ธุรกิจเพื่อสังคม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 10 Apr 2023 03:14:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SX Talk Series #1 จับมือ Win Win WAR Thailand จัดเสวนาพิเศษกับ 3 กูรู ด้าน SE เปลี่ยนไอเดียธุรกิจในฝันให้เกิดขึ้นจริง https://positioningmag.com/1426692 Fri, 07 Apr 2023 04:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426692

SX ร่วมกับ รายการ Win Win WAR Thailand จัดเสวนาพิเศษ SX Talk Series “Exploring the Impact of Social Enterprises: From Local to Global” เวทีเสวนาที่เป็นมากกว่าการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ แต่สนับสนุนการลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง ประเดิมหัวข้อการเสวนาแรกด้วยการเปลี่ยนไอเดียในฝันให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม เรียนรู้เทคนิคการทำธุรกิจที่ได้กำไร และสร้างอิมแพคต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กับ 3 กูรู ด้านธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ได้แก่ คุณพีรดา ปฏิทัศน์ ประธานแนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี คุณภาณุพงศ์ ธนารักษ์วุฒิกร กรรมการผู้จัดการ ATTRA GROUP – software, hardware IoT house และ คุณทลปภร ปัญโยรินทร์ General Manager SE Thailand ณ C asean Samyarn CO-OP ชั้น 2 สามย่านมิตรทาวน์

คุณพีรดา ปฏิทัศน์ ประธานแนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี เล่าว่า เดิมตนเองทำงานในด้านไอทีและไม่ได้เรียนจบมาในด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่วันหนึ่งได้มองเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องขยะ จึงจุดประกายให้ตนเองอยากเข้าไปแก้ไขปัญหานี้ “จากปัญหาขยะล้นโลก จึงเกิดความคิดนำเศษขยะพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้และไม่ได้แยกขยะอย่างเหมาะสม มาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำมันเบนซินและดีเซลตอนแรกเราไม่ได้คิดว่าจะทำเป็นธุรกิจในรูปแบบของ Social Enterprise (SE) เพียงมีความตั้งใจที่อยากเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงไม่ได้วางแผน Business Model ให้ชัดเจน ทำให้เมื่อโครงการเดินหน้าไปสักพักก็ต้องพบปัญหาเรื่องเงินทุนจึงเกิดความคิดอยากเลิกทำ แต่กลับมีคนที่เชื่อมั่นและเชื่อใจเราว่าการจัดการปัญหาขยะจะสร้างอิมแพคให้กับสังคมได้ เราสามารถระดมเงินจำนวน 1.6 ล้านบาทได้ภายใน 3 วัน แรงสนับสนุนที่เกิดขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันให้เราคิดหาทางออกเพื่อฝ่าฟันไปให้ได้และอยากเดินหน้าต่อ และกลับมาคิดว่าเราจะเปลี่ยนแผนงานอย่างไรเพื่อให้เกิดวงจรรายได้ในธุรกิจ เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมและตัวเราด้วย จึงเป็นที่มาของการทำธุรกิจในรูปแบบของ SE”

คุณพีรดา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในการทำธุรกิจย่อมเจอปัญหามากมายโดยเฉพาะการทำธุรกิจเพื่อสังคม ความพร้อมและความตั้งใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เรามีแรงเดินหน้าต่อ ไม่ย่อท้อไปก่อนเมื่อเจออุปสรรค การจะนำพาธุรกิจจาก Local ไปสู่ Global ส่วนตัวพี่ก็มองว่าไม่ใช่เรื่องยากเพราะสิ่งที่เป็นปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดแค่ในประเทศเราเท่านั้น แต่เราต้องสร้างโปรไฟล์ธุรกิจให้ดี ถ้ามีโอกาสก็ลองไปตามเวทีประกวดต่าง ๆ เพื่อหาประสบการณ์ ยกระดับธุรกิจเราขึ้นไปขั้น เชื่อว่าถ้าเราคิดและมีความมุ่งมั่นที่จะทำ มีใจที่หนักแน่น เราจะก้าวผ่านอุปสรรคและประสบความสำเร็จค่ะ”

ด้าน คุณภาณุพงศ์ ธนารักษ์วุฒิกร กรรมการผู้จัดการ ATTRA GROUP ได้แบ่งปันความรู้ในฐานะสตาร์ทอัพว่า “ในฐานะคนทำธุรกิจที่ต้องการทรานส์ฟอร์มตัวเองเป็น Social enterprise เพื่อสร้างอิมแพคในสังคมนั้น สำหรับบริษัท ATTRA เริ่มแรกเราเป็นบริษัทด้าน Creative Innovation Company ที่คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าทั้งด้าน Software , Hardware และ IoT ในมุมของการเป็น SE ผมมองว่าเรามีความพร้อมที่จะทรานส์ฟอร์มตัวเองให้กลายเป็น Holding Company เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อสร้างอิมแพคให้สังคม ส่วนตัวผมเริ่มจากการเป็นเด็กสายประกวดตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเวทีต่าง ๆ มากมาย ทั้งเวทีสตาร์ทอัพ เวที SME และเวทีนวัตกรรม ผมเริ่มทำธุรกิจตอนอายุ 17 และเริ่มตั้งบริษัทนี้ตอนอายุ 20 ซึ่งเงินทุนก็มาจากการแข่งขันในเวทีต่าง ๆ แล้วได้รางวัล ผมจึงมองว่าการประกวด การทำกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้ผมได้รับโอกาสมากมายในชีวิตที่สามารถนำมาต่อยอดทำธุรกิจในวันนี้ได้

“สำหรับคนที่กำลังจะลงมือทำธุรกิจให้คิดไว้ก่อนเลยว่าเราคือนักแก้ปัญหา อย่าง SE ก็เป็นธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของปัญหาเวลาเจออุปสรรคมันจะพิสูจน์ว่าตัวตนของเราคือนักแก้ไขปัญหาได้ระดับไหน ความรู้ความสามารถเป็นสิ่งสำคัญแต่ผมเชื่อว่าเราสามารถเรียนรู้ในระหว่างทางที่เดินไปได้ ซึ่งผมเชื่อในเส้นทางที่ผมเลือกและยอมทุ่มเทไปกับสิ่งนั้นครับ” คุณภาณุพงศ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วย คุณทลปภร ปัญโยรินทร์ General Manager SE Thailand ได้บอกเล่าถึงเคล็ดลับในการเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อสังคมว่า “กระดูกสันหลังของธุรกิจเพื่อสังคมจริง ๆ มี 4 ข้อ ได้แก่ 1. มีความชัดเจนว่าต้องการแก้ไขปัญหาสังคมเรื่องใด 2. มีการวางแผน Business Model 3. มีสินค้าและบริการที่จะทำให้องค์กรมีรายได้เข้ามาอย่างยั่งยืนเพื่อนำรายได้นั้นไปแก้ปัญหาและสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม และ 4. สามารถวัดผลทางสังคมได้ว่าธุรกิจ SE นั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร มีการพัฒนาที่ดีขึ้นหรือไม่ และดีที่สุดควรจัดตั้งองค์กรในรูปแบบนิติบุคคลเพื่อการจัดการที่โปร่งใสเป็นระบบ”

คุณทลปภร กล่าวต่อว่า “ในฐานะของ SE Thailand ที่เป็นเพื่อนคู่คิดของกลุ่ม SE ในประเทศไทย อุปสรรคที่คนทำธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยมักพบเจอมี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. เน้นสร้างผลลัพธ์ทางสังคม แต่ Business Model ไม่แข็งแรง 2. Business Model แข็งแรง แต่ไม่ได้เป็นธุรกิจ SE ที่แท้จริง ขอให้ทุกคนจำไว้เสมอว่า SE มี 2 ด้าน คือ เราต้องสร้างอิมแพคทางสังคมและธุรกิจอยู่รอด อย่าเน้นด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเดินไปคู่กัน ซึ่ง SE Thailand พร้อมจะเป็นเพื่อนคู่คิดของ SE ทุกคน เรายินดีสนับสนุนธุรกิจการเติบโตของธุรกิจ SE ทั้งในระดับประเทศและระดับ Global วันนี้ขึ้นอยู่กับทุกคนว่าทำให้ SE สร้างประโยชน์เพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศของเราอย่างไร เมื่อเราสามารถสร้างธุรกิจของเราได้ดีแล้ว มีการสื่อสารที่ชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการของเราจะช่วยแก้ปัญหาสังคมเรื่องใด คนที่อยากร่วมลงทุนหรือสนับสนุนเรา ก็จะเดินเข้ามาหาเราเอง”

สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมของ SX ได้ทาง www.sustainabilityexpo.com และ Facebook : Sustainability Expo

]]>
1426692
GPSC Young Social Innovator : ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ จากนวัตกรรมสู่ธุรกิจเพื่อสังคม https://positioningmag.com/1413387 Fri, 23 Dec 2022 04:30:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413387

ในวันนี้ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ จากนวัตกรรมสู่ธุรกิจเพื่อสังคม แบรนด์ “NUALLAOR” จากบริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จของเยาวชนภายใต้โครงการ GPSC Young Social Innovator เป็นโครงการที่ GPSC ได้เปิดโอกาสให้เยาวชน ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ ที่มุ่งแก้ปัญหา สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และสามารถเป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง สามารถต่อยอดสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด โดยมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรเพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต ถือกำเนิดขึ้นจาก Co-founder เยาวชน 3 คน ในโครงการ YSI  ได้นำนวัตกรรมสารสกัดจากเห็ดเยื่อไผ่ สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เซรั่มบำรุงผิวที่เหมาะกับทุกสภาพผิวของคนไทย ผ่านการวิจัยและได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับอาเซียน นับเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ของเยาวชนในโครงการ YSI ภายใต้การสนับสนุนของ GPSC


ติดตามเส้นทางความสำเร็จของ “NUALLAOR” ผลิตภัณฑ์จาก บริษัทกลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด

คุณณัชชา จองมูลสุข เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-Founder บริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLOR กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ กับความสำเร็จในการส่งผลิตภัณฑ์ตัวแรกออกสู่ตลาด ไว้ว่า “จากเมื่อก่อนที่เราทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกเยื่อไผ่เอง ขูดวุ้นเอง เอามาต้มเอง กวนเอง ทำเป็นเซรั่ม จนกระทั่งเจอ YSI แล้วได้เข้าร่วมทำเซรั่ม ที่ทำในห้องแลป ที่ปลอดเชื้อ ได้เห็นกระบวนการทางอุตสาหกรรม และพัฒนาสูตรมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน”

“เป้าหมายในอนาคตเรา เราต้องการที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นไปอีก แต่ไม่ได้มองแค่เรื่องธุรกิจเท่านั้น เรายังมองถึงการนำความรู้ ความเข้าใจ ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิตเห็ดเยื่อไผ่ของเราเข้าสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนเพาะเห็ดเยื่อไผ่และส่งออก เป็นการสร้างรายได้ ที่อย่างยืนได้” คุณญาณวรุฒม์ สุวรรณแพร่ เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-founder บริษัทกลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLAOR กล่าว


GPSC มีส่วนช่วยสนับสนุนอย่างไร

คุณณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เยาวชนในโครงการ YSI ทีมนี้เป็นทีมที่มีศักยภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้

“เราได้รับความร่วมมือที่ดีจาก สวทช. ให้เข้ามาพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดย GPSC ได้สนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้ความชาวเหลือในการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.  GPSC เป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการทำการตลาดของผลิตภัณฑ์ ทำให้น้องๆ สามารถกลับไปพัฒนา บริษัทตัวเองและนำไปสู่ธุรกิจ Startup ต่อไปได้” คุณณรงค์ชัย กล่าว

ผลิตภัณฑ์ Bamboo Mushroom Intensive Moisturizing  Serum หรือผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ ได้นักวิจัยเครื่องสำอางมืออาชีพ จากโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. มาช่วยพัฒนาสูตรตำรับให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


จุดเด่นและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์

คุณสักรินทร์ ดูอามัน เจ้าหน้าที่พัฒนาสูตรแม่บท โรงงานต้นแบบผลิตภัณฑ์อนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. เปิดเผยว่า ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับน้องๆ ในโครงการนี้ โดยคัดเลือกสารสกัดให้เหมาะกับสภาพผิวของคนไทย

“เราจะเห็นว่าสภาพผิวคนส่วนใหญ่จะแห้งกร้านมาก ดังนั้นเซรั่มตัวนี้จึงออกแบบมาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่สภาพผิว โดยเติมสาร Natural Moisturizing Factor เข้าไปและเพิ่มเติมโดย Sodium Hyaluronate ใช้ทั้งหมด ขนาด 3 โมเลกุล ที่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บน้ำ และล็อคความชุ่มชื้นให้ผิวอิ่มฟู โดยนำมาหาอัตราส่วนที่เหมาะกับทุกสภาพผิว และเลือกเซรามาย 3 โมเลกุลออกแบบพิเศษ สามารถกระจายตัวในชั้นของน้ำได้ดี เติมลงไปทำให้เทคเจอร์ของเซรั่มตัวนี้ มีความใสแต่สามารถมอบความชุ่มชื้นให้กับผิวได้” คุณสักรินทร์ กล่าว

ในขั้นตอนการผลิตนั้น โรงงานที่ผลิตอยู่ภายใต้มาตรฐานเทคโนโลยี Asean GMP Cosmetics ซึ่งในขั้นตอนการผลิต ได้ทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ ทดสอบความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้นการผลักดันต่อยอดนวัตกรรมสารสกัดจากเห็ดเยื่อไผ่สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทำให้น้องๆ ได้พัฒนาตนเอง และเรียนรู้สู่การเป็น Startup อย่างเต็มตัว


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ YSI รุ่นที่ 4

คุณรุ่งทิพย์ ถาโน เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-founder บริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLAOR กล่าวไว้ว่า “การเข้าร่วมในโครงการ YSI จะต้องนำผลิตภัณฑ์ส่งเข้าประกวด และต้องเตรียมตัวกันอย่างเข้มข้น โดยทั้ง 3 คน อ่านหนังสือ และศึกษาเยอะมาก มีความตั้งใจมากในการทำโครงการนี้”

“คณะกรรมการให้คำแนะนำมาเยอะมากๆ ก็มาพิจารณาดูว่าอันไหนที่ทำได้ และอันไหนที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ เราได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้ตัวเรามีความรู้สึกภูมิใจ และดีใจ ที่ประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้ ส่วนต่อไป เราก็จะออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ของเราเอง มีการวางแผนการตลาด และวางแผนโมเดลธุรกิจ ส่งเอกสารการจดทะเบียนอย.กันเอง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ยากเช่นกัน ต้องพยายามและหาข้อมูลกันเยอะ” คุณรุ่งทิพย์ กล่าว


ติดตามข่าวสารและสั่งซื้อสินค้าได้ที่

Facebook : Nuallaor Official

Twitter : @Nuallaor_of

Instagram : @nuallaor_official

#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #GPSCYoungSocialInnovator #NUALLAOR #bamboomushroom #สวทช.

 

]]>
1413387
เรียนรู้โมเดล “ธรรมธุรกิจ” แก้โจทย์เกษตรกรรมไทย “วิน-วิน” ทั้งคนปลูก-คนกิน สู่กิจการที่ยั่งยืน https://positioningmag.com/1373810 Fri, 18 Feb 2022 04:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373810

เกษตรกรไทยขายผลผลิตไม่ได้ราคา สารเคมีที่ตกค้างกระทบทั้งคนปลูก-คนกิน “ธรรมธุรกิจ” เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้และอาสาเข้ามาเป็นตัวกลางในการส่งเสริม “กสิกรรมธรรมชาติ” ต่อจิ๊กซอว์ตามหลัก “ทฤษฎีบันได 9 ขั้น” เชื่อมต่อสินค้าส่วนเหลือนำมาจำหน่ายในราคายุติธรรมแก่คนเมือง โดยมีการเปิดระดมทุนให้ทุกคนเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน จากโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมนี้ทำให้ธรรมธุรกิจได้รับรางวัลพิเศษ องค์กรที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณค่าแก่สังคม จากเวที Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 17

“ผมเคยทำโรงสีข้าวที่ จ.ฉะเชิงเทรา ทำให้ได้รู้ว่าการแก้ไขปัญหากลไกราคาข้าวแบบ ‘วิถีคนรวย’ นั้นทำไม่ได้” พิเชษฐ โตนิติวงศ์ ‘ผู้จัดการไปทั่ว’ บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นลงมือก่อตั้งกิจการเพื่อสังคมแห่งนี้

การแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาแบบที่เราเคยเห็นคือการใช้เงินเข้าไปอุดหนุน โดยโรงสีข้าวศิริภิญโญก็เคยเป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรช่วยชาวนาในรูปแบบนี้มาก่อน แต่วิถีเช่นนี้ไม่ยั่งยืน และทำให้โรงสีข้าวเองต้องขาดทุนไปด้วย

มาจนถึงปี 2556 พิเชษฐค้นพบแนวทางที่ยั่งยืนกว่า จากการเข้าอบรมกับ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และต่อมาเป็นประธานที่ปรึกษาธรรมธุรกิจ และ โจน จันใด (อาจารย์โจน) นักเก็บเมล็ดพันธุ์ แห่งสวนพันพรรณ จ.เชียงใหม่

แปลงนาลุงล้วน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ หนึ่งในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

อาจารย์ยักษ์และอาจารย์โจนเป็นผู้สอนวิถีการทำ “กสิกรรมธรรมชาติ” ทำเกษตรปลอดสารพิษ และ “ทฤษฎีบันได 9 ขั้น” ศาสตร์พระราชาที่มีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน คือให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้โดยไม่ใช้เงิน ทำเกษตรผสมผสาน ในนาข้าวมีกุ้งหอยปูปลา ปลูกผักหัวนา เลี้ยงไก่ไข่ ต่อด้วยเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือเมื่อมีสินค้าเกษตรเหลือจากที่พอกินและเก็บไว้ทำพันธุ์แล้วก็สามารถขายได้

พิเชษฐได้แรงบันดาลใจจากแนวทางนี้ จึงนำเสนอชักชวนกลุ่มชาวนาที่เคยช่วยเหลือกันมาให้มาลองอบรม และลองทำกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งต่อมาปรากฏว่าการทำเกษตรแนวทางนี้สามารถปฏิบัติได้จริง และเมื่อถึงปี 2559 ก็เริ่มมีสินค้าเกษตรเหลือพอให้ “ธรรมธุรกิจ” เริ่มเครือข่ายจำหน่ายสู่คนเมือง


“กินอย่างรู้ที่มา ในราคาที่เป็นธรรม”

สโลแกนของธรรมธุรกิจข้างต้นนั้นบอกชัดถึงแนวทางนำเสนอต่อผู้บริโภค เพราะสิ่งสำคัญของสินค้าจากเครือข่ายเกษตรกรคือมี “แหล่งปลูกปลอดสารพิษ” และสามารถสืบย้อนได้ว่าสิ่งที่ผู้บริโภครับประทานนั้นมาจากไหน ขณะเดียวกัน ธรรมธุรกิจจะจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม จ่ายให้กับเกษตรกรอย่างเป็นธรรม มีกำไรอย่างพอเพียงเพื่อให้หล่อเลี้ยงบริษัทได้

ปัจจุบันธรรมธุรกิจมีเครือข่ายเกษตรกรกว่า 200 รายใน 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ ยโสธร บุรีรัมย์ และ ชุมพร

ตัวอย่างสินค้าที่จำหน่ายผ่านธรรมธุรกิจ

สินค้าที่มีจำหน่ายประจำ เช่น ข้าวกล้องสันป่าตอง ข้าวหอมมะลิธรรมชาติ และจะมีพืชผักหัวคันนาหมุนเวียนเข้ามา เช่น ผักพื้นบ้าน มะละกอ กล้วย ฟัก แตงไทย แตงโม เป็นต้น นอกจากนี้จะมี ไข่ไก่ และ อาหารทะเล จากประมงพื้นบ้าน จ.ชุมพร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของเกษตรกร เช่น น้ำมันมะพร้าว สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน ฯลฯ

การทำตลาดและจำหน่ายของธรรมธุรกิจ อาศัยช่องทางหลักคือการขายออนไลน์ และมีหน้าร้าน ได้แก่

  • ตลาดนัดธรรมชาติ ถ.พระราม 9 ซอย 17 เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์
  • รถพุ่มพวง จำนวน 2 คัน วิ่งรถทุกวันพุธ พฤหัสบดี และเสาร์-อาทิตย์ โดยลูกค้าต้องนัดเข้ามาก่อน และรถจะนำสินค้าไปให้เลือกถึงบ้าน
  • ร้านยักษ์ กะ โจน เป็นร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากศิษย์ยักษ์ กะ โจน และเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขายสินค้าในตัว โดยมี 4 สาขา คือ ชุมพรคาบาน่า, ถ.บรรทัดทอง, หมู่บ้านสัมมากร ถ.รามคำแหง และ ถ.พระราม 2 (โรงเรียนรุ่งอรุณ)

โดยปี 2564 ธรรมธุรกิจสามารถสร้างยอดขายได้แล้ว 37 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 4 ล้านบาท แม้ว่าจะยังไม่ทำกำไร แต่พิเชษฐมองว่าโมเดลธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับ ‘Economy of Scale’ นั่นคือเมื่อใดที่มีดีมานด์สูงพอจนทำให้การขนส่งแต่ละรอบคุ้มค่ายิ่งขึ้น ก็จะทำให้บริษัทถึงจุดคุ้มทุนและลดราคาขายลงได้


ยึดแนวทาง “สหกรณ์” ในญี่ปุ่น

ด้านการหาแหล่งเงินทุนของธรรมธุรกิจ ใช้วิธีระดมทุนจากผู้ที่สนใจ สามารถซื้อหุ้นบริษัทได้ในราคาหุ้นละ 101 บาท ไม่จำกัดจำนวนหุ้น ขณะนี้มีผู้ถือหุ้นแล้วกว่า 15,000 คน คิดเป็นจำนวน 1.5 ล้านหุ้น สะท้อนถึงจำนวนเครือข่ายผู้ที่เข้าใจและต้องการสนับสนุน

“สิ่งที่ผู้ถือหุ้นจะได้ ขั้นแรกคือได้บุญก่อน เพราะเขาจะมีส่วนช่วยให้บริษัททำโมเดลธุรกิจนี้ได้สำเร็จ และจะทำให้เกษตรไทยเปลี่ยนแปลง” พิเชษฐกล่าว “เราอยากให้ผู้บริโภคได้มาเรียนรู้และเข้ามาถือหุ้นด้วยตนเอง เพื่อให้เป็นโมเดลสหกรณ์ผู้บริโภคแบบญี่ปุ่น แบบเกาหลีใต้ เกิดระบบนิเวศของเกษตรกรกับผู้บริโภค และเมื่อมีกำไรผู้ถือหุ้นก็จะได้เงินปันผล”

ในแง่ของการระดมทุน ธรรมธุรกิจมีมติผู้ถือหุ้นเมื่อปี 2563 มีเป้าหมายขายหุ้นเพิ่มทุนเป็น 3 ล้านหุ้น จึงยังต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อจะขยายเครือข่ายต่อไป


มุ่งเป้าเปิด “ยักษ์ กะ โจน” ทุกอำเภอ

ความฝันขั้นต่อไปของธรรมธุรกิจ คือการขยายเครือข่ายทั่วประเทศด้วยโมเดลร้าน“ยักษ์ กะ โจน”โดยพิเชษฐมองว่าควรจะมีทุกอำเภอในไทย เพื่อให้มีสถานที่รองรับสินค้าท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ต้องการจะขยายให้ถึง 10 สาขา ครอบคลุมทุกหัวมุมเมือง

ตัวอย่างเมนูที่ร้านยักษ์ กะ โจน: ปลาสีกุนย่างเกลือ

แต่ไม่ใช่ว่าธรรมธุรกิจจะลงทุน 100% ทุกแห่ง โมเดลที่วางไว้คือ ธรรมธุรกิจจะถือหุ้นสาขาใหม่ขั้นต่ำ 30% ส่วนที่เหลือไม่เกิน 70% เป็นกลุ่มนักลงทุนที่เข้าใจ มีเจตนารมณ์ตรงกันในการทำธุรกิจเพื่อสังคม และพร้อมบริหารร้านสาขา แต่ละสาขาจึงจะมีการ Joint Venture (JV) กับนักลงทุนต่างกลุ่มกัน

การเพิ่มจุดจำหน่ายเหล่านี้จะเดินไปพร้อมๆ กับการทำการตลาดให้ผู้บริโภครู้จักและอุดหนุนกันมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดดีมานด์คุ้มค่าการขนส่งดังกล่าว ซึ่งการทำตลาดกับผู้บริโภคนี่เองที่พิเชษฐมองว่า ‘ยากที่สุด’

“ผู้บริโภคคือโจทย์ที่ยากที่สุด เพราะเขายังไม่ค่อยสนใจที่มาที่ไปของอาหาร ยังไม่รู้ว่าตนเองป่วยเพราะอาหารที่รับประทาน ยังไม่ทราบว่าคำว่า ‘ออร์แกนิค’ คืออะไรกันแน่ หรือยังติดภาพว่าอาหารออร์แกนิคต้องราคาแพง” พิเชษฐกล่าวถึงโจทย์ที่ยังต้องทำความเข้าใจกันต่อ

จากโมเดลธุรกิจที่คิดเพื่อแก้ปัญหาให้สังคม ทำให้ธรรมธุรกิจได้รับ รางวัลพิเศษ องค์กรที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณค่าแก่สังคม (Social Value Creation) จากเวที Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 17 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลพิเศษบนเวทีนี้

รางวัล Bai Po Business Awards by Sasin นี้ถือเป็นกำลังใจให้คนทำงานกว่าร้อยคนของเรา แม้ว่าวันนี้เรายังไม่มีกำไร แต่มีผู้ที่เห็นคุณค่าว่าเราทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร และเราจะยึดมั่นการสร้างคุณค่ากับสังคมต่อไปตามแนวทางของรางวัลที่เราได้รับ” พิเชษฐกล่าว “9 ปีแรกของเรา เราเข้าไปปักฐานในกลุ่มเกษตรกรได้แล้ว เราวางระบบโลจิสติกส์ ระบบงาน ระบบคน ในช่วงทศวรรษที่ 2 ของเราจะทำให้ธุรกิจนี้สเกลในกลุ่มผู้บริโภคให้ได้”

]]>
1373810