แต่ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ, ราคาต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงการแข่งขันที่ดุเดือดและการมีคู่แข่ง ซึ่งนับวันจะแข็งแกร่งมากขึ้นทั้ง ‘สุกี้ตี๋น้อย’ และน้องใหม่มาแรงอย่าง ‘ลัคกี้ สุกี้’
จึงน่าจับตามองว่า MK ที่อยู่ในตลาดมานาน 39 ปี จะสามารถพลิกเกมและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างไร ?
โดยเฉพาะเมื่อดูจากผลประกอบการปี 2567 ของ ‘บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)’ หรือ MK GROUP ซึ่ง MK ทำรายได้หลักให้กับเครือถึง 72% พบว่า รายได้และกำไรของ MK GROUP ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยทำรายได้รวมไป 15,418 ล้านบาท ลดลง 7.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไร 1,442 ล้านบาท ลดลง 14.3%
สวนทางกับผลประกอบการของ ‘บริษัท บีเอ็นเอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด’ เจ้าของธุรกิจ สุกี้ตี๋น้อย ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดย
ปี 2563 มีรายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 5,244 ล้านบาท กำไร 913 ล้านบาท
ส่วนปี 2567 มีกำไร 1,169 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งผลประกอบการดังกล่าวมาจากการที่ สุกี้ตี๋น้อยมีสาขารวม 78 สาขา, ตี๋น้อย บาร์บีคิว 1 สาขา และตี๋น้อย เอ็กซ์เพรส 1 สาขา
ขณะที่พี่ใหญ่อย่าง MK มีสาขาทั้งหมดถึง 432 สาขา
ถึงเวลายักษ์ใหญ่(ต้อง)ขยับ
MK เองไม่ได้นิ่งนอนใจในการรักษาความเป็นเจ้าตลาด และก่อนหน้านี้พยายามแก้เกมในหลากหลายกลยุทธ์ ทั้งเปิดตัวโปรดักต์ที่เป็นตัวสร้างชื่อให้กับตัวเองออกมาจำหน่ายในรูปแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
อย่างเช่น ชุดสุกี้เอ็มเคในรูปแบบแพ็ก, น้ำจิ้มสุกี้เอ็มเคแบบขวด และชุดบะหมี่หยก ลูกชิ้นรวมมิตร มาวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อและร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงจะเพิ่มโอกาสในการขาย แต่ยังเป็นช่องทางในการนำแบรนด์ MK เข้าถึง ‘กลุ่มคนรุ่นใหม่’ นอกเหนือจาก ‘กลุ่มครอบครัว’ ที่เป็นลูกค้ากลุ่มหลักของแบรนด์
ในเดือนสิงหาคม 2567 ยังได้กระโดดลงไปแข่งขันในตลาดร้านบุฟเฟ่ต์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์มา 39 ปี ภายใต้ชื่อ MK BUFFET มีให้เลือก 3 ราคาได้แก่ ระดับมาตรฐาน ราคา 499 บาท, Premium Buffet ราคา 699 บาท และ Deluxe Buffet ราคา 899 บาท (ไม่รวมเครื่องดื่มและขนมหวาน) ประเดิมเปิดสาขาแรกที่ ‘เซ็นทรัล เวสต์เกต’ และในอนาคตมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มเติม
นอกจากนี้ เมื่อธุรกิจเคลื่อนตัวเข้าสู่โลกของคนรุ่นใหม่ ในเดือนธันวาคม 2567 ทาง MK ก็ได้แต่งตั้งสองผู้บริหารคนรุ่นใหม่ผู้เป็นทายาทของ ‘ฤทธิ์ ธีระโกเมน’ ผู้ก่อตั้ง MK นั่นคือ ‘ทานตะวัน และ ธีร์ ธีระโกเมน’ มานั่งในตำแหน่ง ‘กรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม’ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ขณะที่ฤทธิ์ จะทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา
แน่นอนเป้าหมายของการแต่งตั้งสองผู้บริหารครั้งนี้ ต้องการให้ทั้งคู่มาสร้างการเปลี่ยนแปลงและพลิกสถานการณ์ของ MK ซึ่งเราได้เห็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองไปแล้ว นั่นคือ การเปลี่ยนชื่อเฉพาะกิจของ MK มาเป็น MongKol ที่สร้างความฮือฮาจนเป็นกระแสไวรัลไปทั่วบ้านทั่วเมือง
ตามด้วยการปล่อยแคมเปญการตลาดที่ไม่เคยทำมาก่อน อย่าง ‘หมู มาราธอน’ โดยแคมเปญนี้พุ่งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้า GEN Y – GEN Z ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการ ให้สามารถกินได้ไม่อั้นในเวลา 90 นาที กับ 4 คอนโดหมู (หมูนุ่ม หมูนุ่มโรยงา สันคอหมูสไลซ์ และ คุโรบูตะสเปเชียลสไลซ์)
หรือจะเป็นการครีเอตเมนู ‘สุกี้ชามเดี่ยว’ ที่ให้ลูกค้าเลือกได้ตั้งแต่เนื้อสัตว์ เส้นซุป ในราคาเริ่มต้นที่ 129 บาท เริ่มวันที่ 6 กุมพาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568
การเดินกลยุทธ์แบบใหม่ของ MK ทาง ‘ทานตะวัน ธีระโกเมน’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลว่า มาจากการแข่งขันที่รุนแรงมากของตลาดสุกี้ในปัจจุบัน จนกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้แบรนด์ต้องปรับตัวขึ้นมาสู้ศึกนี้แบบเต็มกำลัง โดยเริ่มจากเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ ที่ทำให้แบรนด์สนุกยิ่งขึ้น และเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
สำหรับปี 2568 ทาง MK GROUP มีการปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ที่มีความคุ้มค่าและคงคุณภาพ เพื่อเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ให้มากขึ้น และดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภค ขณะที่ธุรกิจรีเทลมีการเตรียมแผนการขยายช่องทางทั่วโลก และมองหาโอกาสในการเติบโตจากการลงทุนในธุรกิจใหม่
อย่างล่าสุดได้มีการเปิดตัว ฮิคินิคุ โตะ โคเมะ ร้านแฮมเบิร์กเจ้าดังจากประเทศญี่ปุ่น นำเข้ามาเปิดในไทยเป็นสาขาแรก ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งคาดว่า มีโอกาสเติบโตและขยายได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับเปิดโอกาสในการมองหาการลงทุนใหม่ๆ เพื่อเข้ามาเสริมพอร์ตธุรกิจให้แข็งแรงขึ้นอีก
เมื่อโฟกัสมาที่ MK Restaurants นอกจากขยายร้านอย่างต่อเนื่อง จากเดิมมีสาขาทั้งหมด 432 สาขา, MK Live 4 สาขา, MK Gold 5 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ MK Restaurants ในต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่น 24 สาขา, เวียดนาม 4 สาขา, ลาว 3 สาขา
ในปีนี้ ยังมีแผนนำ ‘น้ำจิ้มสุกี้’ ไปวางขายให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น รวมถึงมีช่องทางการวางจำหน่ายไปทั่วโลก ทั้งโซนเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อลองเช็คเสียงและคอมเมนต์ของผู้บริโภคแล้ว จะเห็นได้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการให้ MK มีการปรับ ‘ราคา’ ลง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง มากกว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
โดยปัจจุบันราคาบุฟเฟ่ต์ของคู่แข่งรายสำคัญทั้งสุกี้ตี๋น้อย และน้องใหม่มาแรงอย่าง ลัคกี้ สุกี้ อยู่ที่หัวละ 219 บาท สามารถทานได้ในเวลา 1 ชั่วโมง 45 นาที หากรวมเครื่องดื่มรีฟิล บวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว จะมีราคาสุทธิอยู่ที่ 276 บาทต่อคน
ราคาดังกล่าว เมื่อเทียบกับราคาบุฟเฟ่ต์ของ MK ถือว่า ห่างกันพอสมควร แม้หลายคนจะบอกว่า ของคุณภาพต่างกันก็ตาม
ทว่าประเด็นเรื่องราคาอาจเป็นหนึ่งโจทย์สำคัญที่ยักษ์ใหญ่อย่าง MK ต้องนำไปคิด เพื่อจะพลิกสถานการณ์ให้กลับมาเติบโต และทวงบังลังก์ผู้นำในตลาดสุกี้กลับมาให้ได้
]]>
‘ทานตะวัน ธีระโกเมน’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงมากของตลาดสุกี้ในปัจจุบัน กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้แบรนด์ต้องปรับตัวขึ้นมาสู้ศึกนี้แบบเต็มกำลัง โดยเริ่มเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ ที่ทำให้แบรนด์สนุกยิ่งขึ้น และเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
สำหรับแคมเปญแรกที่ได้ประเดิมไปของ MK Restaurants ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ถือเป็นการสร้างแปลกใหม่แบบที่ไม่เคยทำมาก่อน ทั้งการเปลี่ยนป้าย MK Restaurants เป็น MongKol Restaurants ในรอบ 39 ปี กับ 4 สาขา ขณะเดียวกันก็เสิร์ฟความมงคลสร้าง Engagement กระหน่ำโซเชียล และ หมี่หยกยืนยาว 99 ซม. อีกแคมเปญสุดปังที่สร้างยอดขายเติบโตกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตามด้วยการเขย่าวงการธุรกิจค้าปลีก กับ ‘ชุดบะหมี่หยก ลูกชิ้นรวมมิตร’ ราคา 69 บาท เพิ่มช่องทางการขายใน 7 – Eleven และตบท้ายด้วยคอนเทนต์น้ำจิ้มสุกี้ สร้างไวรัล ป่วนทุกวงการ ทั้งหมดนี้สามารถปลุกกระแสของแบรนด์และได้รับการตอบรับในทิศทางที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภคบนโลกโซเชียล อีกทั้งยังดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่หยุดเพียงเท่านั้น เพราะเมื่อไม่นานมานี้ MK Restaurants เพิ่งประกาศเปิดตัวแคมเปญใหม่ กับ ‘หมู มาราธอน’ ซึ่งพุ่งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้า GEN Y – GEN Z ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการ โดยสามารถกินได้ไม่อั้นในเวลา 90 นาที กับ 4 คอนโดหมู (หมูนุ่ม หมูนุ่มโรยงา สันคอหมูสไลซ์ และ คุโรบูตะสเปเชียลสไลซ์) สั่งชุดหมูเริ่มต้น 385 บาท จำนวน 1 ชุด ต่อ 1 โต๊ะ บวกเพิ่มแค่ 159 บาท ต่อ 1 คน ได้สิทธิ์ทาน หมูสันคอสไลซ์, คุโรบูตะสเปเชียลสไลซ์, หมูนุ่ม และหมูนุ่มโรยงา ได้แบบไม่อั้น! เริ่มตั้งแต่ 3 – 11 ก.พ. 2568 ที่ MK Restaurants ทุกสาขา
ทานตะวันทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนรอติดตามว่าปีนี้ แบรนด์ MK Restaurants และแบรนด์อื่นในเครือของ MK GROUP จะทำแคมเปญอะไรอีก รับประกันว่าจะสนุกขึ้นและหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีเหมือนแคมเปญที่ผ่านมาเช่นกัน
]]>สิ่งที่น่าสนใจ คือ ลัคกี้สุกี้ เริ่มต้นธุรกิจเพียง 3 ปี แต่ทำรายได้ทะลุ 1,000 ล้านบาท มีการเติบโตทั้งรายได้และกำไรค่อนข้างเร็วพอ ๆ กับสุกี้ตี๋น้อย
ผลประกอบการลัคกี้สุกี้ (นับตั้งแต่เริ่มมีการรายงานรายได้-กำไร)
ผลประกอบการสุกี้ตี๋น้อย (นับตั้งแต่เริ่มมีการรายงานรายได้-กำไร)
และ ช่วง 9 เดือนแรก ปี 2567 สามารถทำกำไรได้ราว ๆ 890 ล้านบาท (อ้างอิงส่วนแบ่งกำไรของ JMART ที่ถือหุ้น 30% ใน บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของ สุกี้ตี๋น้อย)
“หากคิดอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้ของทั้ง 2 แบรนด์ ลัคกี้สุกี้อยู่ที่ 280.5% ต่อปี ส่วนของตี๋น้อยอยู่ที่ 89% ต่อปี นั่นแปลว่าการเติบโตของลัคกี้สุกี้สูงเทียบเคียงกับเจ้าตลาดอย่างสุกี้ตี๋น้อยได้เลย”
**การคำนวณใช้สูตร AAGR โดยของลัคกี้สุกี้ไม่นับปี 2565 ส่วนของสุกี้ตี๋น้อย ไม่นับปี 2562 ซึ่งเป็นปีฐาน เนื่องจาก ไม่มีข้อมูลตัวเลขการเติบโตเปรียบเทียบ
สำหรับ ลัคกี้สุกี้ และ สุกี้ตี๋น้อย มีจุดร่วมคล้ายกันหลายประการ ตั้งแต่การนำทัพด้วยผู้บริหารหญิงคนรุ่นใหม่ คือ
ขณะที่เส้นทางการสร้างแบรนด์ก็วาง Positioning ของลัคกี้สุกี้ และสุกี้ตี๋น้อย มีทั้งความเหมือนและความต่าง อาทิ
1.รูปแบบบุฟเฟ่ต์ ที่วางกลยุทธ์ด้านราคาคุ้มค่า
ทั้ง 2 แบรนด์ ตั้งราคาเท่ากัน เริ่มต้น 219 บาท/คน (ไม่รวมรีฟิลน้ำ และ VAT 7%) ด้วย “ราคาเข้าถึงง่าย” แต่มีเมนูหลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคเปิดใจทดลองทานได้ง่าย จนทำให้มีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียด และประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้นไม่นาน
2.เวลาเปิดยาวยันดึก
เวลาเปิด-ปิด เป็นหนึ่งปัจจัยสร้างความได้เปรียบของ 2 แบรนด์นี้ จากเดิมสุกี้ในตำนานร้านดัง ๆ มักเปิดในศูนย์การค้ามีเวลาเข้าใช้บริการอย่างจำกัด ตั้งแต่ 10.00-22.00 น.
แต่สุกี้ตี๋น้อย เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ทำร้านรูปแบบกินโต้รุ่ง เปิดเวลา 11.00-05.00 น. ด้วยข้อได้เปรียบจากการเป็นสาขา Stand Alone
ส่วน ลัคกี้สุกี้ ก็เปิดประมาณ 10.30 – 02.00 น. แม้จะเปิดสาขาตามโมเดิร์นเทรดและคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ก็เลือกสถานที่ที่ยืดหยุ่นด้านเวลาที่สามารถเปิดยันดึกได้ จึงเป็นจุดแข็งของแบรนด์ฯ
สิ่งที่อาจบอกได้ว่า 2 แบรนด์นี้แตกต่างกัน คือ โมเดลร้านค้า ที่ “สุกี้ตี๋น้อย” เน้นพื้นที่ Stand Alone มีที่จอดรถจำนวนมาก ใกล้แหล่งชุมชนหรือสถานศึกษา ส่วน “ลัคกี้สุกี้” มองตัวเองเป็นแบรนด์น้องใหม่ การเริ่มต้นเปิดไปกับห้าง/คอมมูนิตี้มอลล์ อาจจะเหมาะกว่า เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นแบรนด์มากขึ้น และค่อย ๆ สร้างการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ลัคกี้สุกี้ วางงบประมาณ 300 ล้านบาท ขยายสาขาเพิ่มทั้งลัคกี้สุกี้และลัคกี้บาร์บีคิว จำนวน 16-20 สาขา ตั้งเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท เติบโต 100% (YoY)
น่าสนใจว่า การเข้ามาท้าชิงของแบรนด์หน้าใหม่อย่าง “ลัคกี้สุกี้” ครั้งนี้ คงสร้างความร้อนแรงให้กับตลาดสุกี้ในไทย ที่มีมูลค่า 23,000-25,000 ล้านบาท ด้วยกำลังซื้อที่มีจำกัด และการแข่งขันของตลาดสุกี้ที่เป็นเรดโอเชี่ยนในขณะนี้…
]]>ทว่าตอนนี้ กลับมีแบรนด์สุกี้ม้ามืด คือ “ลัคกี้สุกี้” ที่เปิดตัวแค่ 3 ปี มีเพียง 15 สาขา (ลัคกี้บาร์บีคิวอีก 6 สาขา) แต่ทำรายได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
“ถ้าเทียบจากจุดเริ่มต้น รายได้ลัคกี้สุกี้ 3 ปี เติบโตระดับ 1,168%“
วิรัตน์ โรจยารุณ กรรมการบริหาร บริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหาร ลัคกี้สุกี้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดสุกี้ มูลค่า 23,000 – 25,000 ล้านบาท มีการแข่งขันดุเดือดจากเจ้าตลาด และผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยเข้ามาจำนวนมาก ทั้งรูปแบบบุฟเฟต์ และ a la carte
แต่แบรนด์ลัคกี้สุกี้ เติบโตต่อเนื่อง โดยปีล่าสุดมีรายได้ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) จากการขยายสาขาอย่างก้าวกระโดดใน 3 ปีที่ผ่านมา
เบื้องต้น ปีนี้ตั้งงบลงทุน 300 ล้านบาท เปิดเกมรุกขยายสาขา 16-20 สาขาเพิ่ม จากแบรนด์ลัคกี้สุกี้สัดส่วน 60% และลัคกี้บาร์บีคิวสัดส่วน 40% ขนาดพื้นที่ 500-600 ตร.ม./แห่ง เน้นทำเลเกาะไปตามมอลล์หรือห้าง ทั้ง กทม. และต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น สระบุรี และภาคตะวันออก เป็นต้น ทำให้สิ้นปี 2568 คาดมีจำนวนสาขา 36-40 แห่ง
ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคมองหาสิ่งที่คุ้มค่า และยั้งคิดก่อนใช้จ่าย
ประกอบกับ คนไทยมองว่าบุฟเฟต์คุ้มค่าเงิน โดยลัคกี้สุกี้ประมาณ 219 บาท/คน และลัคกี้บาร์บีคิว 299 บาท/คน (ไม่รวมเครื่องดื่มรีฟิลและ VAT) ราคาเข้าถึงง่าย ทำให้มีความถี่ในการรับทาน 2-3 ครั้ง/เดือน
วิรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ทำให้แบรนด์ลัคกี้สุกี้ติดตลาด และประสบความสำเร็จภายใน 3 ปี แม้ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 4 คน ไม่ได้มาจากธุรกิจร้านอาหาร เพราะ เรากล้าทลายกรอบเดิมของร้านสุกี้ เราเป็นรายแรกที่นำสเลอปี้เข้ามาบริการในร้านสุกี้ และนำของทอดมาในร้านสุกี้ จากปกติจะมีเพียงหม้อไฟ และวัตถุดิบเกี่ยวกับสุกี้เท่านั้น
ส่งผลให้แบรนด์ติดตลาดมีการบอกปากต่อปาก จนปัจจุบันมีลูกค้าประจำ ที่เป็นเมมเบอร์ถึง 200,000 ราย เติบโต 100% (YoY)
โดยปี 2568 บริษัทฯ วางเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท เติบโต 100% จากปีก่อน (YoY) และแผนระยะยาว 3-5 ปี เตรียมนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
]]>“ที่ผ่านมา เราไม่มีกรอบ ทำได้ทุกอย่างที่อยากทำ ความโชคดี คือ ในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ เราแทงถูกมากกว่าแทงผิด เราไม่ได้ตัดสินใจบนโต๊ะ แต่ลงไปแก้ปัญหาเองหมด สเต็ปถัดไป ตั้งใจรักษาลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่ เราเชื่อว่าความพยายามไม่หมด ความสำเร็จก็ไม่หมด”