ตลาดรถยนต์ไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Nov 2024 06:26:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘รถยนต์’ เดือนต.ค. ลดลง 36.08% ดิ่งหนักสุดในรอบ 54 เดือน! เนื่องจากพิษหนี้ครัวเรือน และแบงก์เข้มออกสินเชื่อ https://positioningmag.com/1500737 Tue, 26 Nov 2024 05:30:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500737 ท่าทางจะฟื้นลำบากสำหรับตลาด รถยนต์ เพราะยอดขายในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ถือว่า แย่สุดในรอบ 4 ปี เลยทีเดียว ขณะที่ภาพรวมตลอด 10 เดือนก็หดตัวกว่า 20% แม้แต่ รถอีวี ที่เคยโตแรงก็หดตัว จนถึงขั้นต้องปรับคาดการณ์การผลิตรถยนต์ทั้งปีลงถึง 2 แสนคัน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 37,691 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 36.08% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 54 เดือน นับตั้งแต่ยกเลิกล็อกดาวน์จากการระบาด COVID-19 ในเดือนพฤษภาคม 2563 สำหรับในส่วนของยานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) มีจดทะเบียนใหม่จำนวน 6,651 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว -32.19% ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) 3,717 คัน ลดลง -49.73%

โดยปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจของประเทศที่ยังอ่อนแอเติบโตในอัตราต่ำและหนี้ครัวเรือนสูง และการเข้มงวดในการให้กู้ซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงิน ส่งผลให้จำนวนบัญชีผู้กู้ซื้อรถยนต์ในไตรมาส 3 มี 6,365,571 บัญชี ลดลงจากไตรมาสสอง 75,377 บัญชี หรือ -1.2% และลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2566 จำนวน 199,655 บัญชีหรือ -3% ขณะที่จำนวนเงินหนี้รถยนต์ไตรมาส 3 อยู่ที่ 2,465,204 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ -2.8% และลดลง -5.8% จากไตรมาส 3 ปี 2566 

ทั้งนี้ ตลอด 10 เดือนที่ผ่านมา รถยนต์มียอดขาย 476,350 คัน ลดลง -26.24% เมื่อเทียบกับ 10 เดือนแรกของปี 2566 และเมื่อแยกเป็นรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์มีจำนวน 284,304 คัน เท่ากับ 59.84% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 12.22%

ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้ 84,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว +5.08% แต่เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 ถือว่าลดลงถึง -20.23% อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนตุลาคม 2566 ถือเป็นฐานที่สูง เพราะสามารถส่งออกได้ถึง 105,726 คัน ส่งผลให้ส่งออกลดลงทุกตลาด ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือตลาดออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรป 

โดย นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิก กลุ่มฯ ในปี พ.ศ. 2567 ใหม่ โดยปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,700,000 คันเป็น 1,500,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับการผลิตขายในประเทศลดลงจาก 550,000 คันเป็น 450,000 คัน และการผลิตเพื่อส่งออกลดลงจาก 1,150,000 คัน เป็น 1,050,000 คัน

]]>
1500737
‘มาเลเซีย’ แซง ‘ไทย’ ขึ้นแท่นตลาดรถยนต์เบอร์ 2 ของภูมิภาค หลังแบงก์คุมเข้มปล่อยสินเชื่อ https://positioningmag.com/1473902 Thu, 16 May 2024 03:12:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473902 หลังสัญญาณหนี้เสีย-หนี้ค้างชำระพุ่งไม่หยุด ทั้ง บ้าน-รถยนต์ ส่งผลให้ ธนาคาร คุมเข้มปล่อยสินเชื่อ ทำให้ตลาดรถยนต์ไทยช่วงไตรมาสแรกหดตัวถึง 25% ส่งผลให้ไทย ไม่ใช่ประเทศที่มีขนาดตลาดรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอีกต่อไป

จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ มาเลเซีย ได้แซงหน้าไทยขึ้นเป็น ตลาดรถยนต์รายใหญ่อันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย โดยมาเลเซียสามารถทำยอดขายได้ดีกว่าไทยต่อเนื่องถึง 3 ไตรมาสติดต่อกัน จนถึงเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ขณะที่ยอดขายรถยนต์ของไทยปรับตัว ลดลง 25% ในไตรมาสแรก

จากข้อมูลของสมาคมยานยนต์แห่งมาเลเซีย รายงานว่า ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น +5% ในไตรมาสแรกจากปีก่อนหน้าเป็น 202,245 คัน หลังจากที่ปี 2566 เติบโตขึ้น +11% เป็นจำนวน 799,731 คัน หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดรถยนต์ของมาเลเซียเติบโตก็คือ การยกเว้นภาษีการขายสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้แบรนด์รถยนต์ของชาติอย่าง Perodua และ Proton ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 60%

สำหรับมาตรการยกเว้นภาษีนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสิ้นสุดลงในช่วงกลางปี ​​2565 แต่ยอดขายรถยนต์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามคำสั่งซื้อก่อนหน้านั้นส่งผลดีต่อตัวเลขในปี 2567 อีกทั้งยังมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่น รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการแข่งขันกันสูง ก็ยิ่งช่วยกระตุ้นยอดขาย

อย่างไรก็ตาม สมาคมยานยนต์แห่งมาเลเซียคาดว่ายอดขายรถยนต์รวมจะ ลดลง 7.5% ในปีนี้ แม้ว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดและรถอีวีคาดว่าจะเติบโตก็ตาม เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจชะลอตัวลง เพราะความกังวลเกี่ยวกับ ค่าครองชีพที่สูง และอัตราภาษีบริการที่สูงขึ้นสำหรับบริการบางอย่าง เช่น การซ่อมแซมและบำรุงรักษายานยนต์

ส่วนไทยที่ครองตำแหน่งเบอร์ 2 มานานกำลังอยู่ในช่วงขาลง โดยเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เนื่องจากปัญหา หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ธนาคารคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อทั้งบ้านและรถยนต์ เพราะกังวลถึงปัญหาหนี้เสีย โดยจากข้อมูลเครดิตบูโรรายงานว่า ในช่วงปี 2566 ไทยมีปัญหาหนี้เสียสินเชื่อรถยนต์ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +28% จากปี 2565

ด้าน อินโดนีเซีย ช่วงไตรมาสแรกตลาดหดตัว 24% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ โดยในปี 2566 ตลาดหดตัว 4% มียอดสะสมกว่า 1 ล้านคัน ซึ่งถือว่าน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 ที่ 3 หมื่นคัน

ส่วนยอดขายรถยนต์ใน เวียดนาม ลดลง 16% ในไตรมาสแรก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศซบเซาตั้งแต่ปีที่แล้ว และแม้ว่าความต้องการจะพุ่งสูงขึ้นในเดือนธันวาคมก่อนที่การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะหมดอายุ แต่ตัวเลขยอดขายกลับลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขใน ฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น +13% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงที่สุดใน 5 ประเทศ หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือประมาณ 4% ในช่วงปลายปี 2566

Source

]]>
1473902