โดยจากการสำรวจของ Tokyo Shoko Research บริษัทวิจัยสินเชื่อ เปิดเผยว่า ในปี 2024 มีจำนวนบริษัทที่ล้มละลายในญี่ปุ่นพุ่งถึง 10,006 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ถึง +15.1% ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบ 11 ปี โดยจำนวน 10,004 บริษัท ที่ล้มละลายเป็น บริษัทขนาดกลาง-เล็ก มีหนี้สินรวมอยู่ที่ 2.34 ล้านล้านเยน ถือว่าลดลง 2.4% จากปี 2023
ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้บริษัทล้มละลายสูงเป็นสถิติเป็นเพราะ ค่าเงินเยนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 37 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ต้นทุนการนำเข้าของธุรกิจสูงขึ้น ปัญหา ขาดแคลนแรงงาน ที่หนักขึ้นจากประชากรสูงอายุในญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการนำกฎระเบียบการ ทำงานล่วงเวลา ที่เข้มงวดยิ่งขึ้นมาใช้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างและบริการต้องเผชิญกับความตึงเครียดมากขึ้น
นอกจากนี้ มาตรการเลื่อนภาษีพิเศษ ที่นำมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ได้ยุติลงในปี 2024 ทำให้ภาระทางการเงินของบริษัทเล็ก ๆ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
เมื่อแบ่งตามอุตสาหกรรมพบว่า ภาคบริการ รวมถึงร้านอาหาร มีจำนวนการล้มละลายสูงสุดที่ 3,329 ราย เพิ่มขึ้น 13.2% สูงเกิน 3,000 คดีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ตามมาด้วย ภาคก่อสร้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการปฏิรูปเวลาการทำงาน โดยมีการล้มละลาย 1,924 คดี เพิ่มขึ้น 13.6%
นอกจากนี้ การล้มละลายซึ่งมีสาเหตุจากการ ขาดแคลนแรงงาน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับสูงสุดที่ 289 คดี ในขณะที่การล้มละลายที่เกิดจาก ไม่สามารถหาผู้มาดำเนินกิจการต่อได้ นั้นมีทั้งหมด 462 คดี ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุด เช่นกันส่วนจำนวนการล้มละลายเนื่องจาก ภาระทางการเงินที่เกิดจากค่าประกันสังคมและภาษี เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็น 176 คดี จาก 92 คดี
]]>โดยตัวเลขจํานวนการเกิดในครึ่งปีแรกยังไม่รวมจํานวนการเกิดของเด็กจากพ่อหรือแม่ที่เป็นชาวต่างชาติ สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการเกิดที่ยังคงลดต่ำอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้คนจํานวนมากเลือกที่จะไม่แต่งงานหรือเลื่อนการแต่งงานและมีลูก จนกว่าจะรู้สึกถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
นอกจากอัตราการเกิดที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องแล้ว ญี่ปุ่นยังมีจํานวนผู้เสียชีวิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้น 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็น 800,274 ราย หักลบจากจํานวนการเกิดของประชากรอยู่ที่ 470,276
ด้วยจํานวนประชากรที่ลดลงเป็นปีที่ 15 ติดต่อกันในปี 2023 ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานที่คุกคามความยั่งยืนของระบบประกันสังคม เช่น การดูแลสุขภาพและเงินบํานาญ รวมถึงการบริการของหน่วยงานท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบไปด้วย
ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามในการเพิ่มอัตราการเกิด ด้วยการขยายเบี้ยเลี้ยงเด็กและการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร รวมถึงมาตรการอื่นๆ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าภายในต้นทศวรรษ 2030 อาจเป็นโอกาสสุดท้ายของญี่ปุ่นที่จะแก้วิกฤตประชากรในประเทศ
โดยจํานวนการเกิดที่เทียบเคียงได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คือ 352,240 คน โดยมียอดรวมทั้งปีอยู่ที่ 727,277 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่โดยกระทรวงฯ ในเดือนสิงหาคมแสดงให้เห็นว่า จํานวนเด็กที่เกิดในญี่ปุ่น รวมถึงชาวต่างชาติและพลเมืองญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ลดลง 5.7% จากปีก่อนเป็น 350,074 ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน
ที่มา : KYODO NEWS
]]>โดยราคาขายของข้าวญี่ปุ่นแบบไม่ขัดสีที่เก็บเกี่ยวที่พุ่งสูงในปีนี้ ส่งผลต่อราคาขายปลีกที่เพิ่มขึ้น 57 % จากปีก่อนเป็น 23,820 เยนต่อ 60 กิโลกรัม หรือราว 5,339 บาทต่อ 60 กิโลกรัม นับเป็นราคาข้าวที่พุ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง เริ่มมีการสํารวจและเก็บข้อมูลในปี 2549
อีกทั้งความต้องการอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางการท่องเที่ยวขาเข้าที่เติบโตขึ้น เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวในประเทศญี่ปุ่นยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สินค้าคงคลังของภาคเอกชนปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในช่วงฤดูร้อนนี้
จากสถานการณ์ราคาข้าวญี่ปุ่นที่พุ่งสูงขึ้น ได้เพิ่มแรงกดดันต่อภาคครัวเรือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพลังงาน อาหาร และค่าครองชีพอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ที่มา : Japan Today
]]>
เนื่องจากทางนครโอซาก้า กำลังเตรียมการสำหรับงาน Osaka-Kansai World Expo ที่กำลังจะมาถึงในปี 2025 ที่กําหนดไว้ในเดือนเมษายน ดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายขยายการห้ามสูบบุหรี่ริมถนนให้ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง และกำลังดำเนินการสร้างพื้นที่สูบบุหรี่มากกว่า 140 แห่งทั่วเมืองโอซาก้า เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ง่ายขึ้น
ก่อนหน้านั้นในปี 2007 ทางนครโอซาก้ามีการออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ตามท้องถนน โดยครอบคลุม 6 พื้นที่รวมถึงบริเวณใกล้เคียงของสถานี JR Osaka สถานที่ท่องเที่ยว Ebisubashi-suji และ Shinsaibashi-suji ที่มีคนพลุกพล่านให้เป็นพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ โดยมีกําหนดค่าปรับ 1,000 เยน หรือประมาณ 230 บาท สําหรับผู้ที่ทำการละเมิดกฏหมายดังกล่าว ต่อมาในเดือนมีนาคม 2024 สมัชชาเทศบาลนครโอซาก้าได้ผ่านพระราชกฤษฎีกาฉบับแก้ไข เพื่อขยายพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ จาก 6 พื้นที่ให้ครบคลุมไปทั่วเมืองโอซาก้า
ทั้งนี้ นายกเทศมนตรรีนครโอซาก้ายังกล่าวว่า เมื่อถึงเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ อย่างเป็นทางการ ทางนครโอซาก้าวางแผนจะสร้างสถานีใหม่เพิ่มเติมและปรับปรุงสถานีที่มีอยู่ โดยจํานวนสถานีสูบบุหรี่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 300 แห่งเมื่อถึงเวลาเปิดงาน Expo
ที่มา : THE MAINICHI NEWSPAPERS
]]>
รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ของประเทศ โดยเตรียมทุ่มงบสนับสนุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยน (ราว 2.25 ล้านล้านบาท) หรือมากกว่า ภายในปีงบประมาณ 2030 เพื่อใช้เป็นตัวเร่งให้เกิดการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 50 ล้านล้านเยน (ราว 11.27 ล้านล้านบาท) ตลอด 10 ปีข้างหน้า ซึ่งมาตรการทั้งหมดคาดว่า จะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม 160 ล้านล้านเยน (ราว 36.12 ล้านล้านบาท)
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไต้หวัน และหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์รุ่นต่อไป
“เราจะกําหนดกรอบความช่วยเหลือใหม่เพื่อดึงดูดการลงทุนภาครัฐและเอกชนมากกว่า 50 ล้านล้านเยนในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามการฟื้นฟูอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์” Shigeru Ishiba นายกรัฐมนตรี กล่าว
หนึ่งในบริษัทที่จะได้รับผลประโยชน์จากเงินทุนนี้ ก็คือ Rapidus ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2022 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทชิป 8 บริษัท และบริษัทชิปเจ้าอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Toyota Motor และ Sony Group และกําลังร่วมมือกับ IBM ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา Rapidus บริษัทได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ แล้ว เนื่องจากตั้งเป้าที่จะผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตร ภายในปี 2027 ซึ่งชิปดังกล่าวจะนำไปใช้ในการพัฒนา AI
ทั้งนี้ ในปี 1988 ญี่ปุ่นเคยเป็นเป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งในตลาดชิปถึง 50% แต่หลังจากปี 1990 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นต้องประสบกับปัญหาจากนโยบาย ข้อตกลงด้านเซมิคอนดักเตอร์ระหว่างญี่ปุ่น-อเมริกา ส่งผลให้ต้องปรับราคาสินค้าและต้องเปิดตลาดให้บริษัทจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน จนในปี 2017 สัดส่วนของญี่ปุ่นในตลาดชิปลดเหลือไม่ถึง 10%
ขณะเดียวกัน ประเทศอย่าง ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ ก็หันมาลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตัวเอง โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ผลักดัน จนปัจจุบัน บริษัท TSMC ของไต้หวันกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปอันดับ 1 ของโลก ส่วนฝั่งเกาหลีใต้ก็มี ซัมซุง (Samsung) ซึ่งทั้ง 2 บริษัทวางแผนที่จะเริ่มผลิตชิป 2 นาโนเมตรในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2025
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า เงินอุดหนุนเป็นสิ่งจําเป็น แต่ไม่สามารถรับประกันความสําเร็จได้ เพราะสถาปัตยกรรมของชิป 2 นาโนเมตรแตกต่างจากชิป 3 นาโนเมตร โดยเฉพาะการผลิตจํานวนมาก ถือเป็นความท้าทายสําหรับผู้เล่นทุกคน
]]>หากใครเป็นสายกินอาจจะรู้ว่า “วาโชกุ” คืออาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ที่มีการใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลอย่างชำนาญ และได้รับการยอมรับจาก UNESCO ในปี 2013 ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอีกด้วย
อานิสงส์เทรนด์อาหารแบบวาโชกุได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ “ซีอิ๋ว” หรือ “โชยุ” (Shoyu) (ซอสถั่วเหลือง) ของญี่ปุ่นมีอัตราการส่งออกที่เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยข้อมูลของศุลกากรโตเกียว รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม มีตัวเลขการส่งออกโชยุเกิน 6.85 พันล้านเยน เนื่องจากความนิยมของวาโชกุยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระแสการจดทะเบียนฯยูเนสโก
นอกจากนั้นข้อมูลศุลกากรโตเกียวยังเผยว่า ในปี 2023 การส่งออกโชยุเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านเยน นับเป็นครั้งแรกที่มีการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์เทียบเท่ากับในปี 1988 ซึ่งสมาคมโชยุญี่ปุ่นได้ระบุเพิ่มเติมว่า จํานวนร้านอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกโชยุเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดส่งออกโชยุอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น โดยมูลค่าส่งออกในปี 2023 คิดเป็น 17.9% ของการส่งออกโชยุทั้งหมด ตามด้วยส่งออกไปจีน 8.2% และเกาหลีใต้ 7.0%
ผู้ผลิตโชยุรายใหญ่ของญี่ปุ่น อย่าง Kikkoman Corp. กล่าวว่า โชยุส่วนใหญ่ทํามาจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และเกลือ และใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมในสมัยเอโดะ (1603-1867) ที่มีความซับซ้อน ทำให้โชยุมีหลากหลายประเภทขึ้น โดยหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ โชยุอุสุคุจิ โชยุชนิดอ่อน , โชยุทามาริ (เข้มข้นกว่าโคอิคุจิ) ,โชยุชิโระ (ชนิดอ่อน มีรสหวานที่สุด) , โชยุไซชิโคมิ ที่เป็นการหมักซ้ำกันสองครั้ง และ โชยุโคอิคุจิ ที่มีความเข้มข้น เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด โดยคิดเป็น 84.9% ของการส่งออกโชยุทั้งหมดในปี 2022 และ 2023
ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกโชยุของญี่ปุ่นมีมากถึง 26,542 กิโลลิตรใน 7 เดือนแรกของปี 2024 แซงหน้าอัตราการส่งออกสูงสุดในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2022 และปริมาณการส่งออกในปี 2023 อยู่ที่ 41,114 กิโลลิตร
ที่มา : Japan Today
]]>
โดยประเทศญี่ปุ่นมีการใช้รถบรรทุกในการขนส่งกว่า 90% และประมาณ 60% เป็นการขนส่งผลิตผลของสด เช่น ผักและผลไม้ มาจากสถานที่ห่างไกลที่ต้องใช้รถบรรทุก ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่า ความสามารถในการขนส่งโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลง 34% ภายในปี 2030 และความสามารถในการขนส่งภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 4.3 พันล้านเมตริกตัน
แผนโครงการสร้างระบบขนส่งอัตโนมัตินี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้กําหนดจํานวนเงินทุน แต่โครงการนี้ถูกมองว่าเป็นวิธีสําคัญวิธีหนึ่งในการช่วยให้ประเทศรับมือกับปริมาณการขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการในการจัดส่งจากการช้อปปิ้งออนไลน์พุ่งสูงขึ้นในช่วงโควิด ตามข้อมูลของรัฐบาล ระบุว่า มีผู้ใช้งานการจัดส่งออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ของครัวเรือนญี่ปุ่น แม้ว่าประชากรโดยรวมจะลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากอัตราการเกิดลดลงก็ตาม
อีกทั้งงานขับรถบรรทุกส่งของในญี่ปุ่นเป็นมีงานที่ลําบาก เพราะในการส่งของแต่ละครั้ง คนขับจะต้องอยู่บนถนนเป็นเวลาหลายวัน และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการเสียชีวิตประจําปีจากการขับขี่รถบรรทุกในการส่งของ ที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต มีประมาณ 1,000 ราย ซึ่งดีขึ้นจากในปี 2010 ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 2,000 ราย ทำให้คนหางานไม่ค่อยอยากทำงานขับรถบรรทุกส่งของกันเท่าใดนัก
Yuri Endo รองผู้อํานวยการอาวุโสที่ดูแลความพยายามที่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว กล่าวว่า ญี่ปุ่นจําเป็นต้องมีนวัตกรรมเหล่านี้มาช่วยแก้ปัญหากําลังแรงงานที่ขาดแคลน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งจะใช้ระบบการขนส่งอัตโนมัติและไร้คนขับตลอด 24 ชั่วโมง และช่วยลดภาระงานที่ไม่จำเป็นออกไป นอกจากนั้นระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัตินี้ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย
รัฐบาลได้เผย VDO กราฟิกที่แสดงให้เห็นกล่องที่มีล้อเคลื่อนขนาดใหญ่เคลื่อนที่ไปตามถนนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นทาง 3 เลนกลางทางหลวงขนาดใหญ่ของประเทศ รัฐบาลยังระบุอีกว่า ระบบทดลองดังกล่าว จะเริ่มมีการทดสอบในปี 2027 หรือต้นปี 2028 โดยตั้งเป้าดําเนินการเต็มรูปแบบภายในปี 2030
เบื้องต้น ระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัตินี้มีไว้สําหรับการจัดส่งทางธุรกิจระหว่างโตเกียวและโอซาก้า และอาจขยายไปยังเส้นทางอื่นๆ หากการทดสอบทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี แต่ก็ยังต้องอาศัยแรงงานมนุษย์ในขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นการจัดส่งสินค้าตามบ้านอยู่
ที่มา : Japan Today
]]>
แม้จะทำให้จํานวนอุบัติเหตุจราจรทั้งหมดทั่วประเทศญี่ปุ่นจะมีจำนวนลดลง แต่อุบัติเหตุจักรยานกลับมีการบันทึกสถิติเพิ่มมากขึ้น โดยในระหว่างปี 2018 ถึง 2022 มีจำนวนอุบัติเหตุเกิดขึ้น 454 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่จักรยาน ซึ่งเพิ่มขึ้น 50% จากช่วง 5 ปีก่อนหน้า
ในปี 2023 เกิดอุบัติเหตุจักรยานมากกว่า 72,000 ครั้ง คิดเป็น 20% ของอุบัติเหตุจราจรทั้งหมดในประเทศ และในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 มีผู้เสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บสาหัส 17 ราย จากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่จักรยานที่ใช้โทรศัพท์ระหว่างขณะขับขี่ ซึ่งเป็นจํานวนสูงสุดนับตั้งแต่ตํารวจเริ่มบันทึกสถิติดังกล่าวในปี 2007
ตัวเลขอุบัติเหตุดังกล่าว ทำให้รัฐบาล ได้พิจารณาออกกฎหมายใหม่ที่เข้มงวดขึ้นในการควบคุมผู้ขับขี่และลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงเป็นการปราบปรามการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนอาจถูกโทษจําคุกสูงสุด 6 เดือนหรือปรับ 100,000 เยน (ประมาณ 22,109 บาท) และสามารถถูกปรับสูงถึง 300,000 เยน (ประมาณ 66,327 บาท) หรือจําคุกสูงสุด 1 ปี
กฎใหม่นี้ยังมุ่งเป้าไปที่ผู้ขับขี่จักรยานที่มีอาการมึนเมาจากฤทธิ์แอลกอฮอล์ โดยมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับ 500,000 เยน (ประมาณ 110,545 บาท) นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนอื่นๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่โอซาก้าได้มีการบันทึกการรายงานว่า มีการละเมิดกฎหมายใหม่เป็นจำนวน 5 ครั้งแล้วหลังจากที่มีผลบังคับใช้ และมีชาย 2 คนที่ถูกจับได้ว่าขี่จักรยานขณะมีอาการมึนเมา รวมถึงมีชายคนหนึ่งชนกับผู้ขับขี่จักรยานอีกคน แต่ไม่มีรายงานการบาดเจ็บแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การปั่นจักรยานบนทางเท้าถือเป็นเรื่องปกติและถูกกฎหมายในญี่ปุ่น โดยในเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว รัฐสภาญี่ปุ่นมีการผ่านร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ตํารวจสั่งปรับ ผู้ขับขี่จักรยานในข้อหาละเมิดกฎจราจรหรือไม่สวมใส่หมวกนิรภัยขณะขับขี่แล้ว
ที่มา : BBC
]]>
รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้ขยายระบบใบอนุญาตการจ้างงานสําหรับแรงงานต่างชาติที่มีทักษะต่ำด้วย ซึ่งวงเงินรายปีเพิ่มขึ้นจาก 50,000 วอนในปี 2021 เป็น 165,000 วอนในปี 2024 โปรแกรมนี้รวมถึงคนงานในร้านอาหาร การบริการ และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา นอกจากนั้นรัฐบาลฯวางแผนรับสมัครแรงงานป่าไม้เพิ่ม เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ชนบทและภูเขา โดยตั้งเป้าที่จะรับคนงานป่าไม้มากถึง 1,000 คนต่อปี
นอกจากนั้นในอุตสาหกรรมการต่อเรือของเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน โดยมีการประมาณการตัวเลขออกมาว่า ในปี 2023 อู่ต่อเรือมีการขาดดุลคนงาน 14,000 คน เนื่องจากหลายคนย้ายไปที่ภาคเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ ทำให้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกาหลีใต้ได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่สําหรับอุตสาหกรรมการต่อเรือที่อินโดนีเซีย โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ได้รับการสอนเกี่ยวกับทักษะการเชื่อม ความปลอดภัย ภาษาเกาหลี และการผ่อนคลายข้อจํากัดด้านวีซ่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้แรงงานฯพร้อมสําหรับการทํางานให้กับผู้สร้างเรือของเกาหลีใต้ทันทีเมื่อมาถึง
นายกรัฐมนตรี Han Duck-soo กล่าวว่า รัฐบาลฯคาดการณ์ว่า เกาหลีใต้จะมีประชากรเป็นชาวต่างชาติซึ่งคิดเป็น 5.7% ของประชากรในประเทศภายในปี 2042 และเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างโอกาสในการทํางานสําหรับพลเมืองเกาหลี กับการจ้างแรงงานต่างชาติที่ยังต้องคิดอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้มีรายงานว่า ประชากรของเกาหลีใต้จะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามปี โดยสูงถึง 51.77 ล้านคนในปี 2023 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติ 10.4% รวมเป็น 1.93 ล้านคน ทำให้การไหลเข้าของแรงงานต่างชาติได้สร้างความท้าทายบางอย่าง อาทิ นอกจากนี้ อัตราการว่างงานของประเทศยังคงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนงานที่อายุน้อยกว่า สถานการณ์นี้ยังคงมีอยู่แม้จะขาดแคลนแรงงานในบางภาคส่วนก็ตาม
ที่มา : The Rio Times
]]>อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากขนาดนี้ แปลว่าการใช้ทรัพยากรในประเทศก็สูงตามไปด้วย โดยเฉพาะการบริโภค ข้าวญี่ปุ่น ซึ่งตอนนี้ญี่ปุ่นกําลังเผชิญกับการ ขาดแคลนครั้งใหญ่ที่สุดในช่วง 20 ปี เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายทำให้ผลผลิตลดลง สวนทางกับความต้องการที่มาจากทั้งคนในประเทศและนักท่องเที่ยว
ตามข้อมูลจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมง รายงานว่า ข้าวในคลังของบริษัทเอกชนในเดือนมิถุนายนมีปริมาณอยู่ที่ 1.56 ล้านตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ราคาของข้าวในช่วงสิงหาคมที่ผ่านมาได้แตะ 16,133 เยนต่อ 60 กก. เพิ่มขึ้น +3% จากเดือนก่อนหน้าและสูงขึ้น +5% ตั้งแต่ต้นปี
“ตลอดฤดูร้อนปี 2024 ญี่ปุ่นกําลังต่อสู้กับการขาดแคลนข้าว ส่งผลให้ข้าวในซูเปอร์มาร์เก็ตขายหมดเกลี้ยง เนื่องจากความต้องการแซงหน้าการผลิตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และปีนี้ถือว่าต่ำสุดในรอบกว่า 20 ปี”
Oscar Tjakra นักวิเคราะห์อาวุโสของธนาคารอาหารและการเกษตรระดับโลก Rabobank คาดการณ์ว่า การบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 19,000 ตันระหว่างเดือนกรกฎาคม 2022 ถึงมิถุนายน 2023 เป็น 51,000 ตัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 ถึงมิถุนายน 2024 หรือ เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า แต่ก็ถือว่าน้อยกว่าการบริโภคของชาวญี่ปุ่นเอง ที่มีการบริโภคกว่า 7 ล้านต้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่การมาของนักท่องเที่ยว แต่ประชาชนชาวญี่ปุ่นเองก็ต้อง กักตุนข้าว เพิ่มเพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูไต้ฝุ่นของญี่ปุ่นและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยปัจจุบันซูเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่นต้อง จํากัดการซื้อ เพียงหนึ่งถุงต่อคนเท่านั้น
อีกปัญหาที่อาจจะส่งผลต่อการผลิตข้าวในระยะยาวก็คือ จำนวน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรเริ่มเกษียณอายุ ขณะที่คนหนุ่มสาวหันมาทำการเกษตรน้อยลง นอกจากนี้ ภัยแล้งยังส่งผลต่อผลผลิตอีกด้วย ปัจจุบันญี่ ปุ่นกําหนดภาษี 778% สําหรับข้าวนําเข้าเพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และมีเพดานว่าจะ นําเข้าข้าว 682,000 ตันต่อปี เท่านั้น
และจากราคาข้าวที่สูงขึ้นทําให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากต้นทุนพลังงานและอาหารที่สูงขึ้น
]]>