นิด้าโพล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Jun 2020 04:13:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจคนไทย 61% รายได้แย่ลงช่วง COVID-19 ส่วน 8% ต้องอดมื้อกินมื้อ https://positioningmag.com/1284467 Mon, 22 Jun 2020 03:31:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284467 นิด้าโพล สำรวจพบคนไทย 61% รายได้แย่ลงช่วง COVID-19 พบเกินครึ่งไม่ค่อยเพียงพอและไม่เพียงต่อการใช้ชีวิต 35% กินอาหารครบทุกมื้อ แต่ต้องจำกัดชนิดอาหารเพื่อประหยัดเงิน 8% เลือกงดอาหารบางมื้อ แต่ 83% กลับไม่เคยไปรับรับอาหารแจกฟรีหรือตามตู้ปันสุข โดย 53% เคยรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การบริโภคอาหารในช่วงโควิด-19” สำรวจระหว่างวันที่ 15-16 มิ.ย. 2563 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,273 หน่วยตัวอย่าง

  • 61.51% รายได้ช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แย่ลง 37% รายได้หมือนเดิม 1.49% รายได้ดีขึ้น
  • 33.46% รายได้ไม่ค่อยเพียงพอต่อการใช้จ่ายของรายได้ในปัจจุบัน 32.13% รายได้ไม่เพียงพอเลย 17.91% รายได้เพียงพอ 16.03% ค่อนข้างเพียงพอ
  • 38.18% ค่อนข้างมีความกังวลต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากร สำหรับการบริโภคอาหารที่จำเป็น รองลงมา 21.13% มีความกังวลมาก 23.80% ไม่ค่อยมีความกังวล 16.65% ไม่มีความกังวลเลย

ส่วนผลกระทบต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากรในการหาซื้อหรือจัดหาอาหารเพื่อการบริโภค จากสถานการณ์ COVID-19 พบว่า

  • 37.86% บริโภคได้ตามปกติ
  • 35.43% บริโภคอาหารครบทุกมื้อ แต่จำกัดชนิดอาหาร เพื่อประหยัดเงิน
  • 17.44% งดบริโภคอาหารดี มีคุณค่าและมีราคา เพื่อประหยัดเงิน
  • 13.75% ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ
  • 8.01% งดอาหารบางมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ
  • 0.31% ไม่ได้บริโภคอาหารทั้งวันเพราะไม่มีเงิน
  • 0.24% ทั้งครัวเรือนไม่มีอาหารเหลือเพราะไม่มีเงิน

สำหรับการไปรับอาหารแจกฟรีตามสถานที่ต่างๆ หรือไปรับอาหารจากตู้ปันสุข

  • 83.19% ไม่เคยไปรับ
  • 64.89% ไม่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ในช่วง COVID-19
  • 35.11% เคยแจกของ โดยในจำนวนของผู้ที่เคยแจก ส่วนใหญ่ 70.07% เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของตนเอง 32.20% เคยร่วมแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของหน่วยงาน/องค์กร/สมาคม
  • โดยมูลค่าที่เคยแจกนั้น 62.30% ไม่เกิน 1,000 บาท 23.25% อยู่ที่ 1,001- 5,000 บาท
Photo : Shutterstock

ส่วนการได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาจากรัฐบาล

  • 53.42% ไม่เคยรับ
  • 46.58% เคยรับ โดยผู้ที่เคยได้รับ 58.01% ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน
  • 37.77% เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท สำหรับกลุ่มเกษตรกร
  • 2.53% เคยรับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม
  • 1.69% เคยรับเงินเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางทางสังคม เช่น เด็กแรกเกิด ผู้พิการ และคนชรา

Source

]]>
1284467
โพลชี้ คนไทยความปลอดภัยในชีวิตแย่ลง หวั่นโดนจี้ปล้น รัฐแก้ปัญหาฝุ่นไร้ประสิทธิภาพ https://positioningmag.com/1261198 Sun, 19 Jan 2020 07:41:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261198 ฟังความเห็นประชาชน จากผลสำรวจ ‘สวนดุสิตโพล’ เผยคน 67.69% มองความปลอดภัยในชีวิตเเละทรัพย์สินแย่ลง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ หวั่นโดนโจรผู้ร้าย จี้ปล้น ชิงทรัพย์ ฝั่ง ‘นิด้าโพล’ เผยคนกรุงเทพฯ มองหน่วยงานรัฐแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ จี้มาตรการจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเรื่อง “ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ณ วันนี้” โดยสำรวจประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,365 คน ระหว่างวันที่ 15-18 ม.ค. 2563 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นประชาชนจากกรณีสังคมไทยหลังมีข่าวอาชญากรรมและปัญหาสังคมต่างๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่น ข่าวฆ่าข่มขืน จี้ชิงทรัพย์ ค้ายาเสพติด หรือเหตุการณ์ปล้นร้านทอง จ.ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก สรุปผลได้ ดังนี้

1.เมื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในช่วงนี้ กับเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร

  • อันดับ 1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแย่ลง 67.69% เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน รุนแรงมากขึ้น มาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ สังคมเสื่อมโทรม คนขาดคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
  • อันดับ 2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเหมือนเดิม 27.47% เพราะสังคมมีปัญหามานาน แก้ไขได้ยาก ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ทำให้ประชาชนต้องดูแลตัวเอง ระมัดระวัง ฯลฯ
  • อันดับ 3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดีขึ้น 4.84% เพราะสังคมตื่นตัว ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ภาครัฐมีมาตรการเข้มแข็งมากขึ้น กฎหมายเข้มงวดเอาจริงเอาจัง ฯลฯ

2.ประชาชนคิดว่าปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ณ วันนี้ สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

อันดับ 1 สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ คนหมดหนทาง ต้องต่อสู้ดิ้นรน ยอมกระทำผิด 53.87%
อันดับ 2 สภาพสังคมเสื่อมโทรม มีความเหลื่อมล้ำสูง คุณภาพชีวิตแย่ 24.46%
อันดับ 3 รัฐบาลยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ประชาชนต้องพึ่งพาตนเอง 21.36%
อันดับ 4 คนขาดคุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ไม่มีจิตสำนึก 18.27%
อันดับ 5 การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด เอาผิดไม่ได้ 14.55%

3.ประชาชนวิตกกังวลกับปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด

  • อันดับ 1 ค่อนข้างวิตกกังวล 42.20% เพราะกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว สังคมมีภัยรอบด้าน สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ส่งผลให้คนมีปัญหามากขึ้น ฯลฯ
  • อันดับ 2 วิตกกังวลอย่างมาก 40% เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน คนจิตใจโหดเหี้ยมมากขึ้น ปืน อาวุธผิดกฎหมายหาซื้อได้ง่าย ตำรวจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ฯลฯ
  • อันดับ 3 ไม่ค่อยวิตกกังวล 14.07% เพราะพยายามใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยง เพิ่มความระมัดระวัง รอบคอบมากขึ้น ฯลฯ
  • อันดับ 4 ไม่วิตกกังวลเลย 3.73% เพราะดูแลตัวเองได้ ไม่ค่อยได้ออกไปไหน อยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย ป้องกันตนเองเสมอ ไม่พกสิ่งของมีค่าติดตัว ฯลฯ

4.กรณีปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องใดที่ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด พร้อมแนวทางแก้ไข

  • อันดับ 1 โจรผู้ร้าย จี้ปล้น ชิงทรัพย์ 67.59% แนวทางแก้ไข คือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย บทลงโทษรุนแรง ฯลฯ
  • อันดับ 2 การใช้ความรุนแรง พกอาวุธ ปืน มีด สิ่งผิดกฎหมาย 32.76% แนวทางแก้ไข คือ เจ้าหน้าที่ดูแลกวดขัน เข้มงวด ตรวจตราการใช้อาวุธผิดกฎหมาย ไม่ละเว้นโทษแก่ผู้ใด ฯลฯ
  • อันดับ 3 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 25.17% แนวทางแก้ไข คือ กวาดล้างให้หมดสิ้น ถอนรากถอนโคน จับกุมผู้ค้ารายใหญ่ ครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ฯลฯ
  • อันดับ 4 ล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน 21.38% แนวทางแก้ไข คือ เพิ่มโทษให้หนัก ประหารชีวิต จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ มุ่งเน้นปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
  • อันดับ 5 ปัญหามลพิษ ฝุ่น ควัน 15.17% แนวทางแก้ไข คือ ภาครัฐแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รักษาสิ่งแวดล้อม ประชาชนดูแลตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ ฯลฯ

5.สิ่งที่อยากฝากบอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ

อันดับ 1 บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ปรับปรุงบทลงโทษให้เหมาะสม 46.51%
อันดับ 2 ตรวจสอบการทำงานของกล้องวงจรปิดทุกจุดให้ใช้งานได้จริง 43.41%
อันดับ 3 เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน 20.54%
อันดับ 4 ทุกคดีที่เกิดขึ้นควรเร่งติดตาม จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยเร็ว 18.60%
อันดับ 5 นำเสนอข่าวที่เป็นจริง สร้างสรรค์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน 16.67%

 

ประชาชนมองหน่วยงานรัฐแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ จี้มาตรการจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การจัดการวิกฤตฝุ่นละออง’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 ม.ค. 2563 จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดการวิกฤติฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพ สรุปผลดังนี้

เมื่อถามถึงการปฏิบัติตัวเมื่อเผชิญปัญหาจากวิกฤตฝุ่นละอองของประชาชน

ร้อยละ 69.98 สวมหน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน
ร้อยละ 21.50 หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน
ร้อยละ 10.59 งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ร้อยละ 6.61 ใช้เครื่องฟอกอากาศ
ร้อยละ 5.41 ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่น
ร้อยละ 3.66 ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ทำอะไรเลย
ร้อยละ 3.50 ไม่สนใจ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง
ร้อยละ 3.18 ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
ร้อยละ 2.23 ไม่สนใจ เพราะเป็นปัญหาเล็ก ๆ
ร้อยละ 1.83 ไม่สนใจ เพราะคิดว่าร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี
ร้อยละ 0.64 เดินทางไปอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่มีฝุ่น
ร้อยละ 0.48 ไม่ได้ทำอะไร ไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง
ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปลูกต้นไม้ ฉีดน้ำบริเวณรอบบ้าน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ซื้อเครื่องตรวจจับค่า pm 2.5 มาใช้

ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ 2.47 มีประสิทธิภาพมาก เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีการจัดการแก้ปัญหาที่ดี

ร้อยละ 17.60 ร้อยละ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เพราะ มีการพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่น มีการแจ้งเตือนเขตพื้นที่สีแดง ทำให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือ ขณะที่บางส่วน ไม่ได้เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นที่ตัวบุคคลในการทำให้เกิดฝุ่นละออง

ร้อยละ 40.84 ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังแก้ไขได้ไม่ตรงจุด ทำงานไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่อง ควรมีมาตรการอย่างจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม เช่น การก่อสร้าง รถควันดำ หรือผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษ

ร้อยละ 36.22 ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพราะ การจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการตื่นตัว ไม่มีการเเก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจน ปัญหายังเดิม ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น งานก่อสร้างต่าง ๆ รถประจำทาง/รถส่วนตัวยังมีควันดำ และร้อยละ 2.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงการมีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองของประชาชน

ร้อยละ 30.57 ช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว
ร้อยละ 24.20 ฉีดน้ำล้างฝุ่นละอองหน้าบ้านตนเอง
ร้อยละ 23.09 หยุดเผาขยะ ใบไม้ เศษวัสดุ
ร้อยละ 21.66 ไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง เพราะ การใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ทำอะไรหรือสร้างปัญหาอะไรเกี่ยวกับฝุ่น อยู่แต่ที่บ้าน/อาคารไม่ได้ไปไหน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เนื่องจากจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวเพื่อไปทำงาน

ร้อยละ 16.96 ดับเครื่องยนต์ ทุกครั้งเวลาจอดรถ
ร้อยละ 8.20 หยุดการจุดธูป ประทัด
ร้อยละ 7.48 นำรถไปเข้าอู่เพื่อแก้ไขปัญหาควันดำ
ร้อยละ 2.23 หยุดการก่อสร้าง
ร้อยละ 3.50 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ ปลูกต้นไม้ และอยู่บ้านเพื่อลดการใช้รถ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ลดการใช้รถที่เติมน้ำมันดีเซล เปลี่ยนมาใช้รถที่เติมน้ำมันเบนซิน หรือ E20 แทน

 

 

 

]]>
1261198