ถ่านอัลคาไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 27 Jun 2024 03:30:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทายาทเจน 3 ‘ถ่านม้าขาว’ รีแบรนด์ในรอบ 60 ปี ถ่านไฟฉายสัญชาติไทย สู้ศึกแบรนด์นอก https://positioningmag.com/1479886 Wed, 26 Jun 2024 10:56:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479886 ย้อนไป 60 ปีที่แล้ว ยุคที่ประเทศไทยมีแบรนด์ ถ่านไฟฉาย คนไทยนับสิบ ๆ แบรนด์ อาทิ ตรากบ ที่คนไทยหลายคนยังจำ เพลงโฆษณา ได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ 60 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน มีแบรนด์ถ่านไฟฉายไทยเพียงรายเดียวเท่านั้นที่อยู่รอดก็คือ แบรนด์ ม้าขาว (White Horse)

อยู่รอดได้เพราะเน้นตลาดต่างประเทศ

จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ม้าขาว ต้องย้อนไปในปี 2495 โดย โกวิทย์ วิชิตธนาฤกษ์ ที่ก่อตั้ง บริษัท โกศลอุตสาหกรรม จำกัด พร้อมกับโรงงานผลิตถ่านไฟฉายในประเทศไทย โดยมีการผลิตถ่านไฟฉายม้าขาวขนาด D หรือที่เรียกว่าถ่านไฟฉายขนาดใหญ่เพื่อใช้กับวิทยุทรานซิสเตอร์และกระบอกไฟฉาย

จนมาปี 2540 เป็นยุคการบริหารของทายาทรุ่นที่ 2 ได้เพิ่มการผลิตถ่านไฟฉายขนาด C, AA, AAA และ 9V เพื่อรองรับความต้องการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแบรนด์ม้าขาวถือเป็นแบรนด์ไทยแบรนด์เดียวที่ยังเหลืออยู่ในตลาด

โดย ณัฐพล วิไลพรรัตนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกศลอุตสาหกรรม จำกัด ผู้บริหารรุ่น 3 ของม้าขาว ได้เล่าว่า แบรนด์ไทยได้ล้มหายตายจากไปหมดตั้งแต่ประมาณ 30 ปีที่แล้ว ที่แบรนด์ไทยแพ้เพราะต่างชาติที่เข้ามานั้นมีเงินทุนที่มากกว่า และเทคโนโลยีที่ดีกว่า แต่ที่บริษัทยังอยู่ได้เพราะเน้นส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ส่วนในไทยมีแบรนด์ม้าขาว กับแบรนด์ห้าแพะ ที่เน้นทำตลาดราคาถูกแข่งกับแบรนด์จีน

“ที่ผ่านมาเราไม่ได้หายไปจากตลาดไทย แต่อยู่ในต่างจังหวัดเป็นหลัก และก็ไม่ได้ทำการตลาดเลย แต่ที่ยังอยู่ได้เนื่องจากเมื่อ 20 ปีก่อนเราย้ายฐานการผลิตไปจีน จากนั้นก็เน้นส่งออกไปตลาดต่างประเทศ โดยตอนนี้เราขายไป 70 ประเทศทั่วโลก” ณัฐพล กล่าว

ทนไม่ได้เห็นคนไทยใช้ถ่านแพงกว่ายุโรป

ปัจจุบัน ตลาดถ่านไฟฉายไทยมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท เติบโต 1-2% โดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมาถูก แบรนด์ญี่ปุ่น ครองตลาดด้วยมาร์เก็ตแชร์ถึง 80% ตามด้วยแบรนด์อเมริกัน, ยุโรป (5-10%) แบรนด์จีน (5-10%) ส่วน แบรนด์ไทยมีสัดส่วนไม่ถึง 1%

“ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ คนไทยคุ้นชินกับสแตนดาร์ดที่เจ้าตลาดทำไว้ ดังนั้น เขาเลือกหยิบถ่านจากชื่อแบรนด์ โดยที่คนไทยไม่ได้ดูอย่างอื่น เราซื้อโดยที่ไม่รู้สึกอะไรไปเเล้ว” ณัฐพล อธิบาย

ที่น่าสนใจคือ ถ่านอัลคาไลน์ที่คนไทยใช้ในราคา แพงกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับยุโรป นี่จึงเป็นอีกจุดที่ทำให้ ม้าขาว ตัดสินใจกลับมาทำตลาดในไทยอีกครั้ง เพราะมองว่า คนไทยควรได้ใช้ถ่านในราคาจริง โดยได้รีแบรนด์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น พร้อมส่ง ม้าขาวเรียลคาไลน์ ถ่านอัลคาไลน์รุ่นแรกออกวางจำหน่ายในราคา ถูกกว่า 60% เมื่อเทียบกับท้องตลาด และมั่นใจว่ามีคุณภาพดีเทียบเท่า

“เทคโนโลยีถ่านมันเสถียรมานานเป็นสิบปี ดังนั้น มันไม่ควรแพงถ้าไม่มีนวัตกรรมใหม่ แต่ในไทยถ่านอัลคาไลน์แพ็ก 4 ก้อนราคาประมาณ 120-150 บาท แต่ในยุโรปอยู่ที่ราว ๆ 60 บาทเท่านั้น ซึ่งคนไทยอยู่กับราคานี้มา 30 ปี”

ปัจจุบัน สัดส่วนถ่านอัลคาไลน์คิดเป็น 70% ของการบริโภคทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 5% ขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซฟิก มีส่วนแบ่งตลาดถ่านอัลคาไลน์ 21% หรือราว 1.11 แสนล้านบาท

หน้าที่รุ่น 3 คือ นักเล่าเรื่อง

หากรุ่นแรกเป็นนักประดิษฐ์ ลองผิดลองถูก ส่วนรุ่นสองพัฒนาต่อยอดสินค้าให้ดี พร้อมส่งขายไปทั่วโลก หน้าที่ของรุ่นสาม ก็คือ การเล่าเรื่อง ให้ผู้บริโภคเปิดโอกาสลองใช้ดูสักครั้ง โดยแบรนด์มั่นใจว่าด้วยคุณภาพสินค้าที่ดีในราคาที่ดี จะทำให้ผู้บริโภคไทย เปิดใจลอง ได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ บริษัทวางงบการตลาดไว้ที่ 10% ของยอดขาย โดยจะเน้นการสื่อสารผ่านออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และเน้นขายผ่าน อีคอมเมิร์ซ และส่งให้ดีลเลอร์กว่า 200 รายทั่วไทย เช่น ร้านอมร อีเล็กโทรนิกส์ 50 สาขาทั่วประเทศ, ร้านจำหน่ายสินค้าไอทีเวลคัม (pg168) ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านเจ้เล้ง ดอนเมือง รวมถึงขยายตลาด B2B ควบคู่ไปด้วย

“โจทย์คือ เราจะเล่าให้เขารู้ว่าเราดีและแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร ดังนั้น เราทำราคาที่ดีก่อน เพื่อให้คนลอง และเน้นไปที่ออนไลน์ เพราะเจ้าตลาดเขาสร้างเน็ตเวิร์กไว้ทั่วไทย อย่างร้านสะดวกซื้อเราเข้าไปไม่ได้เลย ดังนั้น ออนไลน์สำคัญมาก และเริ่มบุก B2B มากขึ้น เช่น โรงเรียน โรงงาน หรือบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการหา OEM”

เป้า 3 ปี ลดมูลค่าตลาดเหลือ 3,000 ล้าน

สำหรับเป้าหมายใน 3 ปีแรกของม้าขาวคือ ชิงส่วนแบ่งตลาด 10% และ ลดมูลค่าตลาดเหลือ 3,000 ล้านบาท โดย ณัฐพล อธิบายว่า การที่ม้าขาวขายสินค้าในราคาถูกว่า 60% จะทำให้แบรนด์อื่น ๆ ลดราคาเพื่อแข่งขัน ส่งผลให้ถ่านไฟฉายกลับมาสู่ ราคาที่ควรเป็น ส่งผลให้มูลค่าตลาดจึงลดลง เพราะต้องยอมรับว่าตลาดถ่านไฟฉายนั้นค่อนข้างทรงตัวตามจำนวนประชากร

“เรามองว่าภายใน 3 ปีมีส่วนแบ่งตลาด 10% ก็ทริกเกอร์ตลาดแล้ว เพราะเราไม่ได้คิดว่าคนจะมาซื้อเราเจ้าเดียว เเต่มองว่าเป็นจุดที่ทำให้เจ้าตลาดไม่กล้าขายราคาที่ขายอยู่ ดังนั้น แม้วอลุ่มจะมาขึ้น แต่มูลค่าตลาดก็จะยังลดลง เพราะทุกรายขายถูกลง” ณัฐพล ทิ้งท้าย

]]>
1479886
IKEA เตรียมยกเลิกขาย “ถ่านอัลคาไลน์” แบบชาร์จไม่ได้ ภายในต.ค. 64 หวังลดปริมาณขยะ https://positioningmag.com/1299403 Wed, 30 Sep 2020 15:13:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299403 IKEA เตรียมยกเลิกการจำหน่ายแบตเตอรี่อัลคาไลน์แบบชาร์จไฟไม่ได้ในสโตร์ IKEA ทั่วโลกภายในเดือนตุลาคม ปี 2564 หวังให้ลูกค้าหันมาใช้ถ่านแบบชาร์จไฟได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และยังช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลกอีกด้วย

กระตุ้นให้ใช้ถ่านชาร์จได้

ลาร์ช สเวนสัน ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก บอกว่า

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับการยกเลิกการจำหน่ายแบตเตอรี่อัลคาไลน์แบบชาร์จไฟไม่ได้ รุ่น ALKALISK/อัลกาลิสค์ ที่จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในสโตร์อิเกียทั่วโลก พร้อมๆ กับการหันมาส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ให้มากขึ้น เราหวังว่า นี่จะเป็นก้าวที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนมาเลือกใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ ซึ่งมีราคาสบายกระเป๋า ใช้งานง่าย สามารถยืดอายุการใช้งานทั้งผลิตภัณฑ์ และวัสดุ และยังช่วยลดปริมาณขยะ รวมถึงประหยัดกว่าแทน”

สำหรับแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ รุ่น LADDA/ลัดด้า ของ IKEA สามารถชาร์จไฟได้สูงสุดถึง 500 ครั้ง และเป็นแบตเตอรี่ NiMH จากการวิจัยเชิงเปรียบเทียบเพื่อประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ NiMH แบบชาร์จไฟได้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเทียบกับแบตเตอรีอัลคาไลน์ เมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปซึ่งใช้พลังงานสูงและต้องชาร์จไฟอย่างสม่ำเสมอ เช่น ของเล่น ไฟฉาย ลำโพง หรือกล้องถ่ายรูปแบบพกพา เป็นต้น

กระทบต่อโลกน้อยกว่า

แบตเตอรี่ NiHM แบบชาร์จไฟได้ อย่างรุ่น LADDA/ลัดด้า ที่จำหน่ายในสโตร์ IKEA นั้น พบว่าเมื่อชาร์จไฟไปแล้ว 10 ครั้ง จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาน้อยกว่าแบตเตอรี่อัลคาไลน์เมื่อใช้พลังงานเท่ากัน

และหลังจากที่ชาร์จไป 50 ครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของแบตเตอรี่ชนิด NiMH มีน้อยกว่าหรือเท่ากับผลกระทบที่เกิดจากการใช้แบตเตอรี่อัลคาไลน์

“นี่จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าในระยะยาว เมื่อเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และหันมาใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยความคุ้มค่าสูงสุด ทั้งยังช่วยลดการสร้างขยะด้วย”

ปีที่แล้ว IKEA จำหน่ายแบตเตอรี่อัลคาไลน์ไปทั้งหมด 300 ล้านชิ้นทั่วโลก เฉพาะสโตร์อิเกียทั้ง 9 แห่งที่เปิดให้บริการในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ลูกค้าซื้อแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟไม่ได้ รุ่น ALKALISK/อัลกาลิสค์ ไปกว่า 3.4 ล้านห่อ

หากลูกค้าเปลี่ยนจากถ่านแบบชาร์จไฟไม่ได้ มาใช้ถ่านชาร์จไฟได้ สำหรับอุปกรณ์กินไฟสูง (และชาร์จไฟใช้ประมาณ 50 ครั้ง) การร่วมด้วยช่วยกันเปลี่ยนคนละเล็กน้อยเพียงแค่นี้ จะสามารถลดขยะโลกไปได้กว่า 5,000 ตันต่อปี

ในที่สุด ผู้คนจะค่อยๆ ลด ละ และเลิกใช้แบตเตอรี่ รุ่น ALKALISK/อัลกาลิสค์ ซึ่งจะส่งผลให้แบตเตอรี่รุ่นดังกล่าวค่อยๆ หายไปจากสโตร์เช่นกัน ซัพพลายเออร์จะอาศัยช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ปรับตัวรับพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกัน สโตร์อิเกียแต่ละแห่งก็จะมีเวลาเพียงพอให้จำหน่ายสินค้าคงคลังที่มีอยู่ กระบวนการยกเลิกการจำหน่ายแบตเตอรี่ รุ่น ALKALISK/อัลกาลิสค์ จะจบสมบูรณ์พร้อมกันทั่วโลกภายในเดือนตุลาคม ปี 2564 ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน รุ่น PLATTBOJ/พลัทบอย จะยังคงอยู่ในรายการสินค้าของอิเกียต่อไป เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางชิ้นยังต้องใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้เพื่อการใช้งาน

]]>
1299403