ดูแลสิ่งแวดล้อม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 May 2023 03:34:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิจัย CMMU จับอินไซต์ความสนใจ “สุขภาพ-สิ่งแวดล้อม” ของผู้บริโภค สร้างกลยุทธ์การตลาด https://positioningmag.com/1429534 Thu, 04 May 2023 10:51:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429534 วิจัย ป.โท CMMU ในหัวข้อ What If Marketing การตลาดสามมิติสู่การเปลี่ยนแปลง” เสนออินไซต์ผู้บริโภคที่ใส่ใจ “สุขภาพกาย” “สุขภาพจิต” และ “ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม” มากขึ้น เป็นจุดสำคัญให้แบรนด์สร้างกลยุทธ์ เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปพร้อมกับการสร้างสรรค์การตลาด

นักศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) รุ่น 24B จัดทำงานวิจัย “What If Marketing การตลาดสามมิติสู่การเปลี่ยนแปลง” โดยมีการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก 130 ตัวอย่าง ครอบคลุมทุกช่วงวัยตั้งแต่เบบี้บูมเมอร์จนถึง Gen Z จัดสำรวจระหว่างวันที่ 13-21 มีนาคม 2566

หัวข้อที่สำรวจจะเกี่ยวข้องกับอินไซต์พฤติกรรมผู้บริโภคใน 3 ด้านคือ อาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Better Food for Better Health), เรื่อง (ไม่) ลับกับสุขภาพใจ (Better Mind for Better Life) และ ศาสตร์แห่งความยั่งยืน (Better World for Better Future) ซึ่งแต่ละหัวข้อ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

คนไทยไม่ซื้ออาหารสุขภาพเพราะ “แพง”

กลุ่มผู้วิจัยพบว่าคนไทยมีปัญหา “โรคอ้วน” สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน และต้นเหตุของโรคอ้วนนั้นมาจากอาหารที่เลือกรับประทาน ทำให้มีคำถามเพื่อทำความเข้าใจการทานอาหารสุขภาพ ดังนี้

  • อาหารประเภทที่คนไทยคิดว่าดีต่อสุขภาพ คือ 1.อาหารออร์แกนิกส์ 2.อาหารโลว์คาร์บ 3.อาหารที่มีพรีไบโอติก/โพรไบโอติก 4.อาหารที่ทำจาก plant based 5.อาหารวีแกน/คีโต
  • ส่วนประกอบอาหารที่คนไทยคิดว่าดีกับสุขภาพ คือ 1.ปลอดสารพิษ 2.โซเดียมต่ำ 3.ไขมันต่ำ 4.ไม่มีสารกันเสีย 5.ไม่มีผงชูรส 6.ไม่มีน้ำตาล

สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความรู้ด้านอาหารสุขภาพ ทราบว่าควรมีลักษณะอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้คนไทยเลือกทานอาหารสุขภาพ หรือเหตุที่ไม่เลือกเพราะอะไร

  • แรงจูงใจที่ทำให้คนไทยเลือกทานอาหารสุขภาพ คือ 1.รักษาสุขภาพระยะยาว 2.เสริมภาพลักษณ์ภายนอก 3.ป้องกันโรค
  • อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามเจนเนอเรชันแล้ว เฉพาะ Gen Z จะยกให้เหตุผลเรื่อง “เสริมภาพลักษณ์ภายนอก” เป็นแรงจูงใจอันดับ 1
  • อุปสรรคทำให้คนไทยไม่ทานอาหารสุขภาพ คือ 1.ราคาสูงกว่าปกติ 2.หาซื้อยาก 3.รสชาติไม่อร่อย

 

คนไทย 36% รู้สึก “เครียดมาก”

ประเด็นต่อจากสุขภาพกายคือเรื่อง “สุขภาพจิต” ที่น่าสนใจ โดยผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตเมื่อปี 2565 พบว่าคนไทยประมาณ 4-5% มีความเครียดสูง เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า หรืออยู่ในภาวะหมดไฟ ซึ่งทำให้งานวิจัยนี้สำรวจความเครียดและการดูแลใจของกลุ่มตัวอย่าง พบข้อมูล ดังนี้

  • 42% ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกเครียดบ้าง และมีถึง 36% ที่ตอบว่าเครียดมากถึงมากที่สุด
  • กลุ่มตัวอย่างเครียดเรื่องอะไร? อันดับ 1 ภาระหน้าที่รับผิดชอบ อันดับ 2 การเงิน อันดับ 3 สุขภาพ-โรคภัยไข้เจ็บ อันดับ 4 ความรัก-ความสัมพันธ์ อันดับ 5 ปัญหาบ้านเมือง และอันดับ 6 โซเชียลมีเดีย
  • กลุ่มที่เครียดสูงที่สุดคือ Gen Y ซึ่งผู้วิจัยพบว่า เป็นเพราะเจนเนอเรชันนี้ต้องการบาลานซ์ทั้งความสำเร็จในชีวิตและยังหาความสุขให้กับตนเองได้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่กดดันตนเอง
  • แต่ไม่ใช่ว่าเจนเนอเรชันอื่นไม่เครียด แต่จะเครียดในเรื่องที่ต่างกันไป เช่น เบบี้บูมเมอร์ มักจะเครียดเรื่อง “ปัญหาสุขภาพ” มากที่สุด

เมื่อมีความเครียดค่อนข้างสูง แต่ทำไมคนไทยจึงไม่ค่อยเข้ารับบริการทางสุขภาพจิต

  • อุปสรรคขัดขวางการเข้ารับบริการสุขภาพจิต คือ 1.ค่าใช้จ่ายสูง 2.เข้าถึงไม่สะดวก 3.ไม่ทราบข้อมูล
  • ค่าใช้จ่ายที่จะยอมจ่ายเพื่อรับบริการสุขภาพจิต 56% บอกว่าต้องการให้ไม่เกิน 500 บาท มีเพียง 27% ที่จะยอมจ่ายมากกว่าครั้งละ 500 บาท และที่เหลือ 17% ต้องการให้เป็นบริการฟรี

 

“เบบี้บูมเมอร์” คือวัยที่รักษ์โลกมากที่สุด

กระแสอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังมาในหมู่ผู้บริโภค คือความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยสภาวะรอบตัวผู้บริโภคเองสัมผัสได้ถึงภัยใกล้ตัวมากขึ้น เช่น ฝุ่น PM2.5 ขยะล้นเมือง เป็นต้น ไปดูกันว่าคนไทยคิดอย่างไรกับเรื่องความยั่งยืน

  • พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความยั่งยืนที่ทำประจำมากที่สุด คือ 1.ปิดน้ำ-ปิดไฟ 2.ซื้อสินค้าที่สร้างความยั่งยืน และ 3.Reuse ใช้ซ้ำสิ่งของต่างๆ นอกจากนี้พฤติกรรมอื่นๆ ที่ถือเป็นความยั่งยืน เช่น ใช้รถสาธารณะ แยกขยะ พกถุงผ้าและแก้วส่วนตัว เป็นต้น
  • ผลปรากฏว่า “เบบี้บูมเมอร์” คือคนที่มีพฤติกรรมและใช้สินค้าที่เสริมความยั่งยืนสูงสุด โดยสัดส่วนคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวนี้ คิดเป็น 61% ของเบบี้บูมเมอร์ รองมาคือ 37% ของคน Gen Z ตามด้วย 35% ของคน Gen X และ 26% ของคน Gen Y

ในด้านของการซื้อสินค้าเพื่อความยั่งยืน งานวิจัยนี้ต้องการจะทราบว่าคนไทยคิดอย่างไรบ้าง

  • อุปสรรคที่ทำให้ยังไม่ซื้อสินค้าเพื่อความยั่งยืน คือ 1.ค่าใช้จ่ายสูง ราคามักจะแพงกว่าปกติ 2.ความทนทานในการใช้งาน เช่น หลอดกระดาษยังเปื่อยยุ่ยง่าย 3.ความสะดวกในการใช้งาน หากต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมากก็จะไม่ทำ รวมถึงมีบางส่วนที่มองว่า บริษัทไม่ได้จริงใจกับการผลิตสินค้าเพื่อความยั่งยืน
  • อุปสรรคอันดับ 1 คือเรื่องราคา งานวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผู้บริโภค “จะจ่ายให้กับสินค้าเพื่อความยั่งยืน เพิ่มขึ้นไม่เกิน 17% ของราคาสินค้าปกติ”

 

เสนอกลยุทธ์​ “LIFE” เพื่อจูงใจคนเข้าหาแบรนด์

ทางกลุ่มนักศึกษาผู้วิจัยได้สรุปแนะนำการสื่อสารการตลาดที่จะช่วยดึงให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และสนใจแบรนด์หรือสินค้าที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ/สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนี้

L – Less is more เสนอการลดบางอย่างลง เช่น ลดน้ำตาล ลดโซเดียม ลดองค์ประกอบการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม สื่อสารว่าการลดสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีต่อผู้บริโภค

I – Image คือสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นต่อแบรนด์ สร้างให้เห็นความจริงใจ

F – Fear เพราะความกังวลคือแรงกระตุ้นสำคัญ ต้องชี้ให้เห็นผลเสียที่จะเกิดขึ้นถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ส่งผลเสียกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

E – Experience สร้างประสบการณ์ให้เห็นผลจริง เช่น ให้ลองชิมอาหารสุขภาพว่ารสชาติดีเหมือนกัน เปลี่ยนมาใช้สินค้าเพื่อความยั่งยืนแล้วมีผลต่อโลกได้จริง

โดยรวมแล้ว อินไซต์ผู้บริโภคชุดนี้น่าจะเป็นประโยชน์หลักต่อผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนสินค้าที่เกี่ยวกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งวันนี้กลายเป็นประเด็นที่ทุกธุรกิจให้ความสนใจ ไม่ได้จำกัดเฉพาะสินค้าแบบใดแบบหนึ่งอีกต่อไปแล้ว

]]>
1429534
‘MQDC’ ย้ำมาตรฐานระดับเวิล์ดคลาส คว้ารางวัล ‘LEED Gold’ ในโครงการ “เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ” https://positioningmag.com/1364937 Thu, 02 Dec 2021 10:00:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364937

สำหรับ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) คือเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมการออกแบบอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม การก่อสร้าง การดำเนินการ และการบริหารงาน ที่มุ่งสู่การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นโปรแกรมชั้นนำระดับนานาชาติสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืน การได้รับการรับรองจาก LEED เปรียบเสมือนได้รับการรับรองว่ามีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง

เพราะการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งการอนุรักษ์พลังงาน การบริหารจัดการน้ำ และการจัดการขยะ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย

ดังนั้น บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) จึงให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ในทุกโครงการ รวมถึงโครงการ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในโครงการมาสเตอร์พีซของ MQDC และของประเทศไทยในประเภทที่อยู่อาศัย

และอย่างที่เกริ่นไว้ในตอนแรกว่า รางวัล ‘LEED’ ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว เป็นรางวัลที่ได้ยอมรับในระดับโลกจากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council : USGBC) และสำหรับในประเทศไทย MQDC เป็นอีกหนึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ที่สามารถคว้ารางวัลดังกล่าว

โดย MQDC คว้ารางวัล LEED Gold” (Leadership in Energy and Environmental Design) ประจำปี 2021 ในการพัฒนาโครงการ “เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ” ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเภทที่อยู่อาศัย และได้รับ LEED Certification ในระดับ Gold

สำหรับเดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เป็นโครงการที่อยู่อาศัยมาตรฐานสากลระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ของเมืองไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย MQDC ทำงานร่วมกับ Atelier Ten บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยมีความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด สร้างมาตรฐานที่อยู่อาศัยระดับโลก ภายใต้หลักการ For All Well-Being’ ส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและสร้างการใช้ชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ดังนั้น เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่แค่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม แต่ยังตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ผู้อยู่อาศัยทุกห้องสามารถดื่มด่ำกับความงดงามโดยรอบ มีการนำระบบหมุนเวียนและฟอกอากาศให้บริสุทธิ์กลับเข้าไปในอาคาร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยทั้งในด้านไลฟ์สไตล์และสุขอนามัย

อีกทั้ง ยังถูกออกแบบให้รองรับการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี (Resilient Design) อย่างเช่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการ บริหารจัดการน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำนวัตกรรมที่ลดการใช้น้ำ ทั้งยังไม่มีการปล่อยน้ำเสียจากโครงการไปสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ (Zero Waste Water) ยิ่งไปกว่านั้นหากเกิดกรณีน้ำท่วม สามารถที่จะดึงน้ำมากักเก็บก่อนที่จะปล่อยกลับสู่แม่น้ำ

นอกจากนี้ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ยังเพียบพร้อมด้วยมาตรฐานบริการระดับสูงภายใต้แบรนด์ “แมนดาริน โอเรียนเต็ล” แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแห่งที่ 7 ของโลก ในมาตรฐานที่เทียบเท่าโครงการที่พักอาศัยที่ดีที่สุดในนิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว หรือ เซี่ยงไฮ้

“เราภูมิใจกับรางวัล LEED Gold อย่างมาก เพราะตอกย้ำความสำเร็จและความมุ่งมั่นของ MQDC ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ตามปรัชญาของเราคือ “For All Well-being” รางวัลที่ได้รับยิ่งจะทำให้ MQDC มุ่งมั่นพัฒนามากขึ้น เพื่อสร้างมาตรฐานของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก” นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าว

สำหรับเกณฑ์มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) คือเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมการออกแบบอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม การก่อสร้าง การดำเนินการ และการบริหารงาน ที่มุ่งสู่การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยประเมินมาตรฐานโครงการ ครอบคลุมด้านต่าง ๆ 7 ด้าน ประกอบด้วย:

  • พื้นที่พัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sites)
  • การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency)
  • การดูแลจัดการพลังงานและบรรยากาศ (Energy & Atmosphere)
  • การเลือกใช้วัสดุและทรัพยากร (Material & Resources)
  • คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment Quality)
  • นวัตกรรมการออกแบบ (Innovation in Design)
  • การให้ความสำคัญกับปัจจัยท้องถิ่น (Regional Priority)

โดย เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ได้คะแนนเต็มในส่วนของนวัตกรรมการออกแบบ (Innovation in Design) และในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sites) ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่ใช้สอยร่วมกับชุมชน การควบคุมความร้อนของอาคาร การรองรับปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งได้อย่างดีเยี่ยม เปรียบเทียบแล้วเราได้คะแนนสูงเกือบ 90% และได้คะแนนพิเศษจาก LEED เพิ่มเติมด้วย

“ตั้งแต่วันแรกของพัฒนาโครงการ ทาง Atelier Ten และ MQDC มุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างมาก ทั้งในด้านของคุณภาพโครงการ การอยู่อาศัย และการดูแลสิ่งแวดล้อม เราจึงเก็บทุกรายละเอียด เราจึงมั่นใจว่า เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล” จะเป็นแนวทางมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ความยั่งยืน” ดร. นรี ภิญญาวัฒน์ Director ของ Atelier Ten ประจำกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ควบคุมการออกแบบและพัฒนาโครงการให้กับ MQDC กล่าว

ทั้งนี้ MQDC ดำเนินธุรกิจการพัฒนา ลงทุน และจัดการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย บ้าน คอนโดมิเนียม โครงการคอมมูนิตี้ ดิสทริค และ ธีมโปรเจกต์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและโรงแรม ภายใต้แบรนด์ “แมกโนเลีย” (Magnolias) “วิสซ์ดอม” (Whizdom) ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และเดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) พร้อมยึดมั่นการดำเนินธุรกิจภายใต้คำมั่นสัญญา ‘For All Well-Being’ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและสร้างการใช้ชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

]]>
1364937