ทีมอาสา “เราช่วยกัน” – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Jul 2021 01:11:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เช็กจุดตรวจ COVID-19 ใกล้คุณ ในเว็บ crowdsourcing จากทีมอาสา “เราช่วยกัน” https://positioningmag.com/1343594 Wed, 21 Jul 2021 14:47:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343594 กังวลว่าอาจติดเชื้อโรค COVID-19 แต่ไม่รู้ว่ามีจุดตรวจที่ไหนบ้าง? ทีมอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งลงมือพัฒนาเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเองแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถเช็กจุดตรวจใกล้ตัวหรือเลือกหาตามพื้นที่ได้ที่เว็บไซต์ https://wheretotestcovid19.com/

ขณะนี้เว็บ wheretotestcovid19.com รวมจุดตรวจไว้ทั้งหมด 61 จุดเฉพาะในกรุงเทพฯ มีทั้งจุดตรวจฟรีและโรงพยาบาล/แล็บที่มีค่าใช้จ่าย ทั้งหมดรวบรวมโดยทีมอาสาสมัคร ส่วนข้อมูลของพื้นที่ปริมณฑลจะพร้อมขึ้นสู่เว็บไซต์ในสัปดาห์หน้า

ลักษณะเว็บไซต์นี้ตั้งใจให้เป็นระบบกึ่ง crowdsourcing โดยข้อมูลต้นทางว่ามีจุดตรวจที่ไหนบ้าง จะถูกรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลโดยทีมอาสาสมัครเพื่อความถูกต้อง แต่การอัปเดตข้อมูลการเปิดปิดรับคิวแต่ละวัน เบอร์โทรศัพท์ หรือความคิดเห็นอื่นๆ เกี่ยวกับจุดตรวจ มีการเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปร่วมส่งข้อมูลได้

หลังจากผ่านเฟสปริมณฑลไปแล้ว ทีมจะเริ่มรับอาสาสมัครในต่างจังหวัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยส่งข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลในท้องถิ่น

จุดตรวจโควิดเว็บไซต์นี้เกิดขึ้นจากฝีมืออาสาสมัคร 6 คนจากเพจ “เราช่วยกัน” ที่เห็นปัญหาการหาจุดตรวจ COVID-19 ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมากแต่ไม่ถูกจัดระบบ โดยอิงวิการวบรวมทีมคือ ปิยนิตย์, อังศนา, พรหมพัฒน์, กนกพรรณ, อิสราภรณ์ และเพื่อนๆ อีกหลายคน ใช้ความเชี่ยวชาญเป็น web developer, UX/UI, กราฟิก ดีไซเนอร์, ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ใช้เวลานอกเวลางานประจำ 10 วัน พัฒนาเป็นเว็บไซต์สำเร็จ

“เราเข้ามาทำเพราะดูข่าวทุกวันแล้วเสียใจ บางคนเสียชีวิตทั้งที่ยังไม่ได้ตรวจด้วยซ้ำ เลยอยากลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเรื่องนี้” อิงวิกากล่าว ทั้งนี้ ทีมพร้อมเปิดรับดาต้าโดยตรงจากหน่วยงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ซึ่งจะทำให้งานรวดเร็วขึ้นและถูกต้องแน่นอน

ข้อมูลการเปิดปิดจุดตรวจ COVID-19 มีความเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐหมุนเวียนจุดตรวจชั่วคราวไปในแต่ละสัปดาห์ รวมถึงจุดตรวจถาวรอย่างรพ. หรือแล็บก็อาจจะมีช่วงที่ปิดชั่วคราว ไปจนถึงเกณฑ์การรับตรวจที่ต่างกัน เช่น รับตรวจอายุ 15-60 ปี, จองคิวแบบ walk-in, จองคิวแบบออนไลน์, รับเฉพาะผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ฯลฯ ดังนั้น การรวมข้อมูลไว้ในถังเดียวที่ใช้ crowdsourcing อัปเดตข้อมูลรายวันเช่นนี้ น่าจะช่วยลดเวลาการหาข้อมูลของประชาชน และทำให้เห็นทางเลือกได้กว้างขึ้น

]]>
1343594