นอร์เวย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Nov 2024 10:58:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บริษัทเอกชน ‘ญี่ปุ่น’ เร่งผลักดันทำ ‘ฟาร์มแซลมอนบก’ หวังลดการพึ่งพา ‘นอร์เวย์’ ที่พื้นที่ทำฟาร์มเริ่มจำกัด https://positioningmag.com/1497440 Mon, 04 Nov 2024 15:57:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1497440 ถ้าพูดถึง อาหารญี่ปุ่น หนึ่งในวัตถุดิบที่หลายคนจะนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ปลาแซลมอน เมื่อความนิยมในการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ ปลาแซลมอนตามธรรมชาติก็ไม่เพียงพออีกต่อไป นำมาสู่การทำฟาร์มเพาะเลี้ยง แต่ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดอย่าง นอร์เวย์ ก็อาจผลิตได้มากกว่านี้ไม่ได้แล้ว

นอร์เวย์ ถือเป็นประเทศผู้ผลิต ปลาแซลมอน รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยสามารถผลิตได้ราว ๆ 1.3 ล้านเมตริกตันต่อปี และแน่นอนว่าประเทศ ญี่ปุ่น เจ้าของเมนูซูชิและซาซิมิก็ต้องมีการนำเข้ามาบริโภค แต่เนื่องจากกำลังการผลิตที่ใกล้แตะจุดสูงสุด เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะในการทำฟาร์มเริ่มถึงขีดจำกัด 

ส่งผลให้บริษัทเอกชนรายใหญ่อย่าง มารูเบนิ คอร์ปอเรชั่น (Marubeni Corp) เป็นบริษัทการค้าที่มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงพลังงาน, เคมีภัณฑ์, อาหารและการเกษตร, และสินค้าอุตสาหกรรม ได้ผลักดันให้มีการทำ ฟาร์มปลาแซลมอนบนบก เพื่อลดการพึ่งพานอร์เวย์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของญี่ปุ่น

โดยปัจจุบัน มารูเบนิ คอร์ปอเรชั่นร่วมกับ มารุฮะ นิชิโร่ คอร์ป (Maruha Nichiro Corp) ในการเริ่มทำฟาร์มปลาแซลมอนบก โดยมีโรงงานในจังหวัดโทยามะ บริเวณชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น โดยจะเริ่มทำในปีหน้า และตั้งเป้าจัดส่ง 2,500 ตันภายในปี 2027 

นอกจากนี้ยังมี บริษัท Mitsui & Co ได้เข้าร่วมเทรนด์นี้เช่นกัน โดยผลักดันโครงการร่วมกับ FRD Japan Co ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในจังหวัดไซตามะ โดยฟาร์มดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ คาดว่าจะผลิตปลาแซลมอน 3,500 ตันต่อปี ภายในปี 2027

สำหรับการทำฟาร์มแซลมอนบก จะเป็นการทำทุกกระบวนการตั้งแต่การฟักไข่ในบ่อน้ำจืด จนถึงการเลี้ยง โดยแค่ปรับระบบน้ำ อุณหภูมิ ความจืด ความเค็ม ตามแต่ละช่วงวัย เพราะปลาแซลมอนจะวางไข่ในน้ำจืด และใช้ชีวิตในน้ำเค็ม ซึ่งการเลี้ยงปลาแซลมอนบนบกมีข้อดี เช่น มีปรสิตน้อยลง และป้องกันไม่ให้อุจจาระของปลาก่อให้เกิดมลพิษในทะเล

ปัจจุบัน นอร์เวย์เป็นฐานที่มั่นรายใหญ่ ทั้งเป็นผู้บุกเบิกและครองตลาดค้าปลาแซลมอนส่งขายไปทั่วโลก ผู้ผลิตรองลงมาจะเป็นชิลี สกอตแลนด์ และแคนาดา

]]>
1497440
‘นอร์เวย์’ ค้นพบ ‘แร่โลหะหายาก’ ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป เพิ่มโอกาสลดการพึ่งพา ‘จีน’ https://positioningmag.com/1478105 Thu, 13 Jun 2024 09:49:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478105 ในวันที่ทั่วโลกพยายามที่จะลดการพึ่งพา น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อหันไปใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทำให้ แร่หายาก มีบทบาทมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะเป็นที่ต้องการแร่หายากเหล่านี้มากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล

ล่าสุด บริษัทเหมืองแร่ Rare Earths Norway ได้ค้นพบ แหล่งแร่หายากที่มีค่าสูงที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยพบว่ามี แรร์เอิร์ธออกไซด์ (TREOs) ทั้งหมด 8.8 ล้านเมตริกตัน และจากปริมาณดังกล่าวมีแร่หายากที่เกี่ยวข้องกับแม่เหล็กประมาณ 1.5 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในยานพาหนะไฟฟ้าและกังหันลมได้

ซึ่งการค้นพบพื้นที่แร่หายากดังกล่าวจะยิ่งส่งผลดีต่อ ยุโรป เพราะในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปในการนําเข้าธาตุหายากจากจีนเป็นสัดส่วนถึง 40% ของการนำเข้าทั้งหมด และในปัจจุบัน จีน ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนแร่หายากมากที่สุดในโลก

โดยจีนครอบครองแร่ธาตุหายากที่สําคัญ ประมาณ 60% ของการผลิตแร่ธาตุและวัสดุหายากของโลก หากนับเฉพาะธาตุแรร์เอิร์ธ จีนครอบครองการสกัดแร่แรร์เอิร์ธทั่วโลกสูงถึง 70% และครองส่วนแบ่ง 90% ของการแปรรูปแร่แรร์เอิร์ธ

ทั้งนี้ มีการประเมินว่าความต้องการธาตุหายากและแร่ธาตุที่สําคัญ จะเติบโตแบบทวีคูณ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสะอาดดําเนินไปอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสที่แร่หายากจะ มีมูลค่ามากกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ สหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนว่า ปริมาณการถือครองแร่หายากของจีน อาจก่อให้เกิดความท้าทายเชิงกลยุทธ์หากโลกต้องการมุ่งสู่การใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ

CNBC / iea

]]>
1478105
“นอร์เวย์” เป็นประเทศแรกในโลก ที่คนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเกิน 50% ในปี 2020 https://positioningmag.com/1314377 Thu, 14 Jan 2021 14:19:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314377 นอร์เวย์ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในยุโรปตะวันตก กลับกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้พลังงานทางเลือก ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าทดแทนรถจากการสันดาป หรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่ง เมื่อวัดจากยอดการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ในปี 2020

ตามรายงานของ Information Council for Road Traffic ระบุว่าปี 2020 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศนอร์เวย์ คิดเป็น 54.3% ของตลาดรถยนต์ใหม่ เพิ่มขึ้นจาก 42.4% ในปี 2019 ซึ่งทำให้นอร์เวย์กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า มากกว่า 50% ของรถที่จดทะเบียนใหม่

ตัวเลขที่เผยแพร่โดยกลุ่มอุตสาหกรรม Information Council for Road Traffic เผยอีกว่า 5 รถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุด ได้แก่ Audi e-tron, Tesla Model 3, Volkswagen ID.3, Nissan Leaf และ Volkswagen Golf ทั้งหมดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

ทั้งนี้ ประเทศนอร์เวย์ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก พึ่งพารายได้จากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก แต่รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่เปลี่ยนผ่าน เป็นประเทศแรกของโลกที่ยุติการขายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล และกำหนดเส้นตายในปี 2025 ซึ่งในขณะนี้รถยนต์ไฟฟ้าในนอร์เวย์ คิดเป็น 60% ของยอดขายต่อเดือน

ข้อมูลอ้างอิง https://www.trtworld.com/

]]>
1314377
ตลอดปี 2019 เมืองหลวงของนอร์เวย์ มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน เพียง 1 คนเท่านั้น https://positioningmag.com/1259486 Mon, 06 Jan 2020 09:12:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259486 ความปลอดภัยบนถนนมีอยู่จริง (เเต่ไม่ใช่ในเมืองไทย) โดยตลอดปี 2019 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเฉพาะในกรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ เพียง 1 คน จากเหตุขับรถพุ่งชนรั้ว เเละนับเป็นครั้งเเรกที่ “ทั่วประเทศนอร์เวย์” ไม่มีเด็กอายุต่ำว่า 16 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเลย

อย่างไรก็ตาม สถิติภาพรวมของทั้งประเทศ มียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่ที่ 110 คน เทียบกับ 2018 อยู่ที่ 108 คน เพิ่มขึ้นมา 2 คน

จากตัวเลขที่เปิดเผยโดยสำนักบริหารความปลอดภัยสาธารณะของนอร์เวย์ดังกล่าว เเสดงให้เห็นว่า ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนในกรุงออสโลลดลงอย่างมาก จากที่เคยมีผู้เสียชีวิต 41 คนในปี 1975

โดยนอร์เวย์มียอดผู้เสียชีวิตจากการจราจร “ต่ำที่สุด” ในยุโรป เมื่อปี 2017 เเละมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุเพียง 20 เหตุการณ์ต่อประชากร 1 ล้านคนเท่านั้น

หากเปรียบเทียบกับกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ในปี 2019 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 126 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 22 คนจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2018 ก่อนหน้านี้สหราชอาณาจักร เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดภัยทางถนนมากที่สุดในยุโรป เนื่องจากอุบัติเหตุทางจราจรที่มีผู้เสียชีวิตไม่ถึง 30 รายต่อประชากรหนึ่งล้านคน

ส่วนประเทศที่อันตรายที่สุดในยุโรปด้านความปลอดภัยทางถนน คือ “บัลแกเรีย”และ “โรมาเนีย” ซึ่งมีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยกว่า 90 คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน

บรรยากาศการสัญจรในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ (Photo : Shutterstock)

Vision Zero : ลดอุบัติเหตุทางถนนในนอร์เวย์

นับตั้งเเต่ปี 2002 รัฐบาลนอร์เวย์ ดำเนินโครงการ “Vision Zero” ต่อเนื่องเเละยังคงบรรจุให้เป็นหนึ่งในแผนงานขนสาธารณะแห่งชาติของปี 2018-2029 โดยมุ่งสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนทั้งประเทศ มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการขนส่งที่ไม่มีใครเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสจากการจราจร

ทางการมีการให้คำเเนะนำ ข้อจำกัดต่างๆ กับประชาชนเกี่ยวกับเขตการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในใจกลางเมือง โรงเรียนหลายเเห่งในกรุงออสโลยังส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยบนถนนให้กับนักเรียน เเละทำงานกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อกำหนดโซนเเละเวลาจำกัดความเร็วใกล้สถานศึกษา นอกจากนี้รัฐยังเริ่มสร้างทางจักรยานที่เชื่อมต่อกันเป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางด้วยรถสองล้อแทนที่จะเป็นสี่ล้อ

ด้าน Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน ก็เคยประกาศเป้าหมายที่จะทำให้การเดินทางทั้งหมดในเมืองหลวงปลอดรถยนต์ให้ได้ในปี 2041 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การขนส่งในเมืองที่สอดคล้องกับ Vision Zero

‘อุบัติเหตุบนถนน’ ไทยติดอันดับ 9 ของโลก คร่าชีวิตเฉลี่ย 2 หมื่นคนต่อปี

mgronline รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดทำรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2018 พบว่า จากข้อมูลปี 2016 ทั่วโลกมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 1.35 ล้านคนต่อปี เฉลี่ย 3,700 คนต่อวัน เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตของเด็กและเยาวชนทั่วโลก โดยครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จักรยาน และคนเดินถนน

สำหรับประเทศไทย องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 32.8 ต่อประชากรแสนคน เฉลี่ยปีละ 22,491 คน วันละ 60 คน ซึ่งอยู่อันดับที่ 9 ของประเทศสมาชิกทั้งหมด จากเดิมที่เคยอยู่อันดับ 2   

เเละหากดูยอดสถิติล่าสุดกว่านั้นก็คือช่วงฉลองปีใหม่ 2020 ที่ผ่านมา โดย ผลสรุปการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 7 วันอันตรายในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.2019 – 2 ม.ค. 2020 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,421 ครั้ง
ผู้เสียชีวิตรวม 373 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 3,499 คน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ดื่มแล้วขับ รองลงมาคือขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย

 

ที่มา : Only one person died on Oslo’s roads in 2019

]]>
1259486