ซีรีส์เกาหลี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 18 Jan 2023 06:24:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยาว ๆ ไป! ‘Netflix’ เตรียมอัด ‘ซีรีส์เกาหลี’ ลงเสิร์ฟ 34 เรื่อง สูงสุดที่เคยมีมา https://positioningmag.com/1415773 Wed, 18 Jan 2023 06:03:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415773 เชื่อว่าหลายคนยอมเป็นสมาชิก เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) เพราะ ซีรีส์เกาหลี ที่มีมาแย่งเวลานอนของเราอยู่ตลอด ๆ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาที่มีซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องโด่งดังจนกลายเป็นไวรัลและได้รับการตอบรับจากผู้ชมทั่วโลก แน่นอนว่าเน็ตฟลิกซ์ก็เห็นเทรนด์ดังกล่าว ดังนั้นในปีนี้ แพลตฟอร์มเลยวางแผนจะอัดคอนเทนต์จากเกาหลีเพิ่มเป็น 34 เรื่อง ทั้งภาคต่อและเรื่องใหม่มาตกผู้ชม

เน็ตฟลิกซ์ เปิดเผยว่า กำลังวางแผน เพิ่มคอนเทนต์จากเกาหลีใต้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยปีนี้จะมีทั้งหมด 34 เรื่อง ทั้งเรื่องใหม่ ๆ และภาคต่อ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์, ภาพยนตร์ และรายการเรียลลิตี้ เนื่องจากพบว่าปีที่ผ่านมา สมาชิกกว่า 60% ดูคอนเทนต์จากเกาหลี

อย่างไรก็ตาม เน็ตฟลิกซ์ไม่ได้เปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนในปีนี้ แต่ย้อนไปในปี 2021 ผู้บริหารของเน็ตฟลิกซ์เคยเปิดเผยว่า บริษัทวางแผนที่จะลงทุนประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ นอกเหนือจากงบลงทุน 700 ล้านดอลลาร์ ที่ใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี 201

ย้อนไปปี 2021 เน็ตฟลิกซ์มีคอนเทนต์จากเกาหลี 15 เรื่อง และปี 2022 ที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นเป็น 25 เรื่อง จนกระทั่งปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเน้นย้ำว่า เน็ตฟลิกซ์พยายามเพิ่มเนื้อหาเกาหลีเป็นสองเท่าเพื่อมัดใจแฟน ๆ

“ความนิยมทั่วโลกของคอนเทนต์เกาหลีนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2022 โดยซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีติดอันดับ Global Top 10 อย่างสม่ำเสมอในกว่า 90 ประเทศ และรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดของ 3 อันดับแรกมาจากเกาหลี Don Kang รองประธานฝ่ายเนื้อหาเกาหลีของเน็ตฟลิกซ์กล่าว

สำหรับซีรีส์ที่โด่งดังไปทั่วโลกก็คือ Squid Game ซีรีส์แนวเอาตัวรอดที่ให้ผู้เข้าแข่งขันเล่นเกมเสี่ยงตายเพื่อชิงเงินรางวัล นอกจากนี้ก็มี Extraordinary Attorney Woo ซีรีส์ที่จะตามติดชีวิตทนายอูยองอูที่มีอาการออทิสติก ก็ขึ้นอันดับสูงสุดของชาร์ตแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์

สำหรับคอนเทนต์ในปี 2023 นี้ มีการเปิดเผยว่าจะมีเป็นภาพยนตร์ 6 เรื่อง เริ่มด้วยภาพยนตร์ไซไฟระทึกขวัญ JUNG-E นอกจากนี้ยังรวมถึง Destined With You ที่จะเล่าถึงเรื่องราวความรักระหว่างทนายความสุดฮอตกับข้าราชการ ส่วนซีรีส์ภาคต่อก็มี Sweet Home

ปัจจุบัน เน็ตฟลิกซ์กำลังผลิตออริจินอล คอนเทนต์จากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ และพึ่งพาโอกาสในต่างประเทศมากกว่าในอเมริกา โดยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2022 จำนวนสมาชิกจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเน็ตฟลิกซ์เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านราย ส่งผลให้เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัท

ไม่ใช่แค่เน็ตฟลิกซ์ที่เห็นเทรนด์นี้ แต่ Disney+ ก็พยายามเพิ่มคอนเทนต์จากเกาหลีเพื่อดึงดูดผู้ใช้ด้วยเช่นกัน

]]>
1415773
ส่อง 5 ประเด็นสำคัญ ที่คนไทยพูดถึงปรากฏการณ์ Squid Game บนโลกโซเชียล https://positioningmag.com/1357064 Mon, 18 Oct 2021 15:04:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357064 จากกระแสความดังของซีรีส์เกาหลีเรื่อง Squid Game ที่ฉายผ่านทาง Netflix พร้อมกันทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 ทำให้เกิดกระแสขึ้นมากมายบนโลกโซเชียล บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 17 ตุลาคม 2564 เพื่อวิเคราะห์ในประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ และจากกระแสความนิยมพบว่ามีการพูดถึงซีรีส์เรื่องนี้ในโลกโซเชียลสูงถึง 95,112,359 เอ็นเกจเมนต์ 

โดยบนโลกโซเชียลมีการทำคอนเทนต์วิเคราะห์ และรีวิวซีรีส์ในหลากหลายแง่มุมซึ่งได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงถึง 9,193,176 เอ็นเกจเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นภาพรวมของซีรีส์, การฉีกกรอบเดิมๆ ของซีรีส์เกาหลี, การสร้าง Soft Power ของเกาหลีใต้ผ่านซีรีส์ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลก, เนื้อหาที่มีความรุนแรง, วิธีการดำเนินเนื้อเรื่องของผู้กำกับ, วิเคราะห์เรื่องของงานโปรดักส์ชั่น และอาร์ตไดเรกชั่น, บทความวิเคราะห์เปรียบเทียบกับซีรีส์แนวเอาชีวิตรอดเรื่องอื่นๆ

squid game

รวมถึงยังมีการวิเคราะห์ถึงวิธีการลงทุนสร้างซีรีส์ของแพลตฟอร์ม Netflix ที่ทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในระดับโลก

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ไวซ์ไซท์จึงทำการรวบรวมข้อมูล 5 ประเด็นฮอต โดยเรียงลำดับตามเอ็นเกจเมนต์ ดังนี้

การจำลองฉากเกมส์จากซีรีส์

51,801,373 เอ็นเกจเมนต์

เหล่าเกมเมอร์ชื่อดังสร้างคอนเทนต์เลียนแบบเกมในซีรีส์ ผ่านเกม Minecraft และ Roblox รวมถึงเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ทำคอนเทนต์แข่งขันบนด่านต่างๆ โดยด่านที่ได้รับความนิยมได้แก่ ด่าน A E I O U และด่านแกะน้ำตาล

คอนเทนต์เกาะกระแส

9,288,103 เอ็นเกจเมนต์

squid game

มีการทำคอนเทนต์ออกมาในหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำคอนเทนต์ของแบรนด์รองเท้านันยาง, การแกะน้ำตาลเป็นรูปต่างๆ และการทำคอนเทนต์ในรูปแบบของการสมมติว่าหากเป็นด่านของ Squid Game ในประเทศไทยจะมีรูปแบบอย่างไร เช่น สะกด ‘นะคะ’ ผิด ตาย, แกะยางมัดถุงแกงให้ได้ในเวลาที่กำหนด เป็นต้น 

แฟชั่นเครื่องแต่งกาย

4,709,189 เอ็นเกจเมนต์ 

squid game

มีการพูดถึงแฟชั่นเสื้อวอร์มและรองเท้าผ้าใบสีขาว ซึ่งทำให้ยอดขายรองเท้า Vans เพิ่มขึ้น 7,800% นอกจากนี้ยังมีเหล่าคนดัง, ศิลปิน, ดารา, นักแสดง และอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ ได้ออกมาแต่งตัวตามคาแร็กเตอร์ในซีรีส์ไม่ว่าจะแต่งเป็นผู้เข้าแข่งขัน และตุ๊กตาสังหาร กันอย่างคึกคัก อย่าง กิต จากวง Three Man Down, น้องมายู กำเนิดพลอย, นัท นิสามณี เป็นต้น 

Dalgona ขนมน้ำตาลแผ่นเกาหลี

4,139,459 เอ็นเกจเมนต์

‘ขนมทัลโกนา’ มีการพูดถึงขนมชนิดนี้กันอย่างคึกคักในโลกโซเชียล ทั้งกระแสที่ทำให้ขนมชนิดนี้กลับมาเป็นที่สนใจจนเจ้าของร้านที่ขายขนมชนิดนี้ที่เกาหลียอดขายเพิ่มขึ้นถล่มทลาย นอกจากนี้พบว่ามีการทำคอนเทนต์แจกสูตรพร้อมวิธีทำ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ซึ่งทำให้กระแสการพูดถึงขนมน้ำตาลแผ่นนี้โด่งดังไปทั่วโลกและมีการจัดอีเวนต์ในต่างประเทศรวมถึงที่เกาหลีเองด้วยที่มีทั้งการขายขนมชนิดนี้และให้ลองแกะขนมชนิดนี้

นักแสดง

3,746,717 เอ็นเกจเมนต์

squid game

มีการพูดถึงนักแสดงในซีรีส์ ในแง่มุมที่ว่านักแสดงมีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างจากซีรีส์เกาหลีเรื่องอื่นๆ, ผลงานที่ผ่านมาของนักแสดง รวมถึงการตามหาอินสตาแกรมของเหล่านักแสดงซึ่งทำให้หลายคนมียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

]]>
1357064
Squid Game ฮิตจัดจนคนเรียน “ภาษาเกาหลี” พุ่งทะยานในแอปฯ Duolingo https://positioningmag.com/1356312 Tue, 12 Oct 2021 12:03:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356312 Soft Power วัฒนธรรมเกาหลีเบ่งบานหลังกระแสสุดฮิตของ ‘Squid Game’ ล่าสุดแอปฯ สอนภาษา “Duolingo” มีผู้ใช้จากสหรัฐฯ และอังกฤษเข้าเรียน “ภาษาเกาหลี” พุ่งทะยาน

หลัง Squid Game ซีรีส์เกมเอาตัวรอดเพื่อชิงรางวัลมหาศาลเกิดกระแสฟีเวอร์ทั่วโลก ทำให้วัฒนธรรมเกาหลีได้รับแสงสปอตไลท์จากโลกตะวันตกมากขึ้น ล่าสุดคือเรื่อง “ภาษาเกาหลี” ที่มีผู้สนใจเรียนสูงขึ้น

สำนักข่าว Reuters รายงานกระแสในสถาบันติวเตอร์ พบว่าผู้เรียนสนใจเรียนภาษาเกาหลีสูงขึ้นมาก “ตอกย้ำความคลั่งไคล้ไปทั่วโลกของวัฒนธรรมเกาหลี ตั้งแต่อุตสาหกรรมบันเทิงจนถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง”

แอปพลิเคชัน Duolingo ซึ่งเป็นแอปฯ ฝึกเรียนภาษาต่างๆ พบว่า มีผู้เรียนอเมริกันสนใจเรียนภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้นราว 40% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งการเติบโตค่อนข้างจะราบเรียบ

ขณะที่ผู้เรียนชาวอังกฤษสนใจภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้นถึง 76% และแม้ว่าข้อมูลจะยังไม่เป็นทางการ แต่ Duolingo คาดว่าขณะนี้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาอันดับ 2 ที่มีการเติบโตของผู้เรียนมากที่สุดรองจากภาษาฮินดี ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะแรงบันดาลใจจากซีรีส์ Squid Game

“ภาษาและวัฒนธรรมนั้นสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติ และหลายครั้งที่เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นในวัฒนธรรมป๊อปของโลกก็มักจะมีอิทธิพลต่อเทรนด์การเรียนภาษานั้นๆ ด้วย” แซม ดาลซีเมอร์ โฆษกของ Duolingo กล่าว

คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีนั้นไม่ใช่เรื่องชั่วครู่ชั่วคราวอีกต่อไปแล้ว วัดได้จากกระแสสัปดาห์นี้ พจนานุกรม Oxford English Dictionary เพิ่งจะเพิ่มคำทับศัพท์จากภาษาเกาหลีลงในสารบบถึง 26 คำ เช่น คำว่า “hallyu” (ฮัลลิว) ซึ่งในที่นี้แปลว่า คลื่นวัฒนธรรมเกาหลี และมักจะใช้ในนิยามถึงความสำเร็จของป๊อปคัลเจอร์ของเกาหลีที่นิยมไปทั่วโลก

ซุนฮยอนวู ผู้ก่อตั้ง Talk To Me แพลตฟอร์มอี-เลิร์นนิ่งด้านภาษาเกาหลี บอกกับ Reuters ว่า ตอนนี้เขามีลิสต์ผู้เรียนที่รอต่อคิวอยู่อีกหลายพันคน ผลมาจากกระแส Squid Game ที่ยังฮิตไม่ขาดสาย และเขามองว่าปัจจุบัน “การเรียนภาษาเกาหลีกลายเป็นกิจกรรม ‘คูลๆ’ ไปแล้วเมื่อเทียบกับในอดีต”

Source

]]>
1356312
จับตาสงคราม ‘สตรีมมิ่งจีน’ ของยักษ์ใหญ่ iQIYI กับ WeTV ที่ย้ายสมรภูมิรบมาไทย https://positioningmag.com/1317698 Wed, 03 Feb 2021 13:15:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317698 หากพูดถึงผู้ให้บริการสตรีมมิ่งในไทยเราอาจจะคุ้นกับแพลตฟอร์มยักษ์จากฝั่งตะวันตกอย่าง ‘Netflix’ เสียมากกว่า แม้ว่าช่วง 2-3 ปีหลังจะมีผู้เล่นมากหน้าหลายตาขึ้นก็ตาม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘WeTV’ (วีทีวี) ที่มี Backup เป็น ‘Tencent’ เทคคอมปานียักษ์ใหญ่ของจีนที่ให้บริการในไทยเมื่อปี 2019

และในปี 2020 ที่ผ่านมา ‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ที่ได้ฉายาว่า ‘Netflix เมืองจีน’ ก็เหยียบเท้าเข้ามาในไทยอีกราย โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งคู่มี Position เดียวกันคือ เน้นคอนเทนต์เอเชียน ดังนั้น นี่จึงเป็นศึกที่น่าจับตาอีกศึกในตลาดสตรีมมิ่งไทย

สงครามเดิมแต่ย้ายสมรภูมิ

สำหรับตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งไทยจะมีภาพที่ชัดเจนขึ้นในปี 2020 เพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม แต่จริง ๆ ตลาดสตรีมมิ่งไทยมีมานานมากแล้ว เช่นเดียวกับประเทศจีนที่เกิดสงครามสตรีมมิ่งมาแล้วกว่า 10 ปี โดยผู้เล่น 3 เจ้าใหญ่ ได้แก่ Baidu, Alibaba และ Tencent โดย Baidu ก็คือเจ้าของ ‘iQIYI’ ทาง Tencent ก็มี ‘Tencent Video’ ส่วน Alibaba มี ‘Youku’ ที่เสมือน YouTube เมืองจีน โดยเป็นผู้เล่นรายเดียวที่ยังไม่เข้ามาไทย

ทั้ง 3 บริษัทต่างก็ทำสงครามกันมานาน ต่างคนต่างก็ทุ่มให้กับการทำ ‘ออริจินัลคอนเทนต์’ ของตัวเองเพื่อดึงดูดผู้ชมให้ได้มากที่สุด โดย iQIYI เป็นเบอร์ 1 ในตลาดจีน มีผู้ชมต่อเดือนสูงกว่า 600 ล้านคน มีผู้ใช้งานแบบสมาชิกหรือ VIP ทะลุ 100 ล้านคน

ด้าน Tencent Video ก็ตามมาติด ๆ ด้วยผู้ใช้งานแอคทีฟ 550 ล้านรายต่อเดือน และในที่สุดสงครามดังกล่าวก็ลามมาถึงตลาดไทย โดยเริ่มจาก Tencent ที่เปิดตัว ‘WeTV’ ไปเมื่อปี 2019 ภายใต้บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ซึ่งมีแบรนด์ในเครืออย่างเว็บไซต์ Sanook, JOOX มิวสิกสตรีมมิ่ง, เกม PUBG MOBILE ส่วน iQIYI เพิ่งขยับออกมาลุยตลาดต่างประเทศในปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศไทย

ศึกชิงความแข็งแกร่ง ‘เอเชียนคอนเทนต์’

ด้วยความที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมีจำนวนมากทั้งผู้เล่นระดับโลกอย่าง Netflix, HBO Max, Amazon Prime Video ผู้เล่นโลคอล อาทิ AIS Play, True ID, Mono Max, Doonee เป็นต้น ซึ่งแต่ละเจ้าก็พยายามลงทุนทำซีรีส์ด้วยทุนสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน

ส่วนรายเล็กที่ไม่มีเงินทุนก็ต้องมีคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่นเดียวกันกับ WeTV และ iQIYI ที่บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าคงจะไม่ไปแข่งที่คอนเทนต์ฝั่งตะวันตกที่ไม่ถนัด แต่จะขอโฟกัสไปที่คอนเทนต์เอเชียเป็นหลัก เพื่อขอชิง ‘เวลา’ ของผู้บริโภคให้มาอยู่ที่แพลตฟอร์มของตัวเองบ้าง ดังนั้น ทั้งคู่จึงเป็นคู่แข่งหลักของกันและกันไปโดยปริยาย

โดยเมื่อเทียบกันแล้ว คอนเทนต์หลักของทั้ง WeTV และ iQIYI กว่า 50% จะเป็นคอนเทนต์ ‘จีน’ เหมือนกัน ส่วนอีก 50% ก็จะเป็นซีรีส์เกาหลี, การ์ตูนญี่ปุ่น จุดที่จะชิงชัยคงจะเป็น ‘คอนเทนต์แม่เหล็ก’ ของตัวเอง อย่างฝั่งของ WeTV ก็มี ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่โด่งดังเป็นพลุแตกในไทย ส่วน iQIYI ก็มีออริจินัลวาไรตี้ขวัญใจวัยรุ่นทั่วโลกอย่าง Youth With You 3 ซีซั่นล่าสุดที่ได้ ลิซ่า BLACKPINK มารับหน้าที่เมนเทอร์ประจำรายการอีกครั้ง

ผู้ผลิตไทยได้ประโยชน์เต็ม

เพราะทั้งคู่ต่างต้องการเป็นเจ้าแห่งคอนเทนต์เอเชียน ดังนั้น การพยายามดึงคอนเทนต์จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมาไว้บนแพลตฟอร์มจึงเป็นอีกสงครามนอกจากแค่แย่งลูกค้า ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์ของไทย โดยที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นความร่วมมือในการดึงลิขสิทธิ์ซีรีส์หรือภาพยนตร์ต่าง ๆ มาลงในแต่ละแพลตฟอร์ม รวมถึงประกาศความร่วมมือกันผลิต ‘ออริจินัลคอนเทนต์’

อย่างที่ผ่านมา WeTV ก็จับกระแสซีรีส์วาย เดินหน้าสร้าง ‘ออริจินัล คอนเทนต์วาย’ ด้วยการจับมือกับพันธมิตรผู้ผลิตคอนเทนต์ในประเทศไทย สร้างสรรค์คอนเทนต์ภายใต้โปรเจกต์ “ปฏิบัติการณ์หัวใจ ‘วาย’” และนอกจากซีรีส์วายยังมีออริจินัลซีรีส์ ประเภทอื่น ๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ส่วน iQIYI ก็จะเน้นไปที่ ‘ซิทคอม’ โดยดึงเอา ‘เป็นต่อ’ ‘เสือ ชะนี เก้ง’ และ ‘3 หนุ่ม 3 มุม x2’ มาลงในแพลตฟอร์ม พร้อมทั้งเตรียมจะปั้นออริจินัลซีรีส์ไทยในอนาคตด้วย และด้วยความที่แต่ละแพลตฟอร์มนั้นให้บริการในหลายประเทศ นี่ก็ถือเป็นอีกช่องทางการพาคอนเทนต์ไทย Go Inter ในตลาดโลกได้ด้วย

สงครามที่ไม่มีผู้ชนะขาด

ทั้ง 2 แพลตฟอร์มต่างงัดไม้เด็ดกันมาโกยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่คอนเทนต์ แต่โมเดลของทั้งคู่ยังเป็นแบบ ‘ฟรีเมียม’ โดยให้ดูฟรีได้ (แต่มีโฆษณา และอาจจะดูช้าหน่อย) โดยค่าบริการ VIP ของ WeTV อยู่ที่ 119 บาทต่อเดือน ราคาเดียวกันกับ iQIYI เลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครยอมใครจริง ๆ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แพลตฟอร์มระบุว่าไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องมีผู้ใช้ VIP มากน้อยแค่ไหน (เพราะสามารถหารายได้จากโฆษณาได้อยู่ดี)

ดังนั้น เมื่อผู้เล่น 2 รายใหญ่พยายามจะขับเคี่ยวกันในตลาด ทั้ง 2 ต่างมีงบลงทุนมหาศาลการจะหาผู้ชนะขาดในตลาดนี้อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะต่างคนต่างก็มีคอนเทนต์เรือธงที่ต่างกัน แถมผู้บริโภคก็สามารถเลือกที่จะดูทั้ง 2 แพลตฟอร์มได้เพราะดูฟรี

ดังนั้น ปัญหาน่าจะเกิดกับผู้เล่นหน้าใหม่หรือผู้เล่นหน้าเก่าที่จะเข้ามาในตลาด โดยเน้นที่เอเชียนคอนเทนต์มากกว่าอาจเผชิญกับความยากลำบากที่จะสอดแทรกสู้ในสงครามนี้

]]>
1317698
จะได้นอนตอนไหน ‘Netflix’ ประกาศอัดฉีด 700 ล้านดอลลาร์ปักหลักผลิตซีรีส์ ‘เกาหลี’ https://positioningmag.com/1313877 Tue, 12 Jan 2021 11:21:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313877 จากความนิยมล่าสุดของคอนเทนต์ของเกาหลีในปัจจุบันทำให้ ‘Netflix’ เจ้าตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งของโลกในขณะนี้ได้มีแผนที่จะลงทุนด้านการผลิตคอนเทนต์ของเกาหลีเป็นมูลค่า 7.7 แสนล้านวอน หรือกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

Netflix ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อของเกาหลีใต้ด้วยจำนวนสมาชิกปัจจุบัน 3.62 ล้านคน และเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างออริจินัลคอนเทนต์ของตัวเองมาเรื่อย ๆ เนื่องจากความนิยอมของคอนเทนต์เกาหลีที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก ที่ผ่านมา Netflix ได้ทุ่มทุนประมาณ 6 หมื่นล้านวอนหรือประมาณ 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการดึงภาพยนตร์และรายการต่าง ๆ กว่า 70 เรื่องกับบริษัทผู้ผลิตในเกาหลีใต้เพื่อสตรีมไปยัง 190 ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็มีซีรีส์และภาพยนตร์หลายเรื่องที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่อง Okja ของ Bong Joon Ho และซีรีส์อย่าง Sweet Home, Kingdom, Crash Landing on You, Itaewon Class และ Start-Up

และในเดือนกันยายน 2020 Netflix ได้ก่อตั้ง ‘Netflix Entertainment Korea’ เพื่อผลิตออริจินัลคอนเทนต์เกาหลีของตัวเอง พร้อมกับเพิ่มการลงทุนในคอนเทนต์เกาหลีกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย Netflix มีแผนที่จะเช่า 2 สตูดิโอในเกาหลีใต้เพื่อใช้ผลิตออริจินัลคอนเทนต์ โดย ได้แก่ YCDSMC – Studio 139 และ Samsung Studio เป็นพื้นที่รวมกว่า 16,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีที่ได้เซ็นสัญญาผลิตระยะยาวร่วมกับ Netflix คือ CJ ENM, Studio Dragon และสถานีโทรทัศน์ JTBC อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การเน้นผลิต K-content ของ Netflix ได้สร้างวิกฤตให้กับแพลตฟอร์มท้องถิ่นแบบดั้งเดิม เช่น โรงภาพยนตร์และผู้แพร่ภาพกระจายเสียงภาคพื้นดิน เนื่องจากโดยมีการผลิตคอนเทนต์ 80-100 ตอนทุกสัปดาห์

Source

]]>
1313877