นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ตัวเลขการจดทะเบียนสมรสลดลง แต่ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ยังร่วมไปถึงจำนวนการจดทะเบียนสมรสในหลายๆ ประเทศ ซึ่ง iPriceGroup ได้หยิบยกเอาข้อมูลเชิงลึกของ 5 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย มานำเสนอ โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ข้อมูลกรมการปกครองของรัฐบาลในแต่ละประเทศ และเก็บข้อมูลความสนใจในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งงานจาก GoogleKeywordPlanner ซึ่งพบไฮไลต์ที่น่าสนใจดังนี้
คู่รักชาวไทยจดทะเบียนสมรสน้อยลง 17%
อันดับที่ 1 คือคู่รักชาวฟิลิปปินส์ซึ่งมีการจดทะเบียนสมรสลดลงมากสุดถึง 44% ตามมาด้วยไทย 17% สิงคโปร์ 11% ปิดท้ายด้วยมาเลเซีย และอินโดนีเซียที่มีจำนวนลดลงเท่ากันคือ 9% โดยทั้งหมดเป็นข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2020 คาดเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้ต้องปิดเมืองกระทบให้จำนวนการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ รวมไปถึงงานแต่งงานลดลงตามไปด้วย
เมื่อคำนวณจากอัตราส่วนของการจดทะเบียนสมรสในภูมิภาค SEA จะพบว่าประเทศไทยมีอัตราการจดทะเบียนสมรสคงที่คือ 11% ทั้งปี 2019 และปี 2020 คล้ายคลึงกับประเทศมาเลเซีย (7%) และสิงคโปร์ (1%)ไฮไลต์ที่น่าสนใจคือคู่รักชาวอินโดนีเซียที่ถึงแม้ในปี 2020 จำนวนการจดทะเบียนสมรสจะลดลงเช่นกัน แต่อัตราส่วนในภูมิภาคก็ยังคงมากกว่าประเทศอื่นโดยปี 2019 ชาวอินโดฯ มีอัตราการจดทะเบียนสมรสที่ 67% แต่ปี 2020 กับมีถึง 71% ต่างจากชาวฟิลิปปินส์ที่ปี 2019 อัตราการจดทะเบียนสมรสคือ 15% แต่ปี 2020 กับลดลงเหลือ 10%
การศึกษาข้อมูล
จำนวนการจดทะเบียนสมรสในแต่ละปีนำมาจากเว็บไซต์ของรัฐบาลในแต่ละประเทศอาทิ psa.gov.ph (ฟิลิปปินส์), dosm.gov.my (มาเลเซีย), databoks.katadata.co.id (อินโดนีเซีย), stat.bora.dopa.goth (ประเทศไทย) และsingstat.gov.sg (สิงคโปร์)
ชาวกรุงต้องออมเงินเดือน 100% กว่า 12 เดือนเพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายงานแต่งช่วงเช้า
จากบทความเรื่อง ‘คู่มือค่าใช้จ่ายงานแต่งงานตอนเช้า’ ของเว็บไซต์ MoneyBuffalo พบว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีมูลค่าถึง 272,000 บาท และเมื่อนำข้อมูลเงินเดือนของคนไทย (ชาวกรุงเทพฯ) โดยเฉลี่ยคือ 22,690 บาท จากเว็บไซต์ Numbeo.com มาคำนวนจะพบว่า คนไทยต้องออมเงินเดือน 100% (หรือทุกเดือน) นานกว่า 12 เดือน เพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายงานแต่งงานตอนเช้า
และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากบทความดังกล่าว พบว่า ‘ค่าแต่งหน้างานแต่ง’ จากช่างที่มีชื่อเสียงปานกลาง และ ‘ค่าช่างภาพ’ พร้อมทีมงาน 3 คนแบบมืออาชีพ มีราคาสูงถึง 25,000 บาท หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยเงินเดือนของชาวไทยซะอีก อาจเป็นไปได้ว่าเพราะค่าใช้จ่ายงานแต่งที่สูงจนผู้คนยุคโควิดเลือกที่จะออมเงินส่วนนี้ไว้ใช้ยามฉุกเฉินส่งผลกระทบกับจำนวนการจดทะเบียนสมรสที่ลดลง
คนค้นหา ‘แหวนแต่งงาน’ เพิ่ม แม้การจดทะเบียนสมรสลดลง
ดูเหมือนแหวนแต่งงานจะเป็นไอเทมที่คู่รักให้ความสนใจมากที่สุดแม้จำนวนการจดทะเบียนสมรสจะลดลง แต่เมื่อนำคำค้นหายอดนิยมเกี่ยวกับการแต่งงาน อาทิ แหวนแต่งงาน, แหวนหมั้น, ชุดแต่งงาน, สถานที่จัดงานแต่งงานและสถานที่ฮันนีมูนมาวิเคราะห์จะพบว่า ‘สถานที่ฮันนีมูน’ คือคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากที่สุด กว่า 175% เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค้นหาในปี 2019 – 2021 คาดแม้วิกฤต COVID-19 จะทำให้งานอีเวนต์ และงานแต่งงานต้องล้มเลิกแต่คู่รักก็ยังพยายามสร้างความโรแมนติกต่อกันด้วยการหาสถานที่หวานๆ เพื่อเติมเต็มความทรงจำดีๆ ให้กันและกันได้
ส่วนการค้นหาคำว่า ‘แหวนแต่งงาน’ ก็เพิ่มขึ้นถึง 105% ซึ่งผิดคาด เพราะแทนที่จะลดลงเนื่องจากไม่สามารถจัดงานแต่งได้ แต่อาจเป็นเพราะคู่รักยังคงคิดถึงของแทนใจเพื่อกันและกัน ซึ่งแหวนแต่งงานถือเป็นไอเทมสื่อรักชั้นดีตลอดกาลนั่นเอง หรืออีกมุมมองหนึ่งคือปัจจุบันแหวนแต่งงานถูกออกแบบมาให้ตามแฟชั่นมากขึ้น เช่น แบรนด์ยอดนิยมอย่าง Cartier ที่ออกแบบเครื่องประดับอินเทรนด์มากมาย บางคอลเลกชั่นอาจนำมาสวมใส่เป็นแหวนแต่งงานได้ และด้วยการดีไซน์หรูหราทันสมัย อาจทำให้ผู้หญิงหลายคนค้นหาเพื่อนำมาใส่เป็นเครื่องประดับแฟชั่นก็เป็นได้
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group เก็บข้อมูลจาก Google Keyword Planner โดยใช้คำค้นหาดังนี้ แหวนแต่งงาน, แหวนหมั้น, ชุดแต่งงาน, สถานที่จัดงานแต่งงานและสถานที่ฮันนีมูน โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 2019 – ธันวาคม ค.ศ. 2021
เก็บข้อมูลโดย อัดนาน ปูตีลา
เขียน และวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล
]]>รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เนื่องจากกฎหมายมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเสนอโดยกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีหลักเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
1. “คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้
2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.นี้
3. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
5. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน ด้วยก็ได้
8. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
9. กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
1. กำหนดให้ชายหรือหญิง จะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรส หรือคู่ชีวิตอยู่ไม่ได้
2. กำหนดให้เหตุผลฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต
3. กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่ร่าง พ.ร.บ. รวม 2 ฉบับในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับแล้ว รวมทั้งให้ร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ พิจารณาศึกษาผลกระทบและแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตให้มีความเป็นธรรม เท่าเทียม และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างแท้จริง
รองโฆษกรัฐบาล ระบุว่า ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตถือเป็นก้าวย่างสำคัญของสังคมไทยในการส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมของคนทุกเพศ เป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักที่มีเพศเดียวกันให้เป็นคู่ชีวิต และเป็นเครื่องมือทางกฏหมายในการจัดการกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวได้เช่นเดียวกับคู่สมรส ครอบคลุมการจดทะเบียนและการเลิกการเป็นคู่ชีวิต สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิต การจัดการทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรมและมรดก เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะเป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกัน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการความสัมพันธ์ทางครอบครัว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกสิทธิ์เช่นเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ จึงทำให้การประเมินและติดตามการกฎหมายของ 2 ฉบับนี้ หลังบังคับใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายฉบับอื่นๆ ตามมา
ด้านกระเเสตอบรับหลังจาก ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ช่วงบ่ายวันนี้ ในสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ มีการเเสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย โดย #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต ได้มีการพูดถึงจำนวนมาก จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ประเทศไทยในอันดับ 3 (ณ เวลา 17.31 น.) ซึ่งมีการเเสดงความคิดเห็นบางส่วนว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิตดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมสิทธิเเละมีความเท่าเทียมอย่างเเท้จริง จึงไม่เห็นด้วยเเละมีการเรียกร้องให้มี #สมรสเท่าเทียม ต่อไป
โดยหลายคนมองว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังไม่ตอบโจทย์การนำไปสู่ “สมรสเท่าเทียม” ขณะที่บางคนมองว่า การออกร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นการแบ่งแยกเพศจากการออก พ.ร.บ.ใหม่ แทนที่จะมีการปรับแก้และใช้ พ.ร.บ.เดียวกันกับการแต่งงานระหว่างชายและหญิง เพื่อให้ทุกเพศเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
บางความเห็นมองว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิตนั้น ยังไม่ได้ให้สิทธิต่างๆ ของคู่ชีวิตได้เท่าเทียมกับคู่สมรส และร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังไม่เปิดให้คนทุกเพศสามารถหมั้นกันได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ก่อนหน้านี้ในสังคมออนไลน์ ได้เชิญชวนกันให้ร่วมแสดงความคิดเห็น ผ่านเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เเละเเฮชเเท็ก #สมรสเท่าเทียม ก็ขึ้นติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยเช่นเดียวกัน
การเปิดรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อร่างพ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่เสนอโดยส.ส. @MFPThailand
ร่างกฎหมายดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อ "แก้ไข" กฎหมายแพ่งโดยเฉพาะเรื่องการสมรส ซึ่งยังจำกัดเฉพาะชาย-หญิง เพื่อให้ทุกเพศสมรสภายใต้กฎหมายเดียวกัน (ตารางด้านขวา) #สมรสเท่าเทียม pic.twitter.com/Wl7aceKg85
— iLawClub (@iLawclub) July 6, 2020
NEW: I am issuing an Executive Order allowing New Yorkers to obtain a marriage license remotely and allowing clerks to perform ceremonies via video conference.
— Andrew Cuomo (@NYGovCuomo) April 18, 2020
มหานครนิวยอร์ก เป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากที่สุดในสหรัฐฯ ด้วยยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.3 หมื่นคน ผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 2.2 เเสนคน เเละมีคำสั่งขยายมาตรการล็อกดาวน์ให้ประชาชนอาศัยอยู่เเต่ในบ้านไปจนถึง 15 พ.ค.
หน่วยงาน Marriage Bureau ของนิวยอร์กได้ปิดทำการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้คู่รักในเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐฯ…ไม่มีทางเลือกมากนัก
เมื่อผู้คนไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้ ยิ่งไปกว่านั้นไม่สามารถมาร่วมพิธีเเต่งงานได้ตามปกติ ทำให้คู่รักหลายคนตัดสินใจที่จะเลื่อนการเเต่งงานออกไป ขณะที่หลายคนก็เลือกที่จะ “เเต่งงานออนไลน์” จนทำให้กระเเส #ZoomWeddings ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนี้ ซึ่งเป็นการที่เจ้าบ่าวเเละเจ้าสาว ได้เเต่งงานตามกำหนดวันเดิม เชิญเพื่อน ๆ และครอบครัว เข้าร่วมเป็นสักขีพยานผ่านเเอปพลิเคชันการประชุมทางไกล
ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ทางการนิวยอร์กจึงได้ออกกฎรองรับให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อการยื่นขอและส่งเอกสารแต่งงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีนี้ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้เเอปพลิเคชันใด โดยคู่บ่าวสาวสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก
]]>