คิริน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 14 Feb 2022 11:46:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หย่าไม่ได้ ขอไปเอง! “Kirin” ถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังเจรจาเผด็จการไม่คืบ https://positioningmag.com/1373855 Mon, 14 Feb 2022 09:41:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373855 บริษัทเครื่องดื่มญี่ปุ่น Kirin Holdings เตรียมถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังจากบริษัทสรุปได้ว่า “ไม่มีความหวัง” ในการเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหากับหุ้นส่วนธุรกิจซึ่งมีกองทัพเป็นเจ้าของ การตัดสินใจของบริษัทเกิดขึ้นหลังผ่านไปกว่า 1 ปีที่กลุ่มเผด็จการเข้ายึดการปกครอง

Nikkei Asia รายงานว่า Kirin กำลังเริ่มกระบวนการเพื่อปิดกิจการในประเทศเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทดำเนินการผ่านบริษัทร่วมทุนกับ Myanma Economic Holdings (MEHL) บริษัทนี้มีกลุ่มกองทัพทหารเมียนมาเป็นเจ้าของ

ที่ผ่านมาบริษัทเข้าจอยต์เวนเจอร์กับบริษัทกองทัพเมียนมา 2 แห่ง คือ Myanmar Brewery บริษัทนี้ Kirin เข้าถือหุ้นเมื่อปี 2015 และเป็นผู้ผลิตเบียร์ Myanmar Beer เบียร์ที่ขายดีที่สุดของประเทศ ครองตลาด 80% และอีกแห่งหนึ่งคือ Mandalay Brewery เมื่อปี 2017 ทั้งสองบริษัทนี้ Kirin ถือหุ้นข้างมาก 51% ส่วนที่เหลือ 49% บริษัท MEHL เป็นผู้ถือหุ้น

ขณะนี้ Kirin กำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ โดยบริษัทเริ่มกระบวนการปิดบริษัทร่วมทุนทั้งสองแห่งแล้ว แต่ก็ยังเปิดโอกาสที่จะขายหุ้นในส่วนของตนให้กับบริษัทอื่น ซึ่งต้องเป็นการขายหุ้นให้กับบริษัทอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มกองทัพทหารเมียนมา เพราะหากบริษัทยังขายให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็จะตามกดดันบริษัทต่อไป

ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีใครสนใจซื้อหรือไม่ และบริษัทจะหาผู้ซื้อได้ตรงคุณสมบัติที่ต้องการหรือไม่ แต่บริษัทตั้งเป้าหมายแล้วว่าจะจบกระบวนการในเมียนมาให้ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

 

พยายามเจรจา ‘หย่าขาด’ แต่ไม่เป็นผล

Kirin พยายามจะยุติความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหาร MEHL มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่เผด็จการทหารเข้ายึดอำนาจในเมียนมา เนื่องจากเผด็จการทหารเมียนมามีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ แม้ Kirin จะมีความหวังว่า เมื่อตนตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารได้แล้ว บริษัทจะได้ทำธุรกิจเบียร์ในเมียนมาต่อ แต่สุดท้ายความพยายามของบริษัทไม่เป็นผล

Kirin เมียนมา
โรงเบียร์ Myanmar Brewery ในประเทศ “เมียนมา”

บริษัทพยายามเจรจากับ MEHL แล้ว และมีการนำคดีไปขึ้นศูนย์กลางอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 แต่สุดท้ายบริษัทตัดสินใจถอนการลงทุนของตัวเองออกแทน เพราะไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นตามที่หวัง

ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจ กำไรจากบริษัทร่วมทุนในเมียนมาคิดเป็นสัดส่วน 9% ในมูลค่ากำไรโดยรวมของบริษัท Kirin แน่นอนว่าการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นที่จะตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารย่อมยากลำบาก เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องการผลประโยชน์จากบริษัทเบียร์ที่ทำกำไร

 

บริษัทต่างชาติทยอยถอนการลงทุน

ตั้งแต่เมียนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ประชาธิปไตยมากขึ้นเมื่อปี 2011 บริษัทต่างชาติมากมายซึ่งรวมถึง Kirin ด้วย ต่างพุ่งการลงทุนเข้าสู่ตลาด เพราะเห็นโอกาสการเติบโตที่แข็งแรง

แต่เมื่อเผด็จการทหารกลับยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อปีก่อน บริษัทต่างชาติต่างทยอยถอนการลงทุนไปทีละราย โดยการประกาศถอนตัวของ Kirin ถือได้ว่าเป็นบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่รายแรกที่ประกาศเช่นนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของบริษัทอื่นๆ

บริษัทต่างชาติอื่นที่ประกาศถอนการลงทุนแล้ว เช่น TotalEnergies บริษัทด้านพลังงานฝรั่งเศสประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2022, POSCO บริษัทค้าเหล็กยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ก็พยายามจะแยกทางกับ MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนเช่นกัน

แต่ก็ยังมีบริษัทต่างชาติที่ยังไม่ตัดสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง เช่น Fujita, Tokyo Tatemono, Yokogawa Bridge Holdings เป็นต้น

Source

]]>
1373855
Kirin เบียร์ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น ประกาศ “ตัดสัมพันธ์” หุ้นส่วนในเมียนมาตอบโต้ “รัฐประหาร” https://positioningmag.com/1318149 Fri, 05 Feb 2021 08:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318149 คิริน (Kirin) ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ประกาศยุติการทำธุรกิจแบบร่วมค้า (Joint Venture) กับบริษัทหุ้นส่วนในเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกองทัพ หลังเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

การควบคุมตัวผู้นำทางการเมืองสายประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งรวมถึง “อองซานซูจี” เรียกเสียงประณามจากนานาชาติ ซึ่งทาง Kirin ระบุว่าบริษัท “มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการกระทำล่าสุดของกองทัพพม่า”

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เราจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขอยุติความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิงส์ (Myanmar Economic Holdings Public Company Limited – MEHL) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการให้แก่กองทัพพม่า”

ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาสักระยะหนึ่งแล้ว จากการเข้าไปมีสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเบียร์ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ

เมื่อเดือน ม.ค. ทางบริษัทระบุว่า กระบวนการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 “ยังได้ข้อสรุปไม่ชัดเจน” ว่ารายได้จากการร่วมทุนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหรือไม่

Kirin ถูกองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติกดดันให้ต้องเปิดการสอบสวน หลังมีรายงานว่าเจ้าของบริษัท MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิกของกองทัพพม่า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมสงครามอื่นๆ กับชาวมุสลิมโรฮิงญา

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ได้เปิดการไต่สวนกรณีกองทัพพม่ากวาดล้างชุมชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่เมื่อปี 2017 จนทำให้โรฮิงญากว่า 750,000 คน ต้องหนีตายข้ามไปยังฝั่งบังกลาเทศ ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายละเมิดอนุสัญญา ว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ทางการพม่ายืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาโดยตลอด

Kirin เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งใน บริษัท เมียนมา บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท มัณฑะเลย์ บริวเวอรี จำกัด จากการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ MEHL กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีผลประโยชน์ครอบคลุมหลายภาคส่วนตั้งแต่อัญมณี ทองแดง โทรคมนาคม เสื้อผ้า และการธนาคาร

Kirin ได้เข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ใน มัณฑะเลย์ บริวเวอรี เมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ได้ทุ่มเม็ดเงินซื้อกิจการ เมียนมา บริวเวอรี ไปด้วยวงเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2015

เมียนมา บริวเวอรี เป็นผู้ผลิตเบียร์ขายดีที่สุดในพม่าอย่าง Myanmar Beer ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% ตามข้อมูลสถิติที่ Kirin เปิดเผยเมื่อปี 2018

แต่ Kirin ยังไม่ระบุชัดเจนว่า การตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหุ้นส่วนรายใหญ่ครั้งนี้ จะหมายถึงการถอนตัวออกจากพม่าด้วยหรือไม่…

Source

]]>
1318149