ทินเดอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Aug 2022 12:15:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO หญิงคนแรกของ ‘Tinder’ ประกาศ ‘ลาออก’ หลังทำงานได้ไม่ถึงปี https://positioningmag.com/1395186 Thu, 04 Aug 2022 11:16:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395186 ผู้บริหารระดับสูงหญิงคนแรกของ ทินเดอร์ (Tinder) ต้องลาออกทั้งที่ทำงานได้ไม่ถึงปี และถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหญิงคนที่สองที่จะลาออกจากบริษัทแม่ Match Groupนเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

หลังจากที่มูลค่าตลาดของบริษัทแม่ Match Group เจ้าของแพลตฟอร์มหาคู่อย่าง Tinder, Hinge และ Match.com ร่วงลงกว่า 1 ใน 5 หรือราว 20% เนื่องจากจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังโดยเฉพาะจาก Tinder ส่งผลให้ Renate Nyborg ซีอีโอหญิงคนแรก ต้อง ลาออก ทั้งที่ทำงานไม่ถึงปี

Bernard Kim ซีอีโอ Match Group ระบุว่า เขาจะดูแล Tinder ไปก่อน โดยมี Faye Iosotaluno เป็นซีโอโอที่จะรายงานตรงกับเขา ในระหว่างที่บริษัทมองหาคนใหม่เพื่อมาแทนที่ Renate Nyborg โดย Renate Nyborg ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในปลายเดือนกันยายน 2021 โดยงานต่อจาก Jim Lanzone ผู้บริหารด้านสื่อที่ทำงานมาประมาณหนึ่งปี

“ยอมรับว่า Tinder ยังบกพร่องในการดำเนินการผลิตภัณฑ์ที่จะดึงดูดผู้ใช้ใหม่ และดึงดูดผู้คนให้ใช้จ่าย โดยจากนี้เราจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อกระตุ้นฐานผู้ใช้ของเรา และผมจะดูแล Tinder จนกว่ากระบวนการค้นหา CEO คนใหม่เสร็จสิ้น” Bernard Kim หัวหน้าผู้บริหารของ Match Group กล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ใน Tinder ไม่ว่าจะเป็น Tinder Coins สกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง, เมตาเวิร์ส กำลังอยู่ในช่วงการพิจารณาว่าจะไปต่อหรือไม่ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่เป็นไปตามที่คาด

Kim กล่าวว่า แม้ทั่วโลกจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และเข้าสู่วิถีชีวิตที่ปกติมากขึ้น แต่ความตั้งใจของผู้บริโภคที่จะลองใช้ผลิตภัณฑ์หาคู่ออนไลน์เป็นครั้งแรกกลับยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด

ทั้งนี้ Match Group มีรายได้รวม 795 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ระหว่าง 800-810 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สัดส่วนรายได้จากฝั่งของ Tinder กลับติดลบ จากที่อดีตเคยเติบโตดีมาตลอด อย่างไรก็ตาม Match Group เชื่อว่า Tinder ยังสามารถเติบโตได้ทั้งในส่วนของผู้ใช้และรายได้ โดยบริษัทจะพยายามแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ และหลากหลายเพื่อกระตุ้นการเติบโตนั้น

Source

]]>
1395186
คนไทยใช้ Tinder ปักหมุดไป “โซล เกาหลีใต้” มากสุด ส่วน “อินเดีย” ปักหมุดมาไทย https://positioningmag.com/1328494 Tue, 20 Apr 2021 14:51:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328494 Tinder เปิดอินไซต์ คนไทย Gen Z ปัดขวากันรัวๆ ใช้ฟีเจอร์ Passport ได้ฟรีเพื่อเสิร์ชโลเคชั่น ปักหมุด พูดคุยกับเพื่อนใหม่ และหาคู่แมตช์ได้ทั่วโลก คนไทยนิยมปักหมุดไปหาโอปป้าที่เกาหลีใต้ ส่วนคนอินเดียนิยมปักหมุดมาไทยมากที่สุด

Tinder ได้เก็บข้อมูลการใช้งานของสมาชิกอายุระหว่าง 18-25 ปีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ว่านิยมหาคู่ที่จังหวัดอะไร เมืองอะไรมากที่สุด

10 เมืองในไทยที่มีคนปักหมุดเพื่อหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ
  2. ขอนแก่น – กรุงเทพฯ
  3. ปทุมธานี – กรุงเทพฯ
  4. หาดใหญ่ – กรุงเทพฯ
  5. นครราชสีมา – กรุงเทพฯ
  6. นครปฐม – กรุงเทพฯ
  7. พัทยา – กรุงเทพฯ
  8. อุดรธานี – กรุงเทพฯ
  9. ชลบุรี – กรุงเทพฯ
  10. อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่คนไทยปักหมุดหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. โซล เกาหลีใต้
  2. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
  4. โตเกียว ญี่ปุ่น
  5. ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
  6. ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
  7. ไทเป ไต้หวัน
  8. สิงคโปร์
  9. ปารีส ฝรั่งเศส
  10. เซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่ปักหมุดมายังประเทศไทยมากที่สุด

  1. เดลี อินเดีย
  2. สิงคโปร์
  3. เกซอน ฟิลิปปินส์
  4. อิสตันบูล ตุรกี
  5. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  6. จาการ์ตา อินโดนีเซีย
  7. กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
  8. มุมไบ อินเดีย
  9. โฮจิมินห์ เวียดนาม
  10. ปารีส ฝรั่งเศส
]]>
1328494
8 เรื่องน่ารู้ อัปเดตเทรนด์หาคู่ของคน Gen Z ใน Tinder หลังล็อกดาวน์ทำคนปัดมากขึ้น https://positioningmag.com/1327673 Sun, 11 Apr 2021 16:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327673 เปิดพฤติกรรมการหาคู่ของคนชาว Gen Z (อายุระหว่าง 18-25 ปี) ที่เป็นเป็นกลุ่มใหญ่ของ Tinder จากสมาชิกทั่วโลกมากกว่าครึ่งเป็นกลุ่มคน Gen Z ได้กำหนดนิยามและรูปแบบใหม่ของการออกเดตมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่มีผู้ใช้งาน Tinder มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเรียกได้ว่าเป็นทศวรรษใหม่ของการหาคู่

ผู้คนพูดคุยกันมากขึ้นบนทินเดอร์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มคน Gen Z ใช้เวลาสนทนาบนทินเดอร์มากขึ้นกว่าเดิม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการส่งข้อความต่อวันมากขึ้น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และการพูดคุยยาวนานขึ้นกว่า 32%

คน Gen Z ได้เปลี่ยนไปคุยกันทางวิดีโอมากขึ้นโดยผู้ใช้งานเกือบครึ่งบนทินเดอร์ใช้การวิดีโอคอลกับคู่ที่แมตช์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด และ 40% จะใช้วิดีโอคอลเพื่อพูดคุยทำความรู้จักกันต่อไปแม้ว่าการแพร่ระบาดจะจบลงแล้ว การใช้งานและกิจกรรมบนทินเดอร์มียอดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดทั้งปี โดยมีการปัด (Swipe) เพิ่มขึ้น 11% และมีการแมตช์เพิ่มขึ้นถึง 42% ต่อสมาชิกหนึ่งคน

Photo : Shutterstock

กลุ่มคน Gen Z แหกกฎการหาคู่และข้อห้ามเดิมๆ และเปลี่ยนจากการออกเดตแบบค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการทำตัวลื่นไหลไปตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความคาดหวัง (ไม่คิดเยอะ เป็นไงเป็นกัน) แง่ของอารมณ์ (ซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเอง) และแง่ของประสบการณ์ (ทำกิจกรรมที่มีความหมายด้วยกันมากกว่าแค่ละลายพฤติกรรม – นี่คือความโดดเด่นของการออกเดตในยุคดิจิทัล)

สไตล์การหาคู่ของคน Gen Z นั้นมีความย้อนแย้งในตัว กล่าวคือในขณะที่พวกเขาขยายขอบเขตในการหาคู่ให้กว้างขึ้น แต่กลับคว้าคนใกล้ตัวในบริเวณเดียวกันเพื่อออกเดต และในขณะที่พวกเขาใช้เวลาอย่างเร่งรีบไปกับการพาตัวเองออกเดต ก็ไม่ลืมที่จะหาเวลาเล็กๆ น้อยๆ ให้กับโมเมนต์หวานๆ เช่นกัน

8 ท็อปเทรนด์การหาคู่

1. คนหาคู่จะมีความซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

COVID-19 ส่งผลให้หลายคนเห็นภาพ และมุมมองต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ทำให้สมาชิกทินเดอร์ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นมากกว่าเคย ทั้งในเรื่องตัวตน ภาพลักษณ์ และประสบการณ์ส่วนตัว ในช่วงการแพร่ระบาด มีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” และ “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” ในโปรไฟล์เพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” เพิ่มมากขึ้น 31% ส่วนคำว่า “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่า

Photo : Shutterstock
2. การมีขอบเขตในเรื่องต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของขอบเขตความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สมาชิกทินเดอร์ใช้โปรไฟล์ของตัวเองเพื่ออธิบายความคาดหวังของพวกเขาอย่างชัดเจน เช่น การใช้คำว่า “สวมหน้ากากอนามัย” เพิ่มขึ้นสูงถึง 100 เท่าในช่วงที่มีการระบาด

“ขอบเขต” เป็นอีกคำที่ถูกใช้มากขึ้นกว่าเดิม (มากขึ้น 19%) และคำว่า “ความยินยอม” ก็พุ่งสูงขึ้น 11% การกระทำเหล่านี้จะทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับความยินยอมเป็นเรื่องปกติและเกิดความสบายใจมากขึ้น

3. ผู้คนอยากมีความสัมพันธ์แบบ “เป็นไงเป็นกัน” มากขึ้น

ผลสำรวจล่าสุดของสมาชิกทินเดอร์ คนหาคู่จำนวนมากกำลังมองหาความสัมพันธ์แบบ “ไม่ต้องมีคำนิยาม” เพิ่มมากขึ้นเกือบ 50% ดังนั้น การแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงเป็นแรงขับให้คนยุคต่อไปที่กำลังหาคู่ มองหาความสัมพันธ์แบบเปิดที่ไม่ผูกมัดมากกว่าความต้องการที่จะแต่งงาน

4. การออกเดตออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตใหม่

ในยุคที่การพบปะแบบเจอหน้ากันมาพร้อมกับความเสี่ยง คนที่มองหาคู่จึงหันไปหาประสบการณ์เสมือนจริงเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยผลสำรวจล่าสุดของทินเดอร์พบว่า คนที่ลองออกเดตออนไลน์มองว่าการเดตแบบนี้จะมีความรู้สึกกดดันน้อยลงในการศึกษาเพื่อนใหม่ ซึ่งสมาชิกทินเดอร์วัย Gen Z จำนวน 40% กล่าวว่าพวกเขาจะยังคงออกเดตออนไลน์ต่อไป แม้ว่าสถานที่นัดพบในการออกเดตจะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้วก็ตาม

Photo : Shutterstock

5. เดตแรกในอนาคต เน้นการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างสรรค์มากกว่าเดิม

การที่บาร์ และร้านอาหารหลายแห่งปิดให้บริการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานที่ในการออกเดตแรกตามขนบแบบเดิมๆ ไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป ดังนั้นเวลานัดเจอกัน พวกเขาจะเลือกกิจกรรมของเดตแรกที่มีความสร้างสรรค์ มีความเป็นส่วนตัว และมีความสบายๆ มากขึ้นกว่าในอดีต

ดังตัวอย่างที่ทินเดอร์พบในโปรไฟล์ที่มีการใช้คำว่า “กำลังเล่นโรลเลอร์สเก็ต” เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า รวมถึงการระบุว่าอยากให้กิจกรรมของเดตแรกเป็นการก่อสร้างปราสาทด้วยกัน ไปจนถึงการปาหิมะใส่กัน

6. ก้กตัวมานาน การสัมผัสทางร่างกายกลายเป็นสิ่งจำเป็น

ผู้คนใช้โปรไฟล์ของตัวเองในการแสวงหาการแสดงออกถึงความรักใคร่ เช่น การจับมือ อ้อมกอด หรือการที่มีใครบางคนมาลูบไล้ผม โดยมีการใช้คำว่า “อ้อมกอด” เพิ่มขึ้น 23% และคำว่า “จูงมือกัน” สูงขึ้น 22% หลังจากที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมโดยไม่มีการสัมผัสกันทางร่างกายร่วมเดือน

เมื่อได้รับการสัมผัสอีกครั้งจึงทำให้คนที่กำลังหาคู่รู้สึกมีความสุขกับพฤติกรรมนั้นมากขึ้น ดังนั้นแม้ว่าการออกไปพบกันจะกลับไปเป็นเหมือนปกติแล้วก็ตาม แต่การแสดงออกทางกายภาพจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในชีวิตของคนที่ออกเดต

Photo : Shutterstock

7. ปัดขวาไปไกลได้ทั่วโลก แต่เลือกเดตกับคนที่อยู่ใกล้

ผู้คนย้ายที่อยู่ก็จะสมัครใช้งานทินเดอร์เพื่อค้นหาผู้คนใหม่ๆ ที่อยู่ในเมืองนั้นด้วยการระบุว่า “ย้ายบ้านใหม่” ในโปรไฟล์ของตัวเองสูงขึ้น 28% โดยในปี 2563 นอกจากเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้แล้ว ผู้คนยังใช้ทินเดอร์ในการหาเพื่อนใหม่ที่อาศัยอยู่ใกล้กับพวกเขาอีกด้วย

8. เรื่องดีๆ ในแบบ “ซัมเมอร์แห่งรัก” กำลังจะเกิดขึ้น

ข้อมูลในเดือนตุลาคม 2563 บอกกับเราว่า สมาชิกทินเดอร์มากกว่า 40% ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่เคยได้พบกับคู่ที่แมตช์ตัวเป็นๆ แต่โปรไฟล์ของทินเดอร์กลับบอกตรงกันข้าม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การใช้คำว่า “กำลังไปออกเดต” ในโปรไฟล์ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา

Photo : Shutterstock

และแม้ว่าการออกเดตแบบเจอกันตัวเป็นๆ ในปี 2563 จะลดน้อยลงไป (54% ของคนโสดให้ข้อมูลกับ YPulse ว่า “COVID-19 เข้ามาถ่วงเวลาชีวิตรักของพวกเขาให้ดำเนินไปช้ากว่าเดิมมาก”) แต่ถ้าได้รับวัคซีนเมื่อไรพวกเขาก็พร้อมที่จะออกนอกบ้านทันที

คำจำกัดความ: ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากโปรไฟล์บนทินเดอร์หรือการรวบรวมกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแอปพลิเคชันทินเดอร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดึงมาศึกษาตั้งแต่มกราคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2654 ข้อความ คือจำนวนข้อความโดยเฉลี่ยที่ถูกส่งออกโดยสมาชิกหนึ่งคนการอัปเดตโปรไฟล์ คือจำนวนการปรับเปลี่ยนโปรไฟล์หรือข้อมูลส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน WAV/ข้อมูลการสำรวจมาจาก **ข้อมูลอ้างอิงจากการสำรวจสมาชิกทินเดอร์ราว 5,000 คนในสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2563 และระหว่างวันที่ 14-24 สิงหาคม 2563

YPulse Finding Love Post-COVID Trend Report. ข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจคนอายุ 13-39 ปี จำนวน 1 พันคนในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2020

]]>
1327673
กักตัวมันเหงา! คนไทยใช้ Tinder พุ่ง ปัดกันมากขึ้น 28% ช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1291742 Sun, 09 Aug 2020 15:55:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291742 COVID-19 ทำให้แอปพลิเคชันหาเพื่อน หาคู่เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก Tinder พบว่า คนไทยมีการส่งข้อความหากันมากขึ้น 37% และปัดมากขึ้น 28% ในช่วงล็อกดาวน์

COVID-19 ทำให้คนพูดคุยกันมากขึ้น เช่นเดียวกับการกักตัวอยู่บ้านและการผ่านประสบการณ์เหมือนๆ กันก็ทำให้สมาชิกของ Tinder มีเรื่องที่สามารถแชร์กันในโลกออนไลน์ได้มากขึ้น

จากสถิติวันที่ 12 เมษายน ถือเป็นวันที่มีการพูดคุยสูงสุดในประเทศไทย โดยมีการส่งข้อความมากขึ้นถึง 37% เทียบกับตอนช่วงต้นเดือนมีนาคมที่เริ่มทำการล็อกดาวน์ นอกจากนี้สมาชิก Tinder ในประเทศไทยยังมีการส่งข้อความหากันเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย

ช่วงกักตัวและการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้ผู้คนหาวิธีใหม่ๆ ในการทำความรู้จักกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการปัดซ้ายปัดขวาเพื่อพบปะผู้คนบนโลกออนไลน์ผ่าน Tinder โดยในประเทศไทยมีการปัดเพิ่มขึ้นมากถึง 28% ในช่วงกักตัว นอกจากนี้สถานการณ์ COVID-19 ยังทำให้สมาชิกมีโอกาสเปิดบทสนทนาใหม่ๆ บน Tinder เกี่ยวกับประสบการณ์และความสนใจที่มีร่วมกัน

โดย Tinder มี 2 ฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาช่วยเปิดโอกาสในแมตช์กับผู้คนใหม่ๆ ได้มากขึ้น

  • ฟีเจอร์ช่วยเริ่มต้นบทสนทนา หรือ Prompts ที่เป็นฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดในแอป Tinder โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยให้สมาชิกได้ตอบคำถามต่างๆ เพื่อเป็นการอธิบายตัวตนที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้คู่แมตช์ของคุณได้เริ่มเปิดบทสทนาใหม่ๆ ผ่านคำถามบนหน้าโปรไฟล์ เช่น เธอดูซีรีส์ It’s Okay to Not Be Okay รึยัง? เธอมีไอเดียเจ๋งๆ สำหรับเดทของเราในเกม Animal Crossing มั้ย?
  • หาความสนใจร่วมกัน : ฟีเจอร์ใหม่ของ Tinder จะช่วยให้คุณใส่ความสนใจในหน้าโปรไฟล์เพื่อช่วยในการหาคู่แมตช์ที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสายกิน สายเที่ยว สายปาร์ตี้ โดยฟีเจอร์นี้จะเพิ่มความสนใจไปในหน้าโปรไฟล์ให้คู่แมตช์ของคุณหาคุณพบได้ง่ายขึ้น
]]>
1291742
แค่หม้อไม่พอ! Penguin Eat Shabu จัดชุดชาบูแถมหม้อ พร้อม Tinder! กักตัวแบบไม่เหงา https://positioningmag.com/1273823 Thu, 16 Apr 2020 14:31:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273823 การขายยุค COVID-19 ต้องมีจุดขายที่แปลกใหม่เพิ่มมากขึ้น Penguin Eat Shabu เลยจัดโปรโมชั่นซื้อชุดชาบู แถมหม้อต้มสุกี้ไปกินพร้อมกัน อีกทั้งล่าสุดยังเพิ่มความว้าวด้วยการแถม Tinder แบบฟรีๆ 1 เดือน ทานชาบูอยู่บ้านแบบไม่เหงา

ยุคที่ชาบูต้องแถมทั้งหม้อ ทั้ง Tinder!

หลังจากมาตรการล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิวในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ร้านอาหารต้องหยุดให้บริการรูปแบบทานในร้าน ปรับตัวเป็นแบบเดลิเวอรี่ และ Take Away ทั้งหมด เรียกว่าสร้างผลกระทบไปทุกธุรกิจ

ร้านอาหารในรูปแบบร้านชาบู ปิ้งย่าง หรือร้านที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการนั่งทานในร้านดูเหมือนจะเจ็บหนัก เพราะเมนูหลักไม่ได้เอื้อต่อการเดลิเวอรี่เท่าไหร่นัก เป็นอาหารที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ หม้อต้ม หรือกระทะสำหรับย่าง บางร้านก็มีการปรับกลยุทธ์ในการขายวัตถุดิบบ้าง หรือขายอาหารจานเดียวบ้าง

แต่ Penguin Eat Shabu ได้แหวกกฎการขายด้วยการขายชาบูแถมหม้อสุกี้ มีทั้งราคา 777 บาท และ 999 บาท มีทั้งหม้อสุกี้แบบใหญ่ และหม้อสุกี้แบบต้มคนเดียว เรียกว่าสามารถสร้างความน่าสนใจได้พอสมควร เข้ามาอุด Pain Point เรื่องอุปกรณ์การทานชาบูอยู่บ้านไปได้

หลังจากที่ได้ปล่อยเซ็ตซื้อชาบูแถมหม้อไปครั้งแรก ก็พบว่าได้รับการตอบรับดี มีคนสั่งซื้อจนของหมด ระบบล่ม ทางร้านจึงจัดโปรโมชั่นอีกรอบ แต่ครั้งนี้สร้างเสียงอือฮาอีกครั้งด้วยการแถม Tinder+ เพิ่มขึ้นไปอีก เรียกว่าเป็น “ชุดชาบูกระชากความโสด”

Tinder เป็นแอปพลิเคชันหาเพื่อน หาคู่ ตอนนี้ได้มีฟีเจอร์ที่สามารถปลดล็อกปักหมุดไปทั่วโลกได้ มีมูลค่า 300 บาท ให้ใช้บริการฟรี 1 เดือน

นอกจาก Penguin Eat Shabu จะเข้ามาอุด Pain Point เรื่องหม้อชาบู ให้สามารถทานชาบูอยู่บ้านกันได้แล้ว ยังรู้ใจชาวเน็ตคนไทยในช่วงกัดตัวยุค COVID-19 ที่มีความเหงา บางคนก็อยู่เป็นคนโสด ทานชาบูตัวคนเดียว เพราะต้องมีมาตรการ Social Distancing อยู่

ทางร้านได้ปิดท้ายว่า “กวิ้นยอมขาดทุน เพื่อให้คุณได้มีคู่ แล้วเผื่อจะจูงมากินชาบูร้านกวิ้นบ้าง” เป็นไปได้ว่าถ้าลูกค้าได้แฟนจากการทานชาบูในครั้งนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่ดีไม่น้อย…

]]>
1273823