เป็นชาย-ชาย แต่ในช่วง 5 – 6 ปีที่ผ่านมาความนิยมดังกล่าวเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จากการที่มีช่องทีวีดิจิทัลและแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์เพิ่มขึ้นมากมาย ประกอบกับนิยายหรือการ์ตูนวายที่แพร่หลายมาในกลุ่มแฟนคลับนักอ่านทีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คอนเทนต์ซีรีส์วายกลายเป็นอีกหนึ่ง ‘ความแมส’ หรือความนิยมกระแสหลักจนมาถึงทุกวันนี้

ในปี 2016 ยอดวิวของซีรีส์วายคิดเป็น 2% ของยอดวิวทั้งหมด แต่ในปี 2018 เติบโตเป็น 5% และปัจจุบันมียอดวิวถึง 20% จากจำนวนยอดวิว 6,000 ล้านวิว หรือเติบโตถึง 4 เท่า โดยปัจจุบัน LINE TV มีคอนเทนต์วายมากที่สุดในไทยถึง 33 เรื่อง โดย 29 เรื่องร่วมกับพาร์ตเนอร์ อีก 4 เรื่องออริจินอล

“แค่ซีรีส์วาย 3 เรื่อง ได้แก่ เพราะเราคู่กัน 2gether The Series, En of Love และ Why R U The Series ก็สามารถเพิ่มยอดการรับชมถึง 20% ยิ่งช่วงล็อกดาวน์เติบโต 45% มียอดวิวกว่า 350 ล้านวิว”

ฐานผู้ชมขยาย 365% แม้อายุ 65 ปีก็โดนตก

ความเข้าใจแรกของผู้ดูซีรีส์วายจะต้องเป็น LGBT แต่ความจริงแล้วกลุ่มผู้ชมหลักเป็นผู้หญิงอายุ 18-25 ปี รองลงมาเป็น 25-34 ปี แต่ในช่วงล็อกดาวน์นี้ ผู้ชมอายุ 65 ปีขึ้นไปมีอัตราเติบโตสูงสุด โดยคาดว่าเป็นผลมาจากการรับชมผ่าน ‘จอทีวี’ ของวัยรุ่นมากขึ้น ส่งผลให้ดูคอนเทนต์กับครอบครัว จากเดิมที่วัยรุ่นจะชมผ่านสมาร์ทโฟน

“เมื่อก่อนวัยรุ่นดู แต่จะดูผ่านมือถือ เพราะไม่อยากให้คนที่บ้านรู้ แต่ตอนนี้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีการรับชมผ่านทีวี ดังนั้นจึงเปลี่ยนจากดูคนเดียวเป็นดูกับครอบครัว เพราะเขาคิดว่ามันเปิดกว้างแล้ว และชวนผู้ใหญ่ดูและผู้ใหญ่ชอบ แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่คอนเทนต์ที่ต้องแอบดู แต่เป็นกระแสหลักแล้ว”

ชอบดูวน ดูซ้ำ และชอบเปย์

อีกพฤติกรรมที่สำคัญ คือ การดูคอนเทนต์ไม่ใช่ดูจบแล้วจบ แต่เป็นการดูแล้วดูอีก ส่งผลให้การรับชมในวันธรรมดาเพิ่มขึ้น 32% และผู้ชมใช้เวลาดูในหมวดนี้มากขึ้น 34% เนื่องจากการดูแบบออนไลน์ทำให้มีเอ็นเกจเมนต์ มีการแชร์ ส่งผลให้สามารถดึงคนดูกลุ่มใหม่ ๆ ให้มารับชม ให้มาเข้าคอมมูนิตี้ ดังนั้นซีรีส์วายยังสามารถเติบโตได้อีกนาน

และด้วยอีโคซิสเต็มส์ที่ LINE TV มี จึงได้ต่อยอดซีรีส์สู่ ‘Line Sticker’ และ ‘LINE Melody’ ซึ่งยอดขายสติกเกอร์ของซีรีส์วายนั้น ขายดีกว่าค่าเฉลี่ย 10 เท่า โดยสามารถขึ้นอันดับ 1 ใน 15 นาที ส่วนยอดขาย LINE Melody ในหมวด Melody The Series ที่นำบทพูดตัวละครมาทำเป็นเสียงรอสายก็เติบโตถึง 400%

5 ปัจจัยดันให้ซีรีส์วายกลายเป็นกระแส

หากพิจารณาจากทุกองค์ประกอบที่กล่าวมาจะพบว่า ซีรีส์วายยอดฮิตเป็นปรากฏการณ์ในหลาย ๆ เรื่อง มีองค์ประกอบร่วมกันอยู่ประมาณ 5 ข้อ ได้แก่

1.นักแสดงหน้าตาดี มีเคมีที่เข้ากัน และการเซอร์วิสของนักแสดงที่เซอร์วิสให้เหล่าแฟนคลับ

2.บรรยากาศที่เข้าถึงผู้ชม บรรยากาศของซีรีส์ที่มีความคล้ายคลึงกับชีวิตจริงของผู้ชม โดยเฉพาะบรรยากาศของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

3.โครงเรื่องที่เติมเต็มจินตนาการของผู้หญิง

4.จุดกระแสด้วยออนไลน์ การสร้าง Virtual Community ถือเป็นตัวจุดกระแสและสร้างกระแสได้ดี เพราะแฟนคลับไม่ได้แค่ต้องการสนุกกับคอนเทนต์ แต่ต้องการมีส่วนร่วม เพราะดูคนเดียวเขาไม่สนุก แต่ต้องดูกับคอมมูนิตี้ มีการคอมเมนต์ มีการสร้างกระแสบนโลกออนไลน์ ดังนั้นจะเห็นว่าแฮชแท็กจะขึ้นอันดับหนึ่งได้ง่าย ๆ

5.อย่าให้กระแสจบไปพร้อมคอนเทนต์ มีการทำกิจกรรมออนไลน์-ออฟไลน์ โดยเสริมความแข็งแรงด้วยกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งสามารถต่อยอดไปต่างประเทศได้ด้วย เช่น จัดการแฟนมีท เป็นต้น

“ด้วยอีโคซิสเต็มส์ LINE ที่จะสร้างประสบการณ์การเข้าชม โดยสามารถใช้ได้เพื่อส่งเสริมการตลาดให้การรับชมได้แบบ 360 องศามากขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำแคมเปญทั้งการไลฟ์กิจกรรมผ่าน LINE TV โดยการไลฟ์สดมีอัตราการเติบโตถึง 600% เมื่อเทียบกับการไลฟ์งานกิจกรรมอื่น ๆ มีเอ็นเกจเมนต์เพิ่มขึ้น 1,400%”

 

แบรนด์รู้ แต่ไม่กล้าใช้ทำ Marketing

จากพฤติกรรมและตัวเลขการเติบโต คงถึงเวลาที่นักการตลาดต้องเริ่มกลับมามองแล้วว่าจะจับเทรนด์ตรงนี้อย่างไร ต้องมาดูว่าสินค้าของแบรนด์สามารถเข้าไปอยู่ในคอนเทนต์ที่คนกลุ่มนี้ดูได้หรือเปล่า อย่างตอนนี้มีทั้งพวก FMCG เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม, ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน ที่ลงมาทำตลาดแล้ว ขณะที่สินค้าประเภท Tech & Gadget ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสำหรับการลงโฆษณาในคอนเทนต์ประเภทนี้

แม้ปัจจุบัน ซีรีส์วายถือเป็น top 10 คอนเทนต์สร้างรายได้จากโฆษณาได้สูงสุดใน LINE TV แต่ก็ยังไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่เปิดรับ ยังมีลูกค้าที่ยังกังวล รู้ว่ามีกระแส แต่กลัวกระทบกับแบรนด์ ดังนั้น นี่คือ การบ้านของ LINE ที่จะต้องทำให้แบรนด์และเอเจนซี่เข้าใจว่า ซีรีส์วายในปัจจุบันภาพเป็นบวก นอกจากนี้ LINE TV ก็มีแผนจะเพิ่มคอนเทนต์วายให้มากขึ้น โดยปีนี้เตรียมปล่อยออริจินอลซีรีส์อีก 1 เรื่อง และมีการพูดคุยกับเกาหลี จีน และญี่ปุ่น ในการนำคอนเทนต์วายในประเทศนั้น ๆ มาลงใน LINE TV

“ไลน์เองที่มีรายได้จาก Advertising base ดังนั้นการบ้าน คือ ทำอย่างไรให้เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมซีรีส์วายมากขึ้น ทำยังไงให้รู้ว่าซีรีส์วายเป็นกระแสบวก คนยอมรับ มีความรู้สึกเกี่ยวพัน มีรอยัลตี้กับคอนเทนต์ นักแสดง เนื้อเรื่อง และแบรนด์สินค้า เราต้องแสดงให้เห็นว่ามันไม่ใช่จุดเล็ก ๆ แต่เป็นกระแสหลัก และเป็นภาพบวก”

]]>
1280685
จับตากระแส ‘ซีรีส์วาย’ หลังจาก #คั่นกู ดังกระจาย โกยยอดวิวกว่า ‘480 ล้านวิว’ https://positioningmag.com/1279930 Thu, 21 May 2020 11:45:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279930 ในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลคงได้เห็นแฮชแท็ก #คั่นกู ผ่านตากันมาบ้างแน่ ๆ ยิ่ง #คั่นกูตอนจบ ที่มีการทวิตกว่า 4.8 ล้านทวิต ขึ้นเป็นแฮชแท็กอันดับ 1 ของโลกในเวลานั้นเลยทีเดียว แต่หลายคนคงจะสงสัย ว่าเจ้าแฮชแท็กนี้มันคืออะไร ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมาจากคำผวนชื่อ ‘ซีรีส์วาย’ ยอดฮิต ‘เพราะเราคู่กัน’ (2 gether The Series) ที่มียอดวิวมียอดวิวรวม มากกว่า 480 ล้านวิว ทั้งไทยและต่างประเทศยันฝั่งยุโรปเลยทีเดียว ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามว่า ซีรีส์วายยัง Niche อยู่ไหม หรือ Mass นานแล้ว

เมื่อก่อน Niche เดี๋ยวนี้ Mass

สำหรับคำว่า ‘วาย’ มีต้นกำเนิดมาจากคำว่า ‘Yaoi’ ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงเรื่องรักโรแมนติกระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย (Boy’s love) โดยหนัง-ซีรีส์วายนั้นมีมาเป็น 10 ปีมาแล้ว เพียงแต่เดิมได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มยังไม่แพร่หลาย แต่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ความนิยมดังกล่าวเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทีวีดิจิทัลและแพลตฟอร์มวีดีโอคอนเทนต์เพิ่มขึ้นมากมาย

LINE TV ได้ให้ความเห็นเสริมว่า คอนเทนต์ประเภทสายวายชวนจิ้น ถือเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ ดังนั้นผู้ผลิตที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงได้ผลิตซีรีส์วาย ประกอบมิติเชิงสังคมที่มีการเปิดกว้างและรับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้คอนเทนต์ซีรีส์วายกลายเป็นอีกหนึ่ง ‘ความแมส’ หรือความนิยมกระแสหลักจนมาถึงทุกวันนี้ อย่างใน ‘LINE TV’ ซีรีส์วายถือเป็นกลุ่มคนดูที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด อย่าง En of Love สามารถสร้างยอดชมเพิ่มสูงถึง 142%

ผู้ชมหลักไม่ใช่ LGBT แต่เป็น ผู้หญิง แถมยัง เปย์หนัก

จริง ๆ แล้ว LINE TV พบว่ากลุ่มผู้ชมแมส มีความหลากหลาย ทุกเพศทุกวัย แต่ที่มากที่สุดคือ ฐานผู้ชม เพศหญิงอายุ 18 – 25 ปี อย่าง En of Love สามารถขยายฐานไปถึงกลุ่มคนดูอายุ 65 ปีได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจะเห็นว่าซีรีส์วายมาพร้อมกับโอกาสใหม่ ๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตอาจไม่ใช่แค่กลุ่ม LGBT หรือสาววายเท่านั้น แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถดูได้ทุกเพศทุกวัย

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ สาวกซีรีส์วายนั้นคล้าย ๆ เหล่า ‘โอตะ’ คือ ‘พร้อมเปย์’ มาก เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นคอมมูนิตี้ และพร้อมที่จะสนับสนุน ‘คู่จิ้น’ หรือ ‘ศิลปิน’ แถมยังมี Loyalty สูงมาก และถ้าหากดูจากอายุกลุ่มผู้ชมแล้วจะเห็นว่าเป็นนักเรียนนักศึกษา ดังนั้นยังไม่มีภาระอะไร จึงพร้อมเปย์แน่นอน

ถ้าปังก็ไปไกลหลายประเทศ เพราะ คอนเทนต์หายาก

แม้จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น กลุ่มผู้ชมก็กว้างขึ้น แต่คอนเทนต์ยังไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น โดยแต่ละค่ายสามารถผลิตได้อย่างน้อย 1-2 เรื่อง/ปี นอกนั้นเป็นซีรีส์ทั่วไป อย่าง LINE TV ที่ถือเป็นแพลตฟอร์มที่รวมซีรีส์วายไว้มากสุดในไทยถึง 33 เรื่อง ยังผลิตซีรีส์วายของตัวเองเพียงเรื่องเดียว คือ BKPP The Series

ส่งผลให้ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหน กลุ่มคนที่สนใจก็จะติดตาม ดังนั้นจึงเห็นกระแสคนไทยที่ดูซีรีส์วายของต่างประเทศ เช่นเดียวกับต่างประเทศที่ดูคอนเทนต์ไทย ดังนั้นภาพรวมของซีรีส์วายสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดนั้นค่อนข้างใหญ่ เพราะดังไกลข้ามประเทศ อย่างประเทศจีนเป็นอีกประเทศที่มีฐานผู้ชมซีรีส์วายใหญ่มากอย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีฐานแฟนคลับติดตามดาราคู่จิ้นจำนวนมาก และในแง่ของผู้ผลิต ประเทศไทยถือเป็นเบอร์ต้น ๆ ของภูมิภาค

จากนี้คงต้องจับตาว่ากระแสซีรีส์วายจะไปได้ไกลแค่ไหน ในเมื่อสังคมในปัจจุบันเปิดรับความหลากหลายมากขึ้น ไม่แน่ว่าในอนาคตละครไทยอาจจะมีตัวละคร ชายจิ้นชาย หรือ หญิงจิ้นหญิง ถูกใส่ไปเป็นเรื่องปกติเพื่อเรียกกระแสนิยมก็เป็นไปได้

]]>
1279930