นาดาวบางกอก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 16 Oct 2020 04:06:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเส้นทาง 11 ปี “นาดาวบางกอก” จากกำไร 26,000 บาท สู่โปรดักชั่นมือทองของ GDH https://positioningmag.com/1301319 Thu, 15 Oct 2020 17:15:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301319 เเม้ชื่อของ “ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์” จะเป็นผู้กำกับชื่อดังที่เริ่มต้นได้สวยงาม จากหนังดังในตำนานอย่าง “แฟนฉัน” มาตั้งเเต่ปี 2546 เเต่เส้นทางการพลิกบทบาทสู่ผู้บริหาร ปลุกปั้น “นาดาวบางกอก” มากว่า 11 ปีนั้น ไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นัก

จากผู้กำกับร่วมในเเฟนฉัน ลงสนามเป็นผู้กำกับเดี่ยวในภาพยนตร์เด็กหอ ตามมาด้วย 5 แพร่ง, ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น และวัยรุ่นพันล้าน โกยความสำเร็จไปด้วยดี เเต่จากนั้นเขาตัดสินใจออกจาก Safe Zone ด้วยการมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการของ “นาดาวบางกอก” ซึ่ง ณ เวลานั้นยังเป็นเพียงแค่บริษัทดูแลศิลปินในสังกัดของ GTH

ย้อนความหลัง : วันที่ “นาดาว” เกือบต้อง “ปิดบริษัท” 

ช่วง 3-4 ปีเเรกของนาดาว ลุ่มๆ ดอนๆ มาก ตอนนั้นจับทางไม่ได้ว่าการพัฒนาศิลปินเเล้วมาทำรายได้อย่างไร จนกระทั่งถึงตอนถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ซึ่งตอนนั้นเกือบจะปิดกิจการบริษัทไปเเล้ว เพราะปีนั้นทำกำไรเเค่ 26,000 บาท

ย้งเล่าย้อนไปในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาของนาดาว ว่า ซีรีส์ “ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น” ซีซัน 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท ช่วย “กู้วิกฤต” ให้เขาไม่ต้องทำธุรกิจ “เจ๊ง” 

ช่วงเริ่มเเรก นาดาวบางกอก มีทีมงานเพียงแค่ 7-8 คนเท่านั้น โดยระหว่างการถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ ซีซัน 1 นั้นถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ “คนทั้งออฟฟิศ” มาทำงานเดียว จนทำให้ไม่มีเวลาไปรับงานอื่น ไม่มีรายได้เข้ามา จึงทำให้ผลประกอบการของนาดาวในปีนั้นมีกำไรเพียงแค่ 26,000 บาท (เป็นตัวเลขที่พนักงานรุ่นเก่าจำได้ขึ้นใจ)

ตอนนั้นรู้สึกท้อ คิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่เราทำไม่เป็นจริงๆ เเหละ…ทำใจเเล้ว ตอนฮอร์โมนส์ฯ ออกฉาย เราหา
สปอนเซอร์ได้เเค่เจ้าเดียว พอฉาย 2 ตอนเเรก กระเเสเริ่มมีบ้างประปราย ก็คิดว่าเราก็จะ “จบสวยเหมือนกันนะ (หัวเราะ) พอฉายไปจนจบซีซัน กระเเสตอบรับดีเกินคาด ผู้ชมเเละสปอนเซอร์ถามหาเยอะ ตอนนั้นเเหละผมถึงมีความคิดว่าต้องไปต่อ ซึ่งซีซัน 2 ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บริษัทมีทุกวันนี้

จากซีรีส์ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น นาดาวบางกอก ขยับฝ่ายโปรดักชั่นไปต่อยอดทำออริจินัลคอนเทนต์ ให้กับ LINE TV เเละทำซีรีส์ที่เจาะตลาดคนทุกวัยอย่าง “เลือดข้นคนจาง” ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

ซีรีส์ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น ซีซัน 1

รายได้ของ “นาดาว” มาจากอะไรบ้าง 

ปัจจุบันงานหลักๆ ของนาดาวบางกอก มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ ฝ่ายดูแลพัฒนาศิลปินนักแสดง ฝ่ายโปรดักชั่นผลิตซีรีส์คอนเทนต์ และค่ายเพลง Nadao Music

ด้วยความที่ธุรกิจของนาดาวขึ้นอยู่กับคนอื่นเยอะทั้งลูกค้าเเละสปอนเซอร์ พรีเซ็นเตอร์เเละอีเวนต์ต่างๆ จึงทำให้คาดการณ์รายได้ยากว่าในเเต่ละปีบริษัทจะโตเท่าไหร่ โดยรายได้ในปี 2019 อยู่ที่ราว 270 ล้านบาท

เเบ่งรายได้ของนาดาวง่ายๆ เป็น 2 ส่วน ได้เเก่ ดูแลศิลปินและนักแสดง ราว 60% ส่วนอีก 40% มาจากการทำซีรีส์และคอนเทนต์ต่าง ๆ

ที่น่าสนใจคือกำไรที่ได้นั้นกลับสวนทางกัน โดยฝ่ายโปรดักชั่น เเม้จะมีรายได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เเต่ทำกำไรเมื่อหักค่าใช้จ่ายเเล้วได้ประมาณ 20-30% ขณะที่ส่วนดูเเลศิลปิน รายได้ส่วนใหญ่ที่ได้จากค่าตัว มักจะถูกแบ่งให้กับศิลปินในสัดส่วนที่มากกว่า เเละเมื่อหักลบอะไรต่าง ๆ แล้ว จึงเหลือเป็นกำไรกลับมายังบริษัทเพียงแค่ประมาณ 8-15% ต่องานเท่านั้น

ช่วงที่จัดอีเวนต์ไม่ได้ หายไปเลยกว่า 2 เดือนที่ล็อกดาวน์นั้น กระทบงานส่วนดูเเลศิลปินโดยตรง เพราะรายได้ศิลปินทั้งหมดมาจากงานอีเวนต์ราว 20% พรีเซ็นเตอร์ 70% เเละออนไลน์ 10%”

ยัง เล่าลึกลงไปถึงการลงทุนในโปรดักชั่นว่า ซีรีส์ส่วนใหญ่ของนาดาว มีต้นทุนต่อตอนราว 2.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงกว่าละครในช่วง Prime-Time ของทีวีช่องใหญ่ทั่วไป ที่มักจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4-1.5 ล้านบาท

การจะให้ลดต้นทุนโปรดักชั่นเพื่อเพิ่มกำไร ไม่ใช่ทางของนาดาว มันเป็นเรื่องของการรักษาคุณภาพ รายละเอียดของงาน เพราะคนทำงานก็มาจากคนทำหนัง พอลงมาทำสเกลเล็กกว่าอย่างซีรีส์ ค่าตัวของทีมงานก็ยังเหมือนเดิม มีซีนเยอะขึ้นก็มีค่าตัดต่อเพิ่มอีก เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในเเต่ละปี จึงได้ชมซีรีส์จากนาดาวเพียง 1-2 เรื่อง

โดยตอนนี้รายได้ของนาดาวบางกอก มาจากในประเทศ 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นรายได้ที่มาจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่มาจากจีนที่ซื้อซีรีส์ไปฉาย)

ความท้าทายของธุรกิจ “ดูเเลศิลปิน” 

ตอนนี้นาดาวบางกอก มีศิลปินอยู่ในสังกัด 36 คน การทำงานกับ “คนรุ่นใหม่” ที่มีความคิดความอ่านเเตกต่างกันตามเจเนอเรชันนั้น “ไม่ใช่งานง่ายๆ”

ทรงยศ บอกว่า นโยบายของนาดาวยังคงเหมือนเดิม คือ การพัฒนาคนขึ้นมาให้เป็นนักเเสดงเเละศิลปินที่ดีพอให้คนข้างนอกมาจ้าง อยากทำงานกับพวกเขา ไม่ใช่วนเล่นหนังให้กับ GDH หรือนาดาว

ถ้าเห็นน้องคนไหนไปทำงานข้างนอกเยอะๆ ไม่ได้ทำนาดาวเลย นั่นคือนักเเสดงที่เราภูมิใจนะ เราพยายามส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาตัวรอด ทำงานกับผู้จัดข้างนอกได้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ถือว่าภูมิใจในสิ่งที่เราทำมา เเละน้องๆ ก็ได้ออกไปทำในสิ่งที่อยากทำด้วย

“เเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เเผนการตลาดเเละสื่อสารองค์กรของนาดาวบางกอก เสริมว่า สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการที่ศิลปินอยู่กับเราตั้งเเต่เด็กจนโต ทำให้เห็นความเปลี่ยนเเปลง พอเป็นวัยรุ่นก็ต้องใช้เหตุผลคุยกัน มุมหนึ่งก็คุยกันง่ายขึ้น เเต่อีกมุมเขาก็เริ่มมีทัศนคติ มีเเนวคิดของตนเอง

อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้ศิลปินยังอยู่กับนาดาว” ?

ย้งตอบว่าผมไม่เคยถามน้องๆ นะ เเต่เดาว่า คงเป็นการที่เราอยู่เเบบพี่น้อง การทำสัญญากับนาดาวไม่มีการผูกมัด ถ้าศิลปินรู้สึกว่าวันหนึ่งไม่อยากทำเเล้ว อยากยกเลิกสัญญา ก็ทำ เมื่อไหร่ก็ได้ เเต่ต้องมาคุยกันก่อน มีเหตุผลที่เข้าใจได้เเละไม่มีอะไรค้างคา ทำงานเเบบรับผิดชอบต่อกัน เรื่องการบริหารคนก็มีปัญหาหยุมหยิมไปหมด เเต่ต้องคุยกันให้เข้าใจ ให้รู้สึกสบายใจ

ย้ง ทรงยศเเละเเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา สองผู้บริหารของนาดาวบางกอก

ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา เฟ้นหาเด็กมา “ปั้นเป็นดารา” อย่างไร มองจากอะไร ?

ผมว่ามันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เวลาเเคสติ้งนักเเสดงมาเล่นหนังก็เจาะจงไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องรสนิยมส่วนตัว เเต่เด็กที่ทำให้เราสนใจได้ ต้องมีคาเเร็กเตอร์บุคลิกเฉพาะตัวของเขา เช่น เดินมาเเล้วพูดอะไรบางอย่าง เเล้วเราจำเด็กคนนี้ได้ ไม่ใช่เเค่เรื่องหน้าตาเท่านั้น เเต่ชวนมอง มองได้ไม่เบื่อ

นาดาวบางกอก มีการเสริมทักษะให้ศิลปินต่างๆ เริ่มจากการให้เรียนการเเสดงก่อนจากนั้นค่อยๆ ให้เข้าสู่โปรเจกต์ที่ไม่ยากเกินตัว เวลาส่งศิลปินไปเเคสติ้งงาน ก็อยากรู้ฟีดเเบ็กจากลูกค้าว่าทำไมเลือกศิลปินเรา เเละทำไมไม่เลือก เพื่อนำมาปรับปรุงเเละพัฒนาต่อไป

ความเป็นเด็กนาดาว ทำให้มีภาษีกว่าที่อื่นไหม ?

ถ้าเป็นช่วงหลังๆ ก็อาจจะมีบ้าง มีข้อได้เปรียบว่ารุ่นพี่สร้างภาพจำที่ดีว่าสังกัดนี้ตั้งใจ รับผิดชอบเเละมีทักษะการ
เเสดงที่โอเคระดับหนึ่ง เเต่สุดท้ายเเล้วก็ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลว่าตัวเขาเองทำได้ดีเเค่ไหน

Nadao Music กับความฝัน T-POP ระดับเอเชีย

ย้งเล่าว่า การทำค่ายเพลงของนาดาว เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจทำเป็นธุรกิจ เเต่เกิดจากการที่มีกลุ่มศิลปินที่มีความสามารถด้านการร้องเพลง โดยสมัยก่อนจะให้ไปเซ็นสัญญากับที่อื่น เเต่พอมาคิดดูเเล้ว คงถึงเวลาเเล้วที่นาดาวจะต้องจะทำเองเพื่อซัพพอร์ตความสามารถของศิลปิน

เมื่อพอคิดจะมียูนิตนี้ อย่างไรก็ต้องทำให้เป็นธุรกิจให้ได้ ด้วยความบังเอิญที่ตอนนั้นซีรีส์รักสุดใจนายฉุกเฉิน เเล้วทำเพลงประกอบ “รักติดไซเรนเกิดกระเเสฮอตฮิตขึ้นมา จึงเป็นการปูทางให้บริษัทได้เรียนรู้การทำตลาดจากเพลงจริงจัง โดยตอนนี้มีเบลสุพล นักร้องชื่อดัง มานั่งแท่นเป็นหัวเรือใหญ่

ล่าสุดมีศิลปินในสังกัด 6 คน คือ เจเลอร์ กฤษณภูมิ , ไอซ์ พาริส , กัปตัน ชลธร , บิวกิ้น พุฒิพงศ์ , แพรวา ณิชาภัทร เเละนาน่า ศวรรยา โดยมีเเผนจะเพิ่มศิลปินในอนาคต เเต่ขอโฟกัสที่มีอยู่ตอนนี้ให้ดีก่อน

ถ้าถามว่านาดาว บางกอกมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ต้องขอบคุณซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ถ้าถามว่าเกิด Nadao Music ได้ยังไง ก็ต้องขอบคุณเพลงรักติดไซเรน

ความคืบหน้าของ Nadao Music นั้น ย้งบอกว่า เพิ่งเปิดตัวเป็นปีเเรก…ต้องสู้กันอีกยาวยังยากลำบากเเละผลประกอบการก็ยังน่าเป็นห่วง เเต่ไปต่อเเน่นอน

ผู้บริหารนาดาว มองว่า เเม้ธุรกิจค่ายเพลงจะอยู่ในช่วงขาลง เเต่วงการนี้ยังมี “ลู่ทาง” ที่จะไปต่อได้ เช่น การขยายฐานตลาดเเฟนเพลงออกไปยังต่างประเทศแทน เริ่มจากประเทศในอาเซียน ที่ตอนนี้นาดาวมีฐานแฟนอยู่ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และจีน อยู่แล้ว ถ้าเราอยากทำเพลงดี ลงทุนสูง ตลาดในบ้านเรา อาจจะไม่พอ

โดยตั้งเป้าจะเจาะตลาดเอเชียเป็นหลัก ซึ่งประเทศที่ฝันอยากจะไปให้ถึงก็คือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น  เพราะทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมด้านบันเทิงที่แข็งเเกร่งมาก

ถ้าถามว่าเป้าหมายอยากทำ T-POP ให้โด่งดังในระดับเอเชียไหม คำตอบคืออยากมาก เเต่จะสำเร็จไหมก็ต้องดูกันยาวๆ”

ซีรีส์วาย ต้อง “หลากหลาย” ถ้าอยากไปต่อ

นาดาวเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เจ้าเเรกๆ ที่ลงสนามมาทำ “ซีรีส์วาย” จนตอนนี้กลายเป็นกระเเสฮิตติดลมบนไปเเล้ว

“เรากำลังทำความเข้าใจเเละเรียนรู้ตลาดซีรีส์วายอยู่ตลอด เเต่ไม่ได้มองว่าพอตลาดมันฮิตเเล้วค่อยลงไปทำ เเต่เราทำเพราะทีมงานเราอยากทำ มาเสนอโปรเจกต์ที่เห็นว่าเหมาะสมกับช่วงเวลาเเละพอจะขายได้ เช่น แปลรักฉันด้วยใจเธอ ก็เป็นการต่อยอดการเเสดงของ #พีพีบิวกิ้น จากบทหมอเต่าทิวเขาในละครรักฉุดใจนายฉุกเฉิน”

ผู้บริหารนาดาว มองว่า ตลาดซีรีส์วาย ถือว่าเติบโตเร็วเเละใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เเม้ทุกวันนี้จะเป็นเฉพาะกลุ่ม เเต่เป็นกลุ่มที่กว้างมาก ทำให้เราเห็นว่าโลกทุกวันนี้ สิ่งที่เป็น Niche Market จะกลายเป็นตลาดเเมส ไม่มีอะไรที่เเมสจริงๆ เเล้ว ซีรีส์วายก็จะเป็น Niche ที่เเมสไปอีกเเบบหนึ่ง

ผมว่าซีรีส์วาย ถ้าอยากจะไปต่อ เราต้องทำคอนเทนต์ให้หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เเละมีมาตรฐานชัดเจน

ซีรีส์วายเรื่องใหม่ของนาดาวบางกอก -แปลรักฉันด้วยใจเธอ

ศิลปินคอนเทนต์กับวิกฤต COVID-19

ทรงยศ กล่าวถึงการปรับตัวของนาดาวบางกอก ในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ฟังว่า ตอนเเรกก็ตั้งตัวไม่ทัน ต้องเเก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเเทบทุกอย่าง เพราะตอนนั้นถึงเวลาเปิดกล้องถ่ายทำละครแปลรักฉันด้วยใจเธอเเต่จากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ออกไปถ่ายทำไม่ได้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์เเบบวีคต่อวีค

ส่วนมากต้องเจรจากับลูกค้า เพราะการเลื่อนถ่ายทำคือการเลื่อนฉาย เเต่จะเลื่อนไปได้ถึงไหน ตอนนั้นยังไม่รู้ เเต่หลังเราชนฝาได้เพียงสิ้นปี จะข้ามปีไม่ได้ ทั้งปัญหางบประมาณเเละคิวนักเเสดง จากใบเสนอราคาที่เคยเข้าบริษัทเดือนละ 30 ใบ ตอนนั้นเข้าเเค่ 6 ใบ” 

ส่วนธุรกิจดูเเลศิลปินนั้น ต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะงานอีเวนต์ต่างๆ ที่บริษัทรับไว้ถูกยกเลิกเพราะสุ่มเสี่ยงเกินไป เหล่าสปอนเซอร์ที่เป็นคอนซูมเมอร์โปรดักส์ได้รับผลกระทบหมด เพราะขายของไม่ได้ จึงมีผลต่อการตัดสินใจในงบที่จะมาเป็นผู้สนับสนุนซีรีส์สักเรื่องมีทั้งเจ้าที่ยกเลิกเเละระงับโปรเจกต์ไปก่อน

ช่วง COVID-19 ดูเหมือนนาดาวจะเงียบๆ ไม่มีงาน เเต่งานหลักของเราคือการเเก้ปัญหาความวุ่นวายหลังบ้าน เช่น ลูกค้าที่ซื้อพรีเซ็นเตอร์ศิลปินเรา ถ่ายโฆษณาไม่ได้ ออกอีเวนต์ไม่ได้ น้องเราจะช่วยอะไรกลับได้บ้าง ทำอะไรทดเเทนได้บ้าง

เเบรนด์ต่างๆ ก็ปรับตัวเร็ว อย่างการเปลี่ยนให้ศิลปินไลฟ์เองจากที่บ้าน โพสต์รูปกักตัวอยู่บ้านในอินสตาเเกรมเเละทวิตเตอร์ รวมไปถึงให้ศิลปินช่วยไลฟ์ในเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กระตุ้นขายของ ซึ่งต่อไปการจัดอีเวนต์หรือโปรโมตสินค้า ก็คงต้องเป็นรูปแบบผสมออฟไลน์ออนไลน์

ศิลปินก็ต้องปรับตัว ทำคอนเทนต์กึ่งๆ โฆษณาจากที่บ้านเอง เเต่งหน้าเองเพราะไม่มีกองถ่ายไปดูเเล พวกเขาต้องถ่ายเอง ลองผิดลองถูก มีการทำคอนเทนต์กักตัวเดอะซีรีส์ ทุกอย่างโปรโมตผ่านออนไลน์ ทำให้ได้เข้าใจการใช้เเพลตฟอร์มโซเชียลมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายใหม่ของศิลปินในยุค New Normal”

หลังคลายล็อกดาวน์ ทีมงานสามารถกลับมาทำงานโปรดักชั่นได้เต็มรูปแบบเเล้ว เดินหน้ากองละครต่อเนื่องได้ตั้งเเต่ช่วงเดือนสิงหาคม ตอนนี้ก็ถือว่ากลับเข้าสู่โหมดปกติศิลปินเริ่มมีงานอีเวนต์เเละลูกค้าหลายๆ เจ้าก็พร้อมเตรียมลุยงานปีหน้าเเล้ว

ใจเราก็อยากโตทุกปี ไม่เคยมีเป้าตัวเลขชัดเจน ขอเเค่ไม่ต่ำกว่าเดิม ปีที่เเล้วเราจบที่ 270 ล้านบาท เเต่เมื่อเจอโรคระบาด ปีนี้ก็คงไม่โตเเน่นอน ต้องลุ้นกันว่าจะไปได้ถึงจุดไหนมากกว่า คาดว่าสินปีนาดาวคงทำรายได้ไม่เกินที่ 230 ล้าน

ผู้กำกับสู่ผู้บริหาร : มุมมองที่เปลี่ยนไป

จริงๆ ผมก็อยากกลับไปเป็นผู้กำกับนะ เเต่ก็ได้เรียนรู้จากการเป็นผู้บริหารเยอะมาก เรานิ่งขึ้น ได้ใช้สกิลหลายๆ อย่างไปจัดการงานในเชิงสร้างสรรค์

ไม่ได้ชอบงานบริหาร ไม่ได้อินขนาดนั้น เเต่ถามว่าสนุกไหม ก็สนุกมาก ตลอด 11 ปีที่ผ่านมามีช่วงเครียด มีปัญหารุมเร้า เเต่เพราะได้ทำงานที่เราชอบ กับคนที่เราอยากทำงานด้วย จึงกลายเป็นความท้าทายเวลาต้องลงไปเเก้ปัญหา ด้วยความที่เราเป็นผู้กำกับก็ทำให้เห็นภาพรวม ก็เลยช่วยให้ทำงานบริหารได้

เเม้กลุ่มผู้ชมของนาดาวส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นมัธยมมหาลัยเเต่เวลาทำงานคอนเทนต์จะต้องมองให้ครบทุกเจเนอเรชัน ผลักดันให้ไปถึงทุกกลุ่ม อย่างเช่น ตอนทำละครเลือดข้นคนจางเเรกๆ จะดันศิลปิน 9by9 เเต่เราก็ต้องเล่าเรื่องให้คนเข้าถึงเยอะที่สุดเเต่ก่อนเราทำหนังทำซีรีส์มา เเม่เราไม่เคยได้ดูเลย เราก็เลยอยากทำเลือดข้นฯ ให้เเม่ดูบ้าง

โดยได้มีการทำความเข้าใจกับผู้ชมในทุกช่องทาง เช่นการอ่านคอมเมนต์ใน “ทวิตเตอร์” ซึ่งเขามองว่าเป็นฟีดเเบ็กที่สดเเละจริง เพราะคนดูเเล้วรู้สึกอย่างไรก็ทวีตออกมาเลย

“ผมสนใจคำติมากกว่าคำชมด้วยซ้ำ เพราะเราจะได้รู้ทิศทางว่าควรพัฒนางานเราต่อไปยังไง” 

ในวันที่ “ย้ง-ทรงยศ” ขยับจากผู้กำกับมาเป็นผู้บริหาร เเละนาดาวประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เริ่มภารกิจ
“ส่งไม้ต่อ” ให้กับผู้กำกับรุ่นใหม่อย่าง พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ผู้กำกับละคร ฉลาดเกมส์โกง เเละ บอสนฤเบศ กูโน ผู้กำกับ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน, Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ เเละแปลรักฉันด้วยใจเธอ

“การปั้นคนทำงานยังเป็นความท้าทายของเราอยู่ ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมาถึงวันที่นาดาวมีพนักงาน 50 คน จากจุดเริ่มต้น 7-8 คน ตอนนี้มองว่าการที่เราจะไปต่อได้ไกลๆ ยังไงก็ต้องสร้างคนทำงาน จะสร้างเเค่ศิลปินไม่ได้ นาดาวจะพยายามเดินไปในเส้นทางที่ทำงานในปริมาณที่เราทำได้ดี อยู่มือเเละควบคุมภาพได้ต่อไป

 

 

]]>
1301319
‘AIS’ ผนึก ‘นาดาว’ ปั้นคอนเทนต์ลง ‘VR’ ใบเบิกทางแรก 5G สู่ผู้บริโภค https://positioningmag.com/1292151 Tue, 11 Aug 2020 13:05:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292151 ประกาศถึงวิสัยทัศน์ในการนำ ‘5G’ เพื่อสนับสนุนรากฐานและฟื้นฟูประเทศจากวิกฤติ COVID-19 ไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยหนึ่งในเรื่องที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) ได้พูดถึงก็คือ อุตสาหกรรมมัลติมีเดีย ที่จะนำเทคโนโลยี AR/VR มาใช้สร้างประสบการณ์เสพคอนเทนต์แบบใหม่ที่เสมือนจริง (Immersive Experience) กว่าที่เคย

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า นับตั้งแต่การเปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน อไอเอให้บริการ 5G ครบ 77 จังหวัด ผ่านสถานีฐาน 4,000 แห่ง ที่กระจายอยู่ที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ และเพื่อเป็นการต่อยอดศักยภาพและขยายประโยชน์ของ 5G จึงได้ผสานเข้ากับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต Virtual Reality หรือ VR

“เอนเตอร์เทนต์เมนต์เป็นอะไรที่แมสกว่า มันจับต้องได้ แต่ใจเราก็อยากจะพัฒนาควบคู่กันไปกับด้านอุตสาหกรรม”

เอไอเอสได้ดำเนินยุทธศาสตร์ ‘Co-Creation’ ภายใต้ชื่อ AIS VR Originals โดยเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับพันธมิตรในวงการ ทั้งค่ายผลิตคอนเทนต์ชื่อดัง พันธมิตรชั้นนำระดับโลก และ Content Creator อิสระรุ่นใหม่ทุกคน เพื่อผลิต VR Content ร่วมกัน ผ่านแอปพลิเคชัน AIS PLAY VR ฮับแห่งคอนเทนต์ VR ที่แรกและที่เดียวในไทย ซึ่งถูกติดตั้งบนแว่น AIS VR 4K พร้อมกับออกแพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวกับ 5G เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก

ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ร่วมกับ ‘นาดาวบางกอก’ นำศิลปินมาร่วมสร้างสรรค์ VR Content นำโดย บิวกิ้น-พีพี กับคอนเทนต์ชุด #BilkinPP Closer Than Ever และ สกาย วงศ์รวี กับคอนเทนต์ชุด Touch of Sky ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของ VR Content ชุด Star Dating และได้จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำร่องชมความงามของประเทศไทยใน 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ พัทลุง ลำปาง ราชบุรี และตราด ในรูปแบบ VR 360 องศา และจับมือ Absolute You สร้างประสบการณ์การออกกำลังกายที่บ้านในรูปแบบ VR รวมมีคอนเทนต์กว่า 5,000 คอนเทนต์

“ในเรื่องรายได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ในระยะสั้น เพราะมันไม่ใช่ของแมส แต่รายได้หลักของเราคือ การใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ตมันจะสร้างรายได้ในทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการใช้โครงข่าย ดังนั้นนี่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้ได้สัมผัส 5G”

อย่างไรก็ตาม การจะสร้างการเติบโตให้ได้ ในขณะที่ยังต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันถือเป็นความท้าทายที่สุดในการทำธุรกิจ เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ขณะที่การแข่งขันที่รุนแรงยิ่งทวีความรุนแรง ทำให้เกิดการหั่นราคาจนลืมเรื่องคุณภาพ

]]>
1292151
GDH ครองตลาดหนังไทย รายได้ 471 ล้าน เปิดกลยุทธ์ 2020 ลุยหนัง-ซีรีส์-ปั้นศิลปินใหม่ https://positioningmag.com/1262597 Thu, 30 Jan 2020 19:25:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262597 เเม้ทุกวันนี้คนไทยจะดู “หนังไทย” กันน้อยลง ถึงขั้นซบเซา เเต่ค่ายหนังขวัญใจวัยรุ่นอย่าง “GDH” ก็ยังครองกระเเส ส่งหนัง 3 เรื่อง ติดท็อปทำรายได้สูงสุดของปี 2019 ยอดทิ้งห่างหนังไทยเรื่องอื่นไปหลายเท่า

“ตุ๊ดซี่ส์ & เดอะเฟค” เป็นหนังไทยที่ทำเงินสูงสุดในปี 2019 ด้วยรายได้141 ล้านบาท รองลงมาคือเรื่อง “Friend Zone ระวังสิ้นสุดทางเพื่อน” อยู่ที่ 134 ล้านบาท และ “ฮาวทูทิ้ง…ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ” มีรายได้ที่ 57 ล้านบาท

มองกลับมาที่ “หนังไทย” ตลอดปี 2019 ไม่ค่อยสดใสนัก โดยมีออกฉายราว 40 เรื่อง ทำรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 711 ล้านบาท ลดลง 14% เฉลี่ยต่อเรื่องทำรายได้เพียง 15 ล้านบาทเท่านั้น จากปีก่อนอยู่ที่ 18-19 ล้านบาท

เเละที่น่าตกใจคือ “มีหนังไทยกว่า 17 เรื่องที่ทำรายได้น้อยกว่า 1 ล้านบาท”

ขณะที่ “ภาพรวมตลาดหนังที่ฉายในไทย” อยู่ที่ 4,700 ล้านบาท โตขึ้น 4% จากมาจากหนังต่างประเทศเป็นหลัก สะท้อนว่าคนไทยไม่มีหนังไทยที่อยากดูเเละชอบดูหนังต่างประเทศมากกว่า

อย่างไรก็ตาม เเม้ตลาดหนังไทยจะดูซึมๆ เเต่ ” GDH” ก็โตสวนทางตลาด ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 471.29 ล้านบาท ในปี 2019 เติบโตจากปี 2018 ประมาณ 12%

GDH เเละ นาดาวบางกอก วางทิศทางธุรกิจเเละเเผนการตลาดอย่างไร รวมถึงตั้งเป้าจะทำโปรเจ็กต์อะไรต่อไปในปี 2020-21 วันนี้ “จินา โอสถศิลป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า เเละ “ทรงยศ สุขมากอนันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด หรือ “ย้ง” หนึ่งในผู้กำกับหนังไทยในตำนานอย่าง “เเฟนฉัน” ที่ขยับมาเป็นผู้บริหาร จะมาให้คำตอบนี้…

ทุ่มการตลาด เข้าถึงทุกเเพลตฟอร์ม 

“การทำหนังเรื่องหนึ่งของ GDH มีต้นทุนราว 45-50 ล้านบาท แบ่งเป็นทุนสร้าง 20-30 ล้าน ส่วนที่เหลือคืองบสำหรับทำการตลาด”

ผู้บริหาร GDH บอกว่าในยุคสมัยนี้ เเม้จะทำหนังออกมาดีเเค่ไหน เเต่หากขาดการโปรโมท เเละการสร้างการรับรู้ที่เข้าถึงก็อาจจะ “ขาดทุน” ได้

ในปี 2020 นี้ GDH จึงเปิดบริษัทในเครือขึ้นมาใหม่ เพื่อดูเเลด้านการโปรโมทโดยเฉพาะอย่าง บริษัท น้ำดีไม้งาม จำกัด เเละ บริษัท งานดีทวีสุข ดูแลงานพีอาร์และอีเว้นท์ ซึ่งน้ำดีไม้งามได้ “เดียว วิชชพัชร์ โกจิ๋ว” มานำทีม ดูแลในเรื่องการโปรโมตหนังและคอนเทนต์ให้กับ GDH เป็นหลักรวมถึงงานของรัชดาลัยเธียเตอร์ และงานของเบิร์ด-ธงไชย

กลยุทธ์หลักของ GDH ปีนี้คือ “ต้องการให้คอนเทนต์เข้าถึงทุกแพลตฟอร์ม” จึงจะขยายเพิ่มขึ้นอีก 1 แอปพลิเคชั่น คือ iQiYi จากจีนที่มาเปิดในไทย จากปัจจุบันที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ GDH ได้หลายแพลตฟอร์มอย่าง WeTV, Viu, Netflix, Line TV, HOOq และ AIS PLAY เป็นต้น

“จินา โอสถศิลป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า (ขวา)

เมื่อคนดูหนังเปลี่ยน…คนทำหนังต้องปรับตาม

“ทุกวันนี้หนังมีอายุอยู่ในโรงสั้นลง จากเดิมที่เฉลี่ยเคยอยู่ในโรงประมาณ 4 สัปดาห์ ลดลงมาเหลือเเค่ 2 สัปดาห์”

ผู้บริหาร GDH อธิบายเพิ่มว่า “เมื่อก่อนคนดูจะมาแบบแบ่งกันเป็น 3 ล็อตใหญ่ คือสัปดาห์แรก สัปดาห์ที่ 2
เเละสัปดาห์ 3 บางทีลากยาวเป็นเดือน เเต่ตอนนี้คนดูส่วนใหญ่เทไปอยู่สัปดาห์แรกกันหมด บางครั้งถ้ากระแสของหนังดี สัปดาห์แรกของการเข้าฉายก็อาจเป็นรายได้ 65% ทั้งหมดของหนังเลยก็ได้”

ส่วนปัจจัยที่คนไทยดูหนังในโรงน้อยลงนั้น จินามองว่า คอนเทนต์ไทยมีให้ดูฟรีมากมายในหลายช่องทาง บวกกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ปัญหารถติด รวมถึงสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีส่วนทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น การดูหนังนอกบ้านจึงลดลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม การฉายหนังยุคนี้ก็มีข้อดีคือ การมีจำนวนโรงภาพยนตร์ให้ฉายมากขึ้น ก็ย้อนกลับมาที่บริษัททำหนังต้อง “โปรโมต” ให้ดีเพื่อดึงกระเเสสัปดาห์เเรกให้มากที่สุดนั่นเอง

เปิดโปรเจกต์ใหญ่ปี 2020 ส่งซีรีส์เจาะตลาดจีน 

GDH จะมี 3 โปรเจกต์ใหญ่ในปี 2020 เเบ่งเป็นภาพยนตร์ 2 เรื่อง โดยจะเป็นภาพยนตร์เเนว thiller horror กำกับโดย กอล์ฟ-ปวีณ ออกฉายในช่วงเดือน ส.ค. เเละภาพยนตร์เเนวโรเเมนติก คอมเมดี้ ที่กำกับโดย เมษ-ธราธร จะออกฉายในเดือน ธ.ค.นี้

ส่วนอีกโปรเจกต์คือ “ซีรีส์” โดยปีนี้ทุกคนจะได้ดู “ซีรีส์ฉลาดเกมส์โกง” ในเดือน ส.ค. ทางช่องวัน 31 นับเป็นครั้งเเรกที่จะฉายซีรีส์คู่ขนานไปพร้อมกับประเทศจีน และนำมาฉายย้อนหลังในช่องทาง WeTv ของ Tencent

โดย “ฉลาดเเกมโกง” เป็นภาพยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน จนมีนักลงทุนสนใจติดต่อให้ทำต่อเนื่องเป็นซีรีส์เพื่อตีตลาดจีนโดยเฉพาะ

“ในปีต่อไป (2021) เราจะกลับมาทำหนังอย่างเต็มที่ ซึ่งตอนนี้เตรียมไว้เเล้ว 4 โปรเจกต์ อยากจะฉายให้ได้ทุกไตรมาส เเละมีเรื่องของการร่วมทุนกับต่างชาติในเอเชียด้วย”

กลุ่มลูกค้าหลักของ GDH และนาดาว คือคนช่วงวัย 15-30 ปี เเละเป็นความท้าทายของที่จะดึงคนนอกเหนือช่วงวัยนี้ให้เข้าถึงคอนเทนต์ของบริษัทให้ได้

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า (ซ้าย) – ทรงยศ สุขมากอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด (ขวา)

ภารกิจปั้นเด็กใหม่ ดันกระเเส Nadao Music

ด้านผู้กำกับมือทองที่ผันตัวไปเป็นผู้บริหารอย่าง “ย้ง ทรงยศ” บอกถึงก้าวต่อไปของนาดาวบางกอก บริษัทในเครือ GDH ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสำหรับดูแลศิลปินและนักแสดงในค่าย ขยายต่อในงานโปรดักส์ชั่นเเละสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเปิดมานานกว่า 10 ปีเเล้ว

ในปี 2562 นาดาวบางกอกมีรายได้อยู่ที่ 370 ล้านบาท เติบโตขึ้น 52.71% ซึ่งรายได้กว่า 70% นั้นมาจากการดูแลศิลปิน ส่วนที่เหลืออีก 30% เป็นรายได้ที่มาจากฝ่ายโปรดักชั่น

“ส่วนโปรดักส์ชั่นเราโตขึ้น 34% จากซีรีส์ Greatmen Academy และละครรักฉุดใจนายฉุกเฉิน”

นับตั้งเเต่เริ่มทำซีรีส์ “ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น” มาจนถึง “เลือดข้นคนจาง” ประสบความสำเร็จ ศิลปินในค่ายโด่งดังเป็นที่ รู้จัก เเต่มีงานต่อยอดมากมายทั้งพรีเซ็นเตอร์เเละงานเพลง

“ซีรีส์เรื่องเลือดข้นคนจาง ทำให้รายได้ของนาดาวบางกอก ในปี 2018 โตขึ้นจากปี 2017 ถึง 200%”

ปีนี้นาดาวจะมุ่งเน้นไปกับการสร้างศิลปินหน้าใหม่ขึ้นมา ผ่านโครงการ Nadao Academy ค้นหาเด็กฝึกมาเป็นศิลปิน นักแสดงในสังกัด โครงการเวิร์คช็อป เขียนบท ส่งนักแสดงร่วมงานช่องอื่นๆ อย่าง ช่องวัน 31 GMM25
และช่อง 3 รวมทั้งเพิ่มพาร์ตเนอร์ OTT แพลตฟอร์ม และแบรนด์ต่างๆ ซึ่งน่าจะมีการร่วมโปรเจกต์กันมากขึ้น

ทรงยศ สุขมากอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด

หลังจากเพลง “รักติดไซเรน” ดังทั่วบ้านทั่วเมือง นาดาวก็จะต่อยอดกระเเสนี้ด้วย ยูนิต Nadao Music ดึงศิลปินอย่างเบล-สุพล มาเป็นโปรดิวเซอร์หลัก ซึ่งในปีนี้จะปล่อยซิงเกิลของศิลปินอย่าง ของเจเจ , ไอซ์ พาริส, บิวกิ้น, แพรวา เป็นต้น

หากมองดูการเเบ่งส่วนหารายได้ของ GDH จะพบว่าได้เเยกย่อยเป็นบริษัทลูกในเครือที่หลากหลาย อย่างนาดาวบางกอก ที่มีรายได้หลักจากการดูเเละศิลปิน ขยายไปรับงานโปรดักชั่น ส่วนสวัสดีทวีสุขเเละเสียงดีทวีสุข ก็ให้บริการด้านภาพเเละเสียง รับทำงานให้ลูกค้านอกบริษัทได้ นับเป็นอีกกลยุทธ์หารายได้อีกทางของ GDH โดยเป็นการปั้น “ลูกหม้อ” คนที่ทำงานในบริษัทมานานให้เติบโตขึ้นมาทำหน้าที่ดูเเลบริหารในส่วนต่างๆ

“ปัญหาของเราตอนนี้คือ ปั้นคนทำงานขึ้นมาไม่ทัน” ทรงยศกล่าวเเละทิ้งท้ายถึงอุตสาหกรรมหนังในประเทศว่า “เราอยากให้วงการหนังไทยโตไปด้วยกัน ถ้าเเค่ GDH โตเจ้าเดียวเเล้วคนทำหนังคนอื่นขาดทุน วงการนี้ก็ลำบาก”  

]]>
1262597